สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714524
แสดงหน้า2188303
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




สาระน่ารู้การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่

สาระน่ารู้การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่
อ้างอิง อ่าน 306 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
สาระน่ารู้การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ 
--------------------------------------------------------------------------------
การแจ้งเกิด คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือมารดา (หรือผู้ได้รับมอบหมาย) แจ้งต่อนาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน 
แจ้งการเกิดภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่ เกิน 1,000 บาท โดยใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ได้รับมอบ หมาย 
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือหนังสือมอบ หมายกรณีได้รับมอบหมาย
คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดา หรือมารดา (หรือผู้ได้รับมอบหมาย) แจ้งต่อนาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ 
แจ้งการเกิดภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด ไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งคนเกิดโรงพยาบาล เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านโรงพยาบาลซึ่งได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือผู้ใดก็ตามที่มีชื่อเป็นเจ้าบ้านโรงพยาบาลนั้น เป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็กในโรงพยาบาล ในกรณีไม่อาจแจ้งการเกิดด้วยตนเองได้ จะมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดไปดำเนินการแจ้งการเกิดแทนก็ได้ เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการ เกิดและเพิ่มชื่อเด็กที่เกิดในทะเบียนบ้านของโรงพยาบาลแล้ว เจ้าบ้านโรงพยาบาล หรือผู้ได้รับมอบหมายจะแจ้งการย้ายที่อยู่ของเด็กที่เกิดออกจากโรงพยาบาลแล้วมอบสูติบัตร และใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้แก่ บิดา-มารดาเด็ก เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้าต่อไป
การแจ้งเกิดเกินกำหนด 
- เปรียบเทียบคดีความผิด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยใช้หลักฐานดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
- บัตรประจำตัวฯ บิดา-มารดา (ถ้ามี) 
- หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี) 
- สอบสวนผู้แจ้ง บิดา มารดา 
- พยานแวดล้อมกรณี 
- ฯลฯ
เด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ผู้ใดพบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้งให้นำเด็กนั้นไปส่ง และแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่ตนพบเด็กนั้นโดยเร็ว 
- เจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ได้รับตัวเด็กไว้ แล้วแจ้งการมีคนเกิดต่อ นายทะเบียนผู้รับแจ้ง โดยใช้หลักฐานดังนี้
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง 
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของสถานสงเคราะห์และบันทึกการ รับตัวเด็ก 
- สอบสวนผู้แจ้ง และผู้ปกครองสถานสงเคราะห์
การแจ้งเกิดในต่างประเทศ กรณีที่คนไทยเกิดในต่างประเทศ บิดา-มารดาจะต้องแจ้งการเกิดของบุตรต่อ กงสุลไทยหรือเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ ประเทศนั้น ๆ ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด เมื่อได้รับการแจ้งเกิดแล้วเจ้าหน้าที่สถานกงสุล หรือสถานทูตไทยจะออกสูติบัตรให้บิดา-มารดาเด็ก เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการทำหนังสือเดินทางสำหรับเด็กเพื่อเดินทางกลับ ประเทศไทย ในกรณีที่ประเทศนั้นไม่มีกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยประจำอยู่ ให้ใช้หลักฐานการเกิดที่ออกโดยรัฐบาลประเทศนั้น ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้แปลและรับรองว่าถูกต้องเป็นหลักฐานสูติบัตรได้
การแก้ไขรายการในสูติบัตร 
ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขต่อนายทะเบียน ที่ผู้เกิดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
การแจ้งตาย คนตายในบ้าน
ให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนตาย ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้ง
กรณีตายด้วยโรคหรือชราภาพ ใช้หลักฐาน 
- หนังสือรับรองการตายจากแพทย์ ใบประกอบโรคศิลป์และบัตรประจำตัวของแพทย์ (กรณีมีแพทย์รักษาก่อนตาย) 
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย)
กรณีตายโดยผิดธรรมชาติ เช่น ถูกยิง ใช้หลักฐาน 
- ให้ผู้แจ้งแจ้งต่อสถานีตำรวจ ท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง 
- สถานีตำรวจจะส่งศพไปยังสถาบันนิติเวชวิทยา เพื่อหาสาเหตุการตาย และออกใบแจ้งการตายจากสถาบันฯ 
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย) 
- ไม่แจ้งตายภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
กรณีตายในโรงพยาบาลใช้หลักฐาน 
- บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย 
- หนังสือรับรองการตาย 
- สำเนาทะเบียนบ้านที่มีคนตายมีชื่อ (คนในพื้นที่ตายในโรงพยาบาล) 
- นำหลักฐานไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่
คนตายนอกบ้าน
- ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตาย หรือพบศพแล้วแต่กรณีหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ ในกรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจก็ได้ 
- บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแจ้งต่อนายทะเบียน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรก 
- แจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือพบศพ 
- ไม่แจ้งภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งตายเกินกำหนดเวลา 
หมายถึงการที่ไม่ได้แจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ 
ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งตายนำหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการตายไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตาย 
- นายทะเบียนจะดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 1,000 บาท 
- นายทะเบียนจะสอบสวนพยานบุคคล เพื่อประกอบการพิจารณา รับแจ้งตายเกินกำหนด 
การแจ้งตายในการประสบอุบัติเหตุ 
- ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พลศพ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่งท้องที่ที่ตาย หรือพบศพก่อนหรือท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือพบศพ เพื่อออกใบรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน 
- นำศพส่งสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจเพื่อให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์ศพถึงสาเหตุการตาย และออกใบแจ้งการตาย 
- นำหลักฐานใบแจ้งการตาย และใบแจ้งการตายของสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจไปแจ้งต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่พบศพ เพื่อประกอบหลักฐานออกใบมรณบัตร ต่อไป
การแจ้งตายในต่างประเทศ 
- กรณีคนไทยไปตายในต่างประเทศ ให้ผู้รู้เห็นการตายไปแจ้งตาย ณ สถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ
- ในกรณีที่ซึ่งมีการตายไม่มีกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยประจำอยู่ให้ใช้หลักฐานการตายที่ออกโดยรัฐบาลของ ประเทศนั้น ๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้แปลและรับรองว่าถูกต้องเป็นหลักฐานมรณบัตรได้
การเก็บ ฝัง เผา ทำลาย และย้ายศพไปจากสถานที่หรือบ้านที่มีการตาย
เมื่อนายทะเบียนได้ออกบัตรให้กับผู้แจ้งไปแล้ว โดยได้กรอกข้อความลงในช่องจัดการศพโดย เก็บ ฝังหรือเผา ณ สถานที่ใดเมื่อใด ต่อมาต้องการจะเปลี่ยนแปลงใหม่ให้ดำเนินการดังนี้. 
หากจะจัดการศพผิดไปจากที่ได้เคยแจ้งไว้ โดยมิได้ย้ายศพไปต่างท้องที่ ให้ผู้แจ้งดำเนินการดังนี้. 
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตร ตอนที่ 1 ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่ศพนั้นตั้งอยู่ 
- นายทะเบียนผู้รับแจ้งจะสอบถามแล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงจากการเก็บ ฝังหรือเผา เป็นการเก็บ ฝังหรือเผา ที่วัดใด เมื่อใดไว้ด้านล่างมรณบัตรตอนที่ 1 
หากจะทำการย้ายศพเพื่อจะไปเก็บ หรือฝังในสถานที่อื่น ๆ ซึ่งมิใช่สถานที่เดิมที่แจ้งไว้ในกรณีนี้ต้องดำเนินการดังนี้. 
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตรตอนที่ 1 ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ 
- นายทะเบียนผู้รับแจ้งสอบถามแล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงการอนุญาตให้ เก็บฝังจากสถานที่ใดไปสถานที่ใดเมื่อใด 
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตร ตอนที่ 1 ดังกล่าวไปแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่จะย้ายศพเข้าไปดำเนินการใหม่เพื่อให้นาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ใหม่ได้สอบสวน และบันทึกการอนุญาตไว้ด้านล่าง มรณบัตร ตอนที่ 1 นั้น 
- ถ้าเป็นกรณีที่มีข้อความอนุญาตหลายครั้งในฉบับเดียวกันให้ถือข้อความอนุญาตครั้งหลังสุดเป็นหลัก
การขอแก้ไขรายการในมรณบัตร 
- ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขต่อนายทะเบียนที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
การย้ายที่อยู่ ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง (พิจารณาจากทะเบียนบ้านว่าได้มีการระบุให้ผู้ใดเป็นเจ้าบ้าน) ผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่ออกจากบ้าน ให้แจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การย้ายออก 
กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง 
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ หนักงานองค์การของรัฐ) 
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน 
- ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน 
- บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวฯ 
- บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมาย 
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
ผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน 
- นอกจากหลักฐานตามข้อ 1. แล้วจะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ปรากฎข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน
การแจ้งย้ายออกโดยไม่ทราบที่อยู่ (ย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลางของเขต) 
เจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นใครหรือไปอยู่ที่ใด ให้แจ้งการย้ายออกภายใน 30 วัน นับแต่วันครบ 180 วันโดยไม่ทราบที่อยู่ โดยใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน 
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
- บัตรประจำตัวหรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน 
-ในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านให้มาดำเนินการแทน
การย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านถูกย้ายโดยไม่ทราบที่อยู่ (ถูกย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลาง) ประสงค์ที่จะย้ายออก (ทะเบียนบ้านกลางมิใช่ทะเบียนบ้านแต่เป็นทะเบียน ที่ใช้สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียน บ้านได้ บุคคลที่มีรายการในทะเบียนบ้านกลางไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคัดและให้นายทะเบียนรับรองสำเนารายการ เพื่อนำไปอ้างอิงหรือใช้สิทธิต่าง ๆ เหมือนทะเบียนบ้านได้) 
กรณีผู้ร้อง (เจ้าตัว) มาดำเนินการเอง 
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ หรือ พนักงานองค์การของรัฐ 
- ถ้าบัตรประจำตัวประชาชนหาย ต้องมีใบแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความพร้อมทั้งหลักฐานอื่นที่มีรูปถ่ายมาแสดงด้วยอย่างใดอย่าง หนึ่ง เช่น 
- ใบสุทธิ หรือใบ ร.บ. หรือปริญญาบัตร 
- ใบอนุญาตขับขี่ฯ 
- บัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษา 
- ส.ด.8, ส.ด.43 
- หนังสือเดินทาง 
กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการย้าย 
- หนังสือมอบหมายของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก 
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก 
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายให้มาดำเนินการย้ายออก
กรณีย้ายบุคคลที่ไม่บรรลุนิติภาวะ 
- สูติบัตร 
- บิดา หรือมารดาจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอย้ายเองพร้อมทั้งต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงด้วย 
-กรณีไม่ปรากฏตามที่กล่าว ต้องดำเนินการสอบปากคำผู้มาแจ้งย้ายด้วย 
- กรณีบุคคลต่างด้าวขอย้ายออกจะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแสดง
การย้ายออกของบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศ
- เช่นเดียวกับการย้ายออก กรณีที่บุคคลเดินทางกลับจากต่างประเทศ - ผู้ย้ายที่อยู่ไปต่างประเทศตามระเบียบเดิมได้นำใบแจ้งการย้ายที่ อยู่มาขอย้ายเข้า นายทะเบียนจะดำเนินการเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้า หากเป็นใบแจ้งย้ายมีรหัสประจำตัว ประชาชนแล้ว นำใบแจ้งย้ายไปแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้าที่สำนักทะเบียนใดก็ได้ และหากเป็นใบแจ้งย้ายแบบเดิมที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน จะดำเนินการเพิ่มชื่อกรณีการใช้หลักฐานใบแจ้งย้ายที่อยู่แบบเดิม 
- บัตรประจำตัว (ถ้ามี) 
- หนังสือเดินทางที่มีตราประทับลงตราวีซ่าเข้ามาในประเทศไทย 
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ย้ายไปต่างประเทศตามระเบียบเดิม) หากสูญหายจะต้องแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความเพื่อขอออกใบแทนใบ แจ้งย้ายและเพิ่มชื่อให้ กรณีเช่นนี้จะต้องมีการสอบปากคำเจ้าบ้านและผู้ร้อง
การย้ายเข้า 
- ผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง 
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน 
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2 
กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน 
ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน 
- บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัว 
- บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ได้รับมอบหมาย 
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2 
- ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอน 1 และ 2 ตรงช่องเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า 
ผู้ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน 
- นอกจากหลักฐานตามข้อ 1 แล้ว จะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ให้ปรากฏข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน
การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง
กฎหมายกำหนดให้ผู้ย้ายที่อยู่เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ย้ายที่อยู่ หากมอบหมายแจ้งย้ายปลายทางจะต้องมี หนังสือมอบหมาย ปรากฎข้อความชัดเจนว่าบุคคลใดได้มอบหมายให้มาแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทางแทน และมอบหมายให้ย้ายที่อยู่บุคคลใดบ้าง ย้ายเข้าบ้านเลขที่ใด
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง 
- บัตรประจำตัวของผู้ประสงค์จะย้ายปลายทาง 
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน 
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
- คำยินยอมของเจ้าบ้านเป็นหนังสือ
ใบแจ้งการย้ายที่อยู่สูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ
กรณีสูญหาย ให้ผู้แจ้งดำเนินการแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความ กรณีชำรุด ผู้แจ้งจะต้องนำใบแจ้งการย้ายที่ชำรุดมาคืนด้วย หลักฐานประกอบการแจ้ง ได้แก่ บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
หมายเหตุ
การติดต่อฝ่ายทะเบียนทุกครั้ง อย่าลืม 'สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน'
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :