สรุปพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2482 |
|
อ้างอิง
อ่าน 1582 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
สรุปพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2482
1.บทนิยาม
1. “สัตว์พาหนะ” หมายความว่า ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ซึ่งได้ทำหรือต้องทำตั๋วรูปพรรณ (เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ)
2. “ตำหนิรูปพรรณ” หมายความว่า ลักษณะสัณฐานโดยเฉพาะของสัตว์พาหนะแต่ละตัวซึ่งเป็นอยู่เอง หรือซึ่งทำให้มีขึ้นใช้เป็นเครื่องหมาย
3. “เจ้าพนักงาน” หมายความว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและนายทะเบียน (นายอำเภอหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้)
4. พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สัตว์พาหนะของราชการทหาร เว้นแต่ในการโอนกรรมสิทธิ์สัตว์นั้นให้แก่เอกชน
5. การมอบอำนาจหรือตั้งตัวแทนเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมหรือภาษีอากร ซึ่งบัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น
6. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่
1. รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
2. มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานกับให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมซึ่งต้องไม่เกินกว่าอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
2. การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
(๑) ช้างมีอายุย่างเข้าปีที่แปด
(๒) สัตว์อื่นนอกจากโคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่หก
(๓) สัตว์ใดได้ใช้ขับขี่ลากเข็นหรือใช้งานแล้ว
(๔) สัตว์ใดที่มีอายุย่างเข้าปีที่สี่ เมื่อจะนำออกนอกราชอาณาจักร
(๕) โคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่หก เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ เว้นแต่ในกรณีรับมรดก
1. ให้เจ้าของหรือตัวแทนพร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านหรือพยาน ในกรณีที่ไม่มีผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ใหญ่บ้านไปด้วยไม่ได้ นำสัตว์นั้นไปขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณจากนายทะเบียนท้องที่ที่สัตว์นั้นอยู่ภายในกำหนดดังต่อไปนี้ เว้นแต่ไม่สามารถที่จะนำไปได้
ก. ช้างมีอายุย่างเข้าปีที่แปดและสัตว์อื่นนอกจากโคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่หก ตามที่นายทะเบียนจะได้ประกาศเป็นรายตำบลและกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
ข. สัตว์ใดได้ใช้ขับขี่ลากเข็นหรือใช้งานแล้ว ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้ใช้ขับขี่ลากเข็นหรือใช้งานแล้ว
ค. สัตว์ใดที่มีอายุย่างเข้าปีที่สี่ เมื่อจะนำออกนอกราชอาณาจักรและโคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่หก เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ เว้นแต่ในกรณีรับมรดกต้องขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณก่อนนำออกนอกราชอาณาจักรหรือทำการโอนกรรมสิทธิ์
2. สัตว์ที่มิได้อยู่ในบทบังคับเจ้าของจะขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณก็ได้
3. เมื่อนายทะเบียนพร้อมด้วยเจ้าของหรือตัวแทนได้ตรวจสอบตำหนิรูปพรรณเห็นเป็นการถูกต้อง และเจ้าของหรือตัวแทนได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้นายทะเบียนจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณให้
3. สัตว์พาหนะซึ่งนำจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร
ต้องขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามความในมาตรา ๘ โดยอนุโลม ถ้าได้นำเข้ามาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาหรือภายในกำหนดนั้น แต่ยังเหลือเวลาน้อยกว่าสามสิบวันตามประกาศในมาตรา ๘ ต้องขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่นำเข้ามาชั่วครั้งคราว
4. ตั๋วรูปพรรณสัตว์พาหนะของผู้ใดเป็นอันตรายหรือสูญหาย
ให้นำพยานหลักฐานไปแจ้งความต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีทะเบียนสัตว์นั้น เพื่อขอรับใบแทนตั๋วรูปพรรณ
เมื่อนายทะเบียนสอบสวนเห็นความบริสุทธิ์แล้ว ให้เรียกค่าธรรมเนียมและออกใบแทนตั๋วรูปพรรณให้
5. เก็บตั๋วรูปพรรณสัตว์พาหนะได้
ต้องนำส่งต่อเจ้าของหรือเจ้าพนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เก็บได้
6. มีตั๋วรูปพรรณโดยไม่มีสัตว์พาหนะสำหรับตั๋วนั้นไว้ในครอบครอง
ต้องนำส่งต่อนายทะเบียนท้องที่หรือกำนันเพื่อจัดส่งต่อนายทะเบียนท้องที่
7. ตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะของผู้ใดคลาดเคลื่อนจากตั๋วรูปพรรณ
เจ้าของหรือผู้ครอบครองต้องนำสัตว์พร้อมด้วยตั๋วรูปพรรณไปให้นายทะเบียนตรวจแก้ตำหนิรูปพรรณภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบ
ทั้งนี้ ถ้าเป็นการแก้ตำหนิรูปพรรณในกรณีที่เกี่ยวกับขวัญสัตว์คลาดเคลื่อน ตำหนิซึ่งเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานหรือได้เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของสัตว์หรือการที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม
8. การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนอง
1. ให้ผู้โอนและผู้รับโอนทั้งสองฝ่ายหรือตัวแทนนำสัตว์พาหนะและตั๋วรูปพรรณไปยังนายทะเบียนเพื่อจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์
2. นายทะเบียนตรวจสอบเป็นการถูกต้องและได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้จดทะเบียนและสลักหลังตั๋วรูปพรรณโอนกรรมสิทธิ์ให้
3. ถ้าเป็นสัตว์ต่างท้องที่ให้นายทะเบียนรับสัตว์นั้นขึ้นทะเบียนเสียก่อน
4. ในกรณีที่เจ้าพนักงานยึดสัตว์พาหนะขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ภาษีอากรหรือนายทะเบียนขายทอดตลาดสัตว์พาหนะที่เจ้าพนักงานเลี้ยงรักษาเนื่องจากสัตว์พาหนะไม่มีตั๋วรูปพรรณหรือมีแต่ไม่ถูกต้องกับตัวสัตว์ หรือสัตว์พาหนะที่พลัดเพลิดหรือถูกละทิ้ง ถ้าไม่มีผู้ใดมาขอรับคืนภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันโฆษณา ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะขายทอดตลาดสัตว์นั้นได้ เมื่อขายแล้วได้เงินเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายและค่าเลี้ยงรักษาออก ถ้าหากมี แล้วถือเงินจำนวนสุทธิไว้แทน
5. ให้สัตว์พาหนะหรือเงินจำนวนสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดตกเป็นของแผ่นดินหรือผู้จับสัตว์ สัตว์พาหนะที่พลัดเพลิดหรือถูกละทิ้ง เมื่อบุคคลผู้มีสิทธิจะมารับมิได้เรียกเอาภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่สัตว์นั้นมาอยู่ในอารักขาของเจ้าพนักงาน
6. สัตว์พาหนะที่เจ้าพนักงานเลี้ยงรักษา หรือการเปลี่ยนเจ้าของสัตว์พาหนะในกรณีใด ๆ ซึ่งยังมิได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์แก่กันต่อนายทะเบียน เมื่อนายทะเบียนได้ประกาศให้เจ้าของผู้มีนามรายสุดท้ายในตั๋วรูปพรรณมาทำการโอนภายในกำหนดสามสิบวันแล้วไม่มาภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศก็ดี ให้นายทะเบียนมีอำนาจโอนกรรมสิทธิ์สัตว์พาหนะได้ แม้ผู้รับโอนหรือตัวแทนมาแต่ฝ่ายเดียว
9. ได้รับสัตว์พาหนะเป็นมรดก
1. ให้ผู้นั้นหรือตัวแทนนำพยานพร้อมด้วยตั๋วรูปพรรณไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีทะเบียนสัตว์นั้น
2. นายทะเบียนสอบสวนแล้วให้ประกาศมรดกมีกำหนดสามสิบวัน
3. ถ้าไม่มีผู้คัดค้านภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศ ให้นายทะเบียนเรียกค่าธรรมเนียมแล้วแก้ทะเบียนและตั๋วรูปพรรณสำหรับสัตว์นั้นให้แก่ผู้รับมรดก
4. ถ้ามีผู้คัดค้านภายในกำหนด ให้นายทะเบียนสั่งให้ผู้ที่เห็นว่าไม่มีสิทธิดีกว่าไปฟ้องศาลภายในกำหนดไม่เกินหกสิบวัน ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดให้นายทะเบียนเรียกค่าธรรมเนียมแล้วแก้ทะเบียนและตั๋วรูปพรรณให้แก่ผู้ควรรับมรดก
10. การจำนองสัตว์พาหนะ
1. ให้ผู้จำนองและผู้รับจำนองทั้งสองฝ่าย หรือตัวแทนนำตั๋วรูปพรรณประจำตัวสัตว์ที่จะจำนองไปยังนายทะเบียนท้องที่ที่มีทะเบียนสัตว์นั้นเพื่อทำการจำนอง
2. นายทะเบียนตรวจสอบเป็นการถูกต้อง และได้รับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้จดทะเบียนและสลักหลังการจำนองให้
11. การย้ายและจำหน่ายทะเบียน
การย้ายสัตว์พาหนะไปต่างอำเภอ นอกจากกรณีการเช่า เช่าซื้อ ยืม ฝาก จำนำ รับจ้างเลี้ยง หรือพาไปชั่วคราว เจ้าของหรือตัวแทนต้องนำตั๋วรูปพรรณไปแจ้งความต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สัตว์นั้นไปถึงที่ ๆ ย้ายไป ให้นายทะเบียนท้องที่ใหม่เรียกค่าธรรมเนียมแล้วแจ้งการรับสัตว์ขึ้นทะเบียนไปยังนายทะเบียนท้องที่เดิมทราบ
12. สัตว์พาหนะตาย
1. ให้เจ้าของหรือตัวแทนแจ้งความและส่งมอบตั๋วรูปพรรณสัตว์ที่ตายนั้นต่อนายทะเบียนท้องที่หรือกำนัน เพื่อจัดส่งต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบว่าสัตว์นั้นตาย
2. ในกรณีที่ผู้อื่นเป็นผู้ครอบครองสัตว์นั้นชั่วคราว ก็ให้ผู้นั้นแจ้งความต่อนายทะเบียนท้องที่หรือกำนันภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบว่าสัตว์นั้นตาย เว้นแต่เจ้าของหรือตัวแทนจะได้ปฏิบัติตามความในวรรคก่อนแล้ว
13. นำสัตว์พาหนะออกไปนอกราชอาณาจักร
ให้นำสัตว์นั้นพร้อมด้วยตั๋วรูปพรรณไปให้นายทะเบียนตรวจแก้ทะเบียนและสลักหลังตั๋วรูปพรรณว่าจำหน่ายออกนอกราชอาณาจักร
14. นำสัตว์พาหนะเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้เจ้าของหรือตัวแทนต้องนำตั๋วรูปพรรณไปแจ้งความต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สัตว์นั้นไปถึงที่ ๆ ย้ายไป ให้นายทะเบียนท้องที่ใหม่เรียกค่าธรรมเนียมแล้วแจ้งการรับสัตว์ขึ้นทะเบียนไปยังนายทะเบียนท้องที่เดิมทราบ
15. เหตุอันควรสงสัย
ผู้ใดได้กระทำการฝ่าฝืนต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะทำการตรวจสัตว์พาหนะและให้ผู้นั้นนำตั๋วรูปพรรณหรือหลักฐานใด ๆ มาตรวจสอบกับสัตว์พาหนะได้
16. ครอบครองสัตว์พาหนะไว้โดยไม่มีตั๋วรูปพรรณหรือมีแต่ไม่ถูกต้องกับตัวสัตว์
ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะยึดสัตว์พาหนะ และนำส่งต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้เป็นหน้าที่ผู้นั้นแสดงให้เห็นความบริสุทธิ์ว่า ตนเป็นเจ้าของหรือได้สัตว์มาโดยสุจริต
17. สัตว์พาหนะที่ยึดไว้ไม่ปรากฏเจ้าของ
ให้พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี สั่งให้เจ้าพนักงานจัดเลี้ยงรักษาสัตว์นั้นไว้และให้จัดการโฆษณาหาเจ้าของ
18. จับได้สัตว์พาหนะที่พลัดเพลิดหรือถูกละทิ้งไว้ได้
1. ถ้ามิสามารถมอบคืนสัตว์นั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิจะรับสัตว์นั้นได้ภายในกำหนดสามวันนับแต่วันจับสัตว์นั้นได้ ก็ให้นำสัตว์นั้นไปส่งต่อเจ้าพนักงานและแจ้งเหตุการณ์ให้ทราบ
2. ให้เจ้าพนักงานซึ่งได้รับมอบสัตว์ไว้นำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อจัดการโฆษณาหาเจ้าของ หรือดำเนินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้วแต่กรณี
19. การโฆษณาหาเจ้าของสัตว์พาหนะไม่มีตั๋วหรือตั๋วผิดและสัตว์พาหนะที่พลัดเพลิดหรือถูกละทิ้ง
1. ผู้ใดอ้างว่าสัตว์นั้นเป็นของตนก็ให้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ต่อพนักงานสอบสวนหรือศาล
2. เมื่อพนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่าควรคืนสัตว์นั้นให้แก่ผู้ใด ก็ให้คืนไป แต่ผู้นั้นต้องชำระค่าเลี้ยงรักษาให้ตามสมควร ถ้าหากมี ก่อนที่จะรับสัตว์นั้นไป
20. สัตว์พาหนะหาย
1. ให้เจ้าของหรือตัวแทนแจ้งความต่อเจ้าพนักงานภายในเจ็ดวัน นับแต่เวลาที่ทราบเหตุ ภายหลังเมื่อได้สัตว์คืนมาให้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้คืน
2. ถ้าไม่ได้สัตว์นั้นคืนมา ให้ส่งตั๋วรูปพรรณต่อนายทะเบียนท้องที่หรือกำนัน เพื่อจัดส่งนายทะเบียนท้องที่ภายในเก้าสิบวัน
21. สัตว์พาหนะที่เจ้าพนักงานเลี้ยงรักษา
1. ถ้าไม่มีผู้ใดมาขอรับคืนภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันโฆษณา ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะขายทอดตลาดสัตว์นั้นได้
2. เมื่อขายแล้วได้เงินเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายและค่าเลี้ยงรักษาออก ถ้าหากมี แล้วถือเงินจำนวนสุทธิไว้แทน
3. ให้สัตว์พาหนะหรือเงินจำนวนสุทธิ ตกเป็นของแผ่นดินหรือผู้จับสัตว์ได้ในเมื่อบุคคลผู้มีสิทธิจะมารับมิได้เรียกเอาภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่สัตว์นั้นมาอยู่ในอารักขาของเจ้าพนักงาน
4. ในกรณีที่ได้ยึดสัตว์ไว้โฆษณาตามคำสั่งศาล กำหนดหนึ่งปีนั้นให้นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่ถ้าไม่ทราบตัวบุคคลผู้มีสิทธิให้ยืดเวลาออกไปเป็นห้าปี
5. บรรดาสัตว์พาหนะที่เจ้าพนักงานยึดมาเนื่องในการกระทำผิดใด ๆ เมื่อจะคืนแก่เจ้าของถ้าหากมีค่าเลี้ยงรักษาให้เรียกได้ตามสมควร และในกรณีที่โฆษณาหาเจ้าของ
22. บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติ
มาตรา ๑๓ ตั๋วตำหนิคลาดเคลื่อน ,
มาตรา ๑๘ สัตว์พาหนพตาย
มาตรา ๒๔ สัตว์พาหนะหาย
ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบสองบาท
2. ผู้ใดฝ่าฝืนบัญญัติแห่ง
มาตรา ๑๑ เก็บตั๋วรูปพรรณได้
มาตรา ๑๒ มีตั๋วรูปพรรณแต่ไม่มีสัตว์พาหนะ
มาตรา ๑๔ วรรคต้น ไม่จดทะเบียนสัตว์พาหนะกรณีโอน
มาตรา ๑๗ การย้ายสัตว์พาหนะไปต่างอำเภอ
มาตรา ๑๙ การนำสัตว์พาหนะออกนอกประเทศ
ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าสิบบาท
3. ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง
มาตรา ๘ ไม่จดทะเบียนสัตว์พาหนะ
มาตรา ๙ ไม่จดทะเบียนสัตว์พาหนะนำเข้ามาจากต่างประเทศ
ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าสิบบาท หรือจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือทั้งปรับทั้งจำ
4. ผู้ใดครอบครองสัตว์พาหนะไว้และแสดงความบริสุทธิ์ไม่ได้ไม่มีตั๋วรูปพรรณหรือมีตั๋วรูปพรรณแต่สัตว์ไม่ถูกต้อง ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
23. อัตราค่าธรรมเนียม
ประเภท |
บาท |
สตางค์ |
หมายเหตุ |
ก. ค่าจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ |
|
|
|
(๑) ช้าง |
๕ |
- |
|
(๒) ม้า โค กระบือ ล่อ ลา |
- |
๕๐ |
|
ข. ค่าสลักหลังตั๋วรูปพรรณโอน |
|
|
|
กรรมสิทธิ์หรือการจำนอง |
|
|
|
(๑) ช้าง |
๑ |
- |
|
(๒) ม้า โค กระบือ ล่อ ลา |
- |
๒๕ |
|
ค. ค่ารับขึ้นทะเบียนการย้าย |
|
|
|
(๑) ช้าง |
๑ |
- |
|
(๒) ม้า โค กระบือ ล่อ ลา |
- |
๒๕ |
|
ง. ค่าใบแทนตั๋วรูปพรรณ |
|
|
|
(๑) ช้าง |
๑ |
- |
|
(๒) ม้า โค กระบือ ล่อ ลา |
- |
๕๐ |
|
จ. ค่าแก้ตำหนิในตั๋วรูปพรรณ |
|
|
|
(๑) ช้าง |
๑ |
- |
|
(๒) ม้า โค กระบือ ล่อ ลา |
- |
๒๕ |
|
ค่าป่วยการพยานตัวละ |
- |
๒๕ |
|
|
|
|
|
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|