สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714750
แสดงหน้า2190260
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




PS 703 รศ.การุณย์ลักษณ์ พหลโยธิน วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2553 (ศุกร์เย็น)

PS 703 รศ.การุณย์ลักษณ์ พหลโยธิน วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2553 (ศุกร์เย็น)
อ้างอิง อ่าน 663 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
PS 703 รศ.การุณย์ลักษณ์ พหลโยธิน วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2553 (ศุกร์เย็น)

    (คาดว่าอาจารย์บรรยายความสัมพันธ์ตามภาพนี้ไปแล้ว ผู้ถอดเทปจับใจความได้บางส่วนก่อนเข้าสู่การบรรยายหัวข้อการเมืองโลก)

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ            นโยบายต่างประเทศ

การเมืองระหว่างประเทศ

เศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ

การศึกษาโดยสหวิทยาการ

...............ละมุนอำนาจหรืออำนาจอ่อน คืออำนาจที่ไม่ได้ไปบังคับใครและไม่มีเจตนาจะให้ใครมาทำอะไรให้ แต่ได้มาเอง เช่น เกาหลีใต้ไม่ได้ใช้อำนาจอะไร แต่ในเมืองไทยกลับเกิดกระแสเกาหลี ทั้งภาพยนตร์ อาหาร แฟชั่น ต่างจากเมื่อ 50 ปีที่แล้วเรารู้จักเกาหลีแค่ว่าทหารไทยไปเกาหลีเท่านั้น 
การเมืองโลก
การเมืองโลกเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของโลก ทั้งที่เป็นรัฐชาติและที่ไม่ใช่รัฐ ประชาชนอาจทำให้เกิดสิ่งที่กระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศได้ เช่น เมื่อสิบปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียมีการเผาป่า ซึ่งชาวบ้านเผาป่าเป็นปกติทุกปี แต่ปีนั้นเกิดวิกฤติการณ์เอลนินโย่ ไม่มีมรสุมและฝน ไฟจึงไม่ดับ ลมจึงพัดเศษเถ้าถ่านมาปกคลุมสิงคโปร์ มาเลเซียและลามมาถึงปักษ์ใต้ของไทย รัฐบาลสิงคโปร์และรัฐบาลมาเลเซียจึงไปบอกรัฐบาลอินโดนีเซียให้ไปดับไฟป่า รัฐบาลอินโดนีเซียบอกว่าชาวบ้านไม่ฟังและตนไม่มีเครื่องมือเพียงพอ ประเทศต่างๆ จึงส่งเครื่องมือดับไฟและผู้เชี่ยวชาญไปช่วย การเผาป่าจึงเกือบทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล เพราะสองประเทศนี้มองว่ารัฐบาลอินโดนีเซียใส่เกียร์ว่าง และอินโดนีเซียก็ไม่พอใจ มองว่าไฟไหม้ในบ้านตนไม่เกี่ยวกับประเทศอื่น

รูปแบบความสัมพันธ์ของรัฐมี 2 แบบคือ
1. ความร่วมมือ (Cooperation)
2. ความขัดแย้ง (Conflict) รูปแบบที่รุนแรงที่สุดคือสงคราม
การเปลี่ยนแปลงยุคหลังสงครามเย็น – ศตวรรษที่ 21 
โลกใหม่ไม่ได้มีแค่ความขัดแย้งและความร่วมมือเท่านั้น แต่มีการแข่งขันกันด้วย โดยทั้งสามด้านจะนำไปสู่การประนีประนอมกันได้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของโลกปัจจุบันที่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็จะมีการประนีประนอมกัน (Compromise) เพราะความขัดแย้งทำให้คนหนึ่งได้แต่อีกคนเสีย (Win-lose) หรือที่เรียกว่า Zero Sum (เกมศูนย์) แต่หากร่วมมือกันก็จะได้ทั้งคู่ (Win-win) 
ทฤษฎีมีสมมติฐานว่าการเมืองเป็นการแข่งขันเรื่องอำนาจ ทุกคนต่างอยากเป็นฝ่ายรัฐบาล ระบบการเมืองในต่างประเทศจะไม่ใช้คำว่าฝ่ายค้านแต่จะเรียกว่าพวกเสียงข้างน้อย เพราะในระบอบประชาธิปไตยฝ่ายเสียงข้างมากจะต้องเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย บางครั้งนำเสียงข้างน้อยมาปรับปรุงแก้ไขนโยบายของตน และมีการประนีประนอมกันจึงทำให้อยู่ร่วมกันได้ แต่การเมืองระหว่างประเทศมองว่าอำนาจคือธรรม คือความถูกต้อง ใครชนะจะเป็นผู้ชี้ชะตา เพราะอำนาจเป็นทั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายในเวลาเดียวกัน การดำเนินกิจกรรมระหว่างประเทศส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องอำนาจ
การเมืองไม่ใช่เรื่องอำนาจอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องปากท้องที่เรียกว่าเศรษฐกิจด้วย ซึ่งเศรษฐกิจเป็นเรื่องของความกินดีอยู่ดี อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทฤษฎีที่นำไปใช้เกี่ยวกับการจัดองค์กรย่อยๆ หรือกลไกในการเปลี่ยนแปลงจะเรียกว่าทฤษฎีการพัฒนา ซึ่งเป็นทฤษฎีทางตะวันตกหรือที่เราเรียกว่าทฤษฎีกระแสหลัก เช่น ประชาธิปไตย เสรีนิยม ทุนนิยม
ปัจจุบันประเทศกว่า 90% อยู่ในกระแสทุนนิยม ขึ้นกับว่าประเทศใดจะเป็นมากเป็นน้อย แม้แต่ภูฏานที่ใช้เศรษฐกิจพอเพียงก็ยังเป็นทุนนิยม เมื่อทุนนิยมเป็นกระแสหลักจึงมีกระแสการต่อต้าน เช่น มาร์กซิสต์ต้องการให้ทุกคนเป็นเจ้าของทุน ไม่มีใครเป็นนายทุน แต่ประเทศที่ใช้หลักการของมาร์กซ์ก็มีการเปลี่ยนใจ บางประเทศพร้อมใจเปลี่ยน เช่น รัสเซีย ปัจจุบันเหลือเพียง 4 ประเทศในโลกที่ยังใช้หลักการต้านทานทุนนิยมอยู่ เพราะทุนนิยมเสรีมีจุดอ่อน เช่น การเอารัดเอาเปรียบ คนรวยคนจนมากขึ้น
ทฤษฎีกระแสหลัก เช่น ทฤษฎีด้านการพัฒนามีการบูรณาการ ทฤษฎีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทฤษฎีอีกแนวหนึ่งอธิบายว่าเป็นการพัฒนาแบบพึ่งพา ทำให้เกิดการร่วมมือ สันติภาพ ความมั่งคั่ง ความมีระเบียบ ความเท่าเทียมกัน เปรียบกับนิ้วทั้งห้าของเราที่ไม่เท่ากันแต่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน นิ้วใดสำคัญกว่ากันขึ้นอยู่กับการดำเนินกิจกรรมและวัฒนธรรม หากขาดนิ้วใดนิ้วหนึ่งไปก็จะลำบาก นิ้วที่มีความสำคัญทางสรีระมากที่สุดคือนิ้วโป้ง หากไม่มีนิ้วโป้งก็จะจับของไม่ได้และจะกำหมัดได้ไม่แน่น ตะวันตกมองว่านิ้วโป้งสำคัญที่สุดต่อการปกครองเพราะเป็น Pumb Rule ดังนั้น ความเท่าเทียมกันเป็นเพียงอุดมคติและการเปรียบเทียบ ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเท่ากันจริงๆ คนเรามีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่ากันแต่มนุษย์จะไม่เท่ากัน หากมนุษย์เท่ากันทั้งหมดทั้งความคิด ความสามารถและหน้าตาก็จะเป็นยุคศรีอารยะ
 ทฤษฎีแนวมาร์กซิสต์หรือแนววิพากษ์กล่าวว่าทฤษฎีกระแสหลักดูเหมือนดีจริง แต่ใช้ไม่ได้ผลเพราะบางครั้งไม่ได้ทำให้เกิดการพัฒนาและมีความไร้ระเบียบ โลกมีความไม่เท่าเทียมกัน มีประเทศฝ่ายเหนือที่เป็นประเทศที่รวยกว่า มีประเทศฝ่ายใต้ที่เป็นประเทศที่ยากจน และยังมีสงครามและความยัดแย้งอยู่ ในแง่ของการพัฒนามองว่าเป็นทฤษฎีครอบงำหรือจักรวรรดินิยม ทฤษฎีจักรวรรดินิยมคือการใช้อำนาจครอบงำคนอีกประเทศหนึ่ง สมัยหนึ่งครอบงำด้วยการใช้อำนาจเข้าไปยึดครองและจับตัวไปเป็นทาสใช้แรงงาน ทุกประเทศจึงมีสิทธิเป็นจักรวรรดินิยมหากใช้อำนาจเข้าไปบังคับคนอีกกลุ่มหนึ่งโดยที่เขาไม่ยินยอม ปัจจุบันคนยังมีแนวคิดจักรวรรดินิยมอยู่ เช่นที่สะท้อนในหนังเรื่องอวตารหรือการเข้าไปอยู่บนดาวอังคาร เพราะการเมืองยังเป็นเรื่องของผลประโยชน์อยู่ แต่การเมืองก็ต้องมีจริยธรรม
มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่สามารถคิดได้อย่างซับซ้อน มนุษย์จึงมีจริยธรรมมากที่สุด พฤติกรรมการเข้าไปครอบครองในปัจจุบันจะไม่ใช้อำนาจเข้าไปบังคับกดขี่เหมือนเดิม แต่จะใช้การดึงดูดใจ ให้ประโยชน์ เป็นที่มาของจักรวรรดินิยมสมัยใหม่ โดยใช้เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ระบบบริโภคนิยม หรือสื่อเข้าไปครอบงำ ซึ่งแนวคิดนี้มองว่าประเทศต่างๆ อยากถูกครอบงำเองและอยากพึ่งพาอาศัยเอง บางอย่างพึ่งพามากจนยืนด้วยตัวเองไม่ได้ เช่น คนไทยส่วนใหญ่มีฐานะยากจนต้องพึ่งพารัฐ สถาบันการเงิน และเป็นหนี้นอกระบบจึงไม่เป็นตัวของตัวเอง ประเทศก็ต้องพึ่งพาประเทศอื่น เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง คนไทยก็ต้องเปลี่ยนด้วยการช่วยตัวเอง ช่วยชุมชนและช่วยชาติ องค์กรบางอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะไทยเราไม่ได้ด้อยพัฒนาสุดโต่ง แม้จะเป็นประเทศฝ่ายใต้แต่ก็ยังอยู่เหนือหลายประเทศ ตอนนี้เราเกือบไม่ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพราะไทยเรามีการพัฒนาบ้างแล้ว เราจึงเปลี่ยนบทบาทจากประเทศผู้รับความช่วยเหลือมาเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยช่วยเหลือลาว พม่า กัมพูชา บังคลาเทศ และประเทศในแถบแอฟริกา ซึ่งประเทศเหล่านี้ย่อมกลับมาตอบแทนไทย เช่น ซื้อสินค้าไทย
การเมืองโลกเป็นการเมืองของเรา อดีตไทยเราไม่ได้ร่วมรบในสงครามโลก แต่สงครามโลกก็ส่งผลมากระทบเรา สงครามโลกครั้งที่หนึ่งไทยเราอยู่ฝ่ายชนะแม้ไม่ได้รบจริงๆ ทำให้เรามีศักดิ์ศรีในเวทีระหว่างประเทศ ไทยเรามีชื่อเสียงมานานโดยเฉพาะพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระสหายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ต่างชาติจึงให้การยอมรับสยามประเทศ แต่ผู้นำไทยเปลี่ยนชื่อประเทศ กว่าจะทำให้ชื่อประเทศไทยติดตลาดก็ต้องใช้เวลานาน 
ปัจจุบันสถานการณ์การเมืองโลกเปลี่ยนแปลง การเมืองเปลี่ยนเป็นการเมืองภาคพลเมืองเพราะจะส่งผลต่อกิจกรรม สภาพแวดล้อม วิถีชีวิต ระบอบหรือกติกาต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมา เช่น ระบอบความมั่นคงของมนุษย์เป็นการทำให้คนมีสุขภาพดี มีงานทำ มีการศึกษา มีวิถีชีวิตที่ไม่ล้มเหลว 
สภาพแวดล้อมภายในและสถานการณ์โลกทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21 และในอนาคตเปลี่ยนแปลงไป เช่น การแปรปรวนของอากาศเกิดจากการกระทำของมนุษย์ มีการพยากรณ์ว่าน้ำทะเลจะสูงขึ้น น้ำจะท่วมโลกและอุณหภูมิโลกจะเหลือ 6 องศา แต่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่าว่าเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในยุคน้ำแข็ง ซึ่งมันเป็นวัฏจักรของโลก อย่างไรก็ตาม เราสามารถร่วมมือกันบรรเทาได้
คำถามของการศึกษาคือ
1. เรามาถึงที่นี่ สถานการณ์(ปัจจุบัน) ได้อย่างไร
2. เรามีความคิดและวิธีมองสถานการณ์โลกอย่างไร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
3. เราจะทำความรู้สึก เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันที่สำคัญอย่างมีเหตุผลอย่างไร 
การสิ้นสุดของสงครามเย็นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ทำให้เกิด การรวมกลุ่มเศรษฐกิจและเงินตราสกุลใหม่ เหตุการณ์ 9/11 ทำให้สถานการณ์ความไม่แน่นอนของโลกหวนกลับมาอีกครั้ง เกิดความตึงเครียดเรื่องนิวเคลียร์และสภาวะแวดล้อม เกิดปัญหาภัยธรรมชาติที่รุนแรง เช่น แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเมืองจีน พายุถล่มพม่า ปัญหาขาดแคลนอาหาร สถานการณ์การเมืองโลกจึงไม่เป็นเรื่องไกลตัว บางอย่างเป็นการเมืองเต็มๆ แต่บางอย่างประชาชนทำเอง เช่น วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกา 
ประเด็นที่น่าสนใจศึกษา
1. มุมมองโลกผ่านแนวคิดและสถานการณ์โลก
2. ระบอบระหว่างประเทศ ระเบียบหรือระบบโลก
3. ละมุนอำนาจ ครุอำนาจ
4. โลกาภิวัตน์และท้องถิ่น ดูว่าท้องถิ่นจะพัฒนาอย่างไร จะอยู่ในโลกได้อย่างไร
5. การติดต่อสื่อสาร สังคมข้อมูลข่าวสารสู่สังคมฐานความรู้ ไซเบอร์ไฮเวย์ การเมืองเรื่องอินเตอร์เน็ต การเมืองปัจจุบันไม่ใช่เรื่องการเผชิญหน้ากันทางทหารแต่เป็นการแข่งขันแทบจะทุกชนิด เช่น จีนกับอเมริกาเป็นคู่แข่งกัน ตอนนี้จีนกำลังจะก้าวสู่การเป็นผู้นำโลก มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามรองจากอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งอเมริการู้ตัวว่าจะถูกแซงจึงชะลอให้แซงช้าที่สุด จีนจารกรรมข้อมูลบนโลกไซเบอร์ ล้วงเข้าไปถึงตึกเพนตากอน แต่อเมริกามีระบบป้องกันที่ดีจึงชัตดาวน์ไปก่อน
6. สถานการณ์โลก วิกฤติพลังงาน สิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ อาหาร
7. โลกานิยม ท้องถิ่นนิยมกับอัตลักษณ์และวัฒนธรรม เช่น โลกานิยมจะแข่งขันกับไทยนิยมได้หรือไม่ เราเป็นชาวอาเซียนด้วยกันต้องอยู่ด้วยกันตลอดไป จึงควรลดทิฐิเก่าๆ แล้วหันหน้ามาร่วมกัน จึงจะเกิด Win-win
8. รายงานสถานะโลกจาก World Watch Institute 
9. สังคมโลก ละมุนอำนาจ/อำนาจลมุน 
มุมมองและสถานการณ์โลก
อาจารย์แบ่งกลุ่มแนวคิดด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับ Macro ออกเป็น 3 แนวใหญ่ ได้แก่
แนวแรก มองว่าชุมชนที่เข้มแข็งที่สุดคือรัฐ โดยรัฐเป็นศูนย์กลาง ผูกขาดอำนาจที่จะใช้กับพลเมืองภายในดินแดนของตนและใช้กับรัฐอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐในรูปแบบใดก็ตาม เช่น 
-รัฐเผ่าชน (Tribal State) ปัจจุบันอาจจะหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น การพยายามสร้างรัฐของชนเผ่าเชสเนียร์ในรัสเซีย แต่ทำไม่ได้เพราะดินแดนนั้นมีคนเผ่าอื่นอยู่ด้วย
-นครรัฐ (City State) ชุมชนในสมัยกรีกมีลักษณะเป็นนครรัฐ การปกครองมีหลากหลาย เช่น นครรัฐสปาร์ตาปกครองโดยทหาร ไทยเราเคยมีลักษณะแบบนครรัฐแต่การปกครองไม่ต่างกันมาก เช่น นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี อุทัยธานี โดยมีผู้ปกครอง ประชาชน อาณาเขตและมีกิจกรรมต่างๆ นครเขลางค์และนครหิริภุญชัยมีผู้หญิงเป็นผู้ปกครอง นครรัฐบางแห่ง หากผู้ชายไม่อยู่ผู้หญิงก็จะมาปกครองแทน เช่น ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร (ทรงเป็นมุสลิม)
-สาธารณรัฐ (Republic) เช่น สาธารณรัฐกรีก มีคณะผู้ปกครองเป็นประชาชน โรมันเกิดจากการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประชาชนเป็นผู้ปกครอง กลุ่มผู้ปกครองเรียกว่า Senator หรือสมาชิกวุฒิสภา ตะวันตกจึงให้ความสำคัญกับส.ว.เพราะสามารถปกครองได้ ไทยเราเอามาแต่รูปแบบจึงไม่รู้ว่าส.ว.และส.ส.ต่างกันอย่างไร
-อาณาจักร (Kingdom) คือรัฐที่มีกษัตริย์ปกครอง เช่น โรมันเปลี่ยนตัวเองมาเป็นอาณาจักร เนื่องจากจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งเป็น Senator ถูกสังหาร กลุ่มผู้สนับสนุน Senator จึงกลับมาทวงคืนอำนาจ แต่เบื่อการปกครองแบบสาธารณรัฐมาก ที่นักการเมืองเละเทะแย่งชิงขัดขากัน จึงเปลี่ยนมาให้กษัตริย์ปกครอง 
-จักรวรรดิหรือมหาอาณาจักร (Empire) กษัตริย์โรมันบางองค์แผ่ขยายอาณาจักรจึงเกิดเป็นจักรวรรดิ แต่กษัตริย์บางองค์เผาบ้านเผาเมืองตัวเอง เช่น กษัตริย์เนโรอยากสร้างกรุงโรมใหม่จึงเผาบ้านเมืองตัวเอง มหาอาณาจักรมีสิทธิ์ล่มสลายได้เพราะมนุษย์เป็นผู้สร้างก็ย่อมเป็นผู้ทำลาย เนื่องจากการเมืองเป็นเรื่องอำนาจ จักรวรรดิต่างๆ จึงรบกันและต่างก็พากันแพ้ เมื่อเห็นว่าอำนาจไม่จีรัง จึงหันหน้ามาตกลงประนีประนอมกันสร้างชาติรัฐขึ้น
-ชาติรัฐหรือชาติรัฐอธิปไตย (Sovereign Nation State) คือการจำกัดขอบเขตอำนาจรัฐไว้ในดินแดนตนเอง คนอื่นไม่สามารถล่วงล้ำได้และตนเองก็ไม่สามารถใช้อำนาจเหนือรัฐอื่นได้ เพื่อลดภาวะการทำลายลง แต่ใช้ชาติรัฐมา 400 ปี ความคุ้นเคยของมนุษย์เรื่องการใช้อำนาจก็ทำให้เกิดสงครามโลกถึงสองครั้ง ดังนั้น มุมมองที่ว่ารัฐเป็นศูนย์กลางจึงแก้ปัญหาไม่ตกมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการลดอำนาจรัฐลง จึงสนับสนุนกิจกรรมอื่นแทน เช่น กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา
แนวที่สอง มองว่ารัฐไม่ได้เป็นศูนย์กลาง มุมมองในอดีตจะมีพื้นฐานวางอยู่บนปรัชญา ศีลธรรม จริยธรรม อุดมคติ จึงมีมุมมองต่อสถานการณ์ต่างๆ ในลักษณะอุดมคติ เช่น รัฐเกิดขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ให้มนุษย์ส่วนรวม แต่รัฐไม่จำเป็นต้องมีก็ได้หากมนุษย์รู้จักดำเนินกิจกรรมโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง แต่ที่ทะเลาะกันและแบ่งเป็นค่ายอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพราะการพัฒนาที่ไม่เทียมกัน การเอารัดเอาเปรียบกัน ซึ่งภายหลังพัฒนามาเป็นแนวคิดกระแสวิพากษ์ ทั้งในแนวมาร์กซิสต์และแนวเศรษฐกิจการเมือง เช่น ระบบโลก การพึ่งพาหรือเมืองพึ่ง แนวคิดด้านสากลนิยมหรือนานาชาตินิยม
แนวที่สาม เป็นแนวคิดกระแสทางเลือก (Alternative Approach) เช่น แนวคิดเรื่องเพศภาวะ สตรีนิยม สิ่งแวดล้อม การเมืองสีเขียว อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ซึ่งเป็นการพัฒนาการใหม่ในมุมมองโลกและแนวคิดในเชิงวิศวปฏิฐานนิยม (Constructivism)
มุมมองหรือการกระทำในอดีตจะถูกถูกครอบงำด้วยปิตาธิปไตย นักคิดและผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ทำให้มีมุมมองด้านเดียว มาจากกลุ่มใหญ่กลุ่มเดียว ทำให้มองได้ไม่รอบด้าน การมองปัญหาในอดีตและปัจจุบันจึงมองไม่ได้ทั่วถึง ทำให้เกิดปัญหาซ้ำซาก ดังนั้นจึงต้องมีมุมมองจากเพศอื่นด้วย โดยให้สตรีเข้ามามีส่วนในการดูแลแก้ไขมากขึ้น
ความคิดหลังสมัยใหม่ (Post Modern) เกิดขึ้นในยุคเรอเนสซองค์ ยุโรปมีการฟื้นฟูความคิดวิทยาการเป็นจำนวนมากหลังจากชะงักไปด้วยการครอบงำจากเทววิทยา ส่งผลทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดวิถีชีวิตความเป็นอยู่สมัยใหม่ มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงการเมือง โลกสมัยใหม่เป็นโลกประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยม มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แนวคิดก็ทันสมัยตามโลก แต่แม้จะมีวิถีชีวิตใหม่และมีเทคโนโลยีใหม่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงต้องมีมุมมองใหม่ๆ 


**ช่วงชมสารคดี National Geographic Special เรื่อง Earth Report**
ปี 2006 โลกของเราประสบกับแผ่นดินไหวใหญ่ๆมากกว่า 50 ครั้ง พายุใต้ฝุ่นและเฮอริเคน 70 ลูกและทอร์นาโดหนักๆอีก 19 ลูก รวมทั้งไฟป่า ภูเขาไฟระเบิดและคลื่นสึนามิ เหล่านี้คือปัญหาร้ายแรงที่เกิดกับโลก ทั้งด้านอากาศ พื้นดิน น้ำ และสัตว์ป่า 
ในการทำความเข้าใจกับปัญหาเหล่านี้จะมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยเฝ้าติดตามปัญหา สำคัญๆของโลก เช่นดร.ไมเฟย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่า ดร.ซิมิเออร์นักชีววิทยาทางทะเล ศ.วี รามาราธาน ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศ ศ.วานการี มาไทผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างคนกับพื้นดินที่เราอาศัยอยู่ คนเหล่านี้เป็นเหมือนกับหมอที่พยายามตอบคำถามว่าคนไข้ที่เรียกว่าบ้าน (หรือโลก) เป็นอย่างไร
ปัญหาใหญ่ที่สุดที่โลกเผชิญ 2006 คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยชั้นบรรยากาศเก็บความร้อนจากก๊าชมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป โดยปกติถ้าไม่มีก๊าชดังกล่าวโลกก็จะปกคลุมด้วยความหนาวเย็น แต่การเพิ่มปริมาณมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์มากว่า 7000 ล้านตันต่อปี จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงเช่นถ่านกินและน้ำมัน ทำให้มีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ผ่าหนาเกินไป 
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำเกิดช่องกลวงในน้ำแข็งขั้วโลก วันที่ 22 สิงหาคม 2006 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ทะเลโบว์ฟอร์คที่อลาสก้าเกิดช่องกลวงของน้ำแข็งที่เรียกว่าโพลีเนียมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่ากับเกาะไอช์แลนด์ ช่องกลวงดังกล่าวเกิดจากกระแสน้ำอุ่นและลมเปลี่ยนทิศทาง
หลังจากนั้นในช่วงฤดูร้อนเกิดรอยแตกขนาดมหึมาไหลจากอาร์กติกรัสเซียไปจนถึงขั้วโลก และนี่เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในโลก สัญญาณโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นที่อาร์กติกและเป็นไปอย่างรวดเร็วอย่างน่าตกใจ และน้ำแข็งที่ละลายในอาร์กติกทำความเดือดร้อนให้สัตว์และมนุษย์
วันที่ 13 กันยายน 2006 นักชีววิทยาพบหมีที่ผอมลงอย่างมากถึง 25 % เมื่อเทียบกับ 50 ปีที่แล้ว ส่งผลต่อความสามารถในการสืบพันธ์ น้ำหนักที่ลดลงมีความเชื่อมโยงกับการละลายของน้ำแข็ง เพราะการล่าอาหารทำได้ความลำบากมากขึ้น ซึ่งนั้นอาจจะทำให้หมีขั้วโลกสูญพันธ์
ดร.วาน มาการาไท กล่าวว่าข้อเสียเกี่ยวกับการสูญเสียสภาพแวดล้อมคือมันเป็นไปอย่างช้าๆ (จนคนไม่รู้สึก) และคนรุ่นที่ทำลายสภาพแวดล้อมไม่ได้เป็นคนรับผลกระทบ เพราะคนที่จะได้รับผลกระทบคือคนรุ่นต่อไป 
สภาพโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะทำให้คนรุ่นต่อไป เผชิญกับภาวะน้ำแข็งขั้วโลกละลาย และถ้าน้ำแข็งขั้วโลกบริเวณกรีนแลนด์ละลายหมด จะทำให้เมืองชายฝั่งต่างๆจมลงใต้น้ำและนั่นจะคุกคามประชากรถึงครึ่งหนึ่งของโลก
ในปี 2006 ยังเกิดภับพิบัติในหลายประเทศทั่วโลก เช่น
-ฟิลิปปินส์ถูกโจมตีด้วยโคลนถล่ม เนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ไม่มีต้นไม้ที่จะช่วยดูดซับน้ำฝน หมู่บ้านของฟิลิปปินส์จึงถูกฝังอยู่ใต้โคลนลึกกว่า 30 เมตร และทำให้มีผู้เสียชวิตจำนวนมาก
-ในอัฟริกามีหลายประเทศเข้าไปตักตวงทรัพยากร ทั้งการตัดไม้ การล่าสัตว์ การทำเหมืองแร่ การทำเกษตรกรรม ส่งผลให้เกิดการทำลายธรรมชาติอย่างรุนแรง แต่โชคดีที่ประธานาธิบดีคองโกก็มีการประกาศอุทยายานแห่งชาติใหม่ 2 แห่ง เป็นหนทางหนึ่งของการฟื้นฟูธรรมชาติ มีการป้องกันการล่าสัตว์ป่า มีสัตว์ป่าบางชนิดเพิ่มขึ้นทั้งช้าง กวาง กอริลล่า 
-เกิดพายุทรายในจีนทำลายบ้านเรือนไปมหาศาล เนื่องจากฝนที่ตกน้อยลงทำให้ดินที่อุดมสมบูรณ์กลายเป็นทราย เมื่อมีทะเลทรายมากขึ้นทำให้พายุทรายเกิดบ่อยขึ้นและการทำลายเมืองก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย แม้ว่าในจีนจึงพยายามจะมีการผลิตฝน แต่เวลานี้จีนมีพื้นที่ทะเลทรายมากกว่าพื้นที่การเกษตรถึง 2 เท่า และขยายไปทางตะวันออกของจีนเรื่อยๆ รวมทั้งในแอฟริกาเองก็มีการขยายตัวของทะเลทราย อันเนื่องมาจากการซะล้างหน้าดินและการทำลายป่า ทำให้โลกเข้าสู่ภาวะทะเลทราย 
-ในแคลิฟอร์เนียเกิดไฟป่ารุนแรงกินพื้นที่ 38,000 ตร.กม.ทำให้สูญเสียป่าไม้ไปจำนวนมาก
นอกจากนักวิชาการแล้วคนดังต่างๆก็มีส่วนในการรณรงค์เพื่อป้องกันและรักษาสัตว์ป่า เช่นเหยาหมิงนักบาสชาวจีนร่วมทำโฆษณาเพื่อป้องกันไม่ให้มีการล่าสัตว์และประกาศว่าจะเลิกกินซุปหูฉลามอันเป็นอาหารโปรดของชาวจีน 
หูฉลามเป็นอาหารที่มีผู้บริโภคมากขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของคนจีนและคนเอเชีย ในปี 2006 ปลาฉลามถูกฆ่าถึง 8 พันล้านตัว การทำลายปลาฉลามทำให้ระบบนิเวศน์ในทะเลเปลี่ยนไป เพราะจะทำให้ปลากรุ๊ปเปอร์ที่เป็นปลากินเนื้อเพิ่มมากขึ้น ปลาเหล่านี้จะทำลายปลากินพืชและส่งผลให้พืชทะเลขยายตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการพังทลายของแนวหินโสโครก และส่งผลต่อการทะลายของชายฝั่ง 
ภาวะโลกร้อนส่งผลเสียต่อมหาสมุทรและทำลายสิ่งมีชีวิตในทะเล เพราะทำให้น้ำทะเลมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น ทำให้เปลือกหอยและสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยอ่อนแอลง ยิ่งทำให้โลกร้อนมากขึ้นเพราะสัตว์ตัวเล็กในทะเลเหล่านี้ปล่อยออกซิเจนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกได้มหาศาล
ปัจจุบันเราจึงพบการรณรงค์มากมายทั่วโลก เช่นการรณรงค์ปลูกต้นไม้ หรือการที่สหรัฐได้ระงับการจับปลาแบบลากอวนใต้ทะเล เพราะการจับปลาแบบลากอวนใต้ทะเลเป็นการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในทะเลทำให้ปลามีปริมาณน้อยลง และมนุษย์ต้องลงทะเลลึกมากขึ้นเพื่อจับปลา แต่ก็กลายเป็นการทำลายปลาทะเลน้ำลึกซึ่งมักจะมีวงจรชีวิตที่ยาวนานและเติบโตอย่างช้าๆ ปลาทะเลน้ำลึกบางชนิดที่มนุษย์จับมาเป็นอาหารมีอายุมากกว่าปู่ทวดของคนกินเสียอีก
เช่นเดียวกับมลพิษทางอากาศก็ได้เกิดทั่วโลก เช่น LA หรือจีน รวมทั้งอินเดียจะมีหมอกหนาทึบที่เป็นมลพิษ 
ดังนั้นทุกวันนี้จึงต้องเร่งฟื้นฟูธรรมชาติ ทั้งการปลูกป่า การประกาศเขตสงวน การจัดทำก๊าชชีวภาพ เป็นต้น
Quiz 1
ภาพยนตร์ที่รับชมได้ให้ข้อมูลและประเด็นความคิดใดบ้างกับนักศึกษา เมื่อชม
1. ตอนต้นเรื่อง
2. ตอนกลางเรื่อง
3. บทสรุปเรื่อง


************************

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :