สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714708
แสดงหน้า2189827
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




สรุปพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

สรุปพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
อ้างอิง อ่าน 19885 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
               สรุปพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
1. พระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2551 โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ ตาม พ.ร.บ. มีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ
2. ข้าราชการฝ่ายพลเรือน หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนและขาราชการอื่นในกระทรวง กรม ฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบราชการประเภทนั้น
                      ข้าราชการฝ่ายพลเรือน แบ่งได้ 2 ประเภท
ข้าราชการพลเรือน หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรม ฝายพลเรือน มี 2 ประเภท
(1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ 
(2) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จำนวน 10 – 12 คน ประกอบด้วย
     นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน
                    กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย
•    ปลัดกระทรวงการคลัง    ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ  เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
•     กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเจ็ดคน (อยู่ในวาระคราวละ 3 ปี)
•    เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
                                            อำนาจหน้าที่ของก.พ

1) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานบุคคลและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในด้านมาตรฐานค่าตอบแทน การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่น ๆ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
2) รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม
3) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน
4) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ
5) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้     กฎ ก.พ.เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
6) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้..
7) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในกระทรวงและกรม …
8) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาล
9) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและควบคุมดูแล และการให้ความช่วยเหลือบุคคลภาครัฐ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล…
10) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญาประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือ คุณวุฒิอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนและการกำหนดเงินเดือน หรือค่าตอบแทน
11) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
12) พิจารณาจัดทำระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวันเดือนปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน
13) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น

  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า สำนักงาน ก.พ. โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
                          คณะอนุกรรมการสามัญ เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ.สามัญ 
     อนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง (อ.ก.พ.กระทรวง) ประกอบด้วย
    รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เป็นประธาน
    ปลัดกระทรวงเป็นรองประธานและผู้แทน ก.พ.ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนใน สำนักงาน ก.พ.หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง
    อนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายจำนวนไม่เกิน3คน
    ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวง ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจำนวนไม่เกิน 5 คน
                       คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม (อ.ก.พ.กรม) ประกอบด้วย
     อธิบดีเป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมายหนึ่งคนเป็นรองประธานและอนุกรรมการซึ่งเป็น อ.ก.พ.แต่งตั้งจาก
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จำนวนไม่เกิน 3 คน
ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร หรือประเภทอำนวยการ และด้านกฎหมาย จำนวนไม่เกิน 3 คน
สำหรับสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวง หรือ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดทบวง แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม
      
                 คณะอนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด (อ.ก.พ.จังหวัด) 
     ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้ง
(1) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จำนวนไม่เกิน 3 คน
(2) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการ ซึ่งกระทรวงหรือกรมแต่งตั้งไปประจำจังหวัดนั้น และได้รับเลือกจากข้าราชพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจำนวนไม่เกิน 6 คน ซึ่งแต่ละคนต้องไม่สังกัดกระทรวงเดียวกัน

                                  คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ( ก.พ.ค.)
         ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งพระกรุณาโปรดเกล้าฯ (แต่งตั้งคัดเลือกจากผู้มีคุณสมบุติที่กำหนด และไม่มีลักษณะต้องห้าม) กรรมการ ก.พ.ค. ต้องทำงานเต็มเวลา และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค.
                                คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ประกอบด้วย 
ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจากประธานศาลฎีกาหนึ่งคน เป็นกรรมการ ก.พ.ผู้ทรงคุณวุฒิหนึ่งคน ซึ่งได้รับเลือก โดย ก.พ. และให้เลขาธิการ กพ.เป็นกรรมการและเลขานุการ
              กรรมการ ก.พ.ค. มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี นับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งวาระเดียว


                                    อำนาจหน้าที่ของก.พ.ค.
1. เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อให้ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นดำเนินการให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม
2. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
3. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
4. พิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรม
5. ออกกฎ ก.พ.ค.ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฎิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
6. แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ.ค.กำหนดเพื่อเป็นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
12. การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อ ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และคุณภาพชีวิตที่ดี
13. ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (มาตรา 36)
                            ก. คุณสมบัติทั่วไป
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
                          ข. ลักษณะต้องห้าม
(1) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(2) เป็นผู้คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
(3) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(4) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(5) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ ในพรรคการเมือง
(6) เป็นบุคคลล้มละลาย
(7) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญาเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(8) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(9) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัย ตามกฎหมายพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(10) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(11) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (4) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (11) ก.พ.อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติ (8) หรือ (9) ผู้นั้น ได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว หรือกรณีมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ (10) ผู้นั้นต้อง ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และมิใช่ เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการ เพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.พ. ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้คะแนนเสียง ไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการในที่ประชุม การลงมติให้ กระทำโดยลับ

การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และการแต่งตั้ง ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (มาตรา 57)
   ประเภทข้าราชการ
 
     ผู้มีอำนาจบรรจุ        ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง
 
ผู้บริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ระดับกรม (เฉพาะขึ้นตรงต่อ นรม. หรือ รมต. (ระดับปลัดกระทรวง)
 
รมต. เสนอ ครม. อนุมัติ
รมต. สั่งบรรจุ
 
นรม. กราบบังคับทูลเพื่อทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
 
ผู้บริหารระดับสูงตำแหน่งรอง หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนระดับกรม รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่ขึ้นตรงต่อ นรม. หรือ รมต.
 
ให้ปลัดกระทรวงเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อนำเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจาก ครม. ให้ปลัดกระทรวง สั่งบรรจุ
 
นรม. กราบบังคับทูลเพื่อทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
     บริหารระดับต้น   ปลัดกระทรวง     ปลัดกระทรวง
อำนวยการ วิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และประเภททั่วไป (ในสำนักงานรัฐมนตรี)    รัฐมนตรีเจ้าสังกัด   รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
 
 
     อำนวยการระดับสูง
 
        ปลัดกระทรวง
 
       ปลัดกระทรวง
 
     ผู้อำนวยการระดับต้น
 
อธิบดีโดยความเห็นชอบ ของปลัดกระทรวง
 
อธิบดีโดยความเห็นชอบ ของปลัดกระทรวง
   วิชาการระดับผู้ทรงคุณวุฒิ รมต. เสนอ ครม. อนุมัติ รมต. สั่งบรรจุ นรม. กราบบังคับทูลเพื่อทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
     วิชาการระดับเชี่ยวชาญ ปลัดกระทรวง ปลัดกระทรวง
วิชาการระดับชำนาญการพิเศษทั่วไประดับทักษะพิเศษ อธิบดีโดยความเห็นชอบของปลัดกระทรวง ส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัด (ยกเว้นทั่วไประดับทักษะพิเศษ) อธิบดีโดยความเห็นชอบของปลัดกระทรวง
 
 วิชาการระดับปฏิบัติการ      ชำนาญการทั่วไประดับปฏิบัติงาน ชำนาญงาน และอาวุโส
 
อธิบดีหรือผู้ได้รับมอบหมายจากอธิบดี ส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัด
 
อธิบดีหรือผู้ได้รับมอบหมายจากอธิบดี ส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัด

ประเภทของข้าราชการพลเรือนสามัญ มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ (มาตรา 45)
(1) ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
(2) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ
(3) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กำหนดเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น
(4) ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.พ. กำหนด
                        
                          ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังต่อไปนี้
(1) ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังต่อไปนี้
•    ระดับต้น
•    ระดับสูง
(2) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังต่อไปนี้
•    ระดับต้น
•    ระดับสูง
(3) ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังต่อไปนี้
 1.ระดับปฏิบัติการ             2.ระดับชำนาญการ                       3.ระดับชำนาญการพิเศษ        
 4.ระดับเชี่ยวชาญ          5. ระดับทรงคุณวุฒิ
(4) ตำแหน่งประเภททั่วไป 
            1.  ระดับปฏิบัติงาน
            2.  ระดับชำนาญงาน
            3.   ระดับอาวุโส
            4.   ระดับทักษะพิเศษ
                          การสรรหา บรรจุ และการแต่งตั้ง
การสรรหา
การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ
การบรรจุ
1)    การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
2)     ให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้ายหรือโอน ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหาร ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลานานครบ 4 ปี ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่น เว้นแต่มีความจำเป็นจะขออนุมัติ ครม. ให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไปได้ไม่เกิน 2 ปี
                               
                                      

                                การทดลองปฏิบัติราชการ
ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและข้าราชการ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. โดยอยู่ในความดูแลของบังคับบัญชา ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ เห็นว่าผู้นั้นมีผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ไม่ควรให้รับราชการต่อไปก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม
     
     การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวง กรม ให้เป็นไปตามกำหนดในกฎ ก.พ.

     ในกรณีตำแหน่งข้าราชการพลเรือนว่างลงหรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 27 มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้

     ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 57 มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ประจำส่วนราชการเป็นการชั่วคราวโดยให้พ้นจากตำแหน่งเดิม

     การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ
•    ให้ส่วนราชการมีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อให้ข้าราชการมีคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจภาครัฐ
•    ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน
                  
                                     จรรยาบรรณข้าราชการ
     ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาบรรณข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้ โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
(2) ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ
(3) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
(4) การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
(5) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
                               
                                         วินัยและการรักษาวินัย
1) ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ (มาตรา 81)
2) ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (มาตรา 82)
•    ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม
•    ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
•    ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ
•    ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง
•    ต้องอุทิศเวลาให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้
•    ต้องรักษาความลับของทางราชการ
•    ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างราชการด้วยกัน และผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
•    ต้องต้อนรับให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ตน
•    ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
•    ต้องรักษาชื่อเสียงตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการตนมิให้เสื่อมเสีย
•    กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
3) ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการอันใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ (มาตรา 83)
•    ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
•    ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
•    ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
•    ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
•    ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
•    ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
•    ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงในการปฏิบัติราชการ
•    ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
•    ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ
•    ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
                     
                      การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต
(2) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(3) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(4) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(5) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ขมเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
(6) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(7) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตาม มาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(8) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 80 และมาตรา 82 (11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตาม มาตรา 83(10) ที่กฎ ก.พ. กำหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
                                             โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้
             (1) ภาคทัณฑ์
             (2) ตัดเงินเดือน
             (3) ลดเงินเดือน
            (4) ปลดออก
             (5) ไล่ออก

     ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ตามสมควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรงดโทษก็ได้ จะงดโทษให้โดยทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้


     ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก


     ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษอาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้

     การออกจากราชการ ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ

              (1) ตาย
              (2) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (อายุ 60 ปีบริบูรณ์)
              (3) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผล
              (4) ถูกสั่งให้ออก
              (5) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก

     ข้าราชการผู้ใดประสงค์ลาออกให้ยื่นหนังสือลาออกต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
     ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุพิจารณาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาต ให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วันนับตั้งแต่วันขอลาออกก็ได้ แต่ต้องแจ้งการยับยั้งการ
     อนุญาตให้ลาออกพร้อม ทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบและเมื่อครบกำหนดเวลาที่ยับยั้งแล้วให้การลาออกมีผลเมื่อครบเวลาตามที่ยับยั้งไว้
     ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ไม่ได้ยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกตามวรรคสอง ให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก
     ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมือง ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

                                           การร้องทุกข์
    ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชาผู้นั้น อาจร้องทุกข์ได้
    การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป
    การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์เหตุเกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่ขึ้นต่อ นรม. รมต. ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือ นรม. ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค.
    ก.พ.ค. มีอำนาจไม่รับเรื่องร้องทุกข์ หรือพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ได้

                               
                                การอุทธรณ์
     ข้าราชการที่ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๑๑๐ (๕) มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
พิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ภายในสามสิบวัน นับแต่วันทราบหรือวันที่ถือว่าทราบคำสั่งให้ออกจากราชการ
     หากผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของก.พ.ค. มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้น

**************************************

                                                     แนวข้อสอบ

 1.    พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด   
            1.   23 มกราคม 2551 
            2.   24 มกราคม 2551 
             3.   25 มกราคม 2551 
             4.   26 มกราคม 2551 
   2.    พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ใช้บังคับวันใด   
              1.   24 มกราคม 2551 
              2.   25 มกราคม 2551 
              3.   26 มกราคม 2551 
              4.   27 มกราคม 2551 
   3.    พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนมีกี่ลักษณะ กี่หมวด กี่มาตรา   
              1.   4 ลักษณะ 10 หมวด 138 มาตรา 
              2.   5 ลักษณะ 11 หมวด 139 มาตรา 
              3.   4 ลักษณะ 11 หมวด 138 มาตรา 
              4.   5 ลักษณะ 12 หมวด 139 มาตรา 
  
 4.    พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2551 ใครเป็นผู้รักษาการ   
           1.   นายกรัฐมนตรี 
           2.   นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย 
           3.   รัฐมนตรี 
           4.   ปลัดกระทรวง 
   5.    ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะ ตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551   
           1.   คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ 
           2.   คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม 
           3.   บททั่วไป 
           4.   ข้าราชการพลเรือนสามัญ 
  
  6.    ก.พ. ย่อมาจากข้อใด   
        1.   คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 
        2.   สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 
        3.   คณะกรรมการพลเรือน 
        4.   สำนักงานคณะกรรมการพลเรือน 
  


7.    ข้อใด ไม่มี อ.ก.พ.สามัญ   
         1.   อ.ก.พ.กอง 
         2.   อ.ก.พ.กรม 
         3.   อ.ก.พ.จังหวัด 
         4.   อ.ก.พ.กระทรวง 
  
8.    คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีชื่อย่อว่าอย่างไร   
        1.   ก.พ.ค. 
        2.   กพ.ค. 
        3.   กพค. 
       4.   ก.พค. 
  
9.    ใครเป็นประธานใน ก.พ.กรม   
        1.   นายกรัฐมนตรี 
        2.   รองนายกรัฐมนตรีที่นายกมอบหมาย 
        3.   รัฐมนตรี 
        4.   ปลัดกระทรวง 
        5.   อธิบดี 
 10.    ข้อใด ไม่ใช่ กรรมการโดยตำแหน่งใน ก.พ.   
           1.   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 
           2.   ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ 
           3.   เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
           4.   ข้อ A B ถูก C ผิด 
  
 11.    ข้อใด ไม่ใช่ ผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ.กรม   
          1.   ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล 
          2.   ด้านการบริหารและการจัดการ 
          3.   ด้านกฎหมาย 
          4.   ด้านนโยบาย เศรษฐกิจ และสังคม 
   12.    ข้อใด ไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ ของ อ.ก.พ.จังหวัด   
         1.   พิจารณานโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการริหารทรัพยากรบุคคล 
         2.   พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการ 
         3.   ปฏิบัติตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ.กรม มอบหมาย 
        4.   พิจารณาเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการ 
  


 13.    คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีจำนวนตามข้อใด   
        1.   6 คน 
        2.   ไม่เกิน 6 คน 
        3.   7 คน 
       4.   ไม่เกิน 7 คน 
  
 14.    ข้อใด คือลักษณะของ ก.พ.ค.   
         1.   อายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี 
         2.   เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือบุคคล 
         3.   เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 
         4.   เป็นกรรมการในองค์กรกลางของรัฐ 
  
 15.    ข้าราชการพลเรือน มีกี่ประเภท   
         1.   2 
         2.   3 
         3.   4 
         4.   5 
  


 16.    ผู้ที่จะสมัครเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีอายุตามข้อใด   
         1.   18 ปี 
         2.   ไม่ต่ำกว่า 18 ปี 
         3.   18 ปีบริบูรณ์ 
        4.   ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ 
  
 17.    ข้าราชการพลเรือนมีกี่ตำแหน่ง   
         1.   2 
         2.   3 
         3.   4 
         4.   5 
  
 18.    ข้อใด ไม่ใช่ ตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน   
         1.   ทั่วไป 
         2.   วิชาการ 
         3.   อำนวยการ 
        4.   บริหาร 
        5.   สามัญ 
  19.    ข้อใด ไม่ใช่ ระดับของข้าราชการพลเรือนประเภทวิชาการ   
            1.   ปฏิบัติการ 
           2.   ชำนาญงาน 
           3.   ชำนาญการพิเศษ 
           4.   เชี่ยวชาญ 
           5.   ทรงคุณวุฒิ 
  
 20.    มาตราใดของ พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2551 ว่าด้วยเรื่อง การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง   
            1.   มาตรา 27 
            2.   มาตรา 35 
            3.   มาตรา 53 
            4.   มาตรา 57 
  
21.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องในการสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน   
         1.   การบรรจุและแต่งตั้งระดับสูงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการกระทรวง กรม ให้ปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนที่ขึ้นตรงต่อนายกหรือรัฐมนตรี เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัด นำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ อนุมัติแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 
       2.   การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ปลัดกระทรง หรือหัวหน้าส่วนที่ขึ้นตรงต่อนายกหรือรัฐมนตรี เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง 
       3.   การบรรจุและแต่งตั้ง ประเภทอำนวยการระดับสูง ให้รัฐมนตรี สั่งบรรจุแต่งตั้ง 
       4.   การบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 53 การย้ายตามมาตรา 63 การให้ดำรงตำแหน่ง ตามมาตรา 9 ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้สั่งบรรจุแต่งตั้ง 
        
22.    ข้อใด ไม่ใช่ จรรยาข้าราชการพลเรือน   
         1.   การยึดมั่นในหลักธรรมมาภิบาล 
         2.   ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ 
         3.   การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ 
        4.   การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม 
        5.   การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน 
  
 23.    ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการในข้อใดเป็นลำดับแรก   
       1.   ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบมติคณะรัฐมนตรี นโยบายแบบแผนของทางราชการ 
       2.   ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม 
       3.   ต้องอุทิศเวลาให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งมิได้ 
       4.   ต้องรักษาความลับของทางราชการ 
 24.    โทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือน มีกี่สถาน   
         1.   2                      2.   3              3.   4                  4.       5 
 
 25.    ข้อใด ไม่ใช่ โทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือน   
         1.   ภาคทัณฑ์                            2.   ตัดขั้นเงินเดือน 
         3.   ลดขั้นเงินเดือน                    4.   ปลดออก 
         5.   ไล่ออก 
  
 26.    ข้าราชการพลเรือนที่ถูกให้ออกจากราชการให้อุทธรณ์ภายในกี่วัน   
         1.   15                2.   30             3.   45               4.   60 
  
 27.    พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์การให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน   
          1.   30              2.  60              3.   90                4.   120 
  
28.    การร้องทุกข์ที่เกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ให้ร้องทุกข์ต่อข้อ   
           1.   ก.พ.ค.                       2.   อ.ก.พ.ค.                      3.   อ.ก.พ.กระทรวง 
           4.   อ.ก.พ.กรม                5.   อ.ก.พ.จังหวัด 
  29.    เงินเดือนต่ำสุดของข้าราชการพลเรือน คือข้อใด   
              1.   3,500                2.   4,500          3.   4,600              4.   7,940 
  
 30.    เงินประจำตำแหน่งสูงสุดของข้าราชการพลเรือนคือข้อใด
               1.   10,000           2.     20,000            3.      15,600           4.   21,000  

   




 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :