สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714842
แสดงหน้า2190958
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




วิเคราะห์ข้อสอบ Comprehensive

วิเคราะห์ข้อสอบ Comprehensive
อ้างอิง อ่าน 404 ครั้ง / ตอบ 3 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์

วิเคราะห์ข้อสอบ Comprehensive
(ให้ดูตัวอย่างข้อสอบเก่าประกอบ)
    **อย่าให้อาจารย์เห็นส่วนนี้นะครับ เพราะอาจารย์อาจจะหลบ**
    รูปแบบข้อสอบ PS 701 
    จากข้อสอบที่ออกมาหลายๆปีพบว่า 701 จะมีรูปแบบข้อสอบ อยู่ 3 รูปแบบคือ
แบบที่ 1. ข้อสอบที่ถามถึงความสำคัญของแนววิเคราะห์หรือทฤษฎีหรือ Approach ในการเข้าถึงความจริงทางการเมืองหรือในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง
ข้อสอบแบบนี้ เช่นข้อสอบปี  2545 2547 2548 2549 
แบบที่ 3 ข้อสอบที่ถามถึงพัฒนาการของวิชารัฐศาสตร์ หรือใช้คำว่าการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (เป็นคำถามที่ถามถึงยุคต่างๆของรัฐศาสตร์นั่นเอง) และส่วนใหญ่คำถามจะเจาะลงไปที่ยุคพฤติกรรมศาสตร์
ข้อสอบแบบ เช่นข้อสอบปี  2543 2544 และ 2547 (สระบุรี)
แบบที่ 3 ข้อสอบที่ให้เอา Approach ใดๆไปอธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองอันใดอันหนึ่ง 
ข้อสอบแบบนี้จะออกในปี 2541 และ 2550
ข้อสอบปี 2550 อาจารย์ให้เอาแนววิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์มาอธิบายการเมืองไทย 
หมายเหตุ ** ไม่ว่าข้อสอบจะออกแบบใดโจทย์ของทุกปีจะให้ยกตัวอย่างเสมอ ดังนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการเตรียม Approach และตัวอย่างปรากฏการณ์ทางการเมืองมายกเป็นตัวอย่างในการตอบ 
***แนวโน้มของปีนี้จากการฟังอาจารย์ ความสำคัญของทฤษฎีหรือแนววิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์ และ Approach หรือรูปแบบที่ 1 และ 3 ***

                    **********************
    รูปแบบข้อสอบ PS 702 
จากหลายปีข้อสอบมี 3 แบบใหญ่ๆคือ 
แบบที่ 1 ให้เขียนเค้าโครงการวิจัย จะแบ่งย่อยออกเป็น 3 แบบคือ
1.1 ข้อสอบที่ออกโดยให้นักศึกษาเขียนถึงสาระสำคัญของหัวข้อต่างๆ ของสาระนิพนธ์ที่นักศึกษาทำ ตั้งแต่ชื่อเรื่อง ความสำคัญของปัญหา ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูล หรือเขียนโครงร่างการวิจัยจากสาระนิพนธ์ของนักศึกษาเองนั่นเอง (อาจจะให้เขียนเพียงบางหัวข้อ)
ข้อสอบแบบนี้ เช่นปี 2452 (นักศึกษารุ่นที่ 3 ) และข้อสอบปี 2549 (บางนา)  
การออกข้อสอบแบบนี้ไม่ยากแต่นักศึกษาต้องไปอ่านสาระนิพนธ์ที่ตัวเองทำ
    1.2 ข้อสอบในแบบที่มีการกำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่น่าสนใจมา แล้วให้นักศึกษาเขียนระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษาปัญหาดังกล่าว หรือเขียนจากโครงร่างการวิจัยจากประเด็นสำคัญที่กำหนดให้ (อาจจะให้เขียนบางหัวข้อ)
    ข้อสอบแบบนี้ เช่นปี 2545 (ของส่วนกลาง) ปี 2547 และปี 2549 ทั้งของภูมิภาคและศูนย์สระบุรี)
    1.3 ข้อสอบที่ออกโดยให้บทคัดย่อมาและให้นำเอาบทคัดย่อนั้นมาเขียนเค้าโครงงานวิจัยที่สมบูรณ์หรือบางส่วน  
    ข้อสอบแบบนี้ออกปี 2541 
แบบที่ 2  ข้อสอบที่ออกเกี่ยวกับองค์ความรู้ในการวิจัย 
ข้อสอบที่ออกแบบนี้คือปี 2545  2546  2548 เช่น
-ปี 2545 ให้พูดถึงความแตกต่างของ Inductive และ Deductive
-ปี 2546 ให้อธิบาย 
/ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ
        /ความเชื่อมโยงระหว่างกรอบความคิดกับระเบียบวิธีวิจัย
        /การสำรวจวรรณกรรมมีความสำคัญต่อการวิจัยอย่างไร 
/การสรุปข้อเท็จจริงจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้อย่างไร
    -ปี 2548 ให้บอกว่าการทำวิจัยให้มีคุณภาพเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือในเชิงวิชาการนั้นควรต้องทำอย่างไร 
    แบบที่ 3 ให้อธิบายกระบวนการวิจัย ตัวอย่างคือข้อสอบปี 2550
    ****แนวโน้มของปีนี้จากการฟังอาจารย์ เน้นให้อธิบายกระบวนการวิจัย หรือแบบที่ 3 ***
*********************
ข้อสอบ PS 704 จะมี 2 แบบคือ
แบบที่ 1 ออกเกี่ยวกับพัฒนาทางการเมือง เช่น
    -ปี 2545 ที่ถามว่าเหตุการณ์ทางการเมืองในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองหรือไม่ อย่างไร จงอธิบายตามประเด็นต่อไปนี้
ก.การพัฒนาสถาบันทางการเมืองของไทย
ข.จิตสำนึกของประชาชน
ค.การพัฒนาประชาสังคม (Civil Society)
-ปี 2547 ที่ถามคำว่า Factions และ Tendencies ในพรรคการเมืองหมายถึงอะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อการพัฒนาระบบพรรค 
แบบที่ 2 ให้พูดถึงการพัฒนาทั่วไป  (คนที่ชอบออกแบบนี้คืออาจารย์พิมล/อาจารย์เสาวลักษณ์) เช่น 
-ข้อสอบ ปี 2546 (ส่วนกลาง) ถามว่า การไหลบ่าของกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) เป็นจริงหรือไม่ เพียงใด และมีผู้กล่าวว่ารัฐบาลไทยในปัจจุบันมีนโยบายพัฒนาประเทศแบบ 2 ทาง (Two Tracks) เช่นส่งเสริมการส่งออกและการพึ่งตนเองมากขึ้น รวมทั้งความสนใจในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท่านคิดว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
-ปี 2549 (สระบุรี) ให้เปรียบเทียบแนวคิดของภูฐานกับ เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง และวิเคราะห์ว่าจะนำมาใช้ได้จริงหรือ (คำถามคร่าวๆ)
ปี 2550 ให้วิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาประเทศไทย โดยเฉพาะโอกาสและอุปสรรคที่มาจากปัจจัยต่างๆ ในเชิงสถาบันที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศทางสถาบัน
***แนวโน้มของปีนี้ น่าจะออกการพัฒนาทั่วไป หรือผสมระหว่างพัฒนาทั่วไปและการพัฒนาในมิติทางการเมืองและมิติอื่นๆ เช่นสิ่งแวดล้อม ***
    
    ***************************************************
                



วิชา Plan 
1.Plan A การบรรยายของอาจารย์สิทธิพันธ์จะเน้น สาระสำคัญของ 710 คือความทันสมัยทางการเมืองตามตัวแบบของฮันติงตัน และตัวแบบของมาร์ติน ลิปเซ็ท
*** แต่อย่าลืมเรื่องของการมีส่วนร่วมทางการเมือง***

2.Plan B –การเปลี่ยนแปลงหลังสงครามเย็น
        -การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
    -
            
3.Plan c 



                *****************
ข้อสอบ PS 703
เนื่องจากวิชา 703 เพิ่งมาเป็นวิชาบังคับตั้งแต่ประมาณ 2547 เท่าที่ดูข้อสอบจึงมักจะถามกว้างๆ เช่น    
ปี 2547 (สระบุรี) ขอให้ท่านนำทฤษฎีต่างๆด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สามารถอธิบายสภาพความสัมพันธ์ของสังคมโลกในปัจจุบันได้ดีที่สุด เพื่อสรุปภาพที่เป็นอยู่และแนวโน้มในอนาคตในทุกประเด็น
ปี 2548  ระเบียบโลก (World Order) ในยุคหลังสงครามเย็นที่สำคัญมีผลส่งให้ความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างประเทศในเวทีโลกประการใดบ้าง ให้อธิบายและวิเคราะห์โดยยกตัวอย่างประกอบเป็นข้อๆ ให้ชัดเจน
ปี 2549 (บางนา)ให้นำเอาทฤษฎีสัจจนิยมมาอธิบายปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับเลบานอน 
(ข้อนี้จะยากตรงนี้ปรากฎการณ์ที่เอามาให้ตอบเป็นการเฉพาะ ถ้าใครไม่ติดตามเรื่องเลบานอนอาจจะตอบไม่ได้)
** ดังนั้นจุดเน้นของ 703 ยังหนีไม่พ้นทฤษฎีของสำนักต่างๆ ในปีนี้อาจารย์ก็เน้นเช่นกัน**
    ***************

ข้อสอบ PS 705
วิชา PS 705 เพิ่งเป็นวิชาบังคับเมื่อปี 2548 เท่านั้น คือ
ปี 2548 จงอธิบายเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการไทยที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันโดยใช้หลักการทางทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ (Public Administration) และการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM)     
ปี 2549 (บางนา สอบ ก.ย. 49) ธรรมาภิบาลคืออะไร ถ้าเราเป็นผู้บริหารระดับสูงเราจะนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้อย่างไร 
จุดเด่นจาก 2 ข้อก็คือเน้นให้อธิบายภาพรวมของแนวคิด 
ส่วนข้อสอบ Plan จะมีความหลากหลายสูงกว่าข้อสอบบังคับ  โอกาสในการออกประเด็นเล็กๆก็มีมาก (แต่ถ้ารู้ว่าใครออกข้อสอบจะเก็งข้อสอบได้ไม่ยากนัก) ให้ไปดูข้อสอบเก่าที่ส่งไปให้นะคะ
                    
    วิเคราะห์โอกาสของข้อสอบในปีนี้
    จากข้อสอบปี 2549 จะพบว่าข้อสอบแต่ละข้อมีลักษณะผสมผสานความรู้จากหลายวิชามาตอบมากขึ้น และอาจารย์วุฒิศักดิ์ก็พูดว่า ข้อสอบโดยภาพรวมจะไม่ได้แบ่งออกเป็นวิชาใดวิชาหนึ่ง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ข้อสอบจะมีการผสมผสานมากขึ้น
    เช่น ข้อสอบพื้นฐานข้อที่ 1 ปี 2549 ถามว่า
    การเมืองไทยเคยติดอยู่ในกับดังวงจรอุบาท (The Vicious Cycle Trap) แต่นับแต่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬเป็นต้นมา การเมืองไทยเปลี่ยนไปจากที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน หากท่าจะวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ท่านจะใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีใดในการวิเคราะห์ เพราะเหตุใด ของให้ให้เหตุผลอย่างชัดเจน พร้อมยกเหตุการณ์เชิงประจักษ์ประกอบด้วย
    ข้อนี้ถ้าจะมองว่าเป็น 704 (การพัฒนาการเมือง) หรือเป็น 701 (ออกเหตุการณ์ทางการเมืองและให้เลือก Approach หรือทฤษฎีมาวิเคราะห์) ก็ได้
    จากทั้งการฟังอาจารย์และการพิจารณาจากเหตุการณ์ปัจจุบัน  แนวโน้มที่เราควรจะให้ความสนใจ คือ
-701 เตรียมเรื่องพัฒนาการของวิชาและแนววิเคราะห์
-702 เตรียมหัวข้อต่างของเค้าโครงการวิจัย 
-703 เตรียมแนวคิดและสำนักคิดต่างๆ และเตรียมเหตุการณ์ปัจจุบัน
-704 ไม่ชัดเจน ควรจะเตรียมทั้งพัฒนาการเมืองและพัฒนาประเทศ 
-705 ไม่แน่ใจแต่อยากให้ดูธรรมมาภิบาล NPM  พาราไดม์
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
1
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
            สรุปวิชา PS 701
แนวทางการศึกษารัฐศาสตร์ (Approaches in Political Science)

ประเด็นสำคัญของวิชา
1.ความสำคัญของแนววิเคราะห์ในการศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมือง (หรือการเข้าถึงความจริงทางการเมือง)
2.พัฒนาการของวิชารัฐศาสตร์
3.แนววิเคราะห์ที่สำคัญทางๆ รัฐศาสตร์

1.ความสำคัญของแนววิเคราะห์ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง
ประเด็นนี้คือการตั้งคำถามว่าทำไมการศึกษารัฐศาสตร์จึงต้องอาศัยแนวทางการวิเคราะห์
คำตอบก็คือศาสตร์ทุกศาสตร์มีเป้าหมายเดียวกันในการศึกษาคือการแสวงหาและเหตุผล (Causality) ของปรากฏการณ์ เพราะการทราบสาเหตุของปรากฏการณ์จะนำไปสู่การแก้ปัญหา 
ในทางการเมืองนักรัฐศาสตร์ศึกษาปัญหาทางการเมืองก็เพื่อจะตอบว่าปัญหาทางการเมืองในเรื่องนั้นๆเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะเชื่อว่าหากทราบสาเหตุก็จะสามารถกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาการเมืองในเรื่องนั้นๆได้
เช่น
-ถ้าเรารู้ว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเราก็จะแนวทางมาแก้ปัญหาได้
-ถ้าเรารู้ว่าปัญหาการขายเสียงเกิดจากอะไรเราก็จะสามารถกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาการซื้อขายเสียงได้
-ถ้าเรารู้ว่าปัญหาความขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดจากอะไร เราก็จะกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาได้
แต่การแสวงหาสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมืองเป็นเรื่องที่ยากมาก หรือกล่าวว่าการแสวงหาความจริงทางการเมืองเป็นเรื่องยุ่งยาก (ยากกว่าการแสวงหาความจริงของศาสตร์อื่นๆ )
สาเหตุที่การหาความจริงในทางการเมืองเป็นเรื่องยาก
    1.ข้อมูลในทางการเมืองเป็นข้อมูลที่มีจำนวนมากมายมหาศาล การที่ข้อมูลมีจำนวนมากทำให้ยากต่อการลงไปจัดการกับข้อมูล และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกข้อมูลบางอย่างมาศึกษา
    2.ข้อมูลที่มีจำนวนมากดังกล่าวบางครั้งเป็นข้อมูลที่มีความขัดแย้งกัน 
3.ข้อมูลอาจจะไม่คงเส้นคงวาหรือเสมอต้นเสมอปลาย 
ตัวอย่าง
ถ้าเราจะศึกษาปัญหาความขัดแย้งในทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทย จะมีข้อมูลที่มาจากฝ่ายที่สนับสนุนอดีตนายกทักษิณ จะมีข้อมูลที่มาจากฝ่ายต่อต้านทักษิณ จะมีข้อมูลทั้งจากฝ่ายที่เป็นกลาง บางครั้งข้อมูลเหล่านี้ก็ขัดแย้งกันเอง บางครั้งข้อมูลก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่าข้อมูลใดเป็นจริง ข้อมูลใดเป็นเท็จ
หรือในปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการแก้ไขและฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไข แต่ละฝ่ายจะมีเหตุผลของตนเองและนำเสนอเหตุผลให้สังคมรับรู้ 
ทำให้เกิดคำถามว่าเราจะเลือกเชื่อข้อมูลฝ่ายใด หรือบอกว่าฝ่ายใดถูกหรือฝ่ายใดผิด 
คำตอบก็คือในทางรัฐศาสตร์มองว่าไม่มีความเชื่อใดถูกหรือผิด  แต่เมื่อเราเลือกจะเชื่อข้อมูลไหน จะต้องมีเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อ รวมทั้งมีเหตุผลที่จะโต้แย้งความเชื่อของคนอื่นๆที่ไม่ตรงกับ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยสนับสนุนความเชื่อของเราก็คือทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์นั่นเอง
ทำให้เมื่อนักรัฐศาสตร์จะศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองใดๆ ต้องมีแนววิเคราะห์หรือทฤษฎีมาเป็นเครื่องมือ
 ความสำคัญและประโยชน์ของแนววิเคราะห์
1.แนววิเคราะห์หรือทฤษฎีแต่ละทฤษฎีจะเป็นตัวกำหนดกรอบว่า ในข้อมูลที่มีจำนวนมากนั้นจะเลือกข้อมูลอะไรมาใช้บ้าง หรือเป็นการช่วยจัดระเบียบข้อมูลที่เราจะใช้ในการศึกษา (เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ข้อมูลทั้งหมดมาศึกษา)
    ตรงนี้เองทำให้ทฤษฎีหรือแนววิเคราะห์มีหลายแนววิเคราะห์ขึ้นอยู่กับความเชื่อของนักทฤษฎี 
    เช่น 
-คนที่เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองเกิดจากความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ เวลาศึกษาความขัดแย้งทางการเมืองก็จะสนใจเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ (ซึ่งแสดงว่าเขากำลังวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยใช้แนววิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์) 
-คนที่เชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยเวลานี้เกิดจากสถาบันต่างๆในทางการเมืองไม่ทำหน้าที่ของตนเอง หรือไม่สามารถพัฒนาโครงสร้างสถาบันได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง เวลาศึกษาก็จะสนใจเก็บข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเมือง  (ซึ่งแสดงว่าเขากำลังใช้แนววิเคราะห์เชิงสถาบันในการศึกษาปัญหาทางการเมือง)
2.แนววิเคราะห์หรือทฤษฎีจะช่วยสร้างข้อโต้แย้งให้กับผู้ศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมือง เพราะแต่ละ Approach จะมีแนวคิดที่ไม่เหมือนกัน ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีจะมีข้อโต้แย้งซึ่งกันและ และจะช่วยให้เกิดการพัฒนาแนวทางในการวิเคราะห์ได้แหลมคมมากขึ้น เช่น
-คนที่เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองเกิดจากความขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ก็จะโต้แย้งกับคนที่เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองเกิดจากสถาบันทางการเมือง ซึ่งเมื่อเกิดการโต้แย้งก็จะทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง
3.แนวการวิเคราะห์ช่วยทำให้เราตระหนักว่าทฤษฎีแต่ละทฤษฎีมีข้อจำกัด และพื้นฐานของแต่ละทฤษฎีเกิดจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน การนำทฤษฎีไปวิเคราะห์จึงต้องพิจารณาถึงจุดอ่อนของทฤษฎี
สรุป ประโยชน์ของแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ 
1.ช่วยในการเลือกสรรคำถาม และ เลือกสรรข้อมูลที่เราจะนำมาใช้ในการศึกษา 
2.Approach ช่วยเป็นกรอบหรือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการมองปัญหา กล่าวคือเมื่อเราเจอปัญหาทางการเมืองหนึ่งๆเราจะคิดได้ว่าเราควรจะมองปัญหานี้ด้วยมุมมองของแนววิเคราะห์ใดจึงจะดี 
    3.เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่สำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจเหตุการณ์ในทางการเมืองได้กระจ่างชัดขึ้น
4.เป็นเค้าโครงหรือโครงสร้างของสิ่งต่างๆที่ต้องการศึกษาหรือทำความเข้าใจ
การที่แนววิเคราะห์แต่ละแนวมีฐานความคิดแตกต่างกัน และมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ทำให้เกิดการโต้แย้งอยู่เสมอ ทำให้แนววิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์หรือแนวทางที่จะใช้ในการศึกษาความจริงทางการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ตามพัฒนาการของวิชารัฐศาสตร์ เราจึงต้องทำความเข้าใจกับพัฒนาการของวิชารัฐศาสตร์

2.พัฒนาการของวิชารัฐศาสตร์
แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ
ยุคที่ 1  คือยุคคลาสสิกหรือยุควางรากฐาน (Classical)
ยุคที่ 2   คือพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral)
ยุคที่ 3   คือหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-behavioral)
ยุควางรากฐานหรือยุคคลาสสิก (Classical Era) ในยุคนี้จะมีแนวทางการศึกษาหลัก 2 แนวคือ
-แนวปรัชญา (Philosophy  Approach) การศึกษารัฐศาสตร์แนวปรัชญาจะมีลักษณะสำคัญๆ คือ
1.มุ่งเน้นในการตั้งคำถามและคำตอบที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม และใช้ค่านิยม (Value) ส่วนตัวไปสร้างคำตอบ เช่นถามว่าผู้ปกครองที่ดีควรจะมีลักษณะอย่างไร การปกครองที่ดีควรเป็นแบบไหน 
คำถามในทางปรัชญาเหล่านี้จะมีคำตอบที่ต่างกันไปขึ้นอยู่กับความคิดของคนแต่ละคน อย่างไรก็คามคำถามเหล่านี้ยังคงเป็นคำถามมาจนถึงปัจจุบัน
เช่น คำถามว่าการปกครองที่ดีคืออะไร ตั้งแต่ 2475 ในประเทศไทยเราเชื่อว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยคือการปกครองที่ดี แต่ทุกวันนี้ก็เกิดคำถามมากมายว่าประชาธิปไตยดีจริงหรือ 
2.การศึกษาในแนวปรัชญาจะเป็นการศึกษาในเชิงตรรกะในการไตร่ตรองหรือการหาเหตุผล 
    3.วิธีการศึกษาทางปรัชญาจะใช้จินตนาการในการสร้างเนื้อหา    การที่นักปราชญ์ใช้จินตนาการในการสร้างเนื้อหาทำให้ปรัชญามักจะศึกษาในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเป็นการมองไปในอนาคต เช่นเรื่องของการมีองค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเป็นเรื่องที่นักปราชญ์ในอดีตพูดถึงมานานแล้ว แต่สังคมเพิ่งนำแนวคิดนี้มาใช้อย่างจริงจัง
    อย่างไรก็ตาม มีการวิพากษ์แนวการศึกษาแบบปรัชญาว่าเป็นการศึกษาที่เลื่อนลอยไม่อยู่ในโลกแห่งความจริง แต่คาดเดาด้วยตรรกะ และมีการนำเอาอคติของผู้ศึกษาเข้าไปเกี่ยวข้อง
    อย่างไรก็ตามนักวิชาการบางกลุ่มมองว่าการศึกษาปรัชญายังมีประโยชน์ เนื่องจากคำตอบในทางปรัชญาจำนวนมากในอดีตกลายเป็นหลักการที่สำคัญของสังคมปัจจุบัน และปรัชญายังช่วยทำให้คนเราตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับธรรมชาติและนำไปสู่การคิดเพื่อตอบคำถาม 
    -แนวนิติสถาบัน (Legal Institutional Approach) เป็นการศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมืองโดยอาศัยตัวบทกฎหมายและโครงสร้างสถาบันเป็นหลัก เช่นถ้าเราอยากจะศึกษาเรื่องพรรคการเมืองในประเทศไทยก็จะศึกษากฎหมายพรรคการเมืองว่ากำหนดบทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมืองว่ามีอะไร บ้างหรือไม่ก็ศึกษาจากโครงสร้างของพรรคการเมือง เช่นดูการจัดระเบียบโครงสร้างภายในพรรคว่าเป็นอย่างไร
    ข้อวิจารณ์ที่มีต่อแนวทางการศึกษาเชิงนิติสถาบัน
    1.มองว่าการศึกษาในแนวนิติสถาบันขาดความยืดหยุ่น
    2.มองว่าการศึกษาโดยยึดตัวบทกฎหมายทำให้มีการละเลยปัจจัยด้านอื่นๆ เช่นปัจจัยด้านประวัติศาสตร์ หรือวัฒนธรรมของแต่ละสังคม
    3.มองว่าการศึกษาในแนวนิติสถาบันละเลยการศึกษากระบวนการทางการเมืองที่เป็นจริง เพราะความเป็นจริงกับกฎหมายอาจจะเป็นคนละเรื่องกัน 
    4.การศึกษาแนวนิติสถานบันไม่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ เพราะสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    การวิจารณ์แนวทางการศึกษาแบบปรัชญาและแนวนิติสถาบันจะมาจากนักวิชาการในกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งนักวิชาการกลุ่มนี้ต้องการให้รัฐศาสตร์มีวิธีการศึกษาแบบใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการการศึกษาในยุคที่ 2 ที่เรียกว่า
    ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Era) ยุคนี้มองว่าการศึกษาในยุคคลาสสิกนั้นทำให้รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ขาดหลักเกณฑ์ จับต้องไม่ได้ ล้าสมัย ไม่มีความเป็นกลาง ไม่มีความเป็นศาสตร์ ยุคพฤติกรรมศาสตร์จึงต้องการให้วิชารัฐศาสตร์มีความเป็นศาสตร์มากขึ้น ซึ่งนักวิชาการกลุ่มนี้จึงเสนอให้เปลี่ยนวิธีการในการศึกษารัฐศาสตร์เสียใหม่
ความคาดหวังของนักพฤติกรรมศาสตร์
1.ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นกลาง (Neutrality) และปราศจากอคติ (Non-Biased) 
2.ต้องการค้นหาองค์ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล (Causality) ที่สามารถทดสอบได้ (Test) นั่นคือสามารถตอบคำถามได้ว่าอะไรคือสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมือง เช่นต้องตอบคำถามให้ได้ว่าทำไมคนกรุงเทพจึงออกมาใช้เสียงน้อยหกว่าคนต่างจังหวัด
3.นักพฤติกรรมศาสตร์ต้องการให้ความรู้ที่เกิดจากการศึกษามีประโยชน์ในการนำไปคาดการณ์หรือทำนายเหตุการณ์ (Prediction) ในอนาคตได้ 
     ลักษณะของการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์
    1.มีลักษณะที่เป็นระบบ (Systematic) ต้องสนใจข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical) และสามารถทำนายได้ (Predictive) 
    2.การศึกษาตามแนวพฤติกรรมจะเน้นศึกษาพฤติกรรมส่วนบุคคลและส่วนรวมเป็นหลัก หรือเอาพฤติกรรมของบุคคลและส่วนร่วมเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ (Individual & Collective Behavior as a Unit of Analysis) 
    3. การศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์จะต้องทำในแบบสหวิทยาการ หรืออาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชามาใช้ในการศึกษา
    4.พฤติกรรมศาสตร์จะเน้นในเรื่องวิธีการศึกษา (Methodology) เพราะพฤติกรรมศาสตร์เชื่อว่าวิธีการศึกษา หรือระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology ) ที่ชัดเจนจะนำไปสู่ผลการศึกษาที่ชัดเจน )
เนื่องจากนักพฤติกรรมศาสตร์มองว่าการศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมืองควรจะสภาพที่เป็นอยู่จริง (Being) ว่าเป็นอย่างไร ไม่ควรจะศึกษาสิ่งที่ควรจะเป็น (What Ought to be) เหมือนพวกปรัชญาศึกษา ทำให้ประเด็นหลักที่พวกพฤติกรรมศาสตร์ศึกษากันก็คือเรื่องของพฤติกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นจริงๆนั่นเอง
เช่นศึกษาพฤติกรรมในการเลือกตั้ง พฤติกรรมในการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยวิธีการของพฤติกรรมศาสตร์คือต้องการประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมืองหรือทางสังคมศาสตร์ เนื่องจากในยุคพฤติกรรมศาสตร์นั้นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลนั้นเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น
การศึกษารัฐศาสตร์ด้วยแนวทางพฤติกรรมศาสตร์ถือเป็นการปฏิวัติแนวทางในการศึกษารัฐศาสตร์ครั้งสำคัญ เนื่องจากพฤติกรรมศาสตร์ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการศึกษารัฐศาสตร์อย่างสิ้นเชิง
 ผลกระทบของการศึกษารัฐศาสตร์ตามแนวพฤติกรรมศาสตร์
1.มีผลกระทบต่อเนื้อของรัฐศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ทำให้เนื้อหาของการศึกษาหันมาศึกษาพฤติกรรมในทางการเมือง จากเดิมที่ศึกษาปรัชญา กฎหมายและสถาบัน
แต่เราพบว่าจากวิวัฒนาการของพฤติกรรมศาสตร์ซึ่งเริ่มต้นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นพฤติกรรมศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาอยู่ไม่กี่เรื่อง โดยทั่วไปก็มักจะศึกษาทัศนะคติเป็นส่วนใหญ่ เพราะนักพฤติกรรมศาสตร์มองว่าคนจะมีพฤติกรรมอย่างไรจะขึ้นอยู่กับทัศนคติ
ทำให้ผลงานวิจัยที่อยู่ในยุคพฤติกรรมศาสตร์จะเต็มไปด้วยเรื่องการวัดทัศนคติ เช่นทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัย
2.มีผลกระทบต่อวิธีการศึกษารัฐศาสตร์ คือ
-มีการนำเอาวิธีการที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางรัฐศาสตร์โดยตรง เช่นวิธีการทางสถิติ วิธีการทางคณิตศาสตร์ แคลคูลัส โดยเชื่อว่าวิธีการเหล่านี้ช่วยในการค้นหาความเป็นเหตุเป็นผลของปรากฎการณ์ทางการเมืองได้
-มีการนำเอาแนวความคิดในทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสังคมก็คือแนวความคิดในเรื่องกระบวนการในการค้นหาความรู้ เช่นถ้าวิจัยต้องเริ่มต้นจากสมมุติฐาน ต้องให้คำจำกัดความ ต้องมีเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ การเก็บข้อมูลจะต้องเป็นขั้นตอนที่เป็นที่ยอมรับ เป็นต้น
วิธีการที่พฤติกรรมศาสตร์นำมาใช้ในการศึกษาและประเด็นที่พฤติกรรมศาสตร์สนใจศึกษา กลายเป็นข้อจำกัดของการศึกษา 
ข้อวิจารณ์ต่อพฤติกรรมศาสตร์
    1.ในประเด็นความเป็นกลาง การที่พฤติกรรมศาสตร์มองว่าการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์จะทำให้เกิดความเป็นกลาง ถูกวิจารณ์ความเป็นกลางไม่มีจริง เพราะแค่เรื่องของคอนเซ็ปต์ ก็เป็นเพียงจินตนาการหรือความหมายที่เราสมมุติขึ้น เช่นคำว่าชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางในความคิดคนแต่ละคนก็ไม่ตรงกัน
    2.ในประเด็นบอกว่าการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์สามารถทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลได้นั้น จริงๆแล้วการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์ที่พยายามกำหนดตัวแปรและนำเอามาสร้างความสัมพันธ์ในสมการนั้น แต่พบว่าทุกสมการจะเปิดโอกาสให้เราคำนวณหาค่าความสัมพันธ์ระหว่าตัวแปรต่างๆได้เสมอแต่นั้นไม่ได้หมายความว่าความสัมพันธ์ที่เราค้นพบจะเป็นตัวบ่งบอกถึงความเป็นเหตุเป็นผล แต่อาจจะมีเพียงแค่มีความสัมพันธ์ ( Relation)  แต่ไม่เป็นเหตุเป็นผล ( Causation) ก็ได้    
    3.ในประเด็นที่บอกว่าทำนายได้ การทำนายได้หมายถึงการทำนายภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด หรือภายใต้ฐานคติเราตั้งไว้ หรือทำนายได้ภายใต้ปัจจัยเงื่อนไขต่างๆที่เรากำหนดให้มันคงที่ ซึ่งในทางการเมืองย่อมมีปัญหาเพราะ
ปรากฎการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
    จากผลกระทบที่เกิดจากการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์ดังกล่าวนำไปสู่การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคใหม่ที่เรียกว่า
    ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-Behavioral Era) นักรัฐศาสตร์ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์มองว่าการศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์นั้นมัวแต่ให้ความสนในแต่วิธีการศึกษามากว่าให้ความสนใจต่อเนื้อหา ทำให้ผลการศึกษาไม่ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาของสังคม
    ลักษณะของการศึกษารัฐศาสตร์ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ 
    1.จะเป็นการนำความรู้หลายสาขาวิชามาใช้ในการศึกษารัฐศาสตร์ หรือมีลักษณะของการเป็น Multi-Disciplinary หรือ Interdisciplinary เช่นถ้าเราจะศึกษาเรื่องการขายเสียงจะต้องเข้าใจทั้งในเรื่องวัฒนธรรม สังคมวิทยา ความยากจน ประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ใช้แต่ความรู้ทางรัฐศาสตร์อย่างเดียว
    2.การศึกษารัฐศาสตร์ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ให้สนใจปัญหาสังคมมากขึ้น หรือเป็นการศึกษาที่เอาปัญหาเป็นตัวตั้ง (Problem Oriented) จากเดิมที่ยุคพฤติกรรมศาสตร์จะเอาทฤษฎีเป็นตัวตั้ง (Theory Oriented ) และเอาทฤษฎีไปพิสูจน์กับปรากฎการณ์
    3.ยุคหลังพฤติกรรมจึงไม่สนใจที่จะสร้างทฤษฎี แต่จะศึกษาโดยเอามาปัญหามาดูกันอย่างลึกซึ้ง เพราะมองว่าการศึกษาอย่างลึกซึ้งเหล่านี้ก็จะนำไปสู่การเสนอทางเลือก หรือทางออก ในการแก้ปัญหา    
ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์จึงมีการศึกษารัฐศาสตร์โดยใช้แนววิเคราะห์ใหม่ๆเช่น เศรษฐศาสตร์การเมือง สังคมวิทยาการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นต้น
ทุกวันนี้การศึกษาการเมืองเป็นการศึกษายุคหลังพฤติกรรมศาสตร์จึงเกิดประเด็นทางการเมืองใหม่ๆให้ศึกษามากมาย แต่แนวทางศึกษาในยุคเก่าก็ยังคงถูกนำมาใช้ศึกษาด้วยเช่นกัน

3.แนวทางการวิเคราะห์สำคัญๆทางรัฐศาสตร์
ก่อนจะลงไปที่แนววิเคราะห์ที่สำคัญๆ นักศึกษาควรทราบความหมายของแนวการวิเคราะห์ เสียก่อน 
มีนักวิชาการให้ความหมายของแนวศึกษาวิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์ไว้หลากหลาย เช่น
อแลน ซี ไอแซค กล่าวว่าแนวการวิเคราะห์ในการศึกษาก็คือกลยุทธ์โดยทั่วไปที่เราใช้ในการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ในทางการเมือง โดยแนววิเคราะห์ในการศึกษาจะให้กรอบ ให้รูปแบบ ให้ตัวแบบ ให้แนวคิด เพื่อให้เราสามารถทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์ทางการเมืองในขอบข่ายที่กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยอาศัยแนวคิดหลักเพียงแนวคิดเดียว    
วิลเลี่ยม เอ. เวลช์ บอกว่า Approach คือชุดหรือกลุ่มของคอนเซ็ปต์ที่มุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญกับประเด็นทางการเมืองด้านใดด้านหนึ่ง โดยปกติ Approach จะประกอบไปด้วยคอนเซ็ปต์หลักเพียงคอนเซ็ปต์เดียว 
    เวอร์นอน แวน ไดค์ (Vernon Van Dyke) บอกว่า Approach หนึ่งๆจะประกอบด้วยมาตรการในการเลือกสรรปัญหาหรือคำถามที่จะนำมาพิจารณาและเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้ และจะบอกว่าข้อมูลชนิดใดที่สามารถนำมาใช้ได้และชนิดข้อมูลชนิดใดนำมาใช้ไม่ได้
    จากนิยามของนักวิชาการข้างต้น Approach ในทางรัฐศาสตร์ หมายถึงกรอบความคิด ที่มีแนวคิดหลักปรากฎอยู่เพียงแนวคิดเดียว ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองเป็นไปอย่างมีทิศทาง และมีขอบเขตที่ชัดเจน
    การวิเคราะห์การเมืองของนักรัฐศาสตร์นั้นมีหัวใจที่สำคัญอยู่ที่แนวทางการศึกษา (Approach) และกรอบความคิด (Conceptual Framework) ซึ่งถ้าขาด 2 สิ่งนี้การวิเคราะห์การเมืองของนักรัฐศาสตร์จะมีขีดความสามารถในการวิเคราะห์วิจารณ์ทางการเมืองที่ไม่ดีไปกว่าบทวิเคราะห์วิจารณ์ของนักหนังสือพิมพ์ หรือนักวิชาการสาขาอื่นๆในทางสังคมศาสตร์เลย หรืออาจจะคุณภาพด้อยกว่าอีกด้วย เพราะนักหนังสือพิมพ์มักจะมีข้อมูลลับจากวงในทางการเมืองดีกว่านักรัฐศาสตร์
    แนวทางการศึกษา หรือ Approach ทางการเมืองที่สำคัญๆ 
1.แนววิเคราะห์เชิงวัฒนธรรมการเมือง (Political Cultural Approach)
ความคิดรวบยอด : เชื่อว่าปรากฏการณ์ทางการเมืองเกิดจากวัฒนธรรมทางการเมืองของคนในสังคม
วัฒนธรรมการเมือง คือแบบแผนความคิดความเชื่อหรือค่านิยมของบุคคลในสังคมในระบบการเมืองใด และความคิดความเชื่อที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ เปรียบเสมือนแรงผลักที่ส่งผลต่อให้มนุษย์แสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางการเมืองในลักษณะใด
เช่น ในการเล่นการเมืองคนอเมริกานั้นพยายามจะผลักดันให้ตนเองเป็นที่รู้จักของคนในสังคม โดยสร้างผลงานให้มองเห็นเป็นระยะเวลานาน ต้องสร้างสมบารมี และผลงานยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นบุช อัลกอร์ หรือ นักการเมืองตระกูลเคเนดี้ จะต้องเริ่มต้นจากสนามการเมืองเล็กๆก่อนจะไต่เต้าขึ้นสู่ระดับสูง
คนอเมริกันถ้ามีข้อบกพร่องแทบจะเล่นการเมืองไม่ได้ เช่นวุฒิสมาชิกเอ็ดเวิร์ด เคเนดี้ไม่กล้าลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเพราะเคยขับรถตกน้ำและทำให้เลขาตาย ก็กลายเป็นปมด้อยทางการเมืองมาจนปัจจุบัน
แต่บ้านเรานั้นคนที่เล่นการเมือง ไม่จำเป็นต้องสะสมบารมี แต่จำนวนมากเป็นทายาททางการเมืองของนักการเมืองรุ่นเก่า ต้องมีนามสกุลดี มีฐานะร่ำรวย เช่นบางจังหวัด ส.ส.จะเป็นคนนามสกุลเดิมๆมาตลอด เช่นอังกินันท์ ศิลปอาชา เทียนทอง และอาศัยเส้นสายโยงใยเข้ามาเป็น ส.ส. นักการเมืองไทยจำนวนน้อยเท่านั้นจะอาศัยประสบการณ์ อาศัยความดีและการรับใช้สังคม จนมีคนเลือกเข้ามาเป็นผู้แทน
ยิ่งสังคมไทยเป็นวัฒนธรรมยอมรับอำนาจของคนมีเงิน มีบารมี ทำให้คนไทยไม่สนใจที่จะตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองที่เป็นคนมีบารมีเหล่านี้ ทำให้การเมืองไทยทุกวันนี้จึงยังมีปัญหา
การนำแนววิเคราะห์เชิงวัฒนธรรมไปใช้ : 
-ระบุให้ได้ว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของคนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือประเด็นทางการเมืองที่เราจะวิเคราะห์คืออะไร
-บอกว่าวัฒนธรรมดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาทางการเมือง (ตามประเด็นที่เราจะวิเคราะห์อย่างไร) 

1.แนววิเคราะห์การพัฒนาทางการเมือง Political Development Approach
ความคิดรวบยอด : การเมืองจะพัฒนาจากการเมืองแบบเก่าไปสู่การเมืองแบบใหม่ โดยต้องอาศัยปัจจัยบางอย่าง (ปัจจัยอะไรบ้างขึ้นอยู่กับแนวคิดของนักวิชาการแต่ละคน)
การพัฒนาทางการเมือง หมายถึงการเปลี่ยนแปลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคม มีเป้าหมายเพื่อให้การแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพเป็นธรรมมากว่าเดิม
    แต่นักวิชายังมีมุมมองที่เกี่ยวกับคำว่าพัฒนาการเมืองที่หลากหลายเช่น
1.มองว่าการพัฒนาทางการเมืองเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ คือเศรษฐกิจจะเจริญเติบโตได้หากการเมืองได้รับการพัฒนา
    2.นักวิชาการบางกลุ่มมองว่าการเมืองที่พัฒนาจะปรากฎอยู่ในสังคมอุตสาหกรรม แสดงว่าในสังคมอุตสาหกรรมจะมีแบบแผนทางการเมืองเฉพาะอย่างต่างจากแบบแผนทางการเมืองในสังคมอื่นๆ ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรม
    3.นักวิชาการที่มองว่าการพัฒนาทางการเมืองเป็นเงื่อนไขที่ปรากฎในระบบการเมืองที่ทันสมัย โดยสังคมที่ทันสมัยคือสังคมที่เปิดโอกาสให้คนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยความเสมอภาค มีการกำหนดกฎ กติกา ที่เป็นสากล
4.นักวิชาการที่มองว่าการพัฒนาทางการเมืองเป็นสภาพการณ์ทางการเมืองของสังคมประชาธิปไตย คือมองว่าหากเป็นประชาธิปไตยสังคมนั้นจะพัฒนาแล้ว
    แนวคิดนี้ก็ถูกโจมตีว่าลำเอียงในเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง เพราะหลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตยก็ยังไม่มีระดับของการพัฒนาทางการเมือง
    5.นักวิชาการในกลุ่มที่มองว่าการพัฒนาทางการเมืองนั้นเป็นสภาพการเมืองในระบบรัฐชาติ (State-Nation) คำว่ารัฐเป็นเงื่อนไขทางรัฐศาสตร์ส่วน nation เป็นเงื่อน ไขทางสังคมวิทยา ซึ่งรัฐต้องประกอบไปด้วย รัฐบาล ประชากร ดินแดนและอำนาจอธิปไตย
    6.แนวคิดที่บอกว่าการพัฒนาการเมืองคือเรื่องของการระดมพลทรัพยากรมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ 
    7.แนวคิดที่บอกว่าระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วคือระบบการเมืองที่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นไปอย่างมีระเบียบและมีเสถียรภาพ
     ซึ่งในความเป็นจริงก็พบว่าระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพก็ไม่ได้เป็นระบบการเมืองที่พัฒนา เช่นระบบการเมืองของอินโดนีเซียภายใต้การนำของซูอาร์โต ระบบการเมืองของอูกันดาภายใต้การนำของ อีดี้ อามิน ที่ดำรงตำแหน่งอยู่อย่างยาวนาน
8. แนวคิดที่บอกว่าการพัฒนาทางการเมืองคือระบบการเมืองที่มีการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 
9.แนวคิดที่บอกว่าระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วคือระบบการเมืองที่สามารถพัฒนากฎหมายและสถาบันทางการเมือง คือมีสถาบันการเมืองที่เกิดขึ้นและทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
10.แนวคิดสุดท้ายจะบอกว่าการพัฒนาทางการเมืองคือการเปลี่ยนแปลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมที่มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย
ปัจจัยของการวัดระดับของการพัฒนาทางการเมือง
ลูเชี่ยน พาย (Lucian Pye) เสนอสิ่งที่เรียกว่า Syndrome of Development 
1.ระบบการเมืองนั้นจะต้องมีโครงสร้างทางการเมืองที่หลากหลาย (Differentiation) แต่ละโครงสร้างแต่ละหน่วยต้องทำหน้าที่เฉพาะอย่าง (Specialization) 
2.ความเสมอภาค (Equality) พายกล่าวว่าระบบการเมืองใดที่สมาชิกของสังคมได้รับการปฏิบัติจากรัฐด้วยความเสมอภาคกัน ระบบการเมืองนั้นก็จะได้ชื่อว่ามีการพัฒนาสูง 
3.Capacity คือสมรรถนะของระบบการเมืองถ้าระบบการเมืองที่มีสมรรถนะสูง มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นในสังคม  เป็นระบบการเมืองที่มีการพัฒนาสูง
หลักการของการพัฒนาทางการเมือง อัลมอลและพาวเวลล์ แบ่งลักษณะระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วออกเป็น 3 ประการ คือ
1.Differentiation of Political Structure คือสังคมนั้นต้องมีความหลากหลายของโครงสร้างทางการเมือง
2.Secularization of Political Culture ดูจากวัฒนธรรมทางการเมืองว่าตั้งอยู่บนหลักการของเหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์
3.Subsystem Autonomy หมายถึงระบบการเมืองที่ทันสมัยจะมีโครงสร้างย่อยๆในระบบการเมืองที่มีอิสระในการทำหน้าที่ของตนเอง 
3.แนววิเคราะห์ชนชั้นนำ (Elite Approach)
ความคิดรวบยอด : ปรากฎการณ์ทางการเมืองเป็นผลผลิตที่เกิดจากชนชั้นนำในสังคม 
แนววิเคราะห์ชนชั้นนำมองว่าในสังคมจะประกอบไปด้วยคน 2 ชนชั้นคือชนชั้นนำและคนชนชั้นล่าง
ชนชั้นนำ หมายถึง คนส่วนน้อยในสังคมที่มีอำนาจครอบงำคนชั้นล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม เนื่องจาก ชนนั้นนำเป็นคนที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ คือมีเงินทองและความร่ำรวย เมื่อมีความร่ำรวยทำให้สามารถใช้ความร่ำรวยในการแสวงหาอำนาจทางการเมือง เมื่อมีอำนาจทางการเมือง อำนาจในด้านอื่นก็จะเพิ่มพูนขึ้น และทำให้ชนชั้นนำเป็นคนกำหนดชะตากรรมของคนทั้งสังคม
สาเหตุที่ชนชั้นนำสามารถกำหนดความเป็นไปของสังคมได้ เพราะชนชั้นนำมีลักษณะต่างๆคือ
-ชนชั้นนำมีจำนวนน้อยทำให้ติดต่อสื่อสาร รวมกันอย่างเหนียวแน่น และพบว่าชนชั้นนำยังมีการเกี่ยวดองกันในรูปของเครือญาติผ่านการแต่งงานข้ามตระกูลกัน
-มีความคิด รสนิยม การใช้ชีวิต แบบเดียวกัน  จบจากโรงเรียนเดียวกัน  
-มีผลประโยชน์สอดคล้องกัน
แนวคิดชนชั้นนำจึงมองว่าการเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นนำ ทำให้การกำหนดนโยบายต่างๆเป็นไปเพื่อชนชั้นนำ โดยชนชั้นล่างได้รับประโยชน์แต่เพียงเล็กน้อย ผลประโยชน์ที่ชนชั้นนำจัดสรรให้ชนชั้นล่างเป็นการจัดสรรให้เพียงเพื่อไม่ให้ชนชั้นล่างรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบจนเกินไป และลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจของชนชั้นนำเท่านั้น
การนำแนววิเคราะห์ชนชั้นนำมาอธิบายการเมืองไทย
แนววิเคราะห์ชนชั้นนำสามารถนำมาอธิบายการเมืองไทยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคนที่เข้าไปมีอำนาจทางการเมืองเวลานี้คือชนชั้นนำทางธุรกิจเพียงไม่กี่ตระกูล ทำให้ชนชั้นนำเหล่านี้เข้าไปกำหนดบทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเอง 
    สำหรับการเมืองไทยชนชั้นนำที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในระยะแรกคือทหาร ข้าราชการระดับสูง โดยมีนักธุรกิจอยู่เบื้องหลังในการสนับสนุน ข้าราชการทหารเหล่านั้น ต่อมาเมื่อการเมืองมาอยู่ในมือของนักการเมือง นักธุรกิจก็มาสนับสนุนนักการเมือง และพรรคการเมือง แต่ทุกวันนี้นักธุรกิจเข้ามาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว 
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการแบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 กลุ่มโดยกว้างๆออกเป็นชั้นนำและชนชั้นล่างมานานแล้ว และชนชั้นนำเป็นชนชั้นที่มีบทบาทในการควบคุมความเป็นไปของชนชั้นล่างไม่ว่าจะเป็นยุคที่กษัตริย์ปกครองประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าตนเองเป็นไพร่ฟ้าที่ต้องคอยรับอำนาจและความกรุณาของชนชั้นนำ มาจนถึงยุคประชาธิปไตย คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมองว่าตนเองเป็นแค่ราษฎรที่ต้องคอยรับนโยบายจากรัฐ โดยไม่ลุกขึ้นมามีบทบาทในทางการเมืองแต่อย่างใด ปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของคนไม่กี่คน มาจนถึงทุกวันนี้ การเมืองไทยอยู่ภายใต้กำมือของตระกูลธุรกิจไม่กี่กระกูล และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลทางการเมืองก็จะมีชนชั้นนำแบบทหารและข้าราชก
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 18/01/2015 08:08
2
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
                                             
สรุป Plan A
                               การเมืองการปกครอง
          ประเด็นสำคัญที่ต้องเตรียมคือ
          1.สาระสำคัญของวิชา 710
            -ความคิดรวบยอดของสังคมวิทยาการเมือง
            -แนวคิดความทันสมัย
            -ตัวแบบความทันสมัยกับความไร้เสถียรภาพทางการเมืองของฮันติงตัน
            -ตัวแบบความไร้เสถียรภาพทางการเมืองของมาร์ติน ลิบเซ็ท
            2.สาระสำคัญของวิชา 712
            -ความคิดรวบยอดของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
-รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
-จุดอ่อน (ข้อจำกัด) ของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
3.เหตุการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
            สาระสำคัญของวิชา 710
          ความคิดรวบยอด
            สังคมวิทยาการเมือง เป็นวิชาที่มองว่าปัจจัยทางสังคมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และปัจจัยทางการเมืองมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่สำคัญปัจจัยทางสังคมเป็นปัจจัยที่มองไม่เห็น แต่จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อเหตุการณ์ทางการเมืองที่เรามองเห็น เป็นเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำจะเป็นก้อนใหญ่มหึมามากกว่าส่วนที่อยู่พ้นน้ำ (ตามทฤษฎีถูเขาน้ำแข็ง หรือ Iceberg)
            ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการเมืองที่วิชา 710 เน้นมากที่สุดคือ เรื่องของความทันสมัย (Modernization)
            ดังนั้นในวิชา 710 จะต้องให้ความสนใจกับแนวคิดเกี่ยวกับความทันสมัย

          ความหมาย

            ความทันสมัยหมายถึงกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงจากภาวะดั้งเดิมไปสู่ภาวะที่ทันสมัย
            ทาร์คอต พาร์สัน บอกว่ากระบวนการทันสมัยเป็นเรื่องความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนสภาพการณ์ใน 4 ประการ ซึ่งเป็นสภาพการณ์หลักที่ปรากฎในสังคมดั้งเดิมที่จะต้องปรับให้เป็นสภาพการณ์ใหม่คือ
            1.ต้องปรับเปลี่ยนจาก Particularistic ให้เป็น Universalistic หมายถึงการที่กฎหมายระเบียบต่างๆที่เคยออกมาบังคับใช้เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล ต้องปรับเปลี่ยนให้บังคับใช้กับทุกคน หรือบุคคลจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันอัน
2.เปลี่ยนจากสภาพ Diffuse ให้เป็น Specific หมายบทบาทที่คนคนเดียวต้องทำหน้าที่หลายอย่างที่เรียกว่า Diffuse Function ต้องถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นลักษณะที่แต่ละคนทำหน้าที่เฉพาะอย่างเพื่อเกิดความชำนาญเฉพาะด้านหรือ Specific
3. ต้องเปลี่ยนจาก Ascriptive มาเป็น Achievement หมายถึงการสืบทอดตำแหน่งในสังคมดั้งเดิมจะเป็นไปตามสายเลือด แต่ในสังคมสมัยใหม่จะต้องใช้ หลักแห่งสัมฤทธิผลและหลักแห่งความยุติธรรมเป็นสำคัญ
            ปัจจัยที่ทำให้เกิดความทันสมัย จะมี 2 ปัจจัยคือ
            1.การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development )
            2.การพัฒนาสังคม ซึ่งในที่นี้ทำโดยการพัฒนาการศึกษา และกระบวนการกล่อมเกล่าคนในสังคมให้เปลี่ยนจากเดิมไปสู่สภาวะที่ดีขึ้น ที่อาจารย์สิทธิพันธ์เรียกว่ากระบวนการของเก่าถอดทิ้ง หรือ (Social Mobilization)
            ทั้ง Economic Development และ Social Mobilization จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
            นักศึกษาจะต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการ Social Mobilization มีผลต่อการเมืองอย่างไร
 
 
ผลกระทบของ Social Mobilization ที่มีต่อการเมือง
คาร์ล ดอยช์ บอกว่าในสังคมที่มีระดับของ Social Mobilization สูงจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3 ประการ คือ
1.ทำให้คนที่มีระดับ Social Mobilization สูงทิ้งแบบแผนการดำเนินชีวิตแบบเก่า เพราะคนพวกนี้จะมีความรู้ความเข้าใจสูงขึ้น และจะเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้นอันมีผลมาจากการคาดหวัง ความทะเยอทะยานสูงขึ้น
2.ทำให้สถาบันทางการเมืองมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คนเข้าไปเรียกร้องทางการเมืองมาขึ้น รัฐจะดำรงอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพก็ต่อเมื่อสร้างสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็งมารองรับ
3.Social Mobilization ส่งผลให้ที่มาของผู้นำทางการเมืองจะแปรเปลี่ยนไป คือในสังคมแบบดั้งเดิมผู้นำทางการเมืองจะมาจากฐานของความชอบธรรมทางประเพณี แต่ในสังคมที่ทันสมัยผู้นำจะมีกฎหมายมารองรับความชอบธรรม (Legal-Rational) 
ปัจจัยที่ใช้วัดระดับของ Social Mobilization
1.จำนวนคนที่มีความเป็นอยู่ที่ทันสมัย
2.วัดจากคนที่สัมผัสสื่อสารมวลชนในรูปแบบต่างๆว่ามีมากน้อยแค่ไหน
3.วัดจากจำนวนคนที่เปลี่ยนที่อยู่อาศัยไปสู่ที่ดีกว่าเก่า
4.ดูจากการขยายตัวของสังคมเมือง เพราะการที่เมืองขยายตัวทำให้คนรับสิ่งใหม่ๆ
5.วัดจากจำนวนคนที่เปลี่ยนอาชีพจากกสิกรเป็นอาชีพอย่างอื่น
6.วัดจากจำนวนผู้รู้หนังสือ
7.วัดจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคน
            ผลกระทบของการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีต่อการเมือง
1.Identity Crisis ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านความผูกพันเช่น ในสังคมแบบเก่าคนจะมีความผูกพันกันสูง คนจะเชื่อผู้นำ แต่ในสังคมสมัยใหม่ต้องให้คนหันมายอมรับสถาบันและกฎหมายใหม่ๆ ปัญหาความผูกพันก็จะเกิดขึ้น
            2.Legitimacy Crisis หมายถึงวิกฤตแห่งความชอบธรรม ผู้นำที่มาจากฐานความชอบธรรมแบบเก่าๆ ก็จะไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป
            3.Political Participation Crisis วิกฤตการณ์ในด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะสังคมที่ทันสมัยสูงขึ้น คนจะมีการเคลื่อนย้ายทางสังคมสูง คนมีความคิดอ่านมากขึ้น คนมีความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญทางการเมืองมากขึ้น
          4.Penetration Crisis วิกฤตการณ์ในการเข้าถึงประชาชน ในยุคก่อนนั้นรัฐจะขยายการบังคับบัญชาได้ในแวดวงที่จำกัด แต่เมื่อสังคมมีทันสมัยมากขึ้น รัฐจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับประชาชนมากขึ้นไปก็จะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้
            5. Distribution Crisis วิกฤติการณ์ในเรื่องการแจกแจงบ่งสรรทรัพยากร เพราะในสังคมที่ทันสมัยคนจะความต้องการต่างๆมากขึ้น แต่รัฐบาลมีทรัพยากรที่จำกัด
          6. Integration Crisis วิกฤติการณ์ในเรื่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งก็เกิดมาจากการที่รัฐไม่สามารถสนองตอบความต้องการได้เท่าเทียมกัน
            ตัวแบบของฮันติงตัน
            แซมมวล พี. ฮันติงตัน กล่าวว่าการพัฒนาเศรษฐกิจว่ามีผลความไร้เสถียรภาพทางการเมือง โดยมองว่าในสังคมที่ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสูงจะมีระดับความทันสมัยสูง ซึ่งส่งผลให้ระดับของ Social Mobilization สูง จะทำให้คนในสังคมมีความกระตือรือร้นทางการเมืองสูง มีความสำนึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่รัฐบาลจะต้องหันมาเหลียวและ คนในสังคมจะมีความทะยานอยากที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
ถ้าสังคมนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการจากการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองได้ คนจะเกิดความคับข้องใจทางสังคม หรือมีระดับ Social Frustration สูง แต่หากสังคมนั้นเป็นสังคมที่มี Mobility Opportunity หรือเป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้คนมีการขยับขยายฐานนะทางสังคมได้สูง ก็จะไม่มีปัญหาผลกระทบทางการเมืองแต่อย่างใด
แต่ถ้าสังคมที่คนมีขับข้องใจ แต่ความขับข้องใจดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนอง หรือสังคมนั้นเป็นสังคมปิดไม่เปิดโอกาสให้มีการขยับขยายทางสังคมจะทำให้คนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) เป็นจำนวนมาก
สังคมใดที่คนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองจำนวนมากและในรูปแบบที่รุนแรงเช่นการประท้วง การเรียกร้องความต้องการแต่สถาบันทางการเมืองไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอก็จะเกิดสภาพความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (Political Change) ในที่สุด
ตัวอย่าง การนำเอาตัวแบบของฮันติงตันมาอธิบายการเมืองไทย
1.การเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475
2.เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 16 ตุลาคม 2519
3.เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535
4.เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
            ทั้ง 4 เหตุการณ์ล้วนเป็นผลที่มาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ทั้งสิน ดังจะได้อธิบายทีละเหตุการณ์ดังนี้
            การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี 2475            
ถ้าพิจารณาตามแนวคิดของฮันติงตัน เหตุการณ์ปี  2475 เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมกับการพัฒนาการเมือง
กล่าวคือในสมัยของรัชกาลที่ 5 ทรงมีนโยบายพัฒนาประเทศโดยการสร้างความทันสมัย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก เช่นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในการนี้ทำให้พระองค์มีความจำเป็นในการส่งคนไทยไปเรียนในต่างประเทศเพื่อรองรับงานด้านต่างๆที่เกิดจากการปฏิรูปประเทศ 
ผลที่เกิดขึ้นจากนโยบายนี้ทำให้คนไทยที่ไปเรียนต่างประเทศรับแนวคิดตะวันตกเข้ามา ต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลที่ 6 และสุดท้ายคนเหล่านี้ก็มีความต้องการที่จะเข้ามีส่วนร่วมในทางการเมือง แต่ระบบการเมืองยังไม่มีการพัฒนา ระบบกษัตริย์ไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางการเมืองของปัญญาชนที่ไปศึกษาต่อในต่างประเทศได้ ในที่สุดก็นำมาซึ่งการรวมตัวของนายทหารลุกขึ้นมายึดอำนาจจากกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 16 ตุลาคม 2519
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 16 ตุลาคม 2519 ก็เป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆมาตั้งแต่ปี 2505 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้านการศึกษาและการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่นมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ส่งผลให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองมากขึ้น นักศึกษาตามมหาวิทยาลัยมีความคิดความอ่านที่ได้รับรู้จากการศึกษา
ขณะที่การเมืองยังเป็นเผด็จการ สถาบันการเมืองที่อยู่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและประชาชนได้ เกิดสิ่งที่เรียกว่าการแช่แข็งทางการเมือง ทั้งยังมีปิดกั้นการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน มีการห้ามชุมนุมกันทางการเมือง ห้ามผู้ใช้แรงงานรวมตัวกันเป็นสมาพันธ์ ลักษณะดังกล่าวทำให้นักศึกษาและประชาชนเกิดความขับข้องใจ
ทำให้เกิดการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองครั้งใหญ่ด้วยการออกมาชุมนุมประท้วงของนักศึกษาและประชาชน จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและมีการขับไล่รัฐบาลเก่าให้ออกจากตำแหน่งในที่สุด
ตรงนี้เป็นความไม่สมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาทางการเมือง สุดท้ายก็นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงและการล่มสลายทางการเมือง
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535
แนวคิดการพัฒนาที่ไม่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาการเมืองยังสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 เนื่องจากก่อนจะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของไทยมีการเติบโตสูงมาก จากนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลพลเอกชาติชาย การเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ชนชั้นกลางในสังคมไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมๆกับระบบการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยมากขึ้น โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนมีมากขึ้น แต่เมื่อเกิดเหตุการ์ณ รสช. ที่นายทหารที่นำโดยพลเอกสุนทร คงสมพงศ์ ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเอกชาติชาย และมีการสืบทอดอำนาจโดยการให้พลเอกสุจินดา คราประยูรเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ชนชั้นกลางซึ่งเป็นคนที่มีทั้งความรู้ มีฐานะทางเศรษฐกิจ และเป็นกลุ่มคนที่มีความตระหนักในความสำคัญของตนเองในทางการเมือง (Self Political) จึงเข้าร่วมชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาลที่มาจาก รสช. จนทำให้ม๊อบปี 2545 ถูกเรียกว่าม๊อบชนชั้นกลางหรือม๊อบมือถือ
การที่ทหารพยายามทำให้การเมืองกลับไปสู่การเมืองแบบเก่า จึงเป็นภาวะที่ไม่สมดุลกับความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง อันเกิดจากคนมีการศึกษาและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ความขัดแย้งระหว่างทหารและประชาชนลุกลามจนกลายเป็นการนองเลือดในที่สุด
            เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
            การรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน ยิ่งสะท้อนให้เห็นการพัฒนาที่ไม่สมดุล ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม เทคโนโลยี และการเมือง
ทั้งนี้เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่นำมาสู่การปฏิรูปการเมืองในปี 2540 เป้าหมายของการปฏิรูปการเมืองก็เพื่อให้การเมืองเป็นการเมืองของพลเมืองแทนที่จะเป็นการเมืองของ ส.ส. ทุกวันนี้การเมืองไทยจึงเป็นขั้นตอนของความพยายามที่จะเปลี่ยนประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Democracy) มาเป็นการเมืองแบบมีส่วนร่วมหรือ Participatory Democracy
            รัฐธรรมนูญปี 2540 มีผลทำให้คนไทยตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น เกิดการรวมตัวในรูปประชาสังคมมากมาย และความพร้อมในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น
แต่ปรากฏว่าในทางการเมืองรัฐบาลที่นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ กลับใช้อำนาจในการบริหารประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ อันเนื่องจากการมีอำนาจทุนอยู่ในมือ และใช้อำนาจในการแทรกแซงองค์กรทางการเมืองอื่นๆ จนทำให้องค์กรหรือสถาบันการเมืองต่างๆไม่ได้ทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น เช่น
-สภาผู้แทนเป็นสถาบันที่ไม่ทำหน้าที่ของตนเอง เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ส่วนใหญ่สังกัดพรรครัฐบาล ส.ส.จึงทำหน้าที่สนับสนุนรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีจนลืมทำหน้าที่นิติบัญญัติ หรือหน้าที่ตัวแทนประชาชน
-วุฒิสภา วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นวุฒิสภาที่ไม่ทำหน้าที่ของตนเองในการตรวจสอบและกรั่นกรองการใช้อำนาจรัฐ ทั้งยังปฏิบัติตนไม่เป็นไปตามกฎหมาย เช่นกฎหมายสั่งห้ามไม่ให้สังกัดพรรค แต่ ส.ว.หลายคนขายตัวให้กับพรรคการเมือง
-องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่นกกต.เป็นองค์กรอิสระที่อื้อฉาวที่สุดถึงการไม่ทำหน้าที่จนทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาและ กกต.หลายคนต้องถูกฟ้องร้องและถูกจำคุก

-พรรคการเมือง ตามหลักการแล้วพรรคการเมืองจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำเสนอนโยบายตามความต้องการของประชาชน แต่พรรคไทยรักไทยในฐานะพรรครัฐบาลกลับนำเสนอนโยบายหลายอย่างที่เป็นการตอบสนองความต้องการของนายทุนพรรคตนเอง จนกลายเป็นที่มาของปัญหาคอรัปชั่นเชิงนโยบาย

            ในขณะที่รัฐบาลทักษิณพยายามจะทำให้การเมืองไทยเป็นการเมืองแบบเผด็จการโดยทุนนิยม ซึ่งขัดแย้งกับการตระหนักถึงความสำคัญของการเมืองภาคพลเมืองของประชาชน ในทางสังคมกลับมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการพัฒนาของสื่อสารโทรคมนาคม โดยเฉพาะความทันสมัยของระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีผลทำให้ประชาชนรับรู้ข่าวสารทางการเมืองได้อย่างรวดเร็ว
            ประเด็นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นการพัฒนาที่ไม่เท่ากันระหว่างการเมือง กับการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี สุดท้ายเมื่อประชาชนรับรู้พฤติกรรมในทางไม่ชอบของรัฐบาลจึงออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวผ่านการสื่อสาร สุดท้ายก็ทำให้เกิดวิกฤติการเมือง และนำมาสู่การล่มสลายของระบอบประชาธิปไตย และทำให้ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง
            จากตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงผลของการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลต่อการพัฒนาทางการเมือง และหากการพัฒนาทั้ง 2 ด้านไม่มีความสมดุลกันความล่มสลายทางการเมืองก็จะเกิดขึ้น
ตัวแบบของมาร์ติน ลิบเซ็ท
Seymour Martin Lipset มองว่าเสถียรภาพทางการเมืองของระบบการเมืองขึ้นอยู่กับตัวแปร 2 ตัวคือ (1) ประสิทธิผล และ (2) ความชอบธรรมของระบบการเมือง ซึ่ง Lipset จะใช้ตัวแปรทั้งสองตัววัดแนวโน้มของเสถียรภาพทางการเมืองที่ปรากฏอยู่ในการเมืองใดๆ

 
 
 
 
 
 
 
 

จากตาราง
Legitimacy+ คือรัฐบาลที่มีความชอบธรรมทางการเมืองสูง มาจากการเลือกตั้ง และประชาชนให้การยอมรับมาตั้งแต่แรก
Legitimacy- คือรัฐบาลที่ประชาชนไม่ให้การยอมรับมาตั้งแต่แรก อาจมาจากการการปฏิวัติหรือยึดอำนาจจากคนอื่นมา
Effectiveness จะคำนึงถึงผลระยะยาว มีเป้าหมาย มีการวางแผน และมีขั้นตอนที่ชัดเจน รัฐบาลที่ดำเนินการไปทีละขั้นตอนที่วางแผนเอาไว้เพื่อทำให้เกิดความกินดีอยู่ดีของประชาชน ถือว่าเป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เช่นการสร้างเขื่อน
ส่วนประสิทธิภาพ จะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในเป้าหมายระยะสั้น เช่น การช่วยเหลือประชาชนที่ถูกน้ำท่วมบ้าน
จากแนวคิดนี้ได้แบ่งประสิทธิภาพออกเป็น 4 กลุ่มคือ
A คือรัฐบาลที่มีความชอบธรรมสูง มาจากการเลือกตั้ง มีการวางแผนงานและดำเนินการตามแผนเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน รัฐบาลกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีเสถียรภาพสูงสุด
B คือรัฐบาลที่ประชาชนไม่ได้ให้การต้อนรับมาตั้งแต่แรก แต่เมื่อได้เป็นรัฐบาลแล้วก็สามารถวางแผนงาน กำหนดนโยบาย และพยายามดำเนินการตามแผนต่างๆ เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ รัฐบาลกลุ่มนี้จะมีเสถียรภาพทางการเมืองสูง เช่น รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
C คือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ไม่มีโครงการหรือแผนงานใดเลย อยู่ไปวันๆ รัฐบาลกลุ่มนี้ค่อนข้างจะไร้เสถียรภาพ
D คือรัฐบาลที่เข้ามาสู่อำนาจจากการแย่งชิง เมื่ออยู่ในอำนาจก็ไม่ได้ทำอะไรใหม่ ไม่สามารถสร้างอะไรให้ประชาชนเลย เป็นรัฐบาลกลุ่มที่ไร้เสถียรภาพค่อนข้างสูง
เช่นรัฐบาลทักษิณถือว่าเป็นรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพสูง เพราะมีผลงานมากมายแต่สุดท้ายก็ขาดความชอบธรรมเนื่องจากมีการคอรัปชั่นเชิงนโยบาย แก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองและครอบครัว ตัวนายกรัฐมนตรีถูกมองว่าทำธุรกิจไปพร้อมกับการทำหน้าที่ผู้นำประเทศ เป็นต้น
รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
1.การปฏิวัติ (Revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานภายในสังคมที่ใช้ความรวดเร็วและรุนแรง มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยม เปลี่ยนความเชื่อที่สำคัญๆของสังคม เปลี่ยนสถาบันทางการเมือง เปลี่ยนโครงสร้างของผู้นำ เปลี่ยนกิจกรรมและนโยบายต่างๆของรัฐบาล
สาเหตุของการปฏิวัติ การปฏิวัติเกิดจากการที่ระบบไม่สามารถทำหน้าที่ (Dysfunction) ต่อไปได้ เพราะ
1.มาจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ เจมส์ เดวี่ ที่บอกว่าการปฏิวัติจะเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจที่กำลังก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆเกิดตกต่ำอย่างฉับพลัน
2.สภาพการทางการเมือง เช่นมีความขัดแย้งกันในรัฐบาลจนทำให้รัฐบาลขาดความชอบธรรม
3.เกิดจากสภาพการณ์ทางจิตวิทยา เช่น เทด โรเบิร์ต เกอร์ บอกว่าการปฏิวัติเกิดจากการไม่พึงพอใจ (Discontent) ของประชาชนเกิดที่รู้สึกว่าพวกเขาถูกฉกฉวยผลประโยชน์ที่เขาควรจะได้รับในเชิงเปรียบเทียบ โดยเฉพาะถ้าความเดือดร้อนหรือความไม่พอใจนั้นถูกทำให้เป็นประเด็นทางการเมืองหรือ Politicize
2.การปฏิรูป (Reform) การปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการปฏิวัติการปฏิรูปเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีขอบเขตที่จำกัด ในบางประเด็นที่เป็นปัญหาและพยายามแก้ไขประเด็นนั้น แต่การปฏิวัตินั้นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งสังคม
และถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงผู้นำ เปลี่ยนแปลงนโยบายและสถาบันทางการเมืองในระดับปานกลาง ขณะที่การปฏิวัตินั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับลึก แบบพลิกฝ่ามือ
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยหลายปรากฎการณ์ที่เกิดจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอันสืบเนื่องมาจากสังคมนั้นๆมีระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจและระดับของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่ขาดระดับของการพัฒนาการเมืองที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 16 ตุลาคม พฤษภาทมิฬ จนกระทั่งการปฏิรูปการเมือง 2540 และการปฏิรูปการเมือง 2550 ที่กำลังดำเนินอยู่

 

สาระสำคัญของ 712

            แนวคิดรวบยอด
            การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) ถือเป็นประเด็นที่สำคัญมากๆในปัจจุบัน เพราะแนวโน้มของการเมืองไทยและการเมืองในระดับโลกคือการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน จากเดิมที่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยในแบบตัวแทน (Representative Democracy)
            สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้การเมืองเปลี่ยนจากประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนมาสู่ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ก็เนื่องจากที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าระบบตัวแทน ไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุด ซ้ำยังเป็นระบบที่ก่อให้เกิดปัญหามากมาย และปัญหาที่ว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลก ดังที่อาจารย์วุฒิศักดิ์บอกให้ฟังว่าผลการสำรวจว่าสถาบันใดที่ประชาชนในหลายประเทศมั่นใจน้อยที่สุดคือสถาบันทางการเมือง
            ในประเทศไทยเราจึงพยายามเปลี่ยนแปลงการเมืองของเราจากประชาธิปไตยแบบตัวแทนมาเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม หรือเรียกอีกอย่างว่าเปลี่ยนการเมืองของนักการเมืองมาเป็นการเมืองของพลเมือง
            รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่พยายามสร้างกลไกตรงนี้ให้เกิดขึ้น แต่ในที่สุดเราก็ล้มเหลว เนื่องจากบางส่วนของรัฐธรรมนูญและการนำรัฐธรรมมาปรับใช้กลับไปส่งเสริมอำนาจรัฐและอำนาจทุนจนกลายเป็นวิกฤติการณ์ทางการเมืองและถือเป็นวิกฤติการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วย สุดท้ายก็นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในวันที่ 19 กันยายน 2549 และเรากำลังปฏิรูปการเมืองโดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมืออีกครั้ง
            จุดร่วมสำคัญของวิชา 710 และ 712 คือ จะทำอย่างไรให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีสำนึกในความเป็นพลเมือง คำตอบโดยคร่าวๆก็คือคำตอบของวิชา 710 คือ การพัฒนาเศรษฐกิจให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และการให้ความรู้ทางการเมืองกับประชาชน แต่ที่ผ่านมากระบวนการทั้ง 2 นี้ยังไม่บรรลุเป้าหมาย (เพราะคนที่ความรู้ทางการเมืองน้อยและคนจนยังเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ)
            ดังนั้นหากคำถามขอข้อสอบออกมาให้แบบเปิดโอกาสให้เรานำความรู้ทั้ง 2 วิชาไปตอบได้ก็น่าจะดึงจุดร่วมตรงนี้ไปช่วยในการอธิบาย
            รายละเอียดของวิชา 712
รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง มี 3 รูปแบบ
1.รูปแบบที่เป็นทางการ (formal / conventional participation) เช่น การเลือกตั้ง การเข้าชื่อกันถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย การชุมนุมประท้วง ซึ่งมีกฎหมายรองรับในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสันติปราศจากอาวุธ
2.รูปแบบที่ไม่เป็นทางการ (informal / unconventional participation) เช่น การวิ่งเต้นทางพรรคการเมืองเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง การพูดคุยทางการเมืองในสนามกอล์ฟ  เป็นต้น
3.การมีส่วนร่วมนอกระบบหรือนอกรูปแบบ (exceptional form of participation) จะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายกับรูปแบบที่ 2 แต่การมีส่วนร่วมนอกระบบจะเน้น 2 ประเด็นคือ
3.1 การใช้ความรุนแรงทางการเมือง
3.2 การปฏิวัติ 
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง (Civil Political Participation)
เป็นประเด็นที่สำคัญมากในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบันได้มีจุดสนใจอยู่ในเรื่องการเมืองของพลเมือง ซึ่งถือว่าเป็นการเมืองแบบใหม่ หรือ New Politics
ทั้งนี้การเติบโตของภาคประชาชน หรือเรียกอีกอย่างว่าภาคประชาสังคม (Civil Society Sector) ที่ลุกขึ้นมาทานอำนาจรัฐมากขึ้น จากเดิมในอดีตที่ภาคสังคมเป็นภาคที่ยอมสยบอยู่ใต้อำนาจรัฐ ทำให้การศึกษาการเมืองต้องเปลี่ยนมิติหรือเปลี่ยนมุมมองในการศึกษา
กล่าวคือในอดีตการศึกษาการเมืองจะให้ความสำคัญไปที่เรื่องของรัฐ เช่น
-การศึกษาว่ารัฐที่ดีหรือผู้ปกครองที่ดีควรจะเป็นอย่างไร
 -ศึกษาสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการ เช่นพรรคการเมือง รัฐสภา ระบบราชการ
-ศึกษากลไกทางการเมืองที่เป็นทางการ เช่นการเลือกตั้ง การอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ในอดีตภาครัฐ (State Sector) จึงมีขนาดใหญ่มีบทบาทในการควบคุมและจัดการกับภาคสังคมได้อย่างกว้างขวาง
แต่เมื่อภาคสังคมมีการเติบโต ทำให้บทบาทหลายอย่างที่รัฐเคยทำถูกผ่องถ่ายมายังภาคประชาสังคม ทำให้การเมืองในยุคใหม่จึงหันมาเน้นการเมืองของประชาชนหรือการเมืองภาคพลเมือง
การศึกษาการเมืองภาคพลเมืองจึงให้ความสนใจกับ
-บทบาททางการเมืองของภาคประชาชน ที่เป็นบทบาทอย่างไม่เป็นทางการ เช่น การประท้วงโครงการของรัฐ การดื้อแพ่งต่อการใช้อำนาจรัฐ ที่เรียกว่า Civil Disobedience (ตั้งแต่มีการประท้วงการเลือกตั้งด้วยการฉีกบัตรคำนี้ก็เป็นที่รู้จักในสังคมไทยว่าอารยะขัดขืน)
-การเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) ซึ่งมีความหลากหลายมากขึ้น เช่นกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มเรียกร้องและคุ้มครองสิทธิต่างๆของประชาชน เช่นกลุ่มอัญจารี เป็นกลุ่มหญิงรักหญิงที่ตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองสิทธิของกลุ่มหญิงรักหญิง และทำกิจกรรมของกลุ่ม รวมทั้งกลุ่ม สมาคม หรือชมรมที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลคนชายขอบของสังคม
การที่ภาคสังคมเติบโตขึ้น มีบทบาทมากขึ้นเนื่องมาจาก ภาครัฐไม่ได้ทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของภาคสังคมอย่างเพียงพอ
โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Democracy) ที่ภาครัฐมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ปรากฏว่าตัวแทนประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำหน้าที่ตัวแทนที่ดี อีกทั้งในสมัยปัจจุบันประเด็นปัญหา ความต้องการของสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้นจนตัวแทนไม่สามารถทำหน้าที่ดูแลได้ทั้งหมด
เฉพาะประเทศไทยพบว่าระบบตัวแทนของเรามีปัญหามากมาย ตั้งแต่การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองก็มีปัญหาการซื้อขายเสียง การใช้อิทธิพล ใช้เงินซื้อตำแหน่งทางการเมือง พอเข้าไ
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 18/01/2015 08:16
3
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
         
สรุปวิชา PS 701
แนวทางการศึกษารัฐศาสตร์ (Approaches in Political Science)

ประเด็นสำคัญของวิชา
1.ความสำคัญของแนววิเคราะห์ในการศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมือง (หรือการเข้าถึงความจริงทางการเมือง)
2.พัฒนาการของวิชารัฐศาสตร์
3.แนววิเคราะห์ที่สำคัญทางๆ รัฐศาสตร์

1.ความสำคัญของแนววิเคราะห์ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง
ประเด็นนี้คือการตั้งคำถามว่าทำไมการศึกษารัฐศาสตร์จึงต้องอาศัยแนวทางการวิเคราะห์
คำตอบก็คือศาสตร์ทุกศาสตร์มีเป้าหมายเดียวกันในการศึกษาคือการแสวงหาและเหตุผล (Causality) ของปรากฏการณ์ เพราะการทราบสาเหตุของปรากฏการณ์จะนำไปสู่การแก้ปัญหา 
ในทางการเมืองนักรัฐศาสตร์ศึกษาปัญหาทางการเมืองก็เพื่อจะตอบว่าปัญหาทางการเมืองในเรื่องนั้นๆเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะเชื่อว่าหากทราบสาเหตุก็จะสามารถกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาการเมืองในเรื่องนั้นๆได้
เช่น
-ถ้าเรารู้ว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเราก็จะแนวทางมาแก้ปัญหาได้
-ถ้าเรารู้ว่าปัญหาการขายเสียงเกิดจากอะไรเราก็จะสามารถกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาการซื้อขายเสียงได้
-ถ้าเรารู้ว่าปัญหาความขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดจากอะไร เราก็จะกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาได้
แต่การแสวงหาสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมืองเป็นเรื่องที่ยากมาก หรือกล่าวว่าการแสวงหาความจริงทางการเมืองเป็นเรื่องยุ่งยาก (ยากกว่าการแสวงหาความจริงของศาสตร์อื่นๆ )
สาเหตุที่การหาความจริงในทางการเมืองเป็นเรื่องยาก
    1.ข้อมูลในทางการเมืองเป็นข้อมูลที่มีจำนวนมากมายมหาศาล การที่ข้อมูลมีจำนวนมากทำให้ยากต่อการลงไปจัดการกับข้อมูล และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกข้อมูลบางอย่างมาศึกษา
    2.ข้อมูลที่มีจำนวนมากดังกล่าวบางครั้งเป็นข้อมูลที่มีความขัดแย้งกัน 
3.ข้อมูลอาจจะไม่คงเส้นคงวาหรือเสมอต้นเสมอปลาย 
ตัวอย่าง
ถ้าเราจะศึกษาปัญหาความขัดแย้งในทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทย จะมีข้อมูลที่มาจากฝ่ายที่สนับสนุนอดีตนายกทักษิณ จะมีข้อมูลที่มาจากฝ่ายต่อต้านทักษิณ จะมีข้อมูลทั้งจากฝ่ายที่เป็นกลาง บางครั้งข้อมูลเหล่านี้ก็ขัดแย้งกันเอง บางครั้งข้อมูลก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่าข้อมูลใดเป็นจริง ข้อมูลใดเป็นเท็จ
หรือในปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการแก้ไขและฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไข แต่ละฝ่ายจะมีเหตุผลของตนเองและนำเสนอเหตุผลให้สังคมรับรู้ 
ทำให้เกิดคำถามว่าเราจะเลือกเชื่อข้อมูลฝ่ายใด หรือบอกว่าฝ่ายใดถูกหรือฝ่ายใดผิด 
คำตอบก็คือในทางรัฐศาสตร์มองว่าไม่มีความเชื่อใดถูกหรือผิด  แต่เมื่อเราเลือกจะเชื่อข้อมูลไหน จะต้องมีเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อ รวมทั้งมีเหตุผลที่จะโต้แย้งความเชื่อของคนอื่นๆที่ไม่ตรงกับ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยสนับสนุนความเชื่อของเราก็คือทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์นั่นเอง
ทำให้เมื่อนักรัฐศาสตร์จะศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองใดๆ ต้องมีแนววิเคราะห์หรือทฤษฎีมาเป็นเครื่องมือ
 ความสำคัญและประโยชน์ของแนววิเคราะห์
1.แนววิเคราะห์หรือทฤษฎีแต่ละทฤษฎีจะเป็นตัวกำหนดกรอบว่า ในข้อมูลที่มีจำนวนมากนั้นจะเลือกข้อมูลอะไรมาใช้บ้าง หรือเป็นการช่วยจัดระเบียบข้อมูลที่เราจะใช้ในการศึกษา (เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ข้อมูลทั้งหมดมาศึกษา)
    ตรงนี้เองทำให้ทฤษฎีหรือแนววิเคราะห์มีหลายแนววิเคราะห์ขึ้นอยู่กับความเชื่อของนักทฤษฎี 
    เช่น 
-คนที่เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองเกิดจากความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ เวลาศึกษาความขัดแย้งทางการเมืองก็จะสนใจเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ (ซึ่งแสดงว่าเขากำลังวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยใช้แนววิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์) 
-คนที่เชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยเวลานี้เกิดจากสถาบันต่างๆในทางการเมืองไม่ทำหน้าที่ของตนเอง หรือไม่สามารถพัฒนาโครงสร้างสถาบันได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง เวลาศึกษาก็จะสนใจเก็บข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเมือง  (ซึ่งแสดงว่าเขากำลังใช้แนววิเคราะห์เชิงสถาบันในการศึกษาปัญหาทางการเมือง)
2.แนววิเคราะห์หรือทฤษฎีจะช่วยสร้างข้อโต้แย้งให้กับผู้ศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมือง เพราะแต่ละ Approach จะมีแนวคิดที่ไม่เหมือนกัน ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีจะมีข้อโต้แย้งซึ่งกันและ และจะช่วยให้เกิดการพัฒนาแนวทางในการวิเคราะห์ได้แหลมคมมากขึ้น เช่น
-คนที่เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองเกิดจากความขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ก็จะโต้แย้งกับคนที่เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองเกิดจากสถาบันทางการเมือง ซึ่งเมื่อเกิดการโต้แย้งก็จะทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง
3.แนวการวิเคราะห์ช่วยทำให้เราตระหนักว่าทฤษฎีแต่ละทฤษฎีมีข้อจำกัด และพื้นฐานของแต่ละทฤษฎีเกิดจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน การนำทฤษฎีไปวิเคราะห์จึงต้องพิจารณาถึงจุดอ่อนของทฤษฎี
สรุป ประโยชน์ของแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ 
1.ช่วยในการเลือกสรรคำถาม และ เลือกสรรข้อมูลที่เราจะนำมาใช้ในการศึกษา 
2.Approach ช่วยเป็นกรอบหรือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการมองปัญหา กล่าวคือเมื่อเราเจอปัญหาทางการเมืองหนึ่งๆเราจะคิดได้ว่าเราควรจะมองปัญหานี้ด้วยมุมมองของแนววิเคราะห์ใดจึงจะดี 
    3.เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่สำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจเหตุการณ์ในทางการเมืองได้กระจ่างชัดขึ้น
4.เป็นเค้าโครงหรือโครงสร้างของสิ่งต่างๆที่ต้องการศึกษาหรือทำความเข้าใจ
การที่แนววิเคราะห์แต่ละแนวมีฐานความคิดแตกต่างกัน และมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ทำให้เกิดการโต้แย้งอยู่เสมอ ทำให้แนววิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์หรือแนวทางที่จะใช้ในการศึกษาความจริงทางการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ตามพัฒนาการของวิชารัฐศาสตร์ เราจึงต้องทำความเข้าใจกับพัฒนาการของวิชารัฐศาสตร์

2.พัฒนาการของวิชารัฐศาสตร์
แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ
ยุคที่ 1  คือยุคคลาสสิกหรือยุควางรากฐาน (Classical)
ยุคที่ 2   คือพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral)
ยุคที่ 3   คือหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-behavioral)
ยุควางรากฐานหรือยุคคลาสสิก (Classical Era) ในยุคนี้จะมีแนวทางการศึกษาหลัก 2 แนวคือ
-แนวปรัชญา (Philosophy  Approach) การศึกษารัฐศาสตร์แนวปรัชญาจะมีลักษณะสำคัญๆ คือ
1.มุ่งเน้นในการตั้งคำถามและคำตอบที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม และใช้ค่านิยม (Value) ส่วนตัวไปสร้างคำตอบ เช่นถามว่าผู้ปกครองที่ดีควรจะมีลักษณะอย่างไร การปกครองที่ดีควรเป็นแบบไหน 
คำถามในทางปรัชญาเหล่านี้จะมีคำตอบที่ต่างกันไปขึ้นอยู่กับความคิดของคนแต่ละคน อย่างไรก็คามคำถามเหล่านี้ยังคงเป็นคำถามมาจนถึงปัจจุบัน
เช่น คำถามว่าการปกครองที่ดีคืออะไร ตั้งแต่ 2475 ในประเทศไทยเราเชื่อว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยคือการปกครองที่ดี แต่ทุกวันนี้ก็เกิดคำถามมากมายว่าประชาธิปไตยดีจริงหรือ 
2.การศึกษาในแนวปรัชญาจะเป็นการศึกษาในเชิงตรรกะในการไตร่ตรองหรือการหาเหตุผล 
    3.วิธีการศึกษาทางปรัชญาจะใช้จินตนาการในการสร้างเนื้อหา    การที่นักปราชญ์ใช้จินตนาการในการสร้างเนื้อหาทำให้ปรัชญามักจะศึกษาในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเป็นการมองไปในอนาคต เช่นเรื่องของการมีองค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเป็นเรื่องที่นักปราชญ์ในอดีตพูดถึงมานานแล้ว แต่สังคมเพิ่งนำแนวคิดนี้มาใช้อย่างจริงจัง
    อย่างไรก็ตาม มีการวิพากษ์แนวการศึกษาแบบปรัชญาว่าเป็นการศึกษาที่เลื่อนลอยไม่อยู่ในโลกแห่งความจริง แต่คาดเดาด้วยตรรกะ และมีการนำเอาอคติของผู้ศึกษาเข้าไปเกี่ยวข้อง
    อย่างไรก็ตามนักวิชาการบางกลุ่มมองว่าการศึกษาปรัชญายังมีประโยชน์ เนื่องจากคำตอบในทางปรัชญาจำนวนมากในอดีตกลายเป็นหลักการที่สำคัญของสังคมปัจจุบัน และปรัชญายังช่วยทำให้คนเราตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับธรรมชาติและนำไปสู่การคิดเพื่อตอบคำถาม 
    -แนวนิติสถาบัน (Legal Institutional Approach) เป็นการศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมืองโดยอาศัยตัวบทกฎหมายและโครงสร้างสถาบันเป็นหลัก เช่นถ้าเราอยากจะศึกษาเรื่องพรรคการเมืองในประเทศไทยก็จะศึกษากฎหมายพรรคการเมืองว่ากำหนดบทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมืองว่ามีอะไร บ้างหรือไม่ก็ศึกษาจากโครงสร้างของพรรคการเมือง เช่นดูการจัดระเบียบโครงสร้างภายในพรรคว่าเป็นอย่างไร
    ข้อวิจารณ์ที่มีต่อแนวทางการศึกษาเชิงนิติสถาบัน
    1.มองว่าการศึกษาในแนวนิติสถาบันขาดความยืดหยุ่น
    2.มองว่าการศึกษาโดยยึดตัวบทกฎหมายทำให้มีการละเลยปัจจัยด้านอื่นๆ เช่นปัจจัยด้านประวัติศาสตร์ หรือวัฒนธรรมของแต่ละสังคม
    3.มองว่าการศึกษาในแนวนิติสถาบันละเลยการศึกษากระบวนการทางการเมืองที่เป็นจริง เพราะความเป็นจริงกับกฎหมายอาจจะเป็นคนละเรื่องกัน 
    4.การศึกษาแนวนิติสถานบันไม่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ เพราะสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    การวิจารณ์แนวทางการศึกษาแบบปรัชญาและแนวนิติสถาบันจะมาจากนักวิชาการในกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งนักวิชาการกลุ่มนี้ต้องการให้รัฐศาสตร์มีวิธีการศึกษาแบบใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการการศึกษาในยุคที่ 2 ที่เรียกว่า
    ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Era) ยุคนี้มองว่าการศึกษาในยุคคลาสสิกนั้นทำให้รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ขาดหลักเกณฑ์ จับต้องไม่ได้ ล้าสมัย ไม่มีความเป็นกลาง ไม่มีความเป็นศาสตร์ ยุคพฤติกรรมศาสตร์จึงต้องการให้วิชารัฐศาสตร์มีความเป็นศาสตร์มากขึ้น ซึ่งนักวิชาการกลุ่มนี้จึงเสนอให้เปลี่ยนวิธีการในการศึกษารัฐศาสตร์เสียใหม่
ความคาดหวังของนักพฤติกรรมศาสตร์
1.ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นกลาง (Neutrality) และปราศจากอคติ (Non-Biased) 
2.ต้องการค้นหาองค์ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล (Causality) ที่สามารถทดสอบได้ (Test) นั่นคือสามารถตอบคำถามได้ว่าอะไรคือสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมือง เช่นต้องตอบคำถามให้ได้ว่าทำไมคนกรุงเทพจึงออกมาใช้เสียงน้อยหกว่าคนต่างจังหวัด
3.นักพฤติกรรมศาสตร์ต้องการให้ความรู้ที่เกิดจากการศึกษามีประโยชน์ในการนำไปคาดการณ์หรือทำนายเหตุการณ์ (Prediction) ในอนาคตได้ 
     ลักษณะของการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์
    1.มีลักษณะที่เป็นระบบ (Systematic) ต้องสนใจข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical) และสามารถทำนายได้ (Predictive) 
    2.การศึกษาตามแนวพฤติกรรมจะเน้นศึกษาพฤติกรรมส่วนบุคคลและส่วนรวมเป็นหลัก หรือเอาพฤติกรรมของบุคคลและส่วนร่วมเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ (Individual & Collective Behavior as a Unit of Analysis) 
    3. การศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์จะต้องทำในแบบสหวิทยาการ หรืออาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชามาใช้ในการศึกษา
    4.พฤติกรรมศาสตร์จะเน้นในเรื่องวิธีการศึกษา (Methodology) เพราะพฤติกรรมศาสตร์เชื่อว่าวิธีการศึกษา หรือระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology ) ที่ชัดเจนจะนำไปสู่ผลการศึกษาที่ชัดเจน )
เนื่องจากนักพฤติกรรมศาสตร์มองว่าการศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมืองควรจะสภาพที่เป็นอยู่จริง (Being) ว่าเป็นอย่างไร ไม่ควรจะศึกษาสิ่งที่ควรจะเป็น (What Ought to be) เหมือนพวกปรัชญาศึกษา ทำให้ประเด็นหลักที่พวกพฤติกรรมศาสตร์ศึกษากันก็คือเรื่องของพฤติกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นจริงๆนั่นเอง
เช่นศึกษาพฤติกรรมในการเลือกตั้ง พฤติกรรมในการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยวิธีการของพฤติกรรมศาสตร์คือต้องการประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมืองหรือทางสังคมศาสตร์ เนื่องจากในยุคพฤติกรรมศาสตร์นั้นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลนั้นเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น
การศึกษารัฐศาสตร์ด้วยแนวทางพฤติกรรมศาสตร์ถือเป็นการปฏิวัติแนวทางในการศึกษารัฐศาสตร์ครั้งสำคัญ เนื่องจากพฤติกรรมศาสตร์ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการศึกษารัฐศาสตร์อย่างสิ้นเชิง
 ผลกระทบของการศึกษารัฐศาสตร์ตามแนวพฤติกรรมศาสตร์
1.มีผลกระทบต่อเนื้อของรัฐศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ทำให้เนื้อหาของการศึกษาหันมาศึกษาพฤติกรรมในทางการเมือง จากเดิมที่ศึกษาปรัชญา กฎหมายและสถาบัน
แต่เราพบว่าจากวิวัฒนาการของพฤติกรรมศาสตร์ซึ่งเริ่มต้นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นพฤติกรรมศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาอยู่ไม่กี่เรื่อง โดยทั่วไปก็มักจะศึกษาทัศนะคติเป็นส่วนใหญ่ เพราะนักพฤติกรรมศาสตร์มองว่าคนจะมีพฤติกรรมอย่างไรจะขึ้นอยู่กับทัศนคติ
ทำให้ผลงานวิจัยที่อยู่ในยุคพฤติกรรมศาสตร์จะเต็มไปด้วยเรื่องการวัดทัศนคติ เช่นทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัย
2.มีผลกระทบต่อวิธีการศึกษารัฐศาสตร์ คือ
-มีการนำเอาวิธีการที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางรัฐศาสตร์โดยตรง เช่นวิธีการทางสถิติ วิธีการทางคณิตศาสตร์ แคลคูลัส โดยเชื่อว่าวิธีการเหล่านี้ช่วยในการค้นหาความเป็นเหตุเป็นผลของปรากฎการณ์ทางการเมืองได้
-มีการนำเอาแนวความคิดในทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสังคมก็คือแนวความคิดในเรื่องกระบวนการในการค้นหาความรู้ เช่นถ้าวิจัยต้องเริ่มต้นจากสมมุติฐาน ต้องให้คำจำกัดความ ต้องมีเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ การเก็บข้อมูลจะต้องเป็นขั้นตอนที่เป็นที่ยอมรับ เป็นต้น
วิธีการที่พฤติกรรมศาสตร์นำมาใช้ในการศึกษาและประเด็นที่พฤติกรรมศาสตร์สนใจศึกษา กลายเป็นข้อจำกัดของการศึกษา 
ข้อวิจารณ์ต่อพฤติกรรมศาสตร์
    1.ในประเด็นความเป็นกลาง การที่พฤติกรรมศาสตร์มองว่าการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์จะทำให้เกิดความเป็นกลาง ถูกวิจารณ์ความเป็นกลางไม่มีจริง เพราะแค่เรื่องของคอนเซ็ปต์ ก็เป็นเพียงจินตนาการหรือความหมายที่เราสมมุติขึ้น เช่นคำว่าชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางในความคิดคนแต่ละคนก็ไม่ตรงกัน
    2.ในประเด็นบอกว่าการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์สามารถทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลได้นั้น จริงๆแล้วการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์ที่พยายามกำหนดตัวแปรและนำเอามาสร้างความสัมพันธ์ในสมการนั้น แต่พบว่าทุกสมการจะเปิดโอกาสให้เราคำนวณหาค่าความสัมพันธ์ระหว่าตัวแปรต่างๆได้เสมอแต่นั้นไม่ได้หมายความว่าความสัมพันธ์ที่เราค้นพบจะเป็นตัวบ่งบอกถึงความเป็นเหตุเป็นผล แต่อาจจะมีเพียงแค่มีความสัมพันธ์ ( Relation)  แต่ไม่เป็นเหตุเป็นผล ( Causation) ก็ได้    
    3.ในประเด็นที่บอกว่าทำนายได้ การทำนายได้หมายถึงการทำนายภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด หรือภายใต้ฐานคติเราตั้งไว้ หรือทำนายได้ภายใต้ปัจจัยเงื่อนไขต่างๆที่เรากำหนดให้มันคงที่ ซึ่งในทางการเมืองย่อมมีปัญหาเพราะ
ปรากฎการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
    จากผลกระทบที่เกิดจากการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์ดังกล่าวนำไปสู่การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคใหม่ที่เรียกว่า
    ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-Behavioral Era) นักรัฐศาสตร์ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์มองว่าการศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์นั้นมัวแต่ให้ความสนในแต่วิธีการศึกษามากว่าให้ความสนใจต่อเนื้อหา ทำให้ผลการศึกษาไม่ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาของสังคม
    ลักษณะของการศึกษารัฐศาสตร์ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ 
    1.จะเป็นการนำความรู้หลายสาขาวิชามาใช้ในการศึกษารัฐศาสตร์ หรือมีลักษณะของการเป็น Multi-Disciplinary หรือ Interdisciplinary เช่นถ้าเราจะศึกษาเรื่องการขายเสียงจะต้องเข้าใจทั้งในเรื่องวัฒนธรรม สังคมวิทยา ความยากจน ประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ใช้แต่ความรู้ทางรัฐศาสตร์อย่างเดียว
    2.การศึกษารัฐศาสตร์ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ให้สนใจปัญหาสังคมมากขึ้น หรือเป็นการศึกษาที่เอาปัญหาเป็นตัวตั้ง (Problem Oriented) จากเดิมที่ยุคพฤติกรรมศาสตร์จะเอาทฤษฎีเป็นตัวตั้ง (Theory Oriented ) และเอาทฤษฎีไปพิสูจน์กับปรากฎการณ์
    3.ยุคหลังพฤติกรรมจึงไม่สนใจที่จะสร้างทฤษฎี แต่จะศึกษาโดยเอามาปัญหามาดูกันอย่างลึกซึ้ง เพราะมองว่าการศึกษาอย่างลึกซึ้งเหล่านี้ก็จะนำไปสู่การเสนอทางเลือก หรือทางออก ในการแก้ปัญหา    
ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์จึงมีการศึกษารัฐศาสตร์โดยใช้แนววิเคราะห์ใหม่ๆเช่น เศรษฐศาสตร์การเมือง สังคมวิทยาการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นต้น
ทุกวันนี้การศึกษาการเมืองเป็นการศึกษายุคหลังพฤติกรรมศาสตร์จึงเกิดประเด็นทางการเมืองใหม่ๆให้ศึกษามากมาย แต่แนวทางศึกษาในยุคเก่าก็ยังคงถูกนำมาใช้ศึกษาด้วยเช่นกัน

3.แนวทางการวิเคราะห์สำคัญๆทางรัฐศาสตร์
ก่อนจะลงไปที่แนววิเคราะห์ที่สำคัญๆ นักศึกษาควรทราบความหมายของแนวการวิเคราะห์ เสียก่อน 
มีนักวิชาการให้ความหมายของแนวศึกษาวิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์ไว้หลากหลาย เช่น
อแลน ซี ไอแซค กล่าวว่าแนวการวิเคราะห์ในการศึกษาก็คือกลยุทธ์โดยทั่วไปที่เราใช้ในการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ในทางการเมือง โดยแนววิเคราะห์ในการศึกษาจะให้กรอบ ให้รูปแบบ ให้ตัวแบบ ให้แนวคิด เพื่อให้เราสามารถทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์ทางการเมืองในขอบข่ายที่กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยอาศัยแนวคิดหลักเพียงแนวคิดเดียว    
วิลเลี่ยม เอ. เวลช์ บอกว่า Approach คือชุดหรือกลุ่มของคอนเซ็ปต์ที่มุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญกับประเด็นทางการเมืองด้านใดด้านหนึ่ง โดยปกติ Approach จะประกอบไปด้วยคอนเซ็ปต์หลักเพียงคอนเซ็ปต์เดียว 
    เวอร์นอน แวน ไดค์ (Vernon Van Dyke) บอกว่า Approach หนึ่งๆจะประกอบด้วยมาตรการในการเลือกสรรปัญหาหรือคำถามที่จะนำมาพิจารณาและเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้ และจะบอกว่าข้อมูลชนิดใดที่สามารถนำมาใช้ได้และชนิดข้อมูลชนิดใดนำมาใช้ไม่ได้
    จากนิยามของนักวิชาการข้างต้น Approach ในทางรัฐศาสตร์ หมายถึงกรอบความคิด ที่มีแนวคิดหลักปรากฎอยู่เพียงแนวคิดเดียว ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองเป็นไปอย่างมีทิศทาง และมีขอบเขตที่ชัดเจน
    การวิเคราะห์การเมืองของนักรัฐศาสตร์นั้นมีหัวใจที่สำคัญอยู่ที่แนวทางการศึกษา (Approach) และกรอบความคิด (Conceptual Framework) ซึ่งถ้าขาด 2 สิ่งนี้การวิเคราะห์การเมืองของนักรัฐศาสตร์จะมีขีดความสามารถในการวิเคราะห์วิจารณ์ทางการเมืองที่ไม่ดีไปกว่าบทวิเคราะห์วิจารณ์ของนักหนังสือพิมพ์ หรือนักวิชาการสาขาอื่นๆในทางสังคมศาสตร์เลย หรืออาจจะคุณภาพด้อยกว่าอีกด้วย เพราะนักหนังสือพิมพ์มักจะมีข้อมูลลับจากวงในทางการเมืองดีกว่านักรัฐศาสตร์
    แนวทางการศึกษา หรือ Approach ทางการเมืองที่สำคัญๆ 
1.แนววิเคราะห์เชิงวัฒนธรรมการเมือง (Political Cultural Approach)
ความคิดรวบยอด : เชื่อว่าปรากฏการณ์ทางการเมืองเกิดจากวัฒนธรรมทางการเมืองของคนในสังคม
วัฒนธรรมการเมือง คือแบบแผนความคิดความเชื่อหรือค่านิยมของบุคคลในสังคมในระบบการเมืองใด และความคิดความเชื่อที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ เปรียบเสมือนแรงผลักที่ส่งผลต่อให้มนุษย์แสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางการเมืองในลักษณะใด
เช่น ในการเล่นการเมืองคนอเมริกานั้นพยายามจะผลักดันให้ตนเองเป็นที่รู้จักของคนในสังคม โดยสร้างผลงานให้มองเห็นเป็นระยะเวลานาน ต้องสร้างสมบารมี และผลงานยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นบุช อัลกอร์ หรือ นักการเมืองตระกูลเคเนดี้ จะต้องเริ่มต้นจากสนามการเมืองเล็กๆก่อนจะไต่เต้าขึ้นสู่ระดับสูง
คนอเมริกันถ้ามีข้อบกพร่องแทบจะเล่นการเมืองไม่ได้ เช่นวุฒิสมาชิกเอ็ดเวิร์ด เคเนดี้ไม่กล้าลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเพราะเคยขับรถตกน้ำและทำให้เลขาตาย ก็กลายเป็นปมด้อยทางการเมืองมาจนปัจจุบัน
แต่บ้านเรานั้นคนที่เล่นการเมือง ไม่จำเป็นต้องสะสมบารมี แต่จำนวนมากเป็นทายาททางการเมืองของนักการเมืองรุ่นเก่า ต้องมีนามสกุลดี มีฐานะร่ำรวย เช่นบางจังหวัด ส.ส.จะเป็นคนนามสกุลเดิมๆมาตลอด เช่นอังกินันท์ ศิลปอาชา เทียนทอง และอาศัยเส้นสายโยงใยเข้ามาเป็น ส.ส. นักการเมืองไทยจำนวนน้อยเท่านั้นจะอาศัยประสบการณ์ อาศัยความดีและการรับใช้สังคม จนมีคนเลือกเข้ามาเป็นผู้แทน
ยิ่งสังคมไทยเป็นวัฒนธรรมยอมรับอำนาจของคนมีเงิน มีบารมี ทำให้คนไทยไม่สนใจที่จะตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองที่เป็นคนมีบารมีเหล่านี้ ทำให้การเมืองไทยทุกวันนี้จึงยังมีปัญหา
การนำแนววิเคราะห์เชิงวัฒนธรรมไปใช้ : 
-ระบุให้ได้ว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของคนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือประเด็นทางการเมืองที่เราจะวิเคราะห์คืออะไร
-บอกว่าวัฒนธรรมดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาทางการเมือง (ตามประเด็นที่เราจะวิเคราะห์อย่างไร) 

1.แนววิเคราะห์การพัฒนาทางการเมือง Political Development Approach
ความคิดรวบยอด : การเมืองจะพัฒนาจากการเมืองแบบเก่าไปสู่การเมืองแบบใหม่ โดยต้องอาศัยปัจจัยบางอย่าง (ปัจจัยอะไรบ้างขึ้นอยู่กับแนวคิดของนักวิชาการแต่ละคน)
การพัฒนาทางการเมือง หมายถึงการเปลี่ยนแปลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคม มีเป้าหมายเพื่อให้การแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพเป็นธรรมมากว่าเดิม
    แต่นักวิชายังมีมุมมองที่เกี่ยวกับคำว่าพัฒนาการเมืองที่หลากหลายเช่น
1.มองว่าการพัฒนาทางการเมืองเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ คือเศรษฐกิจจะเจริญเติบโตได้หากการเมืองได้รับการพัฒนา
    2.นักวิชาการบางกลุ่มมองว่าการเมืองที่พัฒนาจะปรากฎอยู่ในสังคมอุตสาหกรรม แสดงว่าในสังคมอุตสาหกรรมจะมีแบบแผนทางการเมืองเฉพาะอย่างต่างจากแบบแผนทางการเมืองในสังคมอื่นๆ ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรม
    3.นักวิชาการที่มองว่าการพัฒนาทางการเมืองเป็นเงื่อนไขที่ปรากฎในระบบการเมืองที่ทันสมัย โดยสังคมที่ทันสมัยคือสังคมที่เปิดโอกาสให้คนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยความเสมอภาค มีการกำหนดกฎ กติกา ที่เป็นสากล
4.นักวิชาการที่มองว่าการพัฒนาทางการเมืองเป็นสภาพการณ์ทางการเมืองของสังคมประชาธิปไตย คือมองว่าหากเป็นประชาธิปไตยสังคมนั้นจะพัฒนาแล้ว
    แนวคิดนี้ก็ถูกโจมตีว่าลำเอียงในเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง เพราะหลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตยก็ยังไม่มีระดับของการพัฒนาทางการเมือง
    5.นักวิชาการในกลุ่มที่มองว่าการพัฒนาทางการเมืองนั้นเป็นสภาพการเมืองในระบบรัฐชาติ (State-Nation) คำว่ารัฐเป็นเงื่อนไขทางรัฐศาสตร์ส่วน nation เป็นเงื่อน ไขทางสังคมวิทยา ซึ่งรัฐต้องประกอบไปด้วย รัฐบาล ประชากร ดินแดนและอำนาจอธิปไตย
    6.แนวคิดที่บอกว่าการพัฒนาการเมืองคือเรื่องของการระดมพลทรัพยากรมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ 
    7.แนวคิดที่บอกว่าระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วคือระบบการเมืองที่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นไปอย่างมีระเบียบและมีเสถียรภาพ
     ซึ่งในความเป็นจริงก็พบว่าระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพก็ไม่ได้เป็นระบบการเมืองที่พัฒนา เช่นระบบการเมืองของอินโดนีเซียภายใต้การนำของซูอาร์โต ระบบการเมืองของอูกันดาภายใต้การนำของ อีดี้ อามิน ที่ดำรงตำแหน่งอยู่อย่างยาวนาน
8. แนวคิดที่บอกว่าการพัฒนาทางการเมืองคือระบบการเมืองที่มีการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 
9.แนวคิดที่บอกว่าระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วคือระบบการเมืองที่สามารถพัฒนากฎหมายและสถาบันทางการเมือง คือมีสถาบันการเมืองที่เกิดขึ้นและทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
10.แนวคิดสุดท้ายจะบอกว่าการพัฒนาทางการเมืองคือการเปลี่ยนแปลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมที่มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย
ปัจจัยของการวัดระดับของการพัฒนาทางการเมือง
ลูเชี่ยน พาย (Lucian Pye) เสนอสิ่งที่เรียกว่า Syndrome of Development 
1.ระบบการเมืองนั้นจะต้องมีโครงสร้างทางการเมืองที่หลากหลาย (Differentiation) แต่ละโครงสร้างแต่ละหน่วยต้องทำหน้าที่เฉพาะอย่าง (Specialization) 
2.ความเสมอภาค (Equality) พายกล่าวว่าระบบการเมืองใดที่สมาชิกของสังคมได้รับการปฏิบัติจากรัฐด้วยความเสมอภาคกัน ระบบการเมืองนั้นก็จะได้ชื่อว่ามีการพัฒนาสูง 
3.Capacity คือสมรรถนะของระบบการเมืองถ้าระบบการเมืองที่มีสมรรถนะสูง มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นในสังคม  เป็นระบบการเมืองที่มีการพัฒนาสูง
หลักการของการพัฒนาทางการเมือง อัลมอลและพาวเวลล์ แบ่งลักษณะระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วออกเป็น 3 ประการ คือ
1.Differentiation of Political Structure คือสังคมนั้นต้องมีความหลากหลายของโครงสร้างทางการเมือง
2.Secularization of Political Culture ดูจากวัฒนธรรมทางการเมืองว่าตั้งอยู่บนหลักการของเหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์
3.Subsystem Autonomy หมายถึงระบบการเมืองที่ทันสมัยจะมีโครงสร้างย่อยๆในระบบการเมืองที่มีอิสระในการทำหน้าที่ของตนเอง 
3.แนววิเคราะห์ชนชั้นนำ (Elite Approach)
ความคิดรวบยอด : ปรากฎการณ์ทางการเมืองเป็นผลผลิตที่เกิดจากชนชั้นนำในสังคม 
แนววิเคราะห์ชนชั้นนำมองว่าในสังคมจะประกอบไปด้วยคน 2 ชนชั้นคือชนชั้นนำและคนชนชั้นล่าง
ชนชั้นนำ หมายถึง คนส่วนน้อยในสังคมที่มีอำนาจครอบงำคนชั้นล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม เนื่องจาก ชนนั้นนำเป็นคนที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ คือมีเงินทองและความร่ำรวย เมื่อมีความร่ำรวยทำให้สามารถใช้ความร่ำรวยในการแสวงหาอำนาจทางการเมือง เมื่อมีอำนาจทางการเมือง อำนาจในด้านอื่นก็จะเพิ่มพูนขึ้น และทำให้ชนชั้นนำเป็นคนกำหนดชะตากรรมของคนทั้งสังคม
สาเหตุที่ชนชั้นนำสามารถกำหนดความเป็นไปของสังคมได้ เพราะชนชั้นนำมีลักษณะต่างๆคือ
-ชนชั้นนำมีจำนวนน้อยทำให้ติดต่อสื่อสาร รวมกันอย่างเหนียวแน่น และพบว่าชนชั้นนำยังมีการเกี่ยวดองกันในรูปของเครือญาติผ่านการแต่งงานข้ามตระกูลกัน
-มีความคิด รสนิยม การใช้ชีวิต แบบเดียวกัน  จบจากโรงเรียนเดียวกัน  
-มีผลประโยชน์สอดคล้องกัน
แนวคิดชนชั้นนำจึงมองว่าการเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นนำ ทำให้การกำหนดนโยบายต่างๆเป็นไปเพื่อชนชั้นนำ โดยชนชั้นล่างได้รับประโยชน์แต่เพียงเล็กน้อย ผลประโยชน์ที่ชนชั้นนำจัดสรรให้ชนชั้นล่างเป็นการจัดสรรให้เพียงเพื่อไม่ให้ชนชั้นล่างรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบจนเกินไป และลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจของชนชั้นนำเท่านั้น
การนำแนววิเคราะห์ชนชั้นนำมาอธิบายการเมืองไทย
แนววิเคราะห์ชนชั้นนำสามารถนำมาอธิบายการเมืองไทยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคนที่เข้าไปมีอำนาจทางการเมืองเวลานี้คือชนชั้นนำทางธุรกิจเพียงไม่กี่ตระกูล ทำให้ชนชั้นนำเหล่านี้เข้าไปกำหนดบทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเอง 
    สำหรับการเมืองไทยชนชั้นนำที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในระยะแรกคือทหาร ข้าราชการระดับสูง โดยมีนักธุรกิจอยู่เบื้องหลังในการสนับสนุน ข้าราชการทหารเหล่านั้น ต่อมาเมื่อการเมืองมาอยู่ในมือของนักการเมือง นักธุรกิจก็มาสนับสนุนนักการเมือง และพรรคการเมือง แต่ทุกวันนี้นักธุรกิจเข้ามาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว 
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการแบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 กลุ่มโดยกว้างๆออกเป็นชั้นนำและชนชั้นล่างมานานแล้ว และชนชั้นนำเป็นชนชั้นที่มีบทบาทในการควบคุมความเป็นไปของชนชั้นล่างไม่ว่าจะเป็นยุคที่กษัตริย์ปกครองประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าตนเองเป็นไพร่ฟ้าที่ต้องคอยรับอำนาจและความกรุณาของชนชั้นนำ มาจนถึงยุคประชาธิปไตย คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมองว่าตนเองเป็นแค่ราษฎรที่ต้องคอยรับนโยบายจากรัฐ โดยไม่ลุกขึ้นมามีบทบาทในทางการเมืองแต่อย่างใด ปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของคนไม่กี่คน มาจนถึงทุกวันนี้ การเมืองไทยอยู่ภายใต้กำมือของตระกูลธุรกิจไม่กี่กระกูล และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลทางการเมืองก็จะมีชนชั้นนำแบบทหารและข้าราชการที่มีบท
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 18/01/2015 08:25
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :