สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1712744
แสดงหน้า2186318
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




สรุประเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9 (2553) 27 ตุลาคม 2553 สรุปและข้อสอบที่เคยออก

สรุประเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9 (2553) 27 ตุลาคม 2553 สรุปและข้อสอบที่เคยออก
อ้างอิง อ่าน 413 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์

สรุประเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535
ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2535
แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9 (2553) 27 ตุลาคม 2553
สรุปและข้อสอบที่เคยออก
  • ปลัดกระทรวงมหาดไทย   รักษาการตามระเบียบนี้
  • อปท. ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้ให้ขอทำความตกลงกับ  ปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจมอบอำนาจ ให้  อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ  ผู้ว่าราชการจังหวัด
  • การพัสดุ  หมายถึง การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา
  • พัสดุ  หมายถึง  วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
  • การจ้าง  หมายถึง  การจ้างทำของและการรับขนและพาณิชย์ การจ้างเหมาบริการแต่ไม่รวมถึงการจ้างของลูกจ้างหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
  • เงินงบประมาณ หมายถึง งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
  • เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินที่หน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจัดหาได้เป็นครั้งคราว
  • หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง องค์การบริหารส่วนจังหวัด  เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล
  • หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
  • ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล และพนักงานส่วนตำบล
  • หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ  หมายถึง หัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือแผนกที่ปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวกับการพัสดุ
  • เจ้าหน้าที่พัสดุ หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับพัสดุ
  • ผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง หมายถึง ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ซื้อหรือจ้าง
  • ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน  หมายความว่า  บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เข้าเสนอราคาขาย หรือเข้าเสนอราคาเพื่อรับจ้างทำพัสดุ หรือรับจ้างออกแบบและควบคุมงาน เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อมในกิจการของบุคคลที่เข้าเสนอราคาหรือเสนองานในคราวเดียวกัน
  • การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หมายถึง การที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งหรือหลายรายกระทำการอย่างใดๆอันเป็นการขัดขวางหรือไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งราคาอย่างเป็นธรรมในการเสนอราคา
  • ผู้ถือหุ้นรายใหญ่  หมายความว่า ผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 25 ในกิจการนั้น
  • โรงงานที่ได้รับการรับระบบคุณภาพ หมายถึง โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ มอก.9001 และ มอก. 9002
  • เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ หมายถึง คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา // คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา//  คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก // คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก //คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด
 
  • การมอบอำนาจให้แนบสำเนาหนังสือการมอบอำนาจประกอบการเบิกจ่ายเงินทุกครั้งและส่งสำเนาให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคทราบทุกครั้ง
  • กรณีที่มีผู้อุทิศพัสดุให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นโดยมีเงื่อนไขหรือมีภาระติดพัน จะรับเอาพัสดุหรือสิทธินั้นได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นจาก   สภาท้องถิ่น  นั้น
  • การจัดทำเอง ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแต่ตั้งผู้ควบคุมรับผิดชอบในการจัดทำเอง และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการปฏิบัติงาน
  • หากปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน และผู้เสนองานดังกล่าวอาจอุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ว่าราชการจังหวัด โดยอุทธรณ์ภายใน 3 วัน และให้ผู้ว่าฯส่งคำวินิจฉัยดังกล่าวให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • หากยังไม่มีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ให้กำหนดรายละเอียดฯ ให้สอดคล้องกับที่ระบุไว้ในคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกคู่มือผู้ชื้อที่กระทรวงอุตสาหกรรมทำขึ้น
  • กรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมาย ประเภทหรือขนาดน้อยกว่า  3  ราย  ให้ระบุความต้องการเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศไทยแสดงเครื่องหมายมาตรฐานเท่านั้น
  • การซื้อการจ้างกรณีนี้หากมีผู้เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เข้าแข่งขันรายอื่นไม่เกินร้อยละ 10 ให้ต่อรองราคาให้ต่ำสุดหลังจากลดลงสูงกว่าราตาต่ำสุดไม่เกินร้อยละ  7  ให้ซื้อหรือจ้างผู้เสนอราคารายนั้น
  • ผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระหว่างขอการรับรองระบบคุณภาพ หากผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการรับรองคุณภาพหรือใบอนุญาตจดทะเบียนไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมภายใน 10 วันทำการนับจากวันถัดจากวันเสนอราคา
 
  • วิธีการซื้อการจ้าง มี 5 วิธี
1.วิธีตกลงราคา มีราคาไม่เกิน  100,000 บาท
2.วิธีสอบราคา  100,000 ไม่เกิน 2,000,000 บาท
3.วิธีประกวดราคา เกิน 2,000,000 บาท ขึ้นไป
4.วิธีพิเศษ   การซื้อ  ครั้งหนึ่งที่มีราคาเกิน 100,000 บาท คือ
เป็นพัสดุที่ขายทอดตลาดโดยส่วนราชการ
ต้องซื้อเร่งด่วน
ซื้อจากต่างประเทศ
ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
ต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็น
               การจ้าง  ซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท ได้แก่
ต้องจ้างช่างฝีมือเฉพาะ
งานต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าเสียหาย
เป็นงานที่ต้องการจ้างเพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเร่งด่วน
 
5.วิธีกรณีพิเศษ ได้แก่ การซื้อหรือจ้างจากส่วนราชการ ส่วนราชการเป็นผู้ผลิตพัสดุหรือทำงานจ้างนั้นเอง และนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง ///  มีมติจากคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อหรือจ้าง
 
การซื้อหรือจ้าง ให้กระทำได้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด ในกรณีที่ไม่มีหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้นำหลักเกณฑ์ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 มาบังคับใช้
 
- การซื้อหรือจ้างตามวิธีตกลงราคา และ วิธีสอบราคา ผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้างเห็นสมควรจะสั่งให้กระทำโดยวิธีกำหนดไว้สำหรับวงเงินที่สูงกว่าก็ได้
- การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกัน เพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนดหรือเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อหรือจ้างเปลี่ยนไปจะกระทำมิได้ เว้นแต่ การแบ่งซื้อแบ่งจ้างวัสดุที่ง่ายต่อการเน่าเสีย หรือโดยสภาพไม่อาจดำเนินการซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันทั้งจำนวนเงิน
- รายงานขอซื้อหรือขอจ้าง ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้าง , ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งล่าสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ
- การซื้อ/จ้างวิธีตกลงราคาในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท และโดยวิธีพิเศษ เจ้าหน้าที่พัสดุจะทำรายงานเฉพาะที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้
- การคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอขออนุมัติหัวหน้าฝ่ายบริหารฯ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมด้วยเอกสารคัดเลือกคุณสมบัติ
- การประกาศเชิญชวนผู้คัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น  ก่อนวันรับซองข้อเสนอไม่น้อยกว่า 30 วัน
- การคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นในการประกวดราคานานาชาติให้ประกาศก่อนวันรับซองข้อเสนอไม่น้อยกว่า 60 วัน
- หัวหน้าฝ่ายบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้แต่งตั้ง
คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ประกอบด้วย
ประธาน   1 คน
กรรมการอย่างน้อย   4   คน  
ผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย    1    คน
- การแต่งตั้งข้าราชการอื่นเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ ให้ได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือ หัวหน้าส่วนราชการนั้นแล้วแต่กรณี
- ให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมีการพิจารณาทบทวนบัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น อย่างน้อยทุกรอบ  3  ปี
 
- ในการดำเนินการซื้อและจ้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารฯ แต่ตั้งคณะกรรมการขึ้นแล้วแต่กรณี คือ
     1.คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
     2.คณะกรรมรับและเปิดซองประกวดราคา
     3.คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
     4.คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
     5.คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ
     6.คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
     7.คณะกรรมการตรวจการจ้าง
     คณะกรรมการฯ แต่ละคณะให้ประกอบด้วย  
ประธานกรรมการ           1  คน
กรรมการอย่างน้อย         2   คน
**** บุคคลอื่น(กรณีจำเป็น)    2  คน
****(ผู้ทรงคุณวุฒิ)                  1  คน  (ยกเว้น) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา
 
**ข้อสอบจะชอบถามว่า คณะกรรมการดำเนินการซื้อ/จ้าง ประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยกี่คน**
**ให้ตอบอย่างน้อย 3 คนนะครับ**  เพราะบุคคลอื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิจะใช้กรณีที่จำเป็น.
 
***ออกสอบบ่อยมาก***
ในการซื้อหรือจ้างครั้งเดียวกัน ห้ามแต่งตั้ง
  • กรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา   =  กรรมการพิจารณาผลประกวดราคา
  • กรรมการเปิดซองสอบราคา = กรรมการตรวจรับพัสดุ
  • กรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา  =  กรรมการตรวจการจ้าง
 
วิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุติดต่อตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้จ้างโดยตรงแล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบ
  • วิธีสอบราคา เจ้าหน้าที่พัสดุทำเอกสารสอบราคาแสดงรายการดังนี้
  1. คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ
  2. คุณสมบัติเฉพาะของผู้เข้าเสนอราคา
  3. ให้ผู้เข้าเสนอราคาส่งตัวอย่าง แคดตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียดพร้อมใบเสนอราคา
  • แบบใบเสนอราคา ให้ลงราคารวมทั้งสิ้นเป็นตัวเลขและต้องมีตัวหนังสือกำกับ ถ้าตัวเลขและตัวหนังสือไม่ตรงกันให้ถือตัวหนังสือเป็นสำคัญ
  • ผู้เสนอราคาผนึกซองราคาให้เรียบร้อยก่อนยื่นต่อหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จ่าหน้าถึงประธานคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาและส่งถึงหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นก่อนวันเปิดซอง
  • การประกาศเผยแพร่  ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า 10 วัน สำหรับการสอบราคาในประเทศ หรือไม่น้อยกว่า 45 วัน
  • หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเก็บรักษาเสนอราคาทุกรายโดยไม่เปิดซองและให้ส่งมอบซองพร้อมทั้งรายงานผลการรับซองต่อ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
 
 
  • คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา มีหน้าที่ดังนี้
  1. เปิดซองใบเสนอราคาและแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่างๆ และตรวจสอบเอกสารตามบัญชีของผู้เสนอราคาทุกรายแล้วกรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น
  2. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตตาล็อก รูปแบบราละเอียด
  • ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วย วิธียื่นซองเสนอราคา
  • คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารทั้งหมดต่อผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้าง เพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุและหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
 
วิธีประกวดราคา
  • การจัดทำเอกสารประกวดราคารายใดจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดหรือสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และไม่ทำให้ทางราชการเสียเปรียบก็ให้กระทำได้ แต่หากเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบก็ให้ส่งร่างเอกสารประกวดราคาไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา
  • การส่งประกาศประกวดราคา ไปเผยแพร่ที่ศูนย์รวมข่าวประกวดราคาของทางราชการ + ส่งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค ให้ส่งเอกสารประกวดราคาไปพร้อมกันด้วย
  • การส่งประกาศให้กระทำก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า  20  วัน
  • การประกวดราคาจะรับซองทางไปรษณีย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่การประกวดราคานานาชาติซึ่งกำหนดให้มีการยื่นซองทางไปรษณีย์
  • คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา  มีหน้าที่
  1. รับและลงทะเบียน ลงชื่อกำกับ
  2. ตรวจสอบหลักประกัน
  3.  รับ เอกสารหลักฐานต่างๆ
  4. เปิดซองเสนอราคา อ่านแจ้งราคาพร้อมรายการเอกสารหลักฐานต่างๆและกรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา
  5. ส่งมอบบันทึกรายงานต่อ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีหน้าที่
  1. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา หลักฐานต่างๆ พัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคารที่ถูกต้องตามเงื่อนไข
  2. รายงานผลการพิจารณาพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับทั้งหมดต่อ ผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้างการซื้อหรือการจ้างที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าเสนอราคายื่นข้อเสนอทางการเงินมาด้วยให้กำหนดให้ยื่นซองข้อเสนอทางการเงินแยกมาต่างหากและให้เปิดซองข้อเสนอทางการเงินพร้อมกับการเปิดซองราคา
 
 
วิธีพิเศษ
การซื้อโดยวิธีพิเศษ   ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แต่งตั้ง  คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
  1. กรณีเป็นพัสดุจะขายทอดตลาดให้ดำเนินการซื้อโดย  วิธีตกลงราคา
  2. เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วนให้เชิญผู้อาชีพขายโดยตรงมาเสนอราคาและต่อรองราคา
  3. กรณีเป็นพัสดุที่จำเป็นสั่งตรงจากต่างประเทศให้เสนอหัวหน้าฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อติดต่อสั่งซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ
ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาทั้งหมดต่อ ผู้สั่งซื้อ เพื่อสั่งการโดยผ่ายหัวหน้าพัสดุและหัวหน้าฝ่ายบริหารฯ
คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ
        การจ้างโดยวิธีพิเศษให้เชิญผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงมาเสนอราคา และให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
 
วิธีกรณีพิเศษ
การดำเนินการโดยวิธีพิเศษให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยราชการส่วนท้องถิ่นสั่งซื้อหรือสั่งจ้างจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้โดยตรง เว้นแต่ การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน 100,000 บาท  ให้หัวหน้าพัสดุจัดซื้อจัดจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้าง
 
อำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง
  • การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างทุกวิธีโดยใช้จ่ายจากเงินรายได้ ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารฯ เป็นผู้สั่งซื้อฯได้โดยไม่จำกัดวงเงิน
 
  • การสั่งซื้อหรือจ้าง นอกจาก วิธีพิเศษและกรณีพิเศษ จากเงินอุดหนุน เงินกู้ เงินช่วยเหลือ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและวงเงินดังนี้
*** อบจ. และเทศบาล  เกิน 300,000,000 บาท  ผู้ว่าราชการจังหวัด
*** องค์การบริหารส่วนตำบล
100,000,000 – 200,000,000 บาท       นายอำเภอ
200,000,000 บาทขึ้นไป                      ผู้ว่าราชการจังหวัด
 
วิธีพิเศษ จากเงินอุดหนุน เงินกู้
*** อบจ.  และเทศบาล  เกิน  20,000,000 บาท    ผู้ว่าราชการจังหวัด
*** องค์การบริหารส่วนตำบล
10,000,000 – 20,000,000  นายอำเภอ
20,000,000 ขึ้นไป              ผู้ว่าราชการจังหวัด
 
-   การสั่งซื้อหรือจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ  ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารฯส่วนท้องถิ่น เป็นผู้สั่งซื้อหรือจ้างโดยไม่จำกัดวงเงิน
 
การจ่ายเงินล่วงหน้า
 ห้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะกระทำมิได้  เว้นแต่ เห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องจ่ายและมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อนการทำสัญญาหรือข้อตกลงได้  เฉพาะกรณีดังนี้
1. การซื้อหรือจ้างจากส่วนราชการ หน่วยการบริหารฯส่วนท้องถิ่นหน่วยงานอื่น รัฐวิสาหกิจ จ่ายล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละ 50
2. การซื้อพัสดุจากสถาบันของรัฐในต่างประเทศ หรือจากหน่วยงานอื่นในต่างประเทศหรือการสั่งซื้อเครื่องมือวิทยาศาสตร์
3. ค่าวารสารหรือการสั่งจองหนังสือ การจัดซื้อฐานข้อมูลสำเร็จรูป(CD-ROM)ที่ต้องบอกรับการเป็นสมาชิกก่อนและมีการกำหนดออกเป็นวาระดังเช่นวารสาร การเป็นสมาชิก INTERNET  ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง
4. การซื้อหรือจ้างโดยวิธีสอบราคาหรือประกวดราคา จ่ายล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละ 15
5. การซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษ จ่ายล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของราคาซื้อหรือจ้าง
- การจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าข้อ 1-3 ไม่ต้องเรียกหลักประกัน
- ส่วนการจ่ายเงินล่วงหน้า ตามข้อ 4- 5 ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะต้องนำพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันเงินที่รับล่วงหน้า
 
การตรวจรับพัสดุ
- คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ   มีหน้าที่ดังนี้
          1. ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุหรือที่กำหนดไว้การตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารส่วนท้องถิ่น
2.ตรวจรับพัสดุให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
3.การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้ขายยังไม่ได้ส่งมอบพัสดุแล้วรีบรายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารฯ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายทราบภายใน  3  วัน
 
การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง
คณะกรรมการตรวจการจ้าง  มีหน้าที่ดังนี้
  1. ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานและเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงานทุกสัปดาห์
  2. ให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานภายใน  3  วันทำการนับแต่วันที่ได้รับทราบการส่งมอบ
  • ผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ดังนี้
  • ตรวจและควบคุมงาน ทุกวันให้เป็นไปตามรูปแบบ รายการละเอียดตามสัญญาทุกประการและรายงานการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้าง ทราบทุกสัปดาห์
  • ในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน 3 วัน นับแต่วันถึงกำหนดนั้น
ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ดังนี้
  • ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา
  • จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุเมื่อเสร็จงานแต่ละงวด
  • ในถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน 3 วัน นับแต่วันถึงกำหนดนั้นๆ
 
การจ้างที่ปรึกษา
  • การส่งเสริมที่ปรึกษาไทย
  • การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นนิติบุคคล ให้หน่วยบริหารส่วนท้องถิ่นจ้างที่ปรึกษาไทยเป็นหลักเว้นแต่งานที่ไม่สามารถจ้างที่ปรึกษาไทยได้ให้ขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด
  • การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศต้องจ้างที่ปรึกษาไทยร่วมด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนคน/เดือนของที่ปรึกษาทั้งหมด
 
วิธีจ้างที่ปรึกษา
  • การจ้างที่ปรึกษากระทำได้  2  วิธี
  • 1. วิธีตกลง    2. วิธีคัดเลือก
  • ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยราชการฯส่วนท้องถิ่น แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นดังนี้
  1. คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง
  2. คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
คณะกรรมการการจ้างที่ปรึกษาประกอบด้วย
ประธานกรรมการ    1 คน 
กรรมการอย่างน้อย  4  คน
ผู้ทรงคุณวุฒิ             1 คน
 
การจ้างที่ปรึกษาโดย วิธีตกลง
  • ได้แก่การจ้างที่ปรึกษาที่หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยฯบริหารส่วนท้องถิ่น ตกลงจ้างรายใดรายหนึ่งซึ่งเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถและเป็นผู้ที่เชื่อถือได้
คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาวิธีตกลง มีหน้าที่
  1. พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษา
  2. พิจารณาอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
  3. พิจารณารายละเอียดข้อกำหนดในสัญญา
  4. รายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารต่อ ผู้สั่งจ้างเพื่อเสนอผ่านหัวหน้าพัสดุ
 
 
การจ้างที่ปรึกษา วิธีคัดเลือก
  • ได้แก่ การจ้างที่ปรึกษาโดยการคัดเลือกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำงานให้เหลือน้อยราย เพื่อพิจารณาคัดเลือกรายที่ดีที่สุด
  • ที่ปรึกษาต่างประเทศให้ขอรายชื่อจากสาถบันการเงินหรือองค์การระหว่างประเทศ
  • ที่ปรึกษาไทยให้ขอรายชื่อที่ปรึกษาจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลัง
  • การคัดเลือกให้คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาคัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลืออย่างน้อย 6 ราย
  • ให้หน่วยการบริหารฯส่วนท้องถิ่น เชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ยื่นข้อเสนอรับงานดังต่อไปนี้
1.ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคาพร้อมกันแยกเป็น 2 ซอง
2. ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียว
คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก มีหน้าที่
1. กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก
2. พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษาทุกรายและจัดลำดับ
3. ให้เปิดซองเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดและเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม
 
อำนาจในการสั่งจ้างที่ปรึกษา
          - การสั่งจ้างที่ปรึกษาให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงินการสั่งซื้อหรือจ้าง
 
ค่าจ้างที่ปรึกษา
  • ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้จ่ายได้ไม่เกินนร้อยละ 15  ของค่าจ้างตามสัญญา และที่ปรึกษาต้องจัดให้ธนาคารเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้น
 
          หลักประกันผลงาน
-  การจ่ายเงินค่าจ้างที่ปรึกษาที่แบ่งการชำระเงินออกเป็นงวด ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารหน่วยฯราชการส่วนท้องถิ่นหักเงินที่จะจ่ายแต่ละครั้งในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5  แต่ไม่เกินร้อยละ  10 เพื่อเป็นการประกันผลงาน
วิธีจ้างออกแบบและควบคุมงาน
การจ้างออกแบบและควบคุมงาน ทำได้ 4 วิธี
  1. วิธีตกลง
  2. วิธีคัดเลือก
  3. วิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด
  4. วิธีพิเศษ
การจ้างโดยวิธีตกลง  ให้ใช้กับการก่อสร้างที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างไม่เกิน 2 ล้านบาท
คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลง   ประกอบด้วย
ประธาน                                1 คน
กรรมการอื่นอีกอย่างน้อย    2 คน
ผู้ทรงคุณวุฒิ                        1 คน
การจ้างโดยวิธีคัดเลือก    ใช้กับการก่อสร้างอาคารที่มีวงเงินประมาณค่าก่อสร้างเกิน 2 ล้านแต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท
**คณะกรรมการรับซองเสนองาน  ประกอบด้วย
ประธาน                              1 คน
กรรมการอื่นอีกอย่างน้อย   2 คน
 
**คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก  ประกอบด้วย
ประธาน                               1  คน
กรรมการอื่นอีกอย่างน้อย    2  คน
ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมด้วย
 
การจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด
  • ได้แก่ การว่าจ้างออกแบบและควบคุมงานที่ใช้กับการก่อสร้างอาคารที่มีวงเงินงบประมาณ เกิน 5,000,000 บาท
การจ้างโดยวิธีพิเศษ
  • การจ้างโดยวิธีพิเศษมี 2 วิธี
  • 1. วิธีการเลือกจ้าง ได้แก่ การจ้างออกแบบและควบคุมงานในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วน
  • 2. การว่าจ้างโดยการประกวดแบบ ได้แก่การว่าจ้างออกแบบอาคารที่มีลักษณะพิเศษ เช่นอนุสาวรีย์  สนามกีฬา
  • หัวหน้าฝ่ายบริหารหน่วยการบริหารฯส่วนท้องถิ่น มิสิทธิ์บอกเลิกการคัดเลือกผู้ให้บริการได้ ในกรณีต่อไปนี้
  1. มีผู้ยื่นเสนองานน้อยกว่า 2 ราย
  2. ผู้ให้บริการยื่นเสนองานไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์
  • การประกาศเชิญชวน  การประกาศเชิญชวนว่าจ้างกระทำได้ 3 วิธี คือ
  • 1. ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย
  • 2. ประกาศทางสื่อมวลชวน เช่น ในหนังสือพิมพ์
  • 3. ส่งประกาศไปยังสมาคมวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมหรือสำนักงานที่ประกอบธุรกิจดังกล่าว
การเสนองาน
ผู้ให้บริการเป็น  บุคคลธรรมดา  จะต้องมีสัญชาติไทย และเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรมสำหรับการว่าจ้างตามที่กำหนดโดยกฎหมาย
ผู้ให้บริการเป็น  นิติบุคคลจะต้องเป็นนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยเกินร้อยละ 50 ของทุนจัดตั้ง
 
 
 
 
 
ผู้มีอำนาจสั่งจ้าง
  • หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหาราชการส่วนท้องถิ่น อาจริบหลักประกันหรืออาจใช้สิทธิ์เรียกร้องเอาจากผู้ค้ำประกันการเสนองาน ได้ในกรณีดังนี้
  1. ผู้รับจ้างหลีกเลี่ยงการทำสัญญาในระยะเวลาที่กำหนด
  2. ผู้รับจ้างเลิกหรือหยุดกิจการ // บุคคลนั้นถูกระงับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมหรือวิศวกรรม
  3. ผู้รับจ้างผิดสัญญา
 
การตรวจและรับมอบงาน
  • การตรวจและรับมอบงาน ในการจ้างออกแบบและควบคุมงาน หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารส่วนท้องถิ่นแต่ตั้ง    คณะกรรมการตรวจและรับมอบงาน ประกอบด้วย
ประธาน 1 คน
กรรมการอื่นอีกอย่างน้อย 2 คน มีผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้ชำนาญการร่วมด้วย
 
ค่าออกแบบและควบคุมงาน
  • การจ่ายเงินค่าออกแบบและควบคุมงาน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้
  1. อาคารที่มีงบประมาณค่าก่อสร้างไม่เกิน 10,000,000 บาท ในอัตราร้อยละ  2 
  2. อาคารที่งบประมาณค่าก่อสร้างเกิน 10,000,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000,000 บาทให้จ่ายค่าออกแบบฯ ในอัตราร้อยละ 1.75
  3. ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารส่วนท้องถิ่นเสนอขออนุมัติต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
 
การแลกเปลี่ยนพัสดุ
  • 1. วัสดุกับวัสดุ ครุภัณฑ์ประเภทหรือชนิดเดียวกัน ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้อนุมัติ
  • 2. การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ต่างประเภทหรือต่างชนิดกัน การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์ที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นและการแลกเปลี่ยนที่ดินและสิงก่อสร้างต้องได้รับความเห็นชอบจาก  สภาองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น
  • ให้เจ้าหน้าที่พัสดุรายงานต่อหัวหน้าฝายบริหารของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อพิจารณาสั่งการ
  • แลกเปลี่ยนพัสดุกับเอกชนให้ระบุวิธีที่จะแลกเปลี่ยนพร้อมทั้งเหตุผลโดยเสนอให้นำวิธีการซื้อมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่การแลกเปลี่ยนพัสดุที่จำนำไปแลกครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน 100,000 บาทจะเสนอให้ใช้วิธีตกลงราคาก็ได้ และให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะตามความจำเป็น
  • การแลกเปลี่ยนพัสดุกับส่วนราชการหน่วยการบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าฝ่ายบริหารฯส่วนราชการส่วนท้องถิ่นและหัวหน้าหน่วยงานนั้นๆ ตกลงกัน
  • ครุภัณฑ์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเมื่อลงทะเบียนครุภัณฑ์แล้วให้แจ้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค ทราบภายใน  30  วัน
 
การเช่า
     การเช่าให้ดำเนินการโดย  วิธีตกลงราคา
  • จ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าในการเช่าอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์กระทำได้เฉพาะกรณีการเช่าระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
  • 1. การเช่าจากส่วนราชการ จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ  50 ของราคาเช่าทั้งสัญญา
  • 2. การเช่าจากเอกชน จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของค่าเช่าทั้งสัญญา
  • อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีอัตราค่าเช่ารวมค่าบริการกำหนดไว้ในสัญญาไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยฯส่วนท้องถิ่นอนุมัติ  ถ้าเกินเดือนละ 20,000 บาท ให้ขอทำความตกลงกับผู้ว่าราชการจังหวัด
 
สัญญาและหลักประกันสัญญา
  • สัญญา  การลงนามในสัญญาเป็นอำนาจของหัวหน้าฝ่ายบริหารฯส่วนท้องถิ่น ให้ทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ตามตัวอย่างที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
  • การทำสัญญารายใดถ้าจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากตัวอย่างสัญญาที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ก็สามารถกระทำได้ เว้นแต่หัวหน้าฝ่ายบริหารฯส่วนท้องถิ่นเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างสัญญานั้นไปให้อัยการจังหวัดหรือสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน
  • การจัดหาในกรณีต่อไปนี้จะต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้โดยอยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
  • 1. การซื้อ การจ้าง หรือการแลกเปลี่ยนโดยวิธีตกลงราคา
  • 2. การจัดหาที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุให้ครบถ้วนภายใน 5 วันของทางราชการนับแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ
  • 3. การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ และการจัดหาจากส่วนราชการ
  • 4. การซื้อโดยวิธีพิเศษ
  • 5. การจ้างโดยวิธีพิเศษ
  • 6. การเช่า ซึ่งผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า
  • 7. ในกรณีการจัดหาซึ่งมีราคาไม่เกิน 10,000 บาท หรือในการซื้อหรือการจ้าง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้
 
  • การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ 0.01-0.20 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้างซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน อัตราร้อยละ 0.01-0.10 แต่จะต้องไม่เกินวันละ 100 บาท สำหรับการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อการจราจรกำหนดอัตราค่าปรับร้อยละ 0.25 ของราคาจ้างนั้น
 
 
  • สำเนาสัญญา หรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่มีมูลค่าตั้งแต่  1 ล้านบาทขึ้นไป ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค และสรรพากรจังหวัด ภายใน  30  วัน  นับแต่วันทำสัญญาหรือข้อตกลง
  • หนังสือหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้วจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้  เว้นแต่การแก้ไขนั้นจะเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ให้ดำเนินการดังนี้
    • ถ้างบประมาณดำเนินการตั้งจ่ายจากเงินรายได้ หัวหน้าฝ่ายบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้อนุมัติ
    • ถ้างบประมาณดำเนินการตั้งจ่ายจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาลให้รายงานเสนอจังหวัดเพื่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาขอทำความตกลงกับ สำนักงบประมาณ ก่อน
    • ถ้างบประมาณตั้งจากเงินกู้ภายในประเทศ หรือเงินช่วยเหลือให้ปฏิบัติตามข้อ 1
  • ในกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้และจะต้องปรับตามสัญญาหากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละ  10  ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณาบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
  • การงดหรือลดค่าปรับหรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาให้อยู่ในอำนาจของหัวหน้าฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แต่ถ้าวงเงินในการสั่งการให้จัดหาครั้งนั้นเกินอำนาจให้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา และให้พิจารณาได้เฉพาะกรณีต่อไปนี้
1. เหตุเกิดจากความผิดหรือบกพร่องของหน่วยราชการส่วนท้องถิ่น
2. เหตุสุดวิสัย
3. เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
 
หลักประกัน
  • หลักประกันซองหรือสัญญา ให้ใช้หลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
  • 1. เงินสด
  • 2. เช็คธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็ดนั้นชำระต่อเจ้าหน้าที่หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วันทำการ
  • 3. หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ
  • 4. หนังสือค้ำประกันของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษํทเงินทุน
  • 5. พันธบัตรรัฐบาลไทย
  • *** สำหรับการประกวดราคานานาชาติ ให้ใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารในต่างประเทศที่มีหลักฐานดี***
 
  • หลักประกันซองและหลักประกันสัญญา ให้กำหนดมูลค่าเป็นจำนวนเต็มร้อยละ  5  ของวงเงินหรือราคาพัสดุ  เว้นแต่  เห็นว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษจะกำหนดร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ  10 ก็ได้
  • ในกรณีที่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญา ไม่ต้องวางหลักประกัน
  • หลักประกันซองให้คืนให้แก่ผู้เสนอราคาหรือผู้ค้ำประกันภายใน  15  วันนับแต่วันที่ได้พิจารณาเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว
  • หลักประกันสัญญาให้คืนให้แก่คู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกันโดยเร็วและอย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันแล้ว
 
การลงโทษผู้ทิ้งงาน
     เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
  1. ผู้ที่ได้รับเลือกแล้วไม่ยอมทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่กำหนด
  2. เมื่อคู่สัญญา หรือ ผู้รับจ้างช่วง ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น
  3. พัสดุที่ซื้อหรือจ้างทำ เกิดข้อบกพร่องภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาและไม่ได้รับการแก้ไข หรือวัสดุไม่ได้มาตรฐาน
ให้หัวหน้าหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทำรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด
 
การยืมพัสดุ
     การให้ยืมหรือนำพัสดุไปใช้ในกิจการซึ่งมิใช่เพื่อประโยชน์ของหน่วยการบริหารส่วนท้องถิ่นจะกระทำมิได้
  • การให้หน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการยืมจะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
  • การให้บุคคลยืมใช้ภายในสถานที่เดียวกัน จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบพัสดุนั้น  แต่ถ้ายืมไปใช้นอกสถานที่ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้อนุมัติ
  • เมื่อครบกำหนดยืม ให้ผู้ให้ยืมหรือผู้รับหน้าที่แทนมีหน้าที่ติดตามทวงพัสดุที่ยืมภายใน 7 วัน
 
การเก็บรักษาพัสดุ
  • เมื่อเจ้าหน้าที่พัสดุได้รับมอบ แล้วให้ดำเนินการดังนี้
  • 1. ลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุ
  • 2. เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ให้ครบถ้วนถูกต้องตามบัญชีหรือทะเบียน
การเบิก-จ่ายพัสดุ
  • การเบิกพัสดุให้หัวหน้าหน่วยงานที่ต้องใช้พัสดุนั้นเป็นผู้เบิก
  • ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกแล้วลงบัญชีหรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย และเก็บใบเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐาน
การตรวจสอบพัสดุประจำปี
  • ก่อนสิ้นเดือนกันยายนทุกปี  ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุงวดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมปีก่อน จนถึงวันที่  30 กันยายนปีปัจจุบันและตรวจนับพัสดุประเภทที่คงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น
  • ให้ตรวจสอบพัสดุในวันเปิดทำการวันแรกของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป แล้ให้เสนอรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อผู้แต่งตั้งภายใน 30 วันทำการ
  • .ให้ส่งสำเนารายงานไปยัง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค
การจำหน่าย
พัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ราชการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ให้เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอรายงานต่อหัวหน้าฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
  • 1. ขาย ให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดก่อน  เว้นแต่การขายพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน 100,000 บาท จะขายโดยวิธีตกลงราคาโดยไม่ต้องทอดตลาดก่อนก็ได้ ส่วนการขายให้แก่ส่วนราชการ ให้ขายโดยวิธีตกลงราคา
  • 2. แลกเปลี่ยน
  • 3. โอน ให้โอนแก่ส่วนราชการ ให้มีหลักฐานการส่งมอบให้กัน
  • 4. แปรสภาพหรือทำลาย
การดำเนินการให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน  60  วัน  นับแต่วันที่หัวหน้าฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่นสั่งการ
 
การจำหน่ายเป็นสูญ
  • 1. ถ้าพัสดุนั้นมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท หัวหน้าฝ่ายบริหารส่วนราชการท้องถิ่นเป็นผู้อนุมัติ
  • 2. ถ้าพัสดุมีราคาเกิน 200,000 บาท ให้ผู้ราชการจังหวัดเป็นผู้อนุมัติ
 
การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน
  • ให้เจ้าหน้าที่พัสดุลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชีหรือทะเบียนทันที  แล้วแจ้งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค ทราบภายใน 30  วัน
 
****การให้บุคคลใดใช้ประโยชน์หรือรับสิทธิใดๆ ประเภทที่ดินและสิ่งก่อสร้างของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ต้องได้รับความเห็นชอบจาก สภาจังหวัดหรือ สภาเทศบาล แล้วแต่กรณี และให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อนุมัติ
 
****ผู้เช่าพัสดุประเภทที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง ที่ประสงค์จำนำสิทธิการเช่าพัสดุดังกล่าวไปก่อหนี้ผูกพันใดๆ ให้รายงานเสนอ  ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นอนุมัติ
 
***การต่อเติม ดัดแปลง หรือรื้อถอนในพัสดุ ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้อนุมัติ
 
 
******    มี  160  ข้อ  **** 
 
  
เรื่อง ผู้อนุมัติ / เห็นชอบ
  • กรณีที่มีผู้อุทิศพัสดุให้ ถ้ามีเงื่อนไขหรือภาระติดพันจะรับเอาพัสดุหรือสิทธิ์นั้น
  • การให้บุคคลใดใช้ประโยชน์/สิทธิใดอันเกี่ยวกับพัสดุประเภทที่ดิน หรือสิ่งก่อสร้าง
  • การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์ต่างชนิดกัน หรือ ต้องจ่ายเพิ่ม
 
 
สภาท้องถิ่น
  • การจัดทำเอง (แต่งตั้งผู้ควบคุมรับผิดชอบการจัดทำเอง)
  • การต่อเติม ดัดแปลง ส่วนหนึ่งส่วนใดในพัสดุ
  • การต่อเติม ดัดแปลง หรือ รื้อถอนพัสดุประเภทอาคาร
  • การสั่งซื้อ/สั่งจ้างทุกวิธี จากเงินรายได้ ยกเว้น วิธีพิเศษ
  • การสั่งซื้อ/สั่งจ้าง วิธีกรณีพิเศษ ไม่จำกัดวงเงิน
  • การแลกเปลี่ยนวัสดุกับวัสดุ / ครุภัณฑ์ชนิดเดียวกัน
  • การจำหน่ายเป็นสูญ พัสดุราคาไม่เกิน 2 แสนบาท
  • แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ถ้าเป็นงบประมาณตั้งจ่ายจากเงินรายได้ เงินกู้ เงินช่วยเหลือ
 
 
หัวหน้าฝ่ายบริหาร
หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
 
  • ผู้เช่าประเภทที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ประสงค์จะนำสิทธิการเช่าไปก่อหนี้ผูกพัน
  • ยกเว้น การส่งเสริมพัสดุในประเทศ ในกรณีที่พัสดุใดผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ
  • ผู้เช่าพัสดุประเภทที่ดินและสิ่งก่อสร้าง นำสิทธิการเช่าไปก่อหนี้ผูกพันใดๆ
  • การจ้างที่ปรึกษาที่ไม่อาจจ้างที่ปรึกษาไทยได้
  • แก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ
  • การจำหน่ายเป็นสูญ พัสดุราคา เกิน 2 แสนบาท
  • แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาถ้าเป็นงบประมาณตั้งจ่ายจากเงินอุดหนุน
 
 
 
ผู้ว่าราชการจังหวัด
  • การเบิกพัสดุ
 
หัวหน้าหน่วยงานที่ต้องใช้พัสดุ
 
 
คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น อย่างน้อย 6 คน ประกอบด้วย
          ประธาน                    1        คน
          กรรมการอย่างน้อย                 4        คน
          จะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิ~    1        คน
 
 
คณะกรรมการดำเนินการซื้อ / การจ้าง มี 7 คณะ
 
1.คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
2.คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา
3.คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
4.คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
5.คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ
6.คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
7.คณะกรรมการตรวจการจ้าง
 
          คณะกรรมการแต่ละคณะประกอบด้วย อย่างน้อย 3 คน
          ประธาน                    1 คน
          กรรมการอย่างน้อย                 2 คน
 
          ***ในกรณีจำเป็นจะแต่งตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกิน 2 คน
          ***ควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการ/ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมด้วย ยกเว้น คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา
 
***การซื้อ หรือ จ้าง ในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้งข้าราชการส่วนท้องถิ่นคนหนึ่งซึ่งไม่ใช่ผู้จัดซื้อหรือจ้าง เป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างก็ได้
 
ข้อห้าม
กรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา               = กรรมการพิจารณาผลประกวดราคา
 
          กรรมการเปิดซองสอบราคา หรือ                     = กรรมการตรวจรับพัสดุ
          กรรมการพิจารณาผลประกวดราคา                               กรรมการตรวจการจ้าง
 
*** ในการประชุมคณะกรรมการแต่ละคณะ ต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเป็นเสียงชี้ขาด.
 
 
 
 
คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง / วิธีคัดเลือก อย่างน้อย 5 คน ประกอบด้วย
 
          ประธานกรรมการ                                      1        คน
          กรรมการอย่างน้อย                                    4        คน
 
          ***ในกรณีจำเป็นให้แต่ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้วย
          ***คณะกรรมการแต่งตั้งจากข้าราชการส่วนท้องถิ่นให้สังกัดหรือข้าราชการอื่น.
 
 
คณะกรรมการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงาน (โดยวิธีตกลง) อย่างน้อย 3 คน
 
          ประธานกรรมการ                                      1        คน
          กรรมการอย่างน้อย                                    2        คน
 
          ***และควรมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมด้วย
 
 
 
คณะกรรมการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงาน (โดยวิธีคัดเลือก // คัดเลือกแบบข้อกำหนด) อย่างน้อย 3 คน
 
          คณะกรรมการรับซองเสนองาน
          ประธานกรรมการ                                      1        คน
          กรรมการอย่างน้อย                                    2        คน
         
          คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก
          ประธานกรรมการ                                      1        คน
          กรรมการอย่างน้อย                                    2        คน
          ***และควรมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมด้วย
 
 
คณะกรรมการกำหนดราคากลาง ประกอบด้วย
          ประธานกรรมการ                                      1        คน
          กรรมอย่างน้อย                               2        คน
          แต่งตั้งจากพนักงานท้องถิ่น/ข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
          ควรแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ
 
วิธีประกวดราคาจ้างด้วยระบบอิเล็คทรอนิคส์
คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็คทรอนิคส์
          ประธาน ระดับ 6 ขึ้นไป            1 คน
          กรรมการ ระดับ 3 ขึ้นไป           2 คน
 
 
การซื้อ หรือ จ้าง ด้วยระบบอิเล็คทรอนิคส์
คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็คทรอนิคส์  ประกอบด้วย
          ประธาน ระดับ 6 ขึ้นไป            1 คน
          กรรมการ ระดับ 3 ขึ้นไป           2 คน
 
 
ประกาศข่าวสารประกวดราคาในเว็ปไซด์
WWW.grourement.go.th ของกรมบัญชีกลาง
7 วันทำการ เว้นไว้สัก 5 วันทำการ.
 
 
การคำนวณราคากลาง ทำอย่างไร ?
          นำราคาในบัญชีกลางวัสดุก่อสร้างที่พาณิชย์จังหวัดกำหนด หากไม่มีราคาในบัญชีของพาณิชย์จังหวัดให้ใช้ราคาตามท้องตลาด
 
 
คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล (กวพ.อบต.) ประกอบด้วย
 
ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็น ประธานกรรมการ
อธิบดีกรมการปกครอง                       ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงมหาดไทย,
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย           หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง,
ผู้แทนอัยการสูงสุด                                     ผู้แทนกรมบัญชีกลาง
ผู้แทนสำนักตรวจเงินแผ่นดิน,               ผู้แทน อบต.ไม่เกิน 4 คน, ผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 2 คน
ผู้อำนวยการกองราชการส่วนตำบล กรมการปกครอง เป็นเลขานุการ.
(ผู้แทน อบต.มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
 ผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีก.)
**มีอำนาจหน้าทีดังนี้**
1.ตีความวินิจฉัยปัญหา
2.กำหนดหลักเกณฑ์
3.พิจารณาการอนุมัติ ยกเว้น ผ่อนผันระเบียบ
4.เสนอแนะการแก้ไขปัญหาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5.เสนอความเห็นต่อผู้รักษาการระเบียบในการเพื่อพิจารณาและสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน
6.แต่ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่
เรื่อง/เนื้อหา วัน
  • ผู้เสนอราคา/ผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อเป็นผู้เสนอราคาเพราะเหตุที่มีผลประโยชน์ร่วมกันยื่นอุทธรณ์ต่อผู้ว่าฯ
  • ตรวจรับพัสดุไม่ครบ-ไม่ถูกต้องแจ้งให้ผู้ขาย หรือ ผู้รับจ้างทราบ
  • การตรวจการจ้าง ภายใน
 
3
  • เมื่อครบกำหนดยืม ให้ผู้ให้ยืมหรือผู้รับหน้าที่ติดตามทวงพัสดุที่ให้ยืมไปคืนภายใน
7
  • ถ้ามีผู้เสนอราคาพัสดุ ที่อยู่ระหว่างการรับรองระบบคุณภาพ หรือ การขอใบอนุญาตเครื่องหมายมาตรฐาน หากพัสดุนั้นได้รับการรับรองคุณภาพ หรือได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์กับกระทรวงอุตสาหกรรม
 
  • ประกาศเผยแพร่การสอบราคาในประเทศ
 
  • การให้หรือขายเอกสารประกวดราคา (ก่อนวันรับซอง)
 
  • ช่วงเวลาการขายเอกสารประกวดราคา
 
 
10
  • การคืนหลักประกันให้แก่คู่สัญญา หรือผู้ค้ำประกัน โดยเร็วและอย่างช้าต้องไม่เกิน 15 วันนับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา
 
15
  • การส่งประกาศประกวดราคา ก่อนวันรับซองไม่น้อยกว่า
20
  • ประกาศเชิญชวนเพื่อคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ก่อนวันรับซองข้อเสนอ
  • ครุภัณฑ์ที่ได้รับการแลกเปลี่ยนและลงทะเบียนแล้วให้แจ้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินภูมิภาค
  • การลงจ่ายบัญชีจำหน่ายเป็นสูญให้แจ้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินภูมิภาค นับแต่วันลงจ่ายพัสดุ  ภายใน…
  • ส่งสำเนาสัญญา หรือข้อตกลงเป็นหนังสือซึ่งมีมูลค่าเกิน 1 ล้านบาทขึ้นไป  ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค และสรรพากรจังหวัด ภายใน...
  • รายงานผลการตรวจสอบพัสดุประจำปี ต่อผู้แต่งตั้งภายใน...
 
30
  • ประกาศเผยแพร่การสอบราคา นานาชาติ
45
 
  • คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น นานาชาติ
  • การจำหน่ายพัสดุโดยปกติให้แล้วเสร็จ ภายใน...
 
60
 
 
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.53.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :