เตรียมสอบปลัดอำเภอ ถาม –ตอบ |
|
อ้างอิง
อ่าน 586 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ถาม –ตอบ
1. TQM (Total Quality Management) คือ
การบริหารคุณภาพ เป็นเครื่องมือที่ใช้ใน “มุมมองด้านลูกค้า / คุณภาพการให้บริการ โดย TQM ต้องใช้วงจรเดมมิ่ง (Demming Cycle) มาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ โดย
T (Total) หมายถึง ทุกคนในองค์กรจะมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ นับตั้งแต่ผู้บริหาร หัวหน้า ผู้ปฏิบัติ
Q (Quality) หมายถึง คุณภาพของสินค้า หรือบริการ ที่สามารถสร้างความพอใจแก่ลูกค้า และตอบสนองต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง
M (Management) หมายถึง การบริหารคุณภาพที่มุ่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
TQM เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยนำเทคนิคต่างๆ มาปรับใช้ หรืออาจนำ วงจรเดมมิ่ง Deming Cycle ปรับใช้ (PDCA) คือ วงจรของการวางแผน – ปฏิบัติ – ตรวจสอบ – แก้ไข (Plan – Do – Check – Action)
ส่วนประกอบสำคัญของ TQM คือ
1. การให้ความสำคัญกับ
2 การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3.สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (ทีมงานเป็นกลจักรสำคัญในการผลักดันธุรกิจ)
2. การบริหารความเสี่ยง (RISK Management) มีขั้นตอนการบริหารอย่างไร
มีขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Establishment)
2. การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)
3. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
4. การสร้างแผนจัดการ (Risk Management Planning)
5. การติดตามสอบทาน (Monitoring & Review)
3. Benchmarking คือ
การเปรียบเทียบกระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติกับผู้ที่ทำได้ดีกว่า ซึ่งเป็นเครื่องมือของผู้บริหาร ที่จะช่วยกำกับการปรับปรุงหรือพัฒนาผลการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น ลดข้อผิดพลาดในการทำงานแก้ปัญหาขององค์การ
4. Best Practice คือ
การปรับปรุงงาน โดยวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง แล้วผลจากการศึกษาเปรียบเทียบดีเด่น สามารถนำเผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์ก่อองค์การต่างๆ ในการนำไปเปรียบเทียบและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องได้ หรือ “การศึกษาจากวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ”
5. ระบบธรรมภิบาล (Good Governance) ประกอบด้วย
1. หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักการมีส่วนร่วม
4. หลักความโปร่งใส
5. หลักความคุ้มค่า
6. หลักความรับผิดชอบ
6. HR Scorecard
เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสมรรถนะระบบบริหารทรัพยากรบุคคลในภาคราชการที่ สำนักงาน ก.พ. ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ
7. CEO คือ อะไร
พิจารณาตามรูปศัพท์ในภาษาอังกฤษ และตามที่ใช้กันอยู่ในวงการบริหารธุรกิจ CEO คือ CHIEF EXECUTIVE OFFICER ในวงการบริหารราชการหรือบริหารแผ่นดิน คำว่า CEO มีการนำเข้ามาใช้น้อย แต่ก็มีอยู่บ้าง เช่น ต่งเจี้ยนหัว ผู้บริหารเกาะฮ่องกง ก็เรียกวา CHIEF EXECUTIVE ประเทศไทยจะใช้กันโดยมากคือ ผู้ว่า CEO
8. CEO คือ
ผู้บริหารการเปลี่ยนแปล (Chief Change Officer)
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|