สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714811
แสดงหน้า2190816
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
อ้างอิง อ่าน 207 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน


     ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ได้นำมาซึ่งทั้งโอกาสและความท้าทายที่อาเซียนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของ อาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น หรือการเผชิญกับภัยคุกคามที่มาในรูปแบบใหม่ อาทิ การก่ออาชญากรรมและการก่อการร้ายข้ามชาติ
    ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้เห็นชอบให้จัดตั้ง “ประชาคมอาเซียน” ภายในปี 2558 เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน เป็นหนึ่งในสามเสาความร่วมมือสำคัญของประชาคมอาเซียน
    การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและความมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอัน ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้าน ต่างๆ เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งใน รูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ บนพื้นฐานของหลักการว่าด้วยความมั่นคงของมนุษย์ และให้ประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค
    กระบวนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีรากฐานมาจากการนำความร่วมมือและความตกลงของอาเซียนด้านการเมืองและความ มั่นคงที่ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็นรูปธรรมและมีความแบบแผนมากยิ่งขึ้น อาทิ ข้อบทต่างๆ ภายใต้สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาว่าด้วยการทำให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลางและสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมการประชุมกว่า 25 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน และสหภาพยุโรปด้วย
    นอกจากการมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ผลลัพธ์ประการสำคัญที่จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซียน ก็คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมี ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างรัฐสมาชิกกับรัฐสมาชิกด้วย กันเอง ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี หรือปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด ปัญหาโจรสลัด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น
    ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ อ. ชะอำ อ. หัวหิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ประชุมผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรองพิมพ์เขียวหรือแผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ซึ่งกำหนดกรอบและกิจกรรมที่จะทำให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมการ เมือง-ความมั่นคงที่เน้นความสำคัญของความปลอดภัยของประชาชนภายในปี 2558 โดยในปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติตามพิมพ์เขียวดังกล่าว
    ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ จะมีการประกาศจัดตั้ง “คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” อย่างเป็นทางการ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ที่จัดตั้งขึ้น จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอา เซียนกับองค์การระหว่างประเทศและภาคประชาสังคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยและประชาชนอาเซียนโดยรวม นอกจากนี้ การมีกลไกทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรมจะทำให้อาเซียนเป็นที่ยอมรับ ของนานาประเทศมากขึ้น อันจะส่งผลทางอ้อมต่อความร่วมมือกับประเทศและองค์การระหว่างประเทศนอกอา เซียนในทุกๆ ด้าน
      บทบาทของไทยในด้านการเมืองและความมั่นคง
      1. เร่งให้กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียน (ธันวาคม 2551)
      2. จัดตั้งและผลักดันการดำเนินการของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย วิทธิมุนษยชน (ASEAN Intergovernmental Commision on Human Rights - AICHR)
      3. รับรองและผลักดันการปฎิบัติตามแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
      4. ส่งเสริมให้คณะมนตรีของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีผลงานเป็น รูปธรรม เช่น การส่งเสริมความร่มวมือด้านการรักษาสันติภาพในภูมิภาค
      5. ยกระดับบทบาทของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนในด้านการจัดการภัยพิบัติ และความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการแก้ไข Non-Traditional Security Threats
      6. ผลักดันให้สหรัฐฯ เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia - TAC)
      7. ผลักดันให้เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone - SEANWFZ) มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ และสร้างเสถียรภาพในอาเซียน
      8. ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง
      9. ส่งเสริมให้มีความโปร่งใสด้านนโยบายและข้อมูลทางทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
     10. ส่งเสริมมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures -CBMs) และการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ในกรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟก (ASEAN Regional Forum - ARF)
     11. ส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการอาเซียน

 

17 ธ.ค. 2555 16:26:15 / อัพเดต : 30 ม.ค. 2556 11:27:09 / เรียกดู 55,475 ครั้ง

ไฟล์แนบ

     
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :