สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714565
แสดงหน้า2188631
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




สรุป PS 701แนวทางการศึกษาทางรัฐศาสตร์

สรุป PS 701แนวทางการศึกษาทางรัฐศาสตร์
อ้างอิง อ่าน 867 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์

สรุป PS 701แนวทางการศึกษาทางรัฐศาสตร์

มีวัตถุประสงค์ของวิชา 701
1.เพื่อให้นักศึกษารู้จักและเข้าใจแนวทาง (Approach) ในการศึกษารัฐศาสตร์ 
2.เพื่อให้นักศึกษานำเอาแนวทางในการศึกษารัฐศาสตร์หรือ Approach ไปใช้ในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองได้
** ดังนั้นข้อสอบวิชานี้จะเน้นให้นักศึกษา นำ Approach ไปวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมือง***
เมื่อเป็นเช่นนี้ในการสอบนักศึกษาต้องเตรียม 2 ส่วนคือ
1.ปรากฎการณ์ทางการเมืองหรือความเป็นจริงทางการเมืองที่เกิดขึ้น 
2.เตรียมความรู้เกี่ยวกับ Approach ที่สำคัญๆที่อาจารย์แต่ละคนเน้น 
ทั้งนี้อาจารย์แต่ละท่านจะเน้นสอน Approach ที่แตกต่างกัน (แม้บางคนจะสอนเหมือนกันบ้าง แต่ก็จะพอมองออกว่าเน้น Approach อะไร) คือ
1.อาจารย์เชิญ ชวิณณ์ เน้นแนวพินิจชนชั้นนำ ( Elite Approach)
2.อาจารย์พิมลเน้นแนววิเคราะห์ประวัติศาสตร์และแนววิเคราห์สถาบันและกฎหมาย 
3.อาจารย์จิระโชค เน้นแนววิเคราะห์เชิงวัฒนธรรม (Cultural Approach) 
4.อาจารย์สุชาติไม่เน้นแนววิเคราะห์ในปีนี้แต่เน้นพัฒนาการของวิชารัฐศาสตร์
ดังนั้น Approach ที่นักศึกษาเตรียมเข้าห้องสอบควรจะมีอย่างน้อยตามที่อาจารย์เน้น (หากเตรียม Approach อื่นได้ทันก็เป็นการดี)
อย่างไรก็ตามในการทำข้อสอบ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการ ตอบให้ตรงคำถาม และตอบให้ครบทุกคำถาม  ดังนั้นนักศึกษาต้องวิเคราะห์โจทย์ก่อนตอบว่าโจทย์ถามอะไรบ้าง 
        สรุปสาระสำคัญของวิชา
1.ความหมายของการเมือง
2.ความหมายและความสำคัญของ Approach
3.แนววิเคราะห์ (Approach) ทางการเมืองที่สำคัญๆ
4.ตัวอย่างการนำเอา Approach ไปวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมือง
ความหมายของการเมือง
การเมือง (Politics) ความหมายของคำว่าการเมือง จะมีหลากหลาย เช่น
1.นักวิชาการยุคแรกๆ มองว่า การเมืองก็คือเรื่องของรัฐและรัฐบาล อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับรัฐเป็นเรื่องการเมืองทั้งสิ้น แนวคิดนี้เป็นแนวคิดตั้งยุคเพลโต และอริสโตเติล
เมื่อมองว่าการเมืองเป็นเรื่องของรัฐทำให้การศึกษาการเมืองในระยะแรกๆจะเป็นการศึกษาถึงรัฐบาลเป็นหลัก คณะรัฐศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ จึงเน้นผลิตคนออกไปเป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างของรัฐคือปลัดอำเภอ 
2.การเมืองยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ (Power) มองว่าการเมืองเป็นการพยายามต่อสู้แย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ และอำนาจจะเป็นเครื่องมือในการแสวงหาสิ่งอื่นๆต่อไป อำนาจจึงเป็นทั้งเครื่องมือ (Mean) และเป้าหมาย (End) ในตัวของมันเอง    
3.การเมืองคือเรื่องของการใช้อำนาจในการจัดแจงแบ่งสรรสิ่งที่มีคุณค่าในทางสังคม (เช่นแนวคิดของเดวิด อีสตัน)
4.การเมืองคือปฏิกิริยาระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง และเป็นเรื่องของการแก่งแย่งสิทธิในการปกครองในระหว่างผู้ปกครองด้วยกันเอง
การเมืองเป็นเรื่องที่สมาชิกในระบบการเมืองใดในสังคมรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ผู้ที่มีอำนาจในทางการเมือง ให้ดำเนินการสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับสมาชิก แจกแจกทรัพยากรและสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม 
ความเป็นจริงก็คือในแต่ละสังคมมีทรัพยากรจำกัด แต่ความต้องการหรือจะอยู่ในระดับสูงกว่าการสนองตอบ หรือ Demand จะสุงกว่า Supply ตลอดเวลา 
ด้วยเหตุนี้แต่ละคนก็ต่างพยายามที่จะแย่งชิงทรัพยากรเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง และเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล หรือกลุ่มผู้ปกครองขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการจัดแจงแบ่งสรรทรัพยากร สร้างกฎเกณฑ์ กติกาและสถาบันต่างๆขึ้นมาเพื่อควบคุมพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน เพื่อจัดแจงแบ่งสรร เพื่อสร้างความกินดีอยู่ดี
และเมื่อรัฐหรือผู้ปกครองทำหน้าที่ในการแจกแจงทรัพยากรให้กับคนกลุ่มหนึ่ง คนอีกหลายๆกลุ่มก็จะไม่ได้รับประโยชน์จากการแบ่งสรร (ต้องมีการแบ่งเค้ก) ผู้ที่เสียผลประโยชน์จากการจัดสรรจะยื่นข้อเสนอให้รัฐจัดการแจกแจงแบ่งสรรใหม่ ขณะเดียวกันคนที่ได้รับการจัดแจงแบ่งสรร ก็พยายามจะต่อต้านเพื่อรักษาผลประโยชน์ที่ตนเองพึงมีพึงได้ให้คงอยู่
กลุ่มที่ได้ประโยชน์จะอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบ มักจะเป็นชนชั้นนำ เป็นกลุ่มผู้ปกครอง และพยายามจะใช้วิธีการทุกอย่างเพื่อที่จะรักษาสถานภาพที่ได้เปรียบของตนเองเอาไว้ อาจจะใช้วิธีการสร้างค่านิยม อุดมการณ์ขึ้นมา เพื่อรักษาประโยชน์ของพวกเขาเอาไว้
วิชารัฐศาสตร์ (Political Science) ในปัจจุบันจึงพัฒนาจากการศึกษาเรื่องของรัฐมาเป็นการศึกษาการเมือง โดยเฉพาะศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับสังคม 
ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับสังคมมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามเวลากล่าวคือ
-ในการเมืองแบบเก่า รัฐจะมีอำนาจเหนือสังคมค่อนข้างมาก 
-ในการเมืองแบบใหม่ (New Politics) สังคมเริ่มมีอำนาจเหนือรัฐ สังคมเริ่มมีอำนาจในการต้านอำนาจรัฐ
ปฏิสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐกับสังคมที่เปลี่ยนไปเช่นนี้ทำให้เนื้อหาสาระของการศึกษาการเมืองเปลี่ยนไปด้วย จากเดิมที่เน้นศึกษาการเมืองที่เป็นทางการ ศึกษาสถาบันทางการเมืองที่สำคัญและเป็นทางการ มาศึกษาการเมืองที่ไม่เป็นทางการ การเมืองภาคพลเมือง
แนววิเคราะห์ (Approach)
แนววิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์ หมายถึงมุมมอง หรือแนวทางที่นักรัฐศาสตร์ใช้ในการทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ทางการเมืองหนึ่งๆ 
มีนักวิชาการให้ความหมายของแนวศึกษาวิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์ไว้หลากหลาย เช่น
อแลน ซี ไอแซค กล่าวว่าแนวการวิเคราะห์ในการศึกษาก็คือกลยุทธ์โดยทั่วไปที่เราใช้ในการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ในทางการเมือง โดยแนววิเคราะห์ในการศึกษาจะให้กรอบ ให้รูปแบบ ให้ตัวแบบ ให้แนวคิด เพื่อให้เราสามารถทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์ทางการเมืองในขอบข่ายที่กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยอาศัยแนวคิดหลักเพียงแนวคิดเดียว    
วิลเลี่ยม เอ. เวลช์ บอกว่า Approach คือชุดหรือกลุ่มของคอนเซ็ปต์ที่มุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญกับประเด็นทางการเมืองด้านใดด้านหนึ่ง โดยปกติ Approach จะประกอบไปด้วยคอนเซ็ปต์หลักเพียงคอนเซ็ปต์เดียว 
    เวอร์นอน แวน ไดค์ (Vernon Van Dyke) บอกว่า Approach หนึ่งๆจะประกอบด้วยมาตรการในการเลือกสรรปัญหาหรือคำถามที่จะนำมาพิจารณาและเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้ และจะบอกว่าข้อมูลชนิดใดที่สามารถนำมาใช้ได้และชนิดข้อมูลชนิดใดนำมาใช้ไม่ได้
    จากนิยามของนักวิชาการข้างต้น Approach ในทางรัฐศาสตร์ หมายถึงกรอบความคิด ที่มีแนวคิดหลักปรากฎอยู่เพียงแนวคิดเดียว ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองเป็นไปอย่างมีทิศทาง และมีขอบเขตที่ชัดเจน
    การวิเคราะห์การเมืองของนักรัฐศาสตร์นั้นมีหัวใจที่สำคัญอยู่ที่แนวทางการศึกษา (Approach) และกรอบความคิด (Conceptual Framework) ซึ่งถ้าขาด 2 สิ่งนี้การวิเคราะห์การเมืองของนักรัฐศาสตร์จะมีขีดความสามารถในการวิเคราะห์วิจารณ์ทางการเมืองที่ไม่ดีไปกว่าบทวิเคราะห์วิจารณ์ของนักหนังสือพิมพ์ หรือนักวิชาการสาขาอื่นๆในทางสังคมศาสตร์เลย หรืออาจจะคุณภาพด้อยกว่าอีกด้วย เพราะนักหนังสือพิมพ์มักจะมีข้อมูลลับจากวงในทางการเมืองดีกว่านักรัฐศาสตร์
ความสำคัญของแนววิเคราะห์ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง
ประเด็นนี้คือการตั้งคำถามว่าทำไมการศึกษารัฐศาสตร์จึงต้องอาศัยแนวทางการวิเคราะห์
คำตอบก็คือศาสตร์ทุกศาสตร์มีเป้าหมายเดียวกันในการศึกษาคือการแสวงหาและเหตุผล (Causality) ของปรากฏการณ์ เพราะการทราบสาเหตุของปรากฏการณ์จะนำไปสู่การแก้ปัญหา 
ในทางการเมืองนักรัฐศาสตร์ศึกษาปัญหาทางการเมืองก็เพื่อจะตอบว่าปัญหาทางการเมืองในเรื่องนั้นๆเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะเชื่อว่าหากทราบสาเหตุก็จะสามารถกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาการเมืองในเรื่องนั้นๆได้
เช่น
-ถ้าเรารู้ว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเราก็จะแนวทางมาแก้ปัญหาได้
-ถ้าเรารู้ว่าปัญหาการขายเสียงเกิดจากอะไรเราก็จะสามารถกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาการซื้อขายเสียงได้
-ถ้าเรารู้ว่าปัญหาความขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดจากอะไร เราก็จะกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาได้
แต่การแสวงหาสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมืองเป็นเรื่องที่ยากมาก หรือกล่าวว่าการแสวงหาความจริงทางการเมืองเป็นเรื่องยุ่งยาก (ยากกว่าการแสวงหาความจริงของศาสตร์อื่นๆ ) เนื่องจากข้อมูลในทางการเมืองเป็นข้อมูลที่มีจำนวนมากมายมหาศาล บางครั้งเป็นข้อมูลที่มีความขัดแย้งกัน 
ตัวอย่าง
ถ้าเราจะศึกษาปัญหาความขัดแย้งในทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทย จะมีข้อมูลที่มาจากฝ่ายที่สนับสนุนอดีตนายกทักษิณ จะมีข้อมูลที่มาจากฝ่ายต่อต้านทักษิณ จะมีข้อมูลทั้งจากฝ่ายที่เป็นกลาง บางครั้งข้อมูลเหล่านี้ก็ขัดแย้งกันเอง บางครั้งข้อมูลก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่าข้อมูลใดเป็นจริง ข้อมูลใดเป็นเท็จ
ทำให้เกิดคำถามว่าเราจะเลือกเชื่อข้อมูลฝ่ายใด หรือบอกว่าฝ่ายใดถูกหรือฝ่ายใดผิด 
คำตอบก็คือในทางรัฐศาสตร์มองว่าไม่มีความเชื่อใดถูกหรือผิด  แต่เมื่อเราเลือกจะเชื่อข้อมูลไหน จะต้องมีเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อ รวมทั้งมีเหตุผลที่จะโต้แย้งความเชื่อของคนอื่นๆที่ไม่ตรงกับ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยสนับสนุนความเชื่อของเราก็คือ ทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์นั่นเอง
ทำให้เมื่อนักรัฐศาสตร์จะศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองใดๆ ต้องมีแนววิเคราะห์หรือทฤษฎีมาเป็นเครื่องมือ
 ความสำคัญและประโยชน์ของแนววิเคราะห์
1.แนววิเคราะห์หรือทฤษฎีแต่ละทฤษฎีจะเป็นตัวกำหนดกรอบว่า ในข้อมูลที่มีจำนวนมากนั้นจะเลือกข้อมูลอะไรมาใช้บ้าง หรือเป็นการช่วยจัดระเบียบข้อมูลที่เราจะใช้ในการศึกษา (เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ข้อมูลทั้งหมดมาศึกษา)
    ตรงนี้เองทำให้ทฤษฎีหรือแนววิเคราะห์มีหลายแนววิเคราะห์ขึ้นอยู่กับความเชื่อของนักทฤษฎี 
    เช่น 
-คนที่เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองเกิดจากความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ เวลาศึกษาความขัดแย้งทางการเมืองก็จะสนใจเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ (ซึ่งแสดงว่าเขากำลังวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยใช้แนววิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์) 
-คนที่เชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยเวลานี้เกิดจากสถาบันต่างๆในทางการเมืองไม่ทำหน้าที่ของตนเอง หรือไม่สามารถพัฒนาโครงสร้างสถาบันได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง เวลาศึกษาก็จะสนใจเก็บข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเมือง  (ซึ่งแสดงว่าเขากำลังใช้แนววิเคราะห์เชิงสถาบันในการศึกษาปัญหาทางการเมือง)
2.แนววิเคราะห์หรือทฤษฎีจะช่วยสร้างข้อโต้แย้งให้กับผู้ศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมือง เพราะแต่ละ Approach จะมีแนวคิดที่ไม่เหมือนกัน ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีจะมีข้อโต้แย้งซึ่งกันและ และจะช่วยให้เกิดการพัฒนาแนวทางในการวิเคราะห์ได้แหลมคมมากขึ้น เช่น
-คนที่เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองเกิดจากความขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ก็จะโต้แย้งกับคนที่เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองเกิดจากสถาบันทางการเมือง ซึ่งเมื่อเกิดการโต้แย้งก็จะทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง
3.แนวการวิเคราะห์ช่วยทำให้เราตระหนักว่าทฤษฎีแต่ละทฤษฎีมีข้อจำกัด และพื้นฐานของแต่ละทฤษฎีเกิดจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน การนำทฤษฎีไปวิเคราะห์จึงต้องพิจารณาถึงจุดอ่อนของทฤษฎี
การที่แนววิเคราะห์แต่ละแนวมีฐานความคิดแตกต่างกัน และมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ทำให้เกิดการโต้แย้งอยู่เสมอ ทำให้แนววิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์หรือแนวทางที่จะใช้ในการศึกษาความจริงทางการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา 
พัฒนาการของวิชารัฐศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ยุค (เนื้อหาอาจารย์สุชาติ)
1.ยุคปรัชญาการเมือง เป็นยุคแรกของการศึกษารัฐศาสตร์ ซึ่งการศึกษาจะใช้แนวทางเชิงปรัชญา (Philosophy  Approach) เป็นแนวทางหลักในการศึกษา 
การศึกษารัฐศาสตร์แนวปรัชญาจะมีลักษณะที่สำคัญคือ มุ่งเน้นในการตั้งคำถามและคำตอบที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม คุณธรรม สิ่งที่ควรจะเป็น และใช้ค่านิยม (Value) ส่วนตัวไปสร้างคำตอบ เช่นถามว่าผู้ปกครองที่ดีควรจะมีลักษณะอย่างไร การปกครองที่ดีควรเป็นแบบไหน  คำถามในทางปรัชญาเหล่านี้จะมีคำตอบที่ต่างกันไปขึ้นอยู่กับความคิดของคนแต่ละคน 
เช่นเพลโตมองว่าการปกครองที่ดีควรปกครองด้วยราชาปราชญ์ อริสโตเติลบอกว่าต้องปกครองโดยชนชั้นกลาง 
คำถามในทางปรัชญาเหล่านี้เป็นคำถามเหล่าที่ไม่มีวันสิ้นสุด และสังคมมนุษย์ยังคงต้องแสวงหาสิ่งที่ควรจะเป็นต่อไป
    ลักษณะดังกล่าวของแนวทางปรัชญาทำให้มีการวิพากษ์แนวการศึกษาแบบปรัชญาว่าเป็นการศึกษาที่เลื่อนลอยไม่อยู่ในโลกแห่งความจริง แต่คาดเดาด้วยตรรกะ และมีการนำเอาอคติของผู้ศึกษาเข้าไปเกี่ยวข้อง
2.ยุคนิติสถาบัน (Legal Institutional ) เป็นการศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมืองโดยอาศัยตัวบทกฎหมายและโครงสร้างสถาบันเป็นหลัก เช่นถ้าเราอยากจะศึกษาเรื่องพรรคการเมืองในประเทศไทยก็จะศึกษากฎหมายพรรคการเมืองว่ากำหนดบทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมืองว่ามีอะไร บ้างหรือไม่ก็ศึกษาจากโครงสร้างของพรรคการเมือง เช่นดูการจัดระเบียบโครงสร้างภายในพรรคว่าเป็นอย่างไร
    การศึกษาแนวทางนิติสถาบันทำให้เกิดความชัดเจนในการศึกษามากขึ้น แต่ก็มีข้อบกพร่องที่ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์คือ
    -มองว่าการศึกษาในแนวนิติสถาบันขาดความยืดหยุ่น
    -มองว่าการศึกษาโดยยึดตัวบทกฎหมายทำให้มีการละเลยปัจจัยด้านอื่นๆ เช่นปัจจัยด้านประวัติศาสตร์ หรือวัฒนธรรมของแต่ละสังคม
    -มองว่าการศึกษาในแนวนิติสถาบันละเลยการศึกษากระบวนการทางการเมืองที่เป็นจริง เพราะความเป็นจริงกับกฎหมายอาจจะเป็นคนละเรื่องกัน 
    -การศึกษาแนวนิติสถานบันไม่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ เพราะสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    จากจุดอ่อนของการศึกษายุคปรัชญาและยุคนิติสถาบัน นักวิชาการในกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ เสนอว่าต้องเปลี่ยนแนวทางการศึกษารัฐศาสตร์ไปสู่ยุคที่ 2 คือ ทำให้รัฐศาสตร์พัฒนาเข้าสู่ยุคที่ 2 คือ 
    2.ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioralism) ยุคนี้มองว่าการศึกษาในยุคปรัชญาและนิติสถาบันนั้นทำให้รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ขาดหลักเกณฑ์ จับต้องไม่ได้ ล้าสมัย ไม่มีความเป็นกลาง ไม่มีความเป็นศาสตร์ ยุคพฤติกรรมศาสตร์จึงต้องการให้วิชารัฐศาสตร์มีความเป็นศาสตร์มากขึ้น ซึ่งนักวิชาการกลุ่มนี้จึงเสนอให้เปลี่ยนวิธีการในการศึกษารัฐศาสตร์เสียใหม่
ความคาดหวังของนักพฤติกรรมศาสตร์
1.ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นกลาง (Neutrality) และปราศจากอคติ (Non-Biased) 
2.ต้องการค้นหาองค์ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล (Causality) ที่สามารถทดสอบได้ (Test) นั่นคือสามารถตอบคำถามได้ว่าอะไรคือสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมือง 
3.นักพฤติกรรมศาสตร์ต้องการให้ความรู้ที่เกิดจากการศึกษามีประโยชน์ในการนำไปคาดการณ์หรือทำนายเหตุการณ์ (Prediction) ในอนาคตได้
 4.ต้องการสร้างทฤษฎีขนาดใหญ่เพื่ออธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองได้อย่างกว้างขวาง ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่และเวลา
    นักพฤติกรรมศาสตร์มองว่ารัฐศาสตร์มีองค์ประกอบดังกล่าวจะทำให้รัฐศาสตร์มีความเป็นศาสตร์ 
     



ลักษณะของการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์
    1.มีลักษณะที่เป็นระบบ (Systematic) ต้องสนใจข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical) และสามารถทำนายได้ (Predictive) 
    2.การศึกษาตามแนวพฤติกรรมจะเน้นศึกษาพฤติกรรมส่วนบุคคลและส่วนรวมเป็นหลัก หรือเอาพฤติกรรมของบุคคลและส่วนร่วมเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ (Individual & Collective Behavior as a Unit of Analysis) 
    3. การศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์จะต้องทำในแบบสหวิทยาการ หรืออาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชามาใช้ในการศึกษา
    4.พฤติกรรมศาสตร์จะเน้นในเรื่องวิธีการศึกษา เพราะพฤติกรรมศาสตร์เชื่อว่าวิธีการศึกษา หรือระเบียบวิธีวิจัย Research Methodology ที่ชัดเจนจะนำไปสู่ผลการศึกษาที่ชัดเจน )
เนื่องจากนักพฤติกรรมศาสตร์มองว่าการศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมืองควรจะสภาพที่เป็นอยู่จริง (Being) ว่าเป็นอย่างไร ไม่ควรจะศึกษาสิ่งที่ควรจะเป็น (What Ought to be) เหมือนพวกปรัชญาศึกษา ทำให้ประเด็นหลักที่พวกพฤติกรรมศาสตร์ศึกษากันก็คือเรื่องของพฤติกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นจริงๆนั่นเอง
เช่นศึกษาพฤติกรรมในการเลือกตั้ง พฤติกรรมในการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยวิธีการของพฤติกรรมศาสตร์คือต้องการประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมืองหรือทางสังคมศาสตร์ เนื่องจากในยุคพฤติกรรมศาสตร์นั้นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลนั้นเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อใช้แนวทางแบบพฤติกรรมศาสตร์มาระยะหนึ่งก็เกิดปัญหาทำให้รัฐศาสตร์พัฒนาเข้าสู่ยุคที่ 4 คือ
4.ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-Behavioralism) นักรัฐศาสตร์ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์มองว่าการศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์นั้นมัวแต่ให้ความสนใจแต่วิธีกาศึกษามากว่าให้ความสนใจต่อเนื้อหา ทำให้ผลการศึกษาไม่ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาของสังคม
    ลักษณะของการศึกษารัฐศาสตร์หลังพฤติกรรมศาสตร์ 
    1.จะเป็นการนำความรู้หลายสาขาวิชามาใช้ในการศึกษารัฐศาสตร์ หรือมีลักษณะของการเป็น Multi-Disciplinary หรือ Interdisciplinary เช่นถ้าเราจะศึกษาเรื่องการขายเสียงจะต้องเข้าใจทั้งในเรื่องวัฒนธรรม สังคมวิทยา ความยากจน ประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ใช้แต่ความรู้ทางรัฐศาสตร์อย่างเดียว
    2.การศึกษารัฐศาสตร์ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ให้สนใจปัญหาสังคมมากขึ้น หรือเป็นการศึกษาที่เอาปัญหาเป็นตัวตั้ง (Problem Oriented) จากเดิมที่ยุคพฤติกรรมศาสตร์จะเอาทฤษฎีเป็นตัวตั้ง (Theory Oriented ) 
    3.ยุคหลังพฤติกรรมจึงไม่สนใจที่จะสร้างทฤษฎี แต่จะศึกษาโดยเอามาปัญหามาดูกันอย่างลึกซึ้ง เพราะมองว่าการศึกษาอย่างลึกซึ้งเหล่านี้ก็จะนำไปสู่การเสนอทางเลือก หรือทางออก ในการแก้ปัญหา    
    ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์จึงมีการศึกษารัฐศาสตร์โดยใช้แนววิเคราะห์ใหม่เช่น เศรษฐศาสตร์การเมือง สังคมวิทยาการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นต้น
4.ไม่เน้นการศึกษาเชิงปริมาณ หรือกระบวนการแบบวิทยาศาสตร์มากจนเกินไป ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์จึงเกิดแนวทางการศึกษาแบบใหม่ๆ เช่นแนวทางศึกษาแบบวาทกรรม แนวการศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา แนวการศึกษาที่เน้นการตีความ เป็นต้น
    

แนวทางการวิเคราะห์สำคัญๆทางรัฐศาสตร์
     
1.แนววิเคราะห์เชิงวัฒนธรรมการเมือง (Political Cultural Approach)
ความคิดรวบยอด : เชื่อว่าปรากฏการณ์ทางการเมืองเกิดจากวัฒนธรรมทางการเมืองของคนในสังคม
วัฒนธรรมการเมือง คือแบบแผนความคิดความเชื่อหรือค่านิยมของบุคคลในสังคมในระบบการเมือง และความคิดความเชื่อที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ เปรียบเสมือนแรงผลักที่ส่งผลต่อให้มนุษย์แสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางการเมืองในลักษณะใด
เช่น ในการเล่นการเมืองคนอเมริกานั้นพยายามจะผลักดันให้ตนเองเป็นที่รู้จักของคนในสังคม โดยสร้างผลงานให้มองเห็นเป็นระยะเวลานาน ต้องสร้างสมบารมี และผลงานยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นบุช อัลกอร์ หรือ นักการเมืองตระกูลเคเนดี้ จะต้องเริ่มต้นจากสนามการเมืองเล็กๆก่อนจะไต่เต้าขึ้นสู่ระดับสูง
คนอเมริกันถ้ามีข้อบกพร่องแทบจะเล่นการเมืองไม่ได้ เช่นวุฒิสมาชิกเอ็ดเวิร์ด เคเนดี้ไม่กล้าลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเพราะเคยขับรถตกน้ำและทำให้เลขาตาย ก็กลายเป็นปมด้อยทางการเมืองมาจนปัจจุบัน
แต่บ้านเรานั้นคนที่เล่นการเมือง ไม่จำเป็นต้องสะสมบารมี แต่จำนวนมากเป็นทายาททางการเมืองของนักการเมืองรุ่นเก่า ต้องมีนามสกุลดี มีฐานะร่ำรวย เช่นบางจังหวัด ส.ส.จะเป็นคนนามสกุลเดิมๆมาตลอด เช่นอังกินันท์ ศิลปอาชา เทียนทอง และอาศัยเส้นสายโยงใยเข้ามาเป็น ส.ส. นักการเมืองไทยจำนวนน้อยเท่านั้นจะอาศัยประสบการณ์ อาศัยความดีและการรับใช้สังคม จนมีคนเลือกเข้ามาเป็นผู้แทน
ยิ่งสังคมไทยเป็นวัฒนธรรมยอมรับอำนาจของคนมีเงิน มีบารมี ทำให้คนไทยไม่สนใจที่จะตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองที่เป็นคนมีบารมีเหล่านี้ ทำให้การเมืองไทยทุกวันนี้จึงยังมีปัญหา
การนำแนววิเคราะห์เชิงวัฒนธรรมไปใช้ : 
-ระบุให้ได้ว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของคนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือประเด็นทางการเมืองที่เราจะวิเคราะห์คืออะไร
-บอกว่าวัฒนธรรมดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาทางการเมือง (ตามประเด็นที่เราจะวิเคราะห์อย่างไร) 

2.แนววิเคราะห์ชนชั้นนำ (Elite Approach)
ความคิดรวบยอด : ปรากฎการณ์ทางการเมืองเป็นผลผลิตที่เกิดจากชนชั้นนำในสังคม 
แนววิเคราะห์ชนชั้นนำมองว่าในสังคมจะประกอบไปด้วยคน 2 ชนชั้นคือชนชั้นนำและคนชนชั้นล่าง
ชนชั้นนำ หมายถึง คนส่วนน้อยในสังคมที่มีอำนาจครอบงำคนชั้นล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม เนื่องจาก ชนนั้นนำเป็นคนที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ คือมีเงินทองและความร่ำรวย เมื่อมีความร่ำรวยทำให้สามารถใช้ความร่ำรวยในการแสวงหาอำนาจทางการเมือง เมื่อมีอำนาจทางการเมือง อำนาจในด้านอื่นก็จะเพิ่มพูนขึ้น และทำให้ชนชั้นนำเป็นคนกำหนดชะตากรรมของคนทั้งสังคม
สาเหตุที่ชนชั้นนำสามารถกำหนดความเป็นไปของสังคมได้ เพราะชนชั้นนำมีลักษณะต่างๆคือ
-ชนชั้นนำมีจำนวนน้อยทำให้ติดต่อสื่อสาร รวมกันอย่างเหนียวแน่น และพบว่าชนชั้นนำยังมีการเกี่ยวดองกันในรูปของเครือญาติผ่านการแต่งงานข้ามตระกูลกัน
-มีความคิด รสนิยม การใช้ชีวิต แบบเดียวกัน  จบจากโรงเรียนเดียวกัน  
-มีผลประโยชน์สอดคล้องกัน
แนวคิดชนชั้นนำจึงมองว่าการเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นนำ ทำให้การกำหนดนโยบายต่างๆเป็นไปเพื่อชนชั้นนำ โดยชนชั้นล่างได้รับประโยชน์แต่เพียงเล็กน้อย ผลประโยชน์ที่ชนชั้นนำจัดสรรให้ชนชั้นล่างเป็นการจัดสรรให้เพียงเพื่อไม่ให้ชนชั้นล่างรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบจนเกินไป และลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจของชนชั้นนำเท่านั้น
การนำแนววิเคราะห์ชนชั้นนำมาอธิบายการเมืองไทย
แนววิเคราะห์ชนชั้นนำสามารถนำมาอธิบายการเมืองไทยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคนที่เข้าไปมีอำนาจทางการเมืองเวลานี้คือชนชั้นนำทางธุรกิจเพียงไม่กี่ตระกูล ทำให้ชนชั้นนำเหล่านี้เข้าไปกำหนดบทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเอง 
    สำหรับการเมืองไทยชนชั้นนำที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในระยะแรกคือทหาร ข้าราชการระดับสูง โดยมีนักธุรกิจอยู่เบื้องหลังในการสนับสนุน ข้าราชการทหารเหล่านั้น ต่อมาเมื่อการเมืองมาอยู่ในมือของนักการเมือง นักธุรกิจก็มาสนับสนุนนักการเมือง และพรรคการเมือง แต่ทุกวันนี้นักธุรกิจเข้ามาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว 
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการแบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 กลุ่มโดยกว้างๆออกเป็นชั้นนำและชนชั้นล่างมานานแล้ว และชนชั้นนำเป็นชนชั้นที่มีบทบาทในการควบคุมความเป็นไปของชนชั้นล่างไม่ว่าจะเป็นยุคที่กษัตริย์ปกครองประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าตนเองเป็นไพร่ฟ้าที่ต้องคอยรับอำนาจและความกรุณาของชนชั้นนำ มาจนถึงยุคประชาธิปไตย คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมองว่าตนเองเป็นแค่ราษฎรที่ต้องคอยรับนโยบายจากรัฐ โดยไม่ลุกขึ้นมามีบทบาทในทางการเมืองแต่อย่างใด ปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของคนไม่กี่คน มาจนถึงทุกวันนี้ การเมืองไทยอยู่ภายใต้กำมือของตระกูลธุรกิจไม่กี่กระกูล และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลทางการเมืองก็จะมีชนชั้นนำแบบทหารและข้าราชการที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงอีกเช่นกัน

การนำไปใช้  : 
แยกแยะให้ได้ว่าในปัญหาที่เราศึกษามีชนชั้นนำกลุ่มใดบ้าง เช่นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยเวลานี้เป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำทางการเมือง สื่อมวลชน นักวิชาการ   
3.แนววิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group Approach)
ความคิดรวบยอด : การเมืองเป็นเรื่องของการเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่มต่างๆในสังคม
    แนววิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์มีแนวคิดที่สำคัญตรงที่มองว่าในสังคมประกอบด้วยกลุ่มต่างๆจำนวนมาก และกลุ่มเหล่านี้ต่างแข่งขันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง การแข่งขันของกลุ่มมักเป็นไปโดยการใช้อิทธิพลของกลุ่มในการเข้าไปกดดันให้รัฐบาลตัดสินใจเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มตนเอง เนื่องจากแนววิเคราะห์นี้เชื่อว่ากลุ่มผลประโยชน์จะตระหนักถึงผลประโยชน์ของตนเอง จึงต้องมีการเคลื่อนไหวในการรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม
4.การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) แนวคิดหลักของแนววิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์คือ แนวคิดหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตของเหตุการณ์ใดๆ จะเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ทำให้นักวิเคราะห์นำมาใช้วิเคราะห์เหตุการณ์ในปัจจุบันได้
การนำไปใช้วิเคราะห์การเมืองก็จะเน้นการเล่าเรื่องการเมืองว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมาปัจจุบันอย่างไร 
5.แนววิเคราะห์เชิงสถาบันและกฎหมาย (หรือแนวนิติสถาบัน) ให้อ่านในช่วงพัฒนาการของวิชา
นอกจากนี้ยังมีแนววิเคราะห์อื่นๆ เช่น
-แนวการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic Approach) มองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมการเมืองว่าเป็นผลมาจากเศรษฐกิจ เช่นแนวคิดของมาร์กซ์
- แนวการวิเคราะห์เชิงสังคมวิทยา (Sociological Approach) แนวการวิเคราะห์สังคมวิทยาจะมองว่าบทบาท ชนชั้น โครงสร้างทางสังคม ความเชื่อ อุดมการณ์ สถาบันทาง มีผลต่อพฤติกรรมการเมือง
- แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) จิตวิทยาจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นนามธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง เช่นเรื่องของความคิด แรงผลักทางจิตใจที่มีผลมาจากความเชื่อ อุดมการณ์ เช่นแนวคิดของซิกมัน ฟรอยด์ที่ใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psycho Analytic) มาวิเคราะห์สาเหตุของพฤติกรรมมนุษย์ เช่นศึกษาว่าการที่อิตเลอร์มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรงเพราะในสมัยเด็กนั้นฮิตเลอร์เป็นคนเตี้ยและมักถูกรังแกจากเพื่อนตั้งแต่สมัยเด็กๆ ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นปมด้อยจึงพยายามหาสิ่งอื่นมาทดแทน พอได้อำนาจจึงใช้อำนาจด้วยความก้าวร้าวเพื่อทดแทนสิ่งที่ขาดหายไปตั้งแต่วัยเด็ก
วิเคราะห์เชิงอำนาจ (Power Approach) แนววิเคราะห์นี้อาศัยแนวคิดในเชิงอำนาจมาเป็นเครื่องมือ มองว่าการเมืองคือเรื่องการต่อสู่เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ซึ่งในมุมมองนี้ก็สามารถมองเห็นภาพของการเมืองไทย เช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ ในปี 2475 ก็เป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่ม ระหว่างสถาบัน เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ปัจจุบันก็มองว่าความวุ่นวายทางการเมืองก็เป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่าและกลุ่มอำนาจใหม่
    ตัวอย่างการนำแนววิเคราะห์ไปใช้วิเคราะห์การเมือง
    1.แนวชนชั้นนำ (วิเคราะห์จากโจทย์การบ้านของอาจารย์เชิญ)
จงอธิบายให้เข้าใจว่า Elite Approach คืออะไร มีสาระสำคัญอย่างไร สามารถนำมาศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างไร ให้ตอบโดยยึดแนวทางที่ได้ศึกษามา พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน
***ตัวอย่างแนวทางในการตอบ***
แนวพินิจชนชั้นนำ (Elite Approach) หมายถึงแนวทางในการศึกษาหรือแนวทางในการทำความเข้าใจเรื่องราวหรือปรากฏการณ์ทางการเมืองโดยพิจารณาไปที่บทบาทของชนชั้นนำในสังคม
แนวพินิจชนชั้นนำมองว่าในสังคมจะประกอบไปด้วยคน 2 ชนชั้นคือชนชั้นนำและคนชนชั้นล่าง
ชนชั้นนำนั้นเป็นเป็นคนส่วนน้อยในสังคม แต่มีอำนาจครอบงำคนชั้นล่างที่ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม เนื่องจาก
ชนนั้นนำเป็นคนที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ คือมีเงินทองและความร่ำรวย เมื่อมีความร่ำรวยทำให้สามารถใช้ความร่ำรวยในการแสวงหาอำนาจทางการเมือง เมื่อมีอำนาจทางการเมือง อำนาจในด้านอื่นก็จะเพิ่มพูนขึ้น และทำให้ชนชั้นนำเป็นคนกำหนดชะตากรรมของคนทั้งสังคม
สาเหตุที่ชนชั้นนำสามารถกำหนดความเป็นไปของสังคมได้ เพราะชนชั้นนำมีลักษณะต่าง    ๆคือ
-ชนชั้นนำมีจำนวนน้อยทำให้ติดต่อสื่อสาร รวมกันอย่างเหนียวแน่น และพบว่าชนชั้นนำยังมีการเกี่ยวดองกันในรูปของเครือญาติผ่านการแต่งงานข้ามตระกูลกัน
-มีความคิด รสนิยม การใช้ชีวิต แบบเดียวกัน  จบจากโรงเรียนเดียวกัน  เช่นเราจะพบว่านักเรียนนายร้อยตำรวจที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับนายกรัฐมนตรีเวลานี้ต่างมีตำแหน่งใหญ่โตกันเป็นแถวๆ
-มีผลประโยชน์สอดคล้องกัน
แนวคิดชนชั้นนำจึงมองว่าการเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นนำ ทำให้การกำหนดนโยบายต่างๆเป็นไปเพื่อชนชั้นนำ โดยชนชั้นล่างได้รับประโยชน์แต่เพียงเล็กน้อย ผลประโยชน์ที่ชนชั้นนำจัดสรรให้ชนชั้นล่างเป็นการจัดสรรให้เพียงเพื่อไม่ให้ชนชั้นล่างรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบจนเกินไป และลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจของชนชั้นนำเท่านั้น
สำหรับขอบข่ายในการศึกษาแนวพินิจชนชั้นนำ หากเรานำเอาแนวพินิจชนชั้นนำมาใช้ในการศึกษาการเมือง เราก็จะให้ความสนใจไปที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชนชั้นนำเท่านั้น เช่นเราจะต้องรู้ว่าใครคือชนชั้นนำในสังคม และชนชั้นนำเหล่านี้มีบทบาทในการชี้นำสังคมและคนส่วนใหญ่อย่างไร 
การนำแนววิเคราะห์ชนชั้นนำมาอธิบายการเมืองไทย
แนววิเคราะห์ชนชั้นนำสามารถนำมาอธิบายการเมืองไทยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในประวัติการเมืองไทยที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มที่เข้าไปมีบทบาททางการเมืองล้วนแต่เป็นชนชั้นนำทั้งสิ้น 
เช่นในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คนที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยก็คือข้าราชการและนักศึกษาที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม 
จะพบได้ว่าหลังจากนั้นคนที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองก็จะเป็นทหารและข้าราชการ โดยเฉพาะในช่วงสมัยของ 3 จอมพลคือจอมป. จอมพลสฤษดิ์ และจอมพลถนอม ข้าราชการระดับสูงจะมีบทบาททางการเมือง โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองแต่อย่างใด
ต่อมาหลังเหตุการณ์ 16 ตุลาคม 2516 แม้ว่าบทบาททางการเมืองจะถูกถ่ายโอนจากข้าราชการมายังนักการเมืองมากขึ้น แต่นักการเมืองเหล่านี้ก็คือเป็นกลุ่มคนเพียงหยิบมือเดียวของสังคม ซึ่งมักจะมีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่ดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย คนที่เข้าไปมีอำนาจทางการเมืองเวลานี้คือชนชั้นนำทางธุรกิจเพียงไม่กี่ตระกูล ทำให้ชนชั้นนำเหล่านี้เข้าไปกำหนดบทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเอง 
เช่นเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศรัฐบาลก็แก้ปัญหาตามความต้องการของชนชั้นนำไปว่าจะเป็นการเข้าไปพยุงราคาหุ้น เข้าไปจัดการกับ NPL ของภาคเอกชน เนื่องจากชนชั้นในทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทในการผลักดันการกำหนดนโยบายของรัฐบาล ขณะที่ชนชั้นล่างจะได้รับความสนใจจากรัฐบาลน้อยกว่า
    สำหรับการเมืองไทยชนชั้นนำที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในระยะแรกคือทหาร ข้าราชการระดับสูง โดยมีนักธุรกิจอยู่เบื้องหลังในการสนับสนุน ข้าราชการทหารเหล่านั้น ต่อมาเมื่อการเมืองมาอยู่ในมือของนักการเมือง นักธุรกิจก็มาสนับสนุนนักการเมือง และพรรคการเมือง ในยุครัฐบาลทักษิณนักธุรกิจเข้ามาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว 
ดังข้อมูลพบว่า กลุ่มทุนหลักที่ให้การสนับสนุนพรรคไทยรักไทยจะมี 5 กลุ่มคือ
-กลุ่มสื่อสาร คือกลุ่มชินคอร์ปและเอ็มลิงค์
-กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เช่นกลุ่มออโต้ ซัมมิทของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 
-กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร เช่น เครือ ซี.พี
-กลุ่มรับเหมาส่วนกลางและท้องถิ่น เช่นกลุ่มนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ กลุ่มนายพินิจ จารุสมบัติ กลุ่มนายเสนาะ เทียนทอง ตระกูลคุณปลื้ม ตระกูลชามพูนท ตระกูลตรีทอง
-กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่นกลุ่มนายวัน มูหะหมัดนอร์ มะทา กลุ่มพงษ์ศักดิ์ รักพงษ์ไพศาล กลุ่มนายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี  กลุ่มนายธนกร นันที กลุ่มประเวศ รัตนเพียร
-กลุ่มชิปปิ้ง เช่น สรอรรถ กลิ่นประทุม พงศ์เทพ เทพกาญจนา นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงค์ลี 
นอกจากนี้ยังมีช่อง 3 มีนายเนวิน มีตระกูลมหากิจศิริ ของเนสกาแฟ
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็มีกลุ่มทุนที่สนับสนุนเช่นกัน เช่นนายสมยศ สุธางค์กูร คุณจิตติมา สังขทรัพย์  นายโพธิพงษ์  ล่ำซำ คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช ตระกูลพร้อมพันธ์ เป็นตัน
พรรคชาติไทย ก็มีตั้งแต่นายประภัตร โพธิสุธน นายจองชัย เที่ยงธรรม นายชูวิทย์ กมลวิศิษย์ สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง นายชัชวาลย์ ชัยเชาวรัตน์ เป็นต้น
ในปัจจุบันแม้จะมีการรัฐประหารและพยายามจะล้างอำนาจของพ.ต.ททักษิณให้พ้นไปจากการเมืองไทย แต่บทบาทเหล่านี้ก็ยังเป็นของชนชั้นนำในสังคมอยู่ดี 
นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่าเวลานี้การเมืองไทยเป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำโดยเฉพาะกลุ่มทุนเก่าและทุนใหม่ โดยคนที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในเวลานี้คือ ศาล ราชนิกูล และนักการเมืองไม่กี่คน โดยประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมมากนัก
สรุป
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการแบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 กลุ่มโดยกว้างๆออกเป็นชั้นนำและชนชั้นล่างมานานแล้ว และชนชั้นนำเป็นชนชั้นที่มีบทบาทในการควบคุมความเป็นไปของชนชั้นล่างไม่ว่าจะเป็นยุคที่กษัตริย์ปกครองประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าตนเองเป็นไพร่ฟ้าที่ต้องคอยรับอำนาจและความกรุณาของชนชั้นนำ มาจนถึงยุคประชาธิปไตย คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมองว่าตนเองเป็นแค่ราษฎรที่ต้องคอยรับนโยบายจากรัฐ โดยไม่ลุกขึ้นมามีบทบาทในทางการเมืองแต่อย่างใด ปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของคนไม่กี่คน มาจนถึงทุกวันนี้ การเมืองไทยอยู่ภายใต้กำมือของตระกูลธุรกิจไม่กี่กระกูล 
    2.แนววัฒนธรรมทางการเมือง
    วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) ก็จะหมายถึงวิธีคิดในทางการเมืองของคนในแต่ละสังคม อันสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมทางการเมือง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ซ้ำกันจนเรียกว่าวัฒนธรรมทางการเมือง 
