สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1643400
แสดงหน้า2112745
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




แนวข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 (ชุดที่ 1) โดยประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 (ชุดที่ 1) โดยประพันธ์ เวารัมย์
อ้างอิง อ่าน 459 ครั้ง / ตอบ 1 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 (ชุดที่ 1) โดยประพันธ์ เวารัมย์
***********************
1. พระราชกฤษฎีการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้ตราขึ้นตามกฎหมายใด
    ก. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
    ข. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน
    ค. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
    ง. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง
ตอบ “ข้อ ค. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
    โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับมาตรา 3/1 และมาตรา 71/10 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชกฤษฎาขึ้นไว้
**********************************
2. ในทางปฏิบัติราชการส่วนใด จะปฏิบัติเมื่อใดต้องมีเงื่อนไขอย่างไร ใครเป็นผู้กำหนดให้ปฎิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้
    ก. คณะรัฐมนตรี                ข.นายกรัฐมนตรี            
    ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น        ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ “ข้อ ก. คณะรัฐมนตรี”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 3 การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใด และจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ฯ
**********************************
3. หน่วยงานใดมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ (คณะรัฐมนตรี) ก่อนปฎิบัติตามพระราชกฤษฎีกาในการที่จะให้ส่วนราชการปฏิบัติเมื่อใด และจะมีต้องมีเงื่อนไขอย่างใด
    ก. สำนักงบประมาณ                ข.คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ    
    ค. ก.พ.                        ง. สำนักนายกรัฐมนตรี
ตอบ “ข้อ ข. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 3 การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใด และจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของก.พ.ร.
**********************************
4. คำว่า “ส่วนราชการ” ตามความหมายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 นั้นให้ความหมายถึงส่วนราชการตามกฎหมายใด
    ก. ตามกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
    ข. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
    ค. ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ง. ถูกทุกข้อ    
ตอบ “ข้อ ก. ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 4 ในพระราชกฤษฎีกานี้
    “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
**********************************
5. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้น จะต้องบริหารราชการให้บรรลุเป้าหมายทั้งหมดกี่ประการ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    ก.  5 ประการ                ข. 6 ประการ
    ค.  7 ประการ                ง. ขึ้นอยู่มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายรัฐบาล
ตอบ “ข้อ ค. 7 ประการ”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้
        1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
        2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
        3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
        4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
        5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
        6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
        7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ    
**********************************
6. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้น เป้าหมายสูงสุดคือข้อใด
        ก. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
        ข. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
        ค. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
        ง. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ตอบ “ข้อ ง. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้
        1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
        2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
        3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
        4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
        5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
        6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
        7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ    
**********************************
7. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึงการปฎิบัติราชการที่มีเป้าหมายตามข้อใด
        ก. เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
        ข. เกิดความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม
        ค. เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ
        ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ “ข้อ ง. ถูกทุกข้อ”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 7 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึงการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
    **********************************
8. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถืออะไรเป็นศูนย์กลางในการบริการจากรัฐ
        ก. นโยบายประเทศ        ข. สังคมและชุมชน        ค. ผู้นำและประชาชน
        ง. ประชาชน
ตอบ “ข้อ ง. ประชาชน”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ ฯ
    **********************************
9. ในการกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสุขของประชาชนและสอดคล้องตามข้อใด
        ก. สอดคล้องกับยุทธศาตร์และวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ
        ข. สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ
        ค. สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและที่ก.พ.ร.กำหนด
        ง. สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี        
ตอบ “ข้อ ง. สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
        (1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวทางนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
        (2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
        (3) ก่อนดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับภารกิจนั้น
        (4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฎิบัติราชการให้เหมาะสม
        (5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และแจ้งให้ ก.พ.ร.ทราบด้วย
        การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฎิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้
    **********************************
10. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนนั้น ส่วนราชการจะต้องมีแนวทางในการบริหารราชการกี่ข้อ
        ก. 5 ข้อ            ข. 6 ข้อ            ค. 7 ข้อ
        ง. แล้วแต่ ก.พ.ร. กำหนด
ตอบ “ข้อ ก. 5 ข้อ”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
        (1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวทางนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
        (2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
        (3) ก่อนดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับภารกิจนั้น
        (4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฎิบัติราชการให้เหมาะสม
        (5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และแจ้งให้ ก.พ.ร.ทราบด้วย
        การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฎิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้
    **********************************
11. ส่วนราชการใด ที่จะดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนนั้น จะต้องมีการกำหนดแนวทางการบริหารราชการตามข้อใด เป็นอันดับแรก
        ก. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคก่อนการดำเนินการแล้วปรับปรุงโดยเร็ว
        ข. จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสียให้ครบทุกด้านที่กระทบต่อประชาชน
        ค. กำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี
        ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ “ข้อ ค. กำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
        (1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวทางนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
        (2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
        (3) ก่อนดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับภารกิจนั้น
        (4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฎิบัติราชการให้เหมาะสม
        (5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และแจ้งให้ ก.พ.ร.ทราบด้วย
        การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฎิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้
    **********************************
12. ก่อนดำเนินการ ส่วนราชการต้องดำเนินการอย่างไร
        ก. จัดให้มีการศึกษา วิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบทุกด้าน
        ข. กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน
        ค. ในกรณีที่ภารกิจใด จะมีผลกระทบต่อประชาชน ต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นหรือชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงผลประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
        ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ “ข้อ ง. ถูกทุกข้อ”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
        (1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวทางนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
        (2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
        (3) ก่อนดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับภารกิจนั้น
        (4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฎิบัติราชการให้เหมาะสม
        (5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และแจ้งให้ ก.พ.ร.ทราบด้วย
        การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้
    **********************************
13. ในทางปฏิบัติ หากมีกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากดำเนินการให้ส่วนราชการปฎิบัติอย่างไรก่อน
        ก. แจ้ง ก.พ.ร. ทราบ
        ข. แจ้งผู้บังคับบัญชาทราบ เพื่อเสนอการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
        ค. แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว
        ง. แจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ทราบปัญหา
ตอบ “ข้อ ค. แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
        (1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวทางนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
        (2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
        (3) ก่อนดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับภารกิจนั้น
        (4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฎิบัติราชการให้เหมาะสม
        (5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และแจ้งให้ ก.พ.ร.ทราบด้วย
        การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฎิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้
    **********************************
14.ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ดำเนินการอย่างไร
        ก. แจ้ง ก.พ.ร. ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป
        ข. แจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป
        ค. แจ้งกระทรวงต้นสังกัดทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป
        ง. แจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป
ตอบ “ข้อ ง .แจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
        (1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวทางนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
        (2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
        (3) ก่อนดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับภารกิจนั้น
        (4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฎิบัติราชการให้เหมาะสม
        (5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และแจ้งให้ ก.พ.ร.ทราบด้วย
        การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฎิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้
    **********************************
15. ในการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ส่วนราชการจะต้องปฏิบัติภารกิจนั้น จะต้องดำเนินการตามข้อใด เป็นอันดับแรก
        ก. กำหนดภารกิจการบริหารราชการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ
        ข. จัดให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามภารกิจหลักเกณฑ์และวิธีที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น
        ค. รับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการมาศึกษาวิเคราะห์แล้วกำหนดภารกิจ
        ง. จัดทำแผนปฏิบัติการไว้เป็นการล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณ ตลอดจนเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
ตอบ “ข้อ ง. จัดทำแผนปฏิบัติการไว้เป็นการล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณ ตลอดจนเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 9 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติดังนี้
        (1) ก่อนดำเนินการภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
        (2) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ (1) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ ของภารกิจและตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
        (3) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร.กำหนด
        (4) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
    **********************************
16. “การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ” บัญญัติไว้ในหมวดใดของพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    ก. หมวด 3     ข. หมวด 4        ค. หมวด 5        ง. หมวด 6
ตอบ “ข้อ ง. หมวด 6”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
    **********************************
17. หมวด 1 ของพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 บัญญัติไว้ด้วยเรื่องใด
    ก. บทเบ็ดเตล็ด
ข. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ง. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ตอบ “ข้อ ง. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
        หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
    **********************************
18. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองทีดี พ.ศ.2546 คืออะไร
    ก. เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ
    ข. มีการปฏิรูประบบราชการ
    ค. เพื่อให้การบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    ง.  ถูกทุกข้อ 
ตอบ “ข้อ ง. ถูกทุกข้อ”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
        หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ และให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการนี้ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น และประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฎิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ และเนื่องจากมาตรา 7/1 แห่งพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 25345 บัญญัติให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการ และการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติราชการเพื่อให้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฏีกา จึงจำเป็นต้องพระราชกฤษฎีนี้
    **********************************
19. พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองทีดี พ.ศ.2546 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
    ก. วันที่ 9 ตุลาคม 2546
    ข. วันที่ 10 ตุลาคม 2546
    ค. วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
    ง.  ถูกทั้ง ข. และข้อ ค. 
ตอบ “ข้อ ง. ถูกทั้ง ข. และข้อ ค.”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
        มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก วันที่ 9 ตุลาคม 2546) 
        ดังนั้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2546 เป็นต้นไป
    **********************************
19. กรณีองค์กรมหาชน หรือ รัฐวิสาหกิจใด ไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจนั้น ดำเนินการให้ถูกต้องคือใคร
    ก. กระทรวงมหาดไทย            ข. คณะรัฐมนตรี
    ค. ก.พ.ร.                ง. รัฐมนตรีที่กำกับดูแลองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจ
ตอบ “ข้อ ง. รัฐมนตรีที่กำกับดูแลองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจ”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 53 ให้องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้
  ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่าองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกานี้ ให้แจ้งรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจเพื่อพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป
**********************************
20. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
    ก. สำนักนายกรัฐมนตรี                ข. กระทรวงมหาดไทย
    ค. คณะรัฐมนตรี                     ง. ก.พ.ร.
ตอบ “ข้อ ข. กระทรวงมหาดไทย”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 52 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด 5 และหมวด 7 
  ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยดูแลและให้ความช่วยเหลือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง
**********************************
20.หน่วยงานใดต่อไปนี้ ต้องจัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามพระราชกฤษกีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    ก. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น            ข. องค์กรมหาชน
    ค. รัฐวิสาหกิจ                    ง. ถูกทุกข้อ    
ตอบ “ข้อ ง. ถูกทุกข้อ”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 52 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด 5 และหมวด 7 
  ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยดูแลและให้ความช่วยเหลือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง
  มาตรา 53 ให้องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้
  ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่าองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกานี้ ให้แจ้งรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป 
**********************************
21.หน่วยงานใด มีอำนาจเสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษหรือจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการ
    ก. ส่วนราชการที่ปฏิบัติงาน        ข. คณะผู้ประเมินอิสระ
ค. คณะรัฐมนตรี                ง. ก.พ.ร.
ตอบ “ข้อ ง. ถูกทุกข้อ”
อธิบายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
    มาตรา 48 ในกรณีที่ส่วนราชการใดดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน ให้ก.พ.ร.เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการ หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
  มาตรา 49 เมื่อส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงาน และผลสัมฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ หรือสามารถดำเนินการตามแผนการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
**********************************
22. ผู้มีอำนาจในส่วนราชการ จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการความคุ้มค่าในภารกิจ คือใคร
    ก  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
    ข.  องค์กรมหาชน
    ค.  รัฐวิสาหกิจ
    ง.   ถูกทุกข้อ    
**********************************
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
1
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์

8.    ผู้มีอำนาจในส่วนราชการ จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการความคุ้มค่าในภารกิจ คือใคร
ก  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ข.  องค์กรมหาชน
ค.  รัฐวิสาหกิจ
       ง.    ถูกทุกข้อ
9.    ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง
ก.    งบประมาณรายจ่ายแต่ละปี
ข.    การจัดซื้อจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น
ค.    สัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว
ง.    ถูกทุกข้อ


10.    การอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการ ทุกแห่งส่วนราชการใดต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
ก.    กระทรวง ทบวง กรม
ข.    จังหวัด อำเภอ
ค.    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ง.    ถูกทั้งข้อ ก และ ข
11.    ส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนหรือจากส่วนราชการด้วยกัน มีหน้าที่ต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในกี่วัน
ก.    15 วัน
ข.    10 วัน
ค.    5 วัน
ง.    20 วัน
12.    ผู้มีหน้าที่แจ้งให้ประชาชนที่มาติดต่อได้ทราบในครั้งแรกที่มาติดต่อและตรวจสอบว่าเอกสารหลักฐานที่จำเป็นนั้นประชาชนได้ยื่นมาครบถ้วนหรือไม่ คือใคร
ก.    ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ข.    อธิบดี
ค.    ปลัดกระทรวง
       ง.    เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วม 
13.    ผู้มีหน้าที่จัดให้ส่วนราชการภายในกระทรวงจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือใคร
ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ข.    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
ค.    ปลัดกระทรวง
ง.    ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข
14.    กรณีผู้บังคับบัญชาสั่งราชการด้วยวาจา ผู้รับคำสั่งจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.    รีบปฏิบัติราชการตามคำสั่ง
ข.    บันทึกคำสั่งด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษร
ค.    แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร
ง.    ถูกทั้ง ข และ ค

15.    พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดเรื่องการสั่งราชการได้อย่างไร
ก.    ปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร
ข.    กรณีมีความจำเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้
ค.    สั่งราชการด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของผู้บังคับบัญชา
        ง.    ถูกทั้ง ก และ ข
16.    การจัดซื้อจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดำเนินโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม โดยพิจารณาถึงอะไรบ้าง
ก.    ประโยชน์และผลเสียทางสังคม
ข.    ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้
ค.    ราคา และประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการ
       ง.    ถูกทุกข้อ
17.    หน่วยงานใดมีหน้าที่จัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรี
ก.    คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข.    สำนักงบประมาณ
ค.    กรมบัญชีกลาง
       ง.    ถูกทั้ง ก และ ข  
18.    ส่วนราชการต้องคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบรายงานต่อหน่วยงานใด
ก.    สำนักงบประมาณ
ข.    ก.พ.ร.
ค.    กรมบัญชีกลาง
       ง.    ถูกทุกข้อ                     
19.    หน่วยงานใดที่มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะให้ส่วนราชการปฏิบัติ
ก.    สำนักงบประมาณ
ข.    คณะรัฐมนตรี
ค.    กรมบัญชีกลาง
       ง.     กระทรวงการคลัง     


20.    หน่วยงานใดมีหน้าที่กำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
ก.    สำนักงบประมาณ
ข.    ก.พ.ร.
ค.    คณะรัฐมนตรี
ง.     ถูกทั้งข้อ ก และ ข
21.    ก.พ.ร.คืออะไร
ก.  คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ข. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ค.  กองพัฒนาราชการ
ง. กรมพัฒนาระบบราชการ
22.    ก.พ.ร.มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไมเกิน
ก. 9 คน
ข. 10 คน
ค. 11 คน
ง. 12 คน
23.    ข้อใดไม่ใช่ “ส่วนราชการ “ตามความหมายใน พรฏ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
ก. กระทรวง
ข. ทบวง
ค. กรม
ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
24.    ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ข. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค. ภาพพจน์ที่ดีในสายตาต่างประเทศ
ง. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ






25.    การบริการกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายกี่ประเภท
ก. 5 ประเภท
ข. 6 ประเภท
ค. 7 ประภท
ง. 8 ประเภท
26.    ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ก. ความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
ข. ความสงบและความปลอดภัยของสังคมส่วนรวม
ค. ประโยชน์สูงสุดของประเทศ
ง. ขวัญและกำลังใจข้าราชการ
27.    ข้อใดไม่ใช่การบริหารราชการโดยถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ก. ก่อนดำเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสีย
ข. การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต
ค. รับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยส่วนรวม
ง. ต้องรายงานผลการปฏิบัติต่อรัฐสภาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
28.    เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนรากชาร
ก. ปรึกษาหารือกัน
ข. บริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน
ค. ประสานแผนกัน
ง. สัมมนาร่วมกัน
29.    การบริหารแบบบูรณาการร่วมกันมุ่งให้เกิด
ก. ประโยชน์สุขของประชาชน
ข. ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค. ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ง. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
30.    การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ต้องเสนอต่อ ครม.ภายในกี่วันนับตั้งแต่วันที่ ครม.แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ก. 90 วัน
ข. 120 วัน
ค. 30 วัน
ง. 40 วัน
31.    ในการจัดทำแผนการบริหาราชการแผ่นดินให้จัดทำเป็นแผนกี่ปี
ก. 1 ปี
ข. 2 ปี
ค. 4 ปี
ง. 5 ปี
32.    เมื่อมีกาปรระกาศใช้บังคับแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้ สนง.คณะกรรมการ
กฤษฏีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาจัดทำแผน
ก. นิติรัฐ
ข. นิติบัญญัติ
ค. พัฒนากฎหมาย
ง. นิติธรรม
33.    ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนรากชารให้จัดทำทุก
ก. ปีงบประมาณ
ข. ปีปฏิทิน
ค. 6 เดือน
ง. 3 เดือน
34.    ในกรณีที่ส่วนราชการได้เสนอแผนปฏิบัติรากชารในภารกิจใจ หรือภารกิจใดไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ร.ม.ต.
ก. ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น
ข. ให้ลงโทษทางวินัยแก่ผู้รับผิดชอบ
ค. ให้ กพร. แจ้งให้ดำเนินการโดยทันที
ง. ให้ กพร.แจ้งให้ดำเนินการภายใน 30 วัน
35.    ให้ส่วนราชการจัดทำ...................ในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทชั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ก. ต้นทุน
ข. บัญชี
ค. บัญชีต้นทุน
ง. บัญชีทุน






36.    ในการกระจายอำนาจการจัดสินใจ
ก. การบริหารแบบมีส่วนร่วม
ข. เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
ค. การทำงานเป็นทีม
ง.  ความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน
37.    ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ขอปลัดกระทรวงที่จะต้องให้ส่วนราชการภายในกระทรวง 
รับผิดชอบ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้ง
ก. ศูนย์ประสานราชการ
ข. ศูนย์บริการร่วม
ค. ศูนย์รับเรื่อง
ง. ศูนย์บริการประชาชน
38.    กรณีใด มิใช่ กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่การปฏิบัติราชการ ต้องกำหนดปํนความลับได้เท่าที่จำเป็น
ก. ความมั่นคงของประเทศ / เศรษฐกิจ
ข. ความมั่นคงของรัฐ
ค. การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ง. การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล
39.    ข้อใดไม่ใช่ ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะกรรมการประเมินอิสระ ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ ดังต่อไปนี้
ก. ภารกิจคุณภาพการให้บริการ
ข. ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ
ค. ความคุ้มค่าในภารกิจ
ง. ความพึงพอใจของข้าราชการ
40.    เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ให้เกิดผลสัมฤทธ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการใด
ก. จัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
ข. การประเมินคุณภาพ
ค. การตรวจสอบภายใน
ง. การประเมินตนเอง




41.     เมื่อสิ้นปีงบประมาณส่วนราชการต้องจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการเสนอต่อผู้ใด
ก.  กระทรวงการคลัง
ข. สำนักงบประมาณ
ค. คระรัฐมนตรี
ง. กรมบัญชีกลาง
42.    หน่วยงานใดมีหน้าที่จัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการ เพื่อปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติราชการ ที่รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว
ก.    กระทรวงการคลัง 
ข.    สำนักงบประมาณ
ค.    คณะรัฐมนตรี
       ง.  กรมบัญชีกลาง
43.    ส่วนราชการมีหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีในแต่ละปีงบประมาณเสนอต่อผู้ใดเพื่อให้ความเห็น
ก.    รัฐมนตรี
ข.    คณะรัฐมนตรี
ค.    ปลดักระทรวง 
     ง.    อธิบดี
44.    แผนนิติบัญญัติเป็นแผนเกี่ยวกับเรื่องใด
ก.    กฎหมายที่จะต้องจัดให้มีขึ้นใหม่
ข.     กฎหมายที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม
ค.     กฎหมายที่ต้องยกเลิก
      ง.    ถูกทุกข้อ
45.    เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ใครเป็นผู้มีอำนาจจัดทำแผนนิติบัญญัติ
ก. คณะกรรมการกฤษฏีกา
ข. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ค. คณะรัฐมนตรี
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
46.    การจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินให้จัดทำเป็นแผนระยะเวลากี่ปี
ก. 4   ปี                             ข.  5 ปี 
8.  6  ปี                              ง.  8  ปี

47.    แผนการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว มีผลผูกพันใครบ้าง
ก.  คณะรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรี
ค. ส่วนราชการ
ง. ถูกทุกข้อ
48.    ผู้มอำนาจให้ความเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน คือใคร
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ค. สำนักงบประมาณ
ง. ถูกทุกข้อ
49.    เมื่อคณะรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาพแล้ว ส่วนราชการใด มีหน้าที่จัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 90 วัน
ก. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ข. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการและเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ค. สำนักงบประมาณ
ง. ถูกทุกข้อ
50.    ผู้มีอำนาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรฐานกำกับการปฏิบัติราชการคือใคร
ก. ส่วนราชการทุกส่วนราชการ
ข. ก.พ.ร.
ค. คณะรัฐมนตรี
ง. ถูกทั้งข้อ ข และ ค.

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 18/01/2015 15:43
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :