แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แก้ไขถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2551 (ชุดที่ 1) โดยประพันธ์ เวารัมย์ |
|
อ้างอิง
อ่าน 2473 ครั้ง / ตอบ 1 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แก้ไขถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2551
(ชุดที่ 1) โดยประพันธ์ เวารัมย์
***************************
1. พระราชบัญญัติวัตถุอันตรายตราขึ้นไว้โดย
ก. คำแนะนำของสภาผู้แทนราษฎร
ข. คำแนะนำของวุฒิสภา
ค. คำแนะนำของสภาผู้แทนราษฎรและยินยอมของวุฒิสภา
ง. คำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร
จ. คำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ*
*****************************************************
2. พระราชบัญญัติวัตถุอันตรายมีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก. 29 มีนาคม พ.ศ. 2535
ข. 30 มีนาคม พ.ศ. 2535
ค. 6 เมษายน พ.ศ. 2535
ง. 7 เมษายน พ.ศ. 2535*
จ. วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป้นต้นไป
*****************************************************
3. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องความหมายวัตถุอันตราย
ก. วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
ข. วัตถุกัดกร่อน
ค. วัตถุที่ทำให้เสียชีวิตเท่านั้น*
ง. วัตถุที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม
จ. วัตถุที่ทำให้เกิดโรค
*****************************************************
4. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. มีไว้ครอบครอง หมายความว่า การมีไว้ในครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้น ไม่ว่าเป็นมีไว้เพื่อขาย และขนส่ง*
ข. ฉลาก หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ ซึ่งแสดงไว้ที่วัตถุอันตราย หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบบรรจุ หรือสอดแทรก
ค. ขาย หมายความถึง การจำหน่าย จ่ายหรือแจกเพื่อประโยชน์ทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย
ง. ส่งออก หมายความว่า ส่งหรือดำเนินการเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
จ. ผลิต หมายความว่า ทำ เพาะ ปรุง ผสม แปรสภาพ ปรุงแต่ง แบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ
*****************************************************
5. อนุสัญญาว่าด้วยว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิตสะสม และใช้อาวุธเคมี และว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นไว้เมื่อวันที่
ก. 13 มกราคม 2535
ข. 13 มกราคม 2536*
ค. 29 มีนาคม 2535
ง. 6 เมษายน 2535
จ. 7 เมษายน 2535
*****************************************************
6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใด ไม่ได้เป็นผู้ควบคุม ส่งเสริมและติดตามดูแลการดำเนินงานของเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการวัตถุอันตรายในการปฏิบัติการพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์*
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
*****************************************************
7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใด มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนด ค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
จ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม*
*****************************************************
8. กฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกกำหนดค่าธรรมเนียม ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย มีผลบังคับเมื่อใด
ก. รัฐมนตรีลงนาม
ข. แจ้งเวียนส่วนราชการต่างๆ
ค. วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*****************************************************
9. คณะกรรมการวัตถุอันตราย ตำแหน่งใดเป็นประธาน
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. อธิบดีกรมการแพทย์
ง. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
จ. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม*
*****************************************************
10. ตำแหน่งใดต่อไปนี้ ไม่ได้เป็นกรรมการใน คณะกรรมการวัตถุอันตราย
ก. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ข. เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ค. เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ง. อธิบกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น*
จ. อธิบดีกรมประมง
*****************************************************
11. ตำแหน่งใด เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการวัตถุอันตราย
ก. อธิบกรมปศุสัตว์
ข. อธิบกรมควบคุมมลพิษ
ค. อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ง. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
จ. อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม*
*****************************************************
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.55.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|