แนวข้อสอบพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยประพันธ์ เวารัมย์ |
|
อ้างอิง
อ่าน 10890 ครั้ง / ตอบ 2 ครั้ง
|
waoram
|
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
โดยประพันธ์ เวารัมย์
***************
1. ถาม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ.ใด รัชการใด
ตอบ พ.ศ.2539 ในรัชกาลที่ 9
2. ถาม พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้ไว้ ณ เมื่อใด
ตอบ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539
3. ถาม พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
ตอบ วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
4. ถาม พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของใคร
ตอบ รัฐสภา
5 ถาม หน่วยงานของรัฐหมายถึงหน่วยงานใดบ้าง
ตอบ 1. กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม 2. ราชการส่วนภูมิภาค 3. ราชการส่วนท้องถิ่น 4. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา 5. หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัตินี้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
6 ถาม หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายกรณีใด
ตอบ เฉพาะในกรณีที่ผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
7. ถาม ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539ผู้เสียหายจะฟ้องต่อใคร ฟ้องเจ้าหน้าที่ได้หรือไม่
ตอบ ฟ้องหน่วยงานของรัฐที่เป็นต้นสังกัด แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
8. ถาม หากเจ้าหน้าที่ไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่าหน่วยงานใดที่ต้องรับผิดชอบ
ตอบ กระทรวงการคลัง
9. ถาม หากเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อผู้เสียหายมิใช่เกิดจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นอย่างไร
ตอบ เป็นการเฉพาะตัว ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
10. ถาม ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิอย่างไร
ตอบ ให้ศาลเรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ เข้ามาเป็นคู่ความในคดี
11. ถาม ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปกี่เดือน
ตอบ หกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด
12. ถาม ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้กรณีใด
ตอบ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
13. ถาม สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะมีเพียงใดให้คำนึงถึงอะไร
ตอบ ให้คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้
14. ถาม ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนนำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับได้หรือไม่ และเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างไร
ตอบ นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับไม่ได้ และเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
15. ถาม ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความกี่ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นแก่ผู้เสียหาย
ตอบ หนึ่งปี
16. ถาม สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ กรณีเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ให้มีกำหนดอายุความกี่ปี นับแต่เมื่อใด
ตอบ สองปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่
17. ถาม กรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความกี่ปี นับแต่เมื่อใด
ตอบ หนึ่งปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
18. ถาม ผู้เสียหายไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ภายในกี่วัน
ตอบ เก้าสิบวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
19. ถาม หน่วยงานของรัฐพิจารณาคำขอค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายภายในกี่วัน
ตอบ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
20. ถาม หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกำกับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกำกับควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นทราบและขออนุมัติขยายระยะเวลาออกไปได้ แต่รัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีกได้ไม่เกินกี่วัน
ตอบ หนึ่งร้อยแปดสิบวัน
21. ถาม สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลใด
ตอบ ศาลปกครอง
22. ถาม ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ตอบ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี
โพสที่
http://pun2013.bth.cc/webboard/topic-view-352742
|
|
waoram valrom2009@gmail.com [101.51.52.xxx] เมื่อ 21/12/2020 08:02
|