ป.อาญา ฉบับย่อ |
|
อ้างอิง
อ่าน 264 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
ป.อาญา ฉบับย่อ
ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป
ลักษณะ 1 บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา
ม.2 วรรค 1
1. บุคคลจะต้องรับโทษทางอาญา
2. ก.ม.ที่ใช้ขณะกระทำ บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
3. โทษที่จะลง ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.
ข้อสังเกต คดีหมิ่นประมาท ศาลสั่งให้ จล.ขอโทษ จ.โดยการโฆษณาใน นสพ. ไม่ใช่เป็นโทษ
วรรค 2
1. ก.ม.บัญญัติภายหลัง
2. การกระทำไม่เป็นความผิดต่อไป
3. ผู้กระทำ พ้น จากการทำผิด (ถือว่าไม่เคยเป็นผู้กระทำผิด)
4. หากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ
5. ถือว่าไม่เคยต้องคำพิพากษาว่ากระทำผิด
ม.3
1. ก.ม.ที่ใช้ ขณะกระทำผิด แตกต่างกับ ภายหลังกระทำผิด
2. ให้ใช้ ก.ม.ในส่วนที่เป็นคุณกับผู้ทำผิด ไม่ว่าในทางใด
ม.4 วรรค 2
1. ทำผิดในเรื่อไทย/ในอากาศยานไทย (ทำนอกราช)
2. ถือว่า ทำผิดในราช
ม.5 วรรค 1
1. ความผิดที่
1.1 การกระทำแม้ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำในราช
1.2 ผลแห่งการกระทำเกิดในราช
2. ถือว่า ทำผิดในราช
วรรค 2
1. การตระเตรียมการ ซึ่ง ก.ม.บัญญัติเป็นความผิด
2. การพยายาม ซึ่ง ก.ม.บัญญัติเป็นความผิด
3. แม้กระทำ นอกราช
4. หากทำตลอดจนถึงความผิดสำเร็จ
5. ผลจะเกิด ในราช
6. ถือว่า การตระเตรียมการ/การพยายาม ได้กระทำในราช
ม.6
1. ความผิดที่ทำในราช (4 ว.1)/ป.อ.ถือว่าทำในราช (4 ว.2 5)
2. แม้การกระทำของ ตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ จะได้ทำนอกราช
3. ถือว่า ตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ กระทำในราช
ม.7
-ผู้ทำผิดดังนี้นอกราช ต้องรับโทษในราช
(2) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง 240-249 (เงินตรา) 254 256 257 (แสตมป์) 266(3)(4) (ใบหุ้น ตั๋วเงิน)
(2 ทวิ) -ความผิดเกี่ยวกับเพศ 282 283 (ธุระจัดหา)
(3) -ความผิดฐานชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำในทะเลหลวง (339 340)
ม.8 วรรค 1
1. ผู้ใดทำผิดนอกราช +
(ก) 1. เป็นคนไทย
2. รัฐบาลประเทศความผิดเกิด/ผสห.ขอให้ลงโทษ
(ข) 1. เป็นคนต่างด้าว
2. รัฐบาลไทย/คนไทย เป็น ผสห.
3. ผสห.ขอให้ลงโทษ
2. ถ้าเป็นความผิดดังนี้ ต้องรับโทษในราช
(1) -ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อ ปชช.
(2) -ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
(2/1) -ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์
(2/2) -ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง
(3) -ความผิดเกี่ยวกับเพศ
(4) -ความผิดต่อชีวิต
(5) -ความผิดต่อร่างกาย
(6) -ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก
(7) -ความผิดต่อเสรีภาพ
(8) -ความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์
(9) -ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์
(10) -ความผิดฐานฉ้อโกง
(11) -ความผิดฐานยักยอก
(12) -ความผิดฐานรับของโจร
(13) -ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ม.9
1. จพง.ของรัฐบาลไทยทำผิดนอกราชตาม147-166 200-205 (ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ/ในการยุติธรรม)
2. ต้องรับโทษในราช
ม.10 วรรค 1
1. ผู้ใดทำผิดนอกราช ตาม 7(2)(3) 8 9 [7(1) (2 ทวิ) ลงในราชอีกได้]
2. ห้ามลงโทษในราช เพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า
(1) -มีคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ถึงที่สุด ให้ปล่อยตัว
(2) -ศาลต่างประเทศพิพากษาลงโทษ และ พ้นโทษแล้ว
วรรค 2
1. ถ้าได้รับโทษตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศแล้ว แต่ยังไม่พ้นโทษ
2. ศาลไทย
2.1 ลงโทษน้อยกว่าที่ ก.ม.กำหนดไว้เพียงใดก็ได้
2.2 ไม่ลงโทษเลยก็ได้
ม.11 วรรค 1
1. ผู้ใดทำผิดในราช (4 ว.1)/ป.อ.ถือว่าทำผิดในราช (4 ว.2 5 6)
2. รับโทษตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศแล้ว ทั้งหมด/บางส่วน
3. ศาลไทย
3.1 ลงโทษน้อยกว่าที่ ก.ม. กำหนดไว้เพียงใดก็ได้
3.2 ไม่ลงโทษเลยก็ได้
วรรค 2
1. กรณีผู้ทำผิดในราช/ป.อ.ถือว่าทำผิดในราช ถูกฟ้องต่อศาลต่างประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอ
2. ห้ามลงโทษผู้นั้นในราชอีก ถ้า
(1) -ศาลต่างประเทศมีคำพิพากษา ถึงที่สุด ให้ปล่อยตัว
(2) -ศาลต่างประเทศพิพากษาลงโทษ และ พ้นโทษแล้ว
หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา
ม.59 วรรค 2 -กระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึก + ประสงค์ต่อผล/ย่อมเล็งเห็นผล
วรรค 3 -ไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด (ถือว่าขาดเจตนา)
วรรค 4 -กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช่ให้เพียงพอไม่
วรรค 5 -กระทำ หมายความรวมถึง การให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จะต้องกระทำ
เพื่อป้องกันผลด้วย
ม.60
1. เจตนาทำต่อบุคคลหนึ่ง (รวมถึงทรัพย์ด้วย แต่ต้องเป็นทรัพย์ประเภทเดียวกัน เช่น รถกับรถ)
2. แต่ผลเกิดกับอีกบุคคลหนึ่งโดยพลาด
3. ถือว่าเจตนาทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย
4. แต่ กรณี ก.ม.บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้น
5. เพราะ
5.1 ฐานะของบุคคล (เช่น จพง.กับ คนธรรมดา)
5.2 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับผู้ได้รับผลร้าย (เช่น บุพการี กับ บุคคลธรรมดา)
6. มิให้นำ ก.ม.นั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น
ม.61 (สำคัญผิดในบุคคล)
1. เจตนาทำต่อบุคคลหนึ่ง
2. แต่ทำต่อบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด
3. ยกความสำคัญผิดว่า ไม่ได้เจตนา ไม่ได้
ม.62 วรรค 1 (สำคัญผิดในข้อเท็จจริง)
1. ข้อเท็จจริงใด ถ้ามีอยู่จริง
1.1 ทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด
1.2 ทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ
1.3 ทำให้ผู้กระทำได้รับโทษน้อยลง
2. แม้ข้อเท็จจริงนั้น ไม่มีอยู่จริง
3. แต่ผู้กระทำสำคัญผิด ว่ามีอยู่จริง
4. ผู้กระทำ
*4.1 ย่อมไม่มีความผิด
4.2 ย่อมได้รับยกเว้นโทษ
4.3 ย่อมได้รับโทษน้อยลง
วรรค 2
1. ความไม่รู้ข้อเท็จจริงตาม 59 ว.3/ความสำคัญผิดว่ามีอยู่จริงตาม 62 ว.1
2. เกิดขึ้นเพราะความประมาทของผู้กระทำผิด
3. ผู้กระทำต้องรับผิดฐานประมาท ถ้า ก.ม.บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท
วรรค 3
1. บุคคลต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด
2. บุคคลต้องรู้ข้อเท็จจริงนั้น
ม.63
1. ผลการกระทำผิดใด ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น (เช่น เจตนาใช้กำลังทำร้าย 391 แต่ผลตาย)
2. ผลการกระทำผิดนั้น ต้องเป็นผลธรรมดาที่เกิดขึ้นได้
ม.65 วรรค 1
1. ผู้กระทำผิดขณะ
2. ไม่สามารถรู้ผิดชอบ/ไม่สามารถบังคับตนเองได้
2.1 เพราะจิตบกพร่อง
2.2 เพราะโรคจิต
2.3 เพราะจิตฟั่นเฟือน
3. ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
วรรค 2
1. ขณะกระทำผิด
1.1 ยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง
1.2 ยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง
2. ต้องรับโทษ แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่ ก.ม.กำหนดไว้เพียงใดก็ได้
ม.66
1. ความมึนเมา
1.1 เพราะเสพสุรา
1.2 เพราะเสพสิ่งเมาอย่างอื่น
2. ยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวตาม 65 ไม่ได้
3. เว้นแต่ความมึนเมานั้น
3.1 ได้เกิดโดยผู้เสพไม่รู้ว่าสิ่งนั้นทำให้มึนเมา
3.2 ได้เสพโดยถูกขืนใจให้เสพ
+ 4. ได้กระทำผิดขณะ
4.1 ไม่สามารถรู้ผิดชอบ
4.2 ไม่สามารถบังคับตนเองได้
5. ได้รับการยกเว้นโทษ (มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ)
6. แต่ถ้า
6.1 ยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง
6.2 ยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง
7. ศาลลงโทษน้อยกว่าที่ ก.ม.กำหนดไว้เพียงใดก็ได้
ม.67 วรรค 1
-กระทำผิดด้วยความจำเป็น
(1) -เพราะ
1. อยู่ในที่บังคับ/
2. อยู่ภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยง/ขัดขืนได้
*(2) เพราะ
1. เพื่อให้ตนเอง/ผู้อื่น
2. พ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นได้
3. ภยันตรายนั้น ตนไม่ได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
วรรค 2
1. การกระทำตาม ว.1 ถ้าไม่เกินกว่าเหตุ
2. ไม่ต้องรับโทษ (มีความผิด)
ม.68
1. กระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตน/ผู้อื่น
2. ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ ก.ม. + เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
3. กระทำพอสมควรแก่เหตุ
4. เป็นการป้องกันโดยชอบด้วย ก.ม. ไม่มีความผิด
ม.69
1. ตาม 67 68
2. ถ้ากระทำ
2.1 เกินสมควรแก่เหตุ
2.2 เกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น
2.3 เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
3. ศาลลงโทษน้อยกว่าที่ ก.ม.กำหนดไว้เพียงใดก็ได้
4. แต่ถ้าการกระทำเกิดขึ้นจาก
4.1 ความตื่นเต้น
4.2 ความตกใจ
4.3 ความกลัว
5. ศาลไม่ลงโทษได้
ม.71 วรรค 1
1. ความผิดตาม 334-336 ว.1 341-364
2. สามีทำต่อภริยา/ภริยาทำต่อสามี (โดยชอบ)
3. ไม่ต้องรับโทษ (มีความผิด)
วรรค 2
1. ความผิดตาม ว.1
2. บุพการีทำต่อผู้สืบสันดาน/ผู้สืบสันดานทำต่อบุพการี (ตามจริง)
3. พี่/น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ทำต่อกัน (ตามจริง)
4. ก.ม.ไม่ได้บัญญัติให้เป็นความผิดยอมความได้
5. ให้เป็นความผิดยอมความได้ และ ศาลลงโทษน้อยกว่าที่ ก.ม.กำหนดไว้เพียงใดก็ได้
ม.72
1. ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
2. ทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น โดยบันดาลโทสะ
3. ศาลลงโทษน้อยกว่าที่ ก.ม.กำหนดไว้เพียงใดก็ได้ (ยังมีความผิด+ยังต้องรับโทษ)
ม.73
1. เด็กอายุไม่เกิน 10 ปี ทำผิด
2. ไม่ต้องรับโทษ
ม.74
1. เด็กอายุเกิน 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี ทำผิด
2. ไม่ต้องรับโทษ (แต่ศาลกำหนดเงื่อนไขได้)
หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด
ม.80 วรรค 1
1. ลงมือกระทำผิด
2. ทำไปไม่ตลอด/
3. ทำไปตลอดแล้วแต่ไม่บรรลุผล
4. เป็นพยายามกระทำผิด
วรรค 2
-ระวางโทษ 2 ใน 3 ของโทษที่ ก.ม.กำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้น
ม.81 วรรค 1
1. กระทำโดยมุ่งต่อผลซึ่ง ก.ม.บัญญัติเป็นความผิด
2. การกระทำไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะ
2.1 เหตุปัจจัยที่ใช้กระทำ
2.2 เหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ
3. เป็นพยายามทำผิด (ที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้)
4. ศาลลงโทษไม่เกิน กึ่งหนึ่ง ของโทษที่ ก.ม.กำหนดไว้
วรรค 2
1. การกระทำตาม ว.1 ถ้าทำโดยความเชื่ออย่างงมงาย
2. ศาลไม่ลงโทษเลยได้
ม.82
1.พยายามทำผิด (ลงมือ กระทำแล้ว)
2. ยับยั้งเสียเองไม่ทำให้ตลอด/
3. กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล
4. ไม่ต้องรับโทษฐานพยายาม
5. แต่ถ้า
5.1 การที่ได้กระทำไป
5.2 ต้องตาม ก.ม.ที่บัญญัติเป็นความผิด
5.3 ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น
หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน
ม.83
1. บุคคล 2 คนขึ้นไป
2. ร่วมกระทำผิดด้วยกัน (เจตนาร่วมกันตั้งแต่ต้น)
3. เป็นตัวการ
ข้อสังเกต ราษฏรไม่อาจเป็นตัวการในความผิดเกี่ยวกับ จพง. ได้ เป็นได้แค่เพียงผู้สนับสนุนตาม 86 เท่านั้น
ม.84 วรรค 1
1. ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด
2. ด้วยการ ใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน ยุ่ยงส่งเสริม ด้วยวิธีอื่นใด
3. เป็นผู้ใช้ให้กระทำผิด
วรรค 2
1. ผู้ถูกใช้ได้กระทำผิด
2. ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนตัวการ (รับโทษเสมือนเป็นผู้กระทำผิดเอง)
3. ถ้าความผิดไม่ได้ทำ
3.1 เพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมทำ
3.2 เพราะผู้ถูกใช้ยังไม่ได้ทำ
3.3 เพราะเหตุอื่นใด
4. ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียง 1 ใน 3 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ม.86
1. กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการ
2. ช่วยเหลือ/ให้ความสะดวก ในการที่ผู้อื่นกระทำผิด
3. ก่อน/ขณะ กระทำผิด (ไม่รวมหลังกระทำผิด)
4. แม้ผู้กระทำผิดไม่รู้ ถึงการช่วยเหลือ/ให้ความสะดวก ก็ตาม
5. เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด
6. ระวางโทษ 2 ใน 3 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุน
ภาค 2 ความผิด
ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ม.136
ดูหมิ่น จพง. ซึ่งกระทำการตามหน้าที่/เพราะได้กระทำการตามหน้าที่
ม.137
1. แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ จพง.
2. ซึ่งอาจทำให้ ผู้อื่น/ปชช. เสียหาย
ม.138 วรรค 1
1. ต่อสู้/ขัดขวาง จพง./
2. ต่อสู้/ขัดขวาง ผู้ซึ่งต้องช่วย จพง.ตาม ก.ม.
3. ในการปฏิบัติการตามหน้าที่
วรรค 2
1. การต่อสู้/ขัดขวาง
*2. ได้กระทำโดย ใช้กำลังประทุษร้าย/ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
ม.139
1. ข่มขืนใจ จพง.
1.1 ให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่
1.2 ให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่
2. โดยใช้กำลังประทุษร้าย/ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
ม.140 วรรค 1
1. ความผิดตาม 138 ว.2 139
2. ได้กระทำโดย มี/ใช้ อาวุธ /
3. โดยร่วมกระทำผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
วรรค 3
1. ความผิดตาม 140
2. ได้กระทำโดย มี/ใช้ อาวุธปืน/วัตถุระเบิด
3. ระวางโทษหนักกว่า ว.1 ว.2 กึ่งหนึ่ง
ม.143 (คนกลางเรียกรับ)
1. เรียก รับ ยอมจะรับ (สำเร็จทันที ไม่มีพยายาม)
2. ทรัพย์สิน/ประโยชน์อื่นใด
3. สำหรับ ตนเอง/ผู้อื่น
4. เป็นการตอบแทนในการที่ จะจูงใจ/ได้จูงใจ
5. จพง. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ (สส. สว.) สมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) สมาชิกสภาเทศบาล (สท.)
6. โดยวิธีอันทุจริต/โดยวิธีผิด ก.ม./โดยอิทธิพลของตน
7. ให้กระทำการ/ไม่กระทำการ ในหน้าที่ อันเป็นคุณ/เป็นโทษ แก่บุคคลใด
ม.144 (ให้สินบน จพง.)
1. ให้ ขอให้ รับว่าจะให้
2. ทรัพย์สิน/ประโยชน์อื่นใด
3. แก่ จพง. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ (สส. สว.) สมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) สมาชิกสภาเทศบาล (สท.)
4. เพื่อ
4.1 จูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่
4.2 จูงใจให้ไม่กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่
4.3 จูงใจให้ประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่
ม.145 (แสดงตนและกระทำการเป็น จพง.)
วรรค 1
1. แสดงตนเป็น จพง. และ กระทำการเป็น จพง.
2. โดยตนเองมิได้เป็น จพง. ที่มีอำนาจกระทำการนั้น (แม้เป็น จพง. หากไม่มีอำนาจกระทำการนั้น ก็ผิด)
วรรค 2
1. จพง. ผู้ใดได้รับคำสั่งมิให้ปฏิบัติการตามตำแหน่งหน้าที่ต่อไป
2. ยังฝ่าฝืนกระทำการใดๆ ในตำแหน่งหน้าที่นั้น ระวางโทษตาม ว.1
ม.146
1. ไม่มีสิทธิเครื่องแบบ/ประดับเครื่องหมายของ จพง.
2. กระทำการเช่นนั้น เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ
หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ม.147 (จพง.ยักยอก)
1. เป็น จพง.
2. มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ รักษา ทรัพย์ใด
2.1 เบียดบังทรัพย์นั้น เป็นของตนเอง/ผู้อื่น โดยทุจริต
2.2 โดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย
ม.148 (จพง. แกล้งกล่าวหาว่ากระทำผิด)
1. เป็น จพง.
*2. ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ (เช่น แกล้งกล่าวหาว่าเขาทำผิดเพื่อจะเอาเงินจากเขา ทั้งที่เขาไม่ได้ทำผิด)
3. ข่มขืนใจ/จูงใจ
4. เพื่อให้บุคคลใด มอบให้/หามาให้
5. ทรัพย์สิน/ประโยชน์อื่นใด
6. แก่ตนเอง/ผู้อื่น
ม.149 (จพง.เรียกรับสินบน)
1. เป็น จพง. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ (สส. สว.) สมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) สมาชิกสภาเทศบาล (สท.)
2. เรียก รับ ยอมจะรับ
3. ทรัพย์สิน/ประโยชน์อื่นใด
4. สำหรับตนเอง/ผู้อื่น โดยมิชอบ
5. เพื่อ กระทำการ/ไม่กระทำการ อย่างใดในตำแหน่ง
6. ไม่ว่าการนั้น จะชอบ(เช่น เรียกเพื่อทำงานให้เร็วขึ้นกว่าเดิม)/มิชอบ ด้วยหน้าที่
ม.150
1. เป็น จพง.
2. กระทำการ/ไม่กระทำการ อย่างใดในตำแหน่ง
3. โดยเห็นแก่ ทรัพย์สิน/ประโยชน์อื่นใด
4. ซึ่งตนได้ เรียก รับ ยอมจะรับ ไว้
5. ก่อนได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งนั้น
ม.151
1. เป็น จพง.
2. มีหน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ รักษา ทรัพย์ใด
3. ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต
4. อันเป็นการเสียหายแก่ รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล เจ้าของทรัพย์
ม.152
1. เป็น จพง.
2. มีหน้าที่ จัดการ ดูแล กิจการใด
3. เข้ามีส่วนได้เสีย
4. เพื่อประโยชน์สำหรับ ตนเอง/ผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น
ม.154
1. เป็น จพง.
2. มีหน้าที่ เรียกเก็บ/ตรวจสอบ ภาษีอากร
3. โดยทุจริต เรียกเก็บ/ละเว้นไม่เรียกเก็บภาษีอากร /
4. กระทำการ/ไม่กระทำการ อย่างใด เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร มิต้องเสีย/เสียน้อยกว่าที่จะต้องเสีย
ม.157 (157 เป็นบททั่วไป หากความผิดนั้นเข้าบทเฉพาะ จะผิดตามบทเฉพาะและไม่ต้องปรับบททั่วไปอีก)
1. เป็น จพง.
2. ปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด /
3. ปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยทุจริต
ข้อสังเกต ความผิดต่อ จพง. จะสำเร็จทันทีเมื่อลงมือกระทำ แม้จะไม่สำเร็จก็ไม่เป็นพยายาม
ลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม
หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ในการยุติธรรม
ม.167 (ให้สินบน จพง.)
1. ให้ ขอให้ รับว่าจะให้
2. ทรัพย์สิน/ประโยชน์อื่นใด
3. แก่ จพง.ในตำแหน่ง ตุลาการ พงอ. พงส.
4. เพื่อ
4.1 จูงใจให้ กระทำการใดอันมิชอบด้วยหน้าที่
4.2 จูงใจให้ ไม่กระทำการใดอันมิชอบด้วยหน้าที่
4.3 จูงใจให้ ประวิงการกระทำใดอันมิชอบด้วยหน้าที่
ข้อสังเกต 167 เป็นบทเฉพาะ ส่วน 144 เป็นบททั่วไป ดังนั้น หากให้สินบน จพง.ในตำแหน่งตาม 3. ต้องปรับบทตาม 167 โดยไม่ต้องปรับบทตาม 144 อีก
ม.172
1. แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ เกี่ยวกับความผิดอาญา
2. แก่ พงอ. พงส. จพง.ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
3. ซึ่งอาจทำให้ ผู้อื่น/ปชช. เสียหาย*ม.173
1. รู้ว่า มิได้มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
2. แจ้งข้อความแก่ พงส. จพง.ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า
3. ได้มีการกระทำผิด
ข้อสังเกต 137 เป็นบททั่วไป แต่ 172 173 เป็นบทเฉพาะ ดังนั้น หากเข้า 172 173 แล้ว จึงไม่ต้องปรับ 137 อีก
ม.174 วรรค 2
1. ถ้าการแจ้งข้อความตาม 172 173
2. เพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้อง รับโทษ/รับโทษหนักขึ้น
ม.184 (ทำลายพยานหลักฐาน)
1. เพื่อจะช่วยให้ผู้อื่นมิให้ ต้องรับโทษ/รับโทษน้อยลง
2. ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหาย ทำให้ไร้ประโยชน์
3. ซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำผิด
ม.188
1. ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหาย ทำให้ไร้ประโยชน์
2. ซึ่งเอกสารใดของผู้อื่น
3. ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ผู้อื่น/ปชช.
ม.189
1. ช่วย ผู้กระทำผิด (ศาลพิพากษาแล้วว่าเป็นผู้กระทำผิด)/ผู้ต้องหาว่ากระทำผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ
2. เพื่อไม่ให้ต้องรับโทษ
3. โดยให้พำนัก
หรือ 4. ซ่อนเร้น/ช่วย(บุคคลตาม 1) ด้วยประการใด เพื่อ ไม่ให้ถูกจับกุม
ม.190 วรรค 1
1. หลบหนีระหว่างถูกคุมขัง
2. ตามอำนาจของ ศาล พงอ. พงส. จพง.ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
วรรค 2
1. ความผิดตาม ว.1
2. ได้กระทำโดย
2.1 แหกที่คุมขัง
2.2 ใช้กำลังประทุษร้าย/ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
2.3 ร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
วรรค 3
1. ความผิดตาม 190
2. ได้กระทำโดย มี/ใช้ อาวุธปืน/วัตถุระเบิด
ม.191 วรรค 1
1. กระทำด้วยประการใดให้ผู้ถูกคุมขัง
2. ตามอำนาจของ ศาล พงอ. พงส. จพง.ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
3. หลุดพ้นจากการคุมขัง
วรรค 3
1. ความผิดตาม 191
2 ได้กระทำโดย
2.1 ใช้กำลังประทุษร้าย
2.2 ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
2.3 มี/ใช้ อาวุธปืน/วัตถุระเบิด
ม.192
1. ให้พำนัก ซ่อนเร้น ช่วยด้วยประการใด
2. ให้ผู้หลบหนีการคุมขัง ตามอำนาจ ศาล พงส. จพง.ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
3. เพื่อ ไม่ให้ถูกจับกุม
ม.193
1. การกระทำตาม 192
2. เป็นการกระทำเพื่อช่วย บิดา มารดา บุตร สามี ภริยาของผู้กระทำ ศาลไม่ลงโทษได้
ม.199
1. ลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้าย ทำลาย ศพ/ส่วนของศพ
2. เพื่อ
2.1 ปิดบังการเกิด
2.2 ปิดบังการตาย
2.3 ปิดบังเหตุแห่งการตาย
หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
ม.200 วรรค 1
1. เป็น จพง.ในตำแหน่ง พงอ. พงส. จพง.ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
2. กระทำการ/ไม่กระทำการ อย่างใด
3. ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ
4. เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใด มิให้ต้องโทษ/ให้รับโทษน้อยลง
วรรค 2
1. ถ้า การกระทำ/ไม่กระทำ นั้น
2. เพื่อจะแกล้งบุคคลหนึ่งบุคคลใด
3. ให้ ต้องรับโทษ/รับโทษหนักขึ้น
ม.201
1. เป็น จพง.ในตำแหน่ง ตุลาการ พงอ. พงส.
*2. เรียก รับ ยอมจะรับ
*3. ทรัพย์สิน/ประโยชน์อื่นใด
4. สำหรับ ตนเอง/ผู้อื่น โดยมิชอบ
5. เพื่อ กระทำการ/ไม่กระทำการ อย่างใดในตำแหน่ง
6. ไม่ว่าการนั้น จะชอบ/มิชอบ ด้วยหน้าที่
ข้อสังเกต 201 เป็นบทเฉพาะ แต่ 149 เป็นบททั่วไป ดังนั้นหากเข้าบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่เข้าบททั่วไปอีก
ม.202
1. เป็น จพง.ในตำแหน่ง ตุลาการ พงอ. พงส.
2. กระทำการ/ไม่กระทำการ อย่างใดในตำแหน่ง
3. โดยเห็นแก่ ทรัพย์สิน/ประโยชน์อื่นใด
4. ซึ่งตนได้ เรียก รับ ยอมจะรับ ไว้
5. ก่อนได้รับแต่งตั้งเป็น จพง.ในตำแหน่งนั้น
ข้อสังเกต 202 เป็นบทเฉพาะ ส่วน 150 เป็นบททั่วไป ดังนั้น หากเข้า 202 แล้ว จึงไม่ต้องปรับ 150 อีก
ม.204 วรรค 1
1. เป็น จพง.
2. มีตำแหน่งหน้าที่ ควบคุมดูแล ผู้ต้องคุมขัง
3. ตามอำนาจของ ศาล พงส. จพง.ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
4. กระทำด้วยประการใด
5. ให้ผู้อยู่ระหว่างคุมขังหลุดพ้นจากการคุมขัง
วรรค 2
1. ผู้หลุดพ้นจากการคุมขัง
2. ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต จำคุกตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป /
3. มีจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
*ม.205 วรรค 1
-การกระทำตาม 204 เป็นการกระทำโดยประมาท
วรรค 2
1. ผู้หลุดพ้นจากการคุมขัง เพราะการกระทำโดยประมาท
2. ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต จำคุกตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป /
3. มีจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
วรรค 3
*1. ผู้กระทำผิด จัดให้ได้ตัว ผู้หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมาภายใน 3 เดือน
2. ให้งดการลงโทษผู้กระทำผิด
ข้อสังเกต คำว่า จัดให้ได้ตัว นั้น ไม่สนใจว่าจะได้มาอย่างไร แม้ผู้หลุดพ้นจากการคุมขัง จะกลับมาเองหรือมีใครจับมาให้ ก็ถือว่า จัดให้ได้ตัว แล้ว
ลักษณะ 6 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
ม.217
1. วางเพลิง
2. เผา ทรัพย์ผู้อื่น
ข้อสังเกต 217 ไม่มีคำว่า ผู้อื่นเป็นเจาของรวม ดังนั้น ถ้าเผาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมจะไม่ผิด 217 แต่จะผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตาม 358
ม.218
วางเพลิงเผาทรัพย์ ดังนี้ (ต้องเป็นทรัพย์ผู้อื่น)
(1) **1. โรงเรือนที่คนอยู่อาศัย (ไม่มีคนอยู่อาศัย ไม่ผิด 218 แต่อาจเข้า 217 / 358)
2. เรือที่คนอยู่อาศัย
3. แพที่คนอยู่อาศัย
ข้อสังเกต เวลาปรับบทถ้าเข้า 218 ให้ปรับบท 218 เลย โดยไม่ต้องปรับ 217 ด้วย
ม.219
1. ตระเตรียม กระทำผิดตาม 217 218
2. ระวางโทษเช่นเดียวกับ พยายาม 217 218
ม.220 วรรค 1
1. กระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ
2. แม้เป็นของตนเอง
3. จนน่าจะเป็นอันตรายแก่ บุคคลอื่น/ทรัพย์ผู้อื่น
วรรค 2
1. กระทำผิดตาม ว.1
2. เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์ตาม 218
3. ระวางโทษตาม 218
ม.223
1. ความผิดตาม 217 218 220
2. ทรัพย์ที่ เป็นอันตราย/น่าจะเป็นอันตราย
3. มีราคาน้อย และ การกระทำนั้นไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น
ม.224 วรรค 1
-การทำผิดตาม 217 218 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นตาย (ต้องไม่ใช่คนทำผิด)
วรรค 2
-การทำผิดตาม 217 218 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นรับอันตรายสาหัส
ม.225
1. ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท และ เป็นเหตุให้ทรัพย์ผู้อื่นเสียหาย /
2. ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท และ การกระทำโดยประมาทนั้น น่าจะ เป็นอันตรายแก่ชีวิตของบุคคลอื่น
ม.233
1. ใช้ยานพาหนะรับจ้างขนส่งคนโดยสาร
2. เมื่อยานพาหนะนั้นมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยานพาหนะนั้น /
3 เมื่อยานพาหนะนั้นมีการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยานพาหนะนั้น
ม.236 (อาจโยงกับความผิดฐานฆ่า)
1. ปลอมปน อาหาร ยา เครื่องอุปโภค บริโภค อื่นใด เพื่อ บุคคลอื่นเสพ/ใช้ และ การปลอมปนนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ
2. จำหน่าย/เสนอขาย สิ่งเช่นว่านั้น (1) เพื่อบุคคลเสพ/ใช้
ม.237
1. เอา ของมีพิษ/สิ่งอื่น ที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ
2. เจือลงในอาหาร/ในน้ำ ซึ่งอยู่ในบ่อ สระ ที่ขังน้ำใดๆ +
3. อาหาร/น้ำ นั้น ได้มีอยู่/จัดไว้ เพื่อ ปชช. บริโภค
ม.238 วรรค 1
-การทำผิดตาม 226-237 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นตาย
วรรค 2
-การทำผิดตาม 226-237 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นรับอันตรายสาหัส
ม.239
-การทำผิดตาม 226-237 เป็นการกระทำโดยประมาท + ใกล้จะเป็นอันตรายแก่ชีวิตบุคคลอื่น
ลักษณะ 7 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
หมวด 3 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
*****ม.264 วรรค 1
1. ทำเอกสารปลอมขึ้น ทั้งฉบับ/แต่ส่วนหนึ่งส่วนใด
2. เติม/ตัดทอนข้อความ/แก้ไขด้วยประการใด ในเอกสารที่แท้จริง
3. ประทับตราปลอม/ลงลายมือชื่อปลอม ในเอกสาร
4. โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น/ปชช.
5. ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง
6. ทำผิดฐานปลอมเอกสาร
วรรค 2
1. กรอกข้อความลงใน แผ่นกระดาษ/วัตถุอื่นใด
2. ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น
2.1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้อื่น
2.2 โดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่น
3. ถ้าได้ทำเพื่อนำเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด/ปชช.
4. ถือว่าปลอมเอกสาร
ม.265
-ปลอมเอกสารสิทธิ/เอกสารราชการ
ม.266
ปลอม
(1) -เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
(4) -ตั๋วเงิน
ม.267
1. แจ้งให้ จพง. ผู้กระทำการตามหน้าที่
2. จดข้อความอันเป็นเท็จลงใน เอกสารมหาชน/เอกสารราชการ
3. ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน
4. โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น/ปชช.
ข้อสังเกต ความผิด 267 จะโยง 137
ม.268 วรรค 1
1. ใช้/อ้าง เอกสารอันเกิดจากการทำผิดตาม 264 265 266 267
2. ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น/ปชช.
วรรค 2
1. ถ้าผู้กระทำผิดตาม ว.1
1.1 เป็นผู้ปลอมเอกสาร
1.2 เป็นผู้แจ้งให้ จพง.จดข้อความ
2. ให้ลงโทษตาม 268 กระทงเดียว
หมวด 4 ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์
ม.269/1 (ปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์)
1. ทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้น ทั้งฉบับ/แต่ส่วนหนึ่งส่วนใด
2. เติม/ตัดทอนข้อความ/แก้ไขด้วยประการใด ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง
3. โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น/ปชช.
4. ได้กระทำเพื่อ
4.1 ให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง
4.2 ใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด
5. ทำผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์
ข้อสังเกต 269/1 ดูเทียบกับ 264
ม.269/4 วรรค 1
1. ใช้/มีไว้เพื่อใช้ ซึ่งสิ่งใดๆ ตาม 269/1
2. ได้มาโดยรู้ว่าเป็นของทำปลอม/แปลง
วรรค 2
-จำหน่าย/มีไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งสิ่งใดที่ทำปลอม/แปลงตาม 269/1
วรรค 3
1. ผู้ทำผิดตาม ว.1/ว.2 เป็นผู้ปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตาม 269/1
2. ลงโทษตาม 269/4 กระทงเดียว
ข้อสังเกต 269/4 ว.3 ดูเทียบกับ 268 ว.2
ม.269/5 วรรค 1
1. ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ผู้อื่นโดยมิชอบ
2. ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้อื่น/ปชช.
ม.269/6
1. มีไว้เพื่อนำออกใช้ ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ผู้อื่นโดยมิชอบตาม 269/5
2. ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้อื่น/ปชช.
ม.269/7
1. การกระทำใน หมวดนี้
2. เป็นการกระทำเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้
3. เพื่อ
3.1 ใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า
3.2 ใช้ประโยชน์ในการชำระค่าบริการ
3.3 ใช้ประโยชน์ในการชำระหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสด
3.4 ใช้เบิกถอนเงินสด
ข้อสังเกต 269/7 จะโยงเกี่ยวกับบัตร เอทีเอ็ม เครดิต
ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ม.276 วรรค 1
ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น โดย
1. ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ
2. ใช้กำลังประทุษร้าย
3. ผู้อื่นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
4. ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น
วรรค 2
กระทำชำเราตาม ว.1 หมายความว่า
1. การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ
2. โดย
2.1 การใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำ กระทำกับ อวัยวะเพศของผู้อื่น
2.2 การใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำ กระทำกับ ทวารหนักของผู้อื่น
2.3 การใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำ กระทำกับ ช่องปากของผู้อื่น
2.4 การใช้สิ่งอื่นใด กระทำกับ อวัยวะเพศของผู้อื่น
2.5 การใช้สิ่งอื่นใด กรทำกับ ทวารหนักของผู้อื่น
วรรค 3
1. การกระทำผิดตาม ว.1
2. ได้กระทำโดย
2.1 มี/ใช้ อาวุธปืน/วัตถุระเบิด
2.2 ร่วมกระทำผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง
2.3 กระทำกับชายในลักษณะเดียวกัน(โทรมชาย)
3. ระวางโทษหนักขึ้น
วรรค 4
1. การกระทำผิดตาม ว.1
2. เป็นการกระทำผิดระหว่างคู่สมรส + คู่สมรสยังประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยา
3. ศาลลงโทษน้อยกว่าที่ ก.ม. กำหนดไว้เพียงใดก็ได้/กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติแทนการลงโทษได้
ม.277 วรรค 1
1. กระทำชำเราเด็ก อายุไม่เกิน 15 ปี
2. ไม่ใช่ ภริยา/สามี ตน
3. เด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม (ยอมก็ผิด)
วรรค 2
-กระทำชำเราตาม ว.1 หมายความว่า (เหมือน 276 ว.2)
วรรค 3
1. การกระทำผิดตาม ว.1
2. กระทำแก่เด็กอายุ ไม่เกิน 13 ปี
วรรค 4
1. การกระทำผิดตาม ว.1/ว.3
2.ได้กระทำโดย
2.1 ร่วมกระทำผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง + เด็กไม่ยินยอม
2.2 กระทำกับชายในลักษณะเดียวกัน (โทรมชาย) + เด็กไม่ยินยอม
2.3 มี อาวุธปืน/วัตถุระเบิด
2.4 ใช้ อาวุธ
ข้อสังเกต ตาม 2.1 2.2 ถ้าเด็กยินยอม จะผิดแค่ 277 ว.1/ว.3 เท่านั้น ไม่ผิด ว.4 โดยเป็นตัวการตาม 83
วรรค 5
1. ความผิดตาม ว.1
2. เป็นการกระทำของบุคคลอายุ ไม่เกิน 18 ปี
3. กระทำต่อเด็กอายุ กว่า 13 ปี (เกิน 13) แต่ ไม่เกิน 15 ปี
4. เด็กยินยอม + ภายหลังศาลอนุญาตให้สมรสกัน
5. ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ
ข้อสังเกต คำว่า ศาลอนุญาตให้สมรส รวมถึง เด็กสมรสกันเองโดยชอบด้วย ก.ม. แพ่ง
ม.277 ทวิ
-การกระทำผิดตาม 276 ว.1 277 ว.1 ว.3
(1) เป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำ รับอันตรายสาหัส
(2) เป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำ ตาย
ม.277 ตรี
-การกระทำผิดตาม 276 ว.3 277 ว.4
(1) เป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำ รับอันตรายสาหัส
(2) เป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำ ตาย
ม.278
1. กระทำอนาจารบุคคลอายุ กว่า 15 ปี (เกิน 15)
2. โดย
2.1 ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ
2.2 ใช้กำลังประทุษร้าย
2.3 บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
2.4 ทำให้เข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น
ม.279 วรรค 1
1. กระทำอนาจารเด็กอายุ ไม่เกิน 15 ปี
2. เด็กยินยอมหรือไม่ก็ตาม (ยอมก็ผิด)
วรรค 2
1. การกระทำผิดตาม ว.1
2. ได้กระทำโดย
2.1 ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ
2.2 ใช้กำลังประทุษร้าย
2.3 บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
2.4 ทำให้เข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น
ม.280
-การทำผิดตาม 278 279
(1) เป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำ รับอันตรายสาหัส
(2) เป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำ ตาย
ม.281
1. การทำผิดตาม 276 ว.1 278
1.1 ไม่ได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล
1.2 ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัส
1.3 ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำตาย
1.4 ไม่เป็นการกระทำแก่บุคคลตาม 285
2. ยอมความได้
ม.282 วรรค 1
1. เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น
2. เป็นธุระ จัดหา ล่อไป พาไป
3. เพื่อการอนาจารซึ่งชาย/หญิง (อายุตั้งแต่ 18)
*4. แม้ผู้นั้นจะยินยอม (ยินยอม หมายถึง รู้ว่าถูกพาไปเพื่ออนาจารก็ยังไป แต่ถ้าถูกหลอก ไม่ใช่ยินยอม)
วรรค 2
1. การกระทำผิดตาม ว.1
2. ทำแก่บุคคลอายุ เกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี
วรรค 3
1. การกระทำผิดตาม ว.1
2. ทำแก่เด็กอายุ ไม่เกิน 15 ปี
วรรค 4
1. เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น
2. รับตัวบุคคล ซึ่งมีผู้จัดหา ล่อไป พาไป ตาม ว.1 ว.2 ว.3 /
3. สนับสนุนการกระทำผิดดังกล่าว (ตาม 2.)
4. ระวางโทษตาม ว.1 ว.2 ว.3
ม.283 วรรค 1
1. เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น
2. เป็นธุระ จัดหา ล่อไป พาไป
3. เพื่อการอนาจารซึ่งชาย/หญิง
4. โดย
4.1 ใช้อุบายหลอกลวง
4.2 ขู่เข็ญ
4.3 ใช้กำลังประทุษร้าย
4.4 ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม
4.5 ใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่น
วรรค 2
1. การทำผิดตาม ว.1
2. ทำแก่บุคคลอายุ เกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี
วรรค 3
1. การทำผิดตาม ว.1
2. ทำแก่เด็กอายุ ไม่เกิน 15 ปี
วรรค 4
1. เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น
2. รับตัวบุคคลซึ่งมีผู้ จัดหา ล่อไป พาไป ตาม ว.1 ว.2 ว.3 /
3. สนับสนุนการกระทำผิดดังกล่าว (ตาม 2.)
4. ระวางโทษตาม ว.1 ว.2 ว.3
ม.283 ทวิ วรรค 1
1. พาบุคคลอายุ เกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี (พาไปเพื่อการอนาจาร)
2. ไปเพื่อการอนาจาร
3. แม้ยินยอม (ยินยอม หมายถึง รู้ว่าเขาพาไปเพื่ออนาจาร แต่หากถูกหลอก ไม่ใช่ยินยอม)
วรรค 2
1. การทำผิดตาม ว.1
2. ทำแก่เด็กอายุ ไม่เกิน 15 ปี
วรรค 3
1. ซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไปตาม ว.1 ว.2
2. ระวางโทษตาม ว.1 ว.2
วรรค 4
1. การทำผิดตาม ว.1 ว.3
2. เฉพาะทำแก่บุคคลอายุ เกิน 15 ปี
3. ยอมความได้
ม.284 วรรค 1
1. พาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร
2. โดย
2.1 ใช้อุบายหลอกลวง
2.2 ขู่เข็ญ
2.3 ใช้กำลังประทุษร้าย
2.4 ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม
2.5 ใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด
วรรค 2
1. ซ่อนเร้น บุคคลซึ่งถูกพาไปตาม ว.1
2. ระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พาไป
วรรค 3
-ความผิดตาม 284 ยอมความได้
ม.285
1. การทำผิดตาม 276 277 277 ทวิ 277 ตรี 278 279 280 282 283
2. เป็นการกระทำแก่
2.1 ผู้สืบสันดาน
2.2 ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
2.3 ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการ
2.4 ผู้อยู่ในความปกครอง ความพิทักษ์ ความอนุบาล
3. ระวางโทษหนักกว่า ม.นั้น 1 ใน 3
ม.286 วรรค 1
1. อายุกว่า 16 (เกิน 16)
2. ดำรงชีพจากรายได้ผู้ค้าประเวณี
วรรค 2
-ผู้ใด
1. ไม่มีปัจจัย อย่างอื่นที่ปรากฏสำหรับดำรงชีพ
2. ไม่มีปัจจัย พอเพียงสำหรับดำรงชีพ
+
3. มีพฤติการณ์ดังนี้
(1) 1. อยู่ร่วมกับผู้ค้าประเวณี/สมาคมกับผู้ค้าประเวณี
2. คนเดียว/หลายคน เป็นอาจิณ
(2) 1. กินอยู่หลับนอน/รับเงิน/ประโยชน์อย่างอื่น
2. โดยผู้ค้าประเวณีจัดให้
(3) 1. เข้าแทรกแซงเพื่อช่วยผู้ค้าประเวณี
2. ในการทะเลาะวิวาทกับผู้คบค้า กับ ผู้ค้าประเวณี
วรรค 3
1. ม.286 ไม่ใช้บังคับกับผู้รับค่าเลี้ยงดูจากผู้ค้าประเวณี
2. ซึ่งผู้ค้าประเวณีพึงให้ค่าเลี้ยงดู ตาม ก.ม./ตามธรรมจรรยา
ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต
ม.288
-ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา (เจตนา ตาม 59 60)
ม.289
(1) -ฆ่าบุพการี (ตามจริง)
(2) -ฆ่า จพง.
1. ซึ่งกระทำการตามหน้าที่
2. เพราะเหตุที่จะกระทำการตามหน้าที่
3. ได้กระทำการตามหน้าที่
(3) -ฆ่าผู้ช่วยเหลือ จพง.
1. ในการที่ จพง. กระทำการตามหน้าที่
2. เพราะเหตุที่บุคคลนั้น จะช่วย จพง.ตาม 1.
3. เพราะเหตุที่บุคคลนั้น ได้ช่วย จพง.ตาม 2.
(4) -ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) -ฆ่าผู้อื่นโดย ทรมาน/กระทำทารุณโหดร้าย
(6) -ฆ่าผู้อื่นเพื่อ ตระเตรียมการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น/ความสะดวกที่จะกระทำผิดอย่างอื่น
(7) -ฆ่าผู้อื่นเพื่อ
1. จะเอาไว้ ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำผิดอื่น
2. เอาไว้ ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำผิดอื่น
3. ปกปิดความผิดอื่นของตน
4. หลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ตนได้กระทำ
ม.290 วรรค 1
1. ไม่มีเจตนาฆ่า (เจตนาทำร้าย แต่ผลตาย)
2. ทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย
วรรค 2
1. การทำผิดตาม ว.1
2. มีลักษณะตาม 289
ม.291
-กระทำโดยประมาท + เป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย
ม.294 วรรค 1 299 วรรค 1
1. เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคล ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
2. บุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่
3. ตาย (294 ว.1) / รับอันตรายสาหัส (299 ว.1)
4. โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้
หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย
ม.295
1. ทำร้ายผู้อื่น
2. เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ กาย/จิตใจ
3. ผิดฐานทำร้ายร่างกาย
ม.296
1. การทำผิดฐานทำร้ายร่างกาย (295)
2. มีลักษณะตาม 289
ม.297 วรรค 1
1. ทำผิดฐานทำร้ายร่างกาย (295)
2. เป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายรับ อันตรายสาหัส
วรรค 2
-อันตรายสาหัส คือ
(1) -ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด เสียฆานประสาท
(2) -เสีย อวัยวะสืบพันธ์/ความสามารถสืบพันธุ์
(3) -เสีย แขน ขา มือ เท้า นิ้ว อวัยวะอื่นใด
(4) -หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(5) -แท้งลูก
(6) -จิตพิการอย่างติดตัว
(7) -ทุพพลภาพ/ป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
(8) -ทุพพลภาพ/ป่วยเจ็บ
1. ด้วยอาการทุกขเวทนา
2. จนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ เกิน 20 วัน
ม.298
1. การทำผิดตาม 297
2. มีลักษณะตาม 289
ม.300
-กระทำโดยประมาท + เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส
หมวด 3 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก
ม.301
1. หญิงใด
2. ทำให้ตนเองแท้งลูก/ยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก
ม.302 วรรค 1
1. ผู้ใด
2. ทำให้หญิงแท้งลูก
3. โดยหญิงนั้น ยินยอม
วรรค 2
-การกระทำตาม ว.1 เป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัส
วรรค 3
-การกระทำตาม ว.1 เป็นเหตุให้หญิงตาย
ม.304
1. พยายามทำผิดตาม 301 302
2. ไม่ต้องรับโทษ
ม.305
1. การทำผิดตาม 301 302
(1) -เป็นการกระทำของนายแพทย์ + จำเป็นต้องทำเนื่องจากสุขภาพของหญิง /
(2) -เป็นการกระทำของนายแพทย์ + หญิงมีครรภ์เนื่องจากการทำผิด ตาม 276 277 282 283 284
2. ผู้กระทำไม่มีความผิด
ลักษณะ 11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
หมวด 1 ความผิดต่อเสรีภาพ
ม.309 วรรค 1
1. ข่มขืนใจผู้อื่น
2. ให้ กระทำการใด ไม่กระทำการใด จำยอมต่อสิ่งใด
3. โดย
3.1 ทำให้กลัวว่าจะเกิดต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ของ ผู้ถูกข่มขืนใจ/ผู้อื่น
3.2 ใช้กำลังประทุษร้าย
4. จนผู้ถูกข่มขืนใจต้อง กระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น จำยอมต่อสิ่งนั้น
ข้อสังเกต 1. ไม่กลัว + ไม่ทำ (พยายาม 309,80)
2. ไม่กลัว + ทำ (พยายาม 309,80 เช่น ทำเพราะรำคาญ)
3. กลัว + ไม่ทำ (พยายาม 309,80 เช่น ไม่สามารถทำได้)
วรรค 2
1. การทำผิดตาม ว.1
2. ทำโดย
2.1 มีอาวุธ
2.2 ร่วมทำผิดด้วยกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
2.3 ทำเพื่อให้ผู้ถูกข่มขืนใจ ทำ ถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย เอกสารสิทธิ
ข้อสังเกต 309 ไม่มีคำว่า ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
ม.310 วรรค 1
1. หน่วงเหนี่ยว/กักขัง ผู้อื่น
2. กระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
ม.311 วรรค 1
-กระทำโดยประมาท + เป็นเหตุให้ผู้อื่น ถูกหน่วงเหนี่ยว/ถูกกักขัง/ต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
ม.312 ตรี วรรค 1
1. โดยทุจริต
2. รับไว้ จำหน่าย เป็นธุระจัดหา ล่อไป พาไป
3. บุคคลอายุ เกิน 15 ปี แต่ ไม่เกิน 18 ปี
4. แม้ยินยอม
วรรค 1
1. การทำผิดตาม ว.1
2. ทำแก่เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี
ม.313 วรรค 1
-ผู้ใดเพื่อให้ได้ค่าไถ่
(1) -เอาเด็กอายุ ไม่เกิน 15 ปี ไป (แม้เด็กยินยอมไปด้วยก็ผิด)
(2) 1. เอาบุคคลอายุ กว่า 15 ปี ไป (เกิน 15)
2. โดย
2.1 ใช้อุบายหลอกลวง
2.2 ขู่เข็ญ
2.3 ใช้กำลังประทุษร้าย
2.4 ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม
2.5 ใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่น
(3) -หน่วงเหนี่ยว/กักขัง บุคคลใด
วรรค 2
-ความผิดตาม ว.1 เป็นเหตุรับอันตรายสาหัส
วรรค 3
-ความผิดตาม ว.1 เป็นเหตุตาย
ม.314
1. ผู้สนับสนุนตาม 313
2. ระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการ
ม.315
1. กระทำการเป็นคนกลาง
2. เรียก รับ ยอมจะรับ
3. ทรัพย์สิน/ประโยชน์อย่างใด ที่มิควรได้
4. จากผู้ทำผิดตาม 313/จากผู้ที่จะให้ค่าไถ่
ม.316
1. ผู้ทำผิดตาม 313 314 315
2. จัดให้ ผู้ถูกเอาไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว ผู้ถูกกักขัง
3. ได้รับเสรีภาพ ก่อน ศต.พิพากษา
4. โดยบุคคลตาม 2. ไม่ได้รับอันตรายสาหัส/ไม่ได้ตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายแก่ชีวิต
5. ศาลลงโทษน้อยกว่าที่ ก.ม.กำหนดไว้ แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ข้อสังเกต คำว่า จัดให้ 1. ทำเอง
2. คนอื่นทำแทนโดยตนเต็มใจ
3. คนอื่นทำแทนโดยตนไม่เต็มใจ
4. เมื่อจัดให้แล้ว ไม่ได้ทำให้พ้นผิด ไม่ได้ทำให้ได้รับการยกเว้นโทษ
ม.317 วรรค 1
1. โดยปราศจากเหตุอันสมควร
2. พรากเด็กอายุ ไม่เกิน 15 ปี
3. ไปจาก บิดามารดา (โดยชอบ) ผู้ปกครอง ผู้ดูแล
วรรค 2
1. โดยทุจริต
2. ซื้อ จำหน่าย รับตัวเด็ก ซึ่งถูกพรากตาม ว.1
3. ระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พราก
วรรค 3
1. ความผิดตาม 317 (สำเร็จ)
2. ทำเพื่อ หากำไร/การอนาจาร
ม.318 วรรค 1
1. พรากผู้เยาว์อายุ กว่า 15 ปี (เกิน 15) แต่ ไม่เกิน 18 ปี
2. ไปจาก บิดามารดา (โดยชอบ) ผู้ปกครอง ผู้ดูแล
3. โดยผู้เยาว์ ไม่เต็มใจ ไปด้วย
วรรค 2
1. โดยทุจริต
2. ซื้อ จำหน่าย รับตัวผู้เยาว์ ซึ่งถูกพรากตาม ว.1
3. ระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พราก
วรรค 3
1. ความผิดตาม 318
2. ทำเพื่อ หากำไร/การอนาจาร
ม.319 วรรค 1
1. พรากผู้เยาว์อายุ กว่า 15 ปี (เกิน 15) แต่ไม่เกิน 18 ปี
2. ไปจาก บิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้ดูแล
3. เพื่อ หากำไร/การอนาจาร
4. โดยผู้เยาว์ เต็มใจ ไปด้วย
วรรค 2
1. โดยทุจริต
2. ซื้อ จำหน่าย รับตัวผู้เยาว์ ซึ่งถูกพรากตาม ว.1
3. ระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พราก
ม.321
-ความผิดตาม 309 ว.1 310 ว.1 311 ว.1 ยอมความได้
หมวด 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท
ม.326
1. ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม
2. โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง
3. ผิดฐานหมิ่นประมาท
ม.327
1. ใสความผู้ตายต่อบุคคลที่สาม +
2. การใส่ความ น่าจะ เป็นเหตุให้ บิดามารดา คู่สมรส บุตร (โดยชอบ) ผู้ตาย
3. เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง
4. ผิดฐานหมิ่นประมาท ระวางโทษตาม 326
ม.328
1. ความผิดฐานหมิ่นประมาท (326 327)
2. ได้กระทำโดยการโฆษณา
ม.329
1. แสดงความคิดเห็นใด/แสดงข้อความใด โดยสุจริต
(1) 1. เพื่อความชอบธรรม
2. ป้องกันตน/ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน ตามคลองธรรม
(2) -ในฐานะเป็น จพง.ปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) 1. ติชมด้วยความเป็นธรรม
2. ซึ่ง บุคคล/สิ่งใด อันเป็นวิสัยของ ปชช.ย่อมกระทำ
2. ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
ม.330 วรรค 1
1. ผู้ถูกหาว่าทำผิดฐานหมิ่นประมาท
2. พิสูจน์ได้ว่า เป็นความจริง (จล.มีภาระการพิสูจน์)
3. ไม่ต้องรับโทษ
วรรค 2
1. ห้ามพิสูจน์
2. หากเป็นเรื่องส่วนตัว + การพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ ปชช.
ม.332
-คำสั่งศาลตาม 332 ไม่ใช่โทษทางอาญา (โทษทางอาญามี 5 สถานเท่านั้น)
ม.333 วรรค 2 (โยง ผสห. ป.วิ.อ.)
1. ผสห. ในความผิดฐานหมิ่นประมาทตาย ก่อนร้องทุกข์
2. บิดามารดา คู่สมรส บุตร (โดยชอบ) ของ ผสห. ร้องทุกข์ได้ + ถือว่าเป็น ผสห.
ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
หมวด 1 ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์
ม.334
1. เอาไป
2. ทรัพย์ผู้อื่น/ทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม
3. โดยทุจริต
ม.335
-ลักทรัพย์
(1) -ในเวลากลางคืน
(3) 1. โดยทำอันตรายสิ่งกีดกัน
1.1 สำหรับคุ้มครองบุคคล
1.2 สำหรับคุ้มครองทรัพย์
2. โดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้น(ตาม 1.)เข้าไปด้วยประการใดๆ
(7) -โดย
1. มีอาวุธ
2. ร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
(8) -ในเคหสถาน
1. ที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต (ได้รับอนุญาตให้เข้าแล้วลัก ผิด 334 ไม่ใช่ 335)
2. ที่ตนซ่อนอยู่ในสถานที่นั้น (เคหสถาน)
(10) -ที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์/ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(11) -ที่เป็นของนายจ้าง/ที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(12) 1. ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม
2. บรรดาที่เป็น ผลิตภัณฑ์ พืชพันธ์ สัตว์ เครื่องมือ
2.1 ที่มีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม
2.2 ที่ได้มาจากการกสิกรรม
วรรค 3
-ความผิดตาม ว.1 ประกอบด้วย 2 อนุมาตราขึ้นไป
วรรค 4
1. ความผิดตาม ว.1
2. ทำต่อทรัพย์ที่เป็น โค กระบือ เครื่องกล เครื่องจักร
3. ที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม
วรรค 5
1. การทำผิด 335
2. ทำโดย ความจำใจ/ความยากจนเหลือทนทาน + ทรัพย์มีราคาเล็กน้อย
3. ศาลลงโทษตาม 334 ได้
ม.336 วรรค 1
1. ลักทรัพย์โดย ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
2. ผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
วรรค 2
-วิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่น (ต้องไม่ใช่ผู้ร่วมทำผิด)รับอันตรายแก่ กาย/จิตใจ
วรรค 3
-วิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่น รับอันตรายสาหัส
วรรค 4
-วิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่น ตาย
ม.336 ทวิ
1. ทำผิดตาม 334 335 336
2. โดย
2.1 แต่งเครื่องแบบทหาร/ตำรวจ
2.2 แต่งกายให้เข้าใจว่าเป็น ทหาร/ตำรวจ
2.3 มี/ใช้ อาวุธปืน/วัตถุระเบิด
2.4 ใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่ การกระทำผิด/การพาทรัพย์ไป
2.6 ใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุม
หมวด 2 ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์
ม.337 วรรค 1
1. ข่มขืนใจผู้อื่น
2. ให้ ยอมให้/ยอมจะให้
3. ตน/ผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
4. โดย
4.1 ใช้กำลังประทุษร้าย
4.2 ขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญ/ของบุคคลที่สาม
5. จนผู้ถูกข่มขืนใจ ยอม เช่นว่านั้น
6. ผิดฐานกรรโชก
ข้อสังเกต 1. ไม่ยอมให้ ผิด 337,80 + 309
2. ยอมให้เพราะรำคาญ ผิด 337,80 + 309,80
3. หากผิด 337 แล้ว ต้องผิด 309 ด้วยเสมอ แต่ถ้าผิด 309 อาจจะไม่ผิด 337 ได้
วรรค 2
-ความผิดฐานกรรโชกทำโดย
(1) -ขู่ว่า
1. จะฆ่า ผู้ถูกข่มขืนใจ/ผู้อื่น
2. จะทำร้ายร่างกาย ผู้ถูกข่มขืนใจ/ผู้อื่น ให้ได้รับอันตรายสาหัส
3. จะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ ผู้ถูกข่มขืนใจ/ผู้อื่น
(2) มีอาวุธติดตัว มาขู่เข็ญ
ม.338
1. ข่มขืนใจผู้อื่น
2. ให้ ยอมให้/ยอมจะให้
3. ตน/ผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
4. โดยขู่เข็ญว่า จะเปิดเผยความลับ
5. การเปิดเผยจะทำให้ ผู้ถูกขู่เข็ญ/บุคคลที่สามเสียหาย
6. จนผู้ถูกข่มขืนใจ ยอม
7. ผิดฐานรีดเอาทรัพย์
ข้อสังเกต 1. ไม่กลัว ไม่ยอม ผิด 338,80
2. กลัว ไม่ยอม ผิด 338,80
3. ไม่กลัว ยอมเพราะรำคาญ 338,80
ม.339 วรรค 1
1. ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย/ลักทรัพย์โดยขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย
2. เพื่อ
(1) -ให้ความสะดวกแก่ การลักทรัพย์/การพาทรัพย์ไป
(2) -ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) -ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) -ให้พ้นจากการจับกุม
3. ผิดฐานชิงทรัพย์
วรรค 3
-ความผิดตาม ว.1 เป็นการกระทำ
1. ที่ประกอบด้วยอนุมาตราใดใน 335
2. ต่อทรัพย์ที่เป็น โค กระบือ เครื่องกล เครื่องจักร ที่ผู้มีอาชีพกสิกรรม มีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม
วรรค 4
-การชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่น (ไม่ใช่ผู้ร่วมทำผิด) รับอันตรายแก่กาย/จิตใจ
วรรค 5
-การชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส
วรรค 6
-การชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่น ตาย
ม.340 วรรค 1
1. ชิงทรัพย์ โดยร่วมกันทำผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
2. ผิดฐานปล้นทรัพย์
วรรค 2
1. การปล้นทรัพย์ผู้กระทำแม้เพียงคนหนึ่ง
2. มีอาวุธติดตัวไปด้วย
ข้อสังเกต 1. คนอื่นแม้ไม่รู้ ก็ต้องร่วมรับผิดตาม ว.2
2. คนที่นำอาวุธติดตัวไปทำผิด เช่น ยิงเจ้าของทรัพย์ตาย เฉพาะคนที่ยิงรับผิดตาม ว.5 ส่วนคนอื่นที่ไม่รู้รับผิดเฉพาะ ว.2
วรรค 3
-การปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ ผู้อื่น (ไม่ใช่ผู้ร่วมทำผิด) รับอันตรายสาหัส
วรรค 4
-การปล้นทรัพย์ได้ทำโดย
1. แสดงความทารุณจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่ กาย/จิตใจ
2. ใช้ปืนยิง
3. ใช้วัตถุระเบิด
4. กระทำทรมาน
วรรค 5
-การปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย
ข้อสังเกต -ไม่มีการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่ กาย/จิตใจ (มีเฉพาะสาหัส + ตาย)
ม.340 ตรี (เทียบ 336 ทวิ)
1. ทำผิดตาม 339 340
2. โดย
2.1 แต่งเครื่องแบบทหาร/ตำรวจ
2.2 แต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหาร/ตำรวจ
2.3 มี/ใช้ อาวุธปืน/วัตถุระเบิด
2.4 ใช้ยานพาหนะเพื่อ การกระทำผิด/การพาทรัพย์ไป
2.5 ใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุม
หมวด 3 ความผิดฐานฉ้อโกง
ม.341
1. โดยทุจริต
2. หลอกลวงผู้อื่น
2.1 ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ /
2.2 ด้วยการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
3. การหลอกลวงนั้น
3.1 ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจาก ผู้ถูกหลอกลวง/บุคคลที่สาม
3.2 ทำให้ ผู้ถูกหลอกลวง/บุคคลที่สาม ทำ ถอน ทำลาย เอกสารสิทธิ
4. ผิดฐานฉ้อโกง
ข้อสังเกต หลอกลวงแล้ว แต่ไม่เกิดผลตาม 3 เป็นพยายาม 341,80
ม.342
-การทำผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำ
(1) -แสดงตนเป็นคนอื่น /
(2) 1. อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกซึ่งเป็นเด็ก /
2. อาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง
ม.343 วรรค 1
1. การทำผิดตาม 341
2. ได้ทำ
2.1 ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อ ปชช.
2.2 ด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ ปชช.
วรรค 2
1. การทำผิดตาม ว.1
2. ต้องด้วย 342 อนุหนึ่งอนุใด
ม.347
1. เพื่อให้ ตนเอง/ผู้อื่น ได้รับประโยชน์จากการประกันวินาศภัย
2. แกล้งทำให้เกิดเสียหายแก่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุที่เอาประกันภัย
ม.348
-ความผิดหมวดนี้นอกจาก 343(ฉ้อโกง ปชช.) ยอมความได้
หมวด 4 ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
ม.349
1. เอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์
2. ทรัพย์ที่ตนจำนำไว้กับผู้อื่น
3. เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนำ
ม.350
1. เพื่อมิให้ เจ้าหนี้ของตน/เจ้าหนี้ของผู้อื่น
2. ได้รับชำระหนี้ ทั้งหมด/บางส่วน
3. ซึ่ง ได้ใช้/จะใช้ สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้
3.1 ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น โอนไปให้แก่ผู้อื่น ซึ่งทรัพย์ใด
3.2 แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง
หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก
ม.352 วรรค 1
1. ครอบครองทรัพย์ของ ผู้อื่น/ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม
2. เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของ ตน/บุคคลที่สาม
3. โดยทุจริต
4. ผิดฐานยักยอก
วรรค 2
1. ทรัพย์นั้นตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้ทำผิด
2. เพราะ
2.1 ผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด
2.2 เป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำผิดเก็บไว้
ม.354
1. การทำผิดตาม 352
2. ได้ทำในฐานะเป็น ผู้มีอาชีพ/ผู้มีธุรกิจ อันเป็นที่ไว้วางใจของ ปชช.
หมวด 6 ความผิดฐานรับของโจร
ม.357 วรรค 1
1. ช่วย ซ่อนเร้น จำหน่าย พาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ รับไว้โดยประการใด
2. ทรัพย์ที่ได้มาโดยการทำผิดฐาน
2.1 ลักทรัพย์
2.1 วิงราวทรัพย์
2.3 กรรโชก
2.4 รีดเอาทรัพย์
2.5 ชิงทรัพย์
2.6 ปล้นทรัพย์
2.7 ฉ้อโกง
2.8 ยักยอก
2.9 จพง.ยักยอก
3. ผิดฐานรับของโจร
วรรค 2
1. ความผิดฐานรับของโจร
2. ได้กระทำ
2.1 เพื่อค้ากำไร
2.2 ต่อทรัพย์
2.2.1 ที่ได้มาโดยการลักทรัพย์ตาม 335(10) (ที่ใช้/มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์)
2.2.2 ที่ได้มาโดยการชิงทรัพย์
2.2.3 ที่ได้มาโดยการปล้นทรัพย์
หมวด 7 ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ม.358
1. ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์
2. ทรัพย์ของ ผู้อื่น/ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม
3. ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ม.359
-ความผิดตาม 358 ได้ทำต่อ
(1) -เครื่องกล/เครื่องจักร ที่ใช้ในการประกอบกสิกรรม/ที่ใช้ในการประกอบอุตสาหกรรม
(2) -ปศุสัตว์
(3) -ยวดยาน/สัตว์พาหนะ ที่ใช้ในการข่นส่งสาธารณะ/ที่ใช้ในการประกอบกสิกรรม/ที่ใช้ในการประกอบอุตสาหกรรม
(4) -พืช/พืชผล ของกสิกร
ม.360
1. ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์
2. ทรัพย์
2.1 ที่ใช้ เพื่อสาธารณประโยชน์
2.2 ที่มีไว้ เพื่อสาธารณประโยชน์
ข้อสังเกต -การเผาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมไม่ผิด 217 218 (217 218 ทรัพย์ผู้อื่นอย่างเดียว) แต่ผิด 358
หมวด 8 ความผิดฐานบุกรุก
ม.362
1. เข้าไป ในอสังหาริมทรัพย์ผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด/บางส่วน
2. เข้าไป กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข
ม.364 (บุกรุกเคหสถาน)
1. ไม่มีเหตุอันสมควร
2. เข้าไปอยู่ใน เคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์ สำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น /
3. ซ่อนตัวอยู่ใน เคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์ สำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น /
4. ไม่ยอมออกจากสถานที่เช่นว่านั้น เมื่อผู้มีสิทธิห้ามมิให้เข้าไป ได้ไล่ให้ออก
ม.365
-ความผิดตาม 362 364 ได้กระทำ
(1) -โดยใช้กำลังประทุษร้าย/โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
(2) -โดยมีอาวุธ/โดยร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
(3) -ในเวลากลางคืน
ภาค 3 ลหุโทษ
ม.371
1. พาอาวุธไปใน เมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยเปิดเผย
2. พาอาวุธไปใน เมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควร
3. พาอาวุธไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อ นมัสการ การรื่นเริง การอื่นใด
ม.390 -กระทำโดยประมาท + เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่ กาย/จิตใจ
ม.391 -ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ กาย/จิตใจ
ม.393 -ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า/ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยการโฆษณา
จบครับ
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.49.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|