สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1712224
แสดงหน้า2185660
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




สรุปการเลือกผู้ใหญ่บ้าน

สรุปการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
อ้างอิง อ่าน 560 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
สรุปการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
ชุด ใฝ่ฝันเป็นปลัดอำเภอ
โดยประพันธ์ เวารัมย์
*************************** 
     การเลือกผู้ใหญ่บ้าน
    เดิมเป็นไปตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2535 แต่เนื่องจากข้อบังคับดังกล่าวมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงข้อบังคับดังกล่าวให้สอดคล้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2447 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 จึงได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2551 ขึ้นไว้ โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 6 เมษายน 2551) เป็นต้นไป
     ความหมายเฉพาะ
1.    หน่วยเลือกผู้ใหญ่บ้าน หมายความว่า ท้องที่กำหนดให้ทำการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
2.    ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกผู้ใหญ่บ้าน และให้ความหมายรวมถึงบริเวณที่กำหนดขึ้นโดยรอบที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน
3.    ผู้มีสิทธิเลือก หมายความว่า ผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่กำหนดไว้
4.    ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
5.    คณะกรรมการเลือก หมายความว่า คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ตามคำสั่งแต่งของนายอำเภอ
6.    คณะกรรมการตรวจสอบ หมายความว่า คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามคำสั่งแต่งตั้งนายอำเภอ
     การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทน
การปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ นายอำเภออาจมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่แทนได้
     ผู้รักษาการ
ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหากำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
     บททั่วไป
1.    เมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้านใหม่ หรือตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่างลง ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านโดยวิธีลับ ภายในกำหนดเวลา 30 วันนับแต่งวันที่มีการจัดตั้งหมู่บ้านใหม่หรือตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่างลง
2.    การเลือกผู้ใหญ่บ้าน ต้องเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(1)    นับแต่วันที่นายอำเภอประกาศให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านจนถึงวันเลือกห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกลงคะแนน หรืองดเว้น การลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
ก.    จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด
ข.    ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ เงินหรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัดมัสยิด สุเหร่า ศาลเจ้า โรงเจ โบสถ์คริสต์ โบสถ์พราหมณ์ สำนักปฏิบัติธรรม สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ สหกรณ์ กองทุนสงเคราะห์ ชุมนุม สโมสร กลุ่ม องค์กรหรือสถาบันอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภากำหนด
ค.    จัดให้มีมหรสพ หรือการรื่นเริงต่างๆ รวมทั้งการแสดง และการละเล่นอื่นๆ
ง.    เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด รวมถึงการจัดเลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยง การประชุม อบรม สัมมนา ทัศนศึกษา หรือดูงาน เป็นต้น
(2)    ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้านห้ามมิให้ผู้ใดทำการโฆษณาหาเสียงโดยวิธีการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครคนใดจนสิ้นสุดการลงคะแนน
(3)    นับแต่วันที่นายอำเภอ ประกาศให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านจนสิ้นสุด การลงคะแนน ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใดๆ เพื่อให้เกิดการได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่ผู้สมัครคนใด
3.    ให้นายอำเภอกำหนดสถานที่ปิดประกาศ สำหรับติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกผู้ใหญ่บ้าน และใช้เป็นที่โฆษณาหาเสียงของผู้สมัครได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่น ที่ศาลากลางบ้านหรือสถานที่อื่นที่นายอำเภอเห็นสมควร ภายในหมู่บ้านที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งสามารถเห็นได้โดยง่าย
        ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกซื้อหรือเช่าเวลา หรือรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ หรือทำให้ได้มาซึ่งเวลาออกอากาศทางสถานีดังกล่าว เพื่อโฆษณาหาเสียง
            การโฆษณาหาเสียงทางสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือหอกระจายข่าว ซึ่งทางราชการอาจจัดให้มีขึ้นให้จัดให้มีการหาเสียงการเลือกผู้ใหญ่บ้านของผู้สมัครทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน
4.    การกระทำที่ฝ่าฝืนตาม 2. หรือ 3. เป็นการเลือกที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม
5.    กรณีที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านใดว่างลง ให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านภายใน 30 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง
เพื่อประโยชน์ในการจัดการเลือกผู้ใหญ่บ้าน วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่าง ให้เป็นไปดังนี้
(1)    ในกรณีผู้ใหญ่บ้านต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 14 (1) ให้ถือว่าวันที่ผู้ใหญ่บ้านมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นวันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง
(2)    ในกรณีที่ผู้ใหญ่บ้านต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 14 (2) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (11) ให้ถือว่าวันที่มีคำสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านพ้นจากตำแหน่งเป็นวันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง
(3)    ในกรณีที่ผู้ใหญ่บ้านต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 14 (3) ให้ถือว่าวันที่ผู้ใหญ่บ้านนั้นตาย หรือวันที่นายอำเภอรับทราบการตายของผู้ใหญ่บ้านนั้นเป็นวันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง แล้วแต่กรณี
(4)    ในกรณีที่ผู้ใหญ่บ้านต้องพ้นตำแหน่งตามมาตรา 14 (4) ให้ถือว่าวันที่คำสั่งอนุญาตให้ลาออกได้ระบุไว้เป็นที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง
ถ้านายอำเภอเห็นว่าไม่อาจจัดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ภายในกำหนดเวลา 30 วัน ให้รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดขยายเวลาออกไปได้เท่าที่จำเป็น
     การดำเนินการเบื้องต้น
     การดำเนินการของอำเภอ
ตามข้อ 12 ของระเบียบนี้กำหนดว่า การเลือกผู้ใหญ่บ้านให้นายอำเภอดำเนินการดังนี้
(1)    ประกาศกำหนดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ.1 และปิดประกาศภายใน 3 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง หรือวันที่จัดตั้งหมู่บ้านใหม่ ในประกาศตามแบบ ผญ.1 อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังนี้
ก.    กำหนดหน่วยเลือกผู้ใหญ่บ้าน โดยระบุชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดว่าเป็นท้องที่ที่กำหนดให้ทำการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
ข.    กำหนดที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน โดยกำหนดสถานที่ให้เป็นที่ทำการลงคะแนนเลือกผู้ใหญ่บ้าน
ค.    กำหนดระยะเวลาการรับสมัคร ต้องกำหนดวันรับสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านภายหลังการประชุมราษฎรแล้ว และต้องอยู่ภายในระยะเวลา 10 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง ระยะเวลาการรับสมัครต้องไม่น้อยกว่า 3 วันไม่เว้นวันหยุดราชการ
ง.    กำหนดวันเลือกต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง
จ.    กำหนดระยะเวลาการลงคะแนน ให้เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 นาฬิกา และสิ้นสุดการลงคะแนนเวลา 15.00 น.
ฉ.    กำหนดให้มีการเพิ่มชื่อ ถอนชื่อ ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านได้วันสุดท้ายก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่า 3 วัน
ช.    กำหนดวันประชุมราษฎรในหมู่บ้าน ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง เพื่อแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือก การทำความเข้าใจเรื่องรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และการรู้รักสามัคคี ตลอดจนการดำรงรักษาความเป็นมิตร เป็นเพื่อนบ้าน และความเป็นญาติพี่น้องในพื้นที่ ทั้งก่อนและหลังการเลือก และให้ราษฎรเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ โดยทำบันทึกรายงานการประชุมไว้เป็นหลักฐานตามแบบ ผญ. 10
(2)    จัดทำประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ. 2
(3)    รับสมัครผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ.3
(4)    ประกาศรายชื่อผู้ยื่นใบสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ. 4
(5)    ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ. 6
(6)    ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเลือก และเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยตามแบบ ผญ. 8
(7)    ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตามแบบ ผญ. 9
แบบตาม (1) (2) (4) (5) (6) และ (7) ให้ปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน สถานที่ที่นายอำเภอกำหนด และสำรองแบบดังกล่าวอย่างละ 1 ชุด ไว้ให้คณะกรรมการเลือกนำไปใช้หรือปิด ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน ยกเว้นแบบตาม (2) ให้สำรองไว้ 2 ชุด สำหรับนำไปใช้หรือปิด ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน
     ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน
1.    ให้นายอำเภอกำหนดจากสถานที่สาธารณะ เช่น สถานศึกษา หรือ ศาสนสถาน ถ้าไม่สามารถหาสถานที่ดังกล่าวได้ จะกำหนดบ้าน หรือสถานที่อื่น ที่ราษฎรเข้าออกได้ง่าย มีความสะดวกเหมาะสม และไม่เป็นการได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่ผู้สมัครคนหนึ่งคนใดเป็นที่เลือกผู้ใหญ่บ้านก็ได้ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านจะต้องเป็นสถานที่ที่อยู่ในเขตท้องที่หมู่บ้านนั้น หากไม่สามารถหาสถานที่เป็นเลือกผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านได้ ให้เป็นดุลพินิจของนายอำเภอที่จะกำหนดสถานที่อื่นที่เหมาะสม
กรณีที่หน่วยเลือกผู้ใหญ่บ้านใด มีราษฎรผู้มีสิทธิเลือกจำนวนมากจนคาดหมายได้ว่า ไม่สามารถจัดให้ราษฎรลงคะแนนได้หมดทุกคน ภายในกำหนดเวลาตามข้อ 12 (1) จ. นายอำเภอจะกำหนดที่เลือกผู้ใหญ่บ้านเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ตามความเหมาะสม
2.    ตามข้อ 14 ของระเบียบนี้ กำหนดว่า ให้คณะกรรมการเลือก
(1)    จัดภายในบริเวณที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้มีป้าย หรือเครื่องหมาย เพื่อแสดงขอบเขตบริเวณโดยรอบที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน
(2)    จัดให้มีป้ายบอกที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อความ ดังนี้
  ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ชื่อหมู่บ้าน......................หมู่ที่...........ตำบล....................อำเภอ..................จังหวัด.................สถานที่........................
(3)    จัดทำป้ายบอกทางชี้ไปยังที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ราษฎร
3.    คูหาลงคะแนนสำหรับที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้มีจำนวน 3 คูหาเป็นอย่างน้อย
4.    การเปลี่ยนแปลงที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้กระทำก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่า 10 วัน เว้นแต่กรณีเกิดสาธารณภัย เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น มีเหตุความจำเป็นเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่สงบเรียบร้อยเกิดขึ้น อันจะเป็นเหตุทีทำให้ไม่สามารถใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่เลือกผู้ใหญ่บ้านได้ จะประกาศเปลี่ยนแปลงก่อนวันเลือกน้อยกว่า 10 วันก็ได้ การเปลี่ยนแปลงที่ผู้ใหญ่บ้านให้ประกาศตามแบบ ผญ. 12

     คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ และผู้สังเกตการณ์
     คณะกรรมการตรวจสอบ
1.    คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนไม่เกิน 3 คน และตัวแทนราษฎรผู้มีสิทธิเลือก ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของราษฎรในหมู่บ้านนั้น จำนวนไม่น้อยกว่า 4 คนแต่ไม่เกิน 7 คน
        เจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้นายอำเภอแต่งตั้งจากปลัดอำเภอ 1 คน และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตอำเภอนั้น อีกไม่เกิน 2 คน
    ให้คณะกรรมการตรวจสอบประชุม เพื่อเลือกกันเองเป็นประธานกรรมการคนหนึ่ง โดยให้ปลัดอำเภอเป็นกรรมการและทำหน้าที่เลขานุการ
  คณะกรรมการตรวจสอบพ้นจากหน้าที่ เมื่อนายอำเภอประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครตามแบบ ผญ.6
2.    ในวันประชุมราษฎร ให้ผู้มีสิทธิเลือกของหมู่บ้านนั้น ซึ่งอยู่ในที่ประชุมเสนอชื่อผู้มีสิทธิเลือกจำนวนไม่น้อยกว่า 4 คน แต่ไม่เกิน 7 คน เป็นกรรมการตรวจสอบ โดยผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อต้องผู้มีสิทธิเลือกในหมู่บ้านนั้นรับรองรายละไม่น้อยกว่า 2 คน
        กรณีมีผู้ได้รับการเสนอชื่อไม่เกิน 7 คน ให้นายอำเภอแต่งตั้งผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้นเป็นกรรมการตรวจสอบ หากมีผู้ได้รับการเสนอชื่อเกินกว่า 7 คน ให้ประธานที่ประชุมจัดให้มีการออกเสียง โดยเปิดเผยด้วยวิธีการเรียกชื่อผู้มีสิทธิเลือกที่อยู่ในที่ประชุมออกเสียงได้คนละ 1 เสียงว่าประสงค์จะให้ผู้ใด เป็นกรรมการตรวจสอบ ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดลำดับ            1 ถึง 7 ให้นายอำเภอแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนต่อจากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดตามลำดับมีคะแนนเท่ากันหลายคนรวมแล้วเกินกว่า 7 คน ให้นำบุคคลที่ได้คะแนนเท่ากันมาจับสลากให้เหลือจำนวนรวมทั้งหมดแล้วไม่เกิน 7 คน เพื่อให้นายอำเภอแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ
กรณีที่ไม่มีผู้ประสงค์จะเป็นกรรมการตรวจสอบหรือมีแต่ไม่เกิน 4 คน ให้นายอำเภอพิจารณาแต่งตั้งราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้น เป็นกรรมการตรวจสอบให้ครบ 4 คน  
3.    คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1)    ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ของผู้สมัครตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
(2)    เรียกเอกสาร หรือบุคคลดาให้ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบบันทึกการรับเอกสาร และบันทึกถ้อยคำบุคคลไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
(3)    แจ้งหน่วยงานที่ออกหลักฐาน เพื่อยืนยันความถูกต้องเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยในความถูกต้องแท้จริงของหลักฐานการสมัครของผู้สมัคร
(4)    ประชุมพิจารณาลงมติว่า ผู้สมัครใดเป็นผู้มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามหรือไม่
(5)    ทำบันทึกรายงานผลการตรวจสอบ เสนอนายอำเภอพิจารณาเพื่อดำเนินการต่อไป
4.    การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่มีอยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คนจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาปฏิบัติหน้าที่หรือมาแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่เหลืออยู่เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของกรรมการผู้มาประชุม ถ้าจำนวนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

     คณะกรรมการเลือก
1.    คณะกรรมการเลือกประกอบด้วย ประธานกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายอำเภอทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือก กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นในอำเภอนั้นจำนวนไม่เกิน 9 คน และกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นอีก 1 คน
เมื่อนายอำเภอให้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกแล้ว ให้แจ้งผู้ได้รับการแต่งตั้งทราบพร้อมกับปิดคำสั่ง ณ สถานที่ตามข้อ 12 วรรคสอง
คณะกรรมการเลือกมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือตามที่นายอำเภอมอบหมาย และต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อได้รายงานผลการนับคะแนนเลือกผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ. 15 ซึ่งได้ส่งมอบหีบบัตร และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกให้แก่นายอำเภอเรียบร้อยแล้ว
2.    ก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน ถ้าคณะกรรมการเลือกคนหนึ่งคนใด ซึ่งนายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้งไว้แล้ว ต่อมาผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติตาม 1. เป็นกรรมการเลือกแทน
3.    ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน เมื่อถึงเวลาเปิดการลงคะแนนแล้ว มีกรรมการเลือกมาปฏิบัติหน้าที่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่นายอำเภอแต่งตั้ง ให้คณะกรรมการเลือกที่อยู่ในขณะนั้นแต่งตั้งผู้มีสิทธิเลือกเป็นกรรมการเลือกแทน ให้มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่นายอำเภอแต่งตั้งไว้ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในที่เลือกผู้ใหญ่บ้านแล้วบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวได้ไว้ใน                  แบบ ผญ.11
4.    การประชุมและการวินิจฉัยของคณะกรรมการเลือก ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของกรรมการผู้มาประชุม ถ้าจำนวนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด


     เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
ให้นายอำเภอ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย จากพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เพื่อทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน และให้มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1)    ช่วยเหลือคณะกรรมการเลือกในการดูแลรักษาหีบบัตร บัตรเลือกบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือก
(2)    รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยบริเวณที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน
(3)    สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของนายอำเภอ หรือประธานกรรมการเลือกและคณะกรรมการเลือก
    ให้เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยพ้นจากหน้าที่ เมื่อคณะกรรมการเลือกได้ส่งมอบหีบบัตรและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกแก่นายอำเภอเรียบร้อยแล้ว

     ผู้สังเกตการณ์
1.    เมื่อนายอำเภอได้ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครตามแบบผญ.6 แล้ว ผู้สมัครที่ประสงค์จะส่งตัวแทนไปประจำ ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านเพื่อสังเกตการณ์การลงคะแนนและการนับคะแนน ให้ยื่นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนของตนได้แห่งละ 1 คนต่อนายอำเภอก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้านและให้นายอำเภอแจ้งคณะกรรมการเลือกทราบ
2.    ตัวแทนผู้สมัครต้องอยู่ในที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งสามารถมองเห็นการปฏิบัติงานได้โดยห้ามมิให้กระทำการอันเป็นอุปสรรคแก่การเลือกผู้ใหญ่บ้าน
ตัวแทนผู้สมัครอาจทักท้วง ในเมื่อเห็นว่ากรรมการเลือกปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบนี้ในกรณีนี้ให้กรรมการเลือกบันทึกคำทักท้วงไว้ในแบบผญ.11
กรณีตัวแทนผู้สมัครกระทำการอันจะเป็นอุปสรรคแก่การเลือกผู้ใหญ่บ้าน ถ้ากรรมการเลือกได้ตักเตือนแล้วยังขัดขืนให้กรรมการเลือกสั่งให้ตัวแทนผู้สมัครออกไปจากที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน และให้เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่ง
     ผู้มีสิทธิเลือก และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก
1.    ผู้มีสิทธิเลือกต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก
2.    ให้นายอำเภอจัดทำประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตามแบบ ผญ.2 และปิดประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกอย่างช้าในวันประชุมราษฎร
3.    กรณีผู้มีสิทธิเลือก หรือเจ้าบ้านผู้ใดเห็นว่า ตนหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตน ไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกในแบบ ผญ.2 ให้นำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่รูปถ่าย และมีหมายเลขประจำตัวประชาชนที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้มายื่นคำร้องต่อนายอำเภอตามระยะเวลากำหนดไว้ใน 12 (1) ฉ. 
      เมื่อนายอำเภอได้รับคำร้อง และหลักฐานแล้วหากพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นผู้มีสิทธิเลือก ให้เพิ่มชื่อผู้ยื่นคำร้องหรือผู้มีชื่อผู้ในทะเบียนบ้านลงในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกเพิ่มเติมต่อใบสุดท้ายของบัญชีผู้มีสิทธิเลือกในแบบ ผญ.2 พร้อมบันทึกสาเหตุและลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี กำกับไว้
     กรณีนายอำเภอพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคำร้อง หรือผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือก ให้สั่งยกคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งแสดงเหตุผลให้ผู้ยื่นคำร้องทราบก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน
4.    กรณีที่พบว่าในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตามแบบ ผญ.2 มีชื่อของผู้ไม่มีสิทธิเลือก หรือมีชื่อของบุคคลเดียวกันมากกว่า 1 แห่งปรากฏอยู่ ให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร มีอำนาจถอนชื่อของผู้ไม่มีสิทธิบุคคลที่มีชื่อมากกว่า 1 แห่ง คงเหลือไว้เพียงแห่งเดียวให้ถูกต้อง โดยให้ขีดฆ่าชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก พร้อมทั้งบันทึกสาเหตุของการถอนชื่อไว้ในช่องหมายเหตุและลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี กำกับไว้ ทั้งนี้ให้ดำเนินการได้จนถึงวันเลือก
 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกหรือเจ้าบ้านเห็นว่าในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตาม แบบ ผญ. 2 มีชื่อของผู้ไม่มีสิทธิเลือกหรือมีชื่อของบุคคลคนเดียวกันมากกว่า 1 แห่งปรากฏอยู่ ให้ผู้สิทธิเลือกหรือเจ้าบ้านยื่นคำร้องต่อนายอำเภอเพื่อขอให้ถอนชื่อของผู้ไม่มีสิทธิเลือกหรือบุคคลที่มีมากกว่า 1 แห่งคงเหลือไว้เพียงแห่งเดียวให้ถูกต้องได้ ทั้งนี้ต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่นายอำเภอประกาศกำหนดไว้ในแบบ ผญ. 1
เมื่อนายอำเภอได้พิจารณาคำร้องแล้ว เห็นว่ามีหลักฐานเชื่อได้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกหรือมีชื่อมากกว่า 1 แห่ง ให้สั่งถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธินั้นหรือชื่อผู้มีสิทธิที่มากกว่า 1 แห่ง คงเหลือไว้เพียงแห่งเดียวให้ถูกต้อง โดยให้ขีดฆ่าชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกพร้อมทั้งบันทึกสาเหตุของการถอนชื่อไว้ในช่องหมายเหตุและลงลายมือ ชื่อ วัน เดือน ปี กำกับไว้แล้ว แจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องและเจ้าบ้านทราบ
กรณีนายอำเภอพิจารณาคำร้องแล้ว เห็นว่าผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกที่ถูกขอถอนชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือก ให้สั่งยกคำร้องพร้อมทั้งแสดงเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร และแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน
     การรับสมัครเลือกผู้ใหญ่บ้าน
     วิธีการรับสมัคร
1.    ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่กำหนดไว้
2.    ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครตามแบบผญ.3 ด้วยตนเองต่อนายอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอภายในระยะเวลาที่นายอำเภอประกาศกำหนดไว้ในแบบ ผญ. 1 พร้อมหลักฐานและเอกสารซึ่งรับรองความถูกต้องดังต่อไปนี้
(1)    บัตรประจำตัวประชาชน
(2)    สำเนาทะเบียนบ้าน
(3)    ใบรับรองแพทย์ ว่าไม่เป็นโรคตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งออกตามความในกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และต้องออกให้ไม่เกิน 30 วันจนถึงวันสมัคร 
(4)    หลักฐานการศึกษา
(5)    รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด 3.5 เซนติเมตร จำนวน 6 รูป ซึ่งถ่ายมาแล้วแล้วไม่เกิน 6 เดือนจนถึงวันสมัคร
3.    เมื่อนายอำเภอได้รับใบสมัครของผู้สมัครใดแล้ว ให้ตรวจสอบเบื้องต้นว่าลงรายการในใบสมัคร และมีหลักฐานการสมัครครบถ้วนหรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ครบถ้วน ให้เรียกเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนเมื่อผู้สมัครยื่นใบสมัครและมีหลักฐานการสมัครครบถ้วนแล้ว ให้ออกใบรับใบสมัครให้แก่ผู้สมัครโดยเรียงตามลำดับการยื่นใบสมัคร
เมื่อนายอำเภอได้ออกใบรับใบสมัครแก่ผู้สมัครแล้ว ห้ามมิให้ผู้สมัครนั้นถอนการสมัคร
4.    เมื่อเสร็จสิ้นการรับสมัคร ให้นายอำเภอปิดประกาศบัญชีรายชื่อผู้ยื่นใบสมัครตามแบบ ผญ. 4 และส่งมอบใบสมัครพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของผู้สมัครทุกราย ในวันถัดจากวันสุดท้ายของการรับสมัคร ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตามระเบียบนี้
       ผู้ใดเห็นผู้ยื่นใบสมัครรายใด เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม อาจร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการตรวจสอบได้ภายใน 5 วันนับแต่วันปิดประกาศ ผญ.4
     การให้หมายเลขประจำตัวผู้สมัคร
1. การให้หมายเลขประจำตัวผู้สมัคร ให้เป็นไปตามลำดับก่อนหลังการยื่นใบสมัคร หากผู้สมัครมาถึงที่ว่าการอำเภอ และได้ลงชื่อแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเวลา 18.30 นาฬิกา ให้ถือว่ามาพร้อมกัน
2. กรณีผู้สมัครมาพร้อมกัน ให้นายอำเภอจัดประชุมผู้สมัคร เพื่อตกลงกำหนดการยื่นใบสมัคร หากไม่สามารถตกลงกันได้ให้ดำเนินการจับสลาก 2 ครั้ง ดังนี้
    (1) การจับสลากครั้งที่ 1 ให้นายอำเภอเขียนชื่อผู้สมัครที่ต้องจับสลากบนสลากที่เหมือนกันแล้วใส่ในภาชนะให้สลากคละกัน แล้วให้นายอำเภอเป็นผู้จับสลากจากในภาชนะดังกล่าวขึ้นทีละ 1 ใบ ชื่อผู้ใดที่ถูกจับมาเป็นอันดับแรกให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิในครั้งที่ 2 ก่อนชื่อผู้ใดที่ถูกจับมาเป็นลำดับต่อไป ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิจับสลากในครั้งที่ 2 เป็นลำดับถัดไปจนครบทุกคน
    (2) การจับสลากครั้งที่ 2 ให้นายอำเภอเขียนหมายเลข 1 จนถึงหมายเลขที่เท่ากับจำนวนผู้สมัครที่มายื่นใบสมัครพร้อมกันบนสลากที่เหมือนกัน แล้วใส่ในภาชนะให้สลากคละกัน แล้วให้ผู้สมัครตามลำดับของผลการจับสลากในครั้งที่ 1 ทำการจับสลากจากในภาชนะดังกล่าว ผู้สมัครใดจับสลากได้หมายเลขใด ให้ถือเป็นหมายเลขลำดับในการยื่นใบสมัครนั้น
    เมื่อให้หมายเลขประจำตัวผู้สมัครแล้ว หากมีเหตุให้ผู้สมัครรายได้เป็นผู้ไม่มีสิทธิสมัคร ให้คงลำดับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครทุกรายไว้ โดยไม่ต้องเลื่อนลำดับหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร
     ผู้สมัครคนเดียว
เมื่อนายอำเภอได้ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม ผญบ. 6 กรณีมีผู้สมัครคนเดียวหรือผู้สมัครหลายคนแต่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเพียงคนเดียว ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน และให้นายอำเภอประกาศผลการเลือกตามแบบ ผญ.7
     วิธีการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
1.    เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบ ได้รับมอบใบสมัครพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ให้ทำการตรวจสอบพิจารณาจากเอกสาร พยานบุคคล พยานแวดล้อมกรณีให้เสร็จสิ้น และส่งถึงนายอำเภอภายในกำหนดระยะเวลา 5 วันนับแต่วันที่ได้รับสมัคร พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องว่าผู้สมัครเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะท้องที่หรือไม่
2.    กรณีมีผู้กล่าวหาว่า ผู้สมัครคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ ให้คณะกรรมการตรวจสอบหน้าที่แสวงหาความจริงในเรื่องที่กล่าวหาและดูแลให้บังเกิดความยุติธรรม โดยเรียกผู้ถูกกล่าวหามาแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง หรือนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหา
                 ในการดำเนินการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบ อาจมอบหมายให้ประธานกรรมการ เลขานุการ และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย 1 คน ทำหน้าที่ตรวจสอบแทนก็ได้
3.    ในการตรวจสอบ 1. และ 2. หากจำเป็นต้องบันทึกถ้อยคำของบุคคลที่ให้ถ้อยคำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ให้ประธานกรรมการ เลขานุการ กรรมการผู้ทำหน้าที่สอบสวนและผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อในบันทึกถ้อยคำนั้น
การนำเอกสารหรือวัตถุใด มาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการตรวจสอบให้คณะกรรมการตรวจสอบบันทึกไว้ด้วยว่าได้มาอย่างไร จากผู้ใด และเมื่อใด
เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการตรวจสอบให้ใช้ต้นฉบับแต่ถ้าไม่อาจนำต้นฉบับมาได้ จะใช้สำเนาที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรับรองความถูกต้องของเอกสารก็ได้
ถ้าหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้เพราะสูญหาย หรือถูกทำลาย หรือโดยเหตุประการอื่น จะให้นำสำเนาหรือบุคคลมาสืบก็ได้
4.    เมื่อทำการตรวจสอบ หรือสอบสวนตาม 1. หรือ 2. เสร็จแล้วให้เลขานุการนำเสนอคณะกรรมการตรวจสอบประชุมลงมติว่า ผู้สมัครรายนั้นเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่มีลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านหรือไม่ แล้วจัดทำรายงานผลการตรวจสอบตามแบบ ผญ. 5 โดยมีความเห็นและเหตุผลพร้อมลงลายมือชื่อกรรมการตรวจสอบทุกคนที่มาประชุม ถ้ากรรมการตรวจสอบผู้ใดมีความเห็นแย้งให้ทำความเห็นแย้งแนบไว้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานดังกล่าวเสนอต่อนายอำเภอดังนี้
5.    เมื่อนายอำเภอ ได้รายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครจากคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว ให้นายอำเภอพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน กรณีนายอำเภอเห็นด้วยกับรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติ หรือพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้นายอำเภอประกาศรายชื่อผู้สมัครตามแบบ ผญ. 6 ไปตามนั้น
ในกรณีนายอำเภอไม่เห็นด้วยกับรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติ ให้ส่งรายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบทบทวนความเห็นใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับ กรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบ มีมติยืนยันด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของคณะกรรมการตรวจสอบเท่าที่มีอยู่ ให้ส่งรายงานการตรวจสอบคุณสมบัติให้นายอำเภอ และให้นายอำเภอประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครตาม ผญ. 6 ไปตามนั้น
ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติไม่ยืนยันความเห็นเดิม หรือพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดดังกล่าว ให้ถือว่าผู้สมัครรายนั้นมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามความเห็นของนายอำเภอแล้วแต่กรณี และให้นายอำเภอดำเนินการประกาศรายชื่อผู้สมัครตามแบบ ผญ. 6 ไปตามนั้น

     บัตรเลือก และหีบบัตร
1.    บัตรเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้ใช้กระดาษที่มีขนาดกว้างยาวตามความจำเป็นและมีความหมายของผู้สมัครโดยมีลักษณะดังนี้
(1)    บัตรเลือกเมื่อพับแล้วด้านหน้าที่แถบสีอยู่บริเวณขอบขวา ถัดไปทางซ้ายมีตราครุฑ และถัดลงไปมีข้อความว่า “บัตรเลือกผู้ใหญ่บ้าน” และมีตราประจำตำแหน่งนายอำเภอท้องที่ประทับที่ข้อความคำว่าบัตรเลือกผู้ใหญ่บ้าน
(2)    ด้านในของบัตรเลือกอย่างน้อยให้มีช่องทำเครื่องหมาย หมายเลขผู้สมัคร ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนและคำอธิบายเกี่ยวกับการทำเครื่องหมาย
2.    บัตรเลือกและต้นขั้วบัตรเลือกให้เย็บเล่มๆ ละไม่เกิน 50 บัตร มีรอยปรุเพื่อให้ฉีกบัตรเลือกออกจากต้นขั้วบัตรเลือกได้ และให้มีปกหน้าและปกหลัง
3.    ต้นขั้วบัตรเลือกอย่างน้อยให้มีข้อความว่า “เล่มที่ ........ เลขที่ ......ลำดับที่..... (ลำดับที่ของผู้มีสิทธิเลือกที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตามแบบ ผญ.2) อยู่ด้านบนของต้นขั้วบัตรเลือก มีที่ลงลายมือชื่อกรรมการเลือกผู้ที่จ่ายบัตรเลือก และมีที่สำหรับให้ผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อเป็นหลักฐานการรับบัตรเลือก
4.    หีบบัตรให้ทำด้วยโลหะหรือวัสดุอื่น ที่ฝาด้านบนมีช่องหย่อนบัตร ด้านหน้าเป็นวัสดุโปร่งใสมองเห็นภายในหีบบัตรได้ ฝาด้านบนเมื่อปิดลงมาแล้วให้มีที่สำหรับใส่กุญแจหรืออุปกรณ์อื่นแทนกุญแจ ติดอยู่กับด้านหน้าของหีบบัตร
     วิธีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
     การดำเนินการก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน
1.    ก่อนดำเนินการก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้นายอำเภอดำเนินการ ดังนี้
(1)    จัดเตรียมหีบบัตร บัตรเลือก บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือก เพื่อมอบให้คณะกรรมการเลือกนำไปใช้ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน
(2)    มอบหีบบัตรบัตรเลือกบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกแบบพิมพ์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกให้แก่คณะกรรมการเลือกให้เสร็จเรียบร้อย ก่อนเปิดการลงคะแนนโดยให้มีเวลาเพียงพอที่จะตรวจสอบและนับจำนวนบัตรเลือก แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือก
(3)    มอบหีบบัตรเลือกบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกแบบพิมพ์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกให้แก่คณะกรรมการเลือกให้เสร็จเรียบร้อย ก่อนเปิดการลงคะแนนโดยให้มีเวลาเพียงพอที่จะตรวจสอบและนับจำนวนบัตรเลือก แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือก
2.    เมื่อคณะกรรมการเลือกได้ตรวจสอบ และนับจำนวนบัตรเลือก แบบพิมพ์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกให้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้นำเลือกทั้งหมดและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกแยกบรรจุลงในหีบบัตร ปิดหีบบัตรใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจหรืออุปกรณ์อื่นแทนกุญแจและนำไปเก็บรักษาไว้ที่ปลอดภัย
     การดำเนินการก่อนเปิดการลงคะแนน
1.    ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้คณะกรรมการเลือกพร้อมหีบบัตร บัตรเลือกแบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือก และผู้ที่ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ในที่เลือกผู้ใหญ่บ้านต้องไปถึงที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน เวลาประมาณ 07.00 นาฬิกา เพื่อดำเนินการตามการตามข้อ 14 พร้อมทั้งตรวจสอบว่ามีแบบ ผญ. 1 แบบ ผญ. 2 แบบ ผญ. 4 แบบ ผญ. 6 แบบ ผญ. 8 และแบบ ผญ. 9 ครบถ้วนหรือไม่หรือชำรุดสูญหายให้นำไปปิดให้ครบถ้วน และจัดให้มีที่สำหรับผู้สังเกตการณ์ซึ่งสามารถมองเห็นการปฏิบัติงานได้
2.    เมื่อถึงเวลาประมาณ 07.30 นาฬิกา ให้คณะกรรมการเลือกเปิดหีบบัตรเพื่อตรวจสอบและนับจำนวนบัตรเลือกทั้งหมด
3.    ก่อนการลงคะแนนให้คณะกรรมการเลือกประชุมและแบ่งหน้าที่กัน ดังนี้
(1)    หน้าที่รักษาความเรียบร้อยในที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ การจัดระเบียบและควบคุมดูแลให้ความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกที่มาแสดงตนใช้สิทธิลงคะแนน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(2)    หน้าที่ตรวจบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก ได้แก่ การตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกอ่านชื่อตัวและชื่อสกุล จดหมายเลขบัตรและชื่อหน่วยงานของรัฐที่ออกบัตรแล้วให้ผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก
(3)    หน้าที่มอบบัตรเลือก ได้แก่ การบันทึกหมายเลขลำดับที่ของผู้มีสิทธิเลือกที่ปรากฎในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตามแบบ ผญ. 2 และจัดให้ผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ที่ต้นขั้วบัตรเลือกเสร็จแล้วจึงฉีกบัตรเลือกตามรอยปรุออกจากต้นขั้วบัตรเลือก และพับบัตรเลือกก่อนส่งมอบให้ผู้มีสิทธิเลือกนั้นไปลงคะแนน
(4)    หน้าที่ควบคุมคูหาลงคะแนน ได้แก่ การจัดระเบียบในการเข้าไปลงคะแนนในคูหาลงคะแนนให้เป็นไปด้วยเรียบร้อย สุจริตและเที่ยงธรรม
(5)    หน้าที่ควบคุมหีบบัตร ได้แก่ การควบคุมดูแลหีบบัตร และอำนวยความสะดวกในการหย่อนบัตรเลือกของผู้มีสิทธิเลือกกรรมการเลือกที่เหลือให้คอยสับเปลี่ยนช่วยเหลือกรรมการเลือกที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่
   4.    เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้สิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการเลือกอาจแบ่งบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกชุดที่ใช้ตรวจสอบการใช้สิทธิเลือก และใช้หมายเหตุ        การลงคะแนนสำหรับใช้ในการตรวจสอบรายชื่อและส่งบัตรเลือกให้รวดเร็วขึ้นได้ เมื่อปิดการลงคะแนนแล้วให้รวมบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกดังกล่าวให้เป็นชุดเดียวดังเดิม


     การลงคะแนน
1.    ให้เปิดการลงคะแนนตั้งแต่เวลา 08.00 นาฬิกาถึง 15.00 นาฬิกา เมื่อถึงเวลา 18.00 นาฬิกา ให้คณะกรรมการเลือกนำหีบบัตรมาแสดงให้ผู้มีสิทธิเลือกซึ่งอยู่ ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านเห็นว่าเป็นหีบเปล่า เสร็จแล้วให้ปิดหีบบัตร ในกรณีหีบบัตรเป็นหีบกระดาษให้ปิดเทปกาวผนึกรอยต่อภายนอกหีบบัตร และใส่กุญแจหรืออุปกรณ์อื่นแทนกุญแจ เสร็จแล้วเปิดช่องหย่อนบัตรเลือกและบันทึกการดำเนินการดังกล่าวไว้ในแบบ ผญ.11 โดยให้กรรมการเลือกและผู้มีสิทธิเลือกหรือผู้สังเกตการณ์ไม่น้อยกว่า 2 คนลงลายมือชื่อไว้ด้วย เว้นแต่ไม่มีผู้สิทธิหรือผู้สังเกตการณ์อยู่ ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านนั้น เมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ประธานกรรมการเลือกกล่าวเปิดการลงคะแนน เช่น กล่าวว่า “บัดนี้ถึงเวลาลงคะแนนแล้ว ขอเปิดการลงคะแนน” แล้วจึงเริ่มดำเนินการคะแนนต่อไป
2.    การใช้สิทธิลงคะแนน ให้ผู้มีสิทธิเลือกที่ประสงค์ลงคะแนนแสดงตนต่อกรรมการเลือก โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุหรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายและมีความหมายเลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร
3.    การตรวจสอบการขอใช้สิทธิเลือกให้กรรมเลือก ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีรายชื่อตรวจสอบหลักฐาน 1. ของผู้มาแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิเลือก กับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกในแบบ ผญ. 2 เมื่อพบชื่อและตรวจสอบถูกต้องแล้ว ให้อ่านชื่อตัวและชื่อสกุลของผู้นั้นดังๆ ถ้าไม่มีผู้ใดทักท้วงให้จดหมายเลขบัตรหรือหลักฐาน และสถานที่ออกบัตร โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาในแบบ ผญ. 2 ไว้เป็นหลักฐาน โดยถือว่าเป็นการหมายเหตุการใช้สิทธิเลือกแล้ว
กรณีผู้มีสิทธิเลือกไม่มีหัวแม่มือขวา ให้พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย ถ้าไม่มีนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างให้พิมพ์ลายนิ้วมือใดนิ้วมือหนึ่งแทน หากไม่มีนิ้วมืออยู่เลยให้ได้รับการยกเว้นและให้กรรมการเลือกหมายเหตุว่าไม่มีนิ้วมือ
ให้กรรมการเลือกผู้ทำหน้าที่มอบบัตรเลือก บันทึกหมายเลขลำดับที่ของผู้มีสิทธิเลือกที่ปรากฎในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกไว้ที่ต้นขั้วบัตรเลือกเสร็จแล้ว ฉีกบัตรเลือกตามรอยปรุออกจากต้นขั้วบัตรเลือก และพับบัตรเลือกแล้วส่งมอบบัตรเลือกให้แก่ผู้นั้นเพื่อไปลงคะแนน











 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :