แนวข้อสอบพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 (ชุดที่ 1) *********************** |
|
อ้างอิง
อ่าน 2839 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
(ชุดที่ 1)
***********************
1. สมาชิกสภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
ก. ขึ้นอยู่กับขนาดเทศบาล ข. จำนวน 12 คน
ค. จำนวน 18 คน ง. จำนวน 24 คน
ตอบ “ข้อ ข. จำนวน 12 คน”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 15 สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวนดังต่อไปนี้
(1) สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
(2) สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน
(3) สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลเท่าที่มีอยู่
**********************************
2. สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวน ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
ก. สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
ข. สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน
ค. สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ “ข้อ ง. ถูกทุกข้อ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 15 สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวนดังต่อไปนี้
(1) สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
(2) สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน
(3) สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลเท่าที่มีอยู่
**********************************
3. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
ก. รองนายกเทศมนตรี นายกเทศมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง
ข. รองนายกเทศมนตรี ไม่ต้องเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
ค. รองนายกเทศมนตรีจะต้องให้สภาคัดเลือกจากสมาชิกสภาเทศบาล
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และข้อ ข.
ตอบ “ข้อ ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และข้อ ข.”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 48 อัฏฐ นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมายได้ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เทศบาลตำบล ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสองคน
(2) เทศบาลเมือง ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสามคน
(3) เทศบาลนคร ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสี่คน
นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลได้ โดยในกรณีเทศบาลตำบลให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสองคน ในกรณีเทศบาลเมืองให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสามคน และในกรณีเทศบาลนครให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินห้าคน
**********************************
4. ในกรณีที่ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลว่างลง เพราะพ้นจากสมาชิกภาพหรือลาออกจะต้องเลือกสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่ง ที่ว่างภายในกี่วัน
ก. 15 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ข. 30 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ค. 45 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ง. 45 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ตอบ “ข้อ ก. 15 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 20 ตรี ในกรณีที่ตำแหน่งประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลว่างลงเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 20 ทวิ ให้สภาเทศบาลเลือกสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
มาตรา 20 สภาเทศบาลมีประธานสภาคนหนึ่ง และรองประธานสภาคนหนึ่ง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล
ประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภาเทศบาล
มาตรา 20 ทวิ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 20 วรรคสอง ประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ลาออก โดยยืนหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาล
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 73
(4) สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่งหรือสภาเทศบาล ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติการหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
ผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลตาม (3) หรือ (4) จะดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลอีกไม่ได้ตลอดอายุของสภาเทศบาลนั้น
ให้ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลที่ได้รับเลือกใหม่อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา 73 ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาล ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของประชาชน ละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือมีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง หรือแก่เทศบาล หรือแก่ราชการ ให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมด้วยหลักฐาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่งก็ได้ คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด
**********************************
5. การประชุมสภาเทศบาล สมาชิกสภามีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกเทศมนตรี หรือรองนายกเทศมนตรีเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ นายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรีมีสิทธิไม่ตอบคำถามได้หรือไม่
ก. ได้เมื่อเห็นว่าข้อความนั้นๆ ยังไม่ควรปิดเผย
ข. ได้ทุกกรณี
ค. ไม่ได้เพราะไม่ใช่หน้าที่ของสภาเทศบาล
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ “ได้เมื่อเห็นว่าข้อความนั้นๆ ยังไม่ควรปิดเผย”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 31 ในที่ประชุมสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรีในข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับการงานในหน้าที่ได้ แต่นายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรีมีสิทธิที่จะไม่ตอบ เมื่อเห็นว่าข้อความนั้นๆ ยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของเทศบาล
**********************************
6. กรณีสภาเทศบาลว่างลง เพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามวาระหรือยุบสภา ให้เลือกสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนให้เต็มตำแหน่งที่ว่างภายในกำหนดเวลากี่วัน
ก. 30 วัน ข. 60 วัน ค. 45 วัน ง. 180 วัน
ตอบ “ข้อ ข. 60 วัน”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 16 สมาชิกสภาเทศบาลให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ถ้าตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระหรือมีการยุบสภา ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นสมาชิกสภาเทศบาลผู้เข้ามาแทนให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของผู้ซึ่งตนแทน
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 7 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นดำรงตำแหน่งครบวาระ หรือภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่นจะเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจมีคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาให้มีการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งได้ตามความจำเป็นเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ โดยต้องระบุเหตุผลการมีคำสั่งดังกล่าวด้วยในการจัดให้มีการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการจัดการเลือกตั้ง
**********************************
7. กรณีสภาเทศบาลวินิจฉัยให้สมาชิกสภาเทศบาลผู้ใด ออกจากสมาชิกสภาพได้นั้น มติต้องมีคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าเท่าใด ของจำนวนสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่ง
ก. สองในสาม ข. หนึ่งในสาม ค. กึ่งหนึ่ง ง. สามในสี่
ตอบ “ข้อ ง. สามในสี่”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 19 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลง เมื่อ
(1) ถึงคราวออกตามวาระ หรือมีการยุบสภาเทศบาล
(2) ตาย
(3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 15 วรรคสอง
(5) ขาดประชุมสภาเทศบาลสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 18 ทวิ
(7) สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่เทศบาลหรือกระทำการอันเสื่อมเสียประโยชน์ของสภาเทศบาล โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
(8) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่าสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดสิ้นสุดลงตาม (4) (5) หรือ (6) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลงตาม (8) พร้อมกันทั้งหมด ให้ถือว่าเป็นการยุบสภาเทศบาล
***ถ้าโจทย์ถามว่า “สมาชิกสภาเทศบาลจำนวนเท่าใด ที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา กรณีประพฤติในทางเสื่อมฯ ต้องตอบว่า ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกภาพทั้งหมด จำดีๆน่ะครับข้อสอบเคยออกมาแล้ว
**********************************
8. ผู้ใดมีหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาเทศบาลให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล
ก. ประธานสภาเทศบาล ข. นายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรี
ค. สมาชิกสภาเทศบาล ง. ปลัดเทศบาล
ตอบ “ข้อ ก.ประธานสภาเทศบาล”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 21 ประธานสภาเทศบาล มีหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาเทศบาลให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล
รองประธานสภาเทศบาล มีหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภาเทศบาลในเมื่อประธานสภาเทศบาลไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
***ถ้าเกี่ยวกับกิจการของสภาหรือเรื่องประชุมสภา ตอบหรือเดาไว้ก่อนว่า
“ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภา” กรณีที่ตัวเลือกไม่มีตัวเลือก อาจเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกรณีไม่มี 2 ตำแหน่ง และเป็นการประชุมครั้งแรกของสภาเทศบาล
**********************************
9. ในกรณีที่ยังไม่มีประธานสภาเทศบาล หรือประธานสภาเทศบาลไม่เรียกประชุมตามกฎหมายผู้ใดจะเป็นผู้เรียกประชุม
ก. นายกเทศมนตรี ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. ปลัดเทศบาล ง. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ตอบ “ข้อ ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 25 โดยปกติให้ประธานสภาเทศบาลเป็นผู้เรียกประชุมสภาเทศบาลตามสมัยประชุม และเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม
ในกรณีที่ยังไม่มีประธานสภาเทศบาล หรือประธานสภาเทศบาลไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เรียกประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม
**********************************
10. พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 จะใช้บังคับแก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทใด และเมื่อใด ให้ตราเป็นกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง ง. ระเบียบกระทรวง
ตอบ “ข้อ ข. พระราชกฤษฎีกา”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป แต่จะใช้บังคับแก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทใดและเมื่อใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
** โจทย์ข้อนี้เคยออกสอบ แต่เป็นกฎหมายเลือกตั้ง ดังนั้นกฎหมายเลือกตั้งของท้องถิ่น เราก็ต้องทำความเข้าใจด้วย บางทีในประกาศสอบไม่ได้ระบุบางตำแหน่ง แต่เราต้องรู้บ้าง จะโวยวายกรรมการออกข้อสอบ คงไม่มีประโยชน์ กับคะแนนที่เราควรจะได้”
**********************************
11. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้แบ่งเขตเลือกตั้งเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้งกี่เขต
ก. 1 เขต ข. 2 เขต ค. 3 เขต ง. 4 เขต
ตอบ “ข้อ ข. 2 เขต”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 16 สมาชิกสภาเทศบาลให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ถ้าตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระหรือมีการยุบสภา ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาลผู้เข้ามาแทนให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของผู้ซึ่งตนแทน (และต้องดูพระราชบัญญัติด้านล่างประกอบถึงจะหาคำตอบได้)
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 13 การกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ถือเขตเป็นเขตเลือกตั้ง ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เกินหนึ่งแสนคน ให้แบ่งเขตนั้นออกเป็นเขตเลือกตั้ง โดยถือเกณฑ์จำนวนราษฎรหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสนถ้าเกินห้าหมื่น ให้เพิ่มเขตเลือกตั้งในเขตนั้นได้อีกหนึ่งเขตเลือกตั้ง
(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่าหนึ่งคนให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น
(3) การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสองเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมือง ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสามเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนคร หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา ให้แบ่งเขตเทศบาลหรือเขตเมืองพัทยาเป็นสี่เขตเลือกตั้ง และต้องมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลเท่ากันทุกเขตเลือกตั้ง
(4) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง
(5) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้ถือเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
**********************************
12. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมือง ให้แบ่งเขตเลือกตั้งเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้งกี่เขต
ก. 1 เขต ข. 2 เขต ค. 3 เขต ง. 4 เขต
ตอบ “ข้อ ค. 3 เขต”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 16 สมาชิกสภาเทศบาลให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ถ้าตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระหรือมีการยุบสภา ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาลผู้เข้ามาแทนให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของผู้ซึ่งตนแทน
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 13 การกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ถือเขตเป็นเขตเลือกตั้ง ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เกินหนึ่งแสนคน ให้แบ่งเขตนั้นออกเป็นเขตเลือกตั้ง โดยถือเกณฑ์จำนวนราษฎรหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสนถ้าเกินห้าหมื่น ให้เพิ่มเขตเลือกตั้งในเขตนั้นได้อีกหนึ่งเขตเลือกตั้ง
(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่าหนึ่งคนให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น
(3) การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสองเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมือง ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสามเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนคร หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา ให้แบ่งเขตเทศบาลหรือเขตเมืองพัทยาเป็นสี่เขตเลือกตั้ง และต้องมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลเท่ากันทุกเขตเลือกตั้ง
(4) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง
(5) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้ถือเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
**********************************
13. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนคร ให้แบ่งเขตเลือกตั้งเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้งกี่เขต
ก. 1 เขต ข. 2 เขต ค. 3 เขต ง. 4 เขต
ตอบ “ข้อ ง. 4 เขต”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 16 สมาชิกสภาเทศบาลให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ถ้าตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระหรือมีการยุบสภา ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาลผู้เข้ามาแทนให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของผู้ซึ่งตนแทน
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 13 การกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ถือเขตเป็นเขตเลือกตั้ง ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เกินหนึ่งแสนคน ให้แบ่งเขตนั้นออกเป็นเขตเลือกตั้ง โดยถือเกณฑ์จำนวนราษฎรหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสนถ้าเกินห้าหมื่น ให้เพิ่มเขตเลือกตั้งในเขตนั้นได้อีกหนึ่งเขตเลือกตั้ง
(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่าหนึ่งคนให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น
(3) การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสองเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมือง ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสามเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนคร หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา ให้แบ่งเขตเทศบาลหรือเขตเมืองพัทยาเป็นสี่เขตเลือกตั้ง และต้องมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลเท่ากันทุกเขตเลือกตั้ง
(4) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง
(5) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้ถือเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
**********************************
14. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา ให้แบ่งเขตเลือกตั้งเมืองพัทยาเป็นเขตเลือกตั้งกี่เขต
ก. 1 เขต ข. 2 เขต ค. 3 เขต ง. 4 เขต
ตอบ “ข้อ ง. 4 เขต”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 16 สมาชิกสภาเทศบาลให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ถ้าตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระหรือมีการยุบสภา ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาลผู้เข้ามาแทนให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของผู้ซึ่งตนแทน
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 13 การกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ถือเขตเป็นเขตเลือกตั้ง ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เกินหนึ่งแสนคน ให้แบ่งเขตนั้นออกเป็นเขตเลือกตั้ง โดยถือเกณฑ์จำนวนราษฎรหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสนถ้าเกินห้าหมื่น ให้เพิ่มเขตเลือกตั้งในเขตนั้นได้อีกหนึ่งเขตเลือกตั้ง
(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่าหนึ่งคนให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น
(3) การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสองเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมือง ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสามเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนคร หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา ให้แบ่งเขตเทศบาลหรือเขตเมืองพัทยาเป็นสี่เขตเลือกตั้ง และต้องมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลเท่ากันทุกเขตเลือกตั้ง
(4) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง
(5) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้ถือเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
******************************************
15. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ตำบล,เมือง.นคร และเมืองพัทยา) ให้แบ่งเขตเลือกตั้งตามกฎหมาย และสมาชิกสภาต้องมีจำนวนเท่าใดนั้น ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลเท่ากันทุกเขต ข. จำนวนสมาชิกสภาเมืองพัทยาเท่ากันทุกเขต ค. จำนวนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กกต.แต่ละแห่ง ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และข้อ ข.
ตอบ “ข้อ ง. ถูกเฉพาะ ข้อ ก. และข้อ ข.”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 16 สมาชิกสภาเทศบาลให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ถ้าตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระหรือมีการยุบสภา ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาลผู้เข้ามาแทนให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของผู้ซึ่งตนแทน
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 13 การกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ถือเขตเป็นเขตเลือกตั้ง ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เกินหนึ่งแสนคน ให้แบ่งเขตนั้นออกเป็นเขตเลือกตั้ง โดยถือเกณฑ์จำนวนราษฎรหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสนถ้าเกินห้าหมื่น ให้เพิ่มเขตเลือกตั้งในเขตนั้นได้อีกหนึ่งเขตเลือกตั้ง
(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่าหนึ่งคนให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น
(3) การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสองเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมือง ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสามเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนคร หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา ให้แบ่งเขตเทศบาลหรือเขตเมืองพัทยาเป็นสี่เขตเลือกตั้ง และต้องมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลเท่ากันทุกเขตเลือกตั้ง
(4) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง
(5) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้ถือเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
****ข้อสังเกต*** จะเห็นได้ว่า ในตัวบทกฎหมายไม่ได้ระบุสมาชิกสภาเมืองพัทยาไว้โดยตรง แต่เราต้องหัดตีความ สมาชิกสภาเทศบาลนครหรือสมาชิกสภาเมืองพัทยานั้น แบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากัน **ดังนั้นคำตอบในเรื่องสมาชิกต้องเท่ากันทุกเขตเลือกตั้งด้วยครับ คำตอบข้อนี้ จึงต้องตอบ 2 ข้อ คือข้อ ง.****
******************************************
16. การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้ถือหลักเกณฑ์ตามข้อใด
ก. ให้ถือตำบลเป็นเขตเลือกตั้ง
ข. ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง
ค. ให้ถือเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเขตเลือกตั้ง
ง. ให้ถืออำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง
ตอบ “ข้อ ข. ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง”
***เวลาเข้าทำข้อสอบจริง อาจมีเรื่องอบต.หรือกฎหมายอื่นๆมาเกี่ยวข้องแทรกด้วย ต้องรู้ไปควบคู่ไปด้วย เพราะใช้กฎหมายเลือกตั้งเดียวกันครับ ไม่ใช่ดูเรื่องเทศบาลอย่างเดียว เพราะคำตอบจะต่างกัน (ถ้าเรารู้ เราก็ได้คะแนนเพิ่มอีก)***
อธิบายตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 13 การกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ถือเขตเป็นเขตเลือกตั้ง ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เกินหนึ่งแสนคน ให้แบ่งเขตนั้นออกเป็นเขตเลือกตั้ง โดยถือเกณฑ์จำนวนราษฎรหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสนถ้าเกินห้าหมื่น ให้เพิ่มเขตเลือกตั้งในเขตนั้นได้อีกหนึ่งเขตเลือกตั้ง
(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่าหนึ่งคนให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น
(3) การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสองเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมือง ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสามเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนคร หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา ให้แบ่งเขตเทศบาลหรือเขตเมืองพัทยาเป็นสี่เขตเลือกตั้ง และต้องมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลเท่ากันทุกเขตเลือกตั้ง
(4) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง
(5) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้ถือเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
**********************************
17. เขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นให้ถือตามข้อใด
ก. ให้ใช้เขตตำบลเป็นเขตเลือกตั้ง
ข. ให้ใช้เขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง
ค. ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
ง. ให้ใช้เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเขตเลือกตั้ง
ตอบ “ข้อ ง. ให้ใช้เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเขตเลือกตั้ง”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 16 การกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น ให้ใช้เขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง
**********************************
18. ใครเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดหน่วยเลือกตั้งของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก. กกต.ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข. กกต.ประจำจังหวัด
ค. ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ “ข้อ ค. ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2546
มาตรา 17 ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งที่จะพึงมีในแต่ละเขตเลือกตั้ง
**********************************
19. สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (อบต.,เทศบาล,อบจ.) นับจากวันครบวาระการดำรงตำแหน่ง จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามข้อใด
ก. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ครบวาระ
ข. ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ครบวาระ
ค. หลังจากวันที่ครบวาระ 45 วัน
ง. ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ครบวาระ
ตอบ “ข้อ ข. ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ครบวาระ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2546
มาตรา 7 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นดำรงตำแหน่งครบวาระ หรือภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่นจะเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
** หลักการจำ ถ้าครบวาระต้องเลือกตั้งภายใน 45 วัน (หลักการการคือว่า กกต.เตรียมเลือกตั้งได้ทัน)
** ถ้าเหตุอื่น กรณีลาออก ตาย ทำผิดกฎหมายเป็นต้น เลือกตั้งภายใน 60 วัน (อาจเตรียมการเลือกไม่ทัน ดังนั้นเวลาต้องมากกว่ากัน)**
(หลักการจำตัวนี้ เป็นเพียงเพื่อให้จำง่ายๆ ต้องมีคำว่าภายใน และก็ถ้ามีคำว่า ครบ ตอบทันที 45 วันด้วยน่ะครับ อาจพิมพ์แสดงความเห็นต่างๆ อาจน่ารำคาญ แต่เพื่อให้ผู้อ่านแนวข้อสอบผมนี้ ทำข้อสอบให้ได้คะแนนมากที่สุด ทนอ่านหน่อยน่ะครับ)
**********************************
20. การยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล ต้องตราเป็นอะไร
ก. พระราชกฤษฎีกา ข. พระราชกำหนด
ค. ประกาศกระทรวงมหาดไทย ง. ข้อ ก. หรือ ข้อ ค.
ตอบ “ข้อ ข. ประกาศกระทรวงมหาดไทย”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 9 เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย
*** ข้อควรจำ จะยกฐานะอบต.เป็นเทศบาลตำบล
**** ยกฐานะเทศบาลตำบล เป็นเทศบาลเมือง
**** ยกฐานะเทศบาลเมือง เป็นเทศบาลนคร
**** เปลี่ยนชื่อเทศบาลใหม่
**** เปลี่ยนเขตการปกครอง
**** การยุบเลิกเทศบาล
มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่หนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเป็นเทศบาลนคร ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
มาตรา 12 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 11 การเปลี่ยนชื่อเทศบาลหรือการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล ให้กระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย
ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน ในท้องถิ่นที่ได้เปลี่ยนแปลงเขตเป็นเทศบาลตามความในวรรคหนึ่งสิ้นสุดอำนาจหน้าที่เฉพาะในเขตที่ได้เปลี่ยนแปลงนั้นเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลใช้บังคับต้นไป
มาตรา 13 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 12 ท้องถิ่นซึ่งได้ยกฐานะเป็นเทศบาลแล้วอาจถูกเปลี่ยนแปลงฐานะหรือยุบเลิกได้โดยทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย
ท้องถิ่นที่ได้เปลี่ยนแปลงฐานะตามความในวรรคหนึ่ง ให้พ้นจากสภาพแห่งเทศบาลเดิมนับแต่วันที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นต้นไป บรรดาทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และสิทธิเรียกร้องของเทศบาลเดิมให้โอนไปเป็นของเทศบาลใหม่ในขณะเดียวกันนั้น และบรรดาเทศบัญญัติที่ได้ใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว คงให้ใช้บังคับต่อไป
ในการยุบเลิกเทศบาล ให้ระบุถึงวิธีการจัดทรัพย์สินไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นด้วย
**********************************
21. เทศบาลแบ่งเป็นกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท ค. 4 ประเภท ง. 5 ประเภท
ตอบ “ข้อ ข. 3 ประเภท ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 7 เมื่อท้องถิ่นใดมีสภาพอันสมควรยกฐานะเป็นเทศบาล ให้จัดตั้งท้องถิ่นนั้นๆ เป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้เทศบาลเป็นทบวงการเมือง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
***สังเกต** ให้เทศบาลเป็นทบวงการเมือง***ยังไม่มีแก้ไขเป็นอย่างอื่น ม.7 ถ้าข้อสอบถามก็ตอบตามนี้****
*** ถ้าถามเรื่องขนาด ต้องตอบว่า ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ คนละคำถามกับประเภทน่ะครับ ตัวนี้คำอธิบายดูได้จากประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลประจำจังหวัดต่างๆครับ ไม่ได้เอาเนื้อหามาลงให้ดู****
**********************************
22. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่กี่คนขึ้นไป
ก. หนึ่งหมื่นคน ข. สองหมื่นคน ค. สี่หมื่นคน ง. ห้าหมื่นคน
ตอบ “ข้อ ง. ห้าหมื่นคน ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเป็นเทศบาลนคร ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
***ข้อสังเกต ในการตอบคำถาม หากเป็นเทศบาลตำบล จะไม่เรื่องราษฎรมาเกี่ยวข้อง***
จำนวนราษฎรระบุเฉพาะ 1.(เทศบาลเมือง = ตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป ขยายความเพิ่มคือ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด หรือ หรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่หนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้
2. (เทศบาลนคร = ตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป ขยายความเพิ่มคือ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้
**********************************
23. การเปลี่ยนแปลงชื่อหรือการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล ให้กระทำโดย
ก. พระราชกฤษฎีกา ข. พระราชบัญญัติ
ค. พระราชกำหนด ง. ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตอบ “ข้อ ง. ประกาศกระทรวงมหาดไทย ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 12 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 11 การเปลี่ยนชื่อเทศบาลหรือการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล ให้กระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย
ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน ในท้องถิ่นที่ได้เปลี่ยนแปลงเขตเป็นเทศบาลตามความในวรรคหนึ่งสิ้นสุดอำนาจหน้าที่เฉพาะในเขตที่ได้เปลี่ยนแปลงนั้นเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลใช้บังคับต้นไป
มาตรา 9 เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย
มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่หนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเป็นเทศบาลนคร ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
**********************************
24. เทศบาลตำบล มีรองนายกเทศมนตรีกี่คน
ก. 2 คน ข. 3 คน ค. 4 คน ง.แล้วแต่นายกเทศมนตรี
ตอบ “ข้อ ก. 2 คน ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 48 อัฏฐ นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมายได้ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เทศบาลตำบล ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสองคน
(2) เทศบาลเมือง ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสามคน
(3) เทศบาลนคร ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสี่คน
นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลได้ โดยในกรณีเทศบาลตำบลให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสองคน ในกรณีเทศบาลเมืองให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสามคน และในกรณีเทศบาลนครให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินห้าคน
**********************************
25. เทศบาลเมือง มีรองนายกเทศมนตรีกี่คน
ก. 2 คน ข. 3 คน ค. 4 คน ง.แล้วแต่นายกเทศมนตรี
ตอบ “ข้อ ข. 3 คน ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 48 อัฏฐ นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมายได้ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เทศบาลตำบล ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสองคน
(2) เทศบาลเมือง ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสามคน
(3) เทศบาลนคร ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสี่คน
นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลได้ โดยในกรณีเทศบาลตำบลให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสองคน ในกรณีเทศบาลเมืองให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสามคน และในกรณีเทศบาลนครให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินห้าคน
**********************************
26. เทศบาลนคร มีรองนายกเทศมนตรีกี่คน
ก. 2 คน ข. 3 คน ค. 4 คน ง.แล้วแต่นายกเทศมนตรี
ตอบ “ข้อ ค. 4 คน ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 48 อัฏฐ นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมายได้ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เทศบาลตำบล ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสองคน
(2) เทศบาลเมือง ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสามคน
(3) เทศบาลนคร ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสี่คน
นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลได้ โดยในกรณีเทศบาลตำบลให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสองคน ในกรณีเทศบาลเมืองให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสามคน และในกรณีเทศบาลนครให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินห้าคน
**********************************
27. เทศบาลนคร มีสมาชิกสภาเทศบาลกี่คน
ก. 12 คน ข. 16 คน ค. 18 คน ง. 24 คน
ตอบ “ข้อ ง. 24 คน ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 15 สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวนดังต่อไปนี้
(1) สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
(2) สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน
(3) สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลเท่าที่มีอยู่
**********************************
28. เทศบาลเมือง มีสมาชิกสภาเทศบาลกี่คน
ก. 12 คน ข. 16 คน ค. 18 คน ง. 24 คน
ตอบ “ข้อ ค. 18 คน ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 15 สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวนดังต่อไปนี้
(1) สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
(2) สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน
(3) สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลเท่าที่มีอยู่
**********************************
29. เทศบาลตำบล มีสมาชิกสภาเทศบาลกี่คน
ก. 12 คน ข. 16 คน ค. 18 คน ง. 24 คน
ตอบ “ข้อ ก. 12 คน ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 15 สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวนดังต่อไปนี้
(1) สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
(2) สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน
(3) สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลเท่าที่มีอยู่
**********************************
30. ผู้ใดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาล ให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย
ก. นายกเทศมนตรี ข. นายอำเภอ ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ปลัดจังหวัด
ตอบ “ข้อ ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 71 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดนั้นให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่ชี้แจงแนะนำตักเตือนเทศบาล และตรวจสอบกิจการ เรียกรายงานและเอกสารหรือสถิติใดๆ จากเทศบาลมาตรวจ ตลอดจนเรียกสมาชิกสภาเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลมาชี้แจงหรือสอบสวนก็ได้
ให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลเทศบาลตำบลในอำเภอนั้น ให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่ชี้แจงแนะนำตักเตือนเทศบาลตำบล และตรวจสอบกิจการ เรียกรายงานและเอกสารหรือสถิติใดๆ จากเทศบาลมาตรวจ ตลอดจนเรียกสมาชิกสภาเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลมาชี้แจงหรือสอบสวนก็ได้
**********************************
31. สมาชิกสภาเทศบาลลาออกจากตำแหน่ง จะต้องยื่นหนังสือลาออกต่อใคร
ก. นายกเทศมนตรี ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. ประธานสภาเทศบาล ง. นายอำเภอ
ตอบ “ข้อ ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 19 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลง เมื่อ
(1) ถึงคราวออกตามวาระ หรือมีการยุบสภาเทศบาล
(2) ตาย
(3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 15 วรรคสอง
(5) ขาดประชุมสภาเทศบาลสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 18 ทวิ
(7) สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่เทศบาลหรือกระทำการอันเสื่อมเสียประโยชน์ของสภาเทศบาล โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
(8) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่าสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดสิ้นสุดลงตาม (4) (5) หรือ (6) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลงตาม (8) พร้อมกันทั้งหมด ให้ถือว่าเป็นการยุบสภาเทศบาล
มาตรา 15 สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวนดังต่อไปนี้
(1) สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
(2) สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน
(3) สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลเท่าที่มีอยู่
มาตรา 18 ทวิ สมาชิกสภาเทศบาลต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลนั้น หรือที่เทศบาลนั้นจะกระทำ
**********************************
32. รองประธานสภาเทศบาลลาออก จะต้องยื่นหนังสือลาออกต่อใคร
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. นายกเทศมนตรี
ค. ประธานสภาเทศบาล ง. นายอำเภอ
ตอบ “ข้อ ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 20 ทวิ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 20 วรรคสอง ประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ลาออก โดยยืนหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาล
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 73
(4) สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่งหรือสภาเทศบาล ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติการหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
ผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลตาม (3) หรือ (4) จะดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลอีกไม่ได้ตลอดอายุของสภาเทศบาลนั้น
ให้ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลที่ได้รับเลือกใหม่อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา 20 สภาเทศบาลมีประธานสภาคนหนึ่ง และรองประธานสภาคนหนึ่ง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล
ประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภาเทศบาล
มาตรา 73 ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาล ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของประชาชน ละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือมีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง หรือแก่เทศบาล หรือแก่ราชการ ให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมด้วยหลักฐาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่งก็ได้ คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด
**********************************
33. รองนายกเทศมนตรีลาออกตำแหน่ง จะต้องยื่นหนังสือลาออกต่อใคร
ก. ประธานสภาเทศบาล ข. นายกเทศมนตรี
ค. นายอำเภอ ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ “ข้อ ข. นายกเทศมนตรี”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 48 โสฬส รองนายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
(2) นายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
(3) ตาย
(4) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายกเทศมนตรี
(5) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 48 นว
(6) กระทำการฝ่าฝืนตามมาตรา 48 จตุทศ
(7) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(8) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาสอบสวนและสั่งให้ออกจากตำแหน่งตาม มาตรา 73
ให้นำความใน (1) (2) (3) (4) (6) และ (7) มาใช้บังคับกับการพ้นจากตำแหน่งของที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรีด้วยโดยอนุโลม
ให้นำความในวรรคสามของมาตรา 48 ปัญจทศ มาใช้บังคับกับกรณีของรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรีด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 48 นว รองนายกเทศมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 48 เบญจ
มาตรา 48 เบญจ บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น หรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
(4) เคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งถูกให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
มาตรา 48 จตุทศ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรีต้องไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เว้นแต่ตำแหน่งที่ดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(2) รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจนอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติกับบุคคลในธุรกิจการงานตามปกติ
(3)เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลนั้น หรือที่เทศบาลนั้นจะกระทำ
บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งได้รับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญหรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งรับเงินตอบแทนค่าเบี้ยประชุมหรือเงินอื่นใดเนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภาหรือวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาเทศบาลหรือสภาท้องถิ่นอื่น หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง
มาตรา 48 ปัญจทศ นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ถึงคราวออกตามวาระ
(2) ตาย
(3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 48 เบญจ
(5) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 48 จตุทศ
(6) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 62 ตรี วรรคห้า หรือมาตรา 73
(7) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(8) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่านายกเทศมนตรีไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ในระหว่างที่ไม่มีนายกเทศมนตรี ให้ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี
เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นนายกเทศมนตรีสิ้นสุดลงตาม (4) หรือ (5) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด (วรรคนี้แหละเรียกว่าวรรคสาม)
****สำหรับ มาตรา 48 ปัญจทศ ให้นำมาใช้เฉพาะวรรคสาม กับรองนายกเทศมนตรีโดยอนุโลม แต่ข้อสอบอาจไม่ออกเจาะลึกขนาดนี้ แต่รู้ไว้บ้างก็ดี เวลาทำงาน เผื่อหัวหน้างานถามหรือญาติพี่น้องถาม รู้ไว้ไม่เสียหาย*****
*****************************************
34. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งได้แจ้งเหตุ ดังต่อไปนี้ต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งก็ได้ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. เจ็บป่วย ไม่ว่าถึงขนาดต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่
ข. มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สะดวกในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ค. มีอายุเกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ง. อยู่ในภูมิลำเนาในเวลาเลือกตั้ง
ตอบ “ข้อ ง. อยู่ในภูมิลำเนาในเวลาเลือกตั้ง”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 35 ผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 33 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 34 มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เว้นแต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งได้แจ้งเหตุ ดังต่อไปนี้ต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งก็ได้
(1) เจ็บป่วย ไม่ว่าถึงขนาดต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่
(2) มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สะดวกในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
(3) มีอายุเกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(4) ไม่อยู่ในภูมิลำเนาในเวลาเลือกตั้ง
(5) เหตุอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งรับผิดชอบในการจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยจะจัดส่งหนังสือแจ้งเหตุนั้นทางไปรษณีย์ก็ได้ ในการนี้ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บันทึกเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และเก็บหนังสือแจ้งเหตุนั้นไว้เป็นหลักฐาน
การแจ้งเหตุตามวรรคสอง ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้นั้น ที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง
*****************************************
35. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยมิได้แจ้งเหตุ ผู้นั้นเสียสิทธิดังนี้ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. สอบบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการทุกประเภท
ข. สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
ค. สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
ง. สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
ตอบ “ข้อ ก. สอบบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการทุกประเภท”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 37 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยมิได้แจ้งเหตุตามมาตรา 35 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 36 วรรคหนึ่ง ให้ผู้นั้นเสียสิทธิดังต่อไปนี้
(1) สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
(2) สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
(3) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
(4) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
(5) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
(6) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
การเสียสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
**********************************
36. บุคคลใดเป็นมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
ก. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
ข. อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ค. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
ง. ได้เสียภาษีตามกฎหมายเป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปีนับถึงปีที่สมัครรับสมัครเลือกตั้ง
ตอบ “ง. ได้เสียภาษีตามกฎหมายเป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปีนับถึงปีที่สมัครรับสมัครเลือกตั้ง”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 44 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง (ข้อนี้เคยออกสอบเหมือนกัน 25 ปี ในวันเลือกตั้ง)
(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือน และที่ดินหรือกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาติดต่อกันสามปีนับถึงปีที่สมัครรับเลือกตั้ง และ
(4) คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
มาตรา 45 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(1) ติดยาเสพติดให้โทษ
(2) เป็นบุคคลล้มละลาย
(3) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 34 (1) (2) หรือ (3)
(4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
(5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป และได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(6) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะได้รับโทษหรือไม่ โดยได้พ้นโทษหรือต้องคำพิพากษามายังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันเลือกตั้งแล้วแต่กรณี
(7) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(8) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(9) เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี มายังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง
(10) อยู่ในระหว่างเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามมาตรา 37 หรือตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
(11) เคยถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมายังไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งอันเนื่องมาจากการกระทำการโดยไม่สุจริตตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับเลือกตั้ง หรือได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริต
(12) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(13) เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(14) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(15) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(16) เป็นกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(17) ลักษณะอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
มาตรา 34 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
(1) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(2) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(5) มีลักษณะอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
มาตรา 37 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยมิได้แจ้งเหตุตามมาตรา 35 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 36 วรรคหนึ่ง ให้ผู้นั้นเสียสิทธิดังต่อไปนี้
(1) สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
(2) สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
(3) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
(4) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
(5) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
(6) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
การเสียสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
มาตรา 35 ผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 33 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 34 มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เว้นแต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งได้แจ้งเหตุ ดังต่อไปนี้ต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งก็ได้
(1) เจ็บป่วย ไม่ว่าถึงขนาดต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่
(2) มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สะดวกในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
(3) มีอายุเกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(4) ไม่อยู่ในภูมิลำเนาในเวลาเลือกตั้ง
(5) เหตุอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งรับผิดชอบในการจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยจะจัดส่งหนังสือแจ้งเหตุนั้นทางไปรษณีย์ก็ได้ ในการนี้ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บันทึกเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และเก็บหนังสือแจ้งเหตุนั้นไว้เป็นหลักฐาน
การแจ้งเหตุตามวรรคสอง ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้นั้น ที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง
มาตรา 36 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยมิได้แจ้งเหตุตามมาตรา 35 วรรคหนึ่ง ให้ผู้นั้นทำหนังสือแจ้งเหตุดังกล่าวต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง และให้นำความในมาตรา 35 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับหนังสือแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ทำการตรวจสอบหลักฐานการลงคะแนนเลือกตั้ง ถ้าพบว่ามีผู้มาแสดงตนและลงคะแนนเลือกตั้งแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาว่าจะสมควรมีคำสั่งให้เพิกถอนผลการเลือกตั้งหรือไม่
ดูพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 ประกอบ เพราะใช้ประกอบกัน
มาตรา 15 สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวนดังต่อไปนี้
(1) สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
(2) สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน
(3) สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลเท่าที่มีอยู่
*** ข้อสังเกต** ข้อ ก. เป็นผู้มีสัญชาติไทย (ต้องมีคำว่า โดยการเกิด และก็ไม่มีคำว่าแปลงสัญชาติมาเกี่ยวข้อง ** ข้อสอบออกบ่อยมาก อย่าสับสน**
ส่วน ข้อ ง. ที่เป็นคำตอบ สังเกต มาตรา 44 (4) มีคำว่าหรือ ดังนั้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็มีสิทธิสมัครครับ
**********************************
37. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. บุคคลล้มละลายเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง
ข. บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิดมีสิทธิรับสมัครเลือกตั้ง
ค. ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกัน 1 ปี 6 เดือนขึ้นไป
ง. ผู้ได้รับโทษจำคุกมาแล้ว 5 ปี 6 เดือน มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น
ตอบ “ข้อ ง. ผู้ได้รับโทษจำคุกมาแล้ว 5 ปี 6 เดือน มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 44 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือน และที่ดินหรือกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาติดต่อกันสามปีนับถึงปีที่สมัครรับเลือกตั้ง และ
(4) คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
มาตรา 45 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(1) ติดยาเสพติดให้โทษ
(2) เป็นบุคคลล้มละลาย
(3) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 34 (1) (2) หรือ (3)
(4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
(5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป และได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(6) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะได้รับโทษหรือไม่ โดยได้พ้นโทษหรือต้องคำพิพากษามายังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันเลือกตั้งแล้วแต่กรณี
(7) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(8) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(9) เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี มายังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง
(10) อยู่ในระหว่างเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามมาตรา 37 หรือตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
(11) เคยถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมายังไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งอันเนื่องมาจากการกระทำการโดยไม่สุจริตตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับเลือกตั้ง หรือได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริต
(12) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(13) เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(14) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(15) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(16) เป็นกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(17) ลักษณะอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
(ดูคำอธิบายเพิ่มเติมข้อ 36 เพิ่มเติม)
**********************************
38. การยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะต้องยื่นคำร้องตามข้อใด
ก. ภายใน 15 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
ข. ภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
ค. ภายใน 15 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
ง. ภายใน 30 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
ตอบ “ข้อ ง. ภายใน 30 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 102 เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งของเขตเลือกตั้งใดแล้ว หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบคน ผู้สมัคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอในเขตเลือกตั้งนั้น เห็นว่าการเลือกตั้งหรือการนับคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยทุจริตหรือไม่เที่ยงธรรมหรือไม่ถูกต้องให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
เพื่อประโยชน์ในการคัดค้านการเลือกตั้งหรือการนับคะแนนเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดค้านการเลือกตั้ง หรือการนับคะแนนเลือกตั้งได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
**********************************
39. นายจ้างผู้ใด ขัดขวางหน่วงเหนี่ยว โดยไม่มีเหตุอันสมควรในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของลูกจ้าง จะมีความผิดต้องระวางโทษตามข้อใด
ก. ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท ทั้งทั้งจำทั้งปรับ
อธิบายตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
มาตรา 109 ผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างผู้ใดขัดขวาง หน่วงเหนี่ยว หรือไม่ให้ความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควรในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกจ้างแล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
**********************************
40. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้แผนใด เป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณประจำปี
ก. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ข. แผนพัฒนาสามปี
ข. แผนดำเนินงาน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ “ข้อ ข. แผนพัฒนาสามปี”
อธิบายตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
ข้อ ๒๒ ให้ใช้แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณ ให้หัวหน้าหน่วยงานจัดทำประมาณการรายรับ และประมาณการรายจ่ายและให้หัวหน้าหน่วยงานคลังรวบรวมรายงานการเงินและสถิติต่างๆ ของทุกหน่วยงานเพื่อใช้ประกอบการคำนวณขอตั้งงบประมาณเสนอต่อเจ้าหน้าที่งบประมาณ
**********************************
41. บุคคลซึ่งมีอายุกี่ปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ก. 60 ปี ข. เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ค. 70 ปี ง. 80 ปีขึ้นไปตอบ “ข. เกิน 60 ปี บริบูรณ์”
อธิบายตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิงอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรีและความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
** ข้อสังเกต ถ้าตัวเลือก 2 ตัวเลือก เกิน 60 ปีบริบูรณ์ กับ 60 ปี ต้องเลือก เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เพราะตามกฎหมายรัฐธรรมนูญระบุ ถึงจะถูกต้องที่สุด**
**********************************
62. งบประมาณประจำปีของเทศบาลต้องตราขึ้นเป็นเทศบัญญัติ ถ้าเทศบัญญัติงบประมาณออกไม่ทันปีใหม่ เทศบาลต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด ข. ใช้เทศบัญญัติงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลาง
ค. รายงานนายอำเภอเพื่อขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ “ข้อ ข.ใช้เทศบัญญัติงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลาง”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 65 งบประมาณประจำปีของเทศบาลต้องตราขึ้นเป็นเทศบัญญัติ ถ้าเทศบัญญัติงบประมาณออกไม่ทันปีใหม่ ให้ใช้เทศบัญญัติงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลาง
ถ้าในปีใดจำนวนเงินซึ่งได้อนุญาตไว้ตามงบประมาณปรากฏว่าไม่พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปี ก็ดี หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งรายรับหรือรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี ให้ตราขึ้นเป็นเทศบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม
**********************************
43. ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเทศบาล
ก. รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. นายกรัฐมนตรี ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 77 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงหรือระเบียบข้อบังคับ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
**********************************
44. องค์การเทศบาลประกอบด้วย
ก. สภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี
ข. สหการและสภาเทศบาล
ค. นายกเทศมนตรีและสหการ
ง. เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร
ตอบ “ข้อ ข.ใช้เทศบัญญัติงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลาง”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 14 องค์การเทศบาลประกอบด้วยสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี
**********************************
45. เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติ จะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนด เกินกี่บาท
ก. หนึ่งพันบาท ข. สองพันบาท
ค. สามพันบาท ง. ขึ้นอยู่กับมติสภาเทศบาล
ตอบ “ข้อ ก. หนึ่งพันบาท”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 60 เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อบทกฎหมายในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(2) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติ
ในเทศบัญญัตินั้น จะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนด เกินกว่าหนึ่งพันบาท
**********************************
46. การประชุมสภาเทศบาลสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินกี่วัน
ก. 15 วัน ข. 30 วัน ค. 45 วัน ง. 60 วัน
ตอบ “ข้อ ข. 30 วัน”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 24 ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสี่สมัย สมัยประชุมสามัญครั้งแรกและวันเริ่มประชุมสมัยสามัญประจำปีให้สภาเทศบาลกำหนด
ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาเทศบาลได้มาประชุมสภาเทศบาลครั้งแรก ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลครบตามจำนวนแล้ว และให้ที่ประชุมเลือกประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาล
กรณีที่สภาเทศบาลไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ตามกำหนดเวลาในวรรคสอง หรือมีการประชุมสภาเทศบาลแต่ไม่อาจเลือกประธานสภาเทศบาลได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีคำสั่งยุบสภาเทศบาล
สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินสามสิบวัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
**********************************
47. ผู้ออกระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด
ก. สภาเทศบาล ข. จังหวัด
ค. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ง. กระทรวงมหาดไทย
ตอบ “ข้อ ง. กระทรวงมหาดไทย”
อธิบายตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 23 และมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 5 และมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้
ดังนั้น **รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรมต.เจ้าสังกัดหรือผู้บังคับสูงสุด อยู่กระทรวงมหาดไทย ก็ต้อง กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานออกระเบียบดังกล่าว**
***แต่หลายคนอาจตั้งคำถามว่า พ.ร.บ. 3 ฉบับ แก้ไขถึงปี 2552 แล้วทำไม ยังอ้างของเดิม ซึ่งเป็นการอาศัยอำนาจตามมาตราของพ.ร.บ. ซึ่งการแก้ไขใหม่ยังไม่มีการแก้ไขมาตราของพ.ร.บ.ดังกล่าวน่ะครับ
*** แต่ถ้าถาม พ.ร.บ. 3 ฉบับ แก้ไขถึงฉบับที่เท่าใด (คำตอบ 28 /02/2556 อนาคตอาจเปลี่ยนแปลง) ตอบดังนี้
1. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขถึงฉบับที่ 4 พ.ศ. 2552
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
3. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552
**********************************
48. การประชุมสภาเทศบาล ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าใด จึงครบองค์ประชุม ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. 1 ใน 3
ข. 2 ใน 3
ค. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ง. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเท่าที่มีอยู่
ตอบ “ข้อ ง. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเท่าที่มีอยู่”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 27 การประชุมสภาเทศบาล ต้องมีสมาชิกสภาเทศบาลมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่อยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
**ข้อสังเกต** กฎหมายบัญญัติไว้ เผื่อมีสมาชิกลาออก เสียชีวิต เป็นต้น ถ้าวาระอยู่ไม่ถึง 180 วันไม่ได้เลือกตั้งใหม่*** จึงมีมีคำว่า “เท่าที่มีอยู่”
ดังนั้น ถ้ามีตัวเลือก 2 ลักษณะ เราต้องตอบ ข้อ ง.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเท่าที่มีอยู่**จึงจะถูกต้องที่สุดครับ**
**********************************
107. บุคคลต่อไปนี้ เป็นประธานของคณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาล
ก. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. อธิบกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตอบ “ข้อ ก. ปลัดกระทรวงมหาดไทย”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 75 ทวิ ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน อธิบดีกรมมหาดไทย อธิบดีกรมโยธาเทศบาล อธิบดีกรมตำรวจ อธิบดีกรมสามัญศึกษา อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย ผู้อำนวยการสำนัก งบประมาณ ผู้อำนวยการส่วนการปกครองท้องถิ่น กรมมหาดไทย เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน
ให้ผู้อำนวยการส่วนการปกครองท้องถิ่นกรมมหาดไทย เป็นเลขานุการคณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาล
ให้คณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลมีหน้าที่ให้คำปรึกษา และเสนอข้อแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับกิจการเทศบาลโดยทั่วไป
** ข้อสังเกต**บางตำแหน่ง อาจเปลี่ยนชื่อ ยุบกรมไปแล้ว ก็ให้ตอบตามตัวบทกฎหมายที่บัญญัติไว้น่ะครับ ถ้าโจทย์ถาม***
**********************************
50.ในหนึ่งปีให้มีสมัยประชุมสามัญสภาเทศบาลได้กี่สมัย ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. หนึ่งสมัย ข. สองสมัย ค. สามสมัย ง. สี่สมัย
ตอบ “ข้อ”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
มาตรา 24 ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสี่สมัย สมัยประชุมสามัญครั้งแรกและวันเริ่มประชุมสมัยสามัญประจำปีให้สภาเทศบาลกำหนด
ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาเทศบาลได้มาประชุมสภาเทศบาลครั้งแรก ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลครบตามจำนวนแล้ว และให้ที่ประชุมเลือกประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาล
กรณีที่สภาเทศบาลไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ตามกำหนดเวลาในวรรคสอง หรือมีการประชุมสภาเทศบาลแต่ไม่อาจเลือกประธานสภาเทศบาลได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีคำสั่งยุบสภาเทศบาล
สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินสามสิบวัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
มาตรา 26 นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งเทศบาล ประธานสภาเทศบาลก็ดี หรือนายกเทศมนตรีก็ดี หรือสมาชิกสภาเทศบาลมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่งก็ดี อาจทำคำร้องยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอให้เปิดประชุมวิสามัญ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา ถ้าเห็นสมควรก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเรียกประชุมวิสามัญได้
สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดไม่เกินสิบห้าวัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีก จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
***ข้อสังเกตเรื่องสมัยสามัญ ถ้าเป็นอบต. จะมีคำว่า “ไม่เกิน 4 สมัย” ของเทศบาลไม่มีคำว่าไม่เกิน ห้ามตอบน่ะครับ ต้องตอบว่า สี่สมัยน่ะครับ) เปรียบเทียบให้เห็นคือ
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552
มาตรา 43 ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสองสมัยหรือหลายสมัยแล้วแต่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะกำหนด แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย วันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด
**********************************
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|