ทบทวนแนวข้อสอบท้องถิ่นที่เคยออกสอบ |
|
อ้างอิง
อ่าน 315 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
ทบทวนแนวข้อสอบท้องถิ่นที่เคยออกสอบ
โดยประพันธ์ เวารัมย์
*************************
1. ใครมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือก นายก อบจ. หรือ ปลัด อบจ. เพื่อเป็นผู้แทน อบจ. ในการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกลางข้าราชการ อบจ.
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย*
ค. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
*********************************************
2. การดำเนินการใดของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. การส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ข้าราชการ อบจ.*
ข. การกำหนดหลักเกณฑ์การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการ อบจ.
ค. การกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงานของข้าราชการ อบจ.
ง. การลงโทษทางวินัยของข้าราชการ อบจ.
*********************************************
3. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 คือใคร
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย*
*********************************************
4. การพิจารณาสั่งการในกรณีที่ปรากฏว่าส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจไม่ดำเนินการตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเสนอความเห็นดังกล่าวต่อใคร
ก. นายกรัฐมนตรี*
ข. คณะรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง. รัฐสภา
*********************************************
5. บุคคลใดต่อไปนี้มีคุณสมบัติเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ก. ข้าราชการประจำ
ข. สมาชิกสภาท้องถิ่น
ค. อาจารย์มหาวิทยาลัย*
ง. พนักงานรัฐวิสาหกิจ
*********************************************
6. ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มาโดยวิธีใด
ก. การแต่งตั้ง
ข. การเลือกตั้ง
ค. การสรรหา*
ง. การเสนอชื่อ
***********************************************
7. รายรับใดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน
ก. ค่าบริการอื่นๆ
ข. เงินค่าตอบแทน
ค. รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร*
ง. รายได้จากสาธารณูปโภค
*********************************************
8. บุคคลใดต่อไปนี้ไม่ได้เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์*
*********************************************
9. เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้นายกเมืองพัทยาเผยแพร่รายรับ รายจ่าย พร้อมรายการผูกพันที่เบิกตัดปีงบ
ประมาณให้ประชาชนทราบภายในกี่วัน
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน*
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
******************************************
10. กรณีสภาเมืองพัทยาไม่เห็นชอบกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและรายจ่ายเพิ่มเติม ให้สภาเมืองพัทยาแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาหาข้อยุติ โดยกำหนดคณะกรรมการดังกล่าวไว้กี่คน
ก. 8 คน
ข. 15 คน*
ค. 17 คน
ง. 20 คน
*************************************************
11. ถ้าให้ปลัดเมืองพัทยาหรือรองปลัดเมืองพัทยาเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกเมืองพัทยาต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง
ข. มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือ
ค. ทำเป็นคำสั่งและเสนอผู้ว่าพิจารณา
ง. ทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ*
***************************************************
12. ถ้าให้รองนายกเมืองพัทยาเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกเมืองพัทยาต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง
ข. มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือ*
ค. ทำเป็นคำสั่งและเสนอผู้ว่าพิจารณา
ง. ทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ
****************************************************
13. เมื่อนายกเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่ง ให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
ก. 60 วัน
ข. 45 วัน *
ค. 30 วัน
ง. 15 วัน
*********************************************
14. เมื่อนายกเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่ง ให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
ก. 60 วัน
ข. 45 วัน
ค. 30 วัน
ง. 15 วัน
******************************************
15. กรณีตำแหน่งประธานสภาเมืองพัทยาหรือรองประธานสภาเมืองพัทยาว่างลง ให้มีการเลือกสมาชิกเพื่อดำรงตำแหน่งแทนภายในกี่วันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ก. 60 วัน
ข. 45 วัน
ค. 30 วัน
ง. 15 วัน*
*********************************************
16. กรณีตำแหน่งสมาชิกสภาเมืองพัทยาว่างลงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่กำหนดไว้คือ 24 คน จะต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาสั่งยุบสภา*
ข. นายกเมืองพัทยาลาออกและให้มีการเลือกตั้งใหม่
ค. ประธานสภาเมืองพัทยา เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้มีคำสั่งยุบสภา
ง. ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
************************************************
12. กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเมืองพัทยาลาออก ต้องยื่นหนังสือลาออกต่อใคร
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข. ประธานสภาเมืองพัทยา*
ค. ปลัดจังหวัด
ง. นายกเมืองพัทยา
********************************************
13. บุคคลใดต่อไปนี้ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา
ก. ภิกษุ สามเณร
ข. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ค. ทหารที่อยู่ชายแดนห่างจากเขตการเลือกตั้ง *
ง. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
************************************************
14. สภาเมืองพัทยามีสมาชิกจำนวนกี่คน
ก. 18 คน
ข. 24 คน *
ค. 12 คน
ง. 36 คน
********************************************************
15. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 คือใคร
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย *
******************************************
16. เมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ ให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลภายในกี่วัน นับแต่วันที่ประกาศตั้งหมู่บ้านใหม่
ก. 45 วัน
ข. 60 วัน*
ค. 90 วัน
ง. 120 วัน
*****************************************
17. หากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลว่างลงด้วยเหตุอื่นนอกจากครบวาระ ต้องให้มีการเลือกตั้งภายในกี่วันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง
ก. 45 วัน
ข. 60 วัน *
ค. 90 วัน
ง. 120 วัน
********************************************
18. ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาตำบลต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านของหมู่บ้านในตำบลที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. ไม่น้อยกว่า 1 ปี จนถึงวันประกาศรับเลือกตั้ง
ข. ไม่น้อยกว่า 1 ปี จนถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง*
ค. ไม่น้อยกว่า 5 ปี จนถึงวันประกาศรับเลือกตั้ง
ง. ไม่น้อยกว่า 5 ปี จนถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
****************************************
19. กรณีสมาชิกสภาตำบลลาออกต้องยื่นหนังสือลาออกต่อใคร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ*
ง. ปลัดอำเภอ
******************************************************
20. ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาตำบลคือใคร
ก. นายอำเภอ
ข. ปลัดอำเภอ
ค. ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการเสนอชื่อ
ง. กำนัน*
****************************************************
21. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่วันใด
ก. วันสมัครรับเลือกตั้ง
ข. วันประกาศผลการเลือกตั้ง
ค. วันเลือกตั้ง*
ง. วันที่เข้ารับตำแหน่งที่องค์การบริหารส่วนตำบล
*********************************************
22. พัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นของไทย เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด
ก. รัชกาลที่ 5 *
ข. รัชการที่ 6
ค. รัชการที่ 7
ง. รัชการที่ 7
*************************************
23. การปกครองท้องถิ่นแห่งแรกที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัดคือที่ใด
ก. สุขาภิบาลบางปะกง เมืองฉะเชิงเทรา
ข. สุขาภิบาลกรุงเทพ
ค. สุขาภิบาลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร*
ง. สุขาภิบาลมหาชัย เมืองสมุทรสาคร
***********************************
24. การปกครองท้องถิ่น มีแนวคิดเกี่ยวกับหลักการจัดระเบียบการปกครองประเทศเป็นแบบใด
ก. การกระจายอำนาจ*
ข. การแบ่งอำนาจ
ค. การรวมอำนาจ
ง. การไม่เป็นเมืองขึ้น
*****************************************
25.ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ตราธรรมนูญการปกครองคณะนครภิบาลดุสิตธานี พ.ศ.2461 เพื่อทดลองรูปแบบเมืองจำลอง'ดุสิตธานี' นับเป็นการปกครองในรูปเทศบาลครั้งแรก โดยนำรูปแบบการปกครองดังกล่าวมาจากประเทศใด
ก. ประเทศจีน
ข. ประเทศอังกฤษ*
ค. ประเทศฝรั่งเศส
ง. ประเทศอินเดีย
******************************************
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|