สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714508
แสดงหน้า2188185
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




การบริการงานทะเบียนแบบบูรณาการ

การบริการงานทะเบียนแบบบูรณาการ
อ้างอิง อ่าน 345 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์

การบริการงานทะเบียนแบบบูรณาการ 
ในช่วงระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน 2545 ที่ผ่านมา กรมการปกครองได้ดำเนินการ ' โครงการเดือนแห่งบูรณาการงานทะเบียนทั่วไทย'เนื่องในโอกาสครบรอบแห่งการสถาปนากระทรวงมหาดไทย 110 ปี โดยมอบหมายให้สำนักทะเบียนอำเภอและท้องถิ่นทุกแห่งทั่วประเทศ (รวมทั้งกรุงเทพมหานคร) จัดกิจกรรมให้กิจกรรมให้บริการประชาชนด้านการทะเบียนและบัตรแบบเบ็ดเสร็จ รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนได้สำรวจ/ตรวจสอบความถูกต้องของรายการในทะเบียนบ้านของตนเองด้วยความเอาใจใส่เป็ฯพิเศษ ซึ่งหากพบข้อบกพร่องก็สามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันที ณ ที่สำนักทะเบียนที่ตนไปติดต่อขอรับบริการ 
โครงการเดือนแห่งบูรณาการงานทะเบียนทั่วไทยนี้ เป็นโครงการใหม่ที่ริเริ่มขึ้น โดยมุ่งที่จะให้เป็น ตัวแบบที่เป็นรูปธรรม อีกอันหนึ่งของการให้ บริการเชิงรุกจัดเป็นการผนึกกำลังภาครัฐในการให้บริการประชาชนใน ยุคแห่งการปฏิรูประบบราชการซึ่งอยู่ภายใต้กรอบแนวความคิดหลักในการยึดความพึงพอใจของลูกค้า (ประชาชน) เป็นเป้าหมายสูงสุด คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการไปติดต่อราชการ สามารถสร้างความพึงพอใจในการให้บริการที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจะสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังเป็นการสร้างระบบการให้บริการงานทะเบียนแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (one-stop-service) ให้บังเกิดขึ้นอย่างแท้จริง 
การกำหนดให้มีโครงการดังกล่าวนี้ กรมการปกครองได้เล็งเห็นว่างานทะเบียนนั้นเป็น หัวใจ ของงานให้บริการประชาชนของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย และเป็นเครื่องมือหรือข้อมูลที่เชื่อมดยงไปยังการให้บริการอื่น ๆ ของรัฐทั้งนี้ หลักฐานทางการทะเบียนของประชาชนถือเป็นเครื่องรับรอง สิทธิและระบุสถานะของตัวบุคคลและเกี่ยวข้องไปตลอดตั้งแต่เกิดจนตาย จุดร่วม อันนี้จึงถือได้ว่างานทะเบียนเป็นประตูไปสู่การบริการอื่น ๆ หากระบบงานทะเบียนเกิดความไม่ถูกต้อง ไม่สะดวก และประชาชนและราชการมีข้อมูลที่ผิดพลาด ก็จะส่งผลกระทบไปยังบริการภาครัฐด้านอื่น ๆ ด้วย 
หมุดเชื่อมโครงการให้บริการ 
การที่กรมการปกครองนำเอางานทะเบียนมาเป็น 'หมุดเชื่อม'สร้างบูรณาการให้งานบริการภาครัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ ในที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต และสำนักงานเทศบาล ซึ่งมีงานทะเบียนให้บริการอยู่ทุกแห่ง ถึง 2,057 แห่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ 4 ประการ คือ 
ประการแรกเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมระกว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องร่วมกันตรวจสอบหลักฐานทางการทะเบียนราษฎรและทะเบียนอื่น ๆ ให้มีความถูกต้องกันอยู่เสมอทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของตัวประชาชนเอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องมีหน้าที่แก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้สามารถบริการได้ อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และต่อเนื่อง ผลลัพธ์คือ ความพึงพอใจของประชาชนและที่สำคัญ... ความถูกต้องของข้อมูลการทะเบียนยังจะเชื่อมโยงเอื้อประโยชน์ให้กับการบริหารจัดการภาครัฐอีกหลายด้าน อาทิ การวางแผน การพัฒนา การจัดบริการ และสงเคราะห์ประชาชน เป็นต้น 
ประการที่สอง เป็นการนำเอากิจกรรมงานทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครองทั้ง 15 ประเภท อาทิ งานทะเบียนอาวุธปืน ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนขื่อบุคคล ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนราษฎร บัตรประจำตัวประชาชน ฯลฯ มา 'บูรณาการ'เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้ในวันเดียวกัน ด้วยความใส่ใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เฉพาะเรื่องใด เรื่องหนึ่ง แต่ได้ทำหน้าที่ช่วยแนะนำและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ไปติดต่อราชการในคราวเดียวกันนั้น ให้ได้รับบริการงานทะเบียนที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันและบริการเสริมอื่น ๆ สามารถลดความสูญเสียเวลาประหยัดค่าใช้จ่ายอันเป็นภาระของประชาชนได้ 
ประการที่สามเป็นการเชื่อมโยงการให้บริการภาครัฐอื่น ๆ ที่มีการให้บริการ ณ ศูนย์ราชการ ไม่ว่าจะเป็นที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอสำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล ให้สามารถสร้างบริการแบบเบ็ดเสร็จ (one-stop-service) ครบวงจรภายในวันเดียว หรือคราวเดียวที่ประชาชนไปติดต่อราชการ โดยมีข้อมูลการทะเบียนเป็น'ฐาน' เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทะเบียนเป็น'กลไก' ประสานงานการให้บริการ 
ประการสุดท้ายเป็นการเปิดมิติของการทำงานร่วมกัน(co-operation) ของทุกส่วนราชการที่มีหน้าที่ในการให้บริการประชาชน เมื่อเขาไปติดต่อราชการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และไปเกี่ยวพันกับบริการอื่น ๆ ที่จะต้องแก้ไข หรือติดต่อขอรับบริการให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ งานทะเบียนก็จะเป็นผู้เปิดช่องทางและเป็นหมุดเชื่อมโยง(linking pin) ไปยังบริการอื่น ๆ ด้วย 
กลยุทธ์ศูนย์บริการ 
การบริการงานทะเบียนแบบบูรณาการนั้นกลยุทธ์ที่สำคัญก็คือการทำให้สำนักทะเบียนเปรียบ ศูนย์บริการรถยนต์ซึ่งมีลูกค้านำรถเข้าบริการ ณ ศูนย์รับบริการ จะมีเจ้าหน้าที่ผู้คอยรับรถเตรียมคู่มือตรวจ (Checklist) รายการที่จะให้บริการ และแนะนำการให้บริการแก่ลูกค้าแต่ละรายไม่ว่าจะเป็นการตรวจแก้ไขความผิดปกติ ตามที่ลูกค้าต้องการ การแนะนำให้มีการซ่อมบำรุงตามระยะทางและอายุการใช้งาน พนักงานของศูนย์จะต้อนรับลูกค้าด้วยอัธยาศัยอันดี มีความใส่ใจและถือเอาเป็นธุระ(pay attention mind) ในการที่จะให้บริการด้วยดีแก่ลูกค้าที่ไปใช้บริการ ศูนย์บางแห่งมีการจัดบริการเสริมอื่น ๆ แก่ครอบครัวบุตรหลาน และลูกค้าที่ไปใช้บริการด้วย อาทิ มุมหนังสือ มุมของเล่น มุมอินเทอร์เน็ต มุมบันเทิง หรือแม้กระทั่งบริการอาหาร 
กิจกรรมคู่สัมพันธ์ บริการภาครัฐ 
หลักกลยุทธ์ดังกล่าวนี้ สามารถนำมาประยุกต์ในการบูรณาการให้บริการประชาชนด้านงานทะเบียนได้อย่างกลมกลืน เนื่องจากานทะเบียนนั้นมีคู่สัมพันธ์กันอย่างชัดเจน อาทิงานทะเบียนราษฎร กับงานทะเบียนครอบครัวทะเบียนชื่อบุคคล บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนอาวุธปืน เป็นตัน และยังอาจจะจัดคู่สัมพันธ์เชื่อมดยงไปยังบริการภาครัฐด้านอื่น ๆ อีกด้วย 
คู่สัมพันธ์และการให้บริการที่เชื่อมโยงกันดังกล่าว นายทะเบียนและเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการงานทะเบียนสามารถที่จะจัดทำเป็นคู่มือการให้บริการประชาชน และแบบตรวจสอบรับบริการแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ไปรับบริการได้ตรวจสอบทุกครั้ง เครื่องมือดังกล่าวนี้เป็นแผนที่ในการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ครบวงจร (one-stop-service) ที่ประชาชนจะได้รับความสะดวก พึงพอใจ และได้อรรถประโยชน์ในการไปติดต่อราชการในคราวเดียว 
'จิตใจบริการ' (Service-minded) คือ กลไกแห่งความสำเร็จ 
จะเห็นได้ว่า การประยุกต์ใช้กลยุทธ์ศูนย์บริการรถยนต์มาเป็นแนวทางในการสำรวจความต้องการรับบริการของประชาชนด้านงานทะเบียนบูรณาการนี้ จะทำให้สำนักทะเบียนได้ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ และเป็นประโยชน์ทั้งในการให้บริการและเตรียมการวางแผนปรับปรุงงานบริการด้านทะเบียนแบบบูรณาการต่อไปในอนาคตได้เป็นอย่างดี 
อย่างไรก็ตาม การที่จะทำให้โครงการนี้ประสบผลสำเร็จนั้น หัวใจสำคัญอยู่ที่ 'ความสำนึกใส่ใจ' ในงาน (Attention-minded) และตระหนักในการมีจิตใจให้บริการ (servuce-minded) ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ 
กรมการปกครองได้จัดทำโปสเตอร์แนะนำเป็นข้อปฏิบัติในการให้บริการประชาชนด้านงานทะเบียนแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ โดยได้มีการกำชับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและตระหนักในบทบาทหน้าที่ 5 ประการ คือ 
1. ให้ปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึก ซื่อสัตย์สุจริตและโปร่งใส จริงจัง จริงใจ ไม่สร้างปัญหา รักษา ระเบียบวินัย 
2. หมั่นตรวจสอบ แก้ไข และจัดเก็บเอกสารให้เป็นไปตามระเบียบ ระบบ และหมั่นศึกษากฏหมาย เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด 
3. บริการให้รวดเร็ว ทั่วถึง เป็นธรรมเสมอภาค มีไมตรี วจีไพเราะ เพื่อให้ผู้รับบริการพึงพอใจ 
4. เรียกเอกสาร พยานบุคคล เท่าที่ระเบียบกฎหมายกำหนด ไม่สร้างภาระแก่ประชาชน 
5. ก่อนมอบเอกสารงานทะเบียนและบัตรให้กับผู้มาติดต่อต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง ครบถ้วนหากพบข้อผิดพลาดให้แก้ไข ไม่ปล่อยให้เป็นภาระหรือปัญหาประชาชนให้ภายหลัง 
หลักปฏิบัติดังกล่าว ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการให้บริการด้านงานทะเบียน ซึ่งอาจจะแตกต่างจากงานหน้าที่อื่น ๆ ของกรมการปกครอง เพราะงานทะเบียนถือเป็นเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ของภารกิจกรมการปกครองที่กระทบต่อประชาชนอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นความพึงพอใจของประชาชนและอรรถประโยชน์(utilities) ที่ประชาชนพึงได้รับจากงานทะเบียนจึงสะท้อนให้เห็นถึงการบริการงานที่สัมฤทธิ์ผลของกรมการปกครองอีกประการหนึ่งด้วย 
ประชาชนมีส่วนร่วม 

นอกจากที่กล่าวแล้ว ปัจจัยที่จะทำให้การบริหารงานทะเบียนเกิดการบูรณาการได้เป็นผลสำเร็จ อีกประการหนึ่งก็คือ การที่ทำให้งานดังกล่าวเป็นกลไกของการสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากประชาชน ดังจะเห็นได้ว่ากรมการปกครองได้จัดทำข้อแนะนำสำหรับประชาชนผู้ไปติดต่อราชการ ไว้ 5 ประการคือ 
1. ตรวจสอบเอกสารทะเบียนและบัตรของตนให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ หากพบข้อบกพร่องในรายการหรือพบว่ามีบุคคลอื่นแปลกปลอมในทะเบียนบ้าน ให้รีบแจ้งนายทะเบียนดำเนินการทันที 
2. ติดต่องานทะเบียนและบัตร โปรดเตรียมเอกสารไปให้พร้อม 
3. ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องก่อนออกจากสำนักทะเบียน หากผิดพลาดให้ขอแก้ไขทันที 
4. หากพบเห็นการทำงานที่ไม่โปร่งใส หรือมีสิ่งผิดปกติให้แจ้งข่าวสารต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือนายทะเบียน หรือ ตู้ ปณ.42 ปณ.ฝ. หลานหลวง กทม. หรือทางอินเทอร์เน็ต ที่ www. khonthai.com 
5. หากมีปัญหาต้องการตำแนะนำหรือไขข้อข้องในงานทะเบียน ก็สามารถหมุนโทรศัพท์สอบถามได้ที่ 'ศูนย์ตอบปัญหางานทะเบียนและบัตร' หมายเลขโทรศัพท์ 1548 
กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน(people participation) นี้ ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการผลักดันให้การบริการประชาชนด้านงานทะเบียนแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ นั่นคือการสร้างอรรถประโยชน์ให้แก่ประชาชนในการไปติดต่อราชการ ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของความพึงพอใจที่ประชาชนจะมีต่อราชการในที่สุด 
กรมการปกครองได้รวบรวมข้อมูลสถิติการรายงานผลการดำเนินงานตาม 'โครงการเดือนแห่งการบูรณาการงานทะเบียนทั่วไทย'ของสำนักบริหารการทะเบียนทั่วประเทศ ปรากฎว่าในช่วงระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2545 มี ประชาชนมาขอรับบริการงานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน และงานทะเบียนอื่น ๆ ที่ต่อเนื่องจากงานทะเบียนราษฎร เช่น การแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน (คำนำหน้านาม การสะกด ชื่อ-ชื่อสกุล) รวมผู้ใช้บริการทั้งสิ้น1,286,077 ราย โดยมีสถิติการขอรับบริการเรียงตามลำดับได้ดังนี้ 
1. การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 673,626 รายการ 
2. การแจ้งย้ายที่อยู่ จำนวย 390,746 รายการ 
3. งานบริการอื่น ๆ ที่ต่อเนื่องจากงานทะเบียน จำนวน 116,070 รายการ เช่นการแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน การจำหน่ายชื่อและ ฯลฯ 
4. การเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล จำนวน 35,707 รายการ 
5. การขึ้นบัญชีทหารกองเกิน จำนวน 30,507 รายการ 
6. การจดทะเบียนสมรส จำนวน 25,183 รายการ 
7. การจดทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 13,384 รายการ 
8. การจดทะเบียนรับรองบุตร จำนวน 854 รายการ 
หากพิจารณาจากสถิติของรายงานผลการดำเนินการดังกล่าวแล้ว พบว่า ประชาชนมาใช้บริการงานบริการอื่น ๆ ที่ต่อเนื่องจากงานทะเบียนฯ มากเป็นอันดับ3ซึ่งพอาจะบ่งชี้ได้ว่างานบริการภาครัฐอื่น ๆ ที่ต่อเนื่องจากงานทะเบียนเป็นสิ่งที่ประชาชน พึงพอใจอย่างสูงและได้รับอรรถประโยชน์ 
นอกจากนี้ได้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในลักษณะของการวัดความพึงพอใจในการให้บริการช่วงดังกล่าว ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการนี้ และเห็นว่าตตนเองได้รับประโยชน์และความสะดวก รวดเร็ว ในการใช้บริการมากขึ้น มีความปรารถนาให้เป็นโครงการต่อเนื่อง และปรับให้เป็นโครงการมาตรฐานการให้บริการงานทะเบียนแบบบูรณาการต่อไป 
และจากการตรวจติดตามผลรายงานของคณะกรรมการฝ่ายติดตามและประเมินผลของกรมการปกครอง มีข้อสรุปชัดเจนว่า โครงการนี้ได้ก่อให้เกิดความตื่นเต้นและใส่ใจในการให้บริการประชาชนของ สำนักทะเบียนต่าง ๆ มากขึ้นนอกจากนี้ยังได้มีส่วนสำคัญในการเพิ่มบทบาทแก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการเข้ามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ แก้ไข และช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับงานการทะเบียนในท้องที่ที่ตนเองรับผิดชอบมากขึ้น 
ผลการดำเนินงานตามโครงการ การสำรวจและรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาชน และการประเมินผลดังกล่าว นับเป็นข้อมูลสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณานำเสนอให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณากำหนดอนุมัติให้เดือนเมษายนของทุกปีเป็น 'เดือนแห่งบูรณาการงานทะเบียนทั่วไทย' ต่อไป
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :