กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ |
|
อ้างอิง
อ่าน 403 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
waoram
|
กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 12 พ.ศ. 2552 มีสาระมีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้
ขอบเขตเนื้อหาของกฎหมาย
ประกอบด้วย 5 หมวดดังต่อไปนี้
1. ว่าด้วยนามและการใช้พระราชบัญญัติ
2. ว่าด้วยวิธีอธิบายศัพท์ที่ใช้ในพระราชบัญญัติ
3. ว่าด้วยลักษณะปกครองหมู่บ้าน
4. ว่าด้วยลักษณะปกครองตำบล
5. ว่าด้วยลักษณะปกครองอำเภอ
1.ว่าด้วยนามและการใช้พระราชบัญญัติ
1. การยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนันและผู้ช่วยผู้ช่วยใหญ่บ้านจะกระทำมิได้ (มาตรา 3 วรรค 2)
2. ให้ผู้ว่าราชการเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) โดยอนุมัติของสมุหเทศาภิบาล (ปลัดกระทรวงมหาดไทย) เป็นผู้มีอำนาจกำหนดเขตหมู่บ้านและตำบล (มาตรา 6)
3. ให้สมุหเทศาภิบาล (ปลัดกระทรวงมหาดไทย) โดยอนุมัติของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) เป็นผู้มีอำนาจกำหนดเขตอำเภอ (มาตรา 6)
2. ว่าด้วยวิธีอธิบายที่ใช้ในพระราชบัญญัติ
บ้าน และเจ้าบ้าน (มาตรา 7)
บ้าน หมายความว่า เรือนหลังเดียว หรือหลายหลัง ซึ่งอยู่ในเขตที่มีเจ้าของเป็นอิสระส่วนหนึ่ง ทั้งนี้ รวมทั้งห้องแถว และแพ หรือเรือชำซึ่งจอดประจำอยู่ โดยมีเจ้าของหรือผู้เช่าครอบครองเป็นอิสระต่างหากห้องหนึ่ง หลังหนึ่ง ลำหนึ่ง หมู่หนึ่ง ในเจ้าของหรือผู้เช่าคนหนึ่งนั้น ก็นับว่าบ้านหนึ่งเหมือนกัน แต่ วัด โรงพยาบาล โรงทหาร โรงเรียน เรือนจำ ที่ทำการไปรษณีย์ สถานีรถไฟ สถานที่ต่างๆ ของรัฐบาล ไม่นับเป็นบ้านตามพระราชบัญญัตินี้
เจ้าบ้าน หมายความว่า ผู้อยู่ปกครองบ้าน ซึ่งจะครอบครองด้วยเป็นเจ้าของก็ตาม ด้วยเป็นผู้เช่าก็ตาม ด้วยเป็นผู้อาศัยกฎหมายก็ตาม นับตามพระราชบัญญัตินี้ว่าเป็นเจ้าบ้าน
3. ว่าด้วยลักษณะปกครองหมู่บ้าน
การตั้งหมู่บ้าน
1. หมู่บ้านที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ (มาตรา 8)
บ้านหลายบ้านในท้องที่หนึ่ง ซึ่งควรอยู่ในความปกครองอันเดียวกันได้ ให้จัดเป็นหมู่บ้านหนึ่ง โดยถือความสะดวกแก่การปกครองเป็นประมาณ คือ
(1) ถ้าเป็นที่มีอยู่รวมกันมาก ถึงจำนวนบ้านน้อย ให้ถือเอาจำนวนคนเป็นสำคัญราว 200 คน เป็นหมู่บ้านหนึ่ง
(2) ถ้าเป็นที่ผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลกัน ถึงจำนวนคนจะน้อย ถ้าและจำนวนบ้านไม่ต่ำกว่า 5 บ้านแล้ว จะจัดเป็นหมู่บ้าน 1 ก็ได้
นอกจากที่กำหนดไว้นี้ ได้มีมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2539 กำหนดหลักเกณฑ์การแยกหมู่บ้านไว้ดังนี้
กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น
1. เป็นชุมชนที่มีราษฎรไม่น้อยกว่า 1,200 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 240 บ้าน
2. เมื่อแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่ต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 120 บ้าน
3. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบล หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
กรณีเป็นชุมชนห่างไกล
1. เป็นชุมชนที่ราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คน หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 120 บ้าน
2. เมื่อแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่ต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 200 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 40 บ้าน
3. ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
4. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
โพสที่
http://pun2013.bth.cc/webboard/topic-view-352733
|
|
waoram valrom2009@gmail.com [101.51.52.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|