ประวัติกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครอง |
|
อ้างอิง
อ่าน 1131 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
waoram
|
ประวัติกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย เป็นกระทรวงหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นเสนาบดี รับผิดชอบงานมหาดไทยหรืองานการปกครองประเทศ และได้มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหมให้ชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อนกัน โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดเพียงกระทรวงเดียว
กระทรวงมหาดไทยเมื่อแรกตั้งออกเป็น 3 กรม มีชื่อเรียกตามทำเนียบเดิมแต่ให้มีหน้าที่ต่างกัน คือ
กรมมหาดไทยกลาง เป็นพนักงานทำการทุกอย่าง ซึ่งมิให้แยกออกไปเป็นหน้าที่กรมอื่น
กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ ให้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกการปรามปรามโจรผู้ร้ายกับแผนกอัยการ รวมทั้งกาเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ (แต่ภายหลังโอนการที่เกี่ยวกับต่างประเทศไปเป็นหน้าที่ปลัดทูลฉลอง)
กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภัง ให้เป็นเจ้าหน้ามี่แผนกปกครองท้องที่
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคได้ กำหนดรูปแบการปกครองที่เรียกว่า “เทศาภิบาล” ขึ้นมาใช้และได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแล โดยจัดแบ่งหัวเมืองออกเป็นมณฑล เมืองและอำเภอ โดยมีสมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมืองและนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตท้องที่นั้นๆ และมีกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือปฎิบัติงานในระดับตำบลและหมู่บ้าน กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภัง จึงเป็นต้นกำเนิดของกรมการปกครอง ซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อ และปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในมาเป็นลำดับดังนี้
พ.ศ. 2458 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมการปกครอง และกรมฝ่ายเหนือ
พ.ศ. 2459 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมการปกครองท้องที่ และกรมการเมือง
พ.ศ. 2460 กรมการปกครอง มีส่วนราชการ 2 แผนก คือ แผนกปกครองท้องที่ และแผนกการเมือง
พ.ศ. 2466 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมการปกครอง และกรมการเมือง
พ.ศ. 2467 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมภายใน กรมภายนอก และกรมทะเบียน
พ.ศ. 2469 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมการปกครอง กรมทะเบียน และกรมราชทัณฑ์
หลังการเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วในปี พ.ศ. 2476 กรมพลำภังได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมมหาดไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “กรมการปกครอง” จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2545 มีการปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทย ตามนโยบายปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล ได้ส่งผลให้กรมการปกครองมีการปรับเปลี่ยนภารกิจและอำนาจหน้าที่ ซึ่งเดิมกรมการปกครองเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจและความรับผิดชอบมากมายหลายด้าน ทั้งการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน การปกครองท้องที่ การทะเบียนราษฎร การปกครองท้องถิ่น การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้ภารกิจของกรมการปกครองมีความชัดเจนสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและอนาคตมากขึ้น
โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย
การจัดโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน และอำนาจหน้าที่ที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทย เป็นไปตาม
1. พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
2. พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
3. พระราชกฤษฎีกา แก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
4. กฎกระทรวงว่าด้วยกลุ่มภารกิจ พ.ศ. 2545
5. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการฯ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยกระทรวงมหาดไทยได้จัดองค์กรในการดำเนินงานเป็น 3 กลุ่มภารกิจ 8 กรม 5 รัฐวิสาหกิจ
Ø กลุ่มภารกิจของกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย
1. กลุ่มภารกิจด้านกิจการด้านความมั่นคงภายใน ได้แก่
(1) กรมการปกครอง
(2) กรมที่ดิน
2. กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้แก่
(1) กรมการพัฒนาชุมชน
(2) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
3. กลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง ได้แก่
(1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(2) กรมโยธาธิการและผังเมือง
Ø หน่วยงานระดับกรมของกระทรวงมหาดไทยที่ไม่ได้สังกัดกลุ่มภารกิจ ได้แก่
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
Ø หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้แก่
(1) องค์การตลาด
(2) การไฟฟ้านครหลวง
(3) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(4) การประปานครหลวง
(5) การประปาส่วนภูมิภาค
Ø อำนาจหน้าที่กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(1) การบำบัดทุกข์บำรุงสุข
(2) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม
(4) การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง
(5) การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
(6) การปกครองท้องที่
(7) การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน
(8) การทะเบียนราษฎร
(9) ความมั่นคงภายใน
(10)กิจการสาธารณภัยและการพัฒนาเมือง
(11)ราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย
Ø วิธีการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทย แบ่งการดำเนินงานเป็น
(1) ภารกิจเกี่ยวกับราชการทางการเมืองเพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรีประสานนโยบายระหว่างกระทรวง เป็นภารกิจของสำนักงานรัฐมนตรี
(2) ภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์ และแปลงนโยบายของกระทรวงเป้าหมายปฏิบัติ จัดสรรทรัพยากร บริหารราชการทั่วไปของกระทรวง การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความปลอดภัยและอำนวยความเป็นธรรม และการส่งเสริมการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เพื่อการบรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง เป็นภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวง
(3) ภารกิจอื่นนอกจาก (1) และ (2) เป็นภารกิจของกรมและรัฐวิสาหกิจในสังกัด
Ø ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ของกรมการปกครอง
ภายหลังที่กรมการปกครอง มีการตัดโอนภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไปจัดตั้งเป็นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และตัดโอนภารกิจเกี่ยวกับการกำกับดูแลสนับสนุนส่งเสริมองค์กรปกครองท้องถิ่น ไปจัดตั้งเป็นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และรับโอนงานด้านการข่าว กิจการด้านความมั่นคงชายแดน กิจการชนกลุ่มน้อย อำนาจหน้าที่ และแบ่งกิจการผู้อพยพจากสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยแล้ว จึงได้มีการจัดทำกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2545 เพื่อกำหนดภารกิจ อำนาจหน้าที่ และแบ่งส่วนราชการให้สอดคล้องกับภารกิจที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ ดังนี้
ภารกิจของกรมการปกครอง
กรมการปกครอง มีภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ การอำนวยความเป็นธรรม การปกครองท้องที่ การอาสารักษาดินแดน และการทะเบียน เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัย ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และให้เกิดความสงบสุขในสังคมอย่างยั่งยืน
Ø อำนาจหน้าที่ของกรมการปกครอง
กรมการปกครอง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) เสนอแนะนโยบายและการจัดทำแผน มาตรการ ติดตาม และประเมินผล ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย สืบสวนสอบสวน คดีอาญา ในหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครอง และอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายใน งานการข่าว งานกิจการชายแดน งานควบคุมดูแลชาวเขาและชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพและผู้หลบหนี เข้าเมือง งานสัญชาติ และงานกิจการมวลชน
(4) สนับสนุน ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการเลือกตั้งทุกระดับ
(5) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองอาสารักษาดินแดน
(6) ดำเนินการพัฒนาและบริหารการปกครองท้องที่ในระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
(7) ดำเนินการและพัฒนาระบบงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชนและงานทะเบียนอื่น รวมทั้งการบริหารจัดการฐานข้อมูลกลางเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
(8) ดำเนินการพัฒนาบุคลากรในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงภายใน
(9) ดำเนินการสื่อสารเพื่อการบริหารงาน การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ
(10)อำนวยการ และสนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของนายอำเภอ
(11)ปฏิบัติการอื่นใด ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
โพสที่
http://pun2013.bth.cc/webboard/topic-view-352013
|
|
waoram valrom2009@gmail.com [101.51.52.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|