สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1712767
แสดงหน้า2186341
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




รวมแนวข้อสอบท้องถิ่น (จะสู้สุดฤทธิ์ หากยังมีลมหายใจ)

รวมแนวข้อสอบท้องถิ่น (จะสู้สุดฤทธิ์ หากยังมีลมหายใจ)
อ้างอิง อ่าน 949 ครั้ง / ตอบ 12 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
1. การตั้ง การยุบ เปลี่ยนแปลง เขตอำเภอให้ออกเป็นกฎหมายใด
ก. มติคณะรัฐมนตรี
ข. พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง
ง. พระราชบัญญัติ
จ. ประกาศกระทรวงมหาดไทย
**********************************

ตอบ ข. พระราชกฤษฎีกา
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน .. 2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) .. 2553]
มาตรา 61     ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่าอำเภอ
           การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนเขตอำเภอ ให้
ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
1
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
2. ผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการจังหวัดในจังหวัด ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ท้องถิ่นจังหวัด
ข. ปลัดจังหวัด
ค. ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด
ง. รองผู้ว่าราชการจังหวัด
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************

ตอบ ก. ท้องถิ่นจังหวัด
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน .2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8..2553]
มาตรา 54 ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ และจะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
           รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการรองจากผู้ว่าราชการจังหวัด
           ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดสังกัดกระทรวงมหาดไทย
           มาตรา 55  ในจังหวัดหนึ่ง นอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของจังหวัดดังกล่าวในมาตรา 54 ให้มี
ปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งมาประจำทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัดนั้น


 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 20/02/2015 16:56
2
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
3.อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. เสนองบประมาณต่อกระทรวง แล้วรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
ข. ประสานงานกับทหาร – ตุลาการ – อัยการ – มหาวิทยาลัย – สตง. – ครู
ค. กำกับดูแล ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ
ง. บริหารราชการตามคำแนะนำและชี้แจงของผู้ตรวจการกระทรวง
จ. กำกับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
**********************************

ตอบ ข้อ ค. กำกับดูแล ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน .2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8..2553]

มาตรา 57      ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
           (1) บริหารราชการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และตามแผนพัฒนาจังหวัด
           (2)   บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
           (3)   บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวงในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
           (4)   กำกับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครู ให้ปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี หรือยับยั้งการกระทำใดๆ ของข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรมมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราวแล้วรายงานกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
         
 (5)      ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการและหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนาจังหวัดหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
            (6) เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หรือเสนอขอจัดตั้งงบประมาณต่อสำนักงบประมาณตามมาตรา 52 วรรคสาม และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
            (7) กำกับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย
            (8)   กำกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอำนาจทำรายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
           (9)   บรรจุ แต่งตั้ง ให้บำเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดตามกฎหมาย และตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีมอบหมาย


 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 20/02/2015 17:05
3
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
4. ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวไม่ถูกต้อง
ก. จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ข. ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมเป็นคณะกรมการจังหวัดด้วย
ค. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จ. ให้รวมท้องที่หลายๆอำเภอขึ้นเป็นจังหวัด
**********************************

ตอบ ง. การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553]
มาตรา 52     ให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
           การตั้ง ยุบ และเ
ปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

มาตรา 53 ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด
           คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่างๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง หรือทบวงละหนึ่งคน เป็นกรมการจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
           ถ้ากระทรวงหรือทบวงมีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกรมต่างๆ ในกระทรวงหรือทบวงนั้นส่งมาประจำอยู่ในจังหวัดมากกว่าหนึ่งคน ให้ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวงกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหนึ่งคนเป็นผู้แทนของกระทรวงหรือทบวงในคณะกรมการจังหวัด
           ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรจะแต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็ได้

 มาตรา 71/9 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ ก.พ.ร. และหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือ ก.พ.ร. กำหนด โดยมีเลขาธิการ ก.พ.ร. ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี


 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 20/02/2015 17:20
4
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
5.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.พ.ร. มีจำนวนตามข้อใด
ก. ไม่เกิน 3 คน
ข. ไม่เกิน 5 คน
ค. ไม่เกิน 7 คน
ง. ไม่เกิน 9 คน
จ. ไม่เกิน 10 คน
**********************************

ตอบข้อ จ. ไม่เกิน 10 คน

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553]

มาตรา 71/1   ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ร.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน รัฐมนตรีหนึ่งคนที่นายกรัฐมนตรีกำหนดเป็นรองประธาน ผู้ซึ่งคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมายหนึ่งคน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินสิบคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในทางด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์รัฐศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ การบริหารธุรกิจ การเงินการคลัง จิตวิทยาองค์การ และสังคมวิทยาอย่างน้อยด้านละหนึ่งคน
 ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผล คณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคนต้องทำงานเต็มเวลาก็ได้
           เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง
           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจากรายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอโดยวิธีการสรรหา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 20/02/2015 17:25
5
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
6. ผู้รักษาตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553 คือใคร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ง. รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
จ. นายกรัฐมนตรี
**********************************

ตอบ ข้อ จ. นายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553]

มาตรา 6 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 20/02/2015 17:30
6
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
7. การรวม หรือการโอน ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณต้องตรวจสอบมิให้การกำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกี่ปี
ก. 1 ปี
ข. 2 ปี
ค. 3 ปี
ง. 4 ปี
จ. 5 ปี
**********************************

ตอบ ข้อ ค. 3 ปี
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553]

มาตรา 8 ทวิ การรวมหรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา 7 ไม่ว่าจะมีผลเป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
           พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ การโอนอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งส่วนราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม การโอนข้าราชการและลูกจ้าง งบประมาณรายจ่าย รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินเอาไว้ด้วย แล้วแต่กรณี
           ให้
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณมีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่ถูกรวมหรือโอนไปตามวรรคหนึ่ง เพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ


 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 20/02/2015 17:42
7
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
8. การจัดตั้ง การรวมหรือ การโอน ส่วนราชการ ที่มีผลในการกำหนดอัตราข้าราชการขึ้นใหม่ต้องตราเป็นกฎหมายใด
ก. ประกาศกระทรวง
ข. กฎกฎกระทรวง
ค. พระราชกำหนด
ง. พระราชกฤษฎีกา
จ. พระราชบัญญัติ
**********************************


ตอบ ข้อ จ. พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553]
มาตรา 7 ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้
           (1)   สำนักนายกรัฐมนตรี
           (2)   กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
           (3)   ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
           (4)   กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
           สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง
           ส่วนราชการตาม (1) (2) (3) และ (4) มีฐานะเป็นนิติบุคคล

          
มาตรา 8   การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา 7 ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
           การจัดตั้งทบวงโดยให้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง ให้ระบุการสังกัดไว้ในพระราชบัญญัติด้วย
           การจัดตั้งกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ให้ระบุการไม่สังกัดไว้ในพระราชบัญญัติด้วย
         
           มาตรา ๘ ทวิ การรวมหรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา 7 ไม่ว่าจะมีผลเป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
           พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ การโอนอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งส่วนราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม การโอนข้าราชการและลูกจ้าง งบประมาณรายจ่าย รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินเอาไว้ด้วย แล้วแต่กรณี
           ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณมีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่ถูกรวมหรือโอนไปตามวรรคหนึ่ง เพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ
          
           มาตรา 8 ตรี การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการตามมาตรา 7 ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่ชื่อตำแหน่งของข้าราชการในส่วนราชการนั้นเปลี่ยนไปให้ระบุการเปลี่ยนชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย
 
           บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นอื่น ประกาศ หรือคำสั่งใดที่อ้างถึงส่วนราชการหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นอื่น ประกาศหรือคำสั่งนั้นอ้างถึงส่วนราชการหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ได้เปลี่ยนชื่อนั้น

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 20/02/2015 17:59
8
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
9. การรวม หรือการโอน กระทรวง ทบวง กรม ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่ม ให้ตราเป็นกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติ
ข. พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง
ง. พระราชกำหนด
จ. ประกาศกระทรวง
**********************************

ตอบ ข้อ ข. พระราชกฤษฎีกา

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553]
มาตรา 7 ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้
           (1)   สำนักนายกรัฐมนตรี
           (2)   กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
           (3)   ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
           (4)   กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
           สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง
           ส่วนราชการตาม (1) (2) (3) และ (4) มีฐานะเป็นนิติบุคคล

      
     มาตรา 8   การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา 7 ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
           การจัดตั้งทบวงโดยให้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง ให้ระบุการสังกัดไว้ในพระราชบัญญัติด้วย
           การจัดตั้งกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ให้ระบุการไม่สังกัดไว้ในพระราชบัญญัติด้วย
         
           มาตรา ๘ ทวิ การรวมหรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา 7 ไม่ว่าจะมีผลเป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ 
ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
           พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ การโอนอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งส่วนราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม การโอนข้าราชการและลูกจ้าง งบประมาณรายจ่าย รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินเอาไว้ด้วย แล้วแต่กรณี
           ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณมีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่ถูกรวมหรือโอนไปตามวรรคหนึ่ง เพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ
          
           มาตรา 8 ตรี การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการตามมาตรา 7 ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่ชื่อตำแหน่งของข้าราชการในส่วนราชการนั้นเปลี่ยนไปให้ระบุการเปลี่ยนชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย
 
           บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นอื่น ประกาศ หรือคำสั่งใดที่อ้างถึงส่วนราชการหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นอื่น ประกาศหรือคำสั่งนั้นอ้างถึงส่วนราชการหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ได้เปลี่ยนชื่อนั้น

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 20/02/2015 18:04
9
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
10. สำนักนายรัฐมนตรีมีเป็นฐานะตามข้อใด
ก. ส่วนราชการ
ข. ทบวง 
ค. กรม
ง. กระทรวง
จ. องค์กรอิสระ
**********************************

ตอบข้อ ง. กระทรวง
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553]

มาตรา 7 ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้
           (1)   สำนักนายกรัฐมนตรี
           (2)   กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
           (3)   ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
           (4)   กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
         
  สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง
           ส่วนราชการตาม (1) (2) (3) และ (4) มีฐานะเป็นนิติบุคคล

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 20/02/2015 18:17
10
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
11. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายในสำนักนายกรัฐมนตรี
ก. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง. รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
จ. นายกรัฐมนตรี
**********************************


ตอบ ข้อ จ. นายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553]
 
มาตรา 9 การจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
           ให้ส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีบรรดาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นกรม
           สำนักนายกรัฐมนตรีอาจจัดให้มีส่วนราชการเป็นการภายในขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ เพื่อการนี้นายกรัฐมนตรีจะสั่งให้กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรีจัดทำก็ได้

 
มาตรา 10    สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
          
สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ โดยจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
           ในกรณีที่มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือมีทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี การสั่งและการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
           ในระหว่างที่คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่เพราะนายกรัฐมนตรีตาย ขาดคุณสมบัติ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง หรือวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนจากตำแหน่ง ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
           ในระหว่างที่คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ให้คณะรัฐมนตรีดังกล่าวอำนวยความสะดวกให้หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ดำเนินการใดๆ เท่าที่จำเป็น เพื่อรับแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่มาเตรียมการดำเนินการได้

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 20/02/2015 18:31
11
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
12.ผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวง นอกเหนือจากสำนักนายกรัฐมนตรี คือใคร
ก. ปลัดกระทรวง
ข. อธิบดี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ง. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมาย
จ. นายกรัฐมนตรี
**********************************

ตอบ ข้อ ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553]

มาตรา 20     ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 11 ในกระทรวงหนึ่ง ให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรืออนุมัติ โดยจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
           ในกรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมาย
           ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่มิได้สังกัดกระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงปฏิบัติราชการแทนก็ได้

มาตรา 11     นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
           (1)   กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
           (2)   มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง
           (3)   บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
           (4)   สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
           (5)   แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งมีฐานะเสมือนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดำรงตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
           (6)   แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง
           (7)   แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
           (8)   วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
           (9)   ดำเนินการอื่นๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย
           ระเบียบตาม (8) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ใช้บังคับได้

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 21/02/2015 07:59
12
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
13.ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนะทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ข. ปลัดกระทรวง
ค. อธิบดี
ง. ผู้อำนวยการกอง
จ. เลขานุการรัฐมนตรี
**********************************

ตอบข้อ ค. อธิบดี
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553]
มาตรา 32 กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
           ใน
กรมหนึ่งมีอธิบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงและในกรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ และนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงด้วย
           ในกรมหนึ่งจะให้มีรองอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรองจากอธิบดีและช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการก็ได้
           รองอธิบดีมีอำนาจหน้าที่ตามที่อธิบดีกำหนดหรือมอบหมาย

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.62.xxx] เมื่อ 21/02/2015 08:55
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :