สรุป พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 |
|
อ้างอิง
อ่าน 9077 ครั้ง / ตอบ 2 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
สรุป พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539
1. เจ้าหน้าที่ หมายถึง ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่น เช่น คณะกรรมการ
2. หน่วยงานของรัฐ คือ กระทรวง ทบวง กรม หรือ่ส่วนราชการที่เทียบเท่ากรม ภูมิภาค อปท. และรัฐวิสาหกิจที่เกิดจาก พรก.
3. หน่วยงานของรัฐจะต้องรับผลของการละเมิดจากการปฏิบัติงานของ จนท.ในกรณีนี้จะฟ้อง จนท.ไม่ได้ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐ
4. แต่ถ้ากลับกันการผลเสียหายจากการละเมิดนั้นเกิดจากการกระทำส่วนตัวให้ฟ้อง จนท.ผู้นั้น จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
5. หากมีความเสียหายที่ จนท.จะต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ก็ร้องขอต่อศาลให้ จนท.ผู้นั้นเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้
6. การที่ จนท.ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานไหนเลยไปทำการละเมิดขึ้นให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด
7. ในกรณีที่ศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องผิดหน่วยงาน หรือผิดคน ให้ขยายอายุความออกไป 6 เดือน นับจากวันที่มีการพิจารณาถึงที่สุด
8. หลังจากหน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย หน่วยงานมีสิทธิให้ จนท.ชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐได้ในกรณีที่ จนท. ได้กระทำด้วยความจงใจประมาทเลินเล่ออย่างแรง
9. นิยามคำว่า “กระทำโดยประมาทเลินเล่อ” หมายถึงการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามปกติวิสัย และพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่ก็ไม้ได้ใช้ให้เพียงพอ
10. นิยามคำว่า “กระทำโดยประมาทเลินเล่นอย่างร้ายแรง” หมายถึงการกระทำโดยรู้สำนึกอยู่แล้วว่าเป็นการเสี่ยงที่จะเกิดภัยหรือความเสียหาย แต่ยังขืนทำโดยคิดว่าสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภัยหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้
11. สิทธิในการชดใช้ต้องคำนึงถึง ความร้ายแรงแห่งการกระทำ และความเป็นธรรมแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์
12. ในกรณีที่มี จนท.หลายคนร่วมทำการละเมิด ไม่ให้นำหลักการแบบลูกหนี้ร่วมมาใช้
13. หลังจากหน่วยงานของรัฐได้ชดใช้สินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย ให้มีอายุความ 1 ปี ที่หน่วยงานจะเรียกร้องให้ จนท. คืนสินไหมทดแทนแก่หน่วยงาน
14. การกระทำโดยละเมิดหากไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการให้การบังคับการชดใช้ค่าเสียหายเป็นไปตามประมวลกฏหมายแพ่ง และพานิชย์ ให้มีอายุความ 2 ปี
15. กรณีที่หน่วยงานมีการพิจารณาแล้วว่า จนท.ไม่ต้องรับผิด แต่ถ้าหากกระทรวงการคลังเห็นว่าควรรับผิดให้เป็นไปตามการพิจารณาของกระทรวงการคลัง โดยให้มีอายุความ 1 ปี
16. ผู้เสียหายจากการละเมิดได้ยื่นคำขอให้หน่วยงานพิจารณาชดใช้ค่าเสียหาย ให้หน่วยงานนั้นออกใบคำขอไว้เป็นหลักฐาน และให้ทำการพิจารณาโดยเร็ว และถ้าผู้เสียหายไม่พอใจผลการพิจารณาของหน่วยงานก็ให้มีสิทธิ์ในการฟ้องสาลปกครองภายในระยะเวลา 90 วัน หลังจากทราบคำพิจารณาของหน่วยงาน
17. หน่วยงานต้องพิจารณาเรื่องที่มีผู้รองขอให้ชดใช้ค่าเสียหายภายใน 180 วัน
18. ถ้าครบ 180 วันแล้วพิจารณาไม่เสร็จให้รายงานปัญหา และอุปสรรคต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
19. รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีอำนาจในการอนุมัติให้มีการพิจารณาต่อจาก 180 วัน ได้ไม่เกิน 180 วัน
20. ครม. กำหนดระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผ่อนชำระเงิน โดยคำนึงถึงรายได้ ครอบครัว ฐานะความรับผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณี
21. เหตุผลในการประกาศใช้ พรบ.ฉบับนี้ก็เพื่อ
1. ความไม่เป็นธรรมใน ป.พ.พ. ที่มุ่งแน้นให้ได้เงินครบอย่างเดียว
2. จนท.อาจจะทำโดยไม่ตั้งใจ หรือผิดพลาดเล็กน้อย
3. ไม่ให้มีการใช้หลักลูกหนี้ร่วม แต่ให้รับผิดชอบในส่วนที่ตนกระทำเท่านั้น
4. เจ้าหน้าที่จะได้กล้าดำเนินการในกาปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
22. หัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดได้ ไมเกิน 5 คน
23. การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิดจะแต่งตั้งจากข้าราชการในหน่วยงานหรือจากหน่วยอื่นแล้วแต่หัวหน้าหน่วยงานจะเห็นสมควร
24. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบนั้นถ้าหากเกิดภัยธรรมชาติในกรณีส่วนภูมิภาควงเงินไม่เกิน 400,000 บาท และถ้าเป็น อปท.หรือรัฐวิสาหกิจในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท
25. พรบ.ฉบับนี้มีผลในการบังคับใช้ 15 พฤศจิกายน 2539
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 14/04/2019 00:00
|