สรุปแนวคิดของนักคิดคนสำคัญทางรัฐศาสตร์ |
|
อ้างอิง
อ่าน 18080 ครั้ง / ตอบ 1 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
สรุปแนวคิดของนักคิดคนสำคัญทางรัฐศาสตร์
นักคิดในกลุ่มวิชา Plan A
1.นักปรัชญาทางการเมือง หมายถึงนักคิดที่มุ่งตอบคำถามทางการเมืองว่าการเมืองที่ดีควรเป็นอย่างไร รูปแบบการปกครองที่ดีควรเป็นอย่างไร ผู้ปกครองที่ดีควรเป็นอย่างไร
นักปรัชญาทางการเมืองคนสำคัญๆ ได้แก่
1.1 เพลโต มองงว่าการปกครองที่ดีต้องปกครองโดยนักปราชญ์ คือคนที่มีความรู้ แต่ต้องมีคุณธรรมด้วย การที่ผู้ปกครองมีคุณธรรมจะต้องเป็นผู้ปกครองที่ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว (ดังนั้นผู้ปกครองที่ดีต้องมีความรู้และคุณธรรม)
1.2 อริสโตเติล มองว่าการปกครองที่ดีคือการปกครองโดยชนชั้นกลาง เพราะชนชั้นกลางมีความรู้และมีความสามารถในการประสานผลประโยชน์ระหว่างชนชั้นสูงและชนชั้นลาง (อริสโตเติลจึงไม่เห็นด้วยกับการปกครองโดยคนสวนใหญ่ หรือไม่เห็นด้วยกับประชาธิปไตย เพราะมองว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมเป็นคนที่ไม่มีความรู้)
1.3 นักปรัชญาในกลุ่มสัญญาประชาคม (Social Contract) เป็นนักคิดที่มองว่ารัฐเกิดจากคนในสังคมมารวมกันทำสัญญามอบอำนาจการปกครองให้กับผู้ปกครอง นักคิดในกลุ่มนี้มี 3 คน ประกอบด้วย
โธมัส ฮอบส์ เชื่อว่าก่อนจะมารวมตัวอยู่ในสังคมมนุษย์ตามธรรมชาตินั้นมีความชั่วร้าย เต็มไปด้วยกิเลส มนุษย์เป็นศัตรูกันและพร้อมที่จะฆ่ากันเพื่อรักษาชีวิตของตนเอง การฆ่าคนอื่นจึงถือเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ จนกระทั่งมนุษย์มาทำสัญญาว่าจะไม่ใช้สิทธิตามธรรมชาตินี้อีก มนุษย์จึงมาทำสัญญาต่อกันจนทำให้เกิด Civil Society หรือเกิดรัฐขึ้นมา แต่สัญญาประชาคมของฮอบส์บอกว่ามนุษย์ทุกคนสัญญาว่าจะไม่เป็นผู้ปกครอง แต่ทุกคนยอมเสียสละสิทธิตามธรรมชาติให้ผู้ปกครอง ขณะที่คนที่ปกครองไม่ได้มาทำสัญญาประชาคมด้วย ผู้ปกครองจึงยังมีสิทธิของมนุษย์ตามสภาพธรรมชาติ ผู้ปกครองจึงมีอำนาจอย่างเต็มที่ ความเชื่อเช่นทำให้ผู้ปกครองหรือรัฐของฮอบส์เป็นรัฐที่มีอำนาจเด็ดขาดและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ผู้ปกครองตามแนวคิดของฮอบส์จึงหมายถึงกษัตริย์ที่มีอำ
-จอห์น ล๊อค มีความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษย์ว่ามนุษย์เป็นคนดี มีเหตุผลแต่การที่มนุษย์ตามสภาพธรรมชาติใช้เหตุผลได้ไม่เท่ากันโดยเฉพาะเหตุผลในการแสวงหาทรัพย์สิน และสภาพตามธรรมชาติทำให้มนุษย์ไม่สามารถใช้ศักยภาพได้ไม่เต็มที่ มนุษย์จึงต้องทำสัญญาประชาคมเพื่อมาอยู่รวมกันในสังคมการเมือง เพราะเชื่อว่าการเข้ามาอยู่ในสังคมการเมืองจะช่วยทำให้มนุษย์มีศักยภาพมากขึ้น
แต่การมารวมกันเป็นสังคมการเมืองของมนุษย์นั้นมนุษย์ได้เอาสิทธิธรรมชาติของมนุษย์มาด้วย โดยสิทธิดังกล่าวและเป็นสิ่งที่รัฐเอาไปไม่ได้ ดังนั้นในแนวคิดของล๊อครัฐบาลที่เกิดขึ้นจึงต้องเคารพสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ นั่นคือเคารพในความมีเสรีภาพของมนุษย์ รัฐบาลที่เกิดขึ้นมาจึงเป็นรัฐบาลที่เกิดขึ้นมาเพื่อปกป้องรักษาสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ รัฐบาลทีดีในสายตาของล๊อคจึงหมายถึงรัฐบาลที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ เพราะรัฐบาลเป็นตัวแทนของประชาชน รัฐบาลใช้อำนาจนอกเหนือไปจากประชาชนมอบหมายไม่ได้ ดังนั้นประชาชนจึงมีเสรีภาพที่จะเลือกหรือล้มรัฐบาลได้
-ชอง ชาร์ค รุสโซ มองว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์นั่นเป็นคนดี ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แต่พอมนุษย์มีเหตุผลมากขึ้น เริ่มมีภาษา มีการแลกเปลี่ยน ทำให้ความความดีงามของมนุษย์โดยธรรมชาติจะหายไป เพราะมนุษย์เริ่มมีการเปรียบเทียบ เริ่มมีการแข่งขัน ความชั่วทั้งหลายเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มีเหตุผล เกิดการปะทะกันระหว่างคนที่มั่งคั่งกับคนที่ไม่มั่งคั่ง นำมาซึ่งความวุ่นวาย จนมนุษย์ต้องมาทำสัญญาให้คนทุกคนมาอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันหรืออยู่ในสังคมการเมืองเดียวกัน เมื่อมาอยู่ในสังคมการเมืองจึงเกิดรัฐขึ้นมา โดยรุสโซมองว่าคนมนุษย์ต้องเอาสิทธิทางธรรมชาติมอบให้กับสังคมทั้งหมด เพื่อให้มนุษย์ทุกคนเป็นเจ้าของสังคมการเมือง การเสียสละสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์จึงเป็นการเสียสละให้ส่วนรวม เพราะเชื่อว่าเจตนารมณ์ของส่วนรวมหรือ General Will จะเป็น เจตนารมณ์ที่ดี รัฐบาลที่มาจาก General Will จึงเป็นรัฐบาลที่ดี ซึ่งในปัจจุบันคือรัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่
2.เดวิด อีสตัน เจ้าของทฤษฎีระบบ (System Theory) หมายแนวคิดที่นำเสนอว่าระบบการเมืองว่าเหมือนกับระบบสิ่งมีชีวิต ที่ประกอบด้วยระบบย่อยๆ ที่ต้องทำงานประสานงานอย่างสมดุล ภายใต้สภาพแวดล้อมที่อยู่ภายนอก ถ้าระบบย่อยต่างๆเกิดความไม่สมดุล หรือระบบการเมืองไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ระบบการเมืองนั้นก็จะมีปัญหา
เดวิด อีสตัน บอกว่าตามแนวคิดเชิงระบบมองว่าการเมืองประกอบด้วย
1.Political System ซึ่งประกอบด้วย
1.1 ประชาคมทางการเมือง (ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน)
1.2 ระบอบการปกครอง (เช่นประชาธิปไตย เผด็จการ)
1.3 ผู้มีอำนาจทางการเมือง (รัฐบาล)
2.Input หมายถึงปัจจัยที่ป้อนเข้าระบบการเมือง ประกอบด้วย
2.1 ข้อเรียกร้องของของประชาชน หมายถึงความต้องการต่างๆที่ประชาชนต้องการให้ระบบการเมืองตอบสนอง
2.2 ข้อสนับสนุนจากประชาชน (ต้องสนับสนุนระบบการเมืองทั้ง 3 ส่วน คือสนับสนุนต่อความเป็นประชาคมทางการเมือง สนับสนุนต่อ ผู้มีอำนาจทางการเมืองหรือสนับสนุนรัฐบาลรวมทั้งสนับสนุนระบอบการเมือง)
3.Out put ผลของการตัดสินใจของผู้มีอำนาจทางการเมือง (หรือรัฐบาล) ซึ่งอยู่ในรูปของนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ
4.Feed Back หมายถึงผลสะท้อนกลับจากผลของการตัดสินใจของผู้มีอำนาจรัฐบาล
ระบบการเมืองทุกระบบต้องรักษาสมดุลระบบย่อยๆ เหล่านี้หากไม่สามารถรักษาสมดุลได้ระบบการเมืองนั้นอาจจะล่มสลาย
3.อัลมอนด์ และ พาวเวลล์ เสนอแนวคิดโครงสร้างหน้าที่ (Structural Functional)
แนวคิดเชิงโครงสร้างหน้าที่บอกว่าในระบบการเมืองจะจะมีโครงสร้างต่างๆปรากฏอยู่ และโครงสร้างทางการเมืองเหล่านี้จะมีหน้าที่ของมันเอง (โครงสร้างของระบบการเมือง เช่นพรรคการเมือง รัฐบาล กลุ่มผลประโยชน์ ระบบราชการ)
โดยในระบบการเมืองจะมีหน้าที่ต่างๆจะมีหน้าที่ คือ
1.หน้าที่ในการสร้างสมรรถนะ ซึ่งประกอบด้วย
-สมรรถนะในการสร้างกติกา (Regulative Capability) หมายถึงระบบการเมืองจะต้องมีความสามารถในการ
-สรรถนะในการดึงดูดทรัพยากรของสังคมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (Extractive Capability) หมายถึงระบบการเมืองจะต้องสามารถดึงเอาทั้งทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรทางสังคม ทรัพยาการทางการเงินมาใช้ได้
-สมรรถนะในการแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากร (Distributive Capability) เป็นความสามารถของระบบการเมืองที่จะต้องจัดสรรทรัพยากรเพื่อประโยชน์กับประชาชนอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม
2.หน้าที่ในการเปลี่ยน Input ให้เป็น Output หรือเปลี่ยนความต้องการของประชาชน/หรือความเดือดร้อนของประชาชนให้ออกมาเป็นนโยบาย โครงการที่จะต้องสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน
หน้าที่นี้แบ่งได้เป็น 5 ขั้นตอนคือ
2.1 ขั้นการนำเสนอปัญหา/ความเดือดร้อนของประชาชน (Interest Articulation) เป็นหน้าที่ของประชาชน กลุ่มผลประโยชน์
2.2 ขั้นการนำความเดือดร้อนต้องการมาหาข้อสรุป (Interest Aggregation) เป็นหน้าที่ของพรรคการเมืองและระบบราชการ
2.3 ขั้นการตัดสินใจกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหา (Policy Making) เป็นหน้าที่ของรัฐบาล
2.4 ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นหน้าที่ของระบบราชการ
2.5 ขั้นการตัดสินตีความ (Policy Adjudication) เป็นหน้าที่ของศาลสถิตยุติธรรม
ทุกระบบการเมืองถ้าสถาบันทางการเมืองต่างทำหน้าที่อย่างดี มีประสิทธิภาพ และทำงานประสานสอดคล้องกันระบบการเมืองนั้นก็จะมีเสถียรภาพ
3. หน้าที่ในการบำรุงรักษาระบบและปรับตัว เพื่อให้ระบบการเมืองดำรงอยู่ได้การทำหน้าที่นี้ทำผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น
3.1 การเรียนรู้ทางการเมือง (Political Socialization)
3.2 การสื่อสาร (Communication) ทางการเมือง
4.ลูเชียน พาย เสนอทฤษฎีพัฒนาการทางการเมือง มองว่าสังคมที่มีการเมืองพัฒนาจะต้องประกอบด้วยลักษณะ 10 ประการคือ
1.ระบบการเมืองที่พัฒนาจะต้องมีระบบเศรษฐกิจที่พัฒนา
2.ระบบการเมืองที่พัฒนาจะอยู่ในสังคมอุตสาหกรรม
3.ระบบการเมืองที่พัฒนาคือระบบการเมืองที่ทันสมัย
4.ระบบการเมืองที่พัฒนาคือการเมืองในระบบรัฐชาติ (ถ้าไม่ใช่รัฐชาติ เช่นเป็นชนเผ่าก็จะไม่พัฒนา)
5.ระบบการเมืองที่พัฒนาจะต้องมีระบบกฎหมายและระบบการบริหารที่พัฒนาด้วย
6.ระบบการเมืองที่พัฒนาจะต้องเป็นระบบการเมืองที่เน้นการมีส่วนร่วมทางการเมือง
7.ระบบการเมืองที่พัฒนาคือระบบประชาธิปไตย
8.ระบบการเมืองที่พัฒนาคือระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพ (หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองต้องเป็นไปตามกติกา)
9.ระบบการเมืองที่พัฒนาคือระบบการเมืองที่มีความสามารถในการระดมพลังจากประชาชนมาสร้างอำนาจให้กับรัฐชาติ
10.ระบบการเมืองที่พัฒนาจะต้องสร้างมิติที่หลากหลายในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
5.แซมมวล พี.ฮันติงตัน นำเสนอทฤษฎีความทันสมัยทางการเมือง โดยมองว่าการเมืองที่พัฒนาแล้วคือการเมืองที่ทันสมัย ซึ่งจะเกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมที่จะต้องสมดุลกัน หากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไม่สมดุลกับการพัฒนาทางการเมืองกัน จะเกิดปัญหาในระบบการเมือง และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบรุนแรงได้ เช่น พัฒนาเศรษฐกิจให้คนมีฐานะที่ดีขึ้น พัฒนาสังคมให้คนมีความรู้มากขึ้นแต่การเมืองยังเป็นระบบปิด ไม่เปิดโอกาสให้คนเข้ามีส่วนรวมทางการเมืองคนก็อาจจะเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
7.มาร์ติน ลิปเซ็ท นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมือง โดยบอกว่าการเมืองที่มีประสิทธิภาพหมายถึงระบบการเมืองที่รัฐบาลได้อำนาจมาอย่างชอบธรรม (หมายถึงได้รับการยอมรับจากประชาชน) และต้องมีรัฐบาลที่มีผลงานหรือมีประสิทธิผลในการทำงาน หากไม่มีปัจจัยทั้ง 2 ตัวก็จะเป็นระบบการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ
8.คาร์ล มารกซ์ หรือแนวคิดแบบมาร์กซิสต์ นำเสนอแนวคิดแบบสังคมนิยม โดยมองว่าสังคมที่ดีจะต้องเป็นสังคมที่คนมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งนั้นหมายถึงคนจะต้องไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว ทุกอย่างเป็นของส่วนรวม เมื่อทุกอย่างเป็นของส่วนรวมคนก็จะทำเพื่อส่วนรวม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน สังคมแบบนี้จะเป็นสังคมที่สงบเพราะผู้คนได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ต้องแข่งขันกัน เมื่อไม่มีการแข่งขันก็ไม่ความขัดแย้ง สังคมนิยมจึงเป็นสังคมที่ไม่ต้องมีรัฐ
แนวคิดของมาร์กซ์ตรงข้ามกับแนวคิดแบบทุนนิยมที่เน้นการแข่งขันอย่างเสรี ซึ่งมาร์กซ์บอกว่าจะทำใหเกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เพราะธรรมชาติของมนุษย์มีความไม่เท่าเทียมกันอยู่แล้ว ซึ่งเขาเชื่อว่าสังคมทุนนิยมเมื่อดำเนินไปเรื่อยๆก็จะถึงทางตันเพราะคนที่ด้อยกว่าในสังคมจะทนไม่ได้และลุกขึ้นมาล้มล้างคนที่รวยกว่า สุดท้ายสังคมก็จะพัฒนาไปสู่สังคมแบบสังคมนิยม (แนวคิดของมาร์กซ์ยังไม่เป็นจริงจนถึงทุกวันนี้)
นักคิดในกลุ่มวิชา Plan B
Plan B เป็นวิชาที่มีนักคิดมากที่สุด จะยกตัวอย่างคนสำคัญๆ นะคะ
1.วู๊ดโรว์ วิลสัน
-เสนอให้แยกการเมืองและการบริหารออกจากกันโดยเด็ดขาด เพื่อให้บริหารงานมีความเสมอภาคเป็นธรรมและมุ่งประโยชน์สาธารณะ
-ให้นำระบบคุณธรรมมาใช้ในการบริหารงาน
2.แมกซ์ เวเบอร์
ได้เสนอหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับองค์การขนาดใหญ่ที่มีแบบแผน ที่เรียกว่า Bureaucracy โดยเสนอว่าในการบริหารองค์การขนาดใหญ่จะต้องใช้หลักการบริหารที่มีระบบ ซึ่งหมายถึง
-มีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน
-การกำหนดสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน
-การทำงานที่เน้นกฎระเบียบที่แน่นอน ชัดเจน
-การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งโดยระบบคุณธรรม
-ไม่มีการใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว ความรู้สึกส่วนตัว ดังนั้นการปฏิบัติงานนั้นจะต้องมีความเป็นทางการ แยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องงาน (Formality)
3.เฟรดเดอริก เทเลอร์
ได้นำหลักการวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ใช้ในกิจกรรมทางการบริหาร โดยมีหลักการที่สำคัญคือ
-การแบ่งงานตามความถนัด
-การจัดบุคคลทำงานตามหลักเวลาและการเคลื่อนไหว
-ค่าตอบแทนแบบจูงใจ
-การควบคุมอย่างใกล้ชิด
4.กุลลิกและเออร์วิค นำเสนอหลักการบริหารที่เรียกว่า POSDCoRB มองว่าการบริหารที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยหลักการต่างๆ คือ การวางแผน กาจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การสั่งการ การประสานงาน การจัดทำรายการ และการจัดทำงบประมาณ
5.เฮนรี่ ฟาโยล เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า POCCC คือวางแผนงาน จัดองค์การ สังการ ประสานงาน และควบคุมการทำงาน
6.ฮิวโก มันสเตอร์เบิร์ก
-ต้องให้คนทำงานตรงกับความรู้ความสามารถ
-สนใจความพร้อมทางอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงาน
7.แมรี่ ปากเกอร์ ฟอลเลต ให้ความสนใจกับการสั่งการและการรับคำสั่ง
มองว่าการที่ผู้บริหารจะสั่งการจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปฏิบัติ ผู้บริหารจึงต้องสนใจความคิดและการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติด้วย
8.วิลเลี่ยม เจ. ดิกสัน สนใจกลุ่มที่ไม่เป็นทางการในองค์การ
9. เชสเตอร์ ไอ.บาร์นาร์ด สนการการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการอันเกิดจากความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการในองค์การ
10.ฮับราอัม มาสโลว์ เสนอทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้น มองว่าคนจะทำงานเมื่อได้รับการตอบสนองตรงกับความต้องการในแต่ละขั้น
11.ดักลาส แมกเกรเกอร์ ทฤษฎี X และทฤษฎี Y เสนอว่าการจะทำให้คนทำงานจะต้องรู้จักคุณลักษณะ
12.เฮิร์ตเบิร์ก ทฤษฎี 2 ปัจจัย บอกว่าการจะให้คนทำงานจะต้องสร้างปัจจัย 2 ปัจจัยคือ
-ปัจจัยภายในทำให้เกิดการจูงใจ เช่นความสำเร็จในการทำงาน การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน
-ปัจจัยภายนอกที่จำเป็น เช่นเงินเดือน นโยบายการบริหาร เทคนิคการควบคุมงาน
แนวคิดส่วนใหญ่ที่กล่าวมาเป็นแนวคิดเก่าๆ แต่การบริหารงานสมัยใหม่จะมีแนวคิดของนักคิดใหม่มากมาย เช่น
1.เบิร์นและสต๊อคเกอร์ สนใจเรื่องสภาพแวดล้อมขององค์การ เชื่อว่าโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพจะต้องเป็นโครงสร้างที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม โดยเขาแบ่งโครงสร้างองค์การออกเป็น 2 แบบ
1.โครงสร้างองค์การแบบมีชีวิต (Organic Structure) มีลักษณะ
-มีความซับซ้อนน้อย
-มีความเป็นทางการต่ำ
-มีการกระจายอำนาจ
โครงสร้างแบบนี้จะเน้นการปรับตัวและยืดหยุ่นได้ง่าย
2.โครงสร้างองค์การแบบเครื่องจักร (Mechanic Structure) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะ
-มีความซับซ้อนสูง
-มีความเป็นทางการสูง
-มีการรวมอำนาจสูงด้วย
-มุ่งเน้นประสิทธิภาพในการทำงาน
เบิร์นและสต๊อคเกอร์กล่าวว่าจะเลือกโครงสร้างแบบใดควรจะพิจารณาจากสภาพแวดล้อมโดยเสนอแนะว่า
-ถ้าสภาพแวดล้อม มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ไร้เสถียรภาพ โครงสร้างที่เหมาะสมคือโครงสร้างแบบมีชีวิต
-ถ้าสภาพแวดล้อม นิ่ง มีเสถียรภาพ ควรจะใช้โครงสร้างแบบเครื่องจักร
2.ปีเตอร์ เซนเก้ เจ้าของแนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้
3.นอร์ตันและแคปแลน เจ้าของแนวคิด Balance Scorecard
นักคิดในกลุ่ม Plan B
1.โรเบิร์ต โอ. เคียวเฮน และโจเซฟ เอช. ไน นำเสนอทฤษฎีพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างประเทศ (Interdependence Theory)
มองว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในระหว่างประเทศ ไม่มีประเทศไหนที่สามารถอยู่ได้เพียงลำพัง
แต่คำถามในทฤษฎีนี้ก็คือการพึ่งพาดังกล่าวมีความเท่าเทียมกันหรือไม่ ซึ่งนักคิดทั้ง 2 คนมองว่าแม้จะมีการพึ่งพาที่ไม่เท่าเทียมแต่ทุกประเทศก็ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
2. Bela Balassa (เบลา บาลาสซา)เสนอทฤษฎีบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (International Integration Theory)
เป็นทฤษฎีที่สนับสนุนให้ประเทศต่างๆมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ โดยมองว่าขั้นตอนของการรวมตัวกันหรือบูรณาการกันทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมี 5 ขั้นตอน ได้แก่
1.ความร่วมมือจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area / Agreement: FTA)
2.สหภาพศุลกากร (Custom Union)
3.ขั้นการจัดตั้งเป็นตลาดร่วม (Common Market)
4.ขั้นการจัดตั้งเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Union)
5.ขั้นการเป็นสหภาพการเมือง (Political Union)
3.เอ็มมานูเอล วอลเลอร์สไตน์ นำเสนอทฤษฎีระบบโลก มองว่าระบบโลกจะประกอบด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันของประเทศ 3 กลุ่มคือ ประเทศวงใน ประเทศกึ่งรอบนอก และประเทศรอบนอก โดยประเทศวงในจะเอารัดเอาเปรียบและได้ประโยชน์จากประเทศรอบนอกโดยผ่านประเทศกึ่งรอบนอกอีกทอดหนึ่ง ประเทศรอบนอกจึงแย่ที่สุด เพราะจะถูกดูดซับความมั่งคั่งจากประเทศกึ่งรอบนอกและประเทศวงในตลอดเวลา
4.เจ.เอ. ฮอบสัน เสนอทฤษฎีจักรวรรดินิยม (Imperialism) กล่าวว่าภาวะจักรวรรดินิยมหมายถึงการที่ประเทศใหญ่เข้าครอบงำประเทศที่อ่อนแอกว่า โดยในยุคของฮอบสันนั้นจักรวรรดินิยม เกิดจากประเทศตะวันตกที่มีระบบเศรษฐกิจในระบบอุตสาหกรรมทุนนิยมที่มีผลิตมากเกินไป (Overproduction) แต่มีการบริโภคน้อย (Under-consumption) ทำให้นายทุนให้ขยายตัวออกไปต่างประเทศ ทั้งต้องการหาตลาด และหาวัตถุดิบมาป้อนอุตสาหกรรมในประเทศตะวันตก แต่การเข้าไปนั้นกลับไปเอารัดเอาเปรียบและใช้กำลังในการครอบงำ
ปัจจุบันแนวคิดจักรวรรดินิยมถูกเรียกว่าจักรวรรดินิยมแบบใหม่ เพราะประเทศตะวันตกยังครอบงำประเทศด้อยพัฒนาอยู่แต่การเข้ามาครอบงำไม่ได้ใช้วิธีการที่รุนแรง แต่ครอบงำผ่านระบบเศรษฐกิจและการส่งออกทางวัฒนธรรม และการครอบงำทางความคิด
5.ริชาร์ด ชไนเดอร์ ,H.W.Bruk (บรัก) Burton Sapin (ชาปิน) นำเสนอตัวแบบการตัดสินใจในนโยบายต่างประเทศ ที่เรียกว่า SBS Model (ตั้งชื่อตามชื่อย่อของนักวิชาการทั้ง 3 คน) บอกว่าในการตัดสินใจกำหนดและดำเนินนโยบายต่างประเทศของผู้มีอำนาจจะมีทั้งปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศมาเกี่ยวข้อง
ปัจจัยภายนอกคือ เหตุการณ์การเมืองในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศ
ปัจจัยภายใน มีมากมายตั้งแต่ ประชาชน สื่อมวลชน เหตุการณ์ภายในประเทศ แต่ปัจจัยที่สำคัญทากๆ คือ Perception หรือมุมมองในการมองโลกของผู้นำ
6.อเล็กซานเดอร์ เวนท์ นำเสนอแนวคิดประดิษฐกรรมนิยม (Constructivism) แนวคิด Constructivism เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายในหลายสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่าความจริงเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่ถูกสร้างขึ้น เช่นเดียวกับความเป็นจริงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ขึ้นอยู่กับการสร้างขึ้นมาจนเชื่อว่าเป็นจริง
8.ราอูล เฟบิช/โดส ซานโตส /อังเดร กุนเดอร์ แฟรงค์/คาร์โดโซ นำเสนอทฤษฎีพึ่งพิงมองว่า ความสัมพันธ์ของประเทศในโลกนี้เป็นแบบพึ่งพิง โดยเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน และประเทศเล็กต้องพึ่งพิงประเทศใหญ่ ขณะที่ประเทศใหญ่เอารัดเอาเปรียบประเทศเล็ก และการที่ประเทศใหญ่พัฒนาได้ก็เพราะเอาความมั่งคั่งไปจากประเทศเล็ก หรือกล่าวว่าประเทศด้อยพัฒนาไม่ได้ด้อยพัฒนาด้วยตนเองแต่ถูกทำให้ด้อยพัฒนา
***นักคิดอื่นๆที่ต้องรู้จัก**
1.อดัม สมิท นำเสนอแนวคิดที่เป็นพื้นฐานของระบบทุนนิยม คือการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน ว่าจะช่วยให้เกิดผลผลิตที่ดีและมีปริมาณมากขึ้น
2.เดวิด ริคาร์โด นำเสนอการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ ว่าจะช่วยให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีระดับโลก และช่วยลดต้นทุนในการผลิต
3.จอห์น เมนาร์ด เคนส์ นำเสนอแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่าแนวคิดแบบนีโอคลาสสิก ว่าหากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรัฐต้องเข้าไปแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจ
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 29/05/2018 20:11
|