แนวข้อสอบชุดที่ 1 หลักการบริหาร |
|
อ้างอิง
อ่าน 4120 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
waoram
|
แนวข้อสอบชุดที่ 1 หลักการบริหาร
คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. การศึกษาตามแนว Scentific Management เป็นแนวทางการศึกษาของใคร
1. Max Weber 2. Luther Gulick
3. W. Taylor 4. Simon
2. ใครเป็นผู้ศึกษาโครงสร้างของระบบราชการในอุดมคติ
1. Max Weber 2. Luther Gulick and Urwick
3. W. Taylor 4. Simon
3. Merlit system คือระบบ
1. อุปถัมภ์ 2. คุณธรรม
3. ความสามารถ 4. ถูกเฉพาะข้อ 2,3
4. หลักสำคัญของระบบราชการ คืออะไร
1. สายการบังคับบัญชา 2. มีการแบ่งงานตามความชำนาญ
3. ไม่ยึดติดกับตัวบุคคล 4. ถูกทุกข้อ
5. Managementby objective ประกอบด้วยสิ่งใดสำคัญ
1. เป้าหมาย การสั่งการ ควบคุมงาน เพื่อประชาชน
2. เป้าหมาย แผนงาน หน้าที่ ควบคุมงาน
3. เป้าหมาย กำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ร่วมกันและทำงานเพื่อประสิทธิภาพ
4. เป้าหมาย กระบวนการ การตัดสินใจ เพื่อประชาชน
6. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีต่อการสั่งการ คือ
1. ผู้บริหาร อำนาจหน้าที่ คนงาน
2. ผู้บริหาร คนงาน ปัญหาของเรื่องนั้น
3. ผู้บริหาร คนงาน การสื่อสาร
4. ผู้บริหาร คนงาน การควบคุม
7. อาจารย์ชุม กาญจนประกร เพิ่ม POSDCORS เป็น PA POSDCORB “P” ที่เพิ่มหมายถึง
1. pianning 2. Program 3. Performane 4. Policy
8. ลำดับความต้องการของ Maslow ขั้น Self – actualization คือ
1. ความต้องการมีส่วนร่วมในสังคม
2. ความต้องการได้รับการยกย่องในสังคม
3. ความต้องการได้รับความสำเร็จตามนึกคิด
4. ความต้องการที่จะทำให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง
9. ทฤษฎีใดเชื่อว่า การควบคุมงานด้วยการลงโทษทำให้คนทำงาน
1. ทฤษฎี Y 2. ทฤษฎี X
3. ทฤษฎีจูงใจ 4. ทฤษฎีปัจจัย 2 ด้าน
10. สาเหตุที่ทำให้การบริหารราชการล่าช้าเป็นเพราะเหตุใด
1. ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
2. เครื่องมือเครื่องใช้ไม่ทันสมัย
3. ฝ่ายการเมืองเข้ามาก้าวก่ายมากเกินไป
4. การตรวจสอบจากสื่อสารมวลชน
11. ข้อใดต่อไปนี้ช่วยให้การวินิจฉัยของผู้บังคับบัญชาเป็นไปอย่างถ ูกต้อง
1. รู้ขอบเขตความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
2. รู้ปริมาณงานที่จะมอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำ
3. ทำงานเกิดผลเร็วที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงสิ่งใด
4. ถูกเฉพาะข้อ 1,2
12. ข้อใดทำให้การวางแผน ประสบผลล้มเหลว
1. ขาดข้อมูลวางแผน 2. ขาดความรู้หลักวิชาการวางแผน
3. ผู้วางแผนไม่ปฏิบัติตามแผน 4. ถูกทุกข้อ
13. MBO เริ่มขั้นตอนแรกจาก
1. การวัดผลการปฏิบัติงาน
2. การประเมินผลงาน
3. การมอบหมายงานและหน้าที่
4. การกำหนดวัตถุประสงค์และวางแผนร่วมกัน
14. ความพยายามอย่างเป็นขั้นตอนต่อเนื่องในการปรับปรุงสมรรถภาพของอ งค์การเพื่อการเปลี่ยน
แปลงเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ เป็นหลักของ
1. OD 2. MBO 3. QC 4. DA
15. Span of controi หมายถึงอะไร
1. ความกว้างของขอบเขตของการควบคุมที่มีต่อคนและสถานที่
2. การขยายตัวของการควบคุม
3. การกระจายการควบคุมไปสู่ส่วนต่าง ๆ
4. จำนวนของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่ต้องรายงานหรือขึ้นโดยตรงต่อผ ู้บังคับบัญชาคนใดคนหนึ่ง
16. ข้อใดถูกต้องที่สุด ในเรื่องของการประสานงาน
1. จัดทำแผนผัง 2. จัดให้มีผู้ประสานงาน
3. จัดการประชุมร่วมกัน 4. ถูกทุกข้อ
17. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการควบคุมงาน
1. งานถูกต้องและมีมาตรฐาน 2. ทำให้ทราบปัญหาและอุปสรรคของงาน
3. ทำให้งานเป็นไปตามแผนที่กำหนด 4. ถูกทุกข้อ
18. CPM คือ
1. Coordinating Planning Management
2. Critical Path Method
3. Communition Path Method
4. Contralization Policy Management
19. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) คือ
1. ระบบการจัดการที่พัฒนาจากแนวคิดของการสื่อสาร
2. ระบบการจัดการที่แนวคิดจากนำคอมพิวเตอร์มาประมวลผลข้อมูล
3. ระบบข้อมูลที่พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีข่าวสาร
4. ถูกเฉพาะข้อ 2,3
20. เทคนิคการบริหารในแบบใดที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในองค์การมีส่ วนร่วมมากที่สุด
1. CPM 2. PERT 3. MBO 4. MIS
21. การพัฒนาองค์การ เน้นหลักใหญ่ คือ
1. พัฒนาคน 2. การพัฒนาเทคโนโลยี
3. พัฒนาสิ่งแวดล้อมขององค์การ 4. การพัฒนาการบริหาร
22. การที่ผู้บังคับบัญชา มอบหน้าที่ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดผลดีอย่างไร
1. เป็นการกระจายงานและความรับผิดชอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
2. เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้บังคับบัญชาได้
3. เป็นการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ใช้ความรู้ ความสามารถของตนเอง
4. ถูกทุกข้อ
23. แต่ละหน่วยงานจะมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวรับผิดชอบงานหมายถ ึง
1. Span of Control 2. Unity of Commant
3. Chain of Commanf 4. Hierarchy
24. การบริหารงานรายได้ภาวะจำกัด คำว่า “จำกัด” คือ
1. ขาดแคลนทรัพยากร 2. สถานการณ์จำกัดหรือเร่งด่วน
3. ทรัพยากรจำกัด และขีดจำกัดเกี่ยวกับสถานการณ์
4. ทดแทนบุคคล
25. สูตร E = (ผลงาน + ทรัพยากรบริหารที่ใช้) + ความพึงพอใจ)
E = คืออะไร
1. ประสิทธิภาพ 2. ประสิทธิผล 3. ประเมินผล 4. พลังงาน
Reengineering หมายถึง
1. แนวคิดการเปลี่ยนแปลงองค์การ เน้นเรื่องการบริหาร
2. แนวคิดการเปลี่ยนแปลงองค์การแบบค่อยเป็นค่อยไป
3. แนวคิดการเปลี่ยนแปลงองค์การแบบเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด
4. ถูกทุกข้อ
26. ขั้นตอนในการทำกิจกรรม O.C.C. ประกอบด้วยวงจร PDCA “D” ในที่นี้ คือ
1. Directing 2. Decision making
3. Delegation 4. Do
27. การอำนวยการ เกี่ยวข้องข้อใดน้อยที่สุด
1. การวินิจฉัยสั่งการ 2. ภาวะผู้นำ
3. ขวัญและกำลังใจ 4. การจัดบุคคล
28. สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติในการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมกัน
1. จริงใจ 2. รับฟังความคิดเห็น 3. ใจกว้าง 4. ยุ่งเรื่องส่วนตัว
29. การจัดแบ่งงานแบบ Line และ Staff มีลักษณะใด
1. หน่วยงาน Staff เป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน Line
2. หน่วยงาน Line เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงาน Staff
3. หน่วยงาน Staff ให้คำปรึกษาหน่วยงาน Line
4. หน่วยงาน Line ให้คำปรึกษาหน่วยงาน Staff
30. การพัฒนาการบริหาร
1. พัฒนาองค์การ 2. พัฒนาบุคคล
3. พัฒนาระบบ 4. พัฒนาเทคโนโลยีทางการบริหาร
5. พัฒนาสิ่งแวดล้อม
31. อักษร CO ใน Model ของ Gulick และ Urwick คือ
1. Controlling 2. Construting
3. Coordinating 4. Communication
32. ในการวิเคราะห์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างการติดต่อควบคุมภาย ในองค์การ ได้แก่
1. สายการบังคับบัญชา 2. ช่วงการควบคุม
3. เอกภาพของการบังคับบัญชา 4. ถูกทุกข้อ
33. การตั้งอยู่ในความสุจริตธรรมตรงกับหลักธรรมข้อใด
1. มัทวะ 2. อาชวะ 3. ตปะ 4. อวิหิงสา
34. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
1. 2521 2. 2535 3. 2540 4. 2542
35. วิธีการซื้อและการจ้างมีกี่วิธี
1. 3 2. 4 3. 5 4. 7
36. การซื้อโดยวิธีตกลงราคา กำหนดวงเงินไว้เท่าไร
1. ไม่เกิน 10,000 บาท 2. ไม่เกิน 50,000 บาท
3. ไม่เกิน 100,000 บาท 4. เกิน 100,000 บาท
37. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ได้กำหนดวงเงินไว้เท่าไร
1. เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
2. เกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
3. เกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
4. เกิน 2,000,000 บาทขึ้นไป
38. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา กำหนดวงเงินไว้เท่าไร
1. เกิน 10,000 บาท 2. เกิน 100,000 บาท
3. เกิน 1,000,000 บาท 4. เกิน 2,000,000 บาท
39. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษ กำหนดวงเงินไว้เท่าไร
1. เกิน 10,000 บาท 2. เกิน 100,000 บาท
3. เกิน 1,000,000 บาท 4. เกิน 2,000,000 บาท
40. การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง เงินจำนวนเท่าใดที่สามารถแต่งตั้งกรรมการตรวจรับเพียงคนเดียวได ้
1. ไม่เกิน 10,000 บาท 2. ไม่เกิน 100,000 บาท
3. ไม่เกิน 500,000 บาท 4. ไม่เกิน 2,000,000 บาท
41. คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ / จ้าง มีกี่คณะ
1. 4 2. 5 3. 6 4. 7
42. คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ / จ้าง ประกอบด้วยใครบ้าง
1. ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการอย่างน้อย 2 คน
2. ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการอย่างน้อย 3 คน
3. ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการอย่างน้อย 5 คน
4. ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการอย่างน้อย 7 คน
43. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องส่งประกาศไปยังผู้มีอาชีพรับจ้างโดยตรง
หรือปิดเปิดเผยไว้ ณ ที่ทำการส่วนราชการนั้น ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่ากี่วัน
1. ไม่น้อยกว่า 1 วัน 2. ไม่น้อยกว่า 5 วัน
3. ไม่น้อยกว่า 7 วัน 4. ไม่น้อยกว่า 10 วัน
5. ไม่น้อยกว่า 20 วัน
44. การตรวจรับพัสดุจะต้องทำให้เสร็จภายในกี่วัน
1. 1 วัน 2. 3 วัน
3. 5 วัน 4. ไม่ได้กำหนดเมื่อใดก็ได้
5. ถูกทุกข้อ
45. การตรวจรับพัสดุในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบวัสดุไม่ถู กต้อง จะดำเนินการอย่างไร
1. ไม่ยอมรับพัสดุ
2. ยอมรับพัสดุทั้งหมด
3. ตรวจรับพัสดุไว้จำนวนที่ถูกต้องแล้วรีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ ทราบ
4. ถูกเฉพาะข้อ 1,2
46. ใครเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ / การจ้าง เจ้าหน้าที่
1. เจ้าหน้าที่พัสดุ 2. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
3. หัวหน้าส่วนราชการ 4. ถูกทุกข้อ
47. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ มิให้ใช้บังคับกับส่วนราชการใด
1. กระทรวง ทบวง 2. กรม
3. จังหวัด 4. รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
48. ในการดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุหากผู้มีอำนาจหนือผู้มีหน้าที่เกี ่ยวข้องไม่ปฏิบัติตามระเบียบ สำนัก
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ถ้าการกระทำมีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย
อย่างร้ายแรง บุคคลผู้นั้นจะถูกลงโทษอย่างไร
1. ลงโทษภาคทัณฑ์ 2. ลงโทษอย่างต่ำตัดเงินเดือน
3. ลงโทษอย่างต่ำปลดออกจากราชการ 4. ลงโทษว่ากล่าวตักเตือน
49. งบประมาณเกินดุล หมายความว่าอย่างไร
1. รายจ่ายมากกว่ารายได้ 2. รายได้มากกว่ารายจ่าย
3. รายได้เท่ากับรายจ่าย 4. ผิดทุกข้อ
50. หนี้สาธารณะ หมายถึง อะไร
1. หนี้ที่รัฐบาลก่อโดยตรง
2. หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
3. หนี้ของบริษัทเงินทุน
4. ถูกเฉพาะ ข้อ 1,2
51. วงจรงบประมาณ (Budget Cycle) หรือ กระบวนการงบประมาณแผ่นดิน ประกอบด้วยขั้นตอน
ใดบ้าง
1. การจัดเตรียมงบประมาณ 2. อนุมัติงบประมาณ
3. บริหารงบประมาณ 4. ถูก เฉพาะ ข้อ 1,2,3
52. การเสนอร่าง พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี ของ ค.ร.ม. ต่อรัฐสภา ต้องกระทำก่อนเริ่มปีงบประมาณ
อย่างน้อยเป็นเวลาประมาณกี่เดือน
1. 1 เดือน 2. 2 เดือน
3. 3 เดือน 4. 4 เดือน
53. เงินทดรองราชการ หมายความว่าอย่างไร
1. เงินเดือน 2. เงินค่าล่วงเวลา
3. เงินเบี้ยเลี้ยง
4. เงินที่ไว้ใช้เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลั ง
54. ข้อใดเป็นการออกคำสั่งที่ดี
1. การออกคำสั่งมีความชัดเจน
2. ข้อความที่ออกคำสั่งไม่ยาวจนเกินไป
3. ผู้รับคำสั่งมีความเข้าใจสามารถปฏิบัติงานได้
4. ถูกทุกข้อ
55. การจัดสรรงบประมาณแบบ Zero – Base Budgeting (ZBB) เป็นการจัดทำแบบใด
1. เป็นการวิเคราะห์โครงจากง่ายไปหายาก
2. เป็นการจัดสรรงบประมาณโครงการใหญ่ ๆ
3. เป็นการจัดทำงบประมาณ แบบนำโครงการทุกโครงการมาวิเคราะห์กันใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น
4. ถูกทุกข้อ
56. ในการจัดทำงบประมาณประจำปี จะต้องทำให้เสร็จก่อนปีงบประมาณ “ปีงบประมาณ” คือระยะ
เวลาใด
1. ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ของปีหนึ่งถึง 30 ตุลาคม ของปีถัดไป
2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปี ถึง 30 ธันวาคม ของปีนั้น
3. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของปีหนึ่งถึง 30 กันยายนของปีถัดไป 4. ผิดทุกข้อ
57. DERT คือ
1. การเตรียมความพร้อมด้านนโยบาย 2. การกำหนดนโยบาย แผนงาน
3. การประเมินผลและตรวจสอบผลงาน 4. การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
58. “การเมือง และการบริหารเปรียบดังสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน” หมายความว่าอย่างไร
1. การเมืองและการบริหารจะต้องแยกออกจากกันเสมอ
2. ฝ่ายบริหารจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย ในขณะเดียวกันฝ่ายการเมืองนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
3. การเมืองและการบริหารเป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการไปด้วยกันจะแยก จากกันมิได้
4. ผิดทุกข้อ
59. ลักษณะใดที่ทำให้การบริหารราชการมีลักษณะ Red Tape กว่าองค์การธุรกิจ
1. การปฏิบัติงานขาดปัจจัยทางการบริหาร 2. มีงบประมาณดำเนินการมาก
3. การปฏิบัติงานตามสายบังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด 4. ถูกทุกข้อ
60. Letter of Intent คืออะไร
1. จดหมายของรัฐบาลไทยที่ส่งไปยังสถานทูตต่าง ๆ
2. หนังสือสัญญาการดั๊น้เงินระหว่างรัฐบาลไทยกับ IMF
3. หนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาล & ไทยกับ IMF 4. ผิดทุกข้อ
61. หน่วยงานวิจัย และวางแผนเป็นหน่วยงานลักษณะใด
1. Line 2. Auxiliary 3. Staff 4. ถูกทุกข้อ
62. ปัจจุบันกรมการปกครองได้รับงบประมาณน้อย แต่มีภาระกิจมากมายเร่งด่วนในการช่วยเหลือ
ประชาชนทั่วประเทศ ท่านคิดว่าควรจะใช้วิธีการบริหารอย่างไรเพื่อทำให้งานสำเร็จลุล ่วงด้วยดี
1. หลักบริหาร MIS 2. หลักการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)
3. หลักระบบควบคุมคุณภาพ (Q.O.C) 4. หลักการบริหารงานภายใต้ภาวะจำกัด
63. วงจรของการวางแผน ข้อใดถูกที่สุด
1. การกำหนดนโยบาย การวางแผน ติดตามผล
2. การวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ การประเมินผล
3. การประเมินผล การวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ 4. ถูกทุกข้อ
64. แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. ใด
1. 2499 – 2503 2. 2504 – 2509 3. 2510 – 2514 4. 2514 – 2519
65. การบริหาร คืออะไร
1. การใช้ศาสตร์ และศิลปะนำทรัพยากรทางการบริหารมาบริหารให้บรรลุวัตถุประสงค์
2. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในทำงานของระบบราชการ
3. การสร้างความพึงพอใจให้เกิดแก่ประชาชน
4. การด้านอำนาจระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
66. ประสิทธิภาพในการบริหารงาน คืออะไร
1. ความสามารถดำเนินงานาบรรลุ วัตถุประสงค์ ภายใต้ความพึงพอใจของลูกค้า
2. ความสามารถในการผลิตหรือให้บริการโดยใช้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุ ด
3. ความสามารถดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายตามนโยบาย
4. การทำงานให้สำเร็จลุล่วงแต่ขาดการประหยัด
67. การใช้ความสามารถในการสอบเข้ารับราชการได้ที่ 1 ตรงกับระบบข้อใด
1. ระบบอุปถัมภ์ 2. ระบบญาติ 3. คุณธรรม 4. เพื่อนพ้อง
68. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับสายการบังคับบัญชา
1. สายการบังคับบัญชา ยาว การติดต่อสื่อสารจะรวดเร็ว
2. สายการบังคับบัญชา กำหนดไว้ชัดเจนเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร
3. สายการบังคับบัญชาสั้น การติดต่อสื่อสารได้ผลและรวดเร็ว
4. สายการบังคับบัญชาไม่ได้เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร
68. Put the right man in the right job คือหลัก
1. การพัฒนาบุคคล 2. การมอบอำนาจหน้าที่
3. การบริหารบุคคล
4. การบรรจุบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆด้วยความรู้ ความสามารถ
69. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 เน้นด้านใด
1. พัฒนาความเจริญไปสู่ภูมิภาค 2. พัฒนาศีลธรรม
3. พัฒนาคน 4. พัฒนาการศึกษา
70. ในการจัดทำแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 1 ไม่ได้เน้นเรื่องใด
1. พัฒนาการศึกษา 2. พัฒนาการเกษตร
3. พัฒนาอุตสาหกรรม 4. ความเป็นธรรมของสังคม
71. ข้อใดมิใช่ กลยุทธ์ที่ใช้ในการควบคุมโครงการ
1. Reporting 2. Auditing 3. Directing 4. Evaluation
72. ถ้าท่านมีโอกาสเลือกเข้าทำงาน บุคคลต่อไปนี้ท่านจะเลือกอยู่กับใคร
1. หัวหน้างานรับผิดงานทั้งหมด ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ คนเดียว
2. หัวหน้างานที่คอยช่วยเหลือแก้ปัญหางานให้ท่านตลอดเวลา
3. หัวหน้างานกระจายอำนาจในการตัดสินใจให้กับท่าน
4. หัวหน้างานไม่เสนอแนะงานให้ท่านเรียนรู้ด้วยประสบการณ์เอาเอง
73. ในการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การใช้ภาวะผู้นำในที่ประชุมควรเป็นหน้าที่ของใคร
1. ประธานที่การประชุม 2. เลขานุการ
3. สมาชิกอาวุโส 4. สมาชิกคนที่พูดเก่ง
74. Laissery - fair Leaders คือผู้นำแบบใด
1. ชอบใช้อำนาจสั่งการ 2. ชอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็น
3. ชอบความเสรี 4. ถูกทุกข้อ
75. เงินค่าปรับในสัญญาในกรณีผู้สั่งซื้อ / จ้างผิดสัญญา ท่านทราบไหมว่ากำหนดจำนวนเท่าไร
1. อัตราร้อยละ 0.10 – 0.20 ของราคาจ้าง / ซื้อ
2. อัตราร้อยละ 0.01 – 0.10 ของราคาจ้าง / ซื้อ
3. อัตราร้อยละ 1.00 – 10.00 ของราคาจ้าง / ซื้อ 4. กำหนดเท่าไรก็ได้
75. การเป็นคณะกรรมตรวจรับพัสดุ / จ้าง จะต้องแต่งตั้งอย่างน้อยกี่คน
1. 2 2. 3 3. 4 4. 5
76. การจัดซื้อ / จ้างโดยวิธีใดเป็นการจัดซื้อ / จ้าง ในลักษณะพัสดุ ที่ใช้ในราชการลับ, พัสดุที่ต้องซื้อ
เร่งด่วน, พัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยส่วนราชการ
1. วิธีตกลงราคา 2. วิธี สอบราคา 3. วิธีพิเศษ 4. วิธีกรณีพิเศษ
77. การซื้อหรือการจ้างจากส่วนราชการที่ผลิตพัสดุเองใช้วิธีใด
1. วิธีตกลงราคา 2. วิธีสอบราคา 3. วิธีประกวดราคา 4. วิธีกรณีพิเศษ
78. หลักประกันสัญญา ตามระเบียบพัสดุฯ กำหนดไว้อย่างไร
1. อัตราร้อยละ 5 ของวงเงินหรือ พัสดุที่จัดหาครั้งนั้น
2. อัตราร้อยละ 10 ของวงเงิน หรือพัสดุที่จัดหาครั้งนั้น
3. อัตราร้อยละ 1 ของวงเงินหรือพัสดุที่จัดหาครั้งนั้น
4. กำหนดไว้เท่าไรก็ได้
79. Time and Motion Study เป็นการศึกษาตามแนว
1. PUSDCORB Model 2. BUREACRACY
3. SCIENTIFIC MANAGEMENT 4. ถูกทุกข้อ
80. อุปสรรคในการติดต่อสื่อสารที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ
1. ความแตกต่างกันในภูมิหลัง 2. สภาพแวดล้อมขององค์การ
3. ลักษณะและขนาดขององค์การ
4. การยอมรับและความเข้าใจถ้อยคำที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
จริงๆ แล้วหาคำตอบได้ไม่ยากนะ ลองหาคำตอบด้วยตัวเองแล้วเอาเหตุผลมาอ้างอิงกันดีกว่า เด๋วเด็กแอ๊คทำให้ดูเป็นตัวอย่างนะ ถ้าทำแบบนี้ดูท่าจะสอบผ่านได้ไม่ยากนะ จำแม่นด้วย
วิชารัฐประศาสนศาสตร์/ การบริหารรัฐกิจในอดีตที่ผ่านมาพยายามจะพัฒนาให้เป็นวิชาที่มีเ อกลักษณ์ของตนเอง ในช่วง Paradigm ที่ 1-2 นักวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์มีความคาดหวังสูง เชื่อว่าหลักการบริหารมีจริง แต่ขณะนั้นยังค้นไม่พบ โดยสันนิษฐานว่าถ้าพบหลักการบริหารแล้วจะสามารถนำไปใช้ได้ทั่วโ ลก นั่นคือมีลักษณะเป็นศาสตร์แข็ง (hard science) แต่ในความเป็นจริงแล้ว รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะของศาสตร์ประยุกต์ (apply science) นั่นคือ หยิบยืมวิชาต่างๆ มาใช้ จะเห็นได้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์เริ่มหยิบยืมวิชาต่างๆ มาตั้งแต่ Paradigm ที่ 4 โดยวิชาแรกๆ ที่หยิบยืมมา ได้แก่
1) วิชาทางด้านองค์การ/ ทฤษฎีองค์การ......วิชานี้นำมาจากสังคมวิทยา เพราะเจ้าของทฤษฎี Bureaucracy คือ Max Weber (นักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน) Max Weber ศึกษาด้านสังคม Bureaucracy มีฐานมาจากสังคม เขาศึกษาเรื่องอำนาจ
2. วิชาทางด้านบริหารธุรกิจ.......ได้แก่ วิทยาการจัดการ (Scientific Management) ของ Frederick Taylor โดยเขาศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของคน
ในช่วง Paradigm ที่ 5 (บริหารรัฐกิจ คือ บริหารรัฐกิจ) รัฐประศาสนศาสตร์ได้หยิบยืมทุกสาขาวิชา ทุกศาสตร์ที่มีอยู่ในโลกนี้และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการ ได้แก่
1. วิชาตรรกวิทยา (logic)......เป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุและผล จุดที่เรานำไปใช้มากและเห็นชัดเจน คือ การคิดในเชิงเหตุเชิงผล ได้แก่ การนำไปกำหนดนโยบายต้องมีเหตุผล การนำไปบริหารงานในการตัดสินใจต่างๆ ต้องมีเหตุผล
2. วิชาสังคมวิทยา (sociology).....เป็นวิชาที่มีรายละเอียดมาก ศึกษาเกี่ยวกับคนที่มาอยู่ร่วมกันในสังคม ศึกษาการสืบทอดมรดกทางสังคม ศึกษาสภาพแวดล้อมต่างๆ ทางสังคม ศึกษาองค์การทางสังคม (วัด ครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน )
3. วิชามานุษยวิทยา (anthropology).....เป็นวิชาที่ว่าด้วยวัฒนธรรม/ เผ่าพันธุ์ของคน ผู้บริหารจะละเลยวัฒนธรรมของคนไม่ได้
New Public Administration เกิดขึ้นจากการประชุมที่ Minnowbrook มหาวิทยาลัย Syracuse ในปี 1968 สังคมอเมริกาก่อนปี 1968 เป็นสังคมที่วุ่นวายจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ 1) คนด้อยโอกาสถูกละเลย ถูกทอดทิ้ง อันเป็นผลพวงของระบบ merit system ที่เปิดโอกาสให้คนมาสอบแข่งขันเข้ารับราชการ เมื่อตำแหน่งมีจำกัดก็ต้องสอบแข่งขันกัน โดยคนที่สอบได้ส่วนใหญ่เป็นประจำ คือ คนผิวขาว 2) สงครามเวียดนาม
นักวิชาการอเมริกาในขณะนั้นจึงประชุมกันที่ มหาวิทยาลัย Syracuse โดยมีสาระสำคัญ คือ
1) Relevant......ผู้บริหารต้องบริหารให้สอดค ล้องกับความต้องการของประชาชน
2) Value....ผู้บริหารคิดถึงค่านิยมของสังคม
3) Social Equity.....ผู้บริหารต้องคิดถึงความเป็นธรรมทางสังคม มาจากแนวคิดของจอห์น ลอร์
ทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นจุดเปิดของระบบราชการ เพราะแต่เดิมระบบราชการปิดตัวเอง คิดและทำเพื่อตัวเอง ไม่สนใจชาวบ้าน
ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา โดยผลพวงของการประชุมที่ Minnowbrook ระบบราชการเริ่มคิดถึงประชาชนมากขึ้น เป็นระบบเปิดมากขึ้น
ประเทศไทยนำ Social Equity มาใช้ เช่น 1) ระบบโควตาเข้ามหาวิทยาลัย เพราะเด็กต่างจังหวัดไม่สามารถแข่งขันกับเด็กกรุงเทพฯ ได้ การให้โควตาจะทำให้เด็กต่างจังหวัดเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้&a mp;n bsp; 2) โรงงานที่คนงาน 200 คนขึ้นไป จะต้องรับคนพิการ/ คนด้อยโอกาส 1 คน
4. วิชาจิตวิทยาสังคม (Social Psychology)......เป็นการศึกษาคนแต่ละคนว่าคิดอย่างไร อยู่อย่างไร ถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร
ทั้งวิชาสังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยาสังคม รวมเรียกว่า “วิชาพฤติกรรมศาสตร์” โดยหน่วยการศึกษาของแต่ละวิชาแตกต่างกัน นั่นคือ จิตวิทยาศึกษาคนแต่ละคน สังคมวิทยาศึกษากลุ่ม/ คนมารวมกันเป็นกลุ่ม มานุษยวิทยาศึกษาวัฒนธรรม/ เผ่าพันธุ์ของคนแต่ละคน
กรณีกรือเซะ.....ทางการไทยอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่จริงๆ มันเป็นเรื่องใหญ่ กรือเซะในอดีตที่ผ่านมา สังคมมุสลิมกับสังคมพุทธอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นมาตลอด หลังจากที่เราโปรโมทเรื่องการท่องเที่ยว เราพยายามเอาประวัติศาสตร์มาเป็นจุดแข็งว่ากรือเซะสร้างไม่เสร็ จสักทีเพราะเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวบอกไว้ ซึ่งลักษณะการบอกกล่าวเช่นนี้ในมุมหนึ่งเหมือนกับการเหยียบย่ำ “สุเหร่า” เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่กราบไหว้บูชาของชาวมุสลิม แต่ถูกผู้หญิงคนหนึ่งที่มารอพี่ชายสาปไว้ เหมือนเป็นการเหยียบย่ำ
5. วิชาเศรษฐศาสตร์......สัญญาเบาริ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ WTO เป็น FTA ฉบับแรกๆ ของโลก โดยสัญญาเบาริ่งกำหนด 100 ชัก 3 เป็นประตูแรกที่ไทยเปิดประตูการค้ากับต่างประเทศ เริ่มมีการส่งข้าว ดีบุก ยางพารา ไปขายต่างประเทศ โดยประเทศที่ซื้อข้าวมากที่สุด คือ อังกฤษ
ในยุคองค์การสมัยแรกที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอั งกฤษ ยุโรปเหนือ (ฝรั่งเศส เยอรมัน) รวมทั้ง อเมริกาเหนือ) (การปฏิวัตอุตสาหกรรม คือ การผลิตสินค้าให้ได้คราวละมากๆ) ขณะนี้ยังไม่ค่อยมีเครื่องไม้เครื่องมือในการผลิต มีเพียงเครื่องจักรไอน้ำ สิ่งที่จะมาประกอบในการผลิตเพื่อให้ได้คราวละมากๆ คือ “แรงงาน” โดยแรงงานจะอพยพมาจากสังคมชนบท เริ่มเกิดเป็นสังคมเมือง แย่งกันอยู่ แย่งกันกิน ขณะนั้นมีลัทธิเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม ที่มีความคิดว่า “มือใครยาว สาวได้สาวเอา” นายทุนกดค่าแรงอย่างมาก คนงานได้ค่าแรงเพียงเพื่อประทังชีวิตไปวันๆ เท่านั้น ช่วงนั้นเราส่งข้าวออกมา มากจนเราผลิตไม่ทัน ประเทศไทยเริ่มทำการผลิตในลักษณะของการค้าข้าวในช่วงต้นรัชกาลท ี่ 5 ขณะนั้นประเทศไทยขาดแรงงานมาก
|
|
waoram valrom2009@gmail.com [101.51.51.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|