๑ |
ถาม |
พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง เมื่อใด |
|
ตอบ |
วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ |
๒ |
ถาม |
พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ.๒๕๒๒ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติใด |
|
ตอบ |
พระราชบัญญัติหมู่บ้านอาสาพัฒนา พ.ศ. ๒๕๑๘ |
๓ |
ถาม |
ในพระราชบัญญัตินี้ “บ้าน” หมายความว่า |
|
ตอบ |
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองที่ได้กำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ |
๔ |
ถาม |
ในพระราชบัญญัตินี้ “คณะกรรมการกลาง” หมายความว่า |
|
ตอบ |
คณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง |
๕ |
ถาม |
ในพระราชบัญญัตินี้ “ประธานคณะกรรมการกลาง” หมายความว่า |
|
ตอบ |
ประธานคณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง |
๖ |
ถาม |
ผู้ใดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ข้อบังคับ และระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ |
|
ตอบ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย |
๗ |
ถาม |
การบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง ให้ถือเอาหมู่บ้านตามกฎหมายอะไรเป็นหลัก |
|
ตอบ |
กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ |
๘ |
ถาม |
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกหมู่บ้าน ให้กระทำโดย |
|
ตอบ |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย |
๙ |
ถาม |
การรวมหมู่บ้านต่างอำเภอมากำหนดเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองได้หรือไม่ |
|
ตอบ |
กระทำมิได้ |
๑๐ |
ถาม |
ในหมู่บ้านหนึ่งให้มีคณะกรรมการกลางคณะหนึ่ง ประกอบด้วย |
|
ตอบ |
ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานคณะกรรมการกลาง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการสภาตำบลผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้านเป็นกรรมการกลางโดยตำแหน่ง และให้มีการเลือกตั้งกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิจากราษฎรในหมู่บ้านนั้น มีจำนวนอย่างน้อยห้าคนอย่างมากไม่เกินเจ็ดคน เป็นกรรมการกลาง กรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิจะมีเท่าใด ให้เป็นไปตามที่นายอำเภอกำหนดตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมของหมู่บ้าน หมู่บ้านใดมีผู้ใหญ่บ้านเป็นกำนันอยู่ด้วย ให้กำนันของหมู่บ้านนั้นเป็นประธานคณะกรรมการกลาง ให้สารวัตรกำนัน และหรือแพทย์ประจำตำบล ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหมู่บ้านของกำนันเป็นกรรมการกลางโดยตำแหน่ง |
๑๑ |
ถาม |
การเลือกตั้งกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการอย่างไร |
|
ตอบ |
ให้นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หรือปลัดอำเภอซึ่งนายอำเภอมอบหมาย เป็นประธาน พร้อมกำนันและผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้น ประชุมราษฎรผู้มีคุณสมบัติและไม่อยู่ในลักษณะต้องห้าม เมื่อราษฎรส่วนมากเลือกผู้ที่ถูกเสนอชื่อผู้ใดเป็นกรรมการกลาง และเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่อยู่ในลักษณะต้องห้าม
ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิ |
๑๒ |
ถาม |
เมื่อผู้นั้นเป็นกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ดำเนินการต่ออย่างไร |
|
ตอบ |
ให้นายอำเภอรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อออกหนังสือสำคัญตามแบบท้ายระเบียบกระทรวงมหาดไทยไว้เป็นหลักฐาน |
๑๓ |
ถาม |
ในกรณีผู้รับเลือกมีคะแนนเสียงเท่ากัน ใช้วิธีอย่างไร |
|
ตอบ |
จับสลาก |
๑๔ |
ถาม |
ประธานคณะกรรมการกลางต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง คือ |
|
ตอบ |
(๑) ตาย
(๒) ได้รับอนุญาตจากนายอำเภอให้ลาออก
(๓) ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เมื่อได้สอบสวนเห็นว่าบกพร่องในทางความประพฤติ หรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง
(๔) พ้นจากตำแหน่งกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน
|
๑๕ |
ถาม |
วิธีเลือกตั้งกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิ ให้นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หรือปลัดอำเภอซึ่งนายอำเภอมอบหมาย เป็นประธาน พร้อมกำนันและผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้น ประชุมราษฎรผู้มีคุณสมบัติและไม่อยู่ในลักษณะต้องห้ามเช่นไร |
|
ตอบ |
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุยี่สิบปีบริบูรณ์ตามหลักฐานทางทะเบียนราษฎรในวันเลือกตั้ง
(๓) มีภูมิลำเนาและถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือนในวันเลือกตั้ง
(๔) ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๕) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ |
๑๖ |
ถาม |
กรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี |
|
ตอบ |
สี่ปี |
๑๗ |
ถาม |
กรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิต้องพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง คือ |
|
ตอบ |
(๑) ตาย
(๒) ได้รับอนุญาตจากนายอำเภอให้ลาออก
(๓) นายอำเภอให้ออกเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๑๐
(๔) คณะกรรมการกลางมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางซึ่งจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียประโยชน์ของหมู่บ้าน มติดังกล่าวจะต้องมีคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามของคณะกรรมการกลางที่อยู่ในตำแหน่ง
(๕) นายอำเภอสั่งให้ออกเพราะไม่มาประชุมสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๖) ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ยุบคณะกรรมการกลาง หรือคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ |
๑๘ |
ถาม |
ถ้าตำแหน่งกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนครบวาระ ต้องดำเนินการอย่างไร |
|
ตอบ |
ให้เลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวัน |
๑๙ |
ถาม |
ถ้าตำแหน่งกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนครบวาระให้เลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวัน ยกเว้นกรณีใด |
|
ตอบ |
ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ยุบคณะกรรมการกลาง หรือคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ |
๒๐ |
ถาม |
ถ้าตำแหน่งคณะกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนกำหนดออกตามวาระไม่เกินเท่าใด จะไม่เลือกขึ้นแทนก็ได้ |
|
ตอบ |
ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน |
๒๑ |
ถาม |
ที่ปรึกษาคณะกรรมการต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง คือ |
|
ตอบ |
(๑) ตาย
(๒) ได้รับอนุญาตจากนายอำเภอให้ลาออก
(๓) นายอำเภอสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
(๔) ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นซึ่งทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหมู่บ้านนั้นได้ |
๒๒ |
ถาม |
คณะกรรมการกลางมีหน้าที่ คือ |
|
ตอบ |
(๑) บริหารหมู่บ้าน หรือดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติหรือได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการสภาตำบล นายอำเภอ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
(๒) พิจารณาวางนโยบายในการปกครองหมู่บ้าน วางแผนและโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามความต้องการของราษฎรในหมู่บ้านนั้น
(๓) ปฏิบัติหน้าที่ที่กำหนดไว้สำหรับคณะกรรมการหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
(๔) ดูแลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
(๕) ให้ความร่วมมือและประสานงานในแผนการและโครงการพัฒนาตำบลและหมู่บ้านสนับสนุนให้มีการร่วมมือจากองค์การอาสาสมัครหรือองค์การสาธารณกุศล ตลอดจนแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องและอุปสรรคที่เกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้าน
(๖) ร่วมมือช่วยเหลือการปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มอื่นๆ ซึ่งทางราชการจัดตั้งหรือสนับสนุน และดำเนินงานในเขตหมู่บ้านนั้น
(๗) เผยแพร่การดำเนินงานพัฒนาของทางราชการให้ราษฎรในหมู่บ้านทราบ
(๘) ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างราษฎรในหมู่บ้านเกี่ยวกับความแพ่ง เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและความยุติธรรม เมื่อได้ดำเนินการอย่างใดแล้ว ให้รายงานให้นายอำเภอทราบ
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ทางราชการจะได้มอบหมาย |
๒๓ |
ถาม |
ในกรณีที่สาธารณภัย ภัยทางอากาศหรือการก่อวินาศกรรมเกิดขึ้นหรือใกล้จะเกิดขึ้น เป็นความรับผิดชอบของผู้ใด |
|
ตอบ |
ประธานคณะกรรมการกลางในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ หรือประธานคณะกรรมการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยที่ได้รับมอบหมาย |
๒๔ |
ถาม |
ในกรณีที่สาธารณภัย ภัยทางอากาศหรือการก่อวินาศกรรมเกิดขึ้นหรือใกล้จะเกิดขึ้น ให้ประธานคณะกรรมการกลางในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ หรือประธานคณะกรรมการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่อย่างไร |
|
ตอบ |
สั่งหรืออำนวยการป้องกันและบรรเทาภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาภัยฝ่ายพลเรือนไปก่อนได้
แล้วรายงานผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในเขตท้องที่รับผิดชอบทราบ |
๒๕ |
ถาม |
ในหมู่บ้าน ให้มีคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อช่วยเหลือปฏิบัติภารกิจของคณะกรรมการกลางในแต่ละสาขางานตามที่ได้รับมอบ คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ จะมีกี่คณะแล้วแต่คณะกรรมการกลางจะพิจารณาเห็นสมควร โดยปกติควรมีคณะใดบ้าง |
|
ตอบ |
คณะกรรมการพัฒนา คณะกรรมการปกครอง คณะกรรมการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย คณะกรรมการการคลัง คณะกรรมการสาธารณสุข คณะกรรมการศึกษาและวัฒนธรรม คณะกรรมการสวัสดิการและสังคม หรือคณะกรรมการอื่นๆ ที่คณะกรรมการกลางพิจารณาเห็นว่าจำเป็น |
๒๖ |
ถาม |
คณะกรรมการพัฒนา มีหน้าที่เกี่ยวกับอะไร |
|
ตอบ |
พัฒนาอาชีพของราษฎร และพัฒนาหมู่บ้านในด้านต่างๆ โดยร่วมมือกับคณะกรรมการฝ่ายอื่นๆ และตามนโยบายของคณะกรรมการกลาง |
๒๗ |
ถาม |
คณะกรรมการปกครอง มีหน้าที่เกี่ยวกับอะไร |
|
ตอบ |
การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและดูแลกิจการในหมู่บ้านให้เป็นไปตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี และนโยบายส่วนรวมของชาติ แนะนำและส่งเสริมให้ราษฎรในหมู่บ้านมีความสนใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และการปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการเสริมสร้างความสามัคคีของส่วนรวม |
๒๘ |
ถาม |
คณะกรรมการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่เกี่ยวกับอะไร |
|
ตอบ |
การจัดหน่วยกำลังคุ้มครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน รวมทั้งจัดกำลังป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
๒๙ |
ถาม |
คณะกรรมการการคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับอะไร |
|
ตอบ |
การเงินของหมู่บ้าน |
๓๐ |
ถาม |
คณะกรรมการสาธารณสุข มีหน้าที่เกี่ยวกับอะไร |
|
ตอบ |
การรักษาพยาบาลการอนามัย การวางแผนครอบครัว และการสุขาภิบาล ตลอดจนการรักษาภาวะแวดล้อมของหมู่บ้านและป้องกันอันตรายอันเกิดจากภาวะแวดล้อมในหมู่บ้าน |
๓๑ |
ถาม |
คณะกรรมการศึกษาและวัฒนธรรม มีหน้าที่เกี่ยวกับอะไร |
|
ตอบ |
การศึกษา การลูกเสือและเยาวชน ตลอดจนกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม การกีฬาและการพักผ่อนหย่อนใจ |
๓๒ |
ถาม |
คณะกรรมการสวัสดิการและสังคม มีหน้าที่เกี่ยวกับอะไร |
|
ตอบ |
สวัสดิการของราษฎรและสงเคราะห์ผู้ยากจนที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ตามความจำเป็น |
๓๓ |
ถาม |
คณะกรรมการกลางประชุมกันไม่น้อยกว่าเดือนละครั้งโดยคำนึงถึงอะไรเป็นหลัก |
|
ตอบ |
ความสะดวกและการประกอบอาชีพของกรรมการกลางเป็นหลัก |
๓๔ |
ถาม |
ในการประชุมครั้งแรกให้ใครเป็นผู้นัดประชุม และทำหน้าที่ประธานชั่วคราว |
|
ตอบ |
นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หรือปลัดอำเภอซึ่งนายอำเภอมอบหมายเป็นผู้นัดประชุม |
๓๕ |
ถาม |
การประชุมของคณะกรรมการกลาง ต้องมีกรรมการกลางมาประชุมเท่าใด จึงเป็นองค์ประชุม |
|
ตอบ |
ไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการกลางที่อยู่ในตำแหน่ง |
๓๖ |
ถาม |
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ใช้วิธีใด |
|
ตอบ |
ถือเสียงข้างมาก |
๓๗ |
ถาม |
การประชุมคณะกรรมการกลางเป็นการประชุมที่เปิดเผยหรือไม่ |
|
ตอบ |
โดยปกติ เป็นการประชุมโดยเปิดเผย และเปิดโอกาสให้ราษฎรเข้าฟังได้ แต่บางกรณีถ้าประธานคณะกรรมการกลางเห็นว่าหัวข้อการประชุมเป็นเรื่องที่ไม่ควรเปิดเผย อาจปรึกษาหารือคณะกรรมการกลางเพื่อขอให้ดำเนินการประชุมลับก็ได้ |
๓๘ |
ถาม |
เมื่อมีปัญหาโต้เถียงเกี่ยวกับการประชุมซึ่งมิได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ให้ประธานคณะกรรมการกลางดำเนินการอย่างไร |
|
ตอบ |
นำข้อโต้เถียงที่เกิดขึ้นเสนอต่อนายอำเภอ คำวินิจฉัยของนายอำเภอให้ใช้บังคับได้เฉพาะการประชุมคราวนั้น และให้นายอำเภอรายงานพฤติการณ์ดังกล่าวนี้ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ |
๓๙ |
ถาม |
กระทรวงมหาดไทยและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดสรรรายได้สำหรับการบริหารหมู่บ้านตามพระราชบัญญัตินี้ คือ |
|
ตอบ |
(๑) เงินอุดหนุนหรือเงินส่งเสริมจากรัฐบาล
(๒) ภาษีบำรุงท้องที่ที่เก็บได้จากที่ดินในเขตหมู่บ้าน
(๓) เงินภาษีและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่างๆ ตามที่จะมีกฎหมายระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และคำสั่ง จัดสรรให้
(๔) เงินอุดหนุนจากราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(๕) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(๖) เงินรายได้ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดสรรให้
(๗) รายได้อื่นๆ |
๔๐ |
ถาม |
เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ต้องมอบแก่หน่วยงานใด |
|
ตอบ |
องค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดแจ้ง |
๔๑ |
ถาม |
การใช้จ่ายเงินของหมู่บ้าน ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย คือ |
|
ตอบ |
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณและการคลังของหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง |
๔๒ |
ถาม |
สภาจังหวัดจะเปลี่ยนแปลงโครงการใช้จ่ายเงินของหมู่บ้านได้หรือมิได้ |
|
ตอบ |
มิได้ |
๔๓ |
ถาม |
หากคณะกรรมการกลางหรือคณะกรรมการฝ่ายใดดำเนินการหรือมีพฤติการณ์ที่จะเป็นการเสียหายแก่ท้องที่หรือราชการ เมื่อได้ทำการสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความจริงแล้ว ดำเนินการเช่นไร |
|
ตอบ |
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยุบคณะกรรมการกลางหรือคณะกรรมการฝ่ายนั้นได้ |
๔๔ |
ถาม |
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งยุบคณะกรรมการกลางแล้ว ให้นายอำเภอดำเนินการเลือกตั้งกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนภายในระยะเวลาเท่าใด |
|
ตอบ |
สี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สั่งยุบ |
๔๕ |
ถาม |
ระหว่างที่คณะกรรมการกลางถูกยุบ ให้ผู้ใดรับผิดชอบการปฏิบัติงานแทนคณะกรรมการกลาง |
|
ตอบ |
นายอำเภอ |