แนวข้อสอบ PS 703 |
|
อ้างอิง
อ่าน 1068 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
แนวข้อสอบ PS 703
1.อาจารย์เบญจมาส
น่าจะออกคล้ายๆ Quiz แต่คำถามอาจารย์เบ็ญจมาสค่อนข้างซับซ้อน และอาจจะซับซ้อนกว่า QUIZ ดังนั้นนักศึกษาต้องวิเคราะห์โจทย์ก่อน
จากคำถาม Quiz
ให้อธิบายและวิเคราะห์ถึงบทบาทและการใช้อำนาจ ของผู้แสดงบาทระหว่างประเทศที่สำคัญที่มีผลทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ ระบอบโลก และระเบียบโลกในยุคหลังสงครามเย็น พร้อมทั้งให้ใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดทฤษฎีของสำนักต่างๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาช่วยในการอธิบายและวิเคราะห์ พร้อมทั้งยกตัวอย่างและวาดภาพหรือแผนผังมาประกอบการอธิบาย
สิ่งที่นักศึกษาต้องตอบก่อนคือ
1.ระบบโลกหรือระบบระหว่างประเทศในยุคสงครามเย็น เป็นระบบแบบไหน (ระบบระหว่างประเทศคือการกระทำซึ่งกันและกันของตัวแสดงบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ)
-ถ้ามองว่าเป็นระบบที่เกี่ยวกับกับเศรษฐกิจและการค้า แสดงว่าตัวแสดงมีการกระทำซึ่งกันและกันทางด้านเศรษฐกิจและการค้า
-ถ้ามองว่าเป็นระบบที่เน้นเกี่ยวกับการเมืองและความมั่นคง แสดงว่าตัวแดงมีการกระทำซึ่งกันและกันด้านการทหารและความมั่นคง
2.นักศึกษาต้องบอกให้ว่าในระบบด้านเศรษฐกิจและการค้าหรือในระบบความมั่นคงมีตัวแสดงอะไรบ้างที่สำคัญ เช่น
-บรรษัทข้ามชาติ องค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ด้านเศรษฐกิจ
-ชาติมหาอำนาจ องค์การก่อการร้าย สหประชาชาติ เป็นตัวแสดงสำคัญด้านการเมืองและความมั่นคง
3.ตัวแสดงเหล่านั้นมีบทบทบาททางเศรษฐกิจการค้า หรือการเมืองอย่างไร อันนี้ต้องยกตัวอย่างประกอบ
เช่นบรรษัทข้ามชาติต้องการเข้าไปลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาโดยปราศจากอุปสรรคต่างๆ ต้องการเปิดตลาดทางการเงินให้เสรีเพื่อไปลงทุนทางการเงิน ชาติมหาอำนาจมีกีดกันการนำเข้าสินค้าจากประเทศเกษตรกรรม
หรือสหรัฐอเมริกากดดันให้ทุกประเทศดำเนินนโยบายต่อต้านการก่อการร้าย
4.วิเคราะห์ว่าตัวแสดงกระทำเช่นนั้นก่อให้เกิดระบอบ และระเบียบระหว่างประเทศอย่างไร
เช่นการที่บรรษัทข้ามชาติต้องการเข้าไปลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาโดยเสรี ทำให้เกิดระบอบระหว่างประเทศคือกฎเกณฑ์หรือความตกลงใน WTO ที่บอกว่าการลงทุนทั่วโลกต้องมีความเสรี ไม่มีกฎเกณฑ์ในการจำกัดการลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งระบอบดังกล่าวก่อให้เกิดระเบียบโลกที่สำคัญคือระเบียบด้านเศรษฐกิจเสรี
กล่าวคือการกระทำซึ่งกันและกันหรือบทบาทของตัวแสดงระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดระบอบระหว่างประเทศ และทำให้เกิดระเบียบระหว่างประเทศ ซึ่งในที่สุดสิ่งเหล่านี่ก็จะกลายเป็นแนวทางในการกำหนดบทบาทของตัวแสดงบทบาทระหว่างประเทศเช่นกัน
(จากนั้นให้วาดรูป ความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบ ระบอบ และระเบียบโลก)
ยกตัวอย่าง
ประเทศสหภาพยุโรปได้นำมีการ การห้ามนำเข้า การจำกัดปริมาณการนำเข้า, สินค้าที่ยุโรปมองว่ามีกระบวนการผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการให้ประเทศส่งออกต้องติดฉลากการ Eco-labelling และในบางกรณีก็มีการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม จากประเทศผู้ส่งออก ถือว่าเป็นการกระทำตามระบอบโลกว่าด้วยข้อตกลงทางการค้าใน WTO ที่ว่าด้วยการค้าที่ไมทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบอบดังกล่าวเป็นไปตามระเบียบโลกหลังสงครามเย็นที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตามการกระทำดังกล่าวของอียูอาจจะมองได้ว่าเป็นการกีดกันการสินค้าโดยใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งถือเป็นการละเมิดระบอบการค้าของโลก ที่ต้องขึ้นอยู่กับระเบียบการค้าโลกที่บอกว่าต้องเป็นการค้าเสรี
ดังนั้นการกระทำดังกล่าวของอียูถือว่าเป็นการกระทำตามแนวคิดสัจนิยมที่หวังจะรักษาผลประโยชน์ของชาติในอียูเอาไว้ เพราะไม่ต้องการให้ผู้ผลิตภายในของอียูได้รับผลกระทบจากสินค้าภายนอกที่มีราคาถูกกว่า โดยใช้การกีดกันทางการตามแนวคิดพาณิชย์นิยมใหม่ เนื่องจากเป็นการกีดกันทางการค้าที่ใช้มาตรการไม่ใช่ภาษี
(ในการเขียนข้อสอบนักศึกษาจะต้องมีตัวอย่างที่หลากหลาย )
**************
2.อาจารย์ศิโรฒม์ มี 2 ประเด็นหลักที่จะออกเป็นข้อสอบคือ
1.การควบคุมอาวุธนิวเคลียร์รูปแบบใดที่ประสบความสำเร็จ รูปแบบใดที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะอะไร
2.วิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์
**ปัจจัยที่สำคัญมากๆ คือโครงการพัฒนาระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐอเมริกา เพราะถ้าโครงการนี้สำเร็จ การควบคุมนิวเคลียร์ที่ผ่านมาจะไม่ได้ผลเลย และจะก่อให้เกิดการแข่งขันทางด้านนิวเคลียร์ครั้งใหม่ ขณะที่อุปสรรคของฝ่ายรัสเซียนั้นไม่ได้เป็นเรื่องยากนักที่จะแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรื้อทำลาย การควบคุมตามแนวชายแดน ...
3.อาจารย์การุณยลักษณ์
อาจารย์เน้นประเด็นปัญหาคุกคามใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ดังนั้นข้อสอบน่าจะให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาวิกฤติของโลก
จุดที่น่าสนใจคือวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และพลังงาน และน่าจะให้นักศึกษาเสนอทางออกในการแก้ปัญหา
วิธีการแก้ไขปัญหาวิกฤติของโลกเหล่านี้ต้องทำโดยอาศัยความร่วมมือกันทั้งโลก แต่ปัญหาที่สำคัญก็คือประเทศที่สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมักจะเป็นชาติมหาอำนาจ เช่นปัญหาโลกร้อนเกิดจากประเทศอุตสาหกรรมปล่อยก๊าชขึ้นสู่บรรยากาศของโลก ตามข้อตกลงด้านโลกร้อนเรียกร้องให้ประเทศเหล่านี้ลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ลง แต่หลายประเทศไม่ทำตาม เพราะการลดปริมาณก๊าชจะกลายเป็นต้นทุนในการผลิต ซึ่งประเทศที่เห็นแก่ตัวไม่อยากทำ
เช่นเดียวกับในเรื่องทรัพยากร ประเทศขนาดใหญ่โดยเฉพาะอเมริกาเป็นผู้บริโภคทรัพยากรรายใหญ่ของโลก หรืออาจจะกล่าวได้ว่าคนอเมริกัน 200 ล้านกว่าคนบริโภคทรัพยากรมากว่า 80 % ของทรัพยากรโลก แต่กลับให้คนทั่วโลกต้องรับภาระการขาดแคลนทรัพยากร
การจะแก้ปัญหาประเทศเล็กๆต้องร่วมมือกันต่อรอง และกดดันชาติมหาอำนาจเหล่านี้
4.อาจารย์วราภรณ์ น่าจะให้เอาแนวคิดจากสำนักคิดที่สอนไปวิเคราะห์ ประเด็นการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบัน
ในการสอนของอาจารย์จะเน้นปัญหาเขาพระวิหารที่เป็นความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา
**เวลานักศึกษาวิเคราะห์ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักศึกษาว่าเป็นพวกสัจนิยม หรืออุดมคตินิยม ถ้าเป็นพวกสัจนิยมก็ต้องเน้นไปที่การรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยเฉพาะผลประโยชน์ในเรื่องดินแดน เพราะดินแดนจะนำมาซึ่งผลประโยชน์อื่น แต่ถ้าเป็นพวกอุดมคตินิยมก็อาจจะมีมุมองว่าการแก้ไขปัญหาเขาพระวิหารจะต้องร่วมมือกัน ระหว่างไทยกัมพูชา เช่นบริหารพื้นที่ร่วมกัน
5.อาจารย์ทิพรัตน์โอกาสของข้อสอบ
1.น่าจะให้นักศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเสรีนิยมกับโลกาภิวัตน์ และการบูรณาการทางเศรษฐกิจ
2.วิเคราะห์ถึงผลกระทบของโลกาภิวัตน์ เสรีนิยม และบูรณาการระหว่างประเทศที่มีต่อประเทศไทย
ทั้งนี้แนวคิดเสรีนิยมเป็นแนวคิดที่ก่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างประเทศเพราะเสรีนิยมเชื่อในการร่วมมือระหว่างประเทศ เชื่อในการเปิดเสรีระหว่างกัน และการที่เสรีนิยมเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลก เพราะแนวคิดเสรีนิยมกระจายไปทั่วโลก ช่วยกระตุ้นให้โลกมีความเป็นโลกาภิวัตน์หรือกล่าวว่าโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันเป็นโลกาภิวัตน์และเสรีนิยม
ส่วนผลกระทบต่อประเทศไทยก็คือทำให้ประเทศไทยต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม เช่น
-เปิดเสรีทางด้านการค้า การลงทุน ต้องเข้ารวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค
-ประเทศไทยต้องตกเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลกที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากลัทธิเสรีนิยมใหม่และโลกาภิวัตน์
เช่นในสมัยหนึ่งประเทศไทยกลายเป็นแหล่งลงทุนราคาถูกของต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น อเมริกา อียู เพราะเรามีแรงงานราคาถูก นโยบายเสรีนิยมทำให้ไทยต้องส่งเสริมการลงทุน ไม่มีมาตรการควบคุมแม้กระทั่งมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้สภาพแวดล้อมของเราถูกทำลายจากการลงทุนของต่างชาติ
ต่อมาเมื่อแรงงานของเราราคาแพงขึ้นทุนต่างชาติก็ถอนตัวไปลงทุนในประเทศที่แรงงานถูกกว่า ทำให้แรงงานไทยตกงาน และเรายังต้องแบกรับภาระในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งสุดท้ายเมื่อเปรียบต้นทุนกำไรแล้วเราอาจจะไม่ได้อะไรเลยจาการลงทุนต่างชาติ
ตัวอย่างเช่นในปี 2550 บริษัทไทรอัมฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนลที่มีสำนักงานใหญ่ที่สวิสเซอร์แลนด์และเยอรมัน ซึ่งเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานผลิตชุดชั้นในในประเทศไทยหลายแห่ง ได้เลิกจ้างแรงงานไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และทำงานมานาน ทำให้มีค่าจ้างสูงขึ้น เพราะบริษัทได้หันไปจ้างเหมาช่วงการตัดเย็บชุดชั้นในโดยใช้แรงงานพม่า ตามแนวชายแดนไทย ทำให้ลูกจ้างของเราเดือดร้อน โดยบริษัทอ้างว่าบริษัทประสบการขาดทุน ทั้งๆที่จริงแล้วได้ทำกำไรมหาศาลจากการใช้แรงงานราคาถูก
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|