สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714762
แสดงหน้า2190341
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




PS 703 รศ.การุณย์ลักษณ์ พหลโยธิน วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2553 (เสาร์เช้า)

PS 703 รศ.การุณย์ลักษณ์ พหลโยธิน วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2553 (เสาร์เช้า)
อ้างอิง อ่าน 391 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
PS 703 รศ.การุณย์ลักษณ์ พหลโยธิน วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2553 (เสาร์เช้า)

    โลกพัฒนามาตั้งแต่มนุษย์มีความเจริญขึ้น อย่างน้อย 3,000 ปี หนังสือของคอปร้าชี้ให้เห็นว่าช่วง 3,000 ปีก่อนคริสตจักร ได้มีอาณาจักรต่างๆ ขึ้นๆลงๆ มีการถ่ายถอดอารยธรรมผ่านอาณาจักรต่างๆ มาจนถึงยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคตะวันตก อารยธรรมตะวันตกจึงถ่ายทอดมายังตะวันออก ในอนาคตอาจเป็นยุคตะวันออก ซึ่งตอนนี้จีนได้ตื่นแล้วและอินเดียกำลังตื่น จีนก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเพราะการเปิดกว้างทางการศึกษาและการปลูกฝังทางปัญญา 
สาเหตุที่เมืองซีลีคอนวัลเลย์ย้ายมาอยู่ที่มุมไบคือโลกาภิวัตน์ ตะวันตกเป็นศูนย์กลางความรู้ คนเอเชียจึงไปเรียนเป็นจำนวนมาก นักศึกษาเก่งๆใน 100 คน 50 คนไปจากอินเดีย 40 กว่าคนไปจากจีน ที่เหลือเป็นประเทศต่างๆ คนเหล่านี้จะไปทำงานในบริษัทใหญ่ที่มาติดต่อซื้อขายกับโลกตะวันออก และสามารถใช้เป็นฐานการผลิตและการขาย จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดประเทศอุตสาหกรรมและประเทศพัฒนาใหม่ขึ้น 
    อารยธรรมส่วนใหญ่ถ่ายทอดมาจากตะวันตก เช่น วัฒนธรรมกรีก วัฒนธรรมอิสลาม วัฒนธรรมคริสต์ แต่วัฒนธรรมบางอย่างสูญหายไป เช่น วัฒนธรรมของชาวอีเรียน วัฒนธรรมอิสลามถ่ายทอดเฉพาะบางส่วน บางส่วนหายไป วัฒนธรรมตะวันตกที่สืบทอดส่วนหนึ่งมาจากพระ พระจะนำภูมิปัญญาสมัยกรีกไปเก็บเอาไว้และศึกษาเองต่อยอดกันเอง แต่พอระบอบศักดินาและศาสนจักรเสื่อมลง พระไม่สามารถใช้แรงงานจากระบอบศักดินาและไม่ได้รับบริจาคจากอาณาจักรเหมือนเดิม จึงออกมาเป็นนักปราชญ์และสอนหนังสือ มหาวิทยาลัยยุคแรกส่วนหนึ่งจึงเกิดจากศาสนา และส่วนหนึ่งเกิดจากเอกชน
     การดำเนินชีวิตระหว่างรัฐจึงต้องสร้างกติกาขึ้นมาไม่อย่างนั้นจะเกิดกลียุค โธมัส ฮอบส์ กล่าวว่าหากปล่อยไปเป็นไปตามสภาพธรรมชาติ ก็จะเต็มไปด้วยความเลวร้าย มีการต่อสู้กัน ซึ่งฮอบส์พูดในช่วงที่ยุโรปเจริญขึ้นหลังจากถูกศาสนาครอบงำความรู้มานาน และเดิมมนุษย์ทำสงครามเพราะความแตกต่างทางความเชื่อ 
อริสโตเติล เป็นนักปราชญ์ มีความรู้แบบองค์รวม แต่ตะวันตกทำให้ศาสตร์เจริญขึ้นด้วยการจับแยกส่วน แม้จะพัฒนาได้เร็วแต่ก็เกิดปัญหา ปัจจุบันจึงหันมาศึกษาแบบสหวิทยาการหรือบูรณาการอีกครั้ง และพยายามต่อยอดไปเรื่อยๆ อริสโตเติลกล่าวเมื่อ 2,000 กว่าปีที่แล้วว่ามนุษย์เป็นสัตว์การเมืองและสัตว์สังคม ต้องอยู่รวมกัน เกิดมาช่วยตัวเองไม่ได้หากไม่มีพ่อแม่ กว่าจะเดินได้ต้องมีอายุเกิน 1 ปี มนุษย์จึงต้องได้รับการดูแล ฝรั่งบอกว่าอย่างน้อย 18 ปี จึงจะได้รับการปลูกฝังทั้งความรู้และอาชีพพอที่จะอยู่รอดได้ 
มนุษย์มีความฉลาดแต่ใช้ในทางที่ผิด จึงเป็นสัตว์ที่อันตรายมากที่สุด มนุษย์จะดีได้ต่อเมื่อมีกฎเกณฑ์/ระเบียบมาบังคับควบคุม อริสโตเติลบอกว่าหากขาดกฎหมายมาคุ้มครอง มนุษย์จะเลวร้ายที่สุด เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐจึงต้องออกกฎหมายเอง มนุษย์มีสัญชาตญาณเอาชีวิตรอด ช่วยตัวเองเพื่อให้มีชีวิตอยู่ ดังที่ชาร์ลส์ ดาร์วิน กล่าวว่าผู้ที่แข็งแรงที่สุดคือผู้ที่เหมาะสมที่จะอยู่รอด ผู้ที่แข็งแรงที่สุดไม่จำเป็นต้องมีพละกำลัง แต่เป็นคนที่เรียนรู้และปรับตัวเองได้ มาคิอาเวลลีกล่าวว่าคนที่จะเป็นผู้ปกครองได้ต้ององอาจกล้าหาญและดุร้ายแบบสิงโต และต้องเจ้าเล่ห์เพทุบายแบบสุนัขจิ้งจอก แต่สิงโตและสุนัขจิ้งจอกไม่สามารถปรับตัวได้ มนุษย์จึงต้องอาศัยความรู้แบบองค์รวมมาประกอบกันจึงจะอยู่รอดได้ เช่น รู้วิธีทำปลาท่องโก๋และวิธีทำธุรกิจ จึงขายเฟรนไชน์ให้คนอื่น คนสมัยก่อนหวงวิชาทำให้ความรู้ก็ตายไปกับผู้รู้นั้น จึงไม่ได้นำความเจริญให้ลูกหลาน แต่ทางตะวันตกส่วนใหญ่ไม่หวงวิชาจึงสั่งสอนให้เผ่าพันธุ์ตนอยู่รอดได้ ทำให้มีภูมิปัญญาถ่ายทอดมาอย่างเป็นระบบ
ในเรื่องระหว่างประเทศ ทุกประเทศจะใช้สัญชาตญาณเพื่อความอยู่รอด คิดว่าตนมีอำนาจอธิปไตยจึงใช้อำนาจนั้นไปเบียดเบียนคนอื่น จนทำให้เกิดกลียุค ดังนั้น ผู้นำประเทศต่างๆ จึงสร้างระบอบระหว่างประเทศขึ้น อาจเป็นระบอบกฎหมาย เช่น กฎหมายระหว่างประเทศ หรือเป็นระบอบอื่นๆ เพราะกิจกรรมหลายอย่างที่กฎหมายไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง บางอย่างต้องเกิดจากจิตสาธารณะ รัฐและสังคมจะต้องเป็นผู้ริเริ่มสร้างระบอบขึ้นมา เพราะกิจกรรมที่ทำให้เกิดความหายนะมากที่สุดคือกิจกรรมที่เกิดจากเอกชน สมัยก่อนสงครามเกิดจากรัฐ แต่ศตวรรษที่ 21 เอกชนเกือบทำให้รัฐล่มสลาย เช่น ทำให้เศรษฐกิจล่ม สังคมจึงล้มเหลวไปด้วย รัฐจึงต้องเอามาช่วยโอบอุ้มและนานารัฐต้องมาช่วยอุดหนุน เช่น 10 กว่าปีที่ผ่านมาเกิดโรคต้มยำกุ้ง รัฐไทยอุ้มไม่ไหวจึงต้องพึ่งพาองค์กรเหนือรัฐและรัฐที่เข้มแข็งกว่า ทั้ง IMF, อเมริกา ญี่ปุ่น
แม้ปัจจุบันรัฐจะลดบทบาทลง แต่ก็ยังจำเป็นอยู่ จุดเริ่มต้นของระบอบเกิดจากรัฐ เพราะรัฐต้องการให้เกิดระเบียบในการดำเนินกิจกรรมและเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างประเทศ นักวิชาการหลายคนให้ความเห็นชอบด้วยแต่ในมุมมองที่ต่างกัน เช่น นักเสรีนิยมบอกว่าระบอบทำให้รัฐร่วมมือกันได้ในจุดหมายบางอย่าง อาจต้องการผู้นำที่เป็นรัฐมหาอำนาจ ที่เข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและการทหาร และเป็นรัฐที่ดีที่ส่งเสริมให้เกิดระเบียบโลก เป็นโลกาภิวัตน์แบบเสรี ส่วนนักสัจจนิยมมองการเมืองเป็นเรื่องอำนาจอย่างเดียว รัฐใช้อำนาจจึงสามารถสร้างประโยชน์ร่วมกันได้อย่างหลากหลาย และช่วยกันสร้างระบอบให้ดำรงอยู่ กฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ย่อมถูกค้ำจุนด้วยอำนาจ
Krasner กล่าวว่า ระบอบเกิดจากรัฐเป็นผู้ตัดสินใจ โดยระบอบต้องเป็นหลักการบนความเชื่อที่ถูกต้อง ประเทศภาคีจะต้องมีพันธกรณีและหน้าที่ในการปฏิบัติตาม กฎอาจเปลี่ยนไปได้ วิธีปฏิบัติก็อาจเปลี่ยนตาม เช่น ระบอบเขมรแดงคือการกวาดล้างระบอบทุนนิยมและระบอบศักดินา ปัญญาชนของระบอบเก่าจึงถูกสังหาร เมื่อไม่มีคนที่มีความสามารถเหลืออยู่ ระบอบจึงล่มสลายเพราะประเทศไม่สามารถพัฒนาได้ เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของความเป็นระบอบคือ หลักการและปทัสถานที่ทำให้เกิดเป้าหมายหรือเป็นนิยามลักษณะของระบอบหนึ่งๆ เช่น ระบอบเศรษฐกิจหลักการคือต้องมีการผลิตและการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความมั่งคั่ง กฎอื่นหรือระเบียบที่สอดคล้องกับหลักการและปทัสถานอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ แต่หากหลักเกณฑ์นั้นทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบและการแตกแยกทางเศรษฐกิจก็ต้องออกกฎระเบียบ หรือออกกฎระเบียบที่ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ 
ยกตัวอย่าง สหรัฐอเมริกา บุคคลที่ร่ำรวยในยุคแรกของพลังงานน้ำมันคือร็อกกี้เฟลเลอร์ เจ้าของปั้มน้ำมันเอสโซ่ ช่วงนั้นร็อกกี้เฟลเลอร์ค้าน้ำมันเจ้าเดียว เจ้าเล็กเจ้าน้อยถูกฮุบกิจการ ซึ่งขัดกับหลักการของการค้าเสรี อเมริกาจึงออกกฎหมายห้ามการผูกขาด จะต้องแตกออกเป็นบริษัทย่อยเพื่อให้เกิดความหลากหลาย 
บริษัทไมโครซอฟท์ถูกคำพิพากษาห้ามไม่ให้ควบรวมกิจการ ต้องแยกแยะกิจการออกไปว่าทำอะไรบ้าง ไม่อย่างนั้นจะเป็นการผูกขาด กฎหมายจึงทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีที่แท้จริง เมื่อกฎระเบียบเปลี่ยนแปลงไป บิล เกตต์ ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของการครอบครองกิจการนี้ได้ จึงไปตั้งมูลนิธิด้านการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นการผูกขาดให้ทั่วโลกใช้ซอฟแวร์ของเขาอยู่ดี คนที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทไมโครซอฟต์ ย่อมเกิดความเคยชินจึงซื้อคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่างๆ จากไมโครซอฟท์ ทำให้ไมโครซอฟท์ครองตลาดเพียงผู้เดียว
Arther A. Stein กล่าวว่าในโลกที่เป็นอนาธิปไตย ประเทศต่างๆ จะต้องให้ความร่วมมือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
Robert Jerwis กล่าวว่าระบอบความมั่นคงปลอดภัยระหว่างประเทศ เป็นการอาศัยความร่วมมือกันเพื่อป้องกันการเกิดสงคราม ซึ่งส่งผลทำให้เกิดระบอบต่างๆ ตามมา เช่น ระบอบเศรษฐกิจ การค้า การคลัง การเงินระหว่างประเทศ
นักวิชาการต่างๆ เห็นว่าระบอบระหว่างประเทศมีความสำคัญ เช่น แมกซ์ เวเบอร์ กล่าวว่ารัฐเท่านั้นที่มีอำนาจอันชอบธรรมที่จะใช้อำนาจได้ ระบบที่รัฐใช้เป็นกลไกการทำงานคือระบบราชการ แต่เวเบอร์ก็ยังเห็นว่าระบอบมีความสำคัญ 
กรณีที่สหรัฐฯไม่ลงนามหรือให้สัตยาบรรณสนธิสัญญาพหุภาคี
ระบอบบางอย่าง รัฐไม่ให้ความร่วมมือ เช่น สหรัฐอเมริกาเน้นสัจจนิยม ให้ความสำคัญกับอำนาจรัฐมากกว่าชาติใดทั้งสิ้นในโลก จึงมีระบอบหลายอย่างที่สหรัฐฯไม่ให้ความร่วมมือ เช่น 
-การเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง 
-สิทธิของเด็ก
-ความหลากหลายทางชีวภาพ
-การห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์
-การห้ามทดลองอาวุธร้ายแรง
-พิธีสารเกียวโต เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมหรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
Baylis & Smith ได้จำแนกระบอบระหว่างประเทศออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
1. ระบอบความมั่นคง 
2. ระบอบสภาวะแวดล้อม 
3. ระบอบการติดต่อสื่อสาร 
4. ระบอบเศรษฐกิจ
1. ระบอบความมั่นคง เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 โดยมีรากฐานมาจากศตวรรษที่ 18-19 เกิดจากความวิตกในดุลยภาพแห่งความหวาดกลัว โดยเฉพาะอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเป็นอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง ปัจจุบันมีการแปลงไปเป็นพลังงาน ทั่วโลกจึงมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กว่า 300-400 แห่งและกำลังจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในอนาคต เคยเกิดอุบัติเหตุ 3 ครั้ง คือเชอโนบิวในยูเครน เกาะทรีไมล์ในสหรัฐอเมริกา และในญี่ปุ่น สาเหตุเกิดจาก Human Error จึงทำให้มีการรั่วไหลออกมา 
2. ระบอบสภาวะแวดล้อม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ทั่วโลกได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาสภาพแวดล้อมมากและปัจจุบันมีคนรับรู้ปัญหามากขึ้น เนื่องจากประชากรมีจำนวนมากขึ้นจึงใช้ทรัพยากรมากขึ้น หากมีประชากรน้อยแต่ไม่มีการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดี ทรัพยากรก็จะร่อยหรอลงเช่นกัน เช่น ไนจีเรียมีประชากรน้อย มีน้ำมันมากรองจากซาอุดิอาระเบีย แต่เป็นประเทศยากจนอันดับรั้งท้ายเพราะประชาชนไม่มีความรู้ ผู้นำประเทศมีความโลภและล้าหลัง มองว่าคนโง่ปกครองง่าย คนฉลาดปกครองยาก ขณะที่จีนมีผู้นำหัวก้าวหน้าประเทศจึงพัฒนามาก แต่เนื่องจากจีนมีประชากร 1,000 กว่าล้านคน ทั่วโลกจึงมองว่าใช้ทรัพยากรมาก ทำให้สภาพแวดล้อมเกิดปัญหา จีนรับรู้ปัญหานี้จึงพยายามแก้ไข เช่น ใช้พลังงานน้ำซึ่งสะอาดกว่าพลังงานถ่านหินและพลังงานน้ำมัน แต่ก็ทำให้ประเทศอื่นเกิดภาวะขาดแคลนน้ำ
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เทคโนโลยี จำนวนประชากร ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ดังนั้นจึงต้องสร้างมาตรการมาป้องกันปัญหาร่วมกัน เช่น นักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกันศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้น้ำทะเลสูงขึ้น บางประเทศมีโครงการไปตั้งถิ่นฐานบนดาวอังคาร
โลกปัจจุบันร้อนขึ้นและอากาศมีมลภาวะสูงเป็นสิ่งท้าทายที่ทำให้มนุษย์ต้องแก้ไข ซึ่งจะเป็นสูตรสำเร็จที่จะนำไปแก้ไขอากาศบนดาวอังคารที่มีมลภาวะเหมือนโลกในปัจจุบัน ไทยเราถูกกล่าวหาว่าปล่อยก๊าซมีเทนมากเพราะทำนามาก อเมริกาเป็นประเทศอุตสาหกรรมแต่ปล่อยมลพิษน้อยเพราะมีระบบการควบคุมที่ดี การคมนาคมทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด ปัญหาสำคัญคือการตัดไม้ทำลายป่า ต้นไม้ยิ่งใหญ่ยิ่งดูดคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยก๊าซออกซิเจนได้มาก 
ในระบอบสภาวะแวดล้อม นอกจากจะศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศซึ่งเป็นวิกฤติในปัจจุบันแล้ว ยังต้องศึกษาด้านอื่นๆด้วย เช่น การทำลายป่า สมัยก่อนต้นไม้หนึ่งต้นใช้คนหลายคนตัดและใช้เวลาเกือบวัน แต่ปัจจุบัน คนๆเดียวใช้เลื่อยไฟฟ้าตัดแค่ไม่กี่นาที กว่าต้นไม้จะโตต้องใช้เวลาถึง 30 ปีแต่ใช้เวลาตัดไม่ถึงสิบนาที หากต้นไม้หมดป่า ดินก็จะแห้งและกลายเป็นทะเลทราย ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ดังนั้นจึงต้องร่วมกันแก้ปัญหา
3. ระบอบการติดต่อสื่อสารคมนาคม เป็นระบอบที่ทำให้เกิดโลกไร้พรมแดน รัฐอำนาจอธิปไตยควบคุมไม่ได้หรือควบคุมได้ลำบาก รัฐจึงต้องมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจึงจะควบคุมดูแลได้ เนื่องจากการคมนาคมด้วยยานพาหนะอื่นต่างก็มีระบอบมาควบคุม เช่น ระบอบการบิน ระบอบการบินพาณิชย์ 
4. ระบอบเศรษฐกิจ เป็นปราการด่านสุดท้ายที่มนุษย์จะมีชีวิตอยู่ หากไม่มีเศรษฐกิจมนุษย์ก็อาจไม่ได้อยู่ดีกินดีและอาจตายได้ ฝรั่งจึงสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพื่อให้ลูกหลานได้มีกิน หากระบอบนี้ไม่มั่นคงและมีปัญหา คนในยุคปัจจุบันต้องแก้ไขเพื่อให้ลูกหลานอยู่ได้ รัฐอยู่ได้ไม่ล่มสลาย สังคมอยู่ดีกินดีไม่มีโจรผู้ร้าย
ช่วงที่รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิว คนกรุงเทพฯ ออกจากบ้านไม่ได้จึงไม่มีอะไรกิน เนื่องจากอาหารมีความสำคัญมาก รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจโดยให้ครัวไทยเป็นครัวโลก แต่หากมัวแต่ทะเลาะกันก็ไม่รู้ว่าจะไปผลิตอาหารได้อย่างไร  
พฤติกรรมของรัฐชาติเปลี่ยนแปลงมากจากยุคอุตสาหกรรม รัฐต่างก็ตักตวงทรัพยากร แย่งชิงความมั่งคั่งและความเป็นจ้าวเศรษฐกิจ มีการล่าอาณานิคมและทำให้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองขึ้น จนเกิดความหายนะ ในที่สุด รัฐต่างๆ จึงร่วมกันสร้างระบอบทางเศรษฐกิจที่เรียกว่าระบอบเบรตันวูด โดยตกลงร่วมมือกันทางเศรษฐกิจและสร้างหลักประกันทางเศรษฐกิจ เช่น มีเงินตราสกุลหลัก มีสถาบันการเงิน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาตึงเครียดทางเศรษฐกิจจนนำไปสู่การใช้กำลัง ซึ่งระบอบเศรษฐกิจระหว่างประเทศเติบโตมากช่วงปลายศตวรรษที่ 20 
Oh-mae (โอมาเอะ) กล่าวว่า รัฐชาติแบบเดิมไม่จำเป็นอีกต่อไป แต่จะเกิดเป็นรัฐที่รวมกลุ่มกันในภูมิภาค รัฐจะไม่ให้ความสำคัญกับตัวเองมากนักแต่จะให้ความสำคัญของกลุ่มมากกว่า เช่น EU และอาเซียนพยายามทำ เพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตของระบอบเศรษฐกิจ ทำให้มีการกระจายทรัพยากรและเกิดความมั่งคั่งมากขึ้น
นอกเหนือจากระบอบทั้ง 4 ข้างต้นแล้ว ปัจจุบันมีการสร้างระบอบอื่นขึ้นมาร่วมกัน เช่น 
-ระบอบสุขภาพอนามัย (Health Regime) เช่น ระบบสุขา อเมริกาเป็นผู้คิดค้นระบบสุขาจึงจดลิขสิทธิ์ภายใต้ชื่อ American Standard ส่วนไทยเราจะไปตามทุ่ง หากอยู่ในชุมชนก็จะไปนั่งแถว จึงไม่เกิดสุขอนามัย แต่ปัจจุบัน สุขาของไทยสะอาดและสะดวก โดยเฉพาะตามปั้มน้ำมัน
-ระบอบอาหาร (Feed Regime) ปัจจุบันมีอาหารกล่องมากขึ้น แต่อาหารต้องสะอาดเพราะคนมีความรู้มากขึ้น หากใส่สารกันบูดก็จะเป็นอันตราย ผงชูรสจะทำให้คนเป็นเนื้องอกมากขึ้น
-ระบอบการบิน (Flight Regime) 
-ระบอบการก่อการร้าย (Terrorism Regime) ปัจจุบันมีการสร้างเมืองผู้ก่อการร้าย ฝึกตั้งแต่เด็ก ใครพลีชีพก็จะดูแลลูกหลานให้ 
-ระบอบวัฒนธรรม (Cultural Regime) มีการใช้วัฒนธรรมเป็นสินค้าส่งออก เช่น ญี่ปุ่น ตอนนี้เริ่มถดถอยลงแต่อีก 1,000 ปีข้างหน้าวัฒนธรรมญี่ปุ่นจะยังคงอยู่แม้จะไม่มีคนญี่ปุ่นเหลืออยู่ในโลกนี้แล้ว โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านอาหาร การจัดดอกไม้ วัฒนธรรมทางเศรษฐกิจ การบริการ ภูมิปัญญา ภาษา เพราะมีการส่งออกวัฒนธรรมออกไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งเกาหลีมาในแนวเดียวกัน
ระบอบระหว่างประเทศเกิดขึ้นมากในปัจจุบัน เพราะทุกคนเห็นความจำเป็นแต่การบริหารจัดการยุ่งยาก สู้เรื่องของอำนาจไม่ได้ ซึ่งอำนาจในปัจจุบันมีเป็นจำนวนมาก อำนาจสมัยก่อนขึ้นอยู่กับทรัพยากรและวัตถุ แต่อำนาจสมัยใหม่ขึ้นอยู่กับทรัพยากรมนุษย์
สถานการณ์โลกปัจจุบัน บางครั้งเกิดจากการเมืองและบางครั้งเกิดจากมนุษย์ เราจะเห็นว่าภาคเอกชนไม่มีบทบาทไปเกี่ยวโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ แต่จริงๆแล้ว ภาคเอกชนขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังการเมือง และบางครั้งการเมืองอยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนของภาคเอกชน อดีต การเมืองจะขับเคลื่อนโดยมีเศรษฐกิจอยู่เบื้องหลัง ยุคล่าอาณานิคมจะใช้กำลังทหารเข้าไปยึดครองโดยคำสั่งของรัฐ เพื่อตักตวงเอาทรัพยากรจากประเทศใต้อาณานิคม ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องครอบครองแต่ก็สามารถเข้าไปตักตวงเอาทรัพยากรหรือความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจกลับไปได้ โดยใช้เศรษฐกิจบังหน้า เช่น เข้าไปลงทุน โดยมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับการทหารและการเมือง หรือที่เรียกว่าการคอรัปชั่น มักปรากฏในประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย 
สิงคโปร์ ผู้บริหารกองทุนเทมาเส็กเป็นภรรยาของรองนายกฯ อ้างว่าเพื่อป้องกันการคอรัปชั่น อัตราการเจริญเติบโตของสิงคโปร์อยู่ในอันดับ 8 ของโลก มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 2 หมื่นกว่าล้านเหรียญสหรัฐ มาเลเซียซึ่งเคยรวมเอาสิงคโปร์ไปอยู่ด้วย อยู่ในอันดับ 82 มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 1,000 กว่าเหรียญสหรัฐ 
ระบอบ ดินแดนและอธิปไตย เป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐ หากรัฐล่มสลาย ระบอบก็ล่มสลายได้ ดินแดนและธงชาติก็เปลี่ยนไปได้ เช่น สหภาพโซเวียตล่มสลาย ดินแดนจึงหายไป ปัจจุบันเกิดใหม่เป็นสหพันธรัฐรัสเซีย จึงมีระบอบใหม่คือระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตย ระบอบเศรษฐกิจเป็นผสมทุนนิยม ระบอบสังคมเป็นเสรี ธงชาติเปลี่ยน ดังนั้น รัฐจึงต้องปรับตัวได้ ไม่ยึดติด หากยึดติดก็จะล่มสลายไปกับรัฐเก่า รัสเซียปรับตัวเองได้จึงมีนโยบายเปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตร เช่น ปีค.ศ.1969 เกือบรบกับจีนทั้งๆ ที่มีอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์เหมือนกัน  
แม้จะมีอธิปไตยและมีทรัพยากรที่มั่งคั่ง ก็อาจเกิดวิกฤติได้หากคนในชาติไม่มีองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ เช่น อินโดนีเซียมีป่าไม้แต่ให้สัมปทานแก่เกาหลีเพราะป่าไม้ในเกาหลีหมดหลังจากถูกญี่ปุ่นยึดครองแค่ 30 ปี แอฟริกาใต้มีเพชรและทองคำตอนนี้เริ่มรวยขึ้นเพราะเนลสัน แมนเดอล่า มีวาทะสำคัญคือการให้อภัย คนแอฟริกันรู้จักการให้อภัย ประเทศจึงเจริญขึ้นและสามารถจัดฟุตบอลโลกได้ บราซิลมีป่าไม้และแร่ธาตุมากแต่ปอดโลกกำลังจะหมดไปเพราะป่าอะเมซอนถูกบุกรุกทำลายโดยนายทุนที่คนในชาติสมรู้ร่วมคิด เม็กซิโกมีน้ำมันและเป็นคู่ค้าอันดับสองของอเมริกาแต่มีปัญหาเศรษฐกิจ หากอเมริกาไม่ไปช่วยไถ่หนี้ให้ก็จะลำบาก เวเนซุเอลาและซาอุดิอาระเบียเป็นสมาชิกกลุ่มโอเปค แต่ประชาชนในชาติกึ่งมั่งมีกึ่งยากจน ต่างจากประเทศเล็กอย่างสิงคโปร์ที่สามารถสร้างแปลงเกษตรเพื่อให้คนสิงคโปร์มีผักทานโดยไม่ต้องนำเข้ามากนัก
หนังสือ The Economist ของสหรัฐอเมริกากล่าวถึงการบริหารจัดการบ้านเมืองและจับตาดูกระแสโลก เช่น หน้าปกของเล่มหนึ่งเป็นภาพเสืออินเดียและมังกรจีนแสดงว่าชาวตะวันตกรู้ความเคลื่อนไหว เล่มหนึ่งเป็นเรื่องสงครามไซเบอร์ อำนาจของจีนที่เพิ่มขึ้น เล่มที่มาไม่ถึงเมืองไทยคือสงครามการต่อสู้เพื่อกรุงเทพฯและ Batter of Thailand หากเราปิดหูปิดตาไม่ฟังคนอื่น ก็จะเป็นเหมือน BP ที่ไปขุดบ่อน้ำมันจนทำให้น้ำมันไหลออกมา 2 ล้านกว่าบาร์เรล
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากการเมือง โดยมีภาคประชาชนเข้าไปร่วมด้วย สมัยก่อนการเมืองการทหารนำเศรษฐกิจ เศรษฐกิจจึงได้กำไรจากการค้าอาวุธ แต่เมื่อคนรู้ทันและไม่รบกัน จึงมองว่าไม่สามารถขายอาวุธได้ Military-industrial Complex จึงเบี่ยงเบนไปเป็นการโยงใยทางเศรษฐกิจ Politic-business Complex บริษัทค้าอาวุธจึงกลายเป็นบริษัทขายยา บริษัททางการแพทย์ทำเครื่องมือแพทย์ (ทหารเป็นผู้ค้นพบเครื่องสลายนิ่ว) บริษัทขายสินค้าเกี่ยวกับการเกษตร บริษัทขายสิ่งก่อสร้าง 
สถานการณ์โลก วิกฤติพลังงาน สิ่งแวดล้อม อากาศ อาหาร
สถานการณ์ในโลก วิกฤติพลังงาน สิ่งแวดล้อม อากาศและอาหารล้วนเกิดจากมนุษย์เป็นผู้กระทำ โดยทำในฐานะที่เป็นรัฐหรือภาคเอกชน ปัจจุบันความไร้พรมแดนทำให้แทบจะมองไม่ออกว่าเป็นการกระทำของเอกชนหรือรัฐ
ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่
1.ทรัพยากรที่สร้างใหม่ไม่ได้ ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน โลหะ แร่ธาตุ สิ่งที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น โลหะ
2.ทรัพยากรที่สร้างใหม่ได้ ทรัพยากรที่มีจุดวิกฤติ เช่น ปลา ป่า สัตว์ น้ำบริสุทธิ์ ทรัพยากรที่ไม่มีจุดวิกฤติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานกระแสน้ำ พลังงานลม พลังงานคลื่น พลังงานน้ำ อากาศ
โลกเป็นดาวดวงใหญ่ที่เรียกว่า Blue Planet มีน้ำ 3 ใน 4 ส่วน แต่น้ำทั้งหมดกินไม่ได้ 90% เพราะเค็ม โรงกรองน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่อิสราเอล โรงที่ใหญ่ในแถบบ้านเราอยู่ที่สิงคโปร์ ไต้หวันและฮ่องกงต้องนำน้ำเข้าจากจีน จึงพยายามสร้างโรงกรองน้ำเค็มเอง ขณะที่คนไทยกินน้ำทิ้งขว้าง 
ทรัพยากรที่มีค่าหายากมักทำให้เกิดปัญหา เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่กำลังจะหมดไป บางครั้งใช้ทรัพยากรเกินกำลังการผลิต ไม่สามารถสร้างทดแทนได้ ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ทรัพยากรถูกใช้เป็นอาวุธทางการเมือง ในทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสามารถทำให้ประเทศร่ำรวยได้ และในทางสังคม ทรัพยากรเป็นสิ่งที่คนเราขาดไม่ได้ 
น้ำมันปิโตรเลียม กำเนิดอุตสาหกรรมและการบริโภค
ปิโตรเลียมมาจากหินน้ำมัน มีในรูปแบบต่างๆ เช่น ถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ไทยเรามีแก๊ส CNG ที่ใช้กับรถยนต์ แต่เราใช้คำว่า NGV ประชาชนจึงสับสน 
มนุษย์ใช้น้ำมันมานับพันปี แต่ใช้มากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะเครื่องบินที่ใช้น้ำมันมาก หากลงจอดไม่ได้ก็จะเอาน้ำมันไปทิ้งทะเล บริษัทน้ำมันข้ามชาติหลัก เช่น
-Standard Oil of New Jersey หรือ EXXON หรือ ESSCO ในเมืองไทย
-Standard Oil of New York หรือ Mobil
-Standard of California หรือ Chevron
-Texaco ต่อมาร่วมมือกับ Chevron ก่อตั้งบริษัท Caltex 
-Gulf Oil 
-Royal Dutch Shell 
-British Petroleum หรือ BP 
-BHP (ออสเตรเลีย), Conaco Phillips, YPF (อาร์เจนตินา), Petrobas (บราซิล), Elf Auitaine & Total (ฝรั่งเศส) เป็นต้น
สาเหตุที่แนวโน้มราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้น มี 3 ประการ ได้แก่
1. คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะลดลงในอีก 10-15 ปีข้างหน้า
2. ความต้องการใช้น้ำมันมีมากขึ้น
3. การเก็งราคาของพ่อค้าในตลาดหุ้น
กลุ่มโอเปคเป็นประเทศส่งออกน้ำมัน ประเทศสมาชิกบางประเทศมีน้ำมันแต่ไม่มากพอที่จะส่งออกไป เช่น มาเลเซีย ประเทศต่างๆ ปรับตัวด้วยการหาพลังงานทดแทน
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปหลักที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน ได้แก่
1. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
2. น้ำมันเบนซิน
3. ก๊าซโซฮอล์
4. สารทำละลาย
5. ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
6. น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน/ น้ำมันก๊าด
7. น้ำมันดีเซล
8. น้ำมันเตา
9. กำมะถัน
10. ยางมะตอย
11. ถ่านโค้ก
รัสเซียเป็นผู้ค้าน้ำมันเป็นรายแรก อันดับสองคือสหรัฐอเมริกา
**ช่วงดูสารคดีเรื่อง Building the Future (การสร้างอนาคต)**
แม้ว่าพลังงานจะหมดไป แต่มนุษย์เราก็ค้นหาพลังงานใหม่ๆ เช่นพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากกระแสน้ำ ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามคิดค้นพลังงานทดแทนเหล่านี้
ก๊าชไฮเดรทส์ (Gas Hydrates) คือพลังงานที่นักวิทยาศาสตร์กำลังสำรวจ มันอยู่ในอวกาศและใต้น้ำบริเวณก้นทะเลที่เป็นบริเวณแหล่งน้ำจืด เช่นในบริเวณอ่าวเม็กซิโก ซึ่งนักสำรวจต้องใช้อุปกรณ์ดำน้ำที่ดำน้ำลึกมากๆ เพื่อสำรวจบริเวณที่มีก๊าชคือบริเวณที่มีฟองอากาศ ฟองอากาศนี่เองสามารถนำไปสกัดเป็นก๊าชไฮเดรทส์ได้ ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งพลังงานของโลกในอนาคต ไฮเดรทส์คือโมเลกุลของก๊าชที่อยู่ภายในโมเลกุลของน้ำ ซึ่งปริมาณ ไฮเดรทส์ที่มีอยู่ใต้อ่าวเม็กซิโกสามารถนำมาใช้ในสหรัฐอเมริกาได้นานถึง 2 พันปี
อย่างไรก็ตามการพบแหล่งก๊าชเป็นแค่จุดเริ่มต้น เพราะการจะนำมาใช้นั้นยังต้องคิดค้นอีกมาก เช่นจะทำอย่างไรไม่ให้พลังงานดังกล่าวส่งผลเสียต่อระบบอากาศ หรือการนำแหล่งก๊าชขึ้นมาใช้จะต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมทางทะเล
ดังนั้นพลังงานที่จะนำมาใช้ได้ทันทีคือพลังงานลม ซึ่งควรจะนำมาใช้ให้ได้มากกว่านี้ ในฮอลแลนด์นั้นมีการสร้างกังหันลม โดยเริ่มต้นจากกังหันลมในครอบครัวเกษตรกร จนกลายเป็นกังหันลมที่ผลิตพลังงานได้มหาศาล รวมทั้งกังหันที่ติดตั้งนอกชายฝั่ง
อย่างไรก็ตามในประเทศที่ลมสงบก็จำเป็นต้องหาพลังงานอื่นๆ เช่นนิวยอร์กซิตี้ ซึ่งมีแม่น้ำล้อมรอบ จึงพัฒนาพลังงานน้ำมาใช้ โดยนำกังหันลมไปไว้ใต้น้ำและใช้พลังงานน้ำที่เกิดจากกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกรากผลักดันให้กังหันผลิตไฟฟ้า ซึ่งหากสำเร็จจะทำให้นิวยอร์กซิตี้เป็นเมืองที่ใช้พลังงานสะอาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้การทดลองประสบความสำเร็จสามารถนำมาใช้กับร้านซูเปอร์มาเก็ต
ในออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศที่ใช้พลังงานถ่านหินที่เป็นพลังงานสกปรกก็กำลังคิดค้นพลังงานสะอาดคือพลังงานแสงอาทิตย์ มีการสร้างหอคอยเพื่อผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ 
แสงอาทิตย์ 1 วินาทีให้พลังงานแก่โลกถึง 1 ล้านปี ถ้าเรานำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาได้โลกเราจะไม่ขาดแคลนพลังงาน 
อย่างไรก็ตามนอกจากการค้นหาแหล่งพลังงานใหม่มาทดแทนพลังงานน้ำมัน ถ่านหินแล้ว สิ่งที่มนุษย์ต้องทำคือการประหยัดพลังงานและการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม และการหาพลังงานที่สะอาดเหล่านี้ต้องเริ่มทำตั้งแต่เวลานี้และอาจจะต้องมองไปในอนาคตอีก 50-100 ปีเลยทีเดียว และการแสวงหาแหล่งพลังงานวันนี้ก็เพื่อลูกหลานของเราในอนาคตข้างหน้า


*********************

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :