แนวข้อสอบ การกระทำโดยพลาด |
|
อ้างอิง
อ่าน 277 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
ตัวอย่างข้อสอบ นาย ก เมาสุราขับรถยนต์ส่ายไปมากำลังจะชนเด็กชาย ข ซึ่งกำลังนั่งเล่นอยู่ริมถนน นาย ค เห็นเข้าเกรงว่าเด็กชาย ข จะถูกรถยนต์ชนจึงกระโดดเข้าอุ้ม แต่ด้วยความรีบร้อนได้สะดุดขาของตนเองล้มลง ล้อรถยนต์ทับหลังเท้านาย ค บาดเจ็บ เด็กชาย ข หลุดมือจากนาย ค กระแทกริมฟุตบาท กระดูกข้อมือของเด็กชาย ข แตก ต้องตัดมือ ดังนี้ นาย ก และและนาย ค จะมีความผิดฐานใดหรือไม่
คำตอบ นาย ก มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นาย ค ได้รับอันตรายแก่กายตามมาตรา ๓๙๐ และนาย ก จะต้องรับผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กชาย ข ได้รับอันตรายสาหัส เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษบทหนักก็คือตามมาตา ๓๐๐ การกระทำของนาย ค ที่เข้าไปช่วยเด็กชาย ข เป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้ เมื่อเป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้ นาย ก ต้องรับผิดต่อนาย ค ด้วย นาย ค ไม่มีความผิดเพราะตามวิสัยและพฤติการณ์ ไม่อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ นาย ค ไม่ประมาท กรณีนี้เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
ประเด็นต่อไป เรื่องของการกระทำโดยป้องกัน มาตรา ๖๘
การป้องกันก็จะพิจารณาดังนี้
๑.มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ภยันตรายนั้นใกล้จะถึงและมีเจตนาพิเศษเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่น
๒.จะต้องไม่เกินขอบเขต เกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย หมายถึง ไม่มีอำนาจตามกฎหมายให้กระทำได้ เช่น ถ้าเป็นกรณีบิดาลงโทษบุตรผู้เยาว์ตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน กรณีนี้ทำได้ เป็นอำนาจของบิดาต่อบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ เพราะฉะนั้น บุตรไม่มีสิทธิกระทำการตอบโต้ต่อบิดาโดยอ้างป้องกัน หรือการที่ตำรวจไล่จับกุมคนร้ายโดยใช้ปืนยิงขู่ คนร้ายจะยิงกลับมาโดยอ้างป้องกันทำไม่ได้ เพราะว่าตำรวจแค่ยิงขู่ แต่ถ้าตำรวจไม่ได้ยิงขู่ แต่ยิงคนร้ายหวังจะเอาชีวิตคนร้าย อย่างนี้ คนร้ายอ้างป้องกันได้ ถ้าเป็นการป้องกันจริงๆ
กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องสงสัย โดยมีเหตุอันควรสงสัย แต่ว่าในทางความเป็นจริงคนที่ถูกจับ ไม่ได้กระทำความผิดอย่างนี้คนที่ถูกจับจะอ้างป้องกันไม่ได้ แม้คนที่ถูกจับไม่ได้ทำผิดจริงๆก็ตาม เพราะตำรวจมีอำนาจตามกฎหมายที่จับกุมตัวผู้ต้องสงสัย
นอกจากนี้ถ้ามีกฎหมายยกเว้นความผิดให้ ก็อ้างป้องกันกลับไม่ได้ ถ้ามีกฎหมายยกเว้นความผิดให้ ก็เท่ากับไม่มีภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมาย เพราะฉะนั้น ผู้ถูกกระทำจะอ้างป้องกันกลับไม่ได้ เช่น ก ต้องการฆ่า ข ใช้ปืนเล็งไปที่ ข เมื่อ ข รู้ตัวจึงใช้ปืนยิง ก เพื่อป้องกันตนเอง มาตรา ๖๘ บอกว่าถ้าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้กระทำไม่มีความผิด เพราะฉะนั้น ก ผู้ก่อภัยแต่แรกจะอ้างป้องกันต่อ ข ไม่ได้ เพราะว่าสิ่งที่ ข ทำนั้นไม่ใช่ภัยอันตรายอันละเมิดต่อกฎหมาย
มีข้อสังเกต ถ้าเป็นเรื่องป้องกัน คือถ้าผู้ป้องกัน ป้องกันกลับมาเกินสมควรแก่เหตุ ถ้า ก จะชก ข จึงยกปืนขึ้นยิง ก อย่างนี้เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
กรณีอำนาจจับกุมของตำรวจ กรณีที่ตำรวจมีอำนาจจับกุมตาม ปวิอ. ผู้ถูกจับกุมอ้างป้องกันไม่ได้ แม้จะไม่ใช่ผู้กระทำผิดจริงๆก็ตาม แต่ถ้าหากตำรวจไม่มีอำนาจจับกุมตามกฎหมาย แต่ไปสำคัญผิดว่าตนเองมีอำนาจจับกุม เช่น ตำรวจมีหมายจับ ก แต่เผอิญว่าไปจับ ข คู่แฝดของ ก โดยเข้าใจว่า ข เป็น ก อย่างนี้ตำรวจไม่มีอำนาจจับ ถามว่าตำรวจจะต้องรับผิดในการกระทำให้ ข เสื่อมเสียสิทธิเสรีภาพหรือไม่ คำตอบคือไม่ต้องรับผิด เพราะตำรวจอ้างความสำคัญผิดตามมาตรา ๖๒ วรรคแรกเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้ แต่คำถามก็คือว่า ข ซึ่งมิใช่บุคคลตามหมายจับสามารถป้องกันตนเองไม่ได้ถูกจับได้หรือไม่ คำตอบก็คือได้ เพราะเป็นกรณีตำรวจไม่มีอำนาจจับ เพราะฉะนั้น ข สามารถอ้างป้องกันได้
ข้อสังเกต เรื่องของการป้องกัน คือการละเมิดกฎหมายแพ่ง การที่จะอ้างป้องกันได้ ภัยอันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งก็อ้างป้องกันได้ เช่น การเป็นชู้ เป็นการละเมิดกฎหมายแพ่ง การที่สามีฆ่าภริยาหรือชายชู้ตายขณะร่วมประเวณีกัน ก็อ้างป้องกันได้ แต่ถ้าเป็นสามีภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายก็อ้างป้องกันไม่ได้
ภยันตรายอันตรายนั้นใกล้จะถึง ไม่จำเป็นต้องถึงขนาดลงมือ เช่น การชักปืนออกมายังไม่ทันเล็งถือว่าภัยใกล้จะถึงแล้ว ก็สามารถป้องกันได้
ข้อสังเกต เรื่องของประมาท เช่น ก ขับรถส่ายไปส่ายมายังไม่ชนใคร ถ้ารถนั้นกำลังจะชน ข ค ยิงล้อรถยนต์ของ ก อ้างป้องกันได้หรือไม่ อย่าลืมว่าการขับรถส่ายไปส่ายมายังไม่ชนใครยังไม่เป็นความผิด ประกอบกับความผิดฐานพยายามประมาทไม่มีนะครับ เพราะฉะนั้น การขับรถส่ายไปส่ายมายังไม่เป็นความผิด ในเรื่องนี้การขับรถส่ายไปส่ายมา การที่ ค ยิงยางรถคันนั้นเพื่อหยุดหยุด ถือว่าเป็นการป้องกันภัยอันใกล้จะถึงแล้ว แม้การกระทำของ ก ยังไม่เป็นความผิดด้วยซ้ำ
การกระทำโดยป้องกันนั้นจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง ปกติแล้วการป้องกันนั้นจะต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา ถ้าไม่ใช่เจตนาอ้างป้องกันไม่ได้ เช่น ก ทำความสะอาดปืนของตนเอง ปรากฎว่าปืนลั่น ขณะนั้น ข ต้องการจะฆ่า ก กำลังจ่อปืนเล็งไปที่ ก ขณะกำลังทำความสะอาดอยู่ ขณะเดียวกันปืนของ ก ลั่นกระสุนถูก ข ถึงแก่ความตาย อย่างนี้ ก จะอ้างป้องกันต่อ ข ได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ เพราะว่าการกระทำโดยป้องกันจะต้องกระทำโดยเจตนา แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของการกระทำโดยประมาท
อีกกรณีหนึ่ง การวางสายไฟฟ้าป้องกันยุ้งข้าวของตนเอง ปรากฎว่าไปถูกโจรมาขโมยข้าว ถามว่าอ้างป้องกันได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ เพราะว่าไม่มีเจตนาพิเศษเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๖๙/๒๕๕๐
หาก Coppy กรุณาให้เครดิต เว็บติวเนติออนไลน์ www.tuinationline.com
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|