สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714832
แสดงหน้า2190942
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




วิชา PS 702 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ รศ.ดร.ปิยะนุช เงินคล้าย

วิชา PS 702 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ รศ.ดร.ปิยะนุช เงินคล้าย
อ้างอิง อ่าน 3291 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์

           
วิชา PS 702 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์
รศ.ดร.ปิยะนุช เงินคล้าย
    
    การวิจัยหมายถึง การค้นหาโดยใช้กระบวนทางวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์ ตรวจสอบความเป็นจริงอย่างมีหลักการ และสามารถอธิบายได้ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้เข้าใจองค์ความรู้ต่างๆ
    เนื่องจากนักศึกษาเรียนอยู่ในสาขารัฐศาสตร์ ในการวิจัยของเราก็ต้องอยู่ในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมถึง การเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการบริหารงานของรัฐ
    ในการสอบวิจัยก็จะวัดว่านักศึกษาเข้าใจองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยและกระบวนการวิจัยมากน้อยแค่ไหน
    กระบวนการวิจัย ที่สำคัญๆประกอบด้วย
    1.การกำหนดขอบข่ายและกำหนดปัญหาในการวิจัย
    2.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 
    3.การกำหนดสมมุติฐาน (เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ)
    4.ระเบียบวิธีการวิจัย ในส่วนนี้สิ่งที่เราต้องพิจารณาคือ
    4.1 รูปแบบการวิจัยเชิง แบ่งเป็น
-การวิจัยเชิงปริมาณ
        -การวิจัยเชิงคุณภาพ
    4.2 การกำหนดประชากรเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่าง
    5.การรวบรวมข้อมูล
    6.การวิเคราะห์ข้อมูล
    7.การเขียนรายงานการวิจัย
    ถ้าข้อสอบถามให้อธิบายโครงร่างการวิจัย นักศึกษาจะต้องอธิบายตามหัวข้อต่อไป
    การกำหนดขอบข่ายและปัญหาในการวิจัย
    เป็นการกำหนดว่าเราจะศึกษาวิจัยในปัญหาอะไร และอยู่ในขอบข่ายแค่ไหน ซึ่งในส่วนนี้เราจะต้องมีการกำหนดชื่อเรื่อง ซึ่งชื่อเรื่องจะบอกทั้งประเด็นปัญหาในการวิจัย ขอบข่ายในการวิจัย (ทั้งในแง่พื้นที่และเวลา)  
    การทบทวนวรรณกรรม
    เป็นการสำรวจ หรืออ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ซึ่งจะช่วยให้เรากำหนดขอบเขตในการวิจัย กำหนดกรอบคิดในการวิจัย กำหนดตัวแปรในการวิจัย
    ทั้งนี้
-กรอบความคิด จะเป็นลักษณะเป็นนามธรรม เราจะต้องนิยามกรอบความคิดออกมาเป็นตัวแปร โดยอาศัยนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition)  
    -ตัวแปร จะเป็นปัจจัยอย่างน้อย 2 ปัจจัยด้วยกันที่ปรากฏอยู่ในกรอบความคิดนั้นๆ  เช่นถ้าเรามีแนวคิดว่าคุณลักษณะของบุคคลมีผลต่อความสนใจทางการเมือง ปัจจัยที่ประกอบในกรอบคิดดังกล่าวคือ
    ** ปัจจัยด้านลักษณะตัวบุคคล
    ** ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสนใจทางการเมือง
    สำหรับเรื่องของตัวแปร เราจะต้องให้ความสำคัญกับตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ซึ่งมีความสัมพันธํกันหลายรูปแบบเช่น
    ** ความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล คือตัวแปรต้นทำให้เกิดตัวแปรตาม  เช่นการบอกว่า การมีความรู้ทำให้สอบผ่าน  / ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองทำให้มีความสนใจทางการเมือง
** ความสัมพันธ์เชิงบวก เช่นอ่านหนังสือมากความรู้มาก
    ** ความสัมพันธ์ในเชิงลบ เช่นไปเที่ยวนานทำให้มีเวลาอ่านหนังสือน้อยลง
    ระเบียบวิธีการวิจัย แบ่งออกเป็น
    1.การวิจัยเชิงปริมาณ แบ่งออกเป็นรูปแบบย่อยๆคือ
    1.1 การวิจัยสำรวจ
    1.2 การวิจัยทดลอง
    1.3 การวิจัยพัฒนา จะต้องทำวิจัยหลายๆครั้ง ทำซ้ำไปเรื่อยๆ ผลการวิจัยอาจจะทำให้เกิดคำถามในการวิจัยครั้งต่อไป 
    1.4 การวิจัยเชิงประเมิน
    1.5 การวิจัยปฏิบัติการ
    2.การวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็นรูปแบบย่อยๆ คือ
    2.1 การวิจัยเอกสาร 
    2.2 การวิเคราะห์เนื้อหา 
    2.3 การวิจัยสนาม
    2.4 การวิจัยกระทำการ 
    2.5 การวิจัยกระทำแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research-PAR) เป็นการวิจัยโดยมีการปฏิบัติร่วมกัน
    รูปแบบการวิจัยมีความสำคัญ เพราะปัญหาในการวิจัยที่แตกต่างกันก็จะต้องเลือกรูปแบบการวิจัยที่แตกต่างกัน เช่นถ้าเราศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการเมืองการปกครอง เราก็ต้องเลือกการวิจัยเชิงปริมาณ แต่ถ้าเราต้องการศึกษาวิถีชีวิตของคนในชุมชนอาจจะต้องศึกษาในเชิงคุณภาพ 
การวิจัยเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง
    1.การวิจัยบุกเบิก 
    2.การวิจัยเชิงอธิบาย เน้นอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆเพื่อหาเหตุผลว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากอะไร 
     3.การวิจัยเชิงสาเหตุและผล เป็นการวิจัยโดยต้องหาเหตุผลเชิงประจักษ์
    4.การวิจัยเชิงพรรณนา 
    5.การวิจัยระยะยาว เป็นการวิจัยที่เก็บข้อมูลระยะยาว เช่นถ้าเราจะศึกษาแนวคิดทางการเมืองของนักศึกษารัฐศาสตร์ เราอาจจะศึกษาตั้งแต่ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หรือหลังจากจบการศึกษาและทำงานไประยะหนึ่งแล้ว
รูปแบบการวิจัยที่น่าสนใจมีดังนี้
    1.การวิจัยแบบสำรวจ เป็นการวิจัยที่ต้องจะจัดทำแบบสอบถามไปยังกลุ่มประชากร 
    2.การวิจัยทดลอง เป็นการวิจัยที่ต้องมีการควบคุมตัวแปร 
    3.การวิจัยเอกสาร จะต้องรวบรวมข้อมูลจากเอกสารเพื่อตอบคำถามในการวิจัย เช่นศึกษาการเมืองไทยในสมัยจอมพลป. ถ้าเป็นการวิจัยเอกสารจะต้องเก็บข้อมูลจากเอกสาร เช่นหนังสือ รายงานการประชุม บันทึกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือหนังสือสั่งการ
    4.การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นการวิเคราะห์ความหมายของการสื่อสารที่ผ่านเนื้อหาของสิ่งต่างๆที่มีการบันทึกเอาไว้ เช่นวิเคราะห์มติครม. ข่าวจากหนังสือพิมพ์ คำปราศรัย ปาฐกถา สุนทรพจน์ หนังสือ
เช่นมีการวิจัยว่าก่อนการเลือกตั้งสื่อมวลชนนำเสนอข่าวอย่างไรหรือการวิเคราะห์เนื้อหาจากหนังสือนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน จะพบหลายประเด็น  เช่นพฤติกรรมทางสังคมของผู้คนในสมัยรัชกาลต่างๆ 
    5.การวิจัยสนาม
    หมายถึงการวิจัยที่นักวิจัยเลือกพื้นที่และลงไปทำงานในพื้นที่ จะเป็นการวิจัยที่ทำเฉพาะในพื้นที่ขนาดเล็ก ข้อดีของการวิจัยแบบนี้คือทำให้เข้าใจพื้นที่นั้นอย่างละเอียด เช่นงานวิจัยเรื่องชุมชนไม้เรียง อำเภอฉวาง นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการรวมกลุ่มกันในการพัฒนาและผู้นำชุมชนได้รับรางวัลแมกไซไซ เนื่องจากมีกระบวนการพัฒนาที่น่าสนใจ เป็นกลุ่มที่สามารถพัฒนาชุมชนได้ด้วยตนเอง
    6.การวิจัยกระทำการ
    เป็นการวิจัยรูปแบบใหม่ๆในการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ จะใช้ในการฝึกอบรม การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทฤษฎี
    เช่นเรามีแนวคิดการปลูกพืชแบบเกษตรแผนใหม่ เราก็จะวิจัยเชิงปฏิบัติการ เช่นการฝึกอบรมและลงมือปฏิบัติตามแนวคิด ซึ่งสุดท้ายต้องประเมินผลว่าแนวคิดนั้นเป็นจริงหรือไม่
    หรือแนวคิดในการทำปุ๋ยจากเศษอาหาร ก็อาจจะลงไปวิจัยเชิงปฏิบัติการได้
    7.การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
    เป็นการวิจัยที่ให้กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยมาทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีนักวิจัยเป็นเพียงพี่เลี้ยง เป็นการวิจัยที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน 
    ทั้งนี้การจะเลือกรูปแบบการวิจัยแบบใดขึ้นอยู่กับปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
    การกำหนดประชากรในการศึกษา การกำประชากรในการศึกษาเป็นการบอกว่า
    1.เราจะศึกษาจากใคร 
2.ศึกษาจากคนจำนวนเท่าใด 
3.ต้องการให้กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของประชากรหรือไม่ หรือ
4.หรือศึกษาจากประชากรทั้งหมด 
    เช่นถ้าเราศึกษาบทบาทของ ส.ส.ต่อการพัฒนาประเทศ ประชากรของเรานาก็คือ  ส.ส. แต่ถ้าเรามองว่า ส.ส. มีจำนวนมากเกินไป เราก็ต้องเลือกกลุ่มตัวอย่างขึ้นมาศึกษา ดังนั้นจึงต้องมีการสุ่มตัวอย่าง
    การสุ่มตัวอย่าง เราจะต้องบอกวิธีการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
    1.การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling)วิธีการนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ได้จะมีความเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด
    2.การสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-probability Sampling) วิธีการนี้กลุ่มตัวอย่างจะไม่มีความเป็นตัวแทน
    วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล มีหลายวิธีที่น่าสนใจ คือ
    1.การสังเกต  เป็นวิธีการที่ทำให้เห็นข้อมูลได้โดยตรง สามารถรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยไม่ต้องการจะบอกได้ การสังเกตแบ่งออกเป็น
    1.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม หมายถึงผู้วิจัยเฝ้าสังเกตกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยแบบห่างๆ เช่น นักวิจัยมานั่งสังเกตการสอนในระดับปริญญาโท
    1.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เช่นผู้วิจัยอาจจะเข้ามาร่วมเรียนในชั้นเพื่อสังเกตพฤติกรรมการสอนในระดับปริญญาโท 
    ทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม ยังแบ่งออกเป็น
    -การสังเกตแบบมีเค้าโครงล่วงหน้า แบ่งออกเป็น
** การสังเกตแบบมีแบบ คือมีประเด็นที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะสังเกตอะไรบ้าง เช่นถ้าสังเกตการสอนในระดับปริญญาโท อาจจะกำหนดว่าจะต้องสังเกตถึง ลักษณะการสอนของผู้สอน อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
    ** การสังเกตแบบประเมินค่า คือสังเกตแล้วมีการประเมินประเด็นต่างที่กำหนดด้วย เช่นครูกับนักเรียนมากการถามตอบกันกันมากน้อย คุณภาพเนื้อหาที่สอนมากหรือน้อย ความตั้งใจของผู้สอนมากหรือน้อย เป็นต้น
    -การสังเกตที่ไม่มีเค้าโครงล่วงหน้า ตัวผู้สังเกตก็จะมีอิสระไม่ได้กำหนดประเด็นที่จะสังเกต การสังเกตแบบนี้จะเก็บข้อมูลได้มากน้อยแค่ไหนจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สังเกต
    การสังเกตจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีจะเป็นเรื่องที่ทำให้นักวิจัยได้ข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ตรง เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดเพราะบางเรื่องเป็นเรื่องที่ยากในการสังเกต และพบว่าบางปรากฏการณ์สิ่งที่ผู้สังเกตมองเห็นกับความเป็นจริงเป็นคนละเรื่องกัน
    2.การสัมภาษณ์
    2.1 ประเภทของการสัมภาษณ์ 
    2.1.1 แบ่งตามลักษณะของการสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น
    -การสัมภาษณ์แบบมาตรฐาน หมายถึงผู้สัมภาษณ์จะกำหนดคำถามเอาไว้ก่อนและถามแบบเดียวกัน จะใช้ในกรณีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเฉพาะในงานวิจัยที่คนไม่อยากจะตอบแบบสอบถาม
    -การสัมภาษณ์ที่ไม่เป็นมาตรฐาน จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า แต่อาจจะมีคำถามคร่าวๆเอาไว้ก่อน
    2.1.2 ตามบทบาทของผู้สัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น
    -การสัมภาษณ์แบบไม่จำกัดคำตอบ คือปล่อยให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบไปเรื่อยๆ ผู้สัมภาษณ์ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี และบันทึกข้อมูล ไม่มีการชี้นำ
    -การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ต้องพยายามสัมภาษณ์ให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ต้องใช้ประสบการณ์ ถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงให้มากที่สุด
    -การสัมภาษณ์แบบปฏิบัติการซ้ำ เป็นการสัมภาษณ์ถามเรื่องหนึ่งไป ก่อนจากนั้นไปถามอีกเรื่องและย้อนกลับมาถามเรื่องเดิมอีกครั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
    2.1.3 แบ่งตามจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น
    -การสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล
    -สัมภาษณ์เป็นรายกลุ่ม หมายถึงการสัมภาษณ์พร้อมกันหลายคนและให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบและตอบโต้กันได้ โดยกลุ่มที่ถูกสัมภาษณ์ต้องเป็นกลุ่มกลุ่มเดียวกัน การสัมภาษณ์แบบนี้เรียกว่าการทำ Focus Group
    ขั้นตอนการสัมภาษณ์
    1.ศึกษาผู้ถูกสัมภาษณ์
    2.ขั้นสัมภาษณ์
    3.การบันทึกผล
    4.ขั้นปิดการสัมภาษณ์
ข้อดีของการสัมภาษณ์
ทำให้ได้คำตอบครบถ้วน ข้อมูลน่าเชื่อถือ สามารถแยกข้อมูลออกจากความเห็นได้ สามารถสังเกตข้อมูลเพิ่มเติมประกอบได้ ( เช่นสังเกตสีหน้า แววตาผู้ให้สัมภาษณ์) ถ้าข้องใจส่วนไหนสามารถทบทวนได้ทันที
    ข้อจำกัดของการสัมภาษณ์ 
การสัมภาษณ์จะทำให้เกิดความสิ้นเปลือง ผู้สัมภาษณ์อาจจะเกิดความลำเอียง หรือสามารถชี้นำคำตอบของผู้ถูกสัมภาษณ์ นอกจากนี้อาจจะได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนถ้าผู้สัมภาษณ์มองว่าเป็นการรบกวน 
3.การออกแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น
3.1 การสอบถามแบบปิด หมายถึงแบบสอบถามที่มีคำตอบให้ผู้ตอบเลือกตอบ
3.2 การสอบถามแบบปลายเปิด หมายถึงแบบสอบถามที่เปิดกว้างให้ผู้ตอบ ตอบได้อย่างอิสระ
การวิเคราะห์ข้อมูล
หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนักวิจัยต้องวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลก็จะแตกต่างกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
1.การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มีขั้นตอนคือ
-กำหนดดัชนี ระดับการวัด ในการวัด จำแนกประเภทของข้อมูล
-การกำหนดตัวแบบในการวิเคราะห์ เช่นถ้าเราวิเคราะห์ผลการสังเกตการไปวัดของคนในชุมชน เราอาจจะแบ่งออกเป็น กลุ่มอายุ ลักษณะพฤติกรรม
-ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
2.การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณ
-การวิเคราะห์ด้วยสถิติ
-ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์
-การอ่านผลและการเขียนรายงาน 
การสรุปผลของการวิจัย
1.จะต้องสรุปตามลำดับของเรื่อง และนำเสนอผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์และตามสมมุติฐาน
2.สรุปเฉพาะประเด็นสำคัญๆเท่านั้น กะทัดรัด ไม่ยืดเยื้อ
3.การสรุปมักจะสรุปว่าการวิจัยเป็นไปตามสมมุติฐาน
    นั่นคือกระบวนการวิจัยในขั้นตอนสำคัญๆทั้งหมด 
ถ้าข้อสอบถามว่ากระบวนการวิจัยมีอะไรบ้างและให้อธิบายแต่ละขั้น นักศึกษาจะต้องอธิบายตั้งแต่ขั้นกำหนดประเด็นปัญหาขอบข่ายของการวิจัยมาจนถึงการเขียนรายงานการวิจัย
ทั้งนี้ทุกขั้นตอนของการวิจัยจะต้องมีความสัมพันธ์กัน ถ้าข้อสอบให้ยกตัวอย่างกระบวนการวิจัยจะต้องเขียนให้สอดคล้องกัน 
    
    
    
    

    

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :