สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714832
แสดงหน้า2190930
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




ความหมายของการวางแผน

ความหมายของการวางแผน
อ้างอิง อ่าน 203 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
P ความหมายของการวางแผน
     การวางแผนคือกระบวนการที่กำหนดไว้อย่างมีระบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการภายใต้เงื่อนไขและข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจ
ความสำคัญของการวางแผน
         การวางแผนเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคน  ซึ่งมีความห่วงใย สนใจหรือตระหนักถึงความสำคัญของอนาคตการวางแผน ให้คุณประโยชน์หลายประการ ทั้งแก่ ส่วนบุคคลและองค์กร 
คุณประโยชน์ที่ได้จากการวางแผนมีดังนี้
       1. ช่วยค้นหาหรือชี้ให้ทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือช่วยชี้ให้เห็นถึงโอกาสต่างๆ ที่อาจมีขึ้นมาได้
       2. ช่วยปรับปรุงและกระตุ้นกระบวนการตัดสินใจให้ดีขึ้น
       3. ช่วยในการปรับทิศทางอนาคตของตนเอง ตลอดจนค่านิยมและวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนเสมอ
      4. ช่วยให้แต่ละบุคคลสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม
      5. ช่วยสร้างความมั่นใจในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ
      6. คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองสุขภาพเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

  D การวัดผลงานอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อชื่นชมความสำเร็จของพนักงานแต่ละคน  และเพื่อระบุหาพนักงานที่มีความคิดสร้างสรร ทุ่มเทเพื่อทำให้กลุ่มบริษัทลินเด้เป็นอันดับหนึ่งทางด้านก๊าซและวิศวกรรม
เราเข้าใจว่าการบริหารผลงานเป็นความรับผิดชอบของผู้นำที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ เพราะการบริหารผลงานจะก่อให้เกิดวิธีเบื้องต้นที่จะดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจ และทำให้ความพยายามของทุกคนอยู่ในแนวทางที่จะมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน  ดังนั้นเราจึง
จัดให้มีการชี้นำแนวทางเชิงกลยุทธ์ให้แก่พนักงานทุกคน
เชื่อมโยงแรงบันดาลใจ พฤติกรรม และความทุ่มเทของพนักงาน เข้ากับผลงานที่องค์กรต้องการบรรลุผลสำเร็จ
กระตุ้นให้พนักงานสนับสนุนค่านิยมและหลักการของลินเด้
สร้างวัฒนธรรมของผู้มีผลงานระดับสูง ซึ่งพนักงานรับผิดชอบในการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจอย่างต่อเนื่อง  อีกทั้งทักษะและความทุ่มเทของตนเอง
การบริหารผลงาน และการพัฒนาพนักงาน
หัวหน้ากับพนักงานร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการพัฒนา  พวกเขายังประเมินความก้าวหน้าร่วมกันเป็นระยะๆ และตัดสินใจโดยอาศัยความเชี่ยวชาญและทักษะ ซึ่งพนักงานจำเป็นต้องมีในการพัฒนา

  C ความสำคัญและประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน
การตรวจสอบภายใน เป็นการให้บริการข้อมูลแก่ฝ่ายบริหาร และเป็นหลักประกันขององค์กรในด้านการประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม ทั้งในด้านการเงินและการบริหารงาน เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร โดยการเสนอรายงาน เกี่ยวกับกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าขององค์กร รวมทั้งการเป็นผู้ให้คำปรึกษากับฝ่ายบริหาร ในการปรับปรุง ประสิทธิภาพการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิผล และดูแลให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า ซึ่งการตรวจสอบภายในมีส่วนผลักดันความสำเร็จดังกล่าว ดังนี้

1. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) และความโปร่งใส ในการปฏิบัติงาน (Transparency) ป้องกันการประพฤติมิชอบหรือการทุจริต และเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์

2. ส่งเสริมให้เกิดการบันทึกบัญชีและรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Accountability and Responsibility) ทำให้องค์กรได้ข้อมูลหรือรายงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ และเป็นพื้นฐานของ หลักความโปร่งใส (Transparency) และความสามารถตรวจสอบได้ (Audittability)

3. ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน (Efficiency and Effectiveness of Performance) ขององค์กร เนื่องจากการตรวจสอบภายในเป็นการประเมิน วิเคราะห์ เปรียบเทียบข้อมูลทุกด้านในการปฏิบัติงาน จึงเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ช่วยปรับปรุงระบบงานให้สะดวก รัดกุม ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนและให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา ช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่าย เป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในการประสานและลดปัญหาความไม่เข้าใจในนโยบาย

4. เป็นมาตรการถ่วงดุลแห่งอำนาจ (Check and Balance) ส่งเสริมให้เกิดการจัดสรร การใช้ทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างเหมาะสมตามลำดับความสำคัญ เพื่อให้ได้ผลงานที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

5. ให้สัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Warning Signals) ของการประพฤติมิชอบหรือการทุจริตในองค์กร ลดโอกาสความร้ายแรงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อเพิ่มโอกาสของความสำเร็จของงาน


 A การปรับปรุงการทำงาน คือการดำเนินการเพื่อทบทวนงาน กระบวนการทำงานและผลการปฎิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบว่าสิ่งใดสมควรได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุงใหม่ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ (Effectiveness)และประสิทธิภาพ(Efficiency) มากขึ้น
วัตถุประสงค์การปรับปรุงงาน คือ  1)ลดขั้นตอนในการทำงาน ให้มีความคล่องตัวมากขี้น 2) เพื่อหาวิธีการดำเนินงานที่ดี ใช้เวลาน้อยแต่ได้ผลมากว่า 3)ประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร ได้แ่ คน เงิน เวลาวัสดุ อุปกรณ์ 4)สร้าบรรยากาศการทำงานเป็นทีมทีดี เพราะผู้ปฏิบัติงานจะร่วมมือกันในการพัฒนาหาวิธีการทำงาน 5)  ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
กระบวนการปรับปรุงการทำงาน 1) กำหนดงานที่ต้องการปรับปรุง  2)กำหนดวัตถุประงค์ของการปรับปรุงงาน 3)รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงาน 4)เขียนการไหลของงาน (Work Flow) วิธีการเขียนการไหลของงานมักใช้สัญลักษณ์แทนเหตุการณ์หรือกิจกรรม เช่น รูปวงกลม คือการปฏิบัติงาน ,รูปลูกศร คือการเดินของงาน , รูปสี่เหลี่ยม คือการตรวจสอบงาน,รูป ตัว D คือความล่าช้าในการปฏิบัติงาน,รูปสามเหลี่ยมหัวลง คือ การเก็บรักษา    5)การพัฒนาแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน   6)การเลือกแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน  7)การปฏิบัติและประเมินผล
หลักการปรับปรุงงานการทำงาน ใช้หลัก 5W1H  คือ 1) WHY (ทำทำไม) WHAT(ทำอะไร) WHERE (ทำที่ไหน) WHEN (ทำเมื่อไร) WHO (ใครทำ) HOW (ทำอย่างไร)
การวิเคราะห์ขั้นตอนการปฏิบัติงาน(OBA) Operation Breakdown Analysis  คือ การเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆที่ผู้ปฎิบัติทำจริง   การเขียน OBA เพื่อนำมาใช้ตามกระบวนการปรับปรุงงานในขั้นที่3 (การรวบรวมข้อมูล)แล้วนำมาเขียนการไหลของงาน(ขั้นตอนที่4) ก่อนที่จะนำไปพัฒนาแนวทางในการปรับปรุงงานตามขั้นตอนที่5
เทคนิคการปรับปรุงการทำงาน 1) เทคนิคการใช้คำถาม “ทำไม และทำไมไม่ ” ก็มีประโยชน์มากสำหรับงานที่ทำอยู่ทุกวันเป็นปกติ ให้ถามว่า ทำไปทำไม ส่วนงานใหม่หรือวิธีใหม่ที่ยังไม่เคยทำมาก่อน ให้ถามว่า ทำไมไม่ทำแบบใหม่ที่ว่านี้ 2)เทคนิคการเลียนแบบ เป็นแนวทางการปรับปรุงงานจากการศึกษาผู้อื่นแล้วนำมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาปรับปรุงงานของเรา   3) เทคนิคการมช้คำถาม  “อะไรจะเกิดขึ้น…ถ้า” เป็นการกระตุ้นความคิดเพื่อให้เกิดภาพของอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากยังทำงานกันแบบเดิมหรือคิดแบบเดิม  4)เทคนิคการเปรียบเทียบ เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบขั้นตอน หรือวิธีการแบบเดิมกับวิธีการแบบใหม่ว่าจะมีผลดี หรือผลเสียอย่างไร
ปัจจัยความสำเร็จของการปรุงปรุงการทำงาน 1) การทำงานเป็นทีม ผู้ร่วมงานทุกคนต้องมีจิตสำนึกในการทำงานเป็นทีมเพื่อเป้าหมายเดียวกัน ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์  2) ภาวะผู้นำ  ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฎิบัติงาน ต้องเป็นผู้ริเริ่ม กระตุ้น ผลักดันให้ผู้น้อยเห็นความสำคัญในการปรับปรุงการทำงานที่มีผลต่อองค์กรและงานในความรับผิดชอบของแต่ละคน  3)ตระหนักในคุณภาพ เห็นความสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง  4) การให้รางวัล  เป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ  5) ระบบสารสนเทศ การปรับปรุงงานที่ได้ผลต้องอาศัยข้อมูล ความจริง เกี่ยวกับงานเพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทาง พัฒนา หรือปรับปรุงงานให้ได้ผล

วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัทลินเด้ คือ การเป็นผู้นำทางด้านก๊าซและวิศวกรรมระดับโลก – ซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของพนักงานของเรา และพนักงานเหล่านี้จะเป็นผู้สรรสร้างทางเลือกอันเป็นนวัตกรรมซึ่งจะสามารถสร้างความแตกต่างให้กับโลก วิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่จะบอกได้ว่า เราเป็นใคร และทำอะไร เป็นแนวทางที่จะนำเรามุ่งสู่เป้าหมายของเราได้

จิตวิญญาณของลินเด้
ค่านิยมหลักของเราฝังลึกลงไปในจิตวิญญาณของลินเด้ นี่คือปรัชญาองค์กรของเรา  การปฏิบัติของเราในทุกเรื่องได้รับแนวทางจากพันธสัญญาอันแข็งแกร่งต่อสำนึกรับผิดชอบขององค์กร  โครงสร้างของศีลธรรมและหลักจริยธรรมของเราจะทำให้มั่นใจได้ว่า เราปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์และยุติธรรมเสมอ
หลักจริยธรรม
กรอบจริยธรรมของลินเด้ได้กำหนดไว้ในหลักจริยธรรมของเรา อันประกอบด้วยแนวทางซึ่งปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายภายในของบริษัท
 
นโยบายความรับผิดชอบขององค์กร
เช่นเดียวกับหลักจริยธรรม นโยบายความรับผิดชอบของกลุ่มบริษัทลินเด้ สร้างสรรค์บนค่านิยมและหลักการที่ได้กำหนดในจิตวิญญาณของลินเด้เช่นกัน  หลักนี้จะเป็นกรอบกำหนดความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนร่วมของเรา เช่น พันธมิตรทางธุรกิจ  พนักงาน และสังคมของเรา หลักนี้ยังกล่าวถึงพันธสัญญาของเราที่จะปกป้องทรัพยากรธรรมชาติด้วยเช่นกัน
คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดนโยบายความรับผิดชอบขององค์กรเป็นไฟล์ PDF
 
SHEQ
นโยบาย SHEQ (Safety, Health, Environment, Quality - ความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  สิ่งแวดล้อม และคุณภาพ) ของเรา เป็นตัวกำหนดกรอบ และกระตุ้นให้เราดำเนินกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อม  อาชีวอนามัย  ความปลอดภัย  และคุณภาพผลิตภัณฑ์  
เมื่อประกอบด้วยกันแล้ว แนวทางเหล่านี้จะสรรสร้างกรอบการทำงาน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับพนักงานทุกคน และหน่วยงานต่างๆ ของลินเด้ทั่วโลก แนวทางดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำคัญของความเป็นตัวตนอันเป็นเอกลักษณ์ของเรา
เอกสารสำคัญต่อไปนี้ ประกอบด้วย นโยบายการสื่อสารที่เป็นหนึ่งเดียวของเรา และแนวทางการจัดซื้อด้วยจริยธรรม/ถูกต้องตามกฎหมายของเรา รวมถึงแนวทางว่าด้วยระเบียบการบริจาคและการอุปถัมภ์ 
โพสที่
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.48.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :