ทะเบียนครอบครัว |
|
อ้างอิง
อ่าน 278 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
waoram
|
ทะเบียนครอบครัว
ความหมาย
ทะเบียนครอบครัว หมายถึง การจดทะเบียนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว ที่กฎหมายให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิและกำหนดหน้าที่ของบุคคล
การจดทะเบียน หมายความว่า การจดข้อความลงในทะเบียนเพื่อเป็นความสมบูรณ์ตามกฎหมาย
การบันทึก หมายความว่า การจดข้อความลงในทะเบียนเพื่อเป็นหลักฐานในการพิสูจน์
พยานในการจดทะเบียน บุคคลที่จะเป็นพยานไม่ได้ คือ บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ บุคคลที่หูหนวก หรือเป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง
ประเภทของทะเบียนครอบครัว
การจดทะเบียนครอบครัว แบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่
- การจดทะเบียนสมรส
- การจดทะเบียนหย่า
- การจดทะเบียนรับรองบุตร
- ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
- ทะเบียนการเลิกรับบุตรบุญธรรม
- การบันทึกฐานะของภริยา
- การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
- ทะเบียนการสมรส
หลักเกณฑ์
การสมรสที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ
- ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายว่าด้วยด้วยการสมรส เงื่อนไขแห่การสมรสได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 คือ
- ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้
- ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
- ชายหรือหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาจะทำการสมรสกันไม่ได้
- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
- ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
- หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ ต่อเมื่อสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
- คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
- สมรสกับคู่สมรสเดิม
- มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์
- มีคำสั่งศาลให้สมรสได้
- ผู้เยาว์จะทำการสมรส ต้องไปด้รับความยิมยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย
|
|
|