สรุปพระราชบัญญัติ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 |
|
อ้างอิง
อ่าน 772 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
สรุปพระราชบัญญัติ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้น โดยคำแนะนำและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา
บังคับใช้ เมื่อ พ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ( 22 มิถุนายน 2522 )
เด็ก หมายความว่า ผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
องค์การสวัสดิภาพเด็ก หมายความว่า มูลนิธิ สมาคม หรือองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นตามก็หมายโดยมีวัตถุประสงค์ในการสงเคราะห์เด็ก และปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
ศาล หมายความว่า ศาลคดีเด็กและเยาวชนตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน หรือศาลจังหวัดในท้องที่ที่ไม่มีศาลเด็กและเยาวชน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ*****
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
**** ห้ามมิให้บุคคลใดนอกจากรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ส่วนราชการที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มอบหมายหรือองค์การสวัสดิภาพเด็กที่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ****
องค์การสวัสดิภาพเด็กที่ประสงค์จะดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากอธิบดี
**** ในกรณีที่อธิบดี ไม่อนุญาตให้องการสวัสดิภาพเด็กได้รับใบอนุญาต ให้อธิบดีแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมเหตุผลไปยังองค์การฯโดยไม่ชักช้า และองค์การฯมีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ต่อ รัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด *****
** กรณีได้รับใบอนุญาตแล้วฝ่าฝืนเงื่อนไขในการอนุญาต หรือกระทำการเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือสวัสดิภาพเด็ก อธิบดีมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตได้
คณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
1. อธิบดี เป็น ประธานกรรมการ
2. ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ
3. ผู้แทนกรุงเทพมหานคร
4. ผู้แทนกรมการปกครอง
5. ผู้แทนกรมตำรวจ
6. ผู้แทนกรมอัยการ
และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกิน 8 คน ในจำนวนนี้ต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้
กรรมการพ้นจากตำแหน่งนอกจากตามวาระแล้ว เมื่อ
1. ตาย
2. ลาออก
3. เป็นบุคคลล้มละลาย
4. เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
5. ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้ทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ออกระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเพื่อให้ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม องค์การสวัสดิภาพเด็กที่ได้รับอนุญาต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. พิจารณา และมีมติในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
3. พิจารณาเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
4. ให้คำแนะนำในเรื่องการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแก่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมองค์การสวัสดิภาพเด็กที่ได้รับอนุญาต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
*** ห้ามมิให้ผู้ใดพาหรือจัดส่งเด็กออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อวัตถุประสงค์ให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรับมนตรี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนที่กำหนดในกฎกระทรวง
** การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต้องมีการทดลองเลี้ยงดูและได้รับอนุมัติให้รับเป็นบุตรบุยธรรมตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
การทดลองเลี้ยงดู ไม่ให้ใช้กับ ผู้ขอรับที่เป็น พี่ร่วมบิดามารดา พี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครองของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม หรือบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้ใดประสงค์จะขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ให้ยื่นคำขอพร้อมทั้งหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม กรณีผู้ขอมีที่อยู่ในกรุงเทพหรือต่างประเทศให้ยื่นต่ออธิบดี ส่วนต่างจังหวัด ให้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
*การทดลองเลี้ยงดูต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน*
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์**** รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงเพื่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ส. โหตระกิตย์
รองนายกรัฐมนตรี
** หมายเหตุ **- เหตุผลในการประกาศใช้ พรบ.นี้ คือ เนื่องจากการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมซึ่งแต่เดิมเคยจำกัดอยู่เฉพาะในระหว่างเครือญาติและผู้รู้จักคุ้นเคยกันนั้น บัดนี้ได้แพร่ขยายออกไปสู่บุคคลภายนอกอื่นๆ ทั้งคนไทยและต่างด้าว สมควรกำหนดเงื่อนไขและวิธีการในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมไว้ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ และป้องกันการค้าเด็กในรูปแบบของการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของบิดามารดาที่แท้จริงของเด็ก ตลอดจนประโยชน์ของผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม *****
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|