สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714842
แสดงหน้า2190967
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




รวมแนวข้อสอบท้องถิ่น ที่เคยออกมาแล้ว

รวมแนวข้อสอบท้องถิ่น ที่เคยออกมาแล้ว
อ้างอิง อ่าน 887 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์

1.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า 'งานสารบรรณ' ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร
ก.งานรับ-ส่งและเก็บรักษาหนังสือ 
ข.งานร่าง-เขียนและพิมพ์หนังสือ
ค.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร* 
ง.งานที่เกี่ยวกับงานทะเบียนเอกสาร 

2.ระเบียบงานสารบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
ก.1 มิถุนายน 2516 
ข.1 มิถุนายน 2526*
ค.1 ตุลาคม 2526 
ง.1 ธันวาคม 2527 

3.หนังสือราชการคืออะไร
ก.เอกสารทุกชนิดที่พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย
ข.เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ*
ค.เอกสารที่มีไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งในราชการ
ง.เอกสารที่ทางราชการเป็นเจ้าของ

4.งานสารบรรณมีประโยชน์ต่อราชการอย่างไร
ก.ทำให้งานสะดวก รวดเร็ว 
ข.ประหยัดแรงงานและเวลา
ค.ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูง 
ง.ถูกทุกข้อ *

5.ลักษณะในข้อใดที่เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานสารบรรณ
ก.มีความรู้ภาษาไทย 
ข.มีความสุขุม ละเอียด รอบคอบ
ค.ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง 
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และค. ประกอบกัน *

6.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก จัดเป็นหนังสือประเภทใด
ก.หนังสือภายนอก* 
ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือประทับตรา 
ง.หนังสือประชาสัมพันธ์ 

7.ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ
ก. เรื่อง 
ข.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ 
ค.คำขึ้นต้นและคำลงท้าย 
ง.อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย* 
8.หนังสือภายในเป็นหนังสืออย่างไร
ก.ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน 
ข.ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
ค.ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน 
ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. *

9.หนังสือภายนอกกับหนังสือภายในต่างกันในข้อใด
ก.แบบฟอร์ม* 
ข.การเก็บหนังสือ 
ค.ผู้ส่งและผู้รับ 
ง.การลงทะเบียนรับ-ส่ง 

10.หนังสือทีใช้ประทับตราใช้ในกรณีใดบ้าง
ก.ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม 
ข.การเตือนเรื่องที่ค้าง
ค.ส่งสิ่งของ เอกสาร สำเนา 
ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. *

11.ข้อใดเป็นลักษณะของหนังสือภายใน
ก.หนังสือที่ส่งไปโดยไม่บรรจุซอง
ข.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการต่างกระทรวง
ค.หนังสือติดต่อระหว่างบุคคลภายนอกด้วยกัน
ง.ไม่มีข้อถูก *

12.หนังสือประทับตราใช้กระดาษชนิดใด
ก.ใช้กระดาษตราครุฑ* 
ข.ใช้กระดาษบันทึก
ค.ใช้ประดาษอัดสำเนา 
ง.ไม่มีข้อกำหนดแน่นอน 

13.แถลงการณ์ เป็นหนังสือประเภทใด
ก.ประทับตรา 
ข.สั่งการ 
ค.ประชาสัมพันธ์ * 
ง.เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น 

จงพิจารณาตัวเลือกต่อไป แล้วใช้ตอบคำถามตั้งแต่ ข้อ 14 ถึง 17
ก.แถลงการณ์ ข.ข้อบังคับ
ค.คำสั่ง ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และค.

14.บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย* ข
15.บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจน* ก
16.บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย* ค
17.บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบทั่วกัน* ง

18.หนังสือราชการที่มีคำว่า “ด่วนมาก” ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติตามกำหนดเวลา 
ข.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้
ค.ปฏิบัติโดยเร็ว* 
ง.ปฏิบัติทันที


19.วันเดือน ปี ที่ออกหนังสือในหนังสือประทับตรา ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหนในหนังสือ
ก.ใต้รูปครุฑ 
ข.ได้ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก *
ค.ไม่มีการลงวัน เดือนปี ในหนังสือชนิดนี้
ง .ผิดทุกข้อ

20.หนังสือประทับตราจะมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะส่งออกได้ จะต้อง…
ก.ประทับตราให้ถูกที่สุด 
ข.ระบุตัวผู้รับให้ชัดเจน 
ค.มีคำว่าหนังสือประทับตรา 
ง.มีผู้ลงชื่อกำกับตราที่ประทับตามระเบียบ*

21.รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด
ก.หนังสือภายใน 
ข.หนังสือสั่งการ 
ค.หนังสือประชาสัมพันธ์ 
ง.หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ*

22.หนังสือประทับตรา ผู้ใดมีอำนาจในการลงชื่อกำกับ
ก.เจ้าหน้าที่ระดับ 2 ขึ้นไป 
ข.หัวหน้าแผนก
ค.หัวหน้าฝ่าย 
ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย*

23.หนังสือราชการที่มีคำว่า 'ด่วน'ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติเร็วที่สุด 
ข.ปฏิบัติโดยเร็ว
ค.ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ * 
ง.ปฏิบัติเร็วตามกำหนดเวลา

24.ตามระเบียบงานสารบรรณ หนังสือราชการที่จัดทำขึ้นจะต้องทำ……..อย่างน้อย 1 ฉบับ
ก.สำเนาต้นฉบับ 
ข.สำเนาคู่ฉบับ*
ค.สำเนาซ้ำฉบับ 
ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.

25.หนังสือต่อไปนี้ มีหนังสือประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
ก.หนังสือที่เกี่ยวกับความลับ 
ข.หนังสือที่มีหลักฐานการโต้ตอบ
ค.หนังสือที่เกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน* 
ง.หนังสือสำนวนการสอบสวน

26.การเซ็นชื่อรับรองสำเนาหนังสือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับใดขึ้นไปเป็นผู้ลงนามรับรองที่ชอบด้วยระเบียบงานสารบรรณ
ก.ระดับ 2* 
ข.ระดับ 3 
ค.ระดับ 4 
ง.ระดับ 5

27.การพิมพ์ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่ออกหนังสือให้พิมพ์ไว้ส่วนใดของหนังสือราชการ
ก.ริมกระดาษด้านบนขวา 
ข.ริมกระดาษด้านบนซ้าย
ค.ริมกระดาษด้านล่างซ้าย* 
ง.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด

28.หนังสือราชการที่เป็นต้นฉบับ (ตัวจริง) จะมีรูปครุฑไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ
ก.ด้านบนขวา 
ข.ด้านล่างซ้าย 
ค.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด* 
ง.ตรงส่วนใดก็ได้ขอให้เห็นเด่นชัด

29.การพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องนั้น ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหน
ก.มุมกระดาษด้านล่างขวา 
ข.กลางหน้ากระดาษด้านบนขวา
ค.ใต้ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง * 
ง.ตรงไหนก็ได้

30.ตั้งแต่ข้อ 30 ถึง 33 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วนใดของซอง โดยยึดคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
ก.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
ข.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
ค.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
ง.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง

30.เลขที่หนังสือออก* ก
31.คำขึ้นต้น ชื่อผู้รับ* ง
32.ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง* ค
33.ด่วนมาก* ข

34.การเก็บหนังสือราชการปกติจะต้องเก็บรักษาไว้กี่ปี
ก.5 ปี 
ข.10 ปี * 
ค.15 ปี 
ง.20 ปี

35.ข้อความที่บันทึกในรายงานการประชุมมักเริ่มต้นด้วยอะไร
ก.ประธานกล่าวเปิดประชุม*
ข.บอกเรื่องที่จะประชุม
ค.การรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน
ง.การอ่านรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

36.ข้อความสุดท้ายของรายงานการประชุมควรจะเป็นอะไร
ก.เวลาเลิกประชุม
ข.ผู้จดรายงานการประชุม*
ค.ผู้ตรวจรายงานการประชุม
ง.วัน เดือน ปี และสถานที่ประชุม

37.หนังสือราชการที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติด แบ่งเป็นกี่ประเภท
ก.4 
ข.3* 
ค.2 
ง.ประเภทเดียว

38.การเขียนหรือพิมพ์ (หรือประทับตรา) คำว่าด่วน หรือด่วนมาก จะต้องเขียนหรือพิมพ์ (หรือประทับตรา) ไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ
ก.ท้ายหนังสือ 
ข.ให้เห็นได้ชัด* 
ค.บนหัวหนังสือ 
ง.ตรงไหนก็ได้

39.การร่างหนังสือราชการต้องระวังเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ หลายเรื่อง เรื่องใดต่อไปนี้จำเป็นน้อยมาก
ก.แบบฟอร์ม* 
ข.ใจความ 
ค.วรรคตอน 
ง.ตัวสะกดการันต์

40.ข้อใดอาจช่วยให้หนังสือราชการมีใจความแจ่มชัด
ก.การใช้ภาษาที่ง่าย สั้น แต่ได้ใจความดี
ข.การแยกแยะใจความออกเป็นข้อๆ หรือตอนๆ
ค.การเท้าความถึงเรื่องที่เคยติดต่อกันมา
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.*

41.ข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้ ให้ปฏิบัติเป็นรายการสุดท้ายในการรับหนังสือ
ก.ลงทะเบียนรับหนังสือ 
ข.ประทับตรารับหนังสือ
ค.เปิดผนึกซองและตรวจเอกสาร 
ง.ส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ*

42.การร่างหนังสือคืออะไร
ก.การพิมพ์หรือเขียนอย่างย่อๆ
ข.การกำหนดโครงร่างหนังสืออย่างคร่าวๆ
ค.การเขียนหนังสือด้วยลายมือของตนเอง
ง.การเรียบเรียงชั้นต้นตามเรื่องที่ต้องการติดต่อ*

43.เหตุใดจึงต้องให้มีการร่างหนังสือก่อนพิมพ์
ก.ต้องการให้เจ้าของเรื่องได้เห็นต้นร่างก่อน
ข.ต้องการดูว่าใจความจะยาวหรือสั้นเพียงใด
ค.ต้องการให้ผู้ร่างหนังสือมีงานทำและร่างหนังสือด้วยความระมัดระวัง
ง.ต้องการให้มีการตรวจแก้ให้เหมาะสมตามระเบียบแบบแผนก่อน*

44.การเสนอหนังสือคืออะไร
ก.การนำหนังสือไปส่งให้ผู้รับ
ข.การส่งหนังสือออกจากส่วนราชการ
ค.การสรุปใจความสำคัญในหนังสือเสนอให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
ง.การนำหนังสือที่ดำเนินการชั้นเจ้าหน้าที่แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชา*

45.การเสนอหนังสือที่ดีควรปฏิบัติอย่างไร
ก.ต้องเสนอเรื่องที่ไม่มีปัญหาก่อนเสมอ
ข.ต้องเสนอเรื่องสำคัญก่อนเรื่องอื่นๆ
ค.ต้องแยกเรื่องเสนอเป็นประเภทๆ ไป*
ง.ต้องเรียงลำดับเรื่องเสนอก่อน-หลัง ตามวัน เดือน ปี ที่ได้รับ

46.ภาพข้างล่างนี้คืออะไร
(ชื่อส่วนราชการ)
เลขรับ……………………………..
วันที่……………………………….
เวลา……………………………….
ก.ใบรับหนังสือ 
ข.ทะเบียนหนังสือรับ
ค.ตราประทับสำหรับลงรับหนังสือ* 
ง.ตราประทับสำหรับส่งหนังสือ

47.ข้อใดไม่มีกำหนดไว้ในทะเบียนงานสารบรรณ
ก.ทะเบียนรับ 
ข.ทะเบียนจ่าย*
ค.ทะเบียนส่ง 
ง.ทะเบียนเก็บ

48.ตามที่ได้มีช่อง “การปฏิบัติ” ไว้ในทะเบียนรับ-ส่ง หนังสือนั้น เพื่อประโยชน์อะไร
ก.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นใครเป็นผู้ส่งมา
ข.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นจะต้องส่งไปที่ไหน
ค.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นควรจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ง.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นได้มีการปฏิบัติการไปแล้วเพียงใด*

49.ซองหนังสือราชการมีกี่ขนาด
ก.2 
ข.3 
ค.4* 
ง.5

50.การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ข้อใดไม่ใช่วิธีการเก็บหนังสือ 1 ใน 3 อย่างดังกล่าว
ก.การเก็บก่อนปฏิบัติ*
ข.การเก็บระหว่างปฏิบัติ
ค.การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
ง.การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

51.การเก็บหนังสือมีประโยชน์ต่อข้อใดมากที่สุด
ก.การค้นหา* 
ข.การตรวจสอบ 
ค.การทำความสะอาดที่เก็บ 
ง.ความเป็นระเบียบเรียบร้อย

52.ใบรับหนังสือมีประโยชน์อย่างไร
ก.แสดงว่าหนังสือนั้นไม่สูญหาย
ข.แสดงว่าผู้รับได้รับหนังสือแล้ว
ค.เป็นหลักฐานว่าผู้ส่งได้ส่งหนังสือแล้ว
ง.เป็นหลักฐานว่าได้ส่งหนังสือและมีผู้รับหนังสือนั้นไปแล้ว*

53.หนังสือราชการประเภทใดอาจไม่ต้องทำสำเนาคู่ฉบับไว้ก็ได้
ก.หนังสือภายนอก 
ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือสั่งการ 
ง.หนังสือประทับตรา*

54.ในสำเนาคู่ฉบับควรมีลายมือชื่อบุคคลต่อไปนี้ ยกเว้นผู้ใดที่ไม่จำเป็นต้องมี
ก.ผู้ร่าง 
ข.ผู้พิมพ์ 
ค.ผู้สั่งพิมพ์* 
ง.ผู้ตรวจ-ทาน

55.ข้อใดเรียงลำดับส่วนราชการจากใหญ่ไปหาเล็ก ได้ถูกต้อง
ก.กอง แผนก กรม กระทรวง 
ข.แผนก กรม กอง กระทรวง
ค.กระทรวง กอง กรม แผนก 
ง.กระทรวง กรม กอง แผนก*

56.การประทับตรารับหนังสือควรประทับตามที่ส่วนใดของหนังสือจึงจะถูกต้อง
ก.ที่มุมบนขวา* 
ข.ที่มุมบนซ้าย
ค.ที่มุมล่างซ้าย 
ง.ที่มุมล่างขวา

57.ข้อใดเรียงลำดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับหนังสือได้ถูกต้อง
ก.ลงทะเบียนรับ ประทับตรารับหนังสือ เปิดผนึกซองตรวจ
ข.ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ เปิดผนึกซองตรวจ
ค.เปิดผนึก-ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ และตรวจ
ง.เปิดผนึก ตรวจ ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ*

58.การเปิดซองหนังสือราชการ ถ้ามีซองอีกชั้นหนึ่งอยู่ข้างใน แสดงว่าหนังสือนั้นต้องเป็นหนังสือประเภทใด
ก.หนังสือภายใน 
ข.หนังสือภายนอก
ค.หนังสือราชการด่วน 
ง.หนังสือราชการลับ*

59.หนังสือประทับตราต่างกับหนังสือภายนอกและหนังสือภายในในแง่ใด
ก.คำขึ้นต้น 
ข.คำลงท้าย
ค.การลงชื่อ 
ง.ทั้ง ก. ข. และ ค.*

60.ตราที่ใช้ประทับในหนังสือประทับตราตามระเบียบงานสารบรรณกำหนดให้ใช้หมึกสีอะไร
ก.แดง* 
ข.ดำ 
ค.น้ำเงิน 
ง.เขียว

61.”ประกาศ ณ วันที่………” ใช้กับหนังสือสั่งการชนิดใด
ก.คำสั่ง 
ข.ระเบียบ 
ค.ข้อบังคับ 
ง.ถูกทั้ง ข.และ ค.*

62.บรรทัดสุดท้ายของหนังสือสั่งการทุกประเภทจะต้องเป็นข้อความที่ระบุอะไร
ก.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
ข.ชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือ
ค.ตำแหน่งของผู้มีอำนาจออกหนังสือ*
ง.ลายมือชื่อผู้มีอำนาจออกหนังสือ

63.ข้าราชการที่มีตำแหน่งยศทหารหรือตำรวจ ต้องพิมพ์ยศลงหน้าชื่อในวงเล็กใต้ลายเซ็นหรือไม่
ก.ไม่ต้องพิมพ์ยศ 
ข.พิมพ์ยศลงไปด้วย*
ค.พิมพ์หรือไม่พิมพ์ก็ได้ 
ง.ไม่มีคำตอบถูก

64.การเขียนหนังสือราชการถึงพระภิกษุ-สามเณร ทั่วไป ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
ก.เรียน 
ข.กราบเรียน 
ค.ถึง 
ง.นมัสการ*

65.ถ้าอธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ผู้ทำงานแทนเมื่อลงนามในหนังสือจะต้องใช้คำว่าอย่างไร
ก.ใช้ตำแหน่งของผู้ทำงานแทน 
ข.ทำงานแทน
ค.รักษาราชการแทน * 
ง.ปฏิบัติราชการแทน

66.โทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุใช้ในกรณีใด
ก.เรื่องเร่งด่วน 
ข.เรื่องเกี่ยวกับความลับราชการ
ค.เรื่องเกี่ยวกับการเงิน 
ง.เรื่องที่สั่งด้วยหนังสือไม่ทัน*

67.ทำไมจึงต้องมีระเบียบงานสารบรรณ
ก.เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีระเบียบเป็นหลักปฏิบัติ*
ข.เพื่อความสะดวกแก่ผู้บังคับบัญชาในการควบคุมงาน
ค.เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนรู้เรื่องระเบียบงานสารบรรณ
ง.เพื่อให้ข้าราชการร่างและรับส่งหนังสือราชการได้ถูกต้อง

68.พระเจ้าแผ่นดินแต่งตัว ใช้ราชาศัพท์ว่าอย่างไร
ก.ทรงเครื่อง* 
ข.แต่งพระองค์
ค.ทรงเครื่องใหญ่ 
ง.ทรงพระสุคนธ์

69.พระภิกษุ สามเณร ป่วยใช้คำว่าอย่างไร
ก.ไม่สบาย 
ข.ประชวร 
ค.อาพาธ* 
ง.ทรงพระประชวร

70.ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
ก.เดินทาง 
ข.ฟังเทศน์ 
ค.ทำบุญ* 
ง.ไปวัด

71.พระฉาย ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
ก. พระรูป 
ข.กระจกส่อง* 
ค.หวี 
ง.ช้อนส้อม

72.นายกรัฐมนตรี ตาย คำที่ขีดเส้นใต้คำใดจึงจะถูกต้องตามราชาศัพท์
ก.ถึงแก่กรรม 
ข.มรณกรรม
ค.อสัญกรรม * 
ง.พิราลัย

73.อายุการเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก.5 ปี 
ข.10 ปี* 
ค.15 ปี 
ง.ไม่มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้

74.หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลักต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 15 ปี
ข.นำไปเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ
ค.ให้ปฏิบัติตามระเบียบสารบรรณโดยเคร่งครัด
ง.ให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ*

75.การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือราชการไปดู หรือคัดลอก ต้องได้รับอนุญาตจากใครก่อน
ก.เจ้าหน้าที่เก็บ 
ข.ประจำแผนก
ค.หัวหน้าแผนก 
ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย*

76.หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้เก็บไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก.1 ปี* 
ข.1 ปี 6 เดือน 
ค.2 ปี 
ง.3 ปี

77.ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ยืมหนังสือราชการระหว่างส่วนราชการจะต้องเป็นผู้อยู่ในตำแหน่งระดับใดขึ้นไป
ก.หัวหน้าแผน 
ข.หัวหน้าฝ่าย 
ค.หัวหน้ากอง* 
ง.รองอธิบดี

78.ถ้าปรากฏว่าหนังสือราชการที่เก็บไปสูญหายไป จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ติดต่อเจ้าของเรื่องเดิมเพื่อหาสำเนามาแทน*
ข.เรียกตัวผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องที่หายมาสอบถาม
ค.ปล่อยไปเลยแต่ให้หมายเหตุว่าเรื่องหาย
ง.ผิดทั้ง ก. ข. และ ค.

79.การตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือให้ตั้งอย่างน้อยกี่คน
ก.2 คน 
ข.3 คน* 
ค.4 คน 
ง.5 คน

80.ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใด
ก.อธิบดี
ข.ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งเทียบเท่าอธิบดี
ค.ปลัดกระทรวง
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค. แล้วแต่กรณี*

81.คณะกรรมการทำลายหนังสือจะต้องแต่งตั้งจากข้าราชการระดับใดขึ้นไป
ก.ระดับ 2 
ข.ระดับ 3* 
ค.ระดับ 4 
ง.ระดับใดก็ได้

82.ผู้มีอำนาจอนุมัติการทำลายหนังสือราชการในส่วนภูมิภาคได้แก่ผู้ใด
ก.ปลัดจังหวัด 
ข.อธิบดี
ค.รองผู้ว่าราชการจังหวัด 
ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด*

83.ตราครุฑที่ใช้สำหรับเป็นแบบพิมพ์ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่มีความสูงเท่าไร
ก.2.5 ซม. 
ข.3.0 ซม.* 
ค.3.5 ซม. 
ง.4.0 ซม.

84.ขนาดตราครุฑที่ใช้ประทับแทนการลงชื่อต้องเป็นวงกลม 2 วงซ้อนกัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกและวงในเท่าไร
ก. 3.5 ซม. และ 2.5 ซม. 
ข. 4.0 ซม. และ 3.0 ซม.
ค. 4.5 ซม.และ 3.5 ซม. * 
ง.ขนาดพอเหมาะเท่าไรก็ได้

85.ตราครุฑมาตรฐานที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณ 2526 มีกี่ขนาด
ก.2 ขนาด* 
ข.3 ขนาด 
ค.4 ขนาด 
ง.5 ขนาด

86.การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้มายืมและขอรับหนังสือต้องเป็นข้าราชการที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใดขึ้นไป
ก.หัวหน้าแผนก* 
ข.หัวหน้าฝ่าย 
ค.หัวหน้ากอง 
ง.รองอธิบดี

87.การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จแล้วของกระทรวงต่างๆ ตามปกติเป็นหน้าที่ของใคร
ก.แผนกสารบรรณของแต่ละกรม
ข.แผนกเก็บกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวง
ค.ฝากเก็บที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.*

88.การยืมหนังสือราชการระหว่างส่วนราชการ ผู้มีอำนาจในการดำเนินการยืมจะต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการตำแหน่งระดับใดขึ้นไป
ก.หัวหน้าแผนก 
ข.หัวหน้าฝ่าย 
ค.หัวหน้ากอง* 
ง.รองอธิบดี

89.หนังสือราชการประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป
ก.หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ข.หนังสือเกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน
ค.หนังสือที่ต้องใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้า
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.*

90.การเขียนหนังสือราชการที่มีคำลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ” เป็นหนังสือที่มีไปถึงใคร
ก.อธิบดี 
ข.ปลัดกระทรวง
ค.ข้าราชการระดับ 5 
ง.ถูกหมดทุกข้อ*




จาก ขงเบ้ง (203.148.199.27) วันที่ 5/11/2548 5:02:42 




ตอบ No. 1 

จาก ขงเบ้ง 
วันที่ 5/11/2548 5:06:50 
001:งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำเป็น
1. :ข้อบังคับ
2. :ระเบียบ
3. :ข้อบัญญัติ
4. :พระราชบัญญัติ:3

002:ข้อใดคือนิยามของ 'งบประมาณ' ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. :กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผน
2. :แผนงาน หรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่ายแสดงตัวเลขจำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน
3. :ภารกิจ แต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ
4. :ถูกทุกข้อ:2

003:ข้อใดคือนิยามของ 'แผนงาน' ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
1. :กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผน
2. :แผนงาน หรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่ายแสดงตัวเลขจำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน
3. :ภารกิจ แต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ
4. :ถูกทุกข้อ:3

004:ในกรณีที่งบประมาณประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะดำเนินการอย่างไร
1. :ไม่มีการเบิกจ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
2. :นำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาใช้ไปพลางก่อน
3. :นำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาใช้ไปพลางก่อน
4. :นำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณามาใช้ไปพลางก่อน:3

005:บุคคลในตำแหน่งใด เป็น เจ้าหน้าที่งบประมาณ
1. :นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
2. :ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
4. :เจ้าหน้าที่พัสดุ:2

006:ข้อใดไม่ใช้รายจ่ายประจำ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
1. :หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
2. :หมวดค่าจ้างชั่วคราว
3. :หมวดเงินค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
4. :หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง:4

007:ข้อใดคือรายจ่ายเพื่อการลงทุน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
1. :หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
2. :หมวดค่าจ้างชั่วคราว
3. :หมวดเงินค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
4. :หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง:4

008:ข้อใดสามารถเบิกจ่ายได้ แม้งบประมาณรายจ่ายประจำปี ออกใช้ไม่ทัน
1. :ค่าครุภัณฑ์
2. :งบลงทุน
3. :ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
4. :ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ:4

009:ข้อใด ไม่ใช่ หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
1. :อำเภอ
2. :เทศบาล
3. :องค์การบริหารส่วนตำบล
4. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด:1

010:งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำเป็น
1. :พระราชบัญญัติ
2. :ข้อบัญญัติ
3. :ระเบียบ
4. :ข้อบัญญัติ:2

011:บุคคลใดมีอำนาจสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
1. :ประธานกรรมการบริหาร
2. :ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :นายอำเภอ
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:4

012:องค์กรบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็น
1. :ราชการส่วนท้องถิ่น
2. :ราชการส่วนภูมิภาค
3. :องค์กรอิสระ
4. :ราชการส่วนกลาง:1

013:ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
1. :1 ปี
2. :2 ปี 
3. :3 ปี 
4. :จนกว่าจะครบอายุสภา:4

014:ถ้าองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งมีจำนวน 2 หมู่บ้าน จะมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้กี่คน
1. :4 คน
2. :6 คน
3. :10 คน
4. :12 คน:2

015:ข้อใดไม่ใช่ส่วนบริหารราชการส่วนกลาง
1. :กรุงเทพมหานครฯ
2. :สำนักนายกรัฐมนตรี
3. :กระทรวง ทบวง
4. :กรม:1

016:ใครมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :นายอำเภอ
2. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. :รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4. :อธิบดีกรมการปกครอง:1

017:ใครมีอำนาจเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมัยสามัญประจำปี
1. :นายอำเภอ
2. :ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
4. :ประธานกรรมการบริหาร:2

018:ข้อใดเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :ภาษีบำรุงท้องที่
2. :ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
3. :ภาษีสรรพสามิต
4. :ถูกทุกข้อ :4

019:การประชุมสภา อบต.สมัยสามัญหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินสิบห้าวัน แต่สามารถขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากใคร
1. :นายอำเภอ
2. :ประธานสภา อบต.
3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
4. :อธิบดีกรมการปกครอง:1

020:ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
1. :ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบล
2. พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ
3. :ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกฯ
4. :ถูกทุกข้อ:4

021:ในปีหนึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลจะมีสมัยประชุมสามัญไม่เกินกี่สมัย
1. :2 สมัย
2. :3 สมัย
3. :4 สมัย
4. :5 สมัย:3

022:ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีอายุกี่ปี
1. :อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2. :อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
3. :อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์
4. :อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์:2

023:ข้อใดไม่ใช่วิธีการในการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ
1. :ตกลงราคา
2. :สอบราคา
3. :จ้างเหมาราคา
4. :ประกวดราคา:3

024:การจัดซื้อจัดจ้างโดยวีธีตกลงราคาจะต้องมีวงเงินไม่เกินเท่าไร
1. :10,000 บาท
2. :50,000 บาท
3. :100,000 บาท
4. :500,000 บาท:3

025:ข้อใดเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
2. :ภาษีอากร
3. :ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ค่าใบอนุญาต ตามกฎหมายกำหนด
4. :ถูกทุกข้อ:4

026: 'หนังสือภายใน' หมายถึง
1. :หนังสือที่ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน
2. :หนังสือที่ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
3. :หนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน
4. :ถูกทุกข้อ:4

027:ข้อใดเป็นหนังสือประชาสัมพันธ์
1. :บันทึกข้อความ
2. :ข้อบังคับ
3. :ประกาศ
4. :คำสั่ง:3

028:ลักษณะของผู้ที่จะทำงานสารบรรณได้ดีคือ
1. :ผู้มีความรู้ภาษไทยดี
2. :ผู้รู้ระเบียบงานสารบรรณดี
3. :ผู้ที่สามารถติดต่อ โต้ตอบ ประสานงานคล่องแคล่ว ว่องไว
4. :ถูกทุกข้อ:4

029:ในงานสารบรรณ 'หนังสือ' หมายถึง
1. :หนังสือเรียน
2. :หนังสือราชการ
3. :หนังสือนอกหลักสูตร
4. :หนังสือทุกประเภท:2

030:บรรดาข้อความทั้งหลายที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายเรียกว่าอะไร
1. :คำสั่ง
2. :ข้อบังคับ
3. :ระเบียบ
4. :กฎกระทรวง:1

031:บรรดาข้อความทั้งหลายที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยทั่วไป เรียกว่าอะไร
1. :แถลงการณ์
2. :ประกาศ
3. :คำสั่ง 
4. :ข่าว:4

032:หนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการถึงหน่วยงานอื่นซึ่งมิใช่หน่วยงานราชการหรือมีถึงบุคคลภายนอก คือ
1. :หนังสือภายใน
2. :หนังสือภายนอก
3. :หนังสือประทับตรา
4. :หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน:2

033:การเก็บเอกสารที่ดีที่สุดควรปฏิบัติอย่างไร
1. :เก็บเอกสารที่มีระบบเดียวตลอด
2. :เก็บเอกสารที่มีอุปกรณ์พร้อม
3. :เก็บเอกสารไว้อย่างเป็นระบบ
4. :เก็บเอกสารให้เป็นปัจจุบัน:4

034:จุดประสงค์ที่สำคัญในการจัดเก็บเอกสารอย่างมีระบบไว้ในที่เดียวกัน คือ
1. :ค้นหาเอกสารได้ทันท่วงที
2. :เพื่อความปลอดภัยและเอกสารจะอยู่อย่างเป็นระเบียบ
3. :เพื่อรวบรวมเอกสารไว้ในแหล่งที่มีผู้รับผิดชอบเป็นสัดส่วน
4. :ถูกทุกข้อ:4

035:จดหมายราชการ ไม่ควรใช้สำนวนในข้อใด
1. :ภาษานักประพันธ์หรือภาษาพูด
2. :ถูกต้องตามสากลนิยม
3. :เรียบร้อย
4. :สุภาพ:1

036:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
1. :ตี
2. :ตบ
3. :เตะ
4. :ต่อย:3

037:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
1. :โต
2. :จิ๋ว
3. :นิด
4. :เล็ก:1

038:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
1. :ฉิ่ง
2. :ซอ
3. :กลอง
4. :ระนาด:2

039:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
1. :มะขาม
2. :มะยม
3. :มะปราง
4. :มะนาว:4

040:คำตอบในข้อใดที่แตกต่างจากข้ออื่น
1. :น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
2. :ลิ้นกับฟัน
3. :ขิงก็ราข่าก็แรง
4. :เกลือจิ้มเกลือ:1

041:พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่เท่าไร
1. :21
2. :22
3. :23
4. :24:3

042:สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบันมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
1. :4 ปี 
2. :6 ปี
3. :7 ปี
4. :9 ปี:2

043:จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี
1. :500 คน
2. :400 คน
3. :200 คน
4. :700 คน:1

044:ใครดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
1. :ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
2. :ประธานศาลฎีกา
3. :ประธานวุฒิสภา
4. :ประธานสภาผู้แทนราษฎร:4

045:ข้อใดเป็นตำแหน่งข้าราชการการเมือง
1. :เลขานุการนายกรัฐมนตรี
2. :เลขานุการคณะรัฐมนตรี
3. :ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
4. :ปลัดกระทรวง:1

046:คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่คน
1. :34
2. :35
3. :36
4. :40:3

047:ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 ได้ปรับปรุงมาจากระเบียบใด 
1. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2540
2. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541
3. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
4. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543:2

048:ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้เมื่อพ้นกำหนดกี่วัน
1. :30 วัน 
2. :60 วัน
3. :90 วัน
4. :180 วัน:3

049:'องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น' ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 ไม่ได้หมายความถึงข้อใด
1. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
2. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา
3. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
4. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร:4

050:ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 คำว่า 'แผนพัฒนา' ไม่ได้หมายถึง
1. :แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
2. :แผนพัฒนาห้าปี
3. :แผนพัฒนาสามปี
4. :ไม่มีข้อถูกต้อง:2

051:องค์กรจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการชุดใดไม่เกี่ยวข้องด้วย
1. :คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
2. :คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
4. :ถูกทุกข้อ:3

052:คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล มีประธานกรรมการคือ
1. :ประธานสภา อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :นายก อบต.
4. :ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก:3

053:คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลมีประธานคือ
1. :ประธานสภา อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :นายก อบต.
4. :ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก:2

054:คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา อบต. มีประธานกรรมการคือ
1. :ประธานสภา อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :นายก อบต.
4. :ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก:1


055:คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น มีประธานกรรมการคือ 
1. :นายก อบต.
2. :นายก อบจ.
3. :ประธานสภา อบต.
4. :ประธานสภา อบจ.:2

056:คณะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ มีประธานกรรมการคือ
1. :นายอำเภอ
2. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. :ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับเลือก
4. :หัวหน้าส่วนราชการที่ได้รับแต่งตั้ง:1

057:การจัดทำและทบทวนแผนพัฒนาสามปีให้แล้วเสร็จภายในเดือนใดก่อนงบประมาณประจำปี
1. :มิถุนายน
2. :ตุลาคม
3. :สิงหาคม
4. :ธันวาคม:1

058:ผู้มีอำนาจขยายเวลาการจัดทำแผนพัฒนาสามปี คือผู้ใด
1. :นายอำเภอ
2. :ผู้บริหารท้องถิ่น
3. :สภาท้องถิ่น
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:4

059:การแก้ไขแผนพัฒนาเป็นอำนาจของใคร
1. :นายอำเภอ
2. :ผู้บริหารท้องถิ่น
3. :สภาท้องถิ่น
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:2

060:ผู้ประกาศใช้แผนพัฒนาที่ได้รับการอนุมัติแล้วคือผู้ใด
1. :ผู้บริหารท้องถิ่น
2. :นายอำเภอ
3. :สภาท้องถิ่น
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:1

061:แผนปฏิบัติการให้จัดทำแล้วเสร็จภายในเดือนใดของปีงบประมาณนั้น
1. :มิถุนายน
2. :ตุลาคม
3. :สิงหาคม
4. :ธันวาคม:4

062:การแก้ไขแผนปฏิบัติการเป็นอำนาจของใคร
1. :นายอำเภอ
2. :ผู้บริหารท้องถิ่น
3. :สภาท้องถิ่น
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:2

063:ผู้มีอำนาจขยายเวลาการจัดทำแผนปฏิบัติการคือผู้ใด
1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
2. :นายอำเภอที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัด
3. :ผู้บริหารท้องถิ่นตามมติสภาท้องถิ่น
4. :ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข:4

064:คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นให้มีอำนาจหน้าที่ต้องรายงานผลและเสนอความเห็น และต้องประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนใดของทุกปี
1. :มิถุนายน
2. :ตุลาคม
3. :สิงหาคม
4. :ธันวาคม:4

065:คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นให้มีอำนาจหน้าที่ต้องรายงานผลและเสนอความเห็น และต้องประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งต้องติดประกาศโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่ากี่วัน
1. :7 วัน
2. :10 วัน
3. :15 วัน
4. :30 วัน:4

066:ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 ให้ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจยกเว้น หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นภายในเขตจังหวัด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
1. :ปลัดกระทรวงมหาดไทย
2. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. :อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 
4. :ประธานคณะกรรมการประสานแผนท้องถิ่น:2

067:ข้อใดถูกต้องที่สุด
1. :เงินสะสม หมายความว่าเงินที่เหลือจ่ายจากปีก่อน ๆ
2. :ใบสำคัญคู่จ่าย หมายความว่าหลักฐานที่เป็นใบเสร็จรับเงิน
3. :ตู้นิรภัย หมายถึงตู้เหล็กซึ่งใช้เก็บรักษาเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. :หลักฐานการจ่าย หมายความว่า หลักฐานแสดงว่าได้มีการจ่ายให้แก่ผู้รับหรือเจ้าหนี้ตามข้อผูกพันแล้ว:4

068:ข้อใดถูกต้องที่สุด
1. :การรับชำระเงินทุกประเภท จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้นำมาชำระทุกครั้งและให้ใช้ใบเสร็จรับเงินเล่มเดี่ยวกันทุกประเภท
2. :หน่วยงานคลังบันทึกเงินที่ได้รับในบัญชีเงินสดหรือบัญชีเงินฝากวันใดก็ได้ในหนึ่งเดือนที่มีการรับเงิน
3. :หน่วยงานคลังจัดให้มีการตรวจสอบจำนวนเงินที่เจ้าหน้าที่จัดเก็บและนำส่งพร้อมกับหลักฐานและรายการที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินสดหรือบัญชีเงินฝากธนาคารว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
4. :เงินประเภทใดมีใบเสร็จเงินหลายฉบับไม่สามารถจะรวมรับเงินประเภทนั้นตามสำเนาใบเสร็จทุกฉบับมาบันทึกในบัญชีรายการเดียวได้:3

069: การเจาะปรุหรือประทับตราเลิกใช้ใบเสร็จรับเงินจะกระทำเมื่อใด
1. :เมื่อต้องการยกเลิกใบเสร็จ
2. :เมื่อสิ้นปีงบประมาณ
3. :เมื่อใบเสร็จบางฉบับในหนึ่งเล่มสูญหาย
4. :เมื่อใช้ใบเสร็จไม่หมดทั้งเล่มในหนึ่งเดือน:2

070: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเก็บรักษาเงินสดไว้ในตู้นิรภัยได้จำนวนไม่เกินเท่าใด
1. :10,000 บาท
2. :20,000 บาท
3. :40,000 บาท
4. :50,000 บาท:2

071:ใครเป็นผู้เก็บรักษาลูกกุญแจตู้นริภัย
1. :รองนายก อบต.
2. :กรรมการเก็บรักษาเงิน
3. :ปลัด อบต.
4. :หัวหน้าส่วนการคลัง:2

072: การแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานต้องแต่งตั้งอย่างน้อยจำนวนเท่าใด
1. :2 คน
2. :3 คน
3. :4 คน
4. :5 คน: 2 (หัวหน้าคลังเป็นโดยตำแหน่ง)

073:การแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นคณะกรรมการเก็บรักษาเงินจะต้องแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นระดับใดขึ้นไปเป็นคณะกรรมการ
1. :ระดับ 3 ขึ้นไป
2. :ระดับ 4 ขึ้นไป
3. :ระดับ 5 ขึ้นไป
4. :ระดับ 6 ขึ้นไป:1

074:กรณีในวันใดมีจำนวนเงินเกินอำนาจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเก็บรักษาไว้ได้จะต้องดำเนินการอย่างไร
1. :ให้นายก อบต.เก็บรักษาไว้ ในวันรุ่งขึ้นให้มอบให้เจ้าหน้าที่การเงินนำฝากธนาคาร
2. :ให้หัวหน้าส่วนการคลังเก็บรักษาไว้ในวันรุ่งขึ้นให้ นำเงินฝากธนาคาร
3. :ให้นำฝากให้เสร็จสินภายในวันนั้น ถ้าฝากในวันนั้นไม่ทันให้นำฝากตู้นิรภัยและวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการถัดไปให้นำฝากธนาคาร
4. :ให้ปลัด อบต.เก็บรักษาไว้ ในวันรุ่งขึ้นให้มอบให้เจ้าหน้าที่การเงินนำฝากธนาคาร:3

075:การรับส่งเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นเงินสดครั้งหนึ่งมีจำนวนเท่าใดให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปอย่างน้อยสองคนเป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมการรับส่งเงิน
1. :10,000 บาท
2. :20,000 บาท
3. :30,000 บาท
4. :40,000 บาท:3

076:ผู้ใดมีอำนาจในการถอนเงินฝากขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :นายก อบต. กับ ปลัด อบต.
2. :นายก อบต. กับ หัวหน้าส่วนการคลัง
3. :นายก อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย กับ ปลัด อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
4. :นายก อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย กับ รองนายก อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย:3

077:เงินที่เบิก ถ้าไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมด ให้หน่วยงานผู้เบิกนำส่งคืนหน่วยงานคลังภายในกี่วัน
1. :10 วัน
2. :15 วัน
3. :20 วัน
4. :25 วัน:2

078:การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของให้มีเอกสารประกอบฎีกา ดังนี้
1. :สัญญาซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของหรือเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้
2. :ใบแจ้งหนี้ หรือใบส่งมอบทรัพย์หรือมอบงาน
3. :เอกสารการตรวจรับทรัพย์สิน หรือตรวจรับงาน
4. :ถูกทุกข้อ:4

079:กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ก่อหนี้ผู้พันไว้ก่อนสิ้นปีโดยการสั่งซื้อ หรือสั่งจ้าง ถ้าเห็นว่าจะเบิกเงินไปชำระหนี้ผูกพันนั้นไม่ทันภายในปีให้ขออนุมัติเบิกตักปีต่อใคร
1. :นายก อบต.
2. :นายอำเภอ
3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
4. :หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด:1

080: การเบิกตัดปีจะกระทำได้ภายในเงื่อนไขใด
1. :เป็นรายจ่ายงบกลาง หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุเฉพาะรายจ่ายที่เกี่ยวกับการบำรุงดูแลรักษาที่ดินและสิ่งก่อสร้างและหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
2. :ต้องทำสัญญากันไว้เรียบร้อยแล้วและมีกำหนดการสิ้นสุดแห่งสัญญานั้นไม่เกินเดือนกันยายนของปีใหม่
3. :ให้วางฎีกาเบิกตัดปี ตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดก่อนวันสิ้นปีอย่างน้อยสามสิบวัน
4. :ถูกทุกข้อ:4

081: ผู้ใดมีหน้าที่ในการตรวจฎีกาขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :นายก อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :หัวหน้าส่วนการคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบหมาย
4. :เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี:3

082:ผู้ใดเป็นผู้อนุมัติฎีกาขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :หัวหน้าส่วนการคลัง
2. :ปลัด อบต.
3. :นายก อบต.
4. :นายอำเภอ:3

083:องค์การบริหารส่วนตำบลจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินด้วยวิธีใด
1. :จ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น
2. :จ่ายเป็นเช็ค
3. :จ่ายเป็นพันธบัตรรัฐบาล
4. :จ่ายเป็นเช็คและเงินสด:2

084:ถ้าผู้มีสิทธิรับเงินไม่สามารถรับเงินด้วยตนเองได้จะมอบฉันทะให้ผู้อื่นเป็นผู้รับแทนจะต้องได้รับอนุญาตจากใคร
1. :นายก อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :หัวหน้าหน่วยงานคลัง
4. :นายอำเภอ:3

085: การจ่ายเงินในข้อใดต่อไปนี้ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายเงินโดยไม่ต้องทำบันทึกแจ้งเหตุผล
1. :การจ่ายเงินรายหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนเงินไม่ถึงสิบบาท
2. :การจ่ายเงินค่ารถ หรือเรือนั่งรับจ้าง
3. :การจ่ายเงินเป็นค่าโดยสารรถไฟ รถยนต์ประจำทางหรือเรือยนต์ประจำทาง
4. :ถูกทุกข้อ:4

086:ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้ยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลได้
1. :หัวหน้าส่วนการคลัง
2. :ปลัด อบต.
3. :นายก อบต.
4. :นายอำเภอ:3

087:การจ่ายยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ
1. :เมื่อพนักงานส่วนตำบลเป็นหนี้
2. :มีงบประมาณเพื่อการนั้นแล้ว
3. :ผู้ยืมได้ทำสัญญาการยืมเงินและรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งที่ได้กำหนดไว้สำหรับเรื่องนั้น
4. :ข้อ ข และ ค ถูก:4

088:การยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้ผู้ยืมส่งใบสำคัญและเงินที่เหลือจ่ายภายในกำหนดกี่วัน
1. :15 วัน
2. :20 วัน
3. :25 วัน
4. :30 วัน:1

089:ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจยืมเงินสะสมในส่วนที่เก็บรักษาไว้เองทดรองจ่ายในกิจการที่อยู่อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยได้รับอนุมัติจากใคร
1. :นายก อบต.
2. :คณะผู้บริหารท้องถิ่น
3. :สภาท้องถิ่น
4. :นายอำเภอ:3

090:ข้อใดถูกต้องที่สุด
1. :องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจ่ายขาดเงินสะสมได้เมื่อได้รับอนุมัติจากนายอำเภอเท่านั้น
2. :องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจ่ายขาดเงินสะสมได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น
3. :เมื่อได้กันเงินสะสมไว้เพียงพอที่จะสำรองจ่ายเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่เหลือ แต่ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่าสามเดือนและอีกร้อยละยี่สิบห้าของยอดเงินสะสมคงเหลือเพื่อสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
4. :ไม่มีข้อใดถูก:3

091:หัวหน้าหน่วยงานคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน และงบอื่น ๆ ตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดเพื่อส่งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคตรวจสอบภายในกี่วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
1. :30 วัน
2. :60 วัน
3. :90 วัน
4. :120 วัน:3

092:เมื่อลงรายการจำนวนในใบเสร็จรับเงินผิดพลาดเมื่อต้องแก้ไขจะทำอย่างไร
1. :ขีดฆ่าแล้วเขียนใหม่ทั้งจำนวนพร้อมลงลายมือชื่อกำกับ
2. :ขีดฆ่าแล้วเขียนใหม่
3. :ทำลายทิ้งทั้งฉบับยกเว้นสำเนา
4. :ยกเลิกทั้งฉบับ:4

093:เงินในข้อใดต่อไปนี้ไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายได้
1. :เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
2. :เงินที่ผู้อุทิศให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์ไว้แล้ว
3. :เงินที่จัดหาขึ้นเพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ใช้งบประมาณ
4. :ถูกทุกข้อ:4

094:ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
1. :ใบเสร็จรับเงินเล่มใด ใช้สำหรับรับเงินของปีใด ให้ใช้รับเงินภายในปีนั้นเท่านั้น เมื่อขึ้นไปใหม่ก็ให้ใช้ใบเสร็จเล่มใหม่ ใบเสร็จรับเงินฉบับใดที่ยังไม่ใช้ให้คงติดไว้กับเล่มแต่เจาะปรุรูหรือ ประทับตราเลิกใช้เพื่อให้เป็นที่สังเกตมิให้นำมาใช้รับเงินได้ต่อไป
2. :ใบเสร็จรับเงินเล่มใดใช้สำหรับรับเงินของปีนั้น เมื่อสิ้นปีให้ใช้ต่อไปได้และจัดทำรายงานสรุปเลขที่ใบเสร็จให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ
3. :ใบเสร็จรับเงินห้ามขูด ลบ แก้ไข เพิ่มเติมจำนวน
4. :หน่วยงานคลังต้องจัดทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน เพื่อทราบและตรวจสอบจำนวนที่จัดพิมพ์:4

095:การยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลบุคคลใดเป็นผู้ลงนามในสัญญาการยืมเงิน
1. :นายก อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :หัวหน้าส่วนการคลัง
4. :ถูกทุกข้อ:1

096:การขออนุมัติเบิกตัดปีต้องมีเงื่อนตามข้อใด
1. :ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ
2. :ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้วและสัญญาสิ้นสุดไม่เกินเดือนกันยายนของปีใหม่
3. :วางฏีกาเบิกเงินก่อนสิ้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่า 30 วัน
4. :ถูกทุกข้อ:4

097:ระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อใด
1. :1 มกราคม 2526
2. :1 มิถุนายน 2526
3. :1 ตุลาคม 2526
4. :1 เมษายน 2526:2

098: ผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบงานสารบรรณคือใคร
1. :นายกรัฐมนตรี
2. :เลขาธิการ ก.พ.
3. :ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
4. :รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย:3

099: หนังสือราชการมีกี่ชนิด
1. :3 ชนิด
2. :4 ชนิด
3. :5 ชนิด
4. :6 ชนิด:4

100: หนังสือราชการคืออะไร
1. :เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
2. :เอกสารที่เป็นหนังสือสำคัญ
3. :เอกสารที่เจ้าหน้าที่เรียกร้องให้นำส่ง
4. :เอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์โดยไม่ต้องติดแสตมป์:1






ตอบ No. 2 

จาก ขงเบ้ง 
วันที่ 5/11/2548 5:19:51 
101: ตัวครุฑที่ใช้กระดาษราชการมี 2 ขนาด คือ ครุฑกลางสูง 3 ซม. ครุฑเล็กสูงเท่าใด
1. :2.5 ซม.
2. :2.0 ซม.
3. :1.5 ซม.
4. :1.0 ซม.:3

102: การรับหนังสือมีวิธีการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนอย่างใดตามลำดับก่อนหลัง
1. :เปิดซองแล้วตรวจ ลงชื่อรับหนังสือ ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ
2. :เปิดซองแล้วตรวจ ลงทะเบียนรับ ประทับตราหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ ลงชื่อรับหนังสือ
3. :เปิดซองแล้วตรวจ ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ ลงชื่อรับหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ
4. :เปิดซองแล้วตรวจ ประทับตรารับหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ ลงทะเบียนรับ ลงชื่อรับหนังสือ:4

103: หนังสือราชการคือ
1. :เอกสารทางราชการ
2. :เอกสารที่ราชการทำขึ้น
3. :เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
4. :เอกสารโต้ตอบในราชการ :3

104: หนังสือภายนอกให้ใช้กระดาษชนิด
1. :กระดาษบันทึกข้อความ
2. :กระดาษตราครุฑ
3. :กระดาษบันทึกหรือตราครุฑก็ได้
4. :กระดาษที่ราชการกำหนด:2

105: หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อให้ใช้ได้ในกรณีใด
1. :การส่งสิ่งของเอกสารหรือบรรณสารระหว่างส่วนราชการ
2. :คำแนะนำ
3. :แถลงการณ์
4. :หนังสือที่ไม่เกี่ยวกับราชการ:1

106: หนังสือที่ต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป เช่น
1. :เรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน
2. :เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบ
3. :เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
4. :ถูกทุกข้อ:3

107: กรรมการดำเนินการทำลายหนังสือประกอบขึ้นด้วยบุคคลอย่างน้อยกี่คน
1. :2 คน
2. :3 คน
3. :4 คน
4. :เท่าใดก็ได้:2

108: ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรี คำขึ้นต้นให้ใช้คำว่า
1. :กราบเรียน
2. :เรียน
3. :เสนอ
4. :ขอประธานกราบเรียน:2

109: การจดบันทึก หรือรายงานการประชุมอาจทำได้กี่วิธี
1. :1 วิธี
2. :2 วิธี
3. :3 วิธี
4. :4 วิธี:3

110: หนังสือประทับตรา คืออะไร
1. :หนังสือที่หัวหน้าส่วนราชการเป็นคนลงนาม
2. :หนังสือติดต่อราชการที่เป็นพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอกและภายใน
3. :หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป
4. :หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป:3

111: หนังสือสั่งการมีกี่ชนิด
1. :2 ชนิด
2. :3 ชนิด
3. :4 ชนิด
4. :5 ชนิด:2

112: หนังสือประชาสัมพันธ์มีกี่ชนิด
1. :1 ชนิด
2. :2 ชนิด
3. :3 ชนิด
4. :4 ชนิด:3

113: ประกาศจัดเป็นหนังสือชนิดใด
1. :หนังสือสั่งการ
2. :หนังสือประชาสัมพันธ์
3. :หนังสือประทับตรา
4. :หนังสือแถลงการณ์:2

114: หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มีกี่ชนิด
1. :1 ชนิด
2. :2 ชนิด
3. :3 ชนิด
4. :4 ชนิด:4

115: หนังสือที่ต้องปฏิบัติเร็วกว่าปกติแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
1. :1 ประเภท
2. :2 ประเภท
3. :3 ประเภท
4. :4 ประเภท:3

116: หนังสือราชการภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. :หนังสือที่ลงชื่อและหนังสือที่มิต้องลงชื่อ
2. :หนังสือที่เป็นแบบพิธีและหนังสือที่ไม่เป็นแบบพิธี
3. :หนังสือโต้ตอบและหนังสือแถลงข่าว
4. :บันทึกช่วยจำ และบันทึกเตือนความจำ:1

117: การพิจารณาหนังสือที่จะขอทำลายเป็นหน้าที่ของ
1. :หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
2. :ผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน
3. :คณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้ง
4. :คณะกรรมการที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้งโดยการเสนอของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม:3

118: คำว่า 'คำสั่ง' คือ
1. :คำสั่งด้วยวาจา คำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นคำสั่งที่บันทึกถึงตัวผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ
2. :การสั่งด้วยบันทึก ทางจดหมายและด้วยสื่อนำสาร
3. :บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
4. :การกระทำด้วยหนังสือหรือเรียกเจ้าหน้าที่มาพบเพื่อสั่งการแต่ละเรื่อง:3

119: การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น
1. :เก็บเข้าแฟ้มเพื่อสะดวกในการค้นหาเรื่องเดิม,เก็บเพื่อเป็นหลักฐานและเก็บเพื่ออ้างอิงในการปฏิบัติ
2. :การเก็บระหว่างปฏิบัติ,เก็บเมื่อปฏิบัติแล้วเสร็จและการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบตลอดจนกำหนดระยะเวลาทำลายไว้
3. :เก็บโดยมิดชิดปลอดภัยและกำหนดการเร่งด่วนในการขอย้าย
4. :เก็บให้เป็นระเบียบเพื่อการค้นหาได้สะดวก:2

120: การเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
1. :5 ปี
2. :10 ปี
3. :15 ปี
4. :ไม่มีข้อใดถูก:2

121: ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือ สำรวจหนังสือที่อายุครบการเก็บในปีนั้น จัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อทำลายหนังสือภายในกี่วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน
1. :30 วัน
2. :60 วัน
3. :120 วัน
4. :1 ปี:2

122: ระเบียบคือหนังสือชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในหนังสือประเภทใด
1. :หนังสื่อสั่งการ
2. :หนังสือประทับตรา
3. :หนังสือภายใน
4. :หนังสือภายนอก:1

123: คำสรรพนาม สำหรับเจ้าของหนังสือที่ว่า 'ข้าพระพุทธเจ้า' นอกจากจะใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีแล้ว ยังใช้กับ
1. :สมเด็จพระบรมราชชนนี
2. :สมเด็จเจ้าฟ้า
3. :พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า
4. :ถูกทุกข้อ:4

124: งานสารบรรณ คือ
1. :งานที่เกี่ยวกับระเบียบการร่างโต้ตอบหนังสือและเสนอความเห็น
2. :งานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดต่อกับหน่วยราชการทั้งภายในและภายนอกหน่วย
3. :งานที่ปฏิบัติด้วยหนังสือ นับตั้งแต่ คิด ร่าง เขียน แต่งพิมพ์ จดจำ ทำสำเนา ส่ง รับ บันทึกย่อเรื่อง เสนอสั่งการ ตอบ เก็บเข้าที่และค้นหา
4. :งานเกี่ยวกับธุรการทุกชนิด ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้รับผิดชอบ:3

125: การปฏิบัติกับหนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป คือ
1. :ให้เก็บโดยมิดชิด ปลอดภัยและกำหนดความเร่งด่วนในการขนย้าย
2. :เก็บใส่ตู้เอกสารที่มั่นคงแข็งแรงและกำหนดชั้นความลับ
3. :ให้ประทับตราคำว่า 'ห้ามทำลาย' ด้วยหมึกสีแดงที่หน้าแฟ้มเรื่องนั้น
4. :เก็บให้เป็นระเบียบ แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทั่วกัน:3

126: ผู้ที่มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คือใคร
1. :หัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ
2. :สำนักงาน ก.พ.
3. :ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
4. :ปลัดกระทรวงนั้น ๆ:3

127: ประกาศ หรือแถลงการณ์ เป็นหนังสือชนิดใด
1. :หนังสือสั่งการ
2. :หนังสือประชาสัมพันธ์
3. :หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายถือปฏิบัติตามนโยบาย
4. :หนังสือประทับตรา:2

128: ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีตายหรือขาดคุณสมบัติ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติ ดังนี้
1. :รักษาราชการแทน
2. :ปฏิบัติราชการแทน
3. :ปฏิบัติหน้าที่แทน
4. :ทำการแทน:3

129: คำขึ้นต้นของหนังสือภายในถึงบุคคลธรรมดา ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
1. :เรียน
2. :ขอประทานเสนอ
3. :ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของบุคคล
4. :ถึง:1

130: บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นประจำ เรียกว่า
1. :คำสั่ง
2. :ระเบียบ
3. :ข้อบังคับ
4. :ประกาศ:2

131: ข้อความใด ถูกต้องเกี่ยวกับข้อบังคับ
1. :รายละเอียดของข้อบังคับมีหัวข้อเหมือนกับคำสั่ง
2. :ผู้ออกข้อบังคับไม่จำเป็นจะต้องพิมพ์ชื่อเต็มไว้ด้วย
3. :การเขียนข้อบังคับต้องมีชื่อส่วนราชการอยู่ด้วย
4. :การเขียนวันที่ของข้อบังคับต้องเขียนเต็มโดยมี วันที่ เดือน พ.ศ.:3

132: หนังสือราชการต่อไปนี้ ข้อใดต้องใช้กระดาษตราครุฑ
1. :ข่าว
2. :ประกาศ
3. :แถลงการณ์
4. :ข้อ ก และ ข ถูก:4

133: หนังสือรับรอง คือหนังสือที่ส่วนราชการออกให้
1. :รับรองบุคคล
2. :รับรองนิติบุคคล
3. :รับรองหน่วยงาน
4. :ถูกทุกข้อ:4

134: หนังสือที่เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติทันทีที่ได้รับ
1. :หนังสือด่วนมาก
2. :หนังสือด่วน
3. :หนังสือด่วนที่สุด
4. :หนังสือลับ:3

135: ข้อใดคือลักษณะของหนังสือเวียน
1. :หนังสือถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก
2. :มีใจความอย่างเดียวกัน
3. :มีรหัสตัวพยัญชนะ ' ว 'ที่หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง
4. :ถูกทุกข้อ:4

136: ข้อใดมิใช่ส่วนประกอบของตรารับหนังสือ
1. :เลขที่
2. :วันที่ 
3. :เวลา
4. :ลงชื่อผู้รับ:4

137: ตรารับหนังสือราชการเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าตามขวาง มีขนาดมาตรฐานเท่าใด
1. :2' X 2.5'
2. :2' X 3'
3. :2.5 X 5 ซม.
4. :5 X 2.5 ซม.:3

138: มาตรฐานของกระดาษ A 4 มีขนาดเท่าใด
1. :148 มม. X 210 มม.
2. :229 มม. X 324 มม.
3. :52 มม. X 74 มม.
4. :210 มม. X 297 มม.:4

139: ตราครุฑที่ใช้เป็นแบบพิมพ์ ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่ มีความสูงเท่าใด
1. :3 ซม.
2. :2 ซม.
3. :1.5 ซม.
4. :5 ซม.:1

140: ซองที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณมีกี่ขนาด
1. :4 ขนาด
2. :5 ขนาด
3. :6 ขนาด
4. :7 ขนาด:1

141: การประทับตรารับหนังสือเพื่อลง วันที่ เดือน พ.ศ. จะต้องประทับตราที่ใด
1. :มุมบนด้านขวา
2. :มุมบนด้านซ้าย
3. :มุมล่างด้านขวา
4. :มุมล่างด้านซ้าย:1

142: คำลงท้ายถึงประธานองคมนตรี ใช้คำว่าอะไร
1. :ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
2. :ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
3. :ขอแสดงความนับถือยิ่ง
4. :ไม่มีข้อใดถูก:1

143: หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญ และเป็นเรื่องทีเกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
1. :6 เดือน
2. :1 ปี
3. :1 ปี 6 เดือน
4. :2 ปี:2

144: ' ใต้ฝ่าละอองพระบาท' เป็นสรรพนามที่ไม่ใช้สำหรับ
1. :สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
2. :สมเด็จพระบรมราชชนนี
3. :สมเด็จพระยุพราช
4. :สมเด็จพระบรมราชกุมารี:1

145: ข้อใดคือคำย่อของกระทรวงมหาดไทย
1. :มห.
2. :มท.
3. :มหท.
4. :มด.:2

146: ข้อใดคือคำขึ้นต้นและลงท้ายที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
1. :นมัสการ – ขอนมัสการด้วยความเคารพ
2. :กราบเรียน – กราบเรียนด้วยความเคารพ
3. :การนมัสการ – ขอแสดงความเคารพ
4. :นมัสการ - ขอแสดงความเคารพ:1

147:พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด และมีผลบังคับใช้เมื่อใด
1. :2 กุมภาพันธ์ 2537 มีผลบังคับใช้ 2 พฤษภาคม 2537
2. :2 มีนาคม 2537 มีผลบังคับใช้ 2 มีนาคม 2537
3. :2 พฤศจิกายน 2537 มีผลบังคับใช้ 2 พฤศจิกายน 2537
4. :2 ธันวาคม 2537 มีผลบังคับใช้ 2 มีนาคม 2538:4

148:พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด และมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่
1. :2 กุมภาพันธ์ 2546 มีผลบังคับใช้ 2 พฤษภาคม 2546
2. :22 กุมภาพันธ์ 2546 มีผลบังคับใช้ 22 กุมภาพันธ์ 2546
3. :2 ธันวาคม 2546 มีผลบังคับใช้ 3 ธันวาคม 2546
4. :22 ธันวาคม 2546 มีผลบังคับใช้ 23 ธันวาคม 2546:4

149:บุคคลใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 
1. :รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. :ปลัดกระทรวงมหาดไทย
3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
4. :นายกรัฐมนตรี:1

150:ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสภาตำบล
1. :มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
2. :สมาชิกสภาตำบลทุกคนมาจากการเลือกตั้ง
3. :มีฐานะเป็นนิติบุคคล
4. :สมาชิกสภาตำบลมีหมู่บ้านละ 2 คน:3

151:บุคคลใดต่อไปนี้มิได้เป็นสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่ง
1. :กำนัน 
2. :ผู้ใหญ่บ้าน 
3. :แพทย์ประจำตำบล 
4. :สารวัตรกำนัน:4

152:ผู้ใดมีหน้าที่จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบล
1. :กำนัน
2. :นายอำเภอ
3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
4. :คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กกต.):2

153:สมาชิกสภาตำบล ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
1. :2 ปี นับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
2. :2 ปี นับแต่วันที่เลือกตั้ง
3. :4 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
4. :5 ปี นับแต่วันที่เลือกตั้ง:3

154:บุคคลใดเป็นประธานสภาตำบล
1. :กำนัน
2. :ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการคัดเลือก
3. :สมาชิกสภาตำบลที่ได้รับคัดเลือก
4. :ไม่มีข้อใดถูกต้อง:1

155:บุคคลใดเป็นเลขานุการสภาตำบล
1. :กำนัน
2. :ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการคัดเลือก
3. :สมาชิกสภาตำบลที่ได้รับคัดเลือก
4. :ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในตำบลนั้นหรือบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายกำหนด:4

156:บุคคลใดเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนเลขานุการสภาตำบล
1. :ประธานสภาตำบล
2. :สภาตำบล
3. :นายอำเภอตามมติของสภาตำบล
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:3

157:การประชุมสภาตำบล ข้อใดถูกต้อง
1. :ให้มีการประชุมสภาตำบลไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
2. :ให้มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
3. :ให้มีการประชุมตามกำหนดสมัยประชุมที่สภาตำบลกำหนด
4. :ไม่มีข้อใดถูกต้อง:1

158:การยกฐานะ อบต. เป็นเทศบาล ต้องตราเป็นกฎหมายใด
1. :พระราชกฤษฎีกา
2. :พระราชบัญญัติ
3. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
4. :ประกาศกระทรวงมหาดไทย:4

159:ในการจัดตั้ง อบต. ข้อใดถูกต้อง
1. :สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
2. :สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนบาท โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
3. :สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละสองแสนห้าหมื่นบาท โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
4. :สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละสองแสนบาท โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย:1

160:องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย
1. :คณะผู้บริหาร และสมาชิกสภา อบต.
2. :สภา อบต. และนายก อบต.
3. :สภา อบต. และผู้บริหาร
4. :คณะผู้บริหารและผู้บริหาร:2

161:ข้อต่อไปนี้ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. :ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบสภาตำบลทั้งหมดและ อบต. ใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับ อบต. หรือหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันภายในเก้าสิบวันนับแต่ที่มีเหตุดังกล่าว
2. :อบต. มีจำนวนประชากรทั้งหมดไม่ถึง 1,500 คน ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศยุบรวมได้ทันที
3. :อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
4. :อาจจัดตั้ง อบต. ขึ้นเป็นเทศบาลได้:2

162:สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกตามข้อใด
1. :สมาชิกสภา อบต. จำนวนหมู่บ้านละ 1 คน
2. :สมาชิกสภา อบต. จำนวนหมู่บ้านละ 2 คน
3. :สมาชิกสภา อบต. ตำบลละ 12 คน
4. :สมาชิกสภา อบต. ตำบลละ 24 คน:2

163:ในเขต อบต. ที่มีจำนวนเพียง 1 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกสภา อบต. ได้กี่คน
1. :4 คน 
2. :6 คน 
3. :8 คน 
4. :10 คน:2

164:ในเขต อบต. ที่มีจำนวนเพียง 2 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกสภา อบต. จำนวนหมู่บ้านละกี่คน
1. :3 คน 
2. :4 คน 
3. :6 คน 
4. :8 คน:1

165:สมาชิกสภา อบต. มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
1. :4 ปี 
2. :6 ปี 
3. : 8 ปี 
4. :10 ปี:1

166:เขต อบต. มีจำนวน 11 หมู่บ้าน จะมีสมาชิกสภา อบต. ได้กี่คน
1. :11 คน
2. :12 คน 
3. : 22 คน 
4. : 24 คน:3

167:ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของสภา อบต. 
1. :ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา อบต. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ อบต.
2. :พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
3. :ควบคุมการปฏิบัติงานของนายก อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบายและแผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
4. :ถูกทุกข้อ:4

168:ข้อใดมิได้เป็นลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.
1. :เป็นพนักงานในบริษัทเสริมสุขจำกัด
2. :เป็นลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร
3. :เคยถูกไล่ออกจากการเป็นพนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
4. :อยู่ระหว่างการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง:1

169:ในกรณีตำแหน่งประธานสภา อบต. ว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกครบวาระให้เลือกตั้งประธานสภา อบต. ขึ้นแทนภายในกี่วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง
1. :15 วัน 
2. :30 วัน 
3. :45 วัน 
4. :60 วัน:1

170:การเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง จะไม่เลือกขึ้นแทนหากวาระของสมาชิกสภา อบต. เหลืออยู่ไม่ถึงกี่วัน
1. :60 วัน 
2. :90 วัน 
3. :120 วัน 
4. :180 วัน:4

171:การลาออกสมาชิกสภา อบต. ที่ทำให้สมาชิกภาพสิ้นสุดต้องเป็นการยื่นหนังสือลาออกต่อบุคคลใด
1. :นายก อบต. 
2. :ประธานสภา อบต. 
3. :ปลัด อบต. 
4. : นายอำเภอ:4

172:ในกรณีที่สภา อบต. มีมติให้สมาชิกสภา อบต. คนใดคนหนึ่งออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย มติของสมาชิกสภา อบต. ดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใด
1. :หนึ่งในสาม 
2. : กึ่งหนึ่ง 
3. :สองในสาม 
4. : สามในสี่:4

173:บุคคลใดเป็นผู้แต่งตั้งประธานสภา อบต.
1. :นายอำเภอตามมติสภา อบต.
2. :ผู้ว่าราชการตามคำเสนอของนายอำเภอ
3. :อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
4. :ปลัดกระทรวงมหาดไทย:1

174:ในปีหนึ่ง กฎหมาย อบต. ได้กำหนดให้มีสมัยประชุมสามัญปีละกี่สมัย
1. :สองสมัย
2. :สองไม่เกินสามสมัย
3. :สองสมัยหรือหลายสมัยแล้วแต่สภา อบต. กำหนดแต่ไม่เกินสี่สมัย
4. :สี่สมัย:3

175:การประชุมสภา อบต. ครั้งแรก ต้องกำหนดให้สมาชิกได้มาประชุมภายในระยะเวลาใด นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
1. :45 วัน 
2. :30 วัน 
3. :25 วัน 
4. :15 วัน:4

176:การประชุมสภาสามัญสมัยหนึ่ง ๆ ของ อบต. มีกำหนดระยะเวลาไม่เกินกี่วัน
1. :90 วัน 
2. :60 วัน 
3. :30 วัน 
4. :15 วัน:4

177:ในการประชุมสภา อบต. สมัยสามัญนั้น ถ้ามีความจำเป็นต้องขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับการอนุญาตจากบุคคลใด
1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
2. :นายอำเภอ
3. :นายก อบต.
4. :ประธานสภา อบต.:2

178:บุคคลใดเป็นผู้เรียกประชุมสภา อบต. ตามสมัยประชุม และเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด 
2. :นายอำเภอ 
3. :นายก อบต. 
4. :ประธานสภา อบต.:4

179:ในกรณีที่ยังไม่มีประธานสภา อบต. หรือประธานสภา อบต. ไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย บุคคลใดเป็นผู้เรียกและเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
1. : ผู้ว่าราชการจังหวัด 
2. :นายอำเภอ 
3. :นายก อบต. 
4. :ประธานสภา อบต.:2

180:นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ อบต. บุคคลใดสามารถทำคำร้องขอให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญได้
1. :ประธานสภา อบต.
2. :นายก อบต.
3. :สมาชิกสภา อบต. จำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. เท่าที่มีอยู่
4. :ถูกทุกข้อ:4

181:บุคคลใดเป็นผู้ประกาศเรียกประชุมสภาสมัยวิสามัญ
1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด 
2. :นายอำเภอ 
3. :นายก อบต. 
4. :ประธานสภา อบต.:2

182:องค์ประชุมสภา อบต. ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใด
1. :กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
2. :กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดในที่ประชุม
3. :เท่าใดก็ได้แล้วแต่ที่ประชุมตกลงกันเอง
4. :ไม่มีข้อใดถูกต้อง:1

183: ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบกรณีที่ อบต. ทำกิจการนอกเขตสภา อบต. หรือกรณีร่วมกับสภาตำบล อบต. หรือ อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเพื่อทำกิจการร่วมกันได้
1. : สภา อบต. 
2. :นายก อบต. โดยมติสภา 
3. :นายอำเภอ 
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:2

184: ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภา อบต. ซึ่งได้รับการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย หรือมิได้ประจำในหมู่บ้านที่ไดรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันเกิน 6 เดือน หรือขาดประชุมสภา อบต. ติดต่อกันสามครั้ง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
1. :ประธานสภา อบต. 
2. :นายก อบต. โดยมติสภา 
3. :นายอำเภอ 
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:3

185: ข้อใดเป็นคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.
1. :มีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านของตำบลที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
2. :สัญชาติไทยโดยการเกิด
3. :มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
4. :ถูกทุกข้อ:4

186: บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต. ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขต อบต. ติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเท่าใด นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
1. :สามเดือนจนถึงวันเลือกตั้ง
2. :หกเดือนจนถึงวันเลือกตั้ง
3. :หนึ่งปีจนถึงวันเลือกตั้ง
4. :ไม่มีข้อใดถูก:3

187: ในกรณีที่สมาชิกสภา อบต. พ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระ จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในระยะเวลากี่วันนับแต่วันที่ครบวาระ
1. :15 วัน 
2. :30 วัน 
3. :45 วัน 
4. :60 วัน:3

188: การบริหารงานในรูปแบบ อบต. นายก อบต. อาจแต่งตั้งรองนายก อบต. ได้ไม่เกินกี่คน
1. :1 คน 
2. :2 คน 
3. :3 คน
4. :4 คน:2

189: บุคคลใดเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
1. :นายก อบต.
2. :พนักงานส่วนตำบล
3. :สมาชิกสภา อบต.
4. :ราษฎรในเขต อบต. ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น:1

190: สมาชิกสภา อบต. จำนวนไม่น้อยกว่ากี่คน ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในการประชุมสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร อบต. โดยไม่มีการลงมติ
1. :หนึ่งในสอง 
2. : หนึ่งในสาม 
3. :สามในสี่ 
4. :สองในสาม:2

191: บุคคลใดมีอำนาจสั่งให้มีการยุบสภา อบต. ได้ ตามกฎหมาย
1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด 
2. :นายอำเภอ 
3. :นายก อบต. 
4. :ประธานสภา อบต.:1

192: ข้อใดเป็นรายได้ที่ อบต.จัดเก็บเอง
1. :ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรฆ่า...และค่าธรรมเนียมรวมถึงผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่า...
2. :ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน ภาษีธุรกิจเฉพาะ
3. :ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
4. :ภาษีมูลค่าเพิ่ม:1

193: ข้อใดเป็นประเภทรายจ่ายของ อบต.ตามกฎหมาย
1. :เงินเดือนและค่าจ้างประจำ
2. :ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
3. :ค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
4. :ถูกทุกข้อ:4

194: บุคคลใดมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของ อบต. ตามกฎหมายนี้
1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด 
2. :นายอำเภอ 
3. :นายก อบต. 
4. :ประธานสภา อบต.:2

195: ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของ อบต. เมื่อสภา อบต. เห็นชอบแล้วต้องเสนอบุคคลใดเป็นผู้อนุมัติก่อน อบต. นำไปประกาศใช้
1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด 
2. :นายอำเภอ 
3. :นายก อบต. 
4. :ประธานสภา อบต.:2

196: ในกรณีที่สภา อบต. ไม่รับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี นายอำเภอต้องแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจาณณาหาข้อยุติความขัดแย้งกี่คน
1. :10 คน 
2. : 9 คน 
3. :7 คน 
4. :5 คน:3

197: องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเป็นราชการบริหารส่วนใด
1. :ส่วนกลาง 
2. :ส่วนภูมิภาค 
3. :ส่วนท้องถิ่น 
4. : ไม่มีข้อใดถูกต้อง:3

198: ข้อใดมิได้เป็นเงินรายได้ของ อบต.
1. :เงินอุดหนุนที่รัฐจัดสรรให้
2. :รายได้จากทรัพย์สินของ อบต.
3. :เงินค่าธรรมเนียมที่เก็บจากผู้มาพักโรงแรม
4. :เงินค่าบริการน้ำประปาแก่ประชาชน:3

199: ตามกฎหมายระบุให้นายก อบต. จะต้องจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. อย่างไร
1. :เป็นประจำทุกปี 
2. :ปีละ 2 ครั้ง 
3. :ทุกรอบ 4 เดือน 
4. :ทุกรอบ 2 ปี:1

200: กฎหมายที่ออกเพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เรียกว่า
1. :ข้อบังคับตำบล
2. :ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :ข้อบัญญัติตำบล
4. :ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล:4

201: ผู้อนุญาตให้ อบต. ...้เงินจากกระทรวง ทบวง กรม องค์การหรือนิติบุคคลต่างๆ ได้ คือ
1. :นายก อบต. 
2. :สภา อบต. 
3. :นายอำเภอ 
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:2

202: การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีกี่ประเภท
1. :1 ประเภท 
2. : 2 ประเภท 
3. : 3 ประเภท 
4. :4 ประเภท:2

203: การกำหนดสมัยประชุมสามัญประจำปี ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1. :ให้ทำเป็นคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบล
2. :ให้ทำเป็นประกาศสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :ให้ทำเป็นข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
4. :ให้ทำเป็นข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล:2

204: การจัดระเบียบวาระการประชุม โดยปกติจัดลำดับการพิจารณาข้อปรึกษาในอันดับก่อนหลังดังนี้
1. :รับรองรายงานการประชุม , เรื่องด่วน , ญัตติร่างข้อบัญญัติที่ค้างพิจารณา , ญัตติร่างข้อบังคับที่เสนอใหม่ , ญัตติอื่นๆ
2. :เรื่องด่วน , ญัตติร่างข้อบัญญัติที่ค้างพิจารณา , ญัตติร่างข้อบังคับที่เสนอใหม่ , ญัตติอื่นๆ , รับรองรายงานการประชุม
3. :ญัตติร่างข้อบัญญัติที่ค้างพิจารณา , ญัตติร่างข้อบังคับที่เสนอใหม่ , เรื่องด่วน , ญัตติอื่นๆ , รับรองรายงานการประชุม 
4. :เรื่องด่วน , ญัตติร่างข้อบังคับที่เสนอใหม่ , ญัตติอื่นๆ , รับรองรายงานการประชุม , ญัตติร่างข้อบัญญัติที่ค้างพิจารณา:1

205: การเสนอญัตติร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลข้อใด ถูกต้อง
1. :การเสนอญัตติร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นๆ ต่อประธานสภา อบต. จะต้องมีสมาชิกสภา อบต. รับรองอย่างน้อย 2 คน
2. :การเสนอญัติร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลใด ถ้าคณะผู้บริหาร อบต. เป็นผู้เสนอไม่ต้องมีผู้รับรอง
3. :ถ้าสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เสนอร่างข้อบังคับตำบลเกี่ยวด้วยการเงินต้องให้นายก อบต. รับรอง
4. :ถูกทุกข้อ:4

206: ในการพิจารณาข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภา อบต. ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายกี่วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัตินั้น
1. :15 วัน 
2. :30 วัน 
3. :45 วัน 
4. :60 วัน:4

207: หากปรากฏว่านายก อบต. รองนายก อบต. ประธานสภา อบต. หรือรองประธานสภา อบต. กระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ บุคคลใดดำเนินการสอบสวนได้
1. :นายอำเภอ
2. :ผู้วาราชการจังหวัด
3. :ปลัดกระทรวงมหาดไทย
4. :อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น:1

208: ในกรณีที่นายก อบต. ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายก อบต. ตามลำดับที่นายก อบต. แต่งตั้งไว้ เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองนายก หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้บุคคลใดเป็นผู้รักษาราชการแทน
1. :แต่งตั้งปลัด อบต. เป็นผู้รักษาราชการแทน
2. :แต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลเป็นผู้รักษาราชการแทน
3. :แต่งตั้งประธานสภาเป็นผู้รักษาราชการแทน
4. :แต่งตั้งสมาชิกสภา อบต. คนหนึ่งเป็นผู้ว่าราชการแทน:1

209: ในเขต อบต. บุคคลใดมีอำนาจเปรียบเทียบปรับคดีละเมิดข้อบัญญัติ
1. :ประธานสภา อบต. 
2. :สมาชิกสภา อบต. 
3. :นายก อบต. 
4. :เลขานุการสภา อบต.:3

210: บุคคลใดเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง อบต.
1. :นายก อบต. 
2. :ประธานสภา อบต. 
3. :ปลัด อบต. 
4. :รองนายก อบต.:1

211: กรณีใดดังต่อไปนี้ ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของนายก อบต.
1. :ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ
2. :ถูกคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
3. :ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน
4. :นายอำเภอสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยกฎหมาย:4

212: ก่อนนายก อบต. เข้ารับหน้าที่ให้ประธานสภา อบต. เรียกประชุมสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติภายในกี่วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายก อบต.
1. :15 วัน 
2. :20 วัน 
3. :30 วัน 
4. :45 วัน:3

213: ข้อใดต่อไปนี้ คือคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบต.
1. :มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
2. :สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
3. :ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต หรือพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น หรือเลขานุการหรือที่ปรึกษาของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุที่มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
4. :ถูกทุกข้อ:4

214: นายก อบต. มีที่มา ตามขอใด
1. :มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
2. :มาจากการแต่งตั้งของนายอำเภอ
3. :มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมของสมาชิกสภา อบต.
4. :มาจากการแต่งตั้งโดยตรงของสมาชิกสภา อบต.:1

215: บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าเท่าไหร่
1. :18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
2. :18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
3. :20 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
4. :20 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง:1

216: ในกรณีที่สภา อบต. ส่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีของ อบต. ให้นายอำเภออนุมัติ แต่ปรากฏล่วงเลยมา 20 วัน แล้วยังไม่มีคำตอบ จากนายอำเภอ ข้อบัญญัติดังกล่าวจะมีผลอย่างไร
1. :ให้ถือว่านายอำเภออนุมัติร่างข้อบัญญัติดังกล่าว
2. :สภา อบต. ทวงถามขอส่งร่างข้อบัญญัตินั้นคืนมาให้สภาทบทวน
3. :ร่างข้อบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
4. :สภา อบต. นำร่างข้อบัญญัตินั้นมาทบทวนถ้ายืนยันตามร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสภา อบต. เท่าที่มีอยู่ให้ส่งให้นายก อบต.ประกาศใช้ข้อบัญญัตินั้นได้เลย:1

217: ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งกระทู้ถามในการประชุมสภา อบต.
1. :กระทู้ถามไม่มีการอภิปรายและไม่มีการลงมติ
2. :ห้ามไม่ให้สมาชิกสภา อบต. ตั้งกระทู้ถามกันเอง
3. :คณะผู้บริหารจะต้องตอบกระทู้กระทู้ถามนั้นทุกครั้ง
4. :กระทู้ถามต้องทำเป็นหนังสือเสนอล่วงหน้าต่อประธานสภา อบต.:3

218: การกำหนดสมัยประชุมสามัญเพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต้องพิจารณาในเดือนใด
1. :กุมภาพันธ์ 
2. :มิถุนายน 
3. :สิงหาคม 
4. :แล้วแต่สภา อบต. กำหนด:3

219: กรณีที่สภา อบต. ไม่รับหลักการร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เสนอจะต้องดำเนินการอย่างไร
1. :นายก อบต.ต้องพ้นจากตำแหน่ง
2. :นายก อบต. แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้ง โดยการแก้ไขปรับปรุงในข้อบัญญัตินั้น
3. :นายอำเภอประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่
4. :นายอำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้ง โดยการแก้ไขปรับปรุงในข้อบัญญัตินั้น:4

220: ข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีการกำหนดค่าธรรมเนียมเรียกเก็บได้ จะกำหนดโทษปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติได้ไม่เกินกี่บาท
1. :500 บาท 
2. : ไม่เกิน 500 บาท 
3. :1,000 บาท
4. : ไม่เกิน 1,000 บาท:4

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.53.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :