สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1643559
แสดงหน้า2112914
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




PS 703 รศ.การุณย์ลักษณ์ พหลโยธิน วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2553 (เสาร์บ่าย)

PS 703 รศ.การุณย์ลักษณ์ พหลโยธิน วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2553 (เสาร์บ่าย)
อ้างอิง อ่าน 425 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
PS 703 รศ.การุณย์ลักษณ์ พหลโยธิน วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2553 (เสาร์บ่าย)

    จากภาพยนตร์สารคดีชี้ให้เห็นว่าตะวันตกไม่เดือดร้อนหากน้ำมันจะหมดโลก เพราะได้เตรียมทางเลือกและทางแก้เอาไว้แล้ว เนื่องจากสังคมเหล่านั้นเป็นสังคมแห่งความรู้ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ มีวาทะว่าอาณาจักรในอนาคตคืออาณาจักรแห่งความคิด หากจะคิดให้ดีต้องมีความรู้เป็นพื้นฐานจึงจะทำให้มีอำนาจ ประชากรโลกที่มีเป็นจำนวนมาก อย่างจีน 1,000 กว่าล้านคน อินเดีย 1,000 ล้านคน ละตินอเมริกา 100 กว่าล้านคน แต่อาณาจักรทางความคิดยักษ์ใหญ่ เช่น บริษัทไมโครซอฟท์มีคนทำงานแค่ 3-4 หมื่นคน แต่สามารถสร้างรายได้มากกว่าประเทศเหล่านี้รวมกัน 5-10 เท่า คนเหล่านี้อยู่ในอเมริกาแต่ไปจ้างงานในมุมไบ แสดงว่าไม่ได้ยึดติดกับรัฐหรืออำนาจอธิปไตย สามารถมีอำนาจครองโลกทางความคิด ทางปัญญาและทางข้อมูลสารสนเทศได้ มีอำนาจโดยไม่ต้องใช้คุรุอำนาจหรือใช้อาวุธ แต่จะใช้ละมุนอำนาจ
    ประเภทของอำนาจ 
    หลังยุคสงครามเย็น โลกเข้าสู่ยุคสังคมเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดโลกาภิวัตน์ โลกเชื่อมโยงกัน มีการพังทลายกำแพงทางภูมิศาสตร์ เกิดโลกเสมือนจริง คนอยู่ต่างที่กันแต่เหมือนอยู่ห้องเดียวกัน สามารถพูดจาและมองเห็นกันได้ ดังนั้น อำนาจจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
    1. คุรุอำนาจ
    2. ละมุนอำนาจ (Soft Power) เป็นอำนาจที่ใช้มากในปัจจุบัน ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ
ละมุนอำนาจ (Soft Power)
ละมุนอำนาจเกิดจากการสร้างสรรค์นวัตกรรม ตลอดจนความรู้ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าพัฒนาต่อเนื่องของรัฐ โดยสร้างและสะท้อนแรงบันดาลใจ แรงดึงดูใจแก่รัฐอื่นในรูปแบบของอุดมการณ์ ความคิด ประดิษฐกรรม วัฒนธรรม มาตรฐานความเป็นอยู่ วิถีการดำเนินชีวิต การบริโภค รสนิยม 
เคียวเฮ็นและไน มองว่า ละมุนอำนาจมีลักษณะของอำนาจโดยการบังคับบัญชา/บงการได้ (Command Power) เช่นเดียวกับคุรุอำนาจ แต่มิได้เกิดจากการบังคับด้วยกำลัง แต่เกิดจากการต่อรองเพื่อให้รัฐหรืออีกฝ่ายเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ โดยที่ผู้ปฏิบัติยินยอมอย่างเต็มใจหรือสมัครใจกระทำ เพราะต้องการผลประโยชน์มากกว่าความกลัวในอำนาจอาวุธหรือคำสั่งของอีกฝ่าย ไนเรียกว่าอำนาจในการเข้าร่วม (Co-opt Power) 
ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ ละมุนอำนาจอาจใช้เป็นการทูตทางเลือก เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารกัน การแสวงหาจุดยืนร่วมกันและการยอมรับร่วมกันได้ ทำให้เกิดความร่วมมือกัน แม้ไม่เกิดความขัดแย้งก็สามารถใช้ละมุนอำนาจได้เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐ
ในทางเศรษฐกิจ ละมุนอำนาจใช้ในการส่งเสริมด้านข้อมูลสารสนเทศ ยุคหลังปฏิวัติข้อมูลสารสนเทศ ได้เกิดโลกยุคดิจิตอล การควบคุมข้อมูลสารสนเทศในโลกจึงกลายเป็นแหล่งที่มาของอำนาจ การมีอาณาจักรสื่อทำให้เกิดอาณาจักรทางความคิดและควบคุมความเห็นให้ไปในทิศทางที่ผู้ควบคุมต้องการ โดยไม่ใช้กำลังบังคับ แต่คนยอมเดินตามโดยสมัครใจ
โดยสรุป ละมุนอำนาจจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้โดยการดึงดูดใจมากกว่าการบีบบังคับ การสร้างความเชื่อมั่นและมีการยินยอมตกลงกัน ทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา ละมุนอำนาจเติบโตขึ้นในยุคข้อมูลข่าวสารที่คุรุอำนาจไม่สามารถจะบันดาลให้ประสบความสำเร็จเหมือนในอดีตได้
ในศตวรรษที่ 21 อำนาจที่จะมั่นคงคือละมุนอำนาจ สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นจ้าวแห่งคุรุอำนาจ จึงไม่คุ้นเคยกับอำนาจใหม่ที่เกิดขึ้น ทั้งๆที่ อเมริกาได้ใช้อำนาจนี้ไปแล้วโดยไม่รู้ตัว อเมริกาจึงกล่าวว่าละมุนอำนาจไม่ใช่ความอ่อนแอ แต่เป็นการใช้อำนาจอันชาญฉลาด (Smart Power) 
อเมริกาใช้ละมุนอำนาจก่อนคนอื่น เช่น Hollywoodism, Disneyism แต่กลับไม่ได้นึกถึงว่านั่นคืออำนาจอย่างหนึ่ง กว่าจะมาประจักษ์ก็ตอนที่เกิดเหตุการณ์ 9/11 แล้ว โดยผู้ก่อการร้ายเลียนแบบหนังฮอลลีวูดด้วยการใช้เครื่องบินมาชนตึก อเมริกานึกว่าตัวเองเป็นฮีโร่ผู้ปกป้องโลกโดยการใช้อำนาจ จึงสร้างหนังซูเปอร์แมนหรือแบ้ดแมนขึ้นมา หลายประเทศเอาอย่าง เช่น ญี่ปุ่นสร้างอุลตราแมนและโดราเอมอน จีนเอาคาแร็คเตอร์ของอเมริกามาใส่เป็นคาแร็คเตอร์ของตัวเอง ตอนนี้อเมริกาเริ่มยอมรับว่าหนังหรือการ์ตูนที่ผลิตมาใหม่ ล้วนเป็นบุคลิกภาพของชนชาติอื่น เช่น คนผิวสี คนจีน ละมุนอำนาจที่สื่อสารออกมาทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ความคิด ข้อมูลข่าวสารหรือเทคโนโลยี แสดงให้เห็นว่าเป็นอำนาจที่สำคัญเพราะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งทำตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้
    เปรียบเทียบอำนาจดั้งเดิมกับอำนาจละมุน
1. คุรุอำนาจ พฤติกรรมของผู้ให้คือครอบครอง บังคับ ป้องปราม ปกป้อง ปราบปราม พฤติกรรมของผู้รับคือยอมแพ้ ยอมจำนน ยอมอยู่ใต้อำนาจ วิธีการหรือนโยบายคือสงคราม การทูตแข็ง การบังคับ การมีพันธมิตร 
2. การใช้อำนาจทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมคือการล่อใจ ใช้มาตรการแซงชั่น ควบคุมทางเศรษฐกิจ ให้รางวัล ติดสินบน การสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยตนเป็นผู้บงการ
3. ละมุนอำนาจ พฤติกรรมของผู้ให้คือดึงดูดใจ ทำให้เกิดการบันดาลใจ มีการจัดระเบียบ วาระหรือประเด็นว่าควรใช้อำนาจอย่างไร เช่น เกาหลีใช้วิธีส่งออกทางวัฒนธรรม พฤติกรรมผู้รับคือการร่วมมือร่วมใจ ทำตามโดยสมัครใจ วิธีการคือการทูตพหุภาคี การทูตทวิภาคี
ผลสำรวจทัศนคติของชาวโลกต่อสหรัฐอเมริกาพบว่า เกิน 80% ชื่นชมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 70% ชอบศิลปะร่วมสมัย 60% ชอบความคิดประชาธิปไตยแบบอเมริกัน เช่น ก๊อปปี้คำพูดของอับราฮัม ลินคอล์นที่ว่า ประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน บางส่วนชอบวิธีทำธุรกิจแบบอเมริกัน เช่น ทุนนิยม บางคนมองว่าอเมริกาน่าเกลียดน่าชังแต่ก็อยากเป็นอเมริกัน
การใช้อำนาจเปลี่ยนแปลงไปด้วยกระบวนการโลกาภิวัตน์ โลกาภิวัตน์สมัยใหม่ได้เพิ่มเติมการเชื่อมโยงโดยใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร ทำให้พรมแดนกาลเวลาและพรมแดนภูมิศาสตร์สลายไป ตอนนี้โทรเลขถูกยกเลิกไป หากไปรษณีย์ไม่ปรับตัวเป็นแบงค์ก็อาจถูกยกเลิกไปเช่นกัน เพราะคนเลิกส่งจดหมายหันไปส่งอีเมล์แทน โลกาภิวัตน์ในปัจจุบันไม่ใช่การเชื่อมโยงโลกแบบอดีต แต่จะเชื่อมทุกกิจกรรมไว้ด้วยการ เป็นเรื่องของเครือข่าย ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดก็ตามมักจะเชื่อมโยงกับกิจกรรมอื่น เมื่อเกิดผลกระทบในกิจกรรมหนึ่ง ก็จะกระทบต่ออีกหลายกิจกรรมได้ไม่มากก็น้อย สมัยก่อนรบกันที่ยุโรป เมืองไทยไม่รู้เรื่อง อย่างมากแค่ซื้อของแพงขึ้นและซื้อยาได้ยากขึ้น ตอนนี้คนเลิกรบกันแต่เราซื้อยาได้ยากเหมือนเดิม เพราะมีการจดสิทธิบัตร หากไม่มีเงินจ่าย เขาก็จะไม่ให้ ภูมิปัญญาบางอย่างเป็นของไทยแต่ถูกคนอื่นนำไปจดสิทธิบัตร เช่น ต้นเปล้าน้อยขึ้นในปักษ์ใต้ของไทย แต่ญี่ปุ่นเข้ามาทำวิจัยและนำไปจดสิทธิบัตรเป็นยารักษาโรคกระเพาะและโรคลำไส้ เราจึงต้องไปซื้อยาจากญี่ปุ่น เกษตรกรไทยเกือบต้องซื้อข้าวจากประเทศอื่น เพราะประเทศอื่นเอาไปทำให้เป็นหมัน ข้าวจึงไม่งอก 
พืชบางอย่างนำเข้าจากประเทศอื่น แต่เราทึกทักว่าเป็นของเรา เช่น ฟักทองเป็นพืชเก่าแก่ของละตินอเมริกา พริกขี้หนูและพริกชี้ฟ้ามาจากอะเมซอน ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทองและเค้กมาจากโปรตุเกส แพร่มาจากพ่อค้าชาวยุโรปสมัยปลายสุโขทัย 
โลกาภิวัตน์ บางครั้งถูกมองในมุมบวก บางครั้งถูกมองในมุมลบ เช่น ถูกมองว่าเป็นการสร้างอาณานิคมยุคใหม่(Neo-colonization) เนื่องจากโลกาภิวัตน์มาจากตะวันตก ครอบงำตะวันออกมากกว่าที่ตะวันออกจะไปตะวันตก ดังนั้นจึงต้องทำให้เป็นตะวันออกบ้าง ตอนนี้จีนและอินเดียกำลังเป็นตัวอย่างของโลกตะวันออกโดยก้าวข้ามการเป็นตะวันตกไป การมองโลกต้องมองอย่างสมดุล เช่น แนวคิดหยินหยางที่มองว่ามีชายหญิง กลางวันกลางคืน 
อ.พงศ์ศักดิ์ ฮุนตระกูล มองว่าโลกาภิวัตน์ไม่ว่าจะนิยามอย่างไรก็ตาม ย่อมมีปัญหา เช่น ทุนเสรีของโลก ประชาธิปไตยเสรีของโลก ระบบความมั่นคงทางสังคม สวัสดิการและสวัสดิภาพของโลก ว่าอย่างไรจึงจะมีการพัฒนาที่ยั่งยืน
โลกยุคโลกาภิวัตน์จะมีเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร จึงเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย การสื่อสารข้อมูลต่างๆ เป็นการให้อำนาจแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถที่จะต่อรอง คัดค้านหรือกระทำในสิ่งที่ตนเห็นว่าถูกต้องชอบธรรม กล่าวคือประชาชนมีอำนาจที่จะตอบรับหรือปฏิเสธอำนาจที่ไม่ใช่ของตนเอง เช่น อำนาจรัฐ รัฐจะกีดกันความเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ 
ยุคโลกาภิวัตน์ได้สร้างตลาดแห่งความรู้ ซึ่งสามารถนำไปสร้างตลาดทางเศรษฐกิจและการผลิตได้ ความรู้ทำให้เกิดอำนาจอ่อน แม้จะไม่เป็นกระสุนแต่ก็ทำให้เกิดกระสุนได้ จีนผลิตดินปืนแต่ทำได้แค่จุดประทัด คนไทยทำประทัดยักษ์ได้ ขณะที่ต่างประเทศทำปืนกล ปืนอาก้าหรือสไนเปอร์ได้ ชี้ให้เห็นถึงอำนาจที่เป็นความรู้ที่คนมีต่างกัน คนหนึ่งนำปืนไฟมาผลิตบั้งไฟ แต่อีกคนหนึ่งพัฒนาไปผลิตระเบิดและนิวเคลียร์ 
ละมุนอำนาจจะทำให้เกิดนวัตกรรม โดยความรู้เป็นฐานแห่งเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ เหตุผลที่ทำให้เกิดโลกาภิวัตน์ยุคใหม่คือโลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีการบูรณาการ ติดต่อเชื่อมโยงกันมากขึ้น ทำให้เกิดวัฒนธรรมโลก วัฒนธรรมสากลและความสำนึกโลก เช่น เราเป็นคนปราจีน เป็นคนไทยและเป็นชาวโลกด้วย หากไม่มีโลกก็ไม่มีเรา ทัศนคตินี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้น เช่น ยุโรปรวมตัวกันเป็น EU เดิมคนเยอรมันคิดว่าตนเป็นคนเยอรมัน คนอังกฤษ คนสเปน คนอิตาเลี่ยน ไม่มีใครคิดว่าตนเป็นชาวยุโรป แต่ตอนนี้เรียกตัวเองว่าเป็นคนยุโรป คำว่ายุโรปถูกเรียกโดยชาวเปอร์เซียหรือชาวอาหรับ เป็นภาษาอาหรับแปลว่า West 
ความแตกต่างทางสถานที่หายไปเพราะมีการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบชาติรัฐถึงจุดจบในด้านความเป็นนามธรรม เพราะมีการพยายามทำให้เกิดระบอบนานาชาติ หรือระบอบระหว่างประเทศ หรือระบอบโลก ทำให้เกิดวิสัยทัศน์โลก โดยคิดในระดับโลกแต่ทำในระดับท้องถิ่น (Think Globally, Act Locally) ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาใหญ่หรือปัญหาเล็ก ทุกคนต้องรับรู้ร่วมกันว่าเป็นปัญหาโลกที่อาจเกิดจากรัฐหรือเอกชน ทางออกของปัญหาที่ดีที่สุดคือการเลิกทะเลาะหัน หันมาเจรจาและตกลงกันให้ได้ 
ยกตัวอย่างประเด็นปัญหาระดับโลก
1. ปัญหาเกี่ยวกับตัวผู้แสดงบทบาทระหว่างประเทศ เช่น ปัญหาไทย-กัมพูชา
2. ปัญหานิเวศวิทยา สภาวะแวดล้อม ปัญหาพลังงาน
3. ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ 
4. ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ
5. ปัญหาการก่อการร้ายระหว่างประเทศ
6. ปัญหาความขัดแย้งทางวัฒนธรรม
เนื่องจากเราเป็นพลเมืองโลก จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับทั้งโลก ตระหนักและระลึกถึงโลกมากขึ้น 
ยกตัวอย่างภาษิตจีนซึ่งเป็นภูมิปัญญาตะวันออก กล่าวว่า
ถ้าท่านคิดล่วงหน้า 1 ปี จงปลูกพืชพรรณ
ถ้าท่านคิดล่วงหน้า 10 ปี จงปลูกต้นไม้
ถ้าท่านคิดล่วงหน้า 100 ปี จงปลูก(เปิด)ปัญญาของประชาชน ซึ่งปัจจุบันการเปิดภูมิปัญญาความรู้ได้ทำแล้วในรูปของการติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร : สังคมข้อมูลข่าวสารสู่สังคมฐานความรู้
ยุคพลังงานฟอสซิลมองว่าน้ำมันคือพลังงาน พลังงานคือเงิน เงินคืออำนาจ อำนาจคือการควบคุม แต่พอถึงระดับหนึ่งคุมไม่ได้ แม้จะมีเงินก็ซื้อไม่ได้ บางครั้งเกิดวิกฤติพลังงานแต่ชาวตะวันตกไม่สนใจ เพราะหาความรู้ไปสร้างพลังงานใหม่ ซื้อน้ำมันน้อยลงและผลิตให้น้อยลง จึงมองว่าน้ำมันคือพลังงาน พลังงานคือเงิน เงินนำไปสร้างข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารคืออำนาจ และอำนาจคือการควบคุม ข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความรู้ที่ยั่งยืน และเป็น Soft Power ความรู้จะควบคุมสติสัมปชัญญะและทำให้คนเรารู้ตัวอยู่เสมอ
มุมมองหนึ่งมองว่าโลกมีปัญหาจึงต้องทำความเข้าใจร่วมกันและแก้ปัญหาร่วมกัน แต่อีกมุมมองหนึ่งมองว่าทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น ส่วนหนึ่งมองว่าการสื่อสารอาจทำให้เกิดความเข้าใจกันหรือความผิดใจกันก็ได้
Cybernetics มาจากคำว่า Kubernites และ Kubernites มาจาก Communication & Control ซึ่งหมายถึงการควบคุมบังคับทิศทาง/การปกครอง (คนเดินไปในทิศทางเดียวกันโดยมีผู้นำคอยบริการจัดการไม่ให้เกิดความสับสน)
การสื่อสารมีปฏิสัมพันธ์กับรูปแบบการพัฒนาสังคม
1. สังคมยุคก่อนเกษตรกรรมเป็นสังคมชนเผ่า สื่อสารกันด้วยการพูดปากเปล่า มักเชื่อสิ่งที่นอกเหนือการควบคุมหรือการเข้าใจของตนเอง การจัดการทางการเมืองต้องแล้วแต่หัวหน้า
2. สังคมยุคศักดินา เกิดภาษาเขียน ระบอบและระเบียบที่เป็นทางการ แม้กระทั่งความคิด เช่น ศาสนาและความเชื่อ มีการจัดการทางการเมืองที่มีอำนาจล้นพ้น เช่น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ศักดินาทางตะวันตกมองว่าอำนาจได้จากอาณัติของสวรรค์ ทางตะวันออกอย่างจีนก็เช่นกัน เช่น ฮ่องเต้มาจากเง็กเซียนฮ่องเต้ จักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นลูกพระอาทิตย์ ส่วนไทยเราครึ่งฮินดูครึ่งไทย จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่าคำว่ากษัตริย์มีรากศัพท์จากภาษาสันสกฤตคือคำว่าเกษตร แปลว่าหัวหน้าผู้ทำการเกษตร เพราะเป็นสังคมการผลิตแรกที่คนลงรากปักฐานอยู่ร่วมกัน ไทยเรามีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นขวัญข้าวขวัญชาวนา แต่พอสังคมเปลี่ยนมาเป็นอุตสาหกรรมหนัก หน้าที่ของกษัตริย์จึงเปลี่ยนไป จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งเป็นสมมติเทพหรือหัวหน้าการเกษตร มาเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบกฎหมาย
3. สังคมอุตสาหกรรม มีความเป็นวิทยาศาสตร์ มีเหตุมีผล ใช้การกติกา การยอมรับและการเคารพซึ่งกันและกัน มีการสื่อสารแบบสองทางระหว่างผู้รับกับผู้ให้
4. สังคมบริการ สังคมสารสนเทศ มีเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย มีดาวเทียม การคมนาคมเป็นแบบไฮเทค มีฐานเลขสองตัวคือ 1 กับ 0 เกิดเทคโนโลยีนาโนที่เล็กมากจนนับไม่ได้ ดังนั้น สหวิทยาการจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในยุคนี้ ระบอบการจัดการบ้านเมืองเป็นแบบผสมกับทุนนิยม มีความหลากหลาย
5. สังคมชุมชน ประชาชนมีปฏิสัมพันธ์กันเหมือนอยู่ในชุมชนเดียวกัน ใช้การเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยไม่จำเป็นต้องมาพบปะกันโดยตรง
วิวัฒนาการด้านการสื่อสารทำให้เกิดวิวัฒนาการในรูปแบบของสังคมและรูปแบบของรัฐ ประวัติศาสตร์ของการสื่อสารจะใช้ด้านการค้าและวัฒนธรรมทั้งในยามสันติและยามสงคราม สุภาษิตอิสลามกล่าวว่า “อัลลาห์สร้าง 3 สิ่งวิเศษคือ สมองของชาวกรีก มือของชาวจีนและลิ้นของชาวอาหรับ” ชาวมุสลิมเก่งการเจรจาติดต่อสื่อสาร สามารถเชื่อมโยงโลกบนเส้นทางสายไหมเข้าด้วยกัน กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางภูมิภาคนี้โดยมีชาวอาหรับเป็นผู้ประสาน
การติดต่อสารสนเทศยุคปัจจุบันใช้ปากเปล่า ซึ่งอาจเกิดการสูญหาย ภายหลังติดต่อกันเป็นลายลักษณ์อักษร มีการเก็บเอกสารไว้ในห้องสมุด มีการทำแผนที่ (ดูพัฒนาการเทคโนโลยีติดต่อสื่อสารในเอกสารประกอบการบรรยาย)
ดาวเทียม เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1946 (หลังสงครามโลกครั้งที่สอง) มีหลายประเภท 
1. ดาวเทียมเพื่อดาราศาสตร์ (Astronomical) 
2. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร (Communication) 
3. ดาวเทียมเพื่อกำหนดทิศทาง (Navigation) 
4. ดาวเทียมเพื่อการรับรู้ (Reconnaissance) 
5. ดาวเทียมพลังแสงอาทิตย์ (Solar Power)
6. สถานีอวกาศ (Space Station) 
7. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (Weather) 
8. ดาวเทียมจิ๋ว (Miniaturized) 
ระยะปฏิบัติการของดาวเทียม
1. LEO (Low Earth Orbit) เหนือ 200-1,200 กม.จากผิวโลก
2. HEO (High Earth Orbit) เหนือ 35,786 กม.จากผิวโลก
3. GEO (Geosynchronous Orbit) ภายใน 35,786 กม.เหนือผิวโลก 
ประเทศที่ส่งดาวเทียมสื่อสาร
1957 รัสเซียส่งสปุตนิก 1
1958 สหรัฐฯ Exloer I
1962 US Telstar
1965 Fr Asterix
1970 Japan Osumi
1975 China Dong Fang Hong I
1971 UK Prospero X3
1979 EU Ariane I
1980 India Rohine
1986-94 China Sat, Sino Sat, Asia Sat รวม 10 ดวง
1988 Israel Ofea I
1993 Thaicom (ประเทศไทย)
ดาวเทียมของสหรัฐอเมริกาดวงแรกใช้ในการทหาร ภายหลังพัฒนามาใช้ในด้านคมนาคม 
สังคมโลกกับละมุนอำนาจ
จีนเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับละมุนอำนาจ มีการจัดสรรเรื่องเกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม แม้จะยังไม่ดีมากนักแต่อย่างน้อยก็ทำเพื่อประชาชนของตนเอง เช่น สร้างเขื่อนกักเก็บน้ำในแม่น้ำโขงตอนบน จึงทำให้แม่น้ำโขงตอนล่างแห้ง ช่วงหน้าฝน จีนจะปล่อยน้ำลงมาเพราะกลัวเขื่อนแตก ทำให้ได้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวน โดยจีนเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำมากที่สุดในโลก รองลงมาคือแคนาดาและบราซิลตามลำดับ นโยบายของรัฐจะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เช่น นโยบายของจีนส่งผลกระทบต่อไทย ไทยเราจึงต้องคอยติดตาม
ช่วงนี้อาจารย์ให้ดูภาพการสร้างจรวดส่งยานอวกาศของนาซ่า ภาพ Blue Beauty ที่ถ่ายจากอวกาศ เช่น ภาพพายุทะเลทราย ช่องแคบยิบรอลต้า ทะเลดำ ทะเลแดง ประเทศต่างๆ โลกในตอนกลางวันและกลางคืน ภาพอวกาศและภาพสันติภาพโลก
Quiz 2 ให้ดูวีโอคลิปแล้วตอบคำถามดังนี้
จากภาพยนตร์และวีดีโอคลิปที่ท่านได้ชม ได้สะท้อนประเด็นปัญหาและข้อคิดใดบ้าง ในสภาวะการเมืองและสถานการณ์โลกปัจจุบัน

**ช่วงดูสารคดีเรื่องแผ่นดินไหว**
วันที่ 17 มกราคม 1994 เกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปีที่ลอสแองเจลิส ความรุนแรง 6.7 ริกเตอร์ ภายใน 15 วินาทีทำลายสิ่งก่อสร้าง 25,000 แห่ง คนเสียชีวิต 60 คน และทำให้คน 25,000 คนไร้บ้าน งบประมาณในการซ่อมแซม 20 กว่าล้านดอลลาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่กว่ากำลังจะตามมา ร้อยละ 50 ของเมืองใหญ่ในโลกตั้งอยู่ใกล้ลอยเลื่อนของเปลือกโลก ปี 1995 เกิดแผ่นดินไหวในตุรกี ครั้งที่ผ่านมาคือญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย สร้างคามเสียหายกว่า 250,000 ล้านดอลลาร์ คนเสียชีวิต 450,000 คน นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าแผ่นดินไหวครั้งต่อไปอาจจะรุนแรงกว่าที่เกิดในนอร์ธริดจ์กว่า 30 เท่า 
ที่ศูนย์แผ่นดินไหวแคลิฟอร์เนียใต้ นักวิทยาศาสตร์กว่า 30 คนได้สร้างแบบจำลองที่ทำให้เห็นว่า Big One จะเป็นอย่างไร ซึ่งแผ่นดินไหวเกิดขึ้นวันละหลายพันครั้ง สะเทือนต่อโลกเราทุกวันเพียงแต่เราไม่รู้สึก ส่วนใหญ่อยู่ใต้ชั้นมหาสมุทรและแผ่นดิน แต่ในแคลิฟอร์เนียมีจุดที่จะเกิดบิ๊กวันได้ ที่รอยเลื่อนซานแอนเดรียส ยาวกว่า 800 ไมล์และลึก 10 ไมล์ ยาวเกือบเท่าความยาวทั้งหมดของแคลิฟอร์เนีย สามารถกวาดเมืองได้ทั้งเมือง ปี 1906 ในซานฟรานซิสโก รอยเลื่อนซานแอนเดรียสทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงกว่าที่เกิดในนอร์ธริดจ์ 45 เท่า คนเสียชีวิต 3,000 กว่าคน ทำลายเมืองใกล้อ่าวทั้งเมือง นักธรณีวิทยาเชื่อว่ารอยเลื่อนซานแอนเดรียสจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทุก 150 ปี ครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นคือปี 1857 
แผ่นดินไหวเริ่มจากเกิดรอยแยกของเปลือกโลก เป็นรอยเลื่อนระยะทาง 120 ไมล์และลึก 10 ไมล์ คลื่นแผ่นดินไหวเดินทางด้วยความเร็ว 7,000 ไมล์/ชม. และปล่อยพลังงานจำนวน 5 เมกกะตัน ซึ่งมีพลังงานเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ 333 ลูกที่ฮิโรชิมา ระหว่างที่ซานแอนเดรียสเคลื่อนไหวเกิดความดันตามรอยแยกสูงถึง 5-15 ตันต่อตารางนิ้ว ภายในเวลา 1 นาที แผ่นดินไหวก็จะกระจายทั่วซานเบอร์นาร์ติโน่และทำลายทางด่วนสาย I-15 ซึ่งเป็นเส้นทางที่สำคัญของ LA ในการเข้าและออกเมือง การสั่นสะเทือนจะทำให้ถนนเกิดรอยแยกพาดทางด่วน 15-20 ฟุต เป็นการตัดเส้นทางหนีออกจาก LA พื้นจะถูกยกขึ้นภายในเวลาหนึ่งวินาที พื้นที่สั่นไหวรุนแรง 7.7 ริกเตอร์
ปี 1999 ที่ตุรกีเหนือ แผ่นดินไหวทำลายเมืองอิซมิทจนเป็นเศษเล็กเศษน้อย ซึ่งส่วนใหญ่สร้างจากอิฐและคอนกรีตโดยนำแบบมาจากซานเบอร์นาร์ติโน่ อาคารกว่า 20,000 หลังพัง คนกว่า 17,000 คนเสียชีวิตและกว่า 40,000 คนได้รับบาดเจ็บ ในซานเบอร์นาร์ติโน่ อาคารแทบจะป้องกันแผ่นดินไหวไม่ได้ หลายอาคารจึงอาจทรุดได้หากเกิดแผ่นดินไหว 
อาคารหลายแห่งไม่ได้สร้างมารองรับแผ่นดินไหวทั้งๆ ที่อยู่บนแนวรอยเลื่อนซานแอนเดรียส จึงอาจพลังทลายได้ โรงพยาบาลบางแห่งถูกปิดตัว โรงพยาบาลที่เหลือจึงรองรับผู้ป่วยไม่ไหว อาคารสมัยใหม่จึงถูกออกแบบมาให้รองรับแผ่นดินไหวได้ แม้ซานแอนเดรียสจะมีพลังมากแต่นักวิทยาศาสตร์มองว่าไม่ใช่บิ๊กวัน
LA ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนจำนวนนับไม่ถ้วน อาจจะ 150 รอยหรือมากกว่านั้น มีหนึ่งรอยแยกที่เพิ่งค้นพบคือรอยเลื่อนพูเอนเต้ฮิลส์ ตั้งอยู่ใต้ย่านการค้าของ LA โดยตรง ที่ใต้เมืองจะมีแผ่นขนาดใหญ่ 2 แผ่นเสียดสีกัน ความดันหลายตันค่อยๆถึงจุดแตกหัก นักวิทยาศาสตร์เห็นว่าพูเอนเต้ฮิลส์น่าจะเป็นบิ๊กวันที่จะทำลาย LA ได้มากกว่าที่จะเป็นซานแอนเดรียส ความเสียหายของแผ่นดินไหวที่เกิดจากพูเอนเต้ฮิลส์จะเป็นหายนะที่ยิ่งใหญ่กว่าพายุแคทรีน่า 
นักวิทยาศาสตร์คำนวณพลังที่แท้จริงของพูเอนเต้ฮิลส์พบว่า เป็นพลังงานที่มากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ถึง 53 ลูกที่ฮิโรชิมา ไม่ถึง 15 วินาทีทั้งเมืองจะถูกถล่มด้วยคลื่นแผ่นดินไหว คนล้านคนถูกกระแทกกับพื้น โลกใต้ LA ยกขึ้นถึง 9 ฟุต ความจริงแล้วพลังของพูเอนเต้ฮิลส์ไมได้อยู่ที่แผ่นดินไหว แต่อยู่ที่พื้นดินรอบตัวมัน โดย LA ส่วนใหญ่ติดอยู่ในแอ่งขนาดยักษ์ คล้ายกับชามขนาดยักษ์ที่ใส่ทรายและกรวด คลื่นจะกระจายอยู่ในนั้นและออกมาไม่ได้ พูเอนเต้ฮิลส์จะสั่นสะเทือนกว่าซานแอนเดรียสมากแต่เกิดขึ้นไม่นานและสร้างความเสียหายได้มากกว่า LA จะปั่นป่วนเหมือนน้ำในอ่าง การสั่นสะเทือนจะกึกก้องไปทั่วแอ่งและย่านการค้าก็ถูกทำลายล้าง อาคารที่ถูกออกแบบมารองรับแผ่นดินไหวอาจถูกยกให้สูงถึง 9 ฟุต อาคารอาจเอนจากซานแอนเดรียสไม่ถึงร้อยละ 1 จากเกณฑ์ร้อยละ 2.5 แต่พูเอนเต้ฮิลส์ทำให้อาคารหลังนี้เอนจากจุดศูนย์กลางร้อยละ 3 ชั้นที่อยู่ตรงกลางจะพังทลายและอาคารก็จะทรุดลง
ปี 1995 ที่โกเบ ประเทศญี่ปุ่น แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำลายตึกที่มีโครงสร้างเหล็กหลายพันหลัง มีผู้เสียชีวิต 6,000 คน กว่า 43,000 คนได้รับบาดเจ็บและ 300,000 คนที่ไร้บ้าน อาคารกว่า 400,000 หลังเสียหายหรือถูกทำลาย ซึ่งอาจเป็นอนาคตของ LA โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าพูเอนเต้ฮิลส์จะสร้างความเสียหายมากกว่าโกเบ แต่ไม่เคยมีใครวัดระดับความเสียหาย จนกระทั่งตอนนี้จำเป็นต้องศึกษาเพื่อดูว่าตึกอาคารต่างๆจะมีโอกาสรอดหรือไม่ 
อย่างไรก็ตามไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าพูเอนเต้ฮิลส์จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ผู้เชี่ยวชาญคำนวณพบว่าแผ่นดินไหวพูเอนเต้ฮิลส์จะเกิดขึ้นทุก 3,000 ปี แต่ไม่มีใครรู้ว่าตอนนี้เราอยู่ในจุดไหนของวัฏจักร ใกล้จุดเริ่มต้นหรือใกล้จุดสิ้นสุด ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างตึกอาคารให้รองรับแผ่นดินไหวพูเอนเต้ฮิลส์ เช่น ซิตี้ฮอลล์สัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของอเมริกา มีการปรับฐานและติดตั้งระบบแผ่นดินไหวที่ทันสมัย หากมีการสั่นสะเทือน ลูกสูบขนาดยักษ์ก็จะดูดซับพลังงาน จึงช่วยลดการสั่นสะเทือนได้มาก หากมีเวลา ผู้เชี่ยวชาญก็อาจทำกับตึกอื่นด้วย แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับงบประมาณ 

**ข้อมูลเพิ่มเติม** 
จากวาทะของอับราฮัม ลินคอล์น ที่ว่าประชาธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน มีความหมายดังนี้
-ของประชาชนคือมนุษย์มีสิทธิเสรีภาพโดยธรรมชาติและเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุด 
-โดยประชาชนคือประชาชนเป็นผู้เลือกผู้แทนและผู้แทนทำแทนคนทั้งประเทศ 
-เพื่อประชาชนคือทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน 
พิสูจน์โดยการเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบร่วมกัน เรามีสิทธิและหน้าที่ จึงต้องใช้สิทธิและหน้าที่นั้นและตรวจสอบว่าเราได้ประโยชน์หรือไม่ จะอ้างว่ารัฐบาลนี้เราไม่ได้เลือกจึงไม่รับผิดชอบไม่ได้ ความรับผิดชอบคือการไม่ไปเลือก เขาจึงได้เข้ามาเป็นรัฐบาล หากเราไปเลือก คนอื่นก็อาจได้มาเป็นรัฐบาลแทน ความรับผิดชอบจึงเป็นภาระผูกพัน เพราะเราเป็นเจ้าของสิทธิเสรีภาพที่ระบุไว้ในระบอบประชาธิปไตย แม้เราจะไม่ไปใช้สิทธิก็ไม่ควรละเมิดสิทธิของคนอื่น ต้องมีความอดทน หากไม่ชอบรัฐบาลนี้ก็ต้องทนจนกว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ เพื่อเลือกคนใหม่เข้าไปแทน) 


    ********************************
 

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :