สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714998
แสดงหน้า2191720
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




สภาปฏิรูปแห่งชาติสำคัญอย่างไร

สภาปฏิรูปแห่งชาติสำคัญอย่างไร
อ้างอิง อ่าน 295 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

waoram

สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สภาปฏิรูปแห่งชาติสำคัญอย่างไร
สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน สังคม และอื่นๆ เพื่อให้การปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน ทำให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม
จำนวนสภาปฏิรูปแห่งชาติ
สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีจำนวนไม่เกิน 250 คน จากคณะกรรมการสรรหาจังหวัด จำนวน 77 คน และคณะกรรมการสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)แต่งตั้ง รวม 11 คณะ จำนวน 173 คน (ตามจำนวนที่เห็นสมควร)
คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด 
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี 
และจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
เคยต้องคำพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นผิดปกติ
อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนจากตำแหน่ง
เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพนัน ในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก
เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษ
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลง กรณีดังนี้ 
ตาย
ลาออก
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อให้สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพ และจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะพ้นจากตำแหน่ง 
ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมเกินจำนวนที่กำหนดตามข้อบังคับ
ร่างรัฐธรรมนูญตกไป หรือไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
ที่มาของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
คณะรักษาความสงบแห่งชาติดำเนินการคัดเลือกจากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเสนอชื่อจังหวัดละ 5 คน แล้วพิจารณาเหลือ จังหวัดละ 1 คน รวมจำนวน 77 คน ที่เหลือคัดเลือกจากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิฯ (11 คณะ) เสนอให้ ซึ่งรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 250 คน
อำนาจหน้าที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ 
ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่างๆ เสนอต่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรก
พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น
สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่เสนอผู้ที่จะเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 20 คน
ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 36 คน ประกอบด้วย
ประธานกรรมาธิการตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เสนอ จำนวน 1 คน
สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 20 คน
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 5 คน
คณะรัฐมนตรี (ครม.) จำนวน 5 คน
และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวน 5 คน
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เห็นว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเรื่องใดไม่ถูกต้อง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่ละบุคคลสามารถเสนอแก้ไขได้ แต่ไม่ผูกพันคณะกรรมาธิการในการพิจารณาแก้ไข
ลงมติในการพิจารณารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
หมายเหตุ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการและงานธุรการ
*****************************************
คณะกรรมการสรรหา
คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้และประสบการณ์เป็นที่ยอมรับของบุคคลในด้านต่างๆ จำนวน 11 คณะ ดังนี้ 
1) ด้านการเมือง
2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 
3) ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 
4) ด้านการปกครองท้องถิ่น 
5) ด้านการศึกษา 
6) ด้านเศรษฐกิจ 
7) ด้านพลังงาน 
8) ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 
9) ด้านสื่อสารมวลชน 
10) ด้านสังคม และ 
11) ด้านอื่นๆ
หลักเกณฑ์ในการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
สรรหาผู้มีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในแต่ละด้าน (ห้ามเสนอชื่อตนเอง) โดยจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายของกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่น การกระจายตามจังหวัด โอกาสและความเท่าเทียมกัน ทางเพศ รวมทั้งผู้ด้อยโอกาส โดยสรรหาจำนวนกลุ่มละไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ถูกเสนอชื่อ แต่ไม่เกิน 50 คน
คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด 76 จังหวัด ประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับจังหวัด
ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
โดยมีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เป็นเลขานุการ
คณะกรรมการสรรหาประจำกรุงเทพฯ ประกอบด้วย 
ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
ปลัดกรุงเทพฯ
ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนเขตในระดับจังหวัดของกรุงเทพฯ
ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพฯ
โดยมีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพฯ เป็นเลขานุการ
คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่สรรหาจากบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้นๆ แล้วคัดเลือกให้เหลือจังหวัดละ 5 คน
**********************************
การปฏิรูปด้านต่างๆ
ความหมายของการปฏิรูปด้านต่างๆ
ด้านการเมือง หมายถึง การปฏิรูปการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกรัฐสภาที่สุจริตและเป็นธรรม อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของนักการเมืองในด้านต่างๆ กลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงการเมืองที่มีประสิทธิภาพ การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ คุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมือง ความมั่นคงของชาติ และการดำเนินการด้านการต่างประเทศ
ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง การปฏิรูประเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง การปฏิรูปหรือพัฒนาระบบราชการ (โครงสร้าง การจัดองค์กรภาครัฐ วิธีปฏิบัติราชการ การให้บริการประชาชนที่ทั่วถึง รวดเร็ว สะดวก การบริหารจัดการงานภาครัฐแบบใหม่ อัตรากำลัง และค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ) ระบบงานต่างๆ ของรัฐ เช่น การบริหารงานบุคคล ระบบคุณธรรม การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น ธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การตรวจสอบและควบคุมเจ้าหน้าที่ของรัฐ การป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการป้องกันการแทรกแซงทางการเมืองต่อระบบราชการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม หมายถึง การปฏิรูปกฎหมายที่ล้าสมัย ไม่เป็นธรรม เป็นอุปสรรคหรือไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ตลอดจนการดำเนินการให้มีกฎหมายใหม่ที่จำเป็น การปฏิรูปฝ่ายปกครอง การสอบสวนคดีพิเศษ ตำรวจ ทนายความ อัยการ ศาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับคดี และเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชทัณฑ์ การนำหลักนิติธรรม มาใช้ การไม่เลือกปฏิบัติหรือพฤติการณ์ที่อาจนำไปสู่การใช้หลายมาตรฐานในการดำเนินคดี การบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน
ด้านการปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ตลอดจนการปกครองกรุงเทพมหานครและพื้นที่ซึ่งมีการบริหารรูปแบบพิเศษ บทบาท ภารกิจของราชการส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนต่างๆ การได้มา การควบคุม การตรวจสอบและอำนาจหน้าที่ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น
ด้านการศึกษา หมายถึง การปฏิรูปองค์กรและการจัดการศึกษาอบรมทุกระดับและทุกรูปแบบ คุณภาพการศึกษาอบรม การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้านเศรษฐกิจ หมายถึง การปฏิรูปเศรษฐกิจภาคเอกชน การคมนาคม การขนส่ง เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การธนาคาร สถาบันการเงิน สหกรณ์ การท่องเที่ยว และธุรกิจต่างๆ การส่งเสริมการลงทุน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การกระจายรายได้ นโยบาย และการดำเนินการด้านการคลังภาครัฐ ระบบภาษีอากร โครงสร้างภาษีทุกชนิด และการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ
ด้านพลังงาน หมายถึง การปฏิรูปองค์กร การบริหารจัดการและการพัฒนากิจการด้านการพลังงานทุกรูปแบบ
ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การปฏิรูปองค์กรและระบบสุขภาพ การบริการสาธารณสุข สาธารณสุขชุมชน การสร้างเสริม และการส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย การพัฒนาร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาของบุคคล ตามวัยและสถานภาพ การปฏิรูปกลไกการบริหารจัดการ การบำรุงรักษาและทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนโดยไม่ทำลายทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษหรือผลต่อการ เปลี่ยนแปลงคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการปลูกจิตสำนึกให้เกิดการหวงแหนในทรัพยากรชาติและสิ่งแวดล้อม
ด้านสื่อสารมวลชน หมายถึง การปฏิรูปกิจการและการประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เสรีภาพในการแสดงออก คุณธรรมและจริยธรรมของสื่อ
ด้านสังคม หมายถึง การปฏิรูปการพัฒนาคุณภาพชีวิต ปัจจัยในการครองชีพ การแก้ปัญหาความยากจน อาชญากรรม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ยาเสพติด การคุ้มครองผู้ด้อยโอกาส คนไร้ที่พึ่ง การคุ้มครองผู้บริโภค การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและการดำเนินการ ด้านต่างๆ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปฏิรูประบบแรงงาน การประกันสังคม สวัสดิการสังคม ประชานิยม
ด้านอื่นๆ หมายถึง การปฏิรูปสังคมโดยนำศาสนธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตและการพัฒนาประเทศ การพัฒนาวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ กีฬา สิ่งบันเทิงอันมีผลต่อพฤติกรรมของเยาวชน วัฒนธรรมทางการเมืองอันเหมาะสมต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การปลูกฝังและเผยแพร่ค่านิยมที่เหมาะสมต่อสังคมไทย ระเบียบวินัยในสังคม ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ คุณธรรมและจริยธรรมในสังคม
************************
ขั้นตอนการสรรหา
ขั้นตอนที่ 1
มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติมีผลใช้บังคับ
ขั้นตอนที่ 2
คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด/กรุงเทพมหานคร มีผลใช้บังคับ
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาด้านผู้ทรงคุณวุฒิฯ จำนวน 11 ด้าน
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวัน เวลา สถานที่ในการสรรหา
ขั้นตอนที่ 3
ในส่วนกลาง คณะกรรมการสรรหาทั้ง 11 ด้าน ให้นิติบุคคล (ไม่แสวงหากำไร) เสนอชื่อผู้เหมาะสมไม่เกินจำนวน 2 คน ตามแบบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (20 วัน)
ในส่วนจังหวัด/กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด/กรุงเทพมหานคร สรรหาบุคคล แล้วคัดให้เหลือ 5 คน ส่งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ขั้นตอนที่ 4
เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ถูก (10 วัน) เสนอชื่อ
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งส่งรายชื่อบุคคลที่มีภูมิลำเนาในจังหวัด จังหวัดละ 5 คน ส่งให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ขั้นตอนที่ 5
คณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิฯ 11 กลุ่ม สรรหาบุคคลไม่เกิน 50 คน แต่ต้องไม่น้อยกว่า (10 วัน) กึ่งหนึ่งของรายชื่อที่ได้รับ ส่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ขั้นตอนที่ 6
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิฯ (15 วัน) จำนวนที่เห็นสมควร และคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด/กรุงเทพมหานคร จังหวัดละ 1 คน รวมจำนวน 77 คน ซึ่งรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 250 คน
ทูลเกล้าฯ
ขั้นตอนที่ 7 
ประกาศรายชื่อราชกิจจานุเบกษา
****************************
การเสนอชื่อบุคคล
กรณีการสรรหาระดับจังหวัด/กรุงเทพมหานคร
ไม่มีการสมัคร ถ้าประสงค์จะเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประเภทผู้แทนจังหวัด (77 จังหวัด 77 คน) จะมีคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเป็น “แมวมอง” สรรหาจากผู้ที่มีภูมิลำเนา ในจังหวัดนั้นมาให้ได้จังหวัดละ 5 คน แล้วเสนอชื่อพร้อมประวัติให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เลือกจังหวัดละ 1 คน
กรณีการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหา 11 คณะ ในส่วนกลาง
ส่วนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประเภททั่วไปอาจมีได้ 173 คน จะมาจากจังหวัดใด ภาคใด กลุ่มใด ค่ายใดได้ทั้งนั้น ซึ่งกลุ่มนี้ก็ไม่มีการสมัครเช่นกัน แต่ต้องมีนิติบุคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้เสนอชื่อ ซึ่งอาจเป็นสมาคม มูลนิธิ องค์กร องค์การ มหาวิทยาลัย โรงเรียน พรรคการเมือง วัดวาอาราม ส่วนราชการ โดยหน่วยงานนั้นๆ ต้องประชุมมีมติเพื่อเสนอชื่อได้หน่วยละไม่เกิน 2 คน ซึ่งสามารถเสนอได้ทั้งบุคคลภายใน ภายนอกหน่วยงาน โดยกรอกแบบฟอร์มตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สนง.กกต.) กำหนด มีรายละเอียด เช่น อายุ อาชีพ ที่อยู่ สรรพคุณ สาขาที่จะเข้าไปปฏิรูป และแนวคิดในการปฏิรูป เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการประกอบการพิจารณาสรรหาของคณะต่างๆ โดยผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจะต้องลงชื่อรับรองประวัติว่าเป็นความจริง การแสดงความประสงค์ว่าจะปฏิรูป ด้านใดด้านหนึ่ง การให้ความยินยอม โดยต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ด้วย
เสนอชื่อได้เมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้นิติบุคคลเสนอชื่อบุคคล
ได้ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2557 - 2 กันยายน 2557 นี้ 
ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ
โดยระหว่างนี้สมาคม มูลนิธิ องค์กร มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานต่างๆ ควรจะมีการประชุมคัดเลือกหรือพิจารณารายชื่อ 1-2 คน เพื่อที่จะเตรียมเสนอให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือก เมื่อแบบฟอร์มการเสนอชื่อออกมา ก็เพียงแต่กรอกข้อความส่งที่สำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งประจำจังหวัดหรือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งส่วนกลาง
ใครสามารถทำงานเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
หากคุณคิดว่าสุขภาพดี สามารถร่วมประชุมได้อย่างสม่ำเสมอ มีคุณสมบัติพร้อม มีความคิดดีๆ อยากจะเข้ามามีส่วนร่วมในการวาดภาพของประเทศไทยให้แผ่นดินที่เคยงดงามกลับคืนมา และร่วมคืนความสุขแก่ประชาชนก็น่าจะลองเข้าสู่กระบวนการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
ขั้นตอนการเสนอชื่อของนิติบุคคลเป็นอย่างไร 
นิติบุคคลซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน
นิติบุคคลเสนอได้ไม่เกิน 2 ชื่อ
นิติบุคคลต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
สำหรับส่วนราชการ ให้เสนอชื่อตามมติของ อ.ก.พ.กระทรวง หรือ อ.ก.พ.กรม แล้วแต่กรณี
สำหรับรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน ให้เสนอชื่อตามมติของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน
สำหรับหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีคณะกรรมการเป็นผู้กำกับดูแลหรือบริหารงานให้เสนอชื่อ ตามมติของคณะกรรมการดังกล่าว ในกรณีที่ไม่มีคณะกรรมการเป็นผู้กำกับดูแล หรือบริหารงานให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้เสนอชื่อ
นิติบุคคลที่มีลักษณะเป็นสมาคม มูลนิธิ หรือสภาให้เสนอชื่อตามมติของคณะกรรมการสมาคมหรือมูลนิธิ หรือคณะกรรมการของสภา
นิติบุคคลอื่นที่มีคณะกรรมการเป็นผู้กำกับดูแลหรือบริหารงาน ให้เสนอชื่อตามมติ ของคณะกรรมการของนิติบุคคลนั้น
สถาบันการศึกษา ให้เสนอชื่อตามมติของสภาหรือคณะกรรมการสถาบัน 
นิติบุคคลใดไม่มีคณะกรรมการเป็นผู้กำกับดูแลหรือบริหารงาน ให้ผู้มีอำนาจทำการแทน นิติบุคคลนั้นเป็นผู้เสนอชื่อ
นิติบุคคลเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยต้องแนบเอกสารและหลักฐานของบุคคลผู้นั้น ดังต่อไปนี้
สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่น ของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ 
เอกสารแสดงความประสงค์ของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อว่าจะปฏิรูปด้านใดด้านหนึ่ง
หนังสือยินยอมให้เสนอชื่อ ทั้งนี้ บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อจะทำหนังสือยินยอมให้มีการเสนอชื่อเกินหนึ่งฉบับมิได้
คำรับรองของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อว่าตนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
หมายเหตุ : เอกสารและหลักฐาน ให้บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อลงลายมือชื่อ เพื่อรับรองความถูกต้องด้วย
***************
ปฏิทินการสรรหา
กันยายน 2557
รายละเอียดกิจกรรม
14 ส.ค. 57 - 2 ก.ย. 57
ทั้งวัน นิติบุคคลเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาฯ
ขอเชิญนิติบุคคล (ที่ไม่แสวงหากำไร) เสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯแจ้งวัฒนะ
3 ก.ย. 57 - 12 ก.ย. 57
08:00 - 08:30 ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลฯ
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ และส่งให้คณะกรรมการสรรหาทั้ง 11 คณะ
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดส่งรายชื่อบุคคลที่ได้รับการทาบทามจากคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดให้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติพิจารณาคัดเลือกต่อไป
13 ก.ย. 57 - 22 ก.ย. 57
ทั้งวัน คณะกรรมการสรรหาพิจารณาคัดเลือกบุคคลฯ
คณะกรรมการสรรหาทั้ง 11 คณะ พิจารณาคัดเลือกบุคคลเพื่อส่งให้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติพิจารณาคัดเลือกต่อไป
23 ก.ย. 57 - 2 ต.ค. 57
ทั้งวัน พิจารณาคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติพิจารณาคัดเลือกบุคคลจากรายชื่อที่ได้รับ เพื่อทูลเกล้าฯ และประกาศรายชื่อในราชกิจจานุเบกษา
ที่มา
http://www2.ect.go.th/home.php?Province=nrc2014
http://www.pun2013.bth.cc/
 
waoram valrom2009@gmail.com [101.51.53.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :