แนวข้อสอบเตรียมสอบปลัดอำเภอ ชุดแบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า (ชุดที่ 1) 2014) โดยประพันธ์ เวารัมย์ |
|
อ้างอิง
อ่าน 544 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
แนวข้อสอบเตรียมสอบปลัดอำเภอ
ชุดแบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า (ชุดที่ 1) 2014)
โดยประพันธ์ เวารัมย์
************************
1. ทะเบียนครอบครัว แบ่งออกเป็นข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. 4 ประเภท
ข. 5 ประเภท
ค. 6 ประเภท
ง. 7 ประเภท
จ. 8 ประเภท
*******************************
2. การจดทะเบียนสมรสกระทำได้กี่วิธี
ก. 3 วิธี
ข. 4 วิธี
ค. 4 วิธี
ง. 5 วิธี
จ. 7 วิธี
*******************************
3. ข้อใด ไม่ใช่วิธีการจดทะเบียนสมรส
ก. จดทะเบียนสมรสต่อกำนัน
ข. จดทะเบียนสมรสต่างสำนักทะเบียน
ค. จดทะเบียนในสำนักทะเบียน
ง. จดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน
จ. จดทะเบียนสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล
*******************************
4. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล ใครเป็นผู้อนุมัติให้ทำได้
ก. นายอำเภอ
ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. อธิบดีกรมการปกครอง
ง. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
จ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
*******************************
5. การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ต้องนำเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้นซึ่งแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองถูกต้องมาแสดงต่อนายทะเบียน
ข. ต้องเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีที่เป็นคนสัญชาติไทยกับคนสัญชาติอื่นเท่านั้น
ค. ข้อความที่จะให้บันทึกจะต้องเป็นกิจการอันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัว
ง. กิจการนั้นได้กระทำไว้ในต่างประเทศตามแบบกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้นบัญญัติไว้
จ. ข้อ ข. และข้อ ง.
*******************************
6. ข้อความต่อไปนี้ ซึ่งเกี่ยวกับทะเบียนการบันทึกฐานะแห่งภริยานั้น ข้อความใดถูกต้อง
ก. สามีภริยาที่จะร้องขอให้บันทึก ต้องแต่งงานก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478
ข. ให้บันทึกภริยาทุกคน ทั้งที่ร้องขอและไม่ได้ร้องขอ
ค. ให้บันทึกภริยาน้อยได้เพียงหนึ่งคน
ง. ให้บันทึกฐานะภริยาหลวงเพียงคนเดียว ภริยาน้อยห้ามบันทึก
จ. ข้อ ก. และข้อ ง.
*******************************
7. บุคคลที่จะร้องขอให้บันทึกฐานะของภรรยาได้ ต้องเป็นสามีภรรยาและสมรสกันก่อนเมื่อใด
ก. วันที่ 1 ธันวาคม 2478
ข. วันที่ 1 พฤศจิกายน 2478
ค. วันที่ 1 กรกฎาคม 2478
ง. วันที่ 1 กันยายน 2478
จ. วันที่ 1 ตุลาคม 2478
*******************************
8. สถานที่จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม ได้แก่
ก. อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตที่เป็นที่รับจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ข. อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตแห่งใดก็ได้
ค. อำเภอ กิ่งอำเภอ เขต และกรมประชาสงเคราะห์
ง. อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตที่ผู้รับบุตรบุญธรรมมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
จ. อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตที่เป็นภูมิลำเนาของผู้รับบุตรบุญธรรม
*******************************
9. ผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในข้อใด ที่ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดูเด็ก
ก. พี่ร่วมบิดาหรือมารดา
ข. ลุง ป้า น้า อา
ค. พี่ร่วมบิดามารดา
ง. ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
10. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยกี่ปี
ก. 10 ปี
ข. 15 ปี
ค. 17 ปี
ง. 20 ปี
จ. 25 ปี
*******************************
11. การจดทะเบียนรับบุตรธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก. 17 ปี
ข. 20 ปี
ค. 25 ปี
ง. 30 ปี
จ. 35 ปี
*******************************
12. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล ให้คิดค่าธรรมเนียมรายละเท่าใด
ก. 1 บาท
ข. 5 บาท
ค. 20 บาท
ง. 100 บาท
จ. 200 บาท
*******************************
13. เมื่อชายหรือหญิงฝ่ายใดหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย และได้แสดงเจตนาจะสมรสกันต่อหน้าพยานที่มีอยู่ ณ ที่นั้น ต่อมานายทะเบียนได้รับจดทะเบียนการสมรสให้แล้ว การสมรสดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่เมื่อใด
ก. การสมรสดังกล่าวเป็นโมฆะ
ข. วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้
ค. วันที่ชายหญิงประสงค์จะให้มีผล
ง. 60 วัน นับแต่วันที่ชายและหญิงแสดงเจตนาจะสมรสกัน
จ. วันที่ชายและหญิงเจตนาจะสมรสกัน
*******************************
14. ในการจดทะเบียนรับรองบุตร กรณีเด็กและมารดาไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในกี่วัน นับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กและมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ. 90 วัน
*******************************
15. การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน คิดค่าธรรมเนียมเท่าใด
ก. 1 บาท
ข. 10 บาท
ค. 20 บาท
ง. 100 บาท
จ. 200 บาท
*******************************
16. ในการจดทะเบียนรับรองบุตรจะต้องได้รับความยินยอมจากใครบ้าง
ก. บิดา
ข. เด็ก
ค. มารดา
ง. มารดาเด็กหรือเด็ก
จ. มารดาเด็กและเด็ก
*******************************
17. การจดทะเบียนรับรองบุตรมีกี่วิธี
ก. 2 วิธี
ข. 3 วิธี
ค. 4 วิธี
ง. 5 วิธี
จ. 6 วิธี
*******************************
18. การจดทะเบียนหย่า โดยความยินยอมจะกระทำได้ที่ใด
ก. ที่ว่าการอำเภอ ศาลากลางจังหวัด และสำนักทะเบียนกลาง
ข. สำนักงานเขต หรือศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ค. สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
ง. สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนสมรส
จ. ในที่ว่าการอำเภอและนอกที่ว่าการอำเภอ
*******************************
19. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย กระทำได้กี่วิธี
ก. 2 วิธี
ข. 3 วิธี
ค. 4 วิธี
ง. 5 วิธี
จ. 6 วิธี
*******************************
20. ในกรุงเทพมหานคร ใครเป็นผู้แต่งตั้งถอดถอนผู้จัดการการปกครองศาลเจ้า และผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้า
ก. ผู้อำนวยการเขต
ข. อธิบดีกรมการศาสนา
ค. อธิบดีกรมการปกครอง
ง. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
จ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
*******************************
21. ศาลเจ้า หมายความว่าอย่างไร
ก. โรงเจซึ่งสร้างขึ้นประกอบกับศาลเจ้า
ข. สถานที่ก่อสร้างขึ้นเป็นทรวดทรงสำหรับประดิษฐานรูปเคารพและกระทำพิธีกรรมตามลัทธิของคนบางจำพวก
ค. สถานที่ก่อสร้างขึ้นเป็นทรวดทรงสำหรับประดิษฐานรูปเคารพสำหรับคนจีน
ง. ข้อ ก.และข้อ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
22. การใช้คำนำหน้านามของหญิงที่สมรสแล้ว ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. หากสมรสสิ้นสุดลงแล้ว ให้ยังใช้คำนำหน้านามว่า นาง
ข. หากการสมรสสิ้นสุดลงแล้ว ให้กลับไปใช้คำหน้านามว่า นางสาว
ค. การใช้คำนำหน้านามวา นาง หรือ นางสาว ก็ได้
ง. ให้ใช้คำนำหน้านามว่า นางสาว
จ. ให้ใช้คำนำหน้านามว่า นาง
*******************************
23. ผู้รักษาการ ตามพระราชบัญญัติคำนำหน้าหญิง ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. รัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
*******************************
24. หญิงมีอายุเท่าใด ขึ้นไปและยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ให้ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว”
ก. 7 ปีบริบูรณ์
ข. 15 ปีบริบูรณ์
ค. 17 ปีบริบูรณ์
ง. 18 ปีบริบูรณ์
จ. 19 ปีบริบูรณ์
*******************************
25. การใช้ชื่อสกุลของคู่สมรสข้อใด ไม่กล่าวถูกต้อง
ก. เมื่อมีการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย ให้ฝ่ายซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
ข. คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตนก็ได้
ค. เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่า ให้ฝ่ายซึ่งใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
ง. เมื่อการสมรสสิ้นสุดด้วยศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส ให้ฝ่ายซึ่งใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
*******************************
26. การใช้ชื่อสกุลร่วมข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลเป็นผู้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ในท้องที่แห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้
ข. ในกรณีที่ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลตายแล้ว ผู้สืบสันดานของผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลในลำดับที่ใกล้ชิดที่สุดซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลนั้น มีสิทธิอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดร่วมใช้ชื่อสกุลของตนได้
ค. ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดร่วมใช้ชื่อสกุลของตนก็ได้
ง. ข้อ ข.และ ข้อ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
27. การตั้งชื่อสกุลจะต้องไม่เกินกี่พยัญชนะ
ก. 8 พยัญชนะ
ข. 9 พยัญชนะ
ค. 10 พยัญชนะ
ง. 11 พยัญชนะ
จ. 12 พยัญชนะ
*******************************
28. ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง คือข้อใด
ก. 20 บาท
ข. 50 บาท
ค. 70 บาท
ง. 100 บาท
จ. 200 บาท
*******************************
29. พนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
ข. ผู้อำนวยการเขต
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ง. อธิบดีกรมการปกครอง
จ. ข้อ ค. และข้อ ง.
*******************************
30. สังหาริมทรัพย์ต่อไปนี้ ข้อใดไม่สามารถทำนิติกรรมจำนองได้
ก. แพ
ข. เรือลำน้ำที่มิใช่เรือกลขนาดตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป
ค. สัตว์พาหนะ
ง. เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป
จ. เรือกำปันหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป
*******************************
31. พินัยกรรมตามกฎหมายมีกี่แบบ
ก. 2 แบบ
ข. 3 แบบ
ค. 4 แบบ
ง. 5 แบบ
จ. 6 แบบ
*******************************
32. การทำพินัยกรรมที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอได้แก่
ก. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เอกสารลับ และแบบธรรมดา
ข. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง แบบธรรมดา และทำด้วยวาจา
ค. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เอกสารลับ และทำด้วยวาจา
ง. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เอกสารลับ แบบธรรมดา แบบเขียนเองทั้งฉบับ และทำด้วยวาจา
จ. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เอกสารลับ เอกสารธรรมดา และทำด้วยวาจา
*******************************
33. บุคคลซึ่งสามารถทำพินัยกรรมได้ต้องมีอายุเท่าใด
ก. 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ข. 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ค. 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ง. บรรลุนิติภาวะ
จ. อายุเท่าใดก็ได้
*******************************
34. การสละมรดกนั้น กระทำได้โดย
ก. ทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ข. ทำเป็นหนังสือโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ค. ทำเป็นหนังสือถึงเจ้ามรดก
ง. บอกแก่เจ้ามรดกด้วยวาจาก็มีผลสมบูรณ์แล้ว
จ. ข้อ ก.และข้อ ข.
*******************************
35. การทำพินัยกรรมในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ผู้ร้องขอทำพินัยกรรมต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว
ข. ผู้ร้องขอทำพินัยกรรมที่อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตใดก็ได้
ค. ทั้งผู้ร้องและทรัพย์สินที่ทำพินัยกรรมต้องอยู่ในพื้นที่ของอำเภอ
ง. ทรัพย์สินในพินัยกรรมต้องอยู่ในพื้นที่ของอำเภอที่ทำพินัยกรรม
จ. ผู้ร้องทำพินัยกรรมต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอนั้นๆ
*******************************
36. การตั้งชื่อบุคคลตามกฎหมายและระเบียบในปัจจุบัน ต้องดำเนินการตามข้อใดจึงจะถูกต้อง
ก. ชื่อที่ขอตั้งต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
ข. ชื่อจะต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
ค. ในการตั้งชื่อบุคคลที่หมายรู้ว่าเป็นชื่อชายหรือหญิง และชื่อหนึ่งให้มีสามพยางค์เป็นอย่างมาก
ง. ข้อ ก.และข้อ ข.
จ. ข้อ ข. และข้อ ค.
*******************************
37. ข้อใด เป็นความหมายของชื่อรอง
ก. ชื่อเล่น
ข. ชื่อประจำบุคคล
ค. ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว
ง. ชื่อที่ใช้อย่างไม่เป็นทางการ
จ. ชื่อที่ใช้ประกอบกับชื่อจริง
*******************************
38. การตั้งชื่อรองข้อใด กล่าวไม่ถูกต้อง
ก. คู่สมรสอาจใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นชื่อรองได้เมื่อได้รับความยินยอมของฝ่ายนั้นแล้ว
ข. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม และต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
ค. ต้องไม่พ้องกับชื่อสกุลของบุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่คู่สมรสใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งหรือกรณีบุตรใช้ชื่อสกุลเดิมของมารดาหรือบิดาเป็นชื่อรองของตน
ง. ผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์หรือผู้เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์นั้นเป็นชื่อรองก็ได้
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
*******************************
39. ผู้ใดเก็บตั๋วรูปพรรณสัตว์ได้ ไม่นำส่งเจ้าของหรือเจ้าพนักงานภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เก็บได้ จะมีความผิดหรือไม่อย่างไร
ก. มีความผิด จำคุกและปรับ
ข. มีความผิดปรับไม่เกิน 50 บาท
ค. ไม่มีความผิด
ง. มีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะเป็นเพียงเอกสาร
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
40. การซื้อขายช้าง ม้า แพะ จะดำเนินการอย่างไร
ก. การซื้อขายช้าง ม้า อาจทำนิติกรรมบ้านก็ได้
ข. การซื้อขายช้าง ม้า จะต้องทำนิติกรรมที่อำเภอ
ค. การซื้อขายแพะ จะทำนิติกรรมการหรือไม่ต้องทำนิติกรรมที่อำเภอก็ได้
ง. การซื้อขายช้าง ม้า แพะ จะต้องทำนิติกรรมที่อำเภอ
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
41. การวัดส่วนสูงของม้า วัดอย่างไร
ก. วัดจากปลายหางถึงผมม้า
ข. วัดจากพื้นดินถึงหูม้า
ค. วัดจากเท้าหน้าถึงผมนกเอี้ยง
ง. วัดจากพื้นดินถึงหลังม้า
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
42. การกรอก ส.พ. 2 หลังคำว่า ที่ ....ม้า.... และเป็นม้าที่ตอนแล้ว จะเขียนว่าอะไร
ก. ม้า...ตอนแล้ว
ข. ม้า...สีขาวตอน
ค. ม้า..ผู้ตอน
ง. ม้า....ผู้
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
43. การกรอกแบบพิมพ์ตั๋วเดินทุ่งสัตว์พาหนะประเภทช้างตัวผู้ หลังคำว่าช้างให้กรอกว่าอะไร
ก. ช้าง...เพศผู้
ข. ช้าง....พลาย และตามด้วยชื่อ เช่น พลายชุมพล
ค. ช้าง...พัง และตามด้วยชื่อ เช่น พังแป้น
ง. ช้าง...พลาย
จ. ช้าง...พัง
*******************************
44. ม้าที่อยู่ในค่ายทหาร ผู้บังคับกองพันจะต้องนำมาจดทะเบียนตั๋วรูปพรรณหรือไม่
ก. ต้องนำไปจดทะเบียนเมื่อจะนำไปใช้ในงานพระราชพิธี
ข. ต้องนำไปจดทะเบียนเมื่อม้ามีอายุย่างเข้าปีที่หก
ค. ต้องนำไปจดทะเบียนเมื่อคลอดออกมาใหม่
ง. ไม่ต้องนำไปจดทะเบียน
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
45. การจัดทำบัญชีสัตว์ประจำคอก ซึ่งยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณเป็นหน้าที่ของใคร
ก. กำนัน
ข. เจ้าหน้าที่ปกครองที่ได้รับมอบหมาย
ค. คณะกรรมการที่นายอำเภอแต่งตั้ง
ง. ปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมาย
จ. นายอำเภอ
*******************************
46. ตั๋วรูปพรรณ หมายถึง
ก. แบบพิมพ์ในการขอจดทะเบียนสัตว์ทุกชนิด
ข. ค่าธรรมเนียมในการฆ่าสัตว์
ค. เอกสารคำร้องขอจดทะเบียนซื้อขายสัตว์พาหนะ
ง. เอกสารตำหนิรูปพรรณสัณฐานสัตว์พาหนะ
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
47. เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ หมายถึงใคร
ก. ตำรวจ
ข. นายทะเบียนสัตว์พาหนะ
ค. พนักงานฝ่ายปกครอง
ง. ข้อ ข.และข้อ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
48. สัตว์พาหนะ ตาม พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ ได้แก่
ก. ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา อูฐ สุนัขที่ใช้ลากเลื่อน
ข. ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา แพะ แกะ
ค. ช้าง ม้า โค กระบือ ลา อูฐ
ง. ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา
จ. ช้าง ม้า โค กระบือ ล่า ลา อูฐ
*******************************
49. การควบคุมดูแลรักษาเกาะ เป็นอำนาจหน้าที่ของใคร
ก. นายอำเภอ
ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. อธิบดีกรมที่ดิน
ง. ข้อ ก.และข้อ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
50. ทะเบียนเกาะในพระราชอาณาเขตสยาม จัดทำเมื่อใด
ก. พ.ศ. 2488
ข. พ.ศ. 2490
ค. พ.ศ. 2496
ง. พ.ศ. 2497
จ. พ.ศ. 2500
*******************************
51. การสำรวจและจัดทำทะเบียนเกาะเริ่มมาตั้งแต่เมื่อใด
ก. พ.ศ. 2499
ข. พ.ศ. 2480
ค. ก่อน พ.ศ. 2472
ง. ก่อน พ.ศ. 2474
จ. พ.ศ. 2475
*******************************
52. ความหมายของคำว่าเกาะ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึงข้อใด
ก. เกาะคือแผ่นดินหรือภูเขาที่มีน้ำล้อมรอบตลอด
ข. แผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ
ค. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบโดยตลอด
ง. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบโดยตลอดและมีขนาดเล็กกว่าแผ่นดินที่เป็นทวีป
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
53. การออกใบอนุญาตจัดตั้งสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ หรือสุสานและฌาปนสถานเอกชนสำหรับเก็บหรือฝังศพเป็นการถาวร ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. สถานที่ตั้งต้องห่างจากทางน้ำซึ่งประชาชนใช้ในการจราจรสาธารณะ ห้วย แม่น้ำคลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์อื่นอย่างน้อย 400 เมตร
ข. สถานที่ตั้งต้องอยู่ห่างจากทางหลวงที่เป็นทางหรือถนนสำหรับประชาชนใช้ในการจราจรสาธารณะอย่างน้อย 50 เมตร
ค. สถานที่ตั้งต้องไม่อยู่ในเขตพื้นที่อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ง. สถานที่ตั้งต้องไม่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือเทศบาล
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
*******************************
54. การออกใบอนุญาตจัดตั้งสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ หรือสุสานและฌาปนสถานเอกชนสำหรับการเผาศพโดยเฉพาะ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. สถานที่ตั้งต้องไม่อยู่ในบริเวณที่เป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่น
ข. สถานที่ตั้งต้องไม่อยู่ในเขตพื้นที่อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ค. สถานที่ตั้งต้องไม่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร
ง. สถานที่ตั้งต้องไม่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือเทศบาล
จ. ไม่มีข้อใดกล่าว
*******************************
55. สถานที่ตั้งสุสานและฌาปนสถานสาธาณะหรือสุสานและฌาปนสถานเอกชนต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่าเท่าใด
ก. 2 งาน
ข. 1 ไร่
ค. 2 ไร่
ง. 3 ไร่
จ. 5 ไร่
*******************************
56. ผู้ใด ตั้งสุสานและฌาปนสถานโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดต้องระวางโทษตามข้อใด
ก. ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ข. ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ค. จำคุกไม่เกิน 3 เดือน และปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ง. จำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน 2,000 บาท
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
57. การตั้งฌาปนสถาน หรือสุสานของเอกชน ต้องขออนุญาตหรือไม่
ก. ต้องขออนุญาตทุกกรณี
ข. ถ้าตั้งในที่ดินของตนเอง ไม่ต้องขออนุญาต
ค. ถ้าที่ดินอยู่ในที่ห่างไกลชุมชนแล้ว จัดเป็นสุสานหรือฌาปนสถานไม่จำเป็นต้องขออนุญาต
ง. ถ้าตั้งในที่ดินของตนเอง แต่อนุญาตให้คนอื่นมาใช้ด้วยก็ไม่ต้องขอ
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
58. เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ปลัดเมืองพัทยา
ข. นายกเทศมนตรี
ค. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
*******************************
59. สุสานและฌาปนสถานมีกี่ประเภท
ก. 1 ประเภท
ข. 2 ประเภท
ค. 3 ประเภท
ง. 4 ประเภท
จ. 5 ประเภท
*******************************
60. ใครมีอำนาจหน้าที่เก็บเงินค่าเช่าและค่าบำรุงศาลเจ้าจากผู้เช่า
ก. พนักงานเจ้าหน้าที่
ข. ผู้ที่ผู้จัดการปกครองศาลเจ้ามอบหมาย
ค. ผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้า
ง. ผู้จัดการปกครองศาลเจ้า
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
61. ผู้ใดที่ไม่สามารถยื่นคำขอเป็นผู้จัดการปกครองศาลเจ้าได้
ก. ผู้มีอาชีพให้เงินกู้
ข. ผู้เคยต้องคดีฐานเป็นอั้งยี่
ค. ผู้เคยต้องคดีเกี่ยวกับการฆ่าคนตาย
ง. ผู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
*******************************
62. ที่ดินของศาลเจ้าที่ที่ขึ้นทะเบียนอยู่ในความควบคุมดูแลของทางราชการ ตามกฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463 คำที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงหน่วยงานใด
ก. กรมการปกครอง
ข. กรมที่ดิน
ค. สำนักนายกรัฐมนตรี
ง. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
จ. ข้อ ก. และข้อ ง.
*******************************
63. ตามกฎเสนาบดี ว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า การแต่งตั้งถอดถอนผู้จัดการปกครองศาลเจ้า ที่จดทะเบียนกับทางราชการในต่างจังหวัดเป็นของใคร
ก. นายอำเภอ
ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. อธิบดีกรมการปกครอง
ง. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
จ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
*******************************
64. สัตว์พาหนะ ต่อไปนี้ ข้อใดไม่ต้องจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
ก. โคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่ 5 เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ เว้นแต่ในกรณีรับมรดก
ข. สัตว์ที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 4 เมื่อจะนำออกนอกราชอาณาจักร
ค. สัตว์ใดที่ใช้ขับขี่ ลาก เข็น หรือใช้งานแล้ว
ง. สัตว์อื่นๆ นอกจากโคตัวเมีย มีอายุย่างเข้าปีที่ 6
จ. ช้างที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 8
*******************************
65. ศาลเจ้าใด ที่อยู่ในการควบคุมของกระทรวงมหาดไทย
ก. ศาลเจ้าเอกชนและของรัฐ
ข. ศาลเจ้าของเอกชน
ค. ศาลเจ้าของรัฐ
ง. ศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐ และตั้งอยู่ในที่ดินที่มีผู้อุทิศให้
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
66. กระทรวงมหาดไทยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาว่า สภาพเกาะมีลักษณะอย่างไร
ก. ส่วนมากเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ข. เป็นเกาะตามความเข้าใจของคนทั่วไป
ค. เป็นเกาะถาวรมีสภาพเป็นเกาะมานาน และจะคงสภาพเป็นเกาะอยู่อีกต่อไป
ง. ข้อ ก.และข้อ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
67. ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475 ข้อใดเป็นบ้าน
ก. โรงเรียน
ข. โรงพยาบาล
ค. วัด
ง. แพที่จอดประจำและมีคนอยู่อาศัย
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
68. กรณีที่ผู้ใหญ่บ้านใดว่างลง ให้เลือกผู้ใหญ่บ้านภายในกำหนดกี่วัน นับแต่วันที่ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านว่างลง
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ. 90 วัน
*******************************
69. ผู้ใหญ่บ้านไม่อยู่เป็นครั้งคราว จะมอบใครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทน
ก. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ
ข. ผู้ใหญ่บ้านข้างเคียง
ค. กำนัน
ง. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
จ. ข้อ ก.- ง. คนใดก็ได้
*******************************
70. ข้อใด ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน
ก. ฝึกหัดอบรมให้คนไทยรู้จักหน้าที่และกระทำการในเวลารบ
ข. อบรมหรือชี้แจงให้ราษฎรมีความรู้ความเข้าใจในข้อราชการ กฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ
ค. ควบคุมดูแลราษฎรในหมู่บ้านให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ
ง. ให้การสนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่หรือการให้บริการของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จ. สร้างความสมานฉันท์ และความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีในท้องที่
*******************************
71. เมื่อราษฎรส่วนใหญ่เลือกผู้ใด เป็นผู้ใหญ่บ้านแล้ว ใครเป็นผู้ออกคำสั่งเพื่อแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ก. กำนัน
ข. นายอำเภอ
ค. อธิบดีกรมการปกครอง
ง. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
จ. กำนัน
*******************************
72. ในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้นายอำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน มีจำนวนกี่คน
ก. 3 คน
ข. 4 -7 คน
ค. 7 คน
ง. 5 -10 คน
จ. 10 คน
*******************************
73. ข้อใด เป็นโรคต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
ก. โรคมะเร็ง
ข. โรคความดันโลหิต
ค. โรงถุงลมโป่งพอง
ง. โรคพิษสุราเรื้อรัง
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
74. ข้อใด ไม่ใช่คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน
ก. อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
ข. ไม่เป็นลูกจ้างของเอกชนซึ่งมีหน้าที่ทำงานประจำ
ค. ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ง. ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้
จ. มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
*******************************
75. หมู่บ้านซึ่งเป็นชุมชนหนาแน่น หากต้องการแบ่งออกมาเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่ง จะต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่ากี่คน หรือมีบ้านไม่น้อยกว่ากี่บ้าน
ก. 1,000 คน 200 บ้าน
ข. 1,100 คน 220 บ้าน
ค. 1,200 คน 240 บ้าน
ง. 1,300 คน 260 บ้าน
จ. 1,400 คน 280 บ้าน
*******************************
76. สารวัตรกำนันอยู่ในวาระเท่าใด
ก. คราวละ 5 ปี
ข. อยู่จนอายุครบ 60 ปี
ค. อยู่ตามวาระของกำนัน
ง. อยู่จนกว่ากำนันจะร้องขอให้เปลี่ยนตัว
จ. อยู่จนกว่านายอำเภอจะเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เปลี่ยนตัว
*******************************
77. ใครเป็นผู้เลือกแพทย์ประจำตำบล
ก. นายอำเภอ
ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. ผู้ใหญ่บ้านในตำบล
ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด กำนัน
จ. กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในตำบล
*******************************
78. ในกรณีมีความจำเป็นไม่อาจจัดให้มีการคัดเลือกกำนันภายในกำหนดได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะขยายเวลาออกไปได้เท่าที่จำเป็น และในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกกำนัน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะแต่งตั้งให้ใคร เป็นผู้รักษาการกำนันจนกว่าจะมีการคัดเลือกกำนันได้บ้าง
ก. ปลัดอำเภอประจำตำบล
ข. กำนันตำบลข้างเคียง
ค. ผู้ใหญ่บ้านในตำบลคนใดคนหนึ่ง
ง. สารวัตรกำนันคนใดคนหนึ่ง
จ. บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
*******************************
79. ในกรณีที่ตำแหน่งกำนันว่างลง ให้คัดเลือกกำนันขึ้นใหม่ภายในกำหนดเวลากี่วัน นับแต่วันที่นายอำเภอได้ทราบการว่างนั้น
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ. 90 วัน
*******************************
80. การออกจากตำแหน่งกำนันในกรณีใด ที่ไม่ต้องออกจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านด้วย
ก. มีการยุบตำบลที่ปกครอง
ข. ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากำนัน
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออกจากตำแหน่ง เพราะพิจาณาเห็นว่าบกพร่องในทางประพฤติ หรือความสามารถไม่พอแก่ตำแหน่ง
ง. ข้อ ก.และข้อ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
81. การแยกตำบลในท้องที่ห่างไกลตั้งขึ้นเป็นอีกตำบลหนึ่ง ชุมชนใหม่จะต้องห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่ากี่กิโลเมตร
ก. 6 กิโลเมตร
ข. 7 กิโลเมตร
ค. 8 กิโลเมตร
ง. 9 กิโลเมตร
จ. 10 กิโลเมตร
*******************************
82. ผู้ซึ่งราษฎรในหมู่บ้านเลือกเป็นกรรมการหมู่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิมีจำนวนกี่คน
ก. 2-10 คน
ข. 5-7 คน
ค. 5-10 คน
ง. 7-15 คน
จ. 10-15 คน
*******************************
83. ข้อใด ไม่ใช่กรรมการในคณะกรรมการหมู่บ้าน
ก. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ข. ผู้ใหญ่บ้าน
ค. แพทย์ประจำตำบลหรือสารวัตรกำนันที่มีภูมิลำเนาในหมู่บ้าน
ง. ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรในหมู่บ้าน
จ. สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภูมิลำเนาในหมู่บ้าน
*******************************
84. ข้อใดไม่ใช่เหตุที่ทำให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบต้องออกจากตำแหน่ง
ก. เมื่อผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด
ข. เหตุเช่นเดียวกับที่ผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่ง
ค. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด
ง. ครบวาระ
จ. เจ็บป่วยเรื้อรังเกินกว่า 1 ปี
*******************************
85. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ
ก. ได้รับเงินค่าตอบแทนตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
ข. อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ใหญ่บ้าน
ค. นายอำเภอเป็นผู้ออกหนังสือสำคัญไว้เป็นหลักฐาน
ง. ผู้ใหญ่บ้านและกำนันท้องที่ร่วมกันพิจารณาคัดเลือก
จ. มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ที่จะเป็นผู้ใหญ่บ้าน
*******************************
86. ในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน แบบ ผญ.6 หมายถึงอะไร
ก. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเลือก และเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
ข. ประกาศกำหนดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
ค. ประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน
ง. ประกาศรับสมัครผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
จ. ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
*******************************
87. ในการประชุมราษฎรในหมู่บ้าน ก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน เป็นการดำเนินการเพื่ออะไร
ก. ให้ราษฎรเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ
ข. ทำความเข้าใจในเรื่องรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และการรู้รักสามัคคี
ค. แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือก
ง. ข้อ ข. และข้อ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
88. กำหนดระยะเวลาสมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน ต้องกำหนดไม่น้อยกว่ากี่วัน
ก. 3 วัน
ข. 5 วัน
ค. 7 วัน
ง. 10 วัน
จ. 15 วัน
*******************************
89. เมื่อตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านว่างลง นายอำเภอต้องประกาศกำหนดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน และปิดประกาศภายในกำหนดกี่วัน
ก. 3 วัน
ข. 5 วัน
ค. 7 วัน
ง. 10 วัน
จ. 15 วัน
*******************************
90. การเลือกผู้ใหญ่บ้าน ต้องเป็นไปโดย
ก. การมีส่วนร่วมของราษฎรอย่างทั่วถึง
ข. โปร่งใส ตรวจสอบได้
ค. สุจริตและเที่ยงธรรม
ง. บริสุทธิ์ ยุติธรรม
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
91. ผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน ต้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ประจำ และมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันกันมาแล้วไม่น้อยกว่าเท่าใดจนถึงวันเลือก
ก. 3 เดือน
ข. 6 เดือน
ค. 1 ปี
ง. 1 ปี 6 เดือน
จ. 2 ปี
*******************************
92. ข้อยกเว้นสำหรับการพิจารณาจัดตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอนอกเหนือจากเกณฑ์ปกติ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้
ก. เป็นสภาพภูเขา
ข. เป็นพื้นที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเต็มรูปแบบ
ค. เป็นพื้นที่เกาะ
ง. มีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ เป็นท้องที่ชายแดนที่มีหรืออาจจะจะมีปัญหาการเมือง
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
93. ตามคำสั่งกรมตำรวจ ที่ 662/2536 กำหนดให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านสามารถทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินเท่าใด
ก. 30,000 บาท
ข. 50,000 บาท
ค. 60,000 บาท
ง. 100,000 บาท
จ. 120,000 บาท
*******************************
94. กำนันมีอำนาจลงโทษผู้ใหญ่บ้านในสถานใด
ก. ตัดเงินเดือน
ข. ภาคภัณฑ์
ค. ปลดออก
ง. ไล่ออก
จ. ลดอันดับเงินเดือน
*******************************
95. ผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านตามครั้งคราวที่เห็นสมควร หรือเมื่อกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งร้องขอให้มีการประชุม แต่เมื่อรวมปีหนึ่งจะต้องมีการประชุมไม่น้อยกว่ากี่ครั้ง
ก. 5 ครั้ง
ข. 6 ครั้ง
ค. 7 ครั้ง
ง. 8 ครั้ง
จ. 9 ครั้ง
*******************************
96. ถ้ากำนันทำการในหน้าที่ไม่ได้ชั่วคราวในช่วงเวลาใด ให้มอบผู้ใดทำการแทน
ก. แพทย์ประจำตำบล
ข. สารวัตรกำนัน
ค. ผู้ใหญ่บ้านคนใดคนหนึ่งในตำบลเดียวกัน
ง. ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล
จ. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านที่กำนันดำรงตำแหน่ง
*******************************
97. ผู้ใหญ่บ้านได้รับเงินเดือน เดือนละเท่าใด
ก. 7,500 บาท
ข. 8,000 บาท
ค. 8,500 บาท
ง. 9,000 บาท
จ. 10,000 บาท
*******************************
98. ผู้นำกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มกิจกรรมซึ่งจะได้เป็นกรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่ง กลุ่มดังกล่าวต้องเป็นกลุ่มที่มีการดำเนินกิจกรรมในหมู่บ้าน อย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่าเท่าใด
ก. 3 เดือน
ข. 6 เดือน
ค. 1 ปี
ง. 1 ปี 6 เดือน
จ. 2 ปี
*******************************
99. ในกรณีที่มีการร้องคัดค้านการคัดเลือกกำนัน และผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้กำนันพ้นจากตำแหน่งแล้ว ให้นายอำเภอจัดให้มีการคัดเลือกกำนันใหม่ภายในกี่วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้กำนันดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง
ก. 7 วัน
ข. 15 วัน
ค. 20 วัน
ง. 30 วัน
จ. 45 วัน
*******************************
100. ในกรณีที่มีการร้องคัดค้านการคัดเลือกกำนัน และผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้กำนันพ้นจากตำแหน่งแล้ว ให้นายอำเภอจัดให้มีการคัดเลือกกำนันใหม่ภายในกี่วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้กำนันดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง
ก. 7 วัน
ข. 15 วัน
ค. 20 วัน
ง. 30 วัน
จ. 45 วัน
*******************************
101. ในการประชุมคัดเลือกกำนัน หากไม่มีผู้ใดเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการคัดเลือกเป็นกำนัน จะต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ให้นายอำเภอประกาศเลื่อนวันประชุมออกไปอีกไม่เกิน 7 วัน
ข. ให้นายอำเภอพิจารณาคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านที่มาประชุมคนหนึ่งเป็นกำนัน
ค. ให้ผู้ใหญ่บ้านทุกคนที่มาประชุม ลงคะแนนลับเพื่อเสนอชื่อผู้สมควรเป็นกำนัน
ง. ให้ถือว่าผู้ใหญ่บ้านทุกคนที่มาประชุม ได้รับการเสนอชื่อและให้นายอำเภอจัดให้ลงคะแนนโดยวิธีลับ
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*******************************
102. การประชุมคัดเลือกกำนันต้องเป็นไปอย่างไร
ก. ลับ
ข. เปิดเผย
ค. เปิดเผยหรือลับก็ได้แล้วแต่นายอำเภอกำหนด
ง. ลับ แต่หากที่ประชุมเห็นว่าควรประชุมเปิดเผยก็ได้
จ. เปิดเผย แต่กรณีมีความจำเป็นนายอำเภออาจสั่งให้มีการประชุมลับก็ได้
*******************************
103. ในการคัดเลือกกำนัน ใครเป็นประธานในการประชุมคัดเลือก
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข. นายอำเภอ
ค. ปลัดอาวุโส
ง. ผู้ที่นายอำเภอเห็นสมควร
จ. หัวหน้าส่วนราชการที่นายอำเภอมอบหมาย
*******************************
104. สถานที่คัดเลือกกำนัน ได้แก่ที่ใด
ก. ที่ทำการตำบล
ข. สถานที่สาธารณะภายในเขตตำบล
ค. ที่ใดที่หนึ่งที่ผู้ใหญ่บ้านจะตกลงกัน
ง. ที่ว่าการอำเภอ
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
*******************************
105. คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้าน มีจำนวนไม่เกินกี่คน
ก. 7 คน
ข. 9 คน
ค. 10 คน
ง. 11 คน
จ. 12 คน
*******************************
106. ก่อนการลงคะแนนเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้คณะกรรมการเลือกประชุมและแบ่งหน้าที่กัน ข้อใดไม่ใช่หน้าที่
ก. หน้าที่ควบคุมหีบบัตร
ข. หน้าที่มอบบัตรเลือก
ค. หน้าที่ตรวจบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก
ง. หน้าที่รักษาความเรียบร้อยในที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน
จ. หน้าที่ควบคุมป้ายปิดประกาศหน้าหน่วยเลือก
*******************************
107. เมื่อนายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านแล้ว ผู้ใดเห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ให้ทำคำร้องคัดค้านเป็นหนังสือยื่นต่อนายอำเภอได้ภายในกี่วัน นับแต่วันที่นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้ง
ก. 3 วัน
ข. 5 วัน
ค. 7 วัน
ง. 15 วัน
จ. 30 วัน
*******************************
108. เมื่อมีผู้ร้องคัดค้านคำสั่งแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน ให้นายอำเภอรายงานผลการสอบสวนพร้อมความเห็นและหลักฐานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยชี้ขาด หากเห็นว่าการเลือกผู้ใหญ่บ้านนั้นเป็นไปตามที่ได้มีการร้องคัดค้าน หรือได้มีการกระทำไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านนั้นพ้นจากตำแหน่ง ภายในกี่วัน นับแต่วันที่นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้ง
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ. 90 วัน
*******************************
109. ให้มีคณะทำงานด้านต่างๆ เพื่อช่วยเหลือปฏิบัติภารกิจของคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้ใหญ่บ้าน โดยอย่างน้อยให้มีคณะทำงานกี่ด้าน
ก. 5 ด้าน
ข. 6 ด้าน
ค. 7 ด้าน
ง. 8 ด้าน
จ. 9 ด้าน
*******************************
110. การเลือกกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิให้กระทำโดยวิธีใด
ก. เปิดเผยหรือลับก็ได้ ตามที่นายอำเภอกำหนด
ข. เปิดเผยหรือลับก็ได้
ค. เปิดเผย
ง. เปิดเผยหรือลับก็ได้ ตามที่ที่ประชุมราษฎรกำหนด
จ. ลับ
*******************************
111. ในกรณีที่กลุ่มหรือองค์กรซึ่งมีผู้นำเป็นกรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่ง ไม่มีการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องกันเกินกว่าเท่าใด จึงถือว่าสิ้นสุดสภาพของการเป็นกลุ่ม หรือขาดคุณสมบัติของการเป็นกลุ่ม
ก. 3 เดือน
ข. 6 เดือน
ค. 1 ปี
ง. 1 ปี 6 เดือน
จ. 2 ปี
*******************************
112. ในการประชุมเลือกกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ ให้มีคณะกรรมการทำหน้าที่ดำเนินการเลือกซึ่งมีใครเป็นประธาน
ก. นายอำเภอ
ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. ปลัดอำเภอประจำตำบล
ง. กำนัน
จ. ผู้ใหญ่บ้าน
*******************************
113. บุคคลใด ต่อไปนี้ คือนายทะเบียนท้องถิ่น
ก. ปลัดเทศบาล
ข. นายอำเภอ
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ง. ผู้อำนวยการเขต
จ. ข้อ ก. และข้อ ง.
*******************************
114. ใครเป็นผู้อำนวยการทะเบียนกลาง
ก. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ข. อธิบดีกรมการปกครอง
ค. ผู้อำนวยการส่วนการเบียน
ง. ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน
จ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
*******************************
115. นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2534 ได้แก่บุคคลในข้อใด
ก. ผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น
ข. ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง
ค. นายทะเบียนจังหวัด
ง. นายทะเบียนผู้รับแจ้ง
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|