การสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง |
|
อ้างอิง
อ่าน 486 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
การสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง
ความหมายที่สำคัญ
1. การสอบสวน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (11) ให้ความหมายของคำว่า “การสอบสวน” ไว้ว่าหมายความถึง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือการพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำมาฟ้องลงโทษ และมาตรา 2 (6) “พนักงานสอบสวน” หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน
2. ผู้มีอำนาจสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 มีดังนี้
2.1 ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ได้แก่
(1) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่
(2) ปลัดอำเภอ
(3) ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
3. การอำนวยความเป็นธรรม หมายถึง การช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมภายในกรอบของกฎหมาย โดยการปฏิบัติให้ทั้งฝ่ายผู้เสียหายและผู้ถึงกล่าวหาได้รับความเสมอภาค
ประวัติอำนาจการสอบสวน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 จนถึงปัจจุบัน มีการสับเปลี่ยนอำนาจสอบสวนระหว่างพนักงานฝ่ายปกครอง (อำเภอ) กับตำรวจหลายครั้ง คือ
พ.ศ. 2479 – 2481 อำนาจสอบสวนอยู่กับอำเภอฝ่ายเดียว
พ.ศ. 2482 -2487 อำนาจสอบสวนโอนมายอยู่กับตำรวจฝ่ายเดียว
พ.ศ. 2488 อำนาจสอบสวนอยู่กับตำรวจและอำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน
พ.ศ. 2489-2502 อำนาจสอบสวนอยู่กับนายอำเภอ โดยนายอำเภอมีอำนาจแต่งตั้งให้ตำรวจทำการ
สอบสวน
พ.ศ. 2503 – 2506 อำนาจอยู่กับอำเภอและกิ่งอำเภอ (และฝ่ายจังหวัด) โดยนายอำเภอเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน
พ.ศ. 2506 – ปัจจุบัน อำนาจสอบสวนเป็นของตำรวจฝ่ายเดียว
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|