แจง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ หาก จนท. ขอเอกสารเพิ่มเกิน 1 ครั้ง มีความผิด |
|
อ้างอิง
อ่าน 388 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|

แจง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ หาก จนท. ขอเอกสารเพิ่มเกิน 1 ครั้ง มีความผิด
′วิษณุ′ แจง พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกขอเอกสารราชการ ระบุเป็น กม.เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการติดต่อกับส่วนราชการ เผยเตรียมตั้ง 'ศูนย์บริการร่วม' ระหว่างกระทรวงและจังหวัด หากเจ้าหน้าที่ขอเอกสารเพิ่มเกิน 1 ครั้ง มีความผิด
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย พร้อมด้วย นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ ก.พ.ร. ร่วมแถลงข่าว 'พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558
โดยนายวิษณุ ระบุว่า ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูประบบราชการ แก้ปัญหาคอร์รัปชัน และให้ข้าราชการจริงใจในการทำงานให้กับประชาชน ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้ภายใน 180 วัน หรือ ในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากให้หน่วยงานราชการได้เตรียมตัว ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้รับบริการ ที่มาติดต่อกับหน่วยงานราชการในการขอเอกสารประกอบอาชีพและขออนุญาตบางอย่างเช่นการก่อสร้างบ้าน
โดยใจความสำคัญคือทำให้ประชาชนทราบขั้นตอนการยื่นคำขอระยะเวลาในการขอเอกสารรวมถึงมีการกำหนดค่าธรรมเนียมในการใช้บริการอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการทุจริตและการเสียโอกาส อาทิ การกำหนดระยะเวลาในการต่ออายุเอกสารที่อาจจะก่อให้เกิดความยุ่งยาก จนทำให้บางคนต้องซื้อความสะดวก และบางประเทศละทิ้งการลงทุนในไทยไปยังประเทศอื่น
ทั้งนี้หน่วยงานราชการจะต้องทำคู่มือหรือชี้แจงไว้ในเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องในการขอเอกสารโดยจะนำร่องในกรมที่มีประชาชนใช้บริการมากที่สุด10 กรมจาก 150 กรมก่อน ซึ่งในการดำเนินการหากมีเอกสารนอกเหนือจากคู่มือหน่วยงานราชการมีสิทธิเรียกร้องขอได้เพียงครั้งเดียว มิเช่นนั้นจะถือว่ามีความผิด และเอกสารดังกล่าวจะต้องผ่านการพิจารณาของ ก.พ.ร.และให้ ครม.ตรวจสอบด้วย โดยจะต้องตัดเอกสารที่ไม่จำเป็นออก
อย่างไรก็ตามหน่วยงานจะต้องแจ้งผลให้ประชาชนทราบใน 7 วันนับตั้งแต่วันที่ขอเข้ารับบริการในกรณีไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ และลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ รวมถึงเปิดเผยขั้นตอนการทำงานให้ทราบทุกขั้นตอน
พร้อมกันนี้ในอนาคตจะบูรณาการ ′ศูนย์บริการร่วม′ ของหน่วยงานกระทรวงและจังหวัด ที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว ให้สามารถรับคำขอบริการหน่วยงานต่าง ๆ แต่ละกรม ภายใต้บริการเดียวกัน และพัฒนาไปสู่การตั้ง ′ศูนย์รับคำขออนุญาต′ ที่รับอำนาจส่วนกลางมาตั้งเป็นศูนย์กลางให้ประชาชนสามารถยื่นคำขอในจุดเดียว แบบวันสต๊อปเซอร์วิซ ให้เกิดความรวดเร็ว ทั้งนี้หากเจ้าหน้าที่รับเงินประชาชนในการต่ออายุใบอนุญาตมา ให้ถือว่า รับดำเนินการทันที
นายวิษณุยังได้ยกตัวอย่างการขอใบอนุญาตโรงงาน ซึ่งหากนักลงทุนต่างชาติมาขออนุญาตแล้วไม่สามารถดำเนินการได้อาจจะจ่ายเงินเพื่อให้เกิดความสะดวกซึ่งก่อให้เกิดการทุจริตหรืออาจจะไม่รอการดำเนินการแต่ไปลงทุนในประเทศอื่นแทน หรืออาจจะตั้งโรงงานโดยไม่มีใบอนุญาต สิ่งเหล่านี้คือปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่สะดวกทำให้รัฐต้องเข้ามาแก้ไข ทั้งนี้เชื่อว่า พ.ร.บ.นี้จะช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม พร้อมจะเสนอเพิ่มเติมว่าหากหน่วยงานไม่ทำตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะถือว่ามีวินัยร้ายแรง และหากล้าช้าประชาชนสามารถฟ้องต่อศาลปกครองและศาลยุติธรรมในฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ได้
ด้านนายพงษ์อาจกล่าวว่าหลังจากนี้จะมีการจัดเวทีชี้แจง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้กับส่วนราชการต่างๆได้รับทราบทั่วประเทศภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยจะจัดคลีนิกให้คำปรึกษา 20 กระทรวง และ 76 จังหวัด ในเดือนมีนาคม เพื่อให้คำปรึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับร่างคู่มือสำหรับประชาชนที่หน่วยงานมีการจัดทำไว้แล้ว
นายวิษณุ ยังได้มอบแนวทางในการดำเนินการ คือ ′faster′ การปฏิบัติงานให้เร็วขึ้น ′cheaper′ การเก็บค่าบริการที่ถูกลงรวมถึงต้นทุนภาครัฐด้วย และ ′easier′ การให้บริการประชาชนที่ง่ายกว่าเดิม
ที่มา. มติชนออนไลน์
พรบ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558
โดยสรุป คือ การกำหนดส่วนราชการที่รับคำขอ จะต้องพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จโดยเร็ว จะอ้างว่า หลักฐานไม่ครบถ้วนแล้วปฏิเสธ หรือคืนคำขอไม่ได้
ทั้งนี้ ส่วนราชการจะต้องจัดทำคู่มือให้ชัดเจนว่าประชาชนจะต้องดำเนินการอย่างไร และให้สำนักนายกรัฐมนตรี พิจารณาจัดตั้งศูนย์รับคำขอไว้ และให้ จนท. สนร. ดำเนินการเช่นเดียวกับ จนท. ที่มีอำนาจหน้าที่ หากมีการดำเนินการล่าช้า กว่าที่กฎหมายกำหนด ให้ดำเนินการทางวินัยอย่างจริงจัง
ประโยชน์ของ พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวก
1. ช่วยอำนวยความสะดวก ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายของประชาชน
2. ลดความยุ่งยากซับซ้อนและลดระยะเวลาในการติดต่อราชการ ซึ่งเป็นการลดเงื่อนไขที่นำไปสู่การเรียกรับสินบน ของข้าราชการ จาก ประชาชน พ่อค้า นักธุรกิจ
3. ลดเงื่อนไขที่สร้างความไม่เท่าเทียมในการแข่งขันทางการค้า
4. ช่วยให้สามารถใช้ศักยภาพของระบบสารสนเทศ (IT.) ที่รัฐได้ลงทุนไปแล้วในรอบ 3-4 ปีที่ผ่านมา ประมาณ 4 พันล้านบาท อย่างคุ้มค่า
5. สร้างความน่าเชื่อถือในการติดต่อลงทุนให้กับนักลงทุนต่างชาติ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตจํานวนมาก การประกอบกิจการของประชาชนจะต้องขออนุญาตจากส่วนราชการหลายแห่ง อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตบางฉบับไม่ได้กําหนดระยะเวลา เอกสารและหลักฐานที่จําเป็น รวมถึงขั้นตอนในการพิจารณาไว้ทําให้เป็นอุปสรรคต่อประชาชนในการยื่นคําขออนุญาตดําเนินการต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อให้มีกฎหมายกลางที่จะกําหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต และมีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคําร้องและศูนย์รับคําขออนุญาต ณ จุดเดียว เพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขออนุญาตซึ่งจะเป็นการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินั้น
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
คลิ๊กที่นี่ >>
โหลดไปดูตรงนี้
http://www.opdc.go.th/uploads/files/2558/23012015.pdf
หรือ
http://www.slideshare.net/valrom/2558-44397184
หรือ
http://upload.ohozaa.com/download/43717/2558pdf
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|