สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1708481
แสดงหน้า2181770
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




ข้อสอบกระบวนวิชา POL2100 (PS 130) การปกครองเปรียบเทียบ

ข้อสอบกระบวนวิชา POL2100 (PS 130) การปกครองเปรียบเทียบ
อ้างอิง อ่าน 5399 ครั้ง / ตอบ 1 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
ข้อสอบกระบวนวิชา POL2100 (PS 130) การปกครองเปรียบเทียบ
 

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.       การปกครองระบอบประชาธิปไตย ยึดถือ                      

(1) ความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ

(2) ความเสมอภาคทางการศึกษา                                         

(3) เสรีภาพ

(4) ความสามัคคี                                                                      

(5) ความรักชาติ

ตอบ 3 หน้า 225 - 226, (คำบรรยาย) การปกครองในสังคมประชาธิปไตย (Democracy)  มีลักษณะหรือหลักการที่สำคัญดังนี้
1.       หลักมนุษยธรรมหรือสิทธิมนุษยชน คือ การยอมรับในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นคน
2.       การปกครองโดยเสียงข้างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อยด้วย
3.       ความเป็นพหุสังคม คือ การเป็นสังคมที่มีและยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
4.       ความเสมอภาคเท่าเทียมกันทางกฎหมาย
5.       หลักนิติธรรม คือการปกครองโดยยึดหลักกฎหมาย
6.       การมีสิทธิเสรีภาพ โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งถือเป็นลักษณะที่สำคัญที่สุดของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
7.       การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองการปกครอง
8.       ความขัดแย้งถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมประชาธิปไตย
9.       การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ต้องเป็นไปโดยสันติวิธีโดยไม่ใช้กำลังความรุนแรง เช่น การเจรจา ประนีประนอม การใช้กลไกการเลือกตั้ง เป็นต้น

 2.       ในสังคมประชาธิปไตย ความขัดแย้ง                              

(1) เป็นเรื่องปกติ

(2) จะต้องไม่เกิดขึ้น                                                          

(3) เป็นเรื่องผิดธรรมดา

(4) สร้างปัญหาเกี่ยวกับความเป็นชาติ                           

(5) ถือเป็นอันตราย

ตอบ  1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.       ในสังคมประชาธิปไตย ความขัดแย้ง                              

(1) ต้องถูกสกัดกั้นทุกวิถีทาง

(2) ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน                                     

(3) ต้องใช้กำลังแก้ไข

(4) ต้องแก้ไขโดยสันติวิธี                                                 

(5) ต้องปราบปรามอย่างรุนแรง

ตอบ  4 ดูคำอธิบายข้อ  1. ประกอบ

4.       วัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์                                                   

(1) ยึดหลักแห่งกฎหมาย

(2) สร้างความเป็นธรรมในสังคม                                   

(3) แบ่งคนเป็นชนชั้นปกครองกับใต้ปกครอง

(4) เน้นเรื่องเสรีภาพ                                                         

(5) ยึดหลักความเท่าเทียมกันของคนในสังคม

ตอบ   3  หน้า 228 – 230 วัฒนธรรมของสังคมเอเชียงอาคเนย์ มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.    มีการแบ่งคนเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยถือว่าชนชั้นปกครองเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองในสังคม    2. อำนาจการปกครองเป็นของชนชั้นสูง                        3.ยึดถือความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้องหรือให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ส่วนตัว

 5.       และ                                                                                         

(1) เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวม

(2) ผูกพันกับระบบเจ้านายกับลูกน้อง                           

(3)ยึดหลักเสรีนิยม

(4) เน้นความสามัคคี                                                          

(5)ส่งเสริมปัจเจกชนนิยม

ตอบ 2  ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6.       เมื่อเป็นเอกราช เจ้านโรดม สีหนุ ปกครองกัมพูชาแบบ

(1)    เผด็จการพลเรือน                       

(2) เผด็จการทหาร                                              

(3) เผด็จการคอมมิวนิสต์

(4) ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา         

(5) ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

ตอบ  1 หน้า  252 -255, (คำบรรยาย) ภายหลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสตามสัญญาเจนีวาในระหว่างปี ค.ศ. 1954 แล้ว กัมพูชาได้ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่ต่อมาในระหว่างปี ค.ศ. 1955 -1970 การเมืองการปกครองของกัมพูชาก็จะขึ้นอยู่กับผู้นำคือเจ้านโรดม สีหนุ กษัตริย์แห่งกัมพูชาเป็นสำคัญ ซึ่งในขณะนั้นอาจกล่าวได้ว่ากัมพูชาได้ใช้รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการพลเรือนโดยตัวผู้นำหรือเผด็จการโดยตัวบุคคล นั่นก็คือเจ้านโรดม สีหนุ ผู้ซึ่งมีอำนาจสูงสุด

7.       ลอนนอลยึดอำนาจสีหนุในปี ค.ศ. 1970 และปกครองกัมพูชาแบบ

(1) เผด็จการพลเรือน                         

(2) เผด็จการทหาร                                              

(3) เผด็จการคอมมิวนิสต์

(4)ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา          

(5) ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

ตอบ  2  หน้า 254 -255, (คำบรรยาย) นายพลลอนนอล ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากเจ้าสีหนุได้เป็นผลสำเร็จ และทำการปกครองกัมพูชาแบบเผด็จการทหารในระหว่างปี ค.ศ. 1970 – 1975 โดยได้เปลี่ยนแนวทางการบริหารประเทศและพยายามใช้กำลังทหารขับไล่กองกำลังเวียดกงและเวียดนามเหนือให้ออกไปจากกัมพูชาจนทำให้เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลกัมพูชากับกองกำลังดังกล่าวขึ้นมาในที่สุด

 8.       “เขมรแดง” โค่นล้มลอนนอลในปี ค.ศ. 1975 แล้วปกครองกัมพูชาแบบ

(1)เผด็จการพลเรือน                       

(2) เผด็จการทหาร                                              

(3) เผด็จการคอมมิวนิสต์

(4) ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา         

(5) ประชาธิปไตยแบประธานาธิบดี

ตอบ  3  หน้า 256, (คำบรรยาย)  การปกครองของกัมพูชาในสมัยเขมรแดง (Khmer Rouge) ระหว่างปี ค.ศ. 1975 – 1978 ภายใต้การนำขอพล พต (Pol Pot) เป็นการปกครองประเทศตามแนวทางเผด็จการคอมมิวนิสต์อย่างเคร่งครัดด้วยวิธีการรุนแรงและรีบร้อน ใช้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในการปกครอง ซึ่งได้ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายความทุกข์ทรมานและโศกนาฏกรรมแก่ประชาชนชาวกัมพูชาอย่างร้ายแรง

9.       เวียดนามโค่นล้ม “เขมรแดง” ในปี ค.ศ.1979 และตั้งเฮง สัมริน ปกครองกัมพูชาแบบ

(1)    เผด็จการพลเรือน                       

(2) เผด็จการทหาร                                              

(3) เผด็จการคอมมิวนิสต์

(4) ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา         

(5) ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

ตอบ  3  หน้า257 – 258, (คำบรรยาย)  การปกครองของกัมพูชาในสมัยรัฐบาลเฮง สัมริน (Heng Samrin) จนถึงสมัยรัฐบาลฮุน เซน (Hun Sen) ระหว่างปี ค.ศ. 1979 – 1991 ถือเป็นการปกครองแบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ภายใต้การสนับสนุนและควบคุมของเวียดนามซึ่งยังคงกำลังทหารไว้ในกัมพูชากว่าแสนนาย (จนถึงปี ค.ศ. 1989) นับตั้งแต่ครั้งที่เข้ามาโค่นล้มรัฐบาลเขมรแดงในปี ค.ศ. 1978 – 1979

 

10.    ปัจจุบันกัมพูชามีการปกครองแบบ                                  

(1) เผด็จการพลเรือน

(2)    เผด็จการทหาร                                                                            

(3) เผด็จการคอมมิวนิสต์

(4)    ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา                                                       

(5) ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

ตอบ  4   หน้า 258 – 260, (คำบรรยาย)            นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 เป็นต้นมา กัมพูชามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งประชาธิปไตยในกัมพูชานั้นจะเป็นเรื่องของการแก่งแย่งอำนาจกันเองระหว่างชนชั้นสูง โดยประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีส่วนร่วมอย่างรู้สำนึกด้วยเลยและที่น่าสังเกตเป็นพิเศษคือ ประชาธิปไตยเข้ามาในกัมพูชาด้วยการบงการจากภายนอกประเทศอย่างเต็มรูปแบบ

 11.    เมื่อเป็นเอกราช อินโดนีเซียมีการปกครองแบบ                            

(1) เผด็จการพลเรือน

(2)เผด็จการทหาร                                                                               

(3) เผด็จการคอมมิวนิสต์

(4) ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา                                                         

(5) ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

ตอบ   4  หน้า  242, (คำบรรยาย)  เมื่อได้รับเอกราชในปี ค.ศ.1945  แล้วอินโดนีเซียได้พยายามนำเอารูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีพรรคการเมืองต่าง ๆ มากมาย

 12.    ผู้นำอินโดนีเซียที่ใกล้ชิดกับ “ประชาธิปไตยแบบมีการนำ” คือ                

(1) โมฮัมเหม็ด ฮัตตา

(2)  ดร.สุบันดริโอ                              

(3) อดัม มาลิก                     

(4) ชูการ์โน         

(5) ซูฮาร์โต

ตอบ  4           หน้า 243, (คำบรรยาย)  ในระหว่างปี ค.ศ. 1959 -1965 อินโดนีเซียได้พยายามนำเอารูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีการนำ (Guided Democracy) ของประธานาธิบดีซูการ์โน ซึ่งอ้างว่ามีพื้นฐานมาจากรูปแบบการปกครองดั้งเดิมของอินโดนีเซียที่เน้นการปรึกษาหารือระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เพื่อบรรลุความเห็นชอบร่วมกัน แต่ในทางปฏิบัตินั้นประชาธิปไตยแบบมีการนำจัดว่าเป็นการปกครองแบบเผด็จการพลเรือนโดยตัวนำหรือเผด็จการโดยตัวบุคคลนั่นก็คือ ประธานาธิบดีซูการ์โน ผู้ซึ่งมีอำนาจสูงสุด

 13.    ผู้นำอินโดนีเซียที่มีความใกล้ชิดกับ “ระเบียบใหม่” คือ                                             

(1) พลเอก นาซูเตียน

(2)ซูฮาร์โต                          

(3) อาลีอลาตัส                    

(4) ยูซุฟ ฮาบีบี                    

(5) อับดูราห์มาน วาฮิด

ตอบ   2  หน้า 243,248, (คำบรรยาย)  นับตั้งแต่อินโดนีเซียได้รับเอกราชเป็นต้นมา กลุ่มที่มีอำนาจทางการเมืองยาวนานที่สุดก็คือ กลุ่มทหาร โดยเฉพาะในระหว่างปี ค.ศ. 1966 – 1998 ซึ่งเป็นช่วงที่นายพลซูฮาร์โตเป็นประธานาธิบดีนั้น ถือได้ว่าอินโดนีเซียอยู่ในยุคระเบียบใหม่ หรือระบบใหม่ (Orde Baru) ที่อยู่ภายใต้ระบบเผด็จการทหาร เนื่องจากสิทธิเสรีภาพของสื่อถูกปิดกั้น ขบวนการภาคประชาชนต่าง ๆ ถูกคุกคาม รวมทั้งประชาธิปไตยและการแสดงออกถึงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นสิ่งต้องห้าม

14.    ผู้นำอินโดนีเซียที่มีความใกล้ชิดกับการเลือกตั้งโดยตรง คือ                    

(1) เมกาวตี ซูการ์โนบุตรี

(2)ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน

(3) ไอดิต              

(4) ตัน โจ ฮอก    

(5) มารดี ซูโตโน

ตอบ  2   (คำบรรยาย) ภายหลังจากการปฏิบัติรูปการเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำให้พลโทซูซิโลบัมบัง ยูโดโยโน เป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนโดยได้รับชัยชนะและได้สาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งต่อจากอดีตประธานาธิบดีหญิงเมกาวตีซูการ์โนบุตรี เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 และยังคงดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนปัจจุบัน ตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

 15.    ปัจจุบันอินโดนีเซียมีการปกครองแบบ                                          

(1) เผด็จการพลเรือน

(2)เผด็จการทหาร                                                                               

(3) เผด็จการคอมมิวนิสต์

(4) ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา                                                         

(5)ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

ตอบ  5   ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

 16.    ผู้นำพลเรือนในคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ของไทย คือ                       

(1) แปลก พิบูลสงคราม

(2)ควง อภัยวงศ์                  

(3) ดร.ตั้ว ดุละลัมภะ         

(4) ดร.ปรีดี พนมยงค์         

(5) ประยูร ภมรมนตรี

ตอบ 4    หน้า 261, (คำบรรยาย) “คณะราษฎร” ที่ประกอบไปด้วยทหารและพลเรือน โดยพลเอกพระยาพหลพลเสนา ผู้นำฝ่ายทหาร และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมหรือ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำฝ่ายพลเรือน พร้อมทั้งแกนนำคนสำคัญอื่น ๆ ได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองจากรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475

 17.    ผู้ดำรงตำแหน่งนายรัฐมนตรีไทยยาวนานที่สุด คือ                    

(1) นายอานันท์ ปันยารชุน

(2)นายควง  อภัยวงศ์                                                                         

(3) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์                                                          

(5)พลเอกสุจินดา คราประยูร

ตอบ  3   (คำอธิบาย)           นายกรัฐมนตรีของไทยที่ปกครองประเทศยาวนานที่สุด คือ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี 2 ช่วง โยเป็นระยะเวลารวมกันถึง 15 ปีได้แก่ ช่วงแรกตั้งแต่  ธันวาคม พ.ศ.2481 – 24 กรกฎาคม พ.ศ.2487 (5 ปี7 เดือน)และช่วงที่ 2 ตั้งแต่ 8 เมษายน พ.ศ.2491 – 16 กันยายน พ.ศ.2500 (9 ปี 5เดือน) ส่วนนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งเป็นระยะเวลาสั้นที่สุดเพียง 18 วัน คือ นายทวี บุณยเกตุ ตั้งแต่ 31 ส.ค. พ.ศ.2488 – 17 ก.ย. พ.ศ.2488

 18.    ผู้ดำรงตำแหน่งนายรัฐมนตรีไทยสั้นที่สุด คือ                             

(1)  นายพจน์ สารสิน

(2)  นายธานินทร์ กรัยวิเชียร                                                           

(3)  นายทวี  บุญยเกตุ

(4)  พลเอกสุจินดา  คราประยูร                                                        

(5)  นายบรรหาร ศิลปะอาชา

ตอบ  3   ดูคำอธิบายข้อ  17. ประกอบ

 19.    ผู้ที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย 2 ครั้ง                                     

(1) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

(2)  นายพจน์ สารสิน                                                                        

(3) นายชวน หลีกภัย

(4)  พลเอกเปรม ติณสูลานนท์                                                         

(5) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

ตอบ 3    (ความรู้ทั่วไป)      ในอดีตบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช, จอมพลถนอม  กิตติขจร,นายอานันท์ ปันยารชุน,นายชวน หลีกภัย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
20.    ปัจจุบันไทยมีการปกครองแบบ                                                        

(1) เผด็จการพลเรือน

(2) เผด็จการทหาร                                                                              

(3) เผด็จการคอมมิวนิสต์

(4) ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา                                                         

(5) ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

ตอบ  4   (คำอธิบาย)           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ทำให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอีกครั้งหนึ่งและยังคงใช้ระบอบนี้มาจนถึงปัจจุบัน

 21.    อุดมการณ์ทางการเมืองของสหภาพโซเวียตเป็นแบบใด                                            

(1) เสรีนิยม

(2)ประชาธิปไตย    

(3) คอมมิวนิสต์    

(4) สังคมนิยมยูโทเปีย       

(5)สังคมนิยมประชาธิปไตย

ตอบ  3   หน้า 192,202, (คำบรรยาย)  ในช่วงปี ค.ศ.1917 – 1991 รัสเซียหรือชื่อเดิมในขณะนั้นคือ สหภาพโซเวียต (Soviet Union) มีอุดมการณ์ยึดมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์ และใช้การปกครองระบอบสังคมนิยม (Socialism) ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีอำนาจสูงสุดโดยผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหภาพโซเวียต คือนายวลาดิเมียร์ เลนิน (Vladimir Lenin) แต่ภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา จึงได้เปลี่ยนมาใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) โดยผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซียคือ นายบอริส  เบลต์ซิน (Boris Yeltsin)

 22.    สมาชิกกลุ่มประเทศในเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States : CIS) มีจำนวนเท่าใด

(1)    15 รัฐ            

(2)    (2) 14 รัฐ      

(3)    (3) 13 รัฐ      

(4)    (4) 12รัฐ       

(5)    (5) 10 รัฐ

ตอบ  4   หน้า 193 ภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ได้มีการแตกแยกออกเป็นรัฐอิสระ 15 รัฐ และประเทศสหพันธรัฐรัสเซียเป็นหนึ่งในรัฐอิสระนั้นด้วย โดยรัฐที่ประกาศแยกตัวเป็นรัฐอิสระ 12 รัฐ (ยกเว้น รัฐบอลติก 3 รัฐ) ได้จัดตั้งกลุ่มประเทศในเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States: CIS) ขึ้น เพื่อความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกัน

 23.    ประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) คือ

(1)    Lenin             

(2)    (2) Gorbachev            

(3)    (3) Stalin                      

(4)    (4) Yeltsin    

(5)    (5) Zyuganov

ตอบ  4   ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

 24.    จำนวนสมาชิกของสภาสูงและสภาล่างของสหพันธรัฐรัสเซีย

(1)    สภาสูง 150 คน, สภาล่าง 250 คน                           

(2) สภาสูง 178 คน, สภาล่าง 500 คน

(3)สภาสูง  178 คน, สภาล่าง 400 คน                            

(4) สภาสูง 198 คน, สภาล่าง 450 คน

(5) สภาสูง 178 คน, สภาล่าง 450 คน

ตอบ  5   หน้า 194                 รัฐสภา (Federal Assembly) ของสหพันธรัฐรัสเซียประกอบด้วย 2 สภา คือ
1.    สภาผู้แทนราษฎรหรือสภาดูมา (State Duma) มีสมาชิก 450 คนโดยได้มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ (Party List) นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2007 เป็นต้นมา และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี นับตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 เป็นต้นไป

2.    สภาสูง (Federation Council) มีสมาชิก 178 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง 89 เขต เขตละ 2 คน

 25.    ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสหพันธรัฐรัสเซียได้มาโดย

(1)    เลือกตั้งโดยตรง                                                          

(2) หัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากในสภา

(3)สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้แต่งตั้ง                                  

(4) ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง

(5) ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งโดยความชอบของสภาดูมา

ตอบ  5   หน้า 193 -195, (คำบรรยาย) รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐรัสเซีย กำหนดให้ประธานาธิบดีมีฐานะเป็นทั้งประมุขของประเทศและประมุขของฝ่ายบริหาร ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรง มีอำนาจหน้าที่สำคัญดังนี้
1.       เป็นผู้นำกองทัพและคณะมนตรีความมั่นคง
2.       แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของสภาดูมาหรือสภาผู้แทนราษฎร
3.       แต่งตั้งข้าราชการระดับสูง, ผู้ว่าการธนาคารชาติ, ประธานศาลรัฐธรรมนูญ,และแต่งตั้งทูตหรือทุตานุทูตไปประจำยังต่างประเทศ
4.       แต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
5.       ยุบสภาดูมาเมื่อสภาดูมาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล2 ครั้งในช่วงเวลา 3 เดือน
6.       การประกาศกฎอัยการศึก (Martial Law) ฯลฯ

 26.    ข้อใดบ่งบอกลักษณะการปกครองสหภาพโซเวียตในอดีต

(1)    สังคมนิยม (Socialism)                                              

(2) เผด็จการอำนาจนิยม (Authoritarianism)

(3)  เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism)                        

(4) สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy)

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  1   ดูคำอธิบายข้อ 21 ประกอบ

 

27.    ประธานธนาคารกลางแต่งตั้งและถอดถอนโดย                                                           

(1) รัฐสภา

(2)สภาสูง                            

(3) สภาดูมา                         

(4) ประธานาธิบดี              

(5) นายกรัฐมนตรี                              

ตอบ  3   หน้า 194 – 195    สภาผู้แทนราษฎรหรือสภาดูมา (State Duma) ของสหพันธรัฐรัสเซียมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1.ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีของประธานาธิบดี   2.ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล
3.ออกกฎหมายของสหพันธรัฐ (Federal Law)   4.แต่งตั้งและถอดถอนประธานธนาคารกลาง
5.ออกกฎหมายนิรโทษกรรม             6.ดำเนินการในเบื้องต้นของกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดี        

 28.    ปัจจุบันสหพันธรัฐรัสเซียมีการปกครองแบบใด

(1)    เสรีนิยม                                                        

(2)กึ่งเสรีนิยม                     

(3)ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

(4)ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี            

(5) ประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดี

ตอบ  4   ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

 29.    สหพันธรัฐรัสเซียในปัจจุบันแบ่งออกกี่เขตการปกครอง

(1)    59 เขต           

(2) 69 เขต            

(3) 79 เขต            

(4) 89 เขต            

(5) 99 เขต

ตอบ  4   หน้า 194 รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐรัสเซีย กำหนดให้สหพันธรัฐรัสเซียมีเขตการปกครองทั้งสิ้น 89 เขต

 30.    การได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรีของสหพันธรัฐรัสเซีย

(1)    รัฐสภาแต่งตั้ง                             

(2) นายรัฐมนตรีแต่งตั้ง

(3)ประธานาธิบดีแต่งตั้ง                  

(4) ประธานาธิบดีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภาดูมา

(5) ประธานาธิบดีแต่งตั้งตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี

ตอบ 5    ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

31.    สภาที่ให้ความเห็นชอบต่อ “กฎอัยการศึก” ( Martial Law)                                    

(1) รัฐสภา

(2)    สภาสูง                          

(3) สภาดูมา                         

(4) ทุกสภารวมกัน             

(5) สภาแห่งมลรัฐ

ตอบ 2    หน้า 194 สภาสูงหรือวุฒิสภา (Federation Council) ของสหพันธรัฐรัสเซีย มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. การให้ความเห็นชอบในตำแหน่งที่สำคัญต่าง ๆ                     2. ลงมติถอดถอนประธานาธิบดี
3.ให้สัตยาบันและยกเลิกสนธิสัญญาระหว่างประเทศ                4.ให้ความเห็นชอบหรือให้การรับรองการประกาศกฎอัยการศึก (Martial Law) ของประธานาธิบดี    5.ตัดสินใจในการใช้กำลังทหารนอกดินแดนสหพันธรัฐรัสเซีย

 32.    กฎหมายนิรโทษกรรม  ออกโดย                                                                                       

(1) รัฐสภา

(2)สภาสูง                            

(3) สภาดูมา                         

(4) ประธานาธิบดี              

(5) นายกรัฐมนตรี

ตอบ  3   ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ 

33.    ประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่งตั้งโดย                                                                             

(1) รัฐสภา

(2)สภาสูง                            

(3) สภาดูมา                         

(4) ประธานาธิบดี              

(5) นายกรัฐมนตรี

ตอบ  4   ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

34.    การถอดถอนประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซียเริ่มต้นที่ใด

(1)    นายกรัฐมนตรี                             

(2) รัฐสภา                           

(3) สภาดูมา                         

(4) สภาสูง

(5)นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของรัฐสภา

ตอบ  3   ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ

35.    ที่มาของสมาชิกสภาสูงของสหพันธรัฐรัสเซีย             

(1) แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

(2) เป็นตัวแทนจากเขตการปกครองเขตละ 2 คน        

(3) เลือกตั้งโดยตรงโดยแบ่งเป็นเขต ๆ ละ 4 คน

(4) เลือกตั้งโดยตรงโดยกำหนดให้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

(5) เลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อโดยกำหนดให้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง

ตอบ  2   ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ 

36.    วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซีย

(1)    คราวละ 6 ปี ไม่เกิน 2 สมัย                                                       

(2)    (2) คราวละ 5 ปี ไม่เกิน 2 สมัย

(3)   คราวละ 4 ปี ไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน                                      

(4) คราวละ 4 ปี ไม่เกิน 2 สมัย

(5)  คราวละ 4 ปี และอาจดำรงตำแหน่งต่อไป เมื่อได้รับเลือกตั้งอีก

ตอบ 3    หน้า 193 – 194    รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐรัสเซียกำหนดให้ประธานาธิบดีจะต้องมีอายุอย่างน้อย 35 ปี โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน

37.    การใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของประธานาธิบดี                    

(1) แต่งตั้งประธานธนาคารกลาง

(2) แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญ                              

(3)แต่งตั้งคณะทูตานุทูตไปประจำยังต่างประเทศ

(4) แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของสภาดูมา

(5) ยุบสภาดูมาเมื่อสภาดูมาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล 2 ครั้ง ในช่วงเวลา 3 เดือน

ตอบ  1   ดูคำอธิบายข้อ 25. และ 27. ประกอบ

 38.    เมื่อประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซียตาย จะต้องปฏิบัติอย่างไร

(1)    รองประธานาธิบดีกระทำการแทน

(2)    ประธานรัฐสภากระทำการแทน

(3)    นายกรัฐมนตรีกระทำการแทนจนครบวาระ

(4)    ต้องเลือกประธานาธิบดีใหม่ทันที เพราะประเทศจะขาดผู้นำไม่ได้

(5)    นายกรัฐมนตรีกระทำการแทน และให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ภายใน 3 เดือน

ตอบ  5   หน้า 194   รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐรัสเซีย ไม่ได้กำหนดตำแหน่งรองประธานาธิบดีไว้แต่กำหนดไว้ว่าหาก  ประธานาธิบดีเสียชีวิตหรือไม่สามารถจะบริหารประเทศได้ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการแทน และจะต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีให้แล้วเสร็จภายในเวลา 3 เดือน

 39.    การส่งกำลังทหารออกนอกสหพันธรัฐรัสเซียเป็นอำนาจของ

(1)    รัฐสภา (Federal Assembly)                                                     

(2) สภาสูง (Federation Council)

(3)สภาผู้แทนราษฎร (State Duma)                                               

(4) ประธานาธิบดีในฐานะผู้นำกองทัพ

(5) ประธานาธิบดีในฐานะประมุขของประเทศ

ตอบ  2   ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

40.    สภาดูมาจะไม่ถูกยุบในกรณีใด                                         

(1) เมื่อยังไม่มีใครดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

(2)    เมื่อยังไม่มีใครดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี         

(3) เมื่ออยู่ในสมัยประชุมวิสามัญ

(4)  เมื่ออยู่ในสมัยประชุมสภาสามัญ                             

(5) ประเทศอยู่ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก

ตอบ  5   หน้า 195 เพื่อเป็นการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซียจึงกำหนดให้ประธานาธิบดีไม่สามารถที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาดูมาได้ในกรณีต่อไปนี้
1.       เมื่อเริ่มดำเนินกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดี เว้นเสียแต่ว่าได้ดำเนินการจนถึงสภาสูงและสภาสูงได้รับเรื่องไปดำเนินการต่อแล้ว
2.       เมื่อประเทศอยู่ในระหว่างการประกาศกฎอัยการศึก (Martial Law)

 41.    ประเทศที่ปกครองแบบรัฐเดี่ยว                                        

(1) สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร

(2)สหราชอาณาจักรและประเทศไทย                           

(3) สหรัฐอเมริกาและมาเลเซีย

(4) มาเลเซียและญี่ปุ่น                                                       

(5) สหรัฐอเมริกาและไทย

ตอบ  2   หน้า 30- 31, (คำบรรยาย)  รัฐเดี่ยว (Unitary State) รัฐที่มีศูนย์กลางในการใช้อำนาจในการปกครองอยู่ที่สถาบันส่วนกลางโดยอำนาจของส่วนภูมิภาคท้องถิ่นนั้นจะได้รับมาจากอำนาจของส่วนกลางและอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยอำนาจของส่วนกลางเช่นเดียวกันตัวอย่างของประเทศที่มีการปกครองแบบรัฐเดี่ยว ได้แก่ สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ เป็นต้น

 42.    สิ่งที่ระบบรัฐสภาต่างจากระบบประธานาธิบดี คือ                      

(1) มีการแบ่งแยกอำนาจเด็ดขาด

(2)อำนาจในการยุบสภา                                                                   

(3) บทบาทของทหาร

(4) ตุลาการภิวัตน์                                                                               

(5) ระดับความเป็นประชาธิปไตย

ตอบ  2   (คำบรรยาย)          การปกครองในระบบรัฐสภา (Parliamentary System) จะถือว่ารัฐสภาหรือสภานิติบัญญัติเป็นองค์การสูงสุด และเป็นองค์กรสำคัญที่ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติและควบคุมการบริหารประเทศ โดยมีหลักการสำคัญดังนี้
1.       รัฐสภามีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนฝ่ายบริหาร รวมทั้งองค์กรอิสระหรือองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ

2.       ไม่มีการแบ่งแยกอำนาจอย่างเด็ดขาดระหว่างอำนาจฝ่ายต่างๆ เช่น สภาสามารถเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ แต่นายกรัฐมนตรีสามารถยุบสภาได้เช่นกัน
3.       รัฐบาลอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐสภา กล่าวคือ รัฐสภาจะควบคุมการบริหารงานของคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีจะบริหารงานได้นั้นต้องได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา
4.       รัฐสภามีหน้าที่ในการควบคุมการใช้จ่ายของรัฐบาลควบคุมตรวจสอบและอนุมัติงบประมาณ ฯลฯ

 43.    ลักษณะเด่นของระบบประธานาธิบดี คือ                       

(1) ฝ่ายบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ

(2)ระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ                    

(3) การแต่งตั้งและถอดถอนองค์กรอิสระ

(4) การยุบสภา                                                                    

(5) การออกกฎหมาย

ตอบ  2   (คำบรรยาย)          ระบบประธานาธิบดี (Presidential System) มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.    ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของประเทศ ผู้นำฝ่ายบริหาร และผู้นำกองทัพ
2.    ที่มาของประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง               3. มีการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) ออกเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ รวมทั้งมีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ (Checks and Balances) ซึ่งกันแบะกันระหว่างอำนาจทั้ง 3 ฝ่ายดังกล่าว
4. ประธานาธิบดีมีอำนาจในการ Veto หรืออำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ฯลฯ

 44.    ระบบตอบแทนที่อิงเกณฑ์ความจำเป็น (needs) ในการดำรงชีวิตเป็นหลักเกณฑ์ของ

(1)    ระบบสังคมนิยม

(2) ระบบทุนนิยม 

(3) ระบบกึ่งทุนนิยม 

(4) รัฐสวัสดิการ

(5) รัฐอำมาตยาธิปไตย

ตอบ  4   (คำบรรยาย)          รัฐสวัสดิการ(Welfare State) เป็นระบบทางสังคมที่รัฐให้หลักประกันแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในด้านปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น (Needs) สำหรับการดำรงชีวิตโดยรัฐจะเข้าไปดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคมตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น การให้หลักประกัน ด้านสุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย การว่างงาน และการชราภาพ เป็นต้น

 45.    การศึกษาการเมืองต่างจากการศึกษาวิทยาศาสตร์                                       

(1) เป็นการลองผิดลองถูก

(2)มีข้อมูลที่ชัดเจน                                                                                            

(3) ขึ้นอยู่กับผู้ศึกษา

(4) ไม่สามารถศึกษาในห้องทดลอง                                                               

(5) ความเป็นอนิจจังของการเมือง

ตอบ   4  หน้า 3 – 8, (คำบรรยาย)    การศึกษาการเมืองแตกต่างจากการศึกษาวิทยาศาสตร์ตรงที่ไม่สามารถศึกษาห้องทดลองได้ กล่าวคือ การศึกษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จะมีการกำหนดและควบคุมตัวแปรต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ทดสอบแกระทำซ้ำภายในห้องทดลองอย่างเข้มงวดขณะที่การศึกษาการเมือง ซึ่งเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับมนุษย์และสังคมที่มีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีความแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ดังนั้นจึงไม่สามารถควบคุม พิสูจน์ทดลองและกระทำซ้ำได้เหมือนวิธีการทางวิทยาศาสตร์

 46.    ผู้เขียน “ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา” (Democracy in America) คือ             

(1) Copernicus

(2)    Aristotle       

(3)    (3) Alexis de Tocqueville          

(4)    (4) Max Weber                           

(5)    (5) Charles Darwin

ตอบ  3   หน้า  2 ในปี ค.ศ. 1931 อเล็กซิส เด ท็อคค์วิลล์ (Alexis de Tocqueville) นักรัฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้เดินทางไปศึกษาระบบการเมืองการปกครองในสหรัฐอเมริกา และได้เขียนหนังสือชื่อ “ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา” (Democracy in America) ออกมา 2 เล่ม เล่มแรกในปี ค.ศ. 1935 และเล่มที่สองในปี ค.ศ. 1940 ซึ่งถือเป็นสิ่งที่เรายังนำมาใช้ศึกษากันอย่างกว้างขวางจนถึงทุกวันนี้

 47.    เอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นใดที่เป็นปฏิปักษ์กับจักรวรรดินิยมอังกฤษ

(1)    Bill of Rights                               

(2)    (2) Declaration of Independence                            

(3)    (3) Uncle Tom’s Cabin

(4)Utopia                                             

(5) Nicomachean Ethics

ตอบ  2   (คำบรรยาย)          บทความเรื่อง สามัญสำนึก (Common Sense) ของโธมัส เพน (Thomas Paine) ซึ่งกล่าวถึงการประกาศอิสรภาพของชาวอาณานิคมสหรัฐอเมริกา ถือเป็นวรรณกรรมที่มีอิทธิพลต่อการประกาศเอกราชสหรัฐอเมริกา โดยบทความดังกล่าวได้นำไปสู่การเคลื่อนไหวที่เป็นปฏิปักษ์กับจักรวรรดินิยมอังกฤษเจ้าอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น นั่นคือ การลงนามร่วมกันในคำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 และการทำสงครามเพื่อประกาศเอกราชที่ใช้เวลานานถึง 6 ปี ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายอาณานิคมสหรัฐอเมริกา

 48.    วรรณกรรมที่มีอิทธิพลต่อการประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา

(1)    Nicomachean Ethics                  

(2) Common Sense                                           

(3) Uncle Tom’s Cabin

(4)Utopia                                             

(5) Odyssey

ตอบ  2   ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

 49.    เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย                                           

(1) Yalta Agreement 1945

(2)    Hapsburg Ultimatum 1914                                                                      

(3) Treaty of Versailles 1939

(4)Magna Carta 1215                                                                                       

(5) Weimar Republic 1919

ตอบ  4   (คำบรรยาย)          มหากฎบัตร (Magna Carta ค.ศ. 1215) ถือเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญและเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์การปกครองระบอบประชาธิปไตยของสหราชอาณาจักรซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้กฎหมาย และการประกันสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนว่าจะไม่ถูกจับกุม เนรเทศ ยึดทรัพย์หรือลงโทษอื่นใด จนกว่าจะมีคำพิจารณาตัดสินของผู้พิพากษาว่ามีความผิดโดยบทบัญญัติตามกฎหมายของแผ่นดิน

 50.    ผู้แบ่งประเภทระบบการปกครองในยุคกรีกโบราณ คือ                

(1) Alexis de Tocqueville

(2)  Copernicus                   

(3) Aristotle         

(4) Max Weber                   

(5) Polybius

ตอบ  3   หน้า  12 – 13, (คำบรรยาย)               อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก ซึ่งเป็นผู้ที่บุกเบิกการศึกษาการปกครองเปรียบเทียบ ได้แบ่งประเภทของระบบการปกครองในยุคกรีกโบราณโดยมีแนวทางในการแบ่งประเภทการปกครอง 2 ประเด็น คือ    1. ใครปกครอง (Who Rules) ซึ่งมองจากจำนวนผู้ปกครอง   2. ปกครองโดยฐานะใด (On Whose Behalf) ซึ่งมองจากผลประโยชน์ที่ได้รับจากการปกครอง

 51.    คณาธิปไตย (Oligarchy) หมายถึง                                                 

(1) การปกครองโดยคน ๆ เดียว

(2)การปกครองโดยคณะบุคคล                                                       

(3) การปกครองแบบเผด็จการ

(4) การปกครองโดยอารยชน                                                           

(5) การปกครองโดยอำมาตย์

ตอบ   2  หน้า 13 -14          อริสโตเติล ( Aristotle) เห็นว่า การปกครองแบบคณาธิปไตย (Oligarchy) คือ การ ปกครองโดยคณะบุคคลหรือคนกลุ่มเล็กเพื่อประโยชน์ของกลุ่มตน

 52.    “อำมาตยาธิปไตย” ในภาษาอังกฤษหมายถึง                                                                

(1) Aristocracy

(2)  Polity                                             

(3) Oligarchy                      

(4) Tyranny                         

(5) Monarchy

ตอบ  1   (คำบรรยาย)          “อำมาตยาธิปไตย” ในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า “Aristocracy” หมายถึงระบบที่ขุนนางอำมาตย์เป็นใหญ่ แต่ในปัจจุบันการเข้าใจว่า อำมาตยาธิปไตย คือ ระบบที่ราชการเป็นใหญ่ ซึ่งอันที่จริงแล้ว “ระบบที่ราชการเป็นใหญ่” ในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า “Bureaucratic Authoritarianism”

 53.    “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” เป็นคำกล่าวของ         

(1)อับราฮัม ลินคอล์น

(2)จอร์จ วอชิงตัน              

(3) จอห์น เอฟ. เคนเนดี    

(4) ทีโอดอร์ โรสเวลท์          

 (5) บารัก โอบามา

ตอบ  1   หน้า 225,              (คำบรรยาย)         อับราฮัม ลินคอล์น ( Abraham Lincoln) อดีตประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อเชิดชูเกียรติทหารหาญที่พลีชีพในสงครามกลางเมืองในพิธี ณ สุสานเกตตีสเบิร์ก ซึ่งใจความสำคัญตอนหนึ่งได้กลายมาเป็นคำนิยามยอดนิยมของประชาธิปไตยว่า “การปกครองของประชาชน และเพื่อประชาชน” (Government of the people, by the people and for the people)

 54.    ประเทศที่มีการปฏิรูประบบราชการในระยะใกล้เคียงกับประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5

(1)    สาธารณรัฐประชาชนจีนสมัยเติ้ง เสี่ยว ผิง                                           

(2) อินโดนีเซียซูการ์โน

(3)  ฟิลิปปินล์สมัยมาร์กอส                                                                              

(4) ญี่ปุ่นสมัยเมอิจิ

(5) มาเลเซียสมัยตนกู อับดุลลาห์มาน

ตอบ  4   (คำบรรยาย)          ประเทศที่มีการปฏิรูประบบราชการในระยะใกล้เคียงกับประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ ประเทศญี่ปุ่นสมัยเมอิจิ (Meiji) ที่มีการปฏิรูปประเทศขึ้นใหม่ตามอย่างชาติตะวันตก ซึ่งได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน เช่น มีการยกเลิกการถือครองที่ดินแบบศักดินามีการสร้างความมั่นคงทางทหาร รวมทั้งเร่งพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก

 

55.    ข้อใดเป็นหลักการที่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย               

(1) การปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่เท่านั้น

(2)    เสียงส่วนใหญ่อาจไม่มีเหตุผล                                                 

(3) เสียงส่วนใหญ่อาจเป็นเผด็จการ

(3)    การปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่แต่ต้องเคารพเสียงข้างน้อย             

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ  4   ดูคำอธิบายข้อ 1.  ประกอบ

56.    ระบบการนับคะแนนที่เป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน                  

(1) ระบบเสียงข้างมากเด็ดขาด

(2)ระบบสัดส่วน                                                                                                

(3) ระบบเสียงข้างมากธรรมดา

(4)ระบบการโอนคะแนนเสียง                                                                        (5) ระบบผสม

ตอบ  3   (คำบรรยาย)          ระบบเสียงข้างมากธรรมดา (Simple Majority System) ถือเป็นระบบการนับคะแนนที่หลายประเทศทั่วโลกนิยมใช้กันมากที่สุด โดยเป็นการตัดสินให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ตามจำนวนผู้แทนที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเลือกตั้งกำหนดให้มีในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง โดยไม่คำนึงว่าคะแนนเสียงที่ได้จะเป็นจำนวนเท่าไรและเป็นคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (มากกว่า 50%) หรือไม่

 57.    ประชาธิปไตยที่มั่นคง หมายถึง                                                       

(1) ระบบการเมืองที่ยืดหยุ่น

(2)รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ                                                                   

(3) รัฐบาลเข้มแข็ง

(4)ระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพ                                                     

(5) ประชาชนมั่นคง

ตอบ  4   (คำบรรยาย)          ประชาธิปไตยที่มั่นคง หมายถึง ระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพ กล่าวคือ แม้การเมืองจะมีการเปลี่ยนแปลงและขยับตัวเป็นระยะ ๆ แต่หลักการหรือกระบวนการใหญ่ ๆ อันได้แก่ การเลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาล การกำหนดนโยบายสาธารณะ การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง จะต้องเป็นไปตามครรลองหรือวิถีทางของประชาธิปไตยโดยอยู่ในกรอบกฎกติกาของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

 58.    ลักษณะสำคัญของเผด็จการอำนาจนิยม คือ                 

(1) บังคับความคิดและการกระทำของประชาชน

(2)ปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล                                                    

(3) ไม่ใช้รัฐธรรมนูญ

(4)ใช้อำนาจมากกว่าเหตุผล                                             

(5) รัฐบาลทหาร

ตอบ   4  หน้า 15 – 16         ระบบเผด็จการอำนาจนิยม (Authoritarian) มีลักษณะที่สำคัญ คือ ชอบใช้อำนาจบังคับ     ควบคุมหรือชอบใช้อำนาจของตัวบุคคลมากกว่าใช้เหตุผล โดยภายใต้ระบบนี้กิจกรรมทางการเมืองจะถูกควบคุม อิสรภาพและเสรีภาพมีอยู่อย่างจำกัด สื่อทุกชนิดจะอยู่ภายใต้การตรวจสอบ ไม่ยินยอมให้มีระบบฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการ การวิพากษ์วิจารณ์จะกระทำได้อย่างน้อยมาก และการใช้อำนาจจะมีเฉพาะในกลุ่มแคบ ๆ เท่านั้น

 59.    การปฏิวัติทางการเมืองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

(1)    เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ                    

(2)    (2) การเลือกตั้งประธานาธิบดีโอบามา

(3)สงคราม Crusade                          

(4) การปฏิวัติในฝรั่งเศสปี 1789                     

(5) การสังหารเคนเนดี

ตอบ   4  (ความรู้ทั่วไป)      การปฏิวัติทางการเมืองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก คือ การปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.  1789 ซึ่งเป็นการปฏิวัติภายใต้การนำของชนชั้นกลางที่ต้องการล้มระบอบอภิสิทธิ์และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบทำให้เกิดสงครามและเผยแพร่ความคิดของการปฏิวัติออกไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป

 60.    ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยมากที่สุด                                  

(1) อารยะขัดขืน

(2)ลัทธิอหิงสา                    

(3) สิทธิเสรีภาพ                 

(4) มนุษยธรรม                   

(5) ธรรมาธิปไตย

ตอบ  3   ดูคำอธิบายข้อ 1.  ประกอบ

 61.    ประเทศที่มีการปกครองแบบสหพันธรัฐ                        

(1) สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร

(2)สหราชอาณาจักรและประเทศไทย                           

(3) สหรัฐอเมริกาและมาเลเซีย

(4)มาเลเซียและญี่ปุ่น                                                        

(5) สหรัฐอเมริกาและไทย

ตอบ  3   หน้า 30 – 31         ระบบสหพันธรัฐ (Federal State) คือ ระบบที่มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างส่วนที่เป็นอำนาจของรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ ซึ่งรัฐบาลทั้งสองระดับจะมีขอบเขตอำนาจที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ตัวอย่างของประเทศที่มีการปกครองแบบสหพันธรัฐ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย เยอรมนี เม็กซิโก อินเดีย มาเลเซีย เป็นต้น (ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ)

 62.    คำว่า “United Kingdom” มีชื่อเต็มเรียกว่า

(1)    United Kingdom of England                                   

(2) United Kingdom of Great Britain

(3)Kingdom of England                                                   

(4) United Kingdom

(5) United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland

ตอบ  5   หน้า 61, (คำบรรยาย)         สหราชอาณาจักร (United Kingdom) มีชื่อเต็มเรียกว่า สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) ประกอบด้วย 4 ชนชาติ ได้แก่  
1. อังกฤษ (England) 52%                                 2. เวลส์ (Wales) 9%           
3. สกอตแลนด์ (Scotland) 33%                       4. ไอร์แลนด์เหนือ ( Northern Irelandป 6%

 63.    ชนชาติสำคัญส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรปัจจุบัน คือ                                                            

(1) นอร์แมน

(2)    สกอตแลนด์                                 

(3) ไอร์แลนด์                      

(4) อังกฤษ                           

(5) เวลส์

ตอบ  4   ดูคำอธิบายข้อ 62.  ประกอบ

 64.    ภายใต้ระบบรัฐสภาของสหราชอาณาจักร สถาบันสูงสุดของประเทศ คือ             

(1) สถาบันกษัตริย์

(2)สถาบันตุลาการ                             

(3) สถาบันบริหาร                                             

(4)สภาสามัญชน

(5) สภาขุนนาง

ตอบ  4   หน้า 56  ภายใต้หลักการประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาของสหราชอาณาจักร ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือ การมีผู้แทนของประชาชนเข้าไปสู่สภาสามัญชนหรือสภาล่าง (House of Commons) อันเป็นสภาที่มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง เข้าไปสู่ระบบการเลือกตั้งและการตัดสินใจทางการเมืองได้

 

65.    พรรคการเมืองที่สำคัญในสหราชอาณาจักร คือ                                                            

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับบลิกัน  

(3) พรรคอนุรักษนิยม 

 (4) พรรคโซเชียลเดโมแครต           

(5) พรรคสีเขียว

ตอบ  3   หน้า  64 ระบบพรรคการเมืองของสหราชอาณาจักรจะมีลักษณะเป็นระบบสองพรรค (Two – Party System) หมายความว่า มีพรรคการเมืองที่สำคัญและขนาดใหญ่เพียง 2 พรรค คือ พรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) และพรรคแรงงาน (Labour Party) ที่ผลัดกันได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและเป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาบริหารประเทศ

 66.    นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสหราชอาณาจักร คือ                                  

(1) David Cameron

(2) Tony Blair                     

(3) Gordon Brown            

(4) John Major                    

(5) Michael Martin

ตอบ  1   (ความรู้ทั่วไป)      นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสหราชอาณาจักร คือ นายเดวิด คาเมรอน (David Cameron) หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) โดยเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ต่อจากนายกอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) อดีตนายกรัฐมนตรีที่ได้ประกาศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553

 67.  ผู้ที่ได้รับสมญานามว่าเป็นผู้ผ่าตัดระบบรัฐวิสาหกิจของสหราชอาณาจักร คือ           

(1) Magaret Thatcher

(2) Tony Blair                     

(3) Gordon Brown                            

(4) John Major          

 (5) Michael Martin

ตอบ  1   (ความรู้ทั่วไป)      อดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรผู้ที่ได้รับสมญานามว่าเป็นผู้ผ่าตัดระบบรัฐวิสาหกิจ คือ นางมากาเร็ต แธตเชอร์ (Magaret Thatcher) ซึ่งได้มุ่งเน้นผลักดันแนวคิดเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและหน่ายงานอื่นๆ ของรัฐให้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์หรือแปรสภาพกลายเป็นองค์กรมหาชน ภายใต้หลักการของทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย

68.     ผู้ที่ใช้อำนาจในการยุบสภาของสหราชอาณาจักร คือ                                 

(1) พระมหากษัตริย์

(2)ประธานรัฐสภา            

(3) นายกรัฐมนตรี              

(4) ประธานสภาขุนนาง   

(5)มติของรัฐสภา

ตอบ  1   หน้า 69 – 70, (คำบรรยาย)ในสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐทรงมีพระราชที่จะยุบสภาได้แต่ก็เป็นการใช้อำนาจนั้นอย่างเป็นทางการและเป็นไปตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่สามารถตัดสินใจยุบสภาด้วยพระองค์เองได้โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจยุบสภาที่แท้จริง

69.    ข้อใดเป็นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรในระบบรัฐสภา                             

(1)การถอดถอนฝ่ายบริหาร

(2)การพิจารณาอนุมัติงบประมาณประจำปี                                                  

(3) การตีความกฎหมาย

(4)การแต่งตั้งองค์กรอิสระ                                                                              

(5) การวีโต้

ตอบ  2   (คำบรรยาย)          สภาผู้แทนราษฎรในระบบรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่หลัก ๆ ดังนี้
1.    การตรากฎหมาย            2. การควบคุมฝ่ายบริหาร เช่น การตั้งกระทู้ถาม การขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ และการพิจารณาอนุมัติร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี
3.    การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญต่าง ๆ

 70.        คณะรัฐมนตรีเงา (Shadow Cabinet) หมายถึง        

(1) คณะรัฐมนตรีที่ไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง

(3)    คณะรัฐมนตรีที่มาจากเสียงข้างน้อย                                       

(3) รัฐบาลผสม

(4)   คณะรัฐมนตรีของฝ่ายค้าน                                                       

(5) คณะรัฐมนตรีรักษาการ

ตอบ  4   (คำบรรยาย)          คณะรัฐมนตรีเงา (Shadow Cabinet) ในสหราชอาณาจักร หมายถึง คณะรัฐมนตรีของฝ่ายค้าน ซึ่งฝ่ายค้านจะตั้งคณะรัฐมนตรีเงาขึ้นมาเพื่อคอยติดตามการทำงานของคณะรัฐมนตรีชุดจริง โดยคณะรัฐมนตรีจะได้เป็นรัฐบาลก็ต่อเมื่อรัฐบาลชุดเดิมลาออกหรือเมื่อชนะการเลือกตั้งครั้งต่อไปและได้เสียงข้างมากในสภาเท่านั้น

71.        ประเทศใดที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก่อนไทยในปี 2475

(1)    มาเลเซียและอินโดนีเซีย                           

(2) อิตาลีและจีน                                 

(3) รัสเซียและฝรั่งเศส

(4)เวียดนามและลาว                          

(5) พม่าและกัมพูชา

ตอบ  3   (คำบรรยาย)          ประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก่อนไทยในปี พ.ศ.2475 (ค.ศ.1932) ได้แก่ฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789 โดยเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ และรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 โดยเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบสังคมนิยม

 72.        ประเทศที่เป็นต้นแบบการปกครองแบบรัฐสภา คือ                                                   

(1) สหรัฐอเมริกา

 (2)สหราชอาณาจักร                              

 (3) สกอตแลนด์                      

 (4) อินเดีย

(5) เยอรมนี

ตอบ  2   หน้า 55 – 56 สหราชอาณาจักร นับว่าเป็นต้นแบบของระบบการเมืองการปกครองที่สำคัญได้แก่
1.       การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา    2. ระบบรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3          ระบบรัฐบาลพลเรือน                                4. พรรคการเมืองระบบสองพรรค                   5.การมีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง ฯลฯ

 73.        ระบบรัฐสภาต่างจากระบบประธานาธิบดี คือ                                            

 (1) มีการถ่วงดุลอำนาจ

 (2) มีระบบคณะกรรมาธิการ                                                                           

 (3) มีองคมนตรี

 (4) มีรัฐสภาเป็นองค์กรสูงสุด                                                                        

 (5) มีการเลือกตั้งทุกองค์กร

ตอบ  4   ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ

 74.        ระบบรัฐสภา                                                                                      

(1) มีการแบ่งแยกอำนาจเด็ดขาด

 (2)มีรัฐบาลภายใต้การควบคุมของรัฐสภา                                         

 (3) มีความเสมอภาคของอำนาจทุกฝ่าย

 (4)มีการถ่วงดุลอำนาจ                                                                           

 (5) มีระบบคณะรัฐมนตรีที่เข้มแข็ง

ตอบ  2   ดูคำอธิบายข้อ 42.  ประกอบ

 75.        หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง                                       

(1) การปกครองโดยกฎหมาย

 (2)การปกครองด้วยเหตุผล                                                   

(3)การปกครองโดยผู้มีความรู้ทางกฎหมาย

(4) สถาบันนิติบัญญัติต้องเป็นองค์กรสูงสุด                    

(5) คำพิพากษาของศาลเป็นหลักการสูงสุด

ตอบ  1   หน้า 58, (คำบรรยาย)         หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การปกครองโดยกฎหมายซึ่งเป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) ในสหราชอาณาจักรโดยมีสาระสำคัญอยู่ที่การวางแนวทางเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน ความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ กระบวนการพิจารณาคดี การตีความและคำพิพากษาของศาล ตลอดจนการจำกัดอำนาจของผู้ปกครอง/เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ให้กระทำการอันขัดต่อกฎหมาย โดยไม่มีระบบศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองเหมือนในเยอรมนีหรือฝรั่งเศส

76.        Common Law  ในสหราชอาณาจักร หมายถึง                                                          

 (1) หลักรัฐธรรมนูญ

(2)หลักนิติธรรม 

(3) กฎหมายปกครอง         

(4) กฎหมายจารีตประเพณี               

(5) พระบรมราชโองการ

ตอบ  4   หน้า 58, (คำบรรยาย)         กฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) หรือกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรในสหราชอาณาจักร เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีและคำพิพากษาของศาล กล่าวคือ เมื่อมีคดีเกิดขึ้นและศาลได้พิจารณาพิพากษาไปแล้ว คำพิพากษาของศาลย่อมถือเป็นบรรทัดฐานของศาลอื่น ๆ ในการใช้พิจารณาพิพากษาคดีที่มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันในครั้งต่อไป (คดีที่มีข้อเท็จจริงเหมือนกัน จะต้องตัดสินเหมือนกัน)

 77.        สหราชอาณาจักรประกอบไปด้วย

(1)    England, Scotland, Wales, Northern Ireland        

(2) England, Scotland, Celts, Northern Ireland

(3)England, Normans, Celts, Asians                              

(4) United Kingdom, England, Wales, Ireland

(5) Great Britain, United Kingdom, England, Ireland

ตอบ  1   ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ

 78.        สาธารณรัฐอิตาลีมีการปกครองประชาธิปไตยในรูปแบบ                                                        

 (1) รัฐสภา

(2)กึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี        

(3) ประธานาธิบดี              

(4) กึ่งประธานาธิบดี     

 (5) กึ่งอำนาจนิยม

ตอบ  1   หน้า  150 – 151, 155, (คำบรรยาย)  สาธารณรัฐอิตาลีมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ( President of the Italian Republic) เป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในทางการเมืองโดยตรง และมีนายกรัฐมนตรี (President of the Council of Ministers) เป็นผู้นำฝ่ายบริหารซึ่งมีหน้าที่สำคัญ คือ ควบคุมดูแลการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรีให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือสอดคล้องกัน

 79.        ตำแหน่ง “President of the Italian Republic” ของอิตาลี หมายถึง                   

 (1) ประมุขแห่งรัฐ

(2)ผู้นำฝ่ายบริหาร             

(3) นายกรัฐมนตรี              

(4) ประธานรัฐสภา           

(5) ประธานสภาสูง

ตอบ  1   ดูคำอธิบายข้อ 78.  ประกอบ

 80.        ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอิตาลีมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า

(1)    First Minister                                                               

(2) Great Minister              

(3) President

(2)    President of the Council of Ministers     

(3)    (5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  4   ดูคำอธิบายข้อ 78.  ประกอบ

81.        นายกรัฐมนตรีของอิตาลีที่ได้ชื่อว่าร่ำรวยที่สุดในบรรดาผู้นำตะวันตก

(1)    Giorgio Napolitano                                    

(2) Silvio Berlusconi                          

(3) Francesco Cossiga

(4)  Carlo Azeglio                                              

(5) Benito Mussolini

ตอบ  2   (ความรู้ทั่วไป)      จากการจัดอันดับมหาเศรษฐีโลกโดยนิตยาสารฟอร์บส์ (Forbes) ในปี ค.ศ. 2010 ระบุว่า นายซิลวีโอ แบร์ลุสโคนี (Silvio Berlusconi) นายกรัฐมนตรีของอิตาลี เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในบรรดาผู้นำของประเทศตะวันตก โดยมีทรัพย์สินรวมกันเป็นมูลค่าทั้งสิ้นราว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
หมายเหตุ                นายซิลวีโอ  แบร์ลุสโคนี ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 โดยผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งแทนคือ นายมาริโอ มอนติ (Mario Monti)

 82.        ประมุขของประเทศต่างจากผู้นำฝ่ายบริหาร คือ                       

 (1) มีอำนาจถอดถอนฝ่ายบริหาร

(2)    มีอำนาจทางพิธีการต่าง ๆ                                                         

(3) มีอำนาจตามกฎหมาย

(4) อยู่เหนือกฎหมาย                                                                         

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  2   (คำบรรยาย)          ในการปกครองระบบรัฐสภา ประมุขของประเทศจะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจทางพิธีการต่าง ๆ เช่น การเป็นตัวแทนของประชาชนในการเข้าร่วมประกอบพิธีสำคัญ ๆ การเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ฯลฯ แต่ไม่มีอำนาจในการปกครอง โดยผู้ที่มีอำนาจในการบริหารปกครองประเทศอย่างแท้จริงก็คือ ผู้นำฝ่ายบริหาร

 83.        จุดอ่อนของประชาธิปไตยของไทย คือ                                        

 (1) มีรัฐบาลที่อ่อนแอ

(2) ความไร้เสถียรภาพของระบบการเมือง                                   

(3) ผู้คนไม่สนใจการเมือง

(4) ช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท                                

(5) มีการแบ่งขั้วการเมือง

ตอบ  1   (PS 202  เลขพิมพ์  48082  หน้า  82)             จุดอ่อนของประชาธิปไตยของไทย คือ การมีรัฐบาลที่อ่อนแอ ซึ่งจะเกิดขึ้นเสมอในกรณีที่ประเทศนั้น ๆ มีระบบหลายพรรค และเป็นพรรคการเมืองที่ไม่มีระเบียบวินัย รัฐบาลจึงมาจากพรรคผสมหลายฝ่าย โดยเมื่อใดก็ตามที่พรรคใดพรรคหนึ่งถอนตัวออกไป รัฐบาลก็ยากที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป เพราะมีเสียงสนับสนุนไม่เพียงพอ ดังนั้นเสถียรภาพของรัฐบาลจึงขึ้นอยู่กับความกลมเกลียวหรือประคับประคองกันไปได้ระหว่างพรรคต่าง ๆ ที่มาร่วมผสมเป็นพรรครัฐบาล

 84.        สิ่งที่ควรเป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทยเกี่ยวกับประชาธิปไตยในสหราชอาณาจักร

(1)    การจัดระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค

(2) การแบ่งอำนาจออกเป็นสามฝ่าย

(3)การธำรงไว้ซึ่งความต่อเนื่องของระบอบประชาธิปไตย

(4) การสร้างระบบตุลาการภิวัตน์                                   

(5) การเมืองใหม่

ตอบ  3  หน้า 55, (คำบรรยาย)         จากการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยพบว่า สหราชอาณาจักรสามารถธำรงไว้ซึ่งความต่อเนื่องของระบอบประชาธิปไตยมาได้จนถึงปัจจุบันโดยที่ไม่มีการใช้กำลังความรุนแรงหรือการทำปฏิวัติรัฐประหารเลยแม้แต่ครั้งเดียว

 85.        จุดเด่นของระบบประชาธิปไตยในอินเดีย คือ                            

 (1) มีความต่อเนื่องของระบบ

(2)มีผู้นำที่กล้าหาญทางจริยธรรม                                                   

(3) เน้นสันติวิธี

(4) ไม่มีการก่อการร้าย                                                                       

(5) ประชาชนตื่นตัว

ตอบ  3   (คำบรรยาย)          ในช่วงเวลาก่อนและหลังที่อินเดียจะรับเอกราชนั้นมี “การแบ่งขั้วทางการเมือง”ซึ่งมีพื้นฐานมาจากปัญหาความขัดแย้งทางศาสนา โดยเฉพาะระหว่างศาสนาฮินดูกับศาสนาอิสลามจนนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศเป็นปากีสถานในที่สุด หลังจากนั้นจึงมีการคาดการณ์กันว่าอินเดียจะต้องแบ่งแยกออกเป็นส่วนย่อย ๆ อีก แต่ด้วยคุณูปการที่มหาตมะ คานธี ได้มอบไว้ให้นั่นคือ “สัตยาเคราะห์” หรือ การต่อสู้/การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดย “สันติวิธี” ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของระบบประชาธิปไตยในอินเดีย รวมทั้งบทเรียนจากการแบ่งขั้วทางการเมืองดังกล่าวจึงทำให้อินเดียรอดพ้นจาการต้องแบ่งแยกประเทศอีก นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1947 จนถึงปัจจุบัน

 86.        สภาล่างในอินเดีย เรียกว่า

(1)    สวาราช        

(2) โลกสภา         

(3) ราชยสภา                       

(4) ภารตสภา      

(5) ฮินดูสภา

ตอบ  2   หน้า  300 – 302, (คำบรรยาย)           รัฐสภาอินเดีย ประกอบด้วย 2 สภา คือ
1.       สภาสูงหรือสภาผู้แทนรัฐหรือราชยสภา ( Rajya Sabha ) ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสมาชิก 250 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 245 คน โดยสมาชิก 12 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีทุก ๆ 2 ปี ส่วนอีก 233 คน มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม
2.       สภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎรหรือโลกสภา (Lok Sabha) มีสมาชิก 545 คน โดยสมาชิก 543 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง อีก 2 คน มาจากการคัดเลือกของประธานาธิบดี

 87.        ผู้ที่ถูกลอบสังหารในอินเดีย คือ

(1)    V.J.Singh                                     

(2) Martin Luther King                     

(3) Fidel Castro

(4) Benazir Butto                               

(5) Mohandas Gandhi

ตอบ  5   หน้า 286, (คำบรรยาย)       ปัญหาความขัดแย้งที่มีมาอย่างยาวนานและมักจะทำให้เกิดความรุนแรงภายในอินเดียก็คือ ปัญหาความขัดแย้งเรื่องศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างคนที่นับถือศาสนาฮินดูกับคนที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งถือเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การลอบสังหารมหาตมะ คานธี ( Mohandas Gandhi) จนถึงแก่อนิจกรรม

 88.        บทเรียนจากประสบการณ์ด้านประชาธิปไตยของอินเดีย คือ

(1)    การจัดตั้งรัฐบาลผสม                                                 

(2) ความเข้มแข็งชองฝ่ายบริหาร

(3)ความต่อเนื่องจากระบอบประชาธิปไตย                  

(4) การแก้ไขปัญหาด้วยรัฐสภา

(5) การแบ่งขั้วทางการเมือง

ตอบ  5   ดูคำอธิบายข้อ  85.  ประกอบ

 89.        ประเทศไทยต่างจากอินเดีย คือ                                     

 (1) ใช้ระบบรัฐสภา

(2)ผู้นำมีบารมี                                                                     

(3) ทหารยังมีบทบาททางการเมือง

(4) รัฐสภามีความอ่อนแอ                                                 

(5) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ตอบ  3  (คำบรรยาย)          จากการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 พบว่า ทหารยังคงเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลและมีบทบาทในทางการเมืองไทยมาโดยตลอด ทั้งการเข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง หรือการทำรัฐประหาร ฯลฯ ขณะที่อินเดีย นับตั้งแต่ที่ได้รับเอกราชในปี พ.ศ.2490 ก็สามารถรักษาความต่อเนื่องของระบอบประชาธิปไตยมาได้จนถึงปัจจุบัน โดยไม่ปรากฏว่าจะมีลักษณะแบบเดียวกันกับไทยตามที่กล่าวมาข้างต้นเลย

 

90.        สหราชอาณาจักรและไทยมีความคล้ายคลึงกัน คือ

(1)    เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

(2)    เป็นระบบกึ่งประชาธิปไตยและกึ่งอำนาจนิยม    

(3) มีลักษณะแบบสหพันธรัฐ

(4)มีพรรคการเมืองหลายพรรค                                      

(5) มีสถาบันตุลาการที่เข้มแข็ง

ตอบ  1   (คำบรรยาย)          ลักษณะที่คล้ายคลึงกันระหว่างสหราชอาณาจักรและไทย คือ มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร และใช้รูปแบบของรัฐเป็นแบบรัฐเดี่ยว

 91.        อินเดียเคยมีฐานะเป็นอาณานิคมของ                                                         

 (1) จีน

(2)ทิเบต                               

(3) ปากีสถาน                      

(4) อังกฤษ                           

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ  4  หน้า 277 – 278, (คำบรรยาย)                            อินเดียเคยมีฐานะเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) มาก่อน ดังนั้นจึงทำให้อินเดียได้รับอิทธิพลทางด้านต่าง ๆ จากสหราชอาณาจักรอย่างมากมาย เช่น ระบบการปกครองระบบรัฐสภา ระบบข้าราชการพลเรือนที่เข้มแข็งเสมือนกับโครงสร้างเหล็กกล้า ( Steel Frame) ระบบการศึกษา ระบบทหาร และระบบคมนาคม เป็นต้น

92.        การปกครองของอินเดียปัจจุบันเป็นแบบ                                   

 (1) รัฐสภา

(2)ประธานาธิบดี                                                                               

(3) กึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี

(4) แบบรวมศูนย์อำนาจ                                                                    

(5) แบบอาณาจักรโบราณ

ตอบ  1   หน้า  288              รัฐธรรมนูญอินเดีย กำหนดให้อินเดียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (Head of State) ในขณะที่อำนาจที่แท้จริงจะอยู่กับตัวนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Head of Government)

 93.        ผู้นำอินเดียที่เน้นการสร้างวัฒนธรรมในการต่อสู้แบบอารยะขัดขืน คือ

(1)    A.P.J.Abdul Kalam                                    

(2) Manmohan Singh                        

(3) Jawaharlal Nehru

(4) Indira Gandhi                                               

(5) Mohandas Gandhi

ตอบ  5   หน้า 280 – 283, (คำบรรยาย)               มหาตมะ  คานธี (Mohandas Gandhi) ผู้นำในการเคลื่อนไหวต่อสู้แบบอารยะขัดขืน (Civil Disobedience) เพื่อเรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักรได้นำเอาวิธีการต่อสู้ที่ตัวเขาเองเรียกว่า “สัตยาเคราะห์” หรือ “อหิงสา” เข้ามาใช้ในอินเดียซึ่งเป็นวิธีการต่อสู้ด้วยความจริงและการยึดมั่นในความสัตย์ที่ไม่ใช้กำลังรุนแรง แต่จะใช้วิธีการแสดงให้ฝ่ายตรงข้ามเห็นว่าอะไรเป็นความถูกต้องหรือเป็นสัจธรรม

 94.        ผู้ที่นำคำว่า สัตยาเคราะห์ มาใช้ในอินเดีย คือ

(1)A.P.J.Abdul Kalam                                      

(2) Manmohan Singh                        

(3) Jawaharlal Nehru

(4) Indira Gandhi                                               

(5) Mohandas Gandhi

ตอบ  5   ดูคำอธิบายข้อ 93.  ประกอบ

 95.        ผู้ที่ใช้วิธีการอบอาหารเพื่อประท้วงให้เกิดความสงบสุขในอินเดีย คือ

(1)    A.P.J.Abdul Kalam                                    

(2) Manmohan Singh                        

(3) Jawaharlal Nehru

(4 )  Indira Gandhi                                             

(5) Mohandas Gandhi

ตอบ  5  หน้า  286, (คำบรรยาย)      ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1947 อินเดียได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรโดยสมบูรณ์ ซึ่งก็ได้ทำให้อินเดียแตกเป็น 2 ประเทศ คือ อินเดียของชาวฮินดูและปากีสถานของมุสลิม กล่าวคือ ผู้ที่เป็นมุสลิมในอินเดียก็ต้องอพยพไปปากีสถาน และผู้ที่เป็นฮินดูในปากีสถานก็ต้องอพยพมาอินเดีย แต่ทั้งชาวมุสลิมและฮินดูก็ยังคงสู้รบกันอยู่ ดังนั้นมหาตมะ  คานธี ( Mohandas Gandhi) จึงประกาศอดอาหารเพื่อประท้วงให้เกิดความสงบสุขในอินเดียซึ่งก็ได้ทำให้ทั้งชาวมุสลิมและชาวฮินดู ยุติการสู้รบฆ่าฟันกัน

 96.        สภาสูงอินเดียคล้ายกับสภาสูงในประเทศใด                                                                             

(1) อังกฤษ

(2)    จีน                                 

(3) สหรัฐอเมริกา                               

 (4) รัสเซีย                           

 (5) ฝรั่งเศส

ตอบ  3   หน้า 108, 301, (คำบรรยาย)              ในประเทศอินเดียและสหรัฐอเมริกานั้น สภาสูงจะมีอำนาจนิติบัญญัติหรืออำนาจในการออกกฎหมายเท่าเทียมกับสภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากทั้งสองสภาต่างก็มาจากกระบวนการการเลือกตั้ง แต่จะแตกต่างกันที่จำนวนสมาชิกของทั้งสองสภานั้นจะไม่เท่ากัน

 97.        อินเดียใช้รูปแบบของรัฐแบบใด                                                                     

 (1) รัฐเดี่ยว

(2)สหพันธรัฐ                     

(3) สมาพันธรัฐ                  

(4) รัสเซีย            

(5) แบบรัฐรวมศูนย์อำนาจ

ตอบ  2   หน้า 288     รัฐธรรมนูญอินเดีย กำหนดให้อินเดียมีการจัดตั้งรัฐบาลเป็นแบบเอกรูป  

(Unitary Form) ในขณะที่ตัวรัฐเองหรือรูปแบบของรัฐนั้นจะเป็นแบบสหพันธรัฐ (Federal State)

 98.        ผู้ที่ดำรงนายกรัฐมนตรีของอินเดียที่นานที่สุด คือ

(1)    A.P.J.Abdul Kalam                                    

(2) Manmohan Singh                        

(3) Jawaharlal Nehru

(4 )  Indira Gandhi                                             

(5) Mohandas Gandhi

ตอบ  4   (คำบรรยาย)          นับตั้งแต่อินเดียได้รับเอกราช ตระกูลของนายเยาวหราล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) ถือว่าเป็นตระกูลที่ได้สืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดียมาอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุด กล่าวคือ นางอินทิรา  คานธี     (Indira Gandhi) บุตรสาวของนายเนห์รู เป็นอดีตนายรัฐมนตรีหญิงที่ได้ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด (ค.ศ. 1966 – 1977), (ค.ศ.1980 – 1984) และนายราชีพ คานธี (Rajiv Gandhi) บุตรชายของนางอินทิรา (ค.ศ. 1984 – 1989)

 99.        สัตยาเคราะห์ หมายถึง                                    

 (1) การพลีชีพ                                      

 (2) การกู้ชาติ

(3)  การอดอาหาร                                               

(4) การแสดงให้เห็นสัจธรรม          

(5) ความเสียสละ

ตอบ  4   ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

 100.    ข้อใดเป็นอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

(1)    การยุบสภา                                   

(2) การลงประชามติ                          

(3) การแต่งตั้งอัยการสูงสุด

(4)การยับยั้งกฎหมาย                        

(5) การประกาศวันเลือกตั้ง

ตอบ  4 หน้า 111 – 112, (คำบรรยาย)                รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดความสำคัญของตำแหน่งประธานาธิบดี ( President) ไว้ดังนี้
1.         เป็นประมุขแห่งรัฐ ( Head of State)     2. เป็นหัวหน้ารัฐบาล ( Head of Government )
3.     เป็นผู้นำกองทัพ ( Commander – in – Chief) หรือผู้บัญชาการทหารสูงสุด
4.    เป็นผู้มีอำนาจในการดูแลกิจการของสหพันธรัฐ ( Federal Affairs)
5.    เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรี        6. เป็นผู้มีอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ( Veto) ฯลฯ

 101.    สงครามระหว่างรัฐทางเหนือกับรัฐทางใต้ มีสาเหตุมาจากเรื่องใด                       

 (1) การล่าอาณานิคม

(2)    สงครามเย็น                                 

(3) ทาส                

(4) ถูกข้อ 1 และ 2              

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ  3   หน้า  96   สงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา ( American Civil War ) ในปี ค.ศ. 1861 – 1865 เป็นสงครามระหว่างกลุ่มรัฐทางเหนือ ( United States of America : The Union ) กับกลุ่มรัฐทางใต้ ( Confederate States of America : The Confederacy ) ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาความขัดแย้งเรื่องทาส โดยรัฐทางใต้ยังต้องการใช้แรงงานทาสในไร่ฝ้าย ในขณะที่รัฐทางเหนือได้ห้ามการใช้ทาสแล้ว นอกจากนี้อิทธิพลจากหนังสือนิยายของ Harriet Heecher Stowe เรื่อง “กระท่อมของลุงทอม” ( Uncle Tom’s Cabin ) ซึ่งทำให้เกิดความสำนึกในเรื่องระบบทาสและได้สร้างแรงผลักดันทางความคิดเกี่ยวกับเรื่องทาสและการทำแท้ง ก็ถือเป็นแรงกระตุ้นส่วนหนึ่งของปัญหาสงครามกลางเมืองครั้งนี้ด้วย

 102.    การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งล่าสุดมีขึ้นในปีใด

(1)    2002                              

(2) 2004                               

(3) 2006               

(4) 2008               

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  4  (ความรู้ทั่วไป)      รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา กำหนดให้การเลือกตั้งประธานาธิบดีในทุก ๆ 4 ปีจะต้องกระทำกันในวันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.2008 ซึ่งนายบารัก โอบามา ( Barack Obama) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคเดโมแครต (Democrat) เป็นผู้ที่ได้รับเลือกให้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา

 103.    ระบบการเมืองของสหรัฐอเมริกาไม่มีตำแหน่งใด                                                     

 (1) นายกรัฐมนตรี

(2)รองประธานาธิบดี                        

(3) รัฐมนตรี        

(4) ประธานาธิบดี              

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  1   หน้า  104              ระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี ( Presidential System) ของสหรัฐอเมริกาเป็นระบบที่ไม่มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นระบบที่มีการแบ่งแยกอำนาจอย่างเด็ดขาด (Separation of Powers) ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ซึ่งใช้ควบคู่ไปกับระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ (System of Checks and Balances) ซึ่งกันและกันระหว่างอำนาจทั้ง 3 ฝ่ายดังกล่าว

104.    นิยายเรื่องใดที่สร้างแรงผลักดันทางความคิดเกี่ยวกับเรื่องทาส                            

 (1) Harry Potter

(2)Uncle Tom’s Cabin                      

(3) Mulan                             

(4) Alice                               

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  2   ดูคำอธิบายข้อ 101. ประกอบ

 105.    ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบันเป็นประธานาธิบดีคนที่เท่าใด

(1)    42                                  

(2)  43                                   

(3)  44                   

(4)  45                   

(5)  46

ตอบ  3   ดูคำอธิบายข้อ 102.  ประกอบ

 106.    ผู้ที่ค้นพบดินแดนทวีปอเมริกามีชื่อว่าอย่างไร           

 (1) Aristotle         

 (2) Fidel Castro

(3)  Christopher Columbus                                              

(4) Tony Blair     

(5) Max Weber

ตอบ  3   หน้า 91, (คำบรรยาย)         คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ( Christopher Columbus) นักเดินเรือ ชาวอิตาเลี่ยน คือ ผู้ที่เดินทางไปค้นพบดินแดนทวีปอเมริกาเป็นคนแรกเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ.1492 ซึ่งต่อมาสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้วันที่ 12 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันหยุดราชการเพื่อรำลึกถึงโคลัมบัส ส่วนคำว่า America ก็มาจากชื่อนักเดินเรือชาวอิตาเลียนที่ชื่อ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) ผู้ที่เขียนบรรยายถึงโลกใหม่ซึ่งหมายถึงทวีปอเมริกา

 107.    รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. ใด

(1)    1786                              

(2)   1787                             

(3)  1788              

(4)  1789              

(5)  1790

ตอบ  4  หน้า  93, 102, (คำบรรยาย)               รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาถูกร่างขึ้นในปี ค.ศ. 1787 และประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1789 โดยมีนายจอร์จ วอชิงตัน (George Washington ) เป็นประธานกรรมการร่าง (ต่อมาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐฯ) และมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ซึ่งเป็นนักสังคมศาสตร์ทางรัฐศาสตร์จากยุโรปจำนวน 55 คน โดยเมื่อแรกเริ่มประกาศใช้ประกอบด้วยบทนำและมาตรา 7 มาตรา ทั้งนี้รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ มีการปรับปรุงแก้ไข ( Amendment ) มาแล้วทั้งสิ้น 27 ครั้ง ( 27 มาตรา )  โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1992

 108.    สหรัฐอเมริกามีรูปแบบของรัฐเป็นแบบใด

(1)    รัฐเดี่ยว                         

(2)  รัฐรวม                           

(3)  สหรัฐ            

(4)  สหพันธรัฐ   

(5) สมาพันธรัฐ

ตอบ  4   หน้า  102, (คำบรรยาย)      รูปแบบรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นแบบสหพันธรัฐ ( Federal State) ประกอบด้วยรัฐหรือมลรัฐต่าง ๆ ทั้งสิ้น 50 รัฐ ซึ่งแต่ละรัฐจะเรียกว่า State และอีก 1เขตการปกครอง (District) คือ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ( District of Columbia) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา

 109.    ระบบการเมืองการปกครองในสหรัฐอเมริกาคือการแยกอำนาจอย่างเด็ดขาด หลักการนี้มาจากแนวคิดของใคร

(1)    Marx             

(2)  Montesquieu

(3)  Locke            

(4)  Aristotle        

(5)  ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  2  หน้า  104              หลักการแยกอำนาจอย่างเด็ดขาด ( Separation of Powers) ในระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้น มาจากแนวคิดของมองเตสกิเออร์ (Montesquieu) ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในสหรัฐฯ อย่างจริงจังและชัดเจนควบคู่ไปกับระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ

 110.    ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาคือใคร

(1)    จอร์จ วอชิงตัน                            

(2)  อับราฮัม ลินคอล์น                      

(3)  จอห์น เอฟ. เคนเนดี

(4)  มาร์ติน แวน บิวเรน                    

(5)  วิลเลียม แมกคินลีย์

ตอบ  1   ดูคำอธิบายข้อ  107. ประกอบ

 111.    รัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกามีชื่อเรียกว่าอย่างไร

(1)    Province       

(2)  State              

(3)  Department                 

(4)  Lander          

(5)  Canton

ตอบ  2   ดูคำอธิบายข้อ  108.  ประกอบ

 112.    Impeachment  หมายความว่าอย่างไร

(1)    ระบบศาลสูง                                               

(2) ระบบสหพันธรัฐ                         

(3) ฝ่ายตุลาการ

(4) การเลือกตั้งประธานาธิบดี                                         

(5) การพิจารณาถอดถอนออกจากตำแหน่ง

ตอบ  5  หน้า  114, (คำบรรยาย)      การพิจารณาถอดถอนออกจากตำแหน่ง (Impeachment) หรือมาตรการการกล่าวโทษประธานาธิบดี หมายถึง กระบวนการถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากประพฤติผิดในหน้าที่การงาน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ประธานาธิบดีถูกพิจารณาถอดถอนออกจากตำแหน่ง มี 3 กรณี ได้แก่           1. เป็นกบฏหรือทรยศต่อชาติ 2. รับสินบน3. กระทำผิดอาญาอย่างร้ายแรง

 113.    วันชาติของสหรัฐอเมริกาคือวันใด

(1)    4 มิถุนายน       

(2)  14 มิถุนายน 

(3)  4  กรกฎาคม       

(4) 14 กรกฎาคม 

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  3  (คำบรรยาย)          วันชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (Independence Day) ตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคมของทุกปี ส่วนวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปีนั้น เป็นวันชาติของประเทศฝรั่งเศส

114.    ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกามีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี

(1)    2 ปี                 

(2)  3 ปี                                 

(3)  4 ปี                                 

(4) 5 ปี                  

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  3  หน้า  109        ประธานาธิบดี ( The President) และรองประธานาธิบดี (The Vice President) ของสหรัฐอเมริกา จะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน โดยตำแหน่งทั้งสองมีที่มาจากระบบการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งหมดแต่ไม่ใช่จากการเลือกตั้งโดยตรง

115.    ข้อใดหมายถึงผู้ว่าการรัฐ

(1)    President      

(2)  Secretary      

(3)  Governor                     

(4)  Agency         

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  3   (คำบรรยาย)          การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1.      การเลือกตั้งระดับชาติหรือสหพันธรัฐ ได้แก่ การเลือกตั้งประธานาธิบดี (The President) สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  2. การเลือกตั้งระดับมลรัฐ ได้แก่ การเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐ (Governor)    3. การเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ได้แก่ การเลือกตั้งนายอำเภอ ( Sheriff ) กรรมการโรงเรียน ( School Board ) ผู้จับสุนัข     ( Dog Catcher)

 

116.    สภาซีเนตมีจำนวนกี่คน

(1)    100 คน                         

(2) 150 คน                          

(3) 200 คน          

(4) 250 คน          

(5) 300 คน

ตอบ  1   หน้า 104 – 106    รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา ( Congress) มีสมาชิกทั้งสิ้น 535 คน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. สภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎร (The House) หมายถึงสภาที่เป็นตัวแทนประชาชนทุกคนของประเทศ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมาจากระบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง และให้เลือกผู้แทนได้เขตละ 1 คน ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 435 คน  2. สภาสูงหรือสภาผู้แทนรัฐหรือสภาซีเนต (The Senate) หมายถึงสภาที่เป็นตัวแทนของรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา โดยสมาชิกสภาผู้แทนรัฐ (Senator) จะมาจากการเลือกตั้งระดับรัฐและให้แต่ละรัฐมีผู้แทนได้รัฐละ 2 คน ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 100 คน

117.    ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่เคยถูกเสนอให้ไต่สวนเพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่งมาแล้วคือใคร

(1)    บิลล์ คลินตัน                                               

(2) ริชาร์ด นิกสัน                               

(3) แอนดรูว์ จอห์นสัน

(4) ถูกข้อ 1 และ 2                                              

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ  5   หน้า 114  อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่เคยถูกเสนอให้ไต่สวนเพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่ง ( Impeachment) มาแล้ว ได้แก่   1.  แอนดรูว์ จอห์นสัน ( Andrew Johnson)
2.ริชาร์ด  นิกสัน (Richard M. Nixon)                 3. บิลล์  คลินตัน (Bill Clinton)

 118.    ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใดเป็นผู้ประกาศเลิกทาส

(1)    แอนดรูว์  จอห์นสัน                                   

(2) อับราฮัม ลินคอล์น                       

(3) จอห์น ไทเลอร์

 (4)มิลลาร์ด  ฟิลล์มอ                                            

 (5) มาร์ติน  แวน  บิวเรน

ตอบ  2   หน้า 95, 97           หลังจากสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1865 อดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincol) ก็ได้ประกาศกฎหมายเลิกทาสซึ่งมีผลในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1865 แต่ปัญหาที่เกิดตามมาจนถึงปัจจุบันก็คือ ปัญหาการเหยียดผิว (Racial Discrimination) โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนผิวดำ

119.    ข้อใดคือระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

(1)    Popular Vote                                               

(2) One Man One Vote                     

(3) Electoral Vote

(4)  ถูกข้อ 1 และ 2                                             

(5) ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ  5   หน้า 109 – 110, (คำบรรยาย)                 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะใช้ระบบการลงคะแนน 2 ขั้นตอน คือ
1.       ประชาชนลงคะแนน (Popular Vote) เพื่อเลือกคณะผู้เลือกตั้ง ( Electoral College ) ในเดือนพฤศจิกายน
2.       คณะผู้เลือกตั้งลงคะแนน (Electoral Vote) เพื่อเลือกประธานาธิบดีแทนประชาชนในเดือนธันวาคม ซึ่งคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งจะเป็นเสียงชี้ขาดที่จะทำให้ทราบว่าผู้ใดจะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

 120.    รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อแรกเริ่มประกาศใช้มีกี่มาตรา

(1)     6 มาตรา       

(2) 7 มาตรา         

(3) 8 มาตรา         

(4) 9 มาตรา         

(5) 10 มาตรา

ตอบ  2   ดูคำอธิบายข้อ 107.  ประกอบ


MY  LECTURE
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 11/07/2024 08:04
1
อ้างอิง

competitorbeautiful

This blog has become a source of inspiration and motivation for me, guiding me through life's challenges with grace and resilience. fireboy and watergirl

 
competitorbeautiful oinkerphysicist@gmail.com [172.71.218.xxx] เมื่อ 11/07/2024 08:04
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :