การบริหารราชการแนวใหม่ หรือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) หมายความว่าอย่างไร |
|
อ้างอิง
อ่าน 1035 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
waoram
|
การบริหารราชการแนวใหม่ หรือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) หมายความว่าอย่างไร
เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการภาครัฐซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ ของภาครัฐที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้การบริหารจัดการก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีหลักหรือแนวคิดในการบริหารแนวใหม่ดังนี้
1. มุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Center)
2. มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัด (KPI : Key Performance Indicators)
3. ภาครัฐจะต้องลดบทบาทลงโดยการจ้างภาคเอกชนดำเนินการแทน (Out Sourcing)
4. สรรหาผู้บริหารที่มีสมรรถนะสูงจากบุคคลนอกระบบ (Performance Appraisal)
5. เน้นการบริหารแบบมืออาชีพ (Professional)
6. การสวมจิตวิญญาณผู้ประกอบการ (Entrepreneur) โดยนำกลไกตลาด เน้นลูกค้า ทำงานเชิงรุก ชอบเสี่ยง แสวงหาโอกาส เจรจาต่อรอง ฯลฯ
7. มุ่งการแข่งขันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการพัฒนา (Competitive to Efficiency and Development)
8. มอบอำนาจการใช้ดุลยพินิจและให้อิสระในการจัดการ (Empowerment)
9. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (Decentralization)
10. แปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization)
หลักการอื่นๆ ที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกาบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ส่วนศัพท์ทางการบริหารที่มักพบกัน เป็นเพียงเครื่องมือทางการบริหาร หรือเทคนิคการบริหารในการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เท่านั้น เช่น
- SWOT Analysis
- Balanced Scorecard
- Benchmarking
- Change Management
- Core Competencies
- Knowledge Management
- Result Based Management (RBM)
เป็นต้น
โพสที่
http://pun2013.bth.cc/webboard/topic-view-347985
|
|
waoram valrom2009@gmail.com [101.51.52.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|