อัลมอนด์ กล่าวว่า วัฒนธรรมทางการเมืองหมายถึงแบบแผนทางความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ของบุคคลที่มีต่อระบบการเมืองต่อส่วนต่างๆ ของระบบการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองจะเกิดจากการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) ของบุคคลที่เกิดมาจากครอบครัว โรงเรียน เพื่อนฝูง หรือสื่อสารมวลชน จนทำให้คนเกิดความรับรู้และเข้าใจต่อเรื่องราวทางการเมือง จากนั้นก็จะพัฒนาต่อไปเป็นความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบต่อปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนาไปเป็นความเชื่อและตัดสินใจว่าตนเองจะมีบทบาทอย่างไรต่อระบบการเมือง ดังนั้นการที่บุคคลจะมีวัฒนธรรมทางการเมืองเป็นแบบใดจะขึ้นอยู่กับความรู้และสมรรถนะในการใช้เหตุผลของตัวบุคคล
เช่นการที่คนไทยมีการซื้อขายเสียงกันทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งก็กลายเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของไทย ซึ่งสะท้อนจากวิธีคิดเกี่ยวกับการเมืองของคนในสังคมทั้งคนที่เป็นนักการเมือง และคนที่เป็นประชาชน ซึ่งวัฒนธรรมแบบนี้อาจจะไม่มีในสังคมอื่นๆเพราะวิธีคิดเกี่ยวกับการเมืองของคนในสังคมอื่นแตกต่างจากสังคมไทย
เช่นเดียวกันเราจะพบว่าในหลายประเทศเมื่อนักการเมืองทำผิดหรือมีความบกพร่องก็จะลาออก เช่นรัฐมนตรีคนหนึ่งของอังกฤษไปมีความสัมพันธ์กับสายลับรัสเซียก็ต้องลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ไปตีกอล์ฟตอนที่ประชาชนออกมาประท้วงก็ตัดสินใจลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ แม้กระทั่งเดวิด เบคแฮม ที่ไม่สามารถนำทีมชาติอังกฤษเข้าสู่รอบลึกๆได้ในศึกฟุตบอลโลก 2006 ก็ยังแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งกัปตันทีม 
แต่สังคมไทยเรามีวิธีคิดทางการเมืองต่างกันเราจึงไม่เคยพบว่าผู้นำของเราคนใดยอมลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบ เพราะวิธีคิดเกี่ยวกับความรับผิดชอบของเราไม่มี เช่นนายกทักษิณยังดื้อด้านที่จะบอกสังคมว่าตนเองไม่ใช่คนผิดในปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น (ในช่วงก่อนการยึดอำนาจ) ทั้งๆที่ในทางที่ควรจะเป็นคนที่เป็นผู้นำไม่ใช่มาตั้งคำถามว่าใครถูกใครผิด แต่ผู้นำต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 
และเนื่องจากเราไม่มีวัฒนธรรมในลักษณะความรับผิดชอบทางการเมืองนี่เองสังคมไทยของเราจึงต้องให้ทหารเข้ามาแก้ปัญหาจกลายเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของไทย นั่นคือเมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองเราคนไทยก็ไม่คิดถึงแนวทางการแก้ปัญหาอื่นๆ แต่เรียกร้องให้ทหารออกมาแก้ปัญหาเสมอ 
ขณะเดียวกันคนไทยยังมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมน้อย เราปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง ทำให้นักการเมืองเข้าไปแสวงหาประโยชน์ทางการเมืองโดยไม่ได้รับการตรวจสอบ ส่งผลเสียต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก
3.แนววิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์
คำถาม-จากสภาพปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ให้นักศึกษานำแนววิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์มาอธิบายเหตุการณ์ดังกล่าว
แนวทางในการตอบ
สภาพความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทยที่ปรากฏอย่างชัดเจนคือความขัดแย้งในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 เป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือพรรคพลังประชาชนและฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประกอบด้วยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคฝ่ายค้านรวมทั้ง สว.อีกจำนวนหนึ่ง
จากสภาพปัญหาข้างต้นผู้ตอบขอนำแนววิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์มาใช้ในการวิเคราะห์
    แนววิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์
    แนววิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์เป็นแนวคิดที่มองว่าการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ในสังคมประกอบด้วยกลุ่มต่างๆจำนวนมาก และกลุ่มเหล่านี้ต่างตระหนักถึงผลประโยชน์ของตนเอง และกลุ่มจะเข้ามามีบทบาทของกลุ่มจึงเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง 
    
การวิเคราะห์
    ในกรณีของความขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 แม้จะแสดงออกโดยผู้สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือพรรคพลังประชาชน กับผู้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรวมทั้งพรรคฝ่ายค้าน เราอาจจะกล่าวได้ว่าลึกๆแล้วความขัดแย้งในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเพียงปรากฏการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทุน 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มทุนใหม่และกลุ่มทุนเก่า ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่เป็นมาตลอดในสังคมการเมืองไทย เพียงแต่ความขัดแย้งได้ชัดเจนมากขึ้นหลังจากการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพ.ต.ท.ทักษิณ
    กลุ่มทุนเก่า หมายถึงกลุ่มทุนที่ผูกติดตัวเองอยู่กับรัฐ เนื่องจากรัฐเป็นผู้ควบคุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจ การสร้างความเติบโตให้กลุ่มทุนจึงต้องอาศัยบารมีของรัฐ ที่มาจากระบบราชการและทหาร โดยเฉพาะในช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ต่อมาเมื่อการเมืองไทยพัฒนาเข้าสู่การเมืองแบบการเลือกตั้ง  กลุ่มทุนเหล่านี้ก็มีการปรับตัวเข้าอิงแอบกับพรรคการเมืองและนักการเมือง กลุ่มทุนกลุ่มนี้เช่นกลุ่มทุนธนาคาร 
กลุ่มทุนใหม่เป็นกลุ่มทุนภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้ตบเท้าลงสมัครรับเลือกตั้งโดยตรง  ทำให้เกิดทุนกลุ่มใหม่ที่มีทั้งอำนาจทุนและอำนาจรัฐอยู่ในมือ เช่นกลุ่มทุนสื่อสารเมื่อมีทั้งอำนาจรัฐและอำนาจทุน  สิ่งที่กลุ่มทุนภายใต้การจัดการของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  ทำในช่วงเวลาที่เป็นรัฐบาล ก็คือ การทำลายกลุ่มทุนเดิมเพื่อสร้างความเติบโตให้กลุ่มทุนของตนเองในลักษณะกินรวบ 
เช่น รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร  มีนโยบายให้ธนาคารของรัฐ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จากนั้นกลุ่มทุนภายใต้รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็จะใช้อำนาจรัฐเข้าไปซื้อหุ้นกิจการเหล่านั้น ทำให้กลุ่มทุนเดิมถูกเบียดตกไปจากเวทีผลประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรของรัฐ   ตลอดเวลาที่เป็นรัฐบาล  กลุ่มทุนภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร ได้ทำลายระบบกลุ่มทุนเก่าจำนวนมากจนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทุนเก่าและกลุ่มทุนใหม่ 
คำว่ากลุ่มทุนเก่าถูกขยายความไปถึงกลุ่มข้าราชบริพารและเครือข่ายของพระมหากษัตริย์ (Network Monarchy) ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเติบโตของกลุ่มทุนภายใต้ทักษิณเช่นกัน
ดันแคน แมคคาร์โก นักวิชาการตะวันตกซึ่งติดตามศึกษาการเมืองไทยมานานมองว่า เครือข่ายของพระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทในสังคมไทยมายาวนานได้ถูกแทรกแซงจากอำนาจของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร การเข้าแทรกแซงดังกล่าว ก็สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแรงลงของเครือข่ายแห่งราชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายของพรรคไทยรักไทยที่นำโดย ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ.2544 และ 2548 
ดังนั้นความขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาจากความพยายามขับไล่พ.ต.ททักษิณออกจากตำแหน่งของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถ้าจะพูดตามการวิเคราะห์ครั้งนี้พันธมิตรก็คือตัวแทนของกลุ่มทุนเก่านั่นเอง เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ก็คือเป็นตัวแทนของกลุ่มทุนเก่าที่เสียประโยชน์จากการขึ้นมามีอำนาจของนายกทักษิณ ส่วนพรรคพลังประชาชนก็คือตัวแทนของพ.ต.ท ทักษิณ หรือตัวแทนของกลุ่มทุนใหม่
ดังเราจะพบว่าคนที่ให้การสนับสนุนพันธมิตรนอกเหนือจากเป็นกลุ่มทุนเก่าแล้ว การชูคำขวัญสู้เพื่อในหลวงก็สะท้อนถึงการให้การสนับสนุนของเครือข่ายข้าราชบริพารเป็นอย่างดี
สิ่งที่ตอกย้ำว่าพรรคพลังประชาชนเป็นตัวแทนของพ.ต.ท.ทักษิณ คือการวิเคราะห์ว่าความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้เนื่องจากต้องการล้มกระดานทางการเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้พ.ต.ททักษิณต้องขึ้นศาลในคดีที่คตส.จะฟ้องร้อง เพราะหากต้องขึ้นศาลชัยชนะในครั้งนี้ก็จะตกเป็นของกลุ่มทุนเก่า
สรุป
ความขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเพียงปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อให้เห็นถึงความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์และอำนาจทางการเมืองระหว่างกลุ่มทุนเก่าและกลุ่มทุนใหม่เท่านั้น และความขัดแย้งนี้ได้ก่อตัวและเกิดขึ้นมาตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ขับไล่ทักษิณ และมีพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงความขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและปัจจุบันยังคงดำเนินต่อมา และพัฒนาประเด็นมาเป็นความขัดแย้งในกรณีเขาพระวิหาร และน่าจะพัฒนาเป็นความขัดแย้งในประเด็นอื่นๆต่อไป ตราบใดที่พ.ต.ท.ทักษิณยังมีบทบาทในทางการเมือง





























                สรุป 703 
                  การเมืองโลกในปัจจุบัน
วิชา PS 703 เป็นวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิ่งที่นักศึกษาต้องทำความเข้าใจคือ
1.ความคิดรวบยอดของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2.ทฤษฎีในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 
    3.จุดเน้นของแต่ละอาจารย์
4.เหตุการณ์การเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบัน
                    ***************
ความคิดรวบยอดของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความคิดรวบยอด คือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมี เพียง 2 รูปแบบหลักคือ
1.ความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Cooperation) ซึ่งแบ่งเป็น
-ความร่วมมือทางด้านการเมือง
-ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ 
    2.ความขัดแย้งระหว่างประเทศ  (International Conflict ) แบ่งเป็น
-ความขัดแย้งทางการเมือง 
-ความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ
                *****************************
ทฤษฎีที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    ทั้งนี้ในการศึกษาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะให้ความสนใจไปที่แนวคิดของสำนักคิดต่างๆ คือ
    1.สำนักสัจนิยม (Realism)
    2.สำนักเสรีนิยม (Liberalism)
    3.สำนักโครงสร้างนิยม (Structuralism)
    4.สำนักสร้างนิยม (Constructivism) 
    สำนักสร้างนิยมหรือสำนักประดิษฐกรรมนิยมเป็นแนวคิดใหม่ที่มีอิทธิพลในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้นในปัจจุบัน
แนวคิดสำคัญๆของแต่ละสำนัก มีดังนี้
     1.สำนักสัจจนิยม (Realism) เป็นสำนักที่เน้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและการทหาร
สัจจนิยมมีความเชื่อพื้นฐานว่ามนุษย์มีความชั่วร้ายและเต็มไปด้วยบาป เห็นแก่ตัว ต้องการผลประโยชน์ และต้องการอำนาจ และเนื่องจากรัฐถูกกำหนดนโยบายโดยมนุษย์รัฐจึงชั่วร้ายไปด้วย รัฐจึงเห็นแก่ตัว ต้องการอำนาจ
สัจจะนิยมแบ่งออกเป็น 
1.1 สัจจะนิยมแบบดั้งเดิม (Classical Realism) หัวใจของสัจจะนิยมแบบดั้งเดิมคือ
1.เน้นเรื่องอำนาจและมองว่ารัฐเป็นตัวแสดงที่สำคัญ สำนักนี้จะไม่ให้ความสนใจองค์การระหว่างประเทศ
    2.เน้นผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) ซึ่งหมายถึง สิ่งที่รัฐต้องการ จำเป็นและปราถนา และเป็นสิ่งที่อยู่ในดินแดนอื่นๆ เช่น
    -ทรัพยากรธรรมชาติ
    -สินค้าการบริการและตลาดการค้า ตลาดการลงทุน
    -เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์ 
    -เงินทุน พลังงาน 
-ความมั่งคั่ง การกินดีอยู่ดี
สุดท้ายที่สำนักนี้ให้ความสำคัญมากคือความมั่นคงปลอดภัย สัจจะนิยมมองว่ารัฐจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่นคงปลอดภัย
3.เน้นการถ่วงดุลอำนาจ สำนักสัจจะนิยมมองว่ารัฐแต่ละรัฐพยายามถ่วงดุลอาจกับรัฐตรงกันข้าม เช่นสร้างกำลังทหารให้เทียบเคียงได้กับฝ่ายตรงกันข้าม
สำนักสัจจะนิยมจึงเชื่อว่าสงครามและความขัดแย้งจะไม่เกิดขึ้นหากมีการถ่วงดุลอำนาจ
1.2  สัจจะนิยมแนวใหม่ (Neo-realism)  มีแนวคิดที่สำคัญคือ
1.มองว่าปรากฎการณ์ระหว่างประเทศเกิดจากโครงสร้างของระบบระหว่างประเทศ ซึ่งโครงสร้างระหว่างประเทศจะประกอบด้วย
-ความมากน้อยของอิทธิพล เช่น มีสหรัฐ อียู รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น
-หนทางเข้าไปสู่ทรัพยากร หมายถึงผู้มีอิทธิพลมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรได้มากแค่ไหน ทั้งที่มีในดินแดนของตนเอง หรือการเข้าถึงทรัพยากรในดินแดนของคนอื่นๆ
เช่นเราจะพบว่าสหรัฐมีทั้งทรัพยากรของตนเอง และมีความสามารถในการซื้อหรือลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากร
-ความมากน้อยของขั้วอำนาจ เช่นเวลานี้มีสหรัฐเป็นขั้นอำนาจที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็มีขั้วอำนาจอื่นๆที่รองลงมา เช่นจีน รัสเซีย อียู ญี่ปุ่น และดูว่ามีการกระจายอำนาจมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในความเป็นจริงคืออำนาจมีการกระจายไปหาสหรัฐมากที่สุด 
-มีการจัดเป็นพวกเป็นกลุ่มมากน้อยแค่ไหน เช่นจัดเป็นกลุ่มรัฐโลกที่ 1 ที่  2 และ 3 หรืออาจจะจัดเป็นกลุ่มประเทศประชาธิปไตยหรือเผด็จการ หรือจัดเป็นประเทศพัฒนาแล้วกับด้อยพัฒนา 
เช่นในการวิเคราะห์สงครามอีรัก จะมองว่าสงครามที่เกิดขึ้นเกิดจากระบบโครงสร้างระหว่างประเทศที่มีโครงสร้างแบบหลายขั้วแบบศูนย์เดียว (Uni-multipolar System) นั่นคือสหรัฐอเมริกาเป็นขั้นอำนาจที่ใหญ่สุด  ภายใต้ขั้วอำนาจอื่นๆ 
เมื่อเป็นเช่นนั้นทำให้สหรัฐมีอำนาจมาก เมื่อมองว่าอีรักเป็นตัวบ่อนทำลายความมั่นคงจึงตัดสินใจโจมตีอีรัก แม้ว่าขั้วอื่นที่เหลือจะพยายามคัดค้าน หรือพยายามถ่วงดุลอำนาจแค่ขั้วอำนาจเหล่านั้นมีอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจและการทหาร น้อยกว่าสหรัฐ ทำให้การถ่วงดุลอำนาจไม่ได้ผล สุดท้ายสงครามจึงเกิดขึ้น
2.มองว่าสังคมระหว่างประเทศมีลักษณะอนาธิปไตย คือมองว่าไม่มีกฎเกณฑ์หรือองค์กรใดๆที่จะมีอำนาจในการควบคุมรัฐได้ ทำให้รัฐต้องช่วยเหลือตนเอง และแสวงหาอำนาจ เกียรติยศ และความได้เปรียบเหนือรัฐอื่น
ในแนวคิดนี้มองว่ารัฐต้องการได้เปรียบรัฐอื่นๆตลอดเวลา เช่นสหรัฐต้องการเป็นผู้นำโลก จึงยอมไม่ได้ถ้าจีนจะขึ้นมาเทียบรัศมีกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐจึงหันไปสนับสนุนหรือร่วมมือกับประเทศอื่นๆ เช่นญี่ปุ่น อินเดียเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับจีน
3.เน้นดุลแห่งความหวาดกลัว (Balance of Terror) สัจจะนิยมแนวใหม่มองว่าดุลแห่งความหวาด (ต่างจากสัจจะนิยมแนวเก่าที่เน้นดุลแห่งอำนาจ) มองว่าดุลแห่งความหวาดกลัวจะช่วยไม่ให้เกิดความรุนแรง และยับยั้งไม่ให้เกิดสงคราม
เช่น กรณีของเกาหลีเหนือที่เร่งสร้างอาวุธนิวเคลียร์ก็เพื่อต้องการสร้างดุลความหวาดกลัวกับสหรัฐ เพราะจะทำให้สหรัฐไม่กล้าโจมตี เพราะหากสหรัฐโจมตีเกาหลีเหนือก็อาจจะตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์เช่นกัน และความเสียหายก็อาจจะเกิดขึ้นอย่างมากมายทั้งกับสหรัฐและเกาหลีเหนือ รวมทั้งโลกด้วย
4.เชื่อว่าประเทศต่างๆต้องเตรียมพร้อมทางการทหารอยู่ตลอดเวลาเพื่อการป้องปราม (Deterrence) หรือเพื่อยับยั้งให้ไม่ถูกโจมตี เช่นเวลานี้ จีน เกาหลีเหนือ อิหร่านก็พยายามเตรียมพร้อมทางการทหาร
2. สำนักเสรีนิยม (Liberalism) มีสองแนวคือ
2.1 สำนักเสรีนิยม (Liberalism)
2.2 สำนักเสรีนิยมแนวใหม่ (Neo-liberalism) 
แต่โลกปัจจุบันจะอยู่ในยุคเสรีนิยมใหม่ซึ่งมีแนวคิดที่สำคัญคือ
1.เน้นการสร้างสถาบันและองค์การระหว่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่ในการสร้างความร่วมมือและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ เช่นใน WTO จะมีกลไกระงับกรณีพิพาททางด้านการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
2.เน้นการสร้างสันติภาพ คือมองว่าหากมีความร่วมมือระหว่างประเทศจะก่อให้เกิดสันติภาพ
3.เน้นให้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
4.เน้นการสร้างประชาธิปไตย เพราะมองว่าหากทุกประเทศเป็นประชาธิปไตยโลกก็จะมีสันติภาพ ตามทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย (Democratic Peace Theory) ที่มองว่าสงครามมักไม่เกิดขึ้นกับประเทศที่ปกครองประชาธิปไตย
5.เน้นการประสานความร่วมมือและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Interdependence) เพื่อให้บรรลุถึงความจำเป็นของมวลมนุษย์ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกเกิดปัญหาใหม่
6.เน้นความมั่นคงปลอดภัยร่วมกัน (Collective Security) โดยร่วมมือกันอาจจะมีกองกำลังร่วมกัน เช่นกองกำลังขององค์การระหว่างประเทศ
7.เน้นเรื่องระเบียบโลก ซึ่งหมายถึงแบบแผนความสัมพันธ์ทางด้านต่างๆทั้งการเมือง การค้า การทหาร ที่มีการกำหนดขึ้นว่าพฤติกรรมในด้านต่างๆของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศควรจะดำเนินการอย่างไร เช่นในแง่การค้าก็ต้องเปิดเสรี ในแง่การเมืองก็ต้องประชาธิปไตย
     3.สำนักโครงสร้างนิยม (Structuralism) จะเน้นที่บอกว่าโครงสร้างที่เป็นอยู่ในเวลานี้เป็นโครงสร้างของโลกทุนนิยม เป็นโครงสร้างที่เอารัดเอาเปรียบ กอบโกยผลประโยชน์จากประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะเข้ามากอบโดยทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ แรงงาน โดยไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อประเทศกำลังพัฒนา ขณะเดียวกันเมื่อประเทศด้อยพัฒนาและกำลังส่งสินค้าเข้าไปในประเทศกำลังพัฒนาก็จะถูกขีดกันทางการค้าด้วยมาตรการต่างๆ
ผลที่เกิดขึ้นคือการทำให้ประเทศกำลังพัฒนาด้อยพัฒนาตลอดกาล ไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้**ทฤษฎีในสำนักนี้เน้นการวิเคราะห์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ว่าการเอารัดเอาเปรียบที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง**สำนักนี้จึงเป็นพวกซ้ายหรือพวกคอมมิวนิสต์  
4.สำนักสร้างนิยม (Constructivism) 
สำนักประดิษฐกรรมนิยมกำเนิดในต้นทศวรรษที่ 1990s โดยมีความเชื่อว่าแนวคิดโลกที่มีความเชื่อหลากหลายจะเกิดความวุ่นวาย
นักคิดประดิษฐกรรมนิยมจึงวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศโดยมองไปที่ภัยคุกคาม ความกลัว 
อเล็กซานเดอร์ เวนท์ ได้ประยุกต์แนวคิดของนักประดิษฐกรรมนิยมมาอธิบายการเมืองโลกว่า ระบบระหว่างประเทศว่าเป็นสังคมที่ถูกสร้างขึ้นหรือประดิษฐ์ขึ้น 
โดยสิ่งที่สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นจะเป็นเรื่อง ค่านิยม คุณค่า ความเชื่อ วัฒนธรรม
เช่นอเมริกามีต่านิยม และความเชื่อ ในเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยชาติ ดังนั้นสหรัฐจึงดำเนินนโยบายทุกอย่างเพื่อรักษาหรือสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในโลก (จนก่อให้เกิดความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างประเทศ) 
เวนท์ยังเชื่อว่าโครงสร้างสังคมโลกมีลักษณะ 2 ประการ คือ
    1.ความหวาดระแวงด้านความมั่นคง (Security Dilemma) เกิดจากภาวะอนาธิปไตย (ภาวะที่ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร ทุกประเทศต่างมีอธิปไตยของตนเอง) ซึ่งรัฐต่างๆสร้างขึ้นมาทำให้เกิดความหวาดระแวง สิ่งนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์ในแบบขัดแย้งได้ง่าย)
    2.ความเป็นชุมชน/ประชาคมที่มั่นคง (Security Community) นานารัฐต่างเข้าใจร่วมกันว่าสามารถจะร่วมมือ ประนีประนอม ไว้ใจ และไว้ใจกันได้ โดยรัฐเชื่อว่าความร่วมมือกันจะทำให้เกิดสันติภาพ
    ทั้งนี้สำนักประดิษฐกรรม  จะเน้นการศึกษาความเห็นและจุดยืนของมนุษย์ในการมองการเมืองโลก โดยมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดจากความคิด ความเห็น ความเข้าใจ และมุมมองของมนุษย์ซึ่งมีไม่เหมือนกัน
    เช่นโลกทุกวันนี้มีความคิดเกี่ยวกับทุนนิยมต่างกัน ขณะโลกตะวันตกมองว่าทุนนิยมทำให้เกิดความก้าวหน้า เกิดความมั่งคั่ง ความกินดีอยู่ดีของมนุษย์ชาติ     แต่โลกตะวันออกโดยเฉพาะโลกมุสลิมมองว่าทุนนิยมคือการเอารัดเอาเปรียบ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ศูนย์กลางทุนนิยมเอาเปรียบ เกิดการทำลายวัฒนธรรมของมุสลิมสุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นคือโลกก็คือความขัดแย้ง จนทำให้มีการก่อการร้ายขึ้นมาในโลก 
แม้ว่าในปัจจุบันแนวคิดของทุกสำนักจะยังถูกใช้มาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความนิยมในแนวคิดแต่ละสำนักในแต่ละช่วงเวลาจะแตกต่างกัน พัฒนาการ (แบบกว้างๆ) ของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ที่ครอบงำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแต่ละช่วงได้  ดังนี้
    ในระยะแรกของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวคิดที่นำมาใช้ในการอธิบายเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศมักจะเป็นแนวคิดของ สำนักสัจนิยม เนื่องจากในยุคก่อนนั้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักเป็นเรื่องทางการเมือง และการทหาร การทำสงคราม ส่วนในทางเศรษฐกิจการค้าก็จะเป็นไปในลักษณะของการปกป้องทางการค้า 
    ต่อมาได้เกิดแนวคิดของ สำนักเสรีนิยม ที่ไม่เห็นด้วยกับการปกป้องทางการค้าจึงนำเสนอว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศควรจะเปิดกว้าง ให้มีการค้าเสรี ลดอุปสรรคทางการค้า การแข่งขันทางการค้า (ทำให้เกิดลัทธิทุนนิยมในทางเศรษฐกิจที่เน้นว่ารัฐไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ) ในทางการเมืองก็จะเน้นความร่วมมือระหว่างประเทศ    เน้นความเป็นประชาธิปไตย
สำนักเสรีนิยมเฟื่องฟูมากจนกระทั่งถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ขณะที่ในทางการเมืองและสังคมเกิดภาวะของความไม่เท่าเทียมกันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทำให้แนวคิดของสำนักโครงสร้างนิยม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ได้รับการยอมรับ 
แนวคิดของโครงสร้างนิยมมีผลทำให้หลายประเทศหันมามาใช้ระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่เน้นให้รัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจและการเมือง ส่วนในประเทศประชาธิปไตยหลายประเทศก็หันมาใช้ระบบรัฐสวัสดิการ 
ต่อมาแนวคิดแบบสำนักโครงสร้างนิยมที่นำมาใช้อย่างมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้สร้างปัญหา โดยเฉพาะการจัดการทางเศรษฐกิจตามแบของสังคมนิยมทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพ ประเทศสังคมนิยมส่วนใหญ่มีความยากจน ด้อยพัฒนา 
ในทศวรรษที่ 1980 จึงมีการนำเอาแนวคิดของสำนักเสรีนิยมกลับมาใช้อีกครั้ง คราวนี้เรียกว่า เสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) ถือเป็นแนวคิดที่ครอบงำโลกทั้งโลกในเวลานี้ 
ในทศวรรษที่ 1990 ได้เกิดสำนักคิดใหม่ที่เรียกว่า Constructivism หรือสำนักสร้าง/ประดิษฐกรรมนิยม ที่เน้นมองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่ามีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในเรื่องอัตลักษณ์ ความเชื่อ ศาสนา เชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่ถูกสร้างขึ้นมา 
(ถ้าจะว่าไปแล้ว Constructivism ก็น่าจะเป็นแนวคิดในยุคหลังสมัยใหม่หรือ Post Modern)
จากสำนักคิดต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วจะมีทฤษฎีที่อยู่ภายใต้แต่ละสำนัก ซึ่งจะขอนำเสนอเฉพาะที่อาจารย์สอนดังนี้
ตัวอย่างทฤษฎีที่อาจารย์สอน
ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1.ทฤษฎีพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างประเทศ (Interdependence Theory) นักวิชาการยังไม่ยอมรับว่าเป็นทฤษฎี เป็นแต่เพียงแนวคิด เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และนำมาใช้วิเคราะห์ในเรื่องเศรษฐกิจการค้าเป็นหลักที่มองว่าการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทำให้เกิดการค้าขยายตัวมากขึ้น
    วิชาการที่โดดเด่นคือโรเบิร์ต โอ. เคียวเฮน และโจเซฟ เอช. ไน ซึ่งป็นบิดาของทฤษฎีพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันยุคใหม่ แต่ก่อนหน้านั้นก็ยังมีนักวิชาการอื่นก่อนหน้าแล้วเช่น
    เคียวเฮนและไน อธิบายว่าการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการเมืองโลกหมายถึงสถานการณ์ซึ่งถูกกำหนดลักษณะโดยผลกระทบซึ่งกันและกันในระหว่างประเทศ
     หรือกล่าวได้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในระหว่างประเทศ เช่นการพึ่งพาสินค้า พึ่งพาการลงทุน พึ่งพาเทคโนโลยี พึ่งพาทรัพยากรต่างๆ และความสัมพันธ์ในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ระหว่างประเทศขึ้น 
ประเภทของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แบ่งออกเป็น
1.การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแบบเท่าเทียมกัน (Symmetrical Interdependent) เช่นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างสหรัฐและอียู ที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีอำนาจพอๆกัน สามารถเจรจาต่อรองกันได้ เพราะทั้ง 2 ฝ่ายต้องมีการแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน เมื่อมีการใช้อำนาจจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอีกฝ่ายจะตอบโต้ได้ หรือกรณีจีนที่ถูกสหรัฐข่มขู่ว่าถ้าจีนไม่แก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนสหรัฐจะแซงชั่น แต่จีนก็กล้าที่จะประกาศตอบโต้ทันที่ว่าถ้าสหรัฐแซงชั่นจีนจีนก็จะแซงชั่นตอบ
2.การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแบบไม่เท่าเทียมกัน(Asymmetry Interdependent)เช่นกรณีระหว่างไทยกับสหรัฐเป็นการพึ่งพาอาศัยแบบไม่เท่าเทียมกันก่อให้เกิดอำนาจที่แตกต่างกัน กล่าวคือไทยเราเป็นฝ่ายพึ่งพาสหรัฐมากกว่าสหรัฐอเมริกาพึ่งพาไทยถ้าไทยไม่ให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาเราก็อาจจะได้รับผลกระทบมากมายเมื่อไทยพึ่งพาสหรัฐมากกว่าทำให้สหรัฐอเมริกามีอำนาจเหนือกว่าประเทศไทยและสามารถชี้นำหรือบังคับให้เราทำตามความต้องการได้ 
    ทฤษฎีนี้สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจ และพยายามวิเคราะห์แบบ 2 ฝ่าย หรือจับคู่กันวิเคราะห์
2.ทฤษฎีบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (International Integration Theory)
    เป็นทฤษฎีที่สนับสนุนให้ประเทศต่างๆมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันเป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น ดังจะเห็นจากทั่วโลกได้เกิดการรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆมากมาย 
    ทฤษฎีบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีนักวิชาการนำเสนอหลายคนแต่ที่มีชื่อเสียงคือทฤษฎีการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของ Bela Balassa (เบลา บาลาสซา) เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายการบูรณาการของยุโรป ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก 
บาลาสซ่าเสนอว่าขั้นตอนของการบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 
1.ความร่วมมือจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area / Agreement: FTA) หมายถึง การร่วมมือกันของประเทศสมาชิกในภูมิภาคเพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้า ยกเลิกภาษีทางการค้าระหว่างกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้าโดยเสรีระหว่างประเทศสมาชิก โดยประเทศสมาชิกยังจัดเก็บภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มได้ตามนโยบายของตนเอง 
เวลานี้การรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียนยังอยู่ในขั้นตอนนี้คือการจัดเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) 
2.สหภาพศุลกากร (Custom Union) หมายถึง ประเทศสมาชิกนอกจากจะยกเลิกภาษีทางการค้าลดอุปสรรคระหว่างกันแล้วยังใช้ระบบภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน หรือมี Common Custom Policy 
3.  ตลาดร่วม (Common Market) หมายถึง การขยายความร่วมมือด้านการค้าถึงขนาดที่เปิดโอกาสให้ทุน แรงงาน การประกอบการเคลื่อนไหวอย่างเสรีภายในกลุ่ม เช่นแรงงานในเยอรมันไปทำงานในฝรั่งเศส ในอังกฤษ และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ ได้อย่างเสรี 
4.  สหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Union) เป็นการรวมตัวกันตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 + 2 + 3 รวมกับการกำหนดนโยบายสังคม เศรษฐกิจ การเงิน การคลังร่วมกัน 
5.  สหภาพการเมือง (Political Union) ถือเป็นจุดสุดท้ายของการบูรณาการทางเศรษฐกิจ หมายถึง การใช้นโยบายการเมืองและความมั่นคงอันเดียวกัน เช่นเดียวกับ United States of America ขั้นตอนนี้ยังคงเป็นไปได้ยากเพราะรัฐต่าง ๆ ยังอยากสงวนอำนาจอธิปไตยในการกำหนดนโยบายการเมืองและความมั่นคงของตนเองอยู่
(ทฤษฎีนี้เหมาะสำหรับไปใช้อธิบายความร่วมมือในทางเศรษฐกิจแบบกลุ่มประเทศ เช่นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของอาเซียน อียู หรือกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆของโลก)
ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความร่วมมือทางการเมือง
1.ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ (Balance of Bower) เป็นทฤษฎีที่บอกว่าโลกจะไม่เกิดปัญหาความรุนแรง ไม่มีสงคราม หากมีความได้ดุลในอำนาจของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างต้องกลัวอำนาจของอีกฝ่าย
เช่นรัสเซียก็พยายามสร้างดุลกับสหรัฐอเมริกา หรือในยุคของสงครามเย็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็พยายามรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างดุลอำนาจกับฝ่ายโลกเสรี 
ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
1.ทฤษฎีพึ่งพิง (Dependency Theory) จะมองว่าในโลกนี้จะแบ่งรัฐออก รัฐแกนกลาง (Core) ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้วกับรัฐปริมณฑล (Periphery) ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่รัฐแกนกลางได้เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ด้านต่างๆ จากประเทศปริมณฑล ส่งผลให้ประเทศปริมณฑลต้องด้อยพัฒนา ไม่มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง
2.ทฤษฎีระบบโลก (World System Theory)  บิดาของทฤษฎีนี้คือเอ็มมานูเอล วอลเลอร์ไสตน์ 
ทฤษฎีระบบโลกก็จะเน้นการอธิบายความขัดแย้ง (ทำให้กลายเป็นจุดอ่อนเพราะไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ความร่วมมือที่เกิดขึ้นได้ เช่นทำมี WTO ทำไม่มีการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาค)
 สาระสำคัญของทฤษฎีระบบโลกมองว่าประเทศต่าง ๆ ในโลกแบ่งเป็นสามกลุ่มคือ
-ประเทศศูนย์กลาง (Core) ได้แก่ประเทศที่พัฒนาแล้ว สหรัฐฯ และยุโรปตะวันตก แคนาดา
-ประเทศกึ่งปริมณฑล (Semi-periphery)  ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICs) คือเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน บราซิล เม็กซิโก อาเจนตินาร์ 
-ประเทศปริมณฑล (Periphery) ได้แก่ ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายทั้งในเชียและอัฟริกา
ทฤษฎีระบบโลกกล่าวว่า ประเทศศูนย์กลางจะกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศรอบนอกและกึ่งรอบนอก รวมทั้งยังกีดกันทางการค้าจากประเทศรอบนอกและกึ่งรอบนอกโดยมาตรการต่างๆ 
ส่วนประเทศกึ่งรอบนอกจะทำหน้าที่สองอย่างคือถูกกอบโกยจากประเทศศูนย์กลาง และในเวลาเดียวกันก็เข้าไปกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศรอบนอกด้วย รวมทั้งกีดกันทางการค้าไม่ให้สินค้าจากประเทศรอบนอกเข้าไปในตลาด ทำให้ประเทศรอบนอกเป็นผู้ที่เดือดร้อนมากที่สุด ยิ่งทำให้ประเทศรอบนอกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาไม่มีโอกาสพัฒนาขึ้นมาได้เลย สุดท้ายก็จะนำมาซึ่งความขัดแย้ง
3.ทฤษฎีจักรวรรดินิยม (Imperialism) 
เจ.เอ. ฮอบสัน กล่าวว่าภาวะจักรวรรดิที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นเพราะระบบเศรษฐกิจในระบบอุตสาหกรรมทุนนิยมที่มีผลิตมากเกินไป (Overproduction) แต่มีการบริโภคน้อย (Under-consumption) เพราะคนทำให้นายทุนให้ขยายตัวออกไปต่างประเทศ ทั้งต้องการหาตลาด และหาวัตถุดิบมาป้อนอุตสาหกรรมในประเทศตะวันตก แต่การเข้าไปนั้นกลับไปเอารัดเอาเปรียบ ไปครอบงำทำให้และที่สำคัญมีการใช้กำลังในการคอรบงำ และเอาเกิดลัทธิจักรวรรดินิยมขึ้น ต่อมามีการแข่งขันกันล่าอาณานิคมระหว่างประเทศตะวันตกด้วยกัน มีการทำสงครามเพื่อเข้าครอบงำดินแดนแห่งใหม่ทั้งหลาย เพื่อไปสร้างจักรวรรดิหรืออาณาจักรของตนเอง ทำให้ลัทธิจักรวรรดิมีความเข้มข้นมากขึ้น
ลัทธิจักรวรรดินิยมที่ส่งเสริมให้นายทุนเข้าไปครอบงำดินแดนแห่งใหม่ และเอารัดเอาเป็นต้นแบบของบรรษัทข้ามชาติในยุคต่อมา เพราะในช่วงแรกมีการครอบงำในลักษณะการเป็นเมืองขึ้น ต่อมาเมื่อสถานการณ์ระหว่างประเทศเปลี่ยนไปอาณานิคมต่างเรียกร้องเอกราช จักรวรรดินิยมก็ปรับตัวไปครอบงำทางด้านการค้า และขยายมาสู่วัฒนธรรม ครอบงำทางความคิด ต่อประเทศด้อยพัฒนา
ขณะที่ เลนิน มองว่าจักรวรรดินิยมนั้นเป็นความผิดพลาด 100% ของทุนนิยม เพราะจักรวรรดินิยมคือขั้นตอนที่สูงสุดของระบบทุนนิยมเป็นการเอาเปรียบกันมากที่สุด 
และพฤติกรรมของจักรวรรดินิยมนั้นมีการเปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่างไปเรื่อยๆ จากที่เป็นจักรวรรดินิยมโดยรัฐ ก็อาจจะมีตัวแสดงอื่นๆเข้ามาเป็นตัวสร้างจักรวรรดินิยมให้เกิดขึ้น เช่นปัจจุบันอาจจะเป็นจักรวรรดิโดยบรรษัทข้ามชาติ
4.แนวคิดพาณิชยนิยม (Mercantilism) เป็นทฤษฎีที่บอกว่ารัฐแต่ละรัฐจะสร้างความมั่งคั่งของตนเองด้วยการพยายามส่งออกให้มากที่สุดแต่นำเข้าให้น้อยที่สุด เป็นแนวคิดการปกป้องทางการค้า (Protectionism) ในปัจจุบันแนวคิดนี้ถูกเรียกว่าการปกป้องแบบใหม่ (New Protectionism) เนื่องจากเครื่องมือที่ประเทศต่างนำมาใช้ในการปกป้องทางการค้าจะมีการพัฒนารูปแบบไปจากเดิมที่ใช้มาตรการทางภาษี (Tariff Barrier) ด้วยการตั้งภาษีนำเข้าแพงๆ มาเป็นมาตรการแบบใหม่ เช่น
-มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม         
-มาตรการด้านแรงงาน 
-มาตรการด้านสิทธิมนุษยชน 
-มาตรการด้านคุณภาพสินค้า
เป็นต้น (มีอีกหลายมาตรการ)
เราจะพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะอ้างเหตุผลเหล่านี้เพื่อกีดกันการนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา 
ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมือง
1.แนวคิดการครองความเป็นเจ้า (Hegemony) เช่นสหรัฐที่พยายามครองความเป็นเจ้าจึงต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทุกประเทศในโลก โดยใช้เครื่องมือทุกอย่างเพื่อให้ตนเองครองความเป็นเจ้าโลก 
                **********************
จุดเน้นของแต่ละอาจารย์
    1.อาจารย์ศิโรฒม์
สาระสำคัญอยู่ที่ปัญหานิวเคลียร์และการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ 
โดยมีสาระสำคัญอยู่ 2 ประเด็นคือ
1.รูปแบบของการควบคุมอาวุธ มี 5 รูปแบบ
    2.ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหรือบ่อนทำลายการควบคุมอาวุธ
    รูปแบบการควบคุมอาวุธนิเคลียร์
1. การป้องกันการใช้พลังงานนิวเคลียร์ (Atomic Energy) เช่นในปัจจุบันจะมี IAEA หรือทบวงปรมาณูสากลเป็นองค์การที่ทำหน้าที่ควบคุมให้การใช้นิวเคลียร์เป็นไปในทางสันติ 
2.การควบคุมการแพร่ขยายอาวุธ/วัตถุ และเทคโนโลยีทางด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Proliferation) อันเกิดจากความกลัวว่าถ้าอาวุธนิวเคลียร์แพร่ขยายไปแล้วจะเป็นภัยต่อสันติภาพความสงบเรียบร้อยของโลก 
การควบคุมไม่ได้มีการแพร่ขยายของนิวเคลียร์อยู่ในรูปของสนธิสัญญาหลายฉบับ ซึ่งควบคุมทั้งรัฐที่มีและไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง เช่น 
 -Antarctic Treaty ค.ศ. 1959 ห้ามไม่ให้รัฐหนึ่งรัฐใดนำอาวุธนิวเคลียร์ไปไว้ยังขั้วโลกใต้หรือใช้ขั้วโลกใต้
 -สนธิสัญญาห้ามการแพร่ขยายนิวเคลียร์ (NPT) ค.ศ. 1968 ทั้งวัตถุนิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ รวมทั้งเทคโนโลยีนิวเคลียร
-สนธิสัญญา Sea Bed Treaty ค.ศ. 1971 ห้ามมิให้รัฐใดรัฐหนึ่งนำอาวุธนิวเคลียร์หรือติดตั้งฐานทัพนิวเคลียร์ไปไว้ที่ก้นทะเล มหาสมุทร 
-จัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Weapon Free Zone: NWFZ) มีการทำสนธิสัญญาอีกหลายฉบับเพื่อจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก 
3. การห้ามปรับปรุงอาวุธนิวเคลียร์ด้านการทำลายล้าง เกิดจากความกลัวว่าอาวุธนิวเคลียร์จะมีอานุภาพทำลายล้าง (Yield) มากขึ้น ๆ ดังนั้นจะต้องห้ามนักวิทยาศาสตร์ทำการทดลองในเรื่องนี้ โดยการทำสนธิสัญญา LTBT/PTBT (Limited Test Ban Treaty/Partial Test Ban Treaty) ค.ศ. 1963 ห้ามไม่ให้ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในบรรยากาศโลก ใต้น้ำ และอวกาศนอกโลก แต่ไม่ได้ห้ามการทดลองใต้ดิน
4. ความพยายามควบคุมการทำสงครามนิวเคลียร์ การที่ต้องควบคุมนิเวคลียร์เพราะประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์กลัวว่าอาจมีการใช้อาวุธนิวเคลียร์จาก
-ความเข้าใจผิด (Misunderstanding) คิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งโจมตีจึงโจมตีโต้ตอบไปโดยไม่รู้ว่าเป็นความเข้าใจผิด ทำให้เกิดสงครามนิวเคลียร์โดยอุบัติเหตุ
-การคำนวณผิดพลาดหรือข้อบกพร่องของระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Miscalculation Early Warning System) เช่นการป้องกันโดยการติดตั้งโทรศัพท์สาย 
ความพยายามในการควบคุมสงครามนิวเคลียร์แบบนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเพราะทุกประเทศมีสภาวะที่เรียกว่าการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์ Nuclear Deterrence เมื่อต่างฝ่ายต่างมีกองกำลังอาวุธ Triad ทัดเทียมกันย่อมเป็นตัวควบคุมการทำสงครามนิวเคลียร์ที่ดีเหนือกว่าข้อตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ 
5. ความพยายามควบคุมการเพิ่มจำนวนของอาวุธนิวเคลียร์ ด้วยการทำสนธิสัญญาควบคุมและลดจำนวนอาวุธหลายฉบับ เช่น SALT 1 ค.ศ. 1972 SALT 2 ค.ศ. 1979  
ทั้งนี้ความพยายามในการควบคุมทุกรูปแบบไม่ประสบความสำเร็จ ยกเว้นการควบคุมในรูปของการป้องกันไม่ได้เกิดสงคราม เนื่องจากการควบคุมแต่ละรูปแบบล้วนมีปัญหาและอุปสรรค คือ
ปัจจัยที่บ่อนทำลายความพยายามควบคุม
1.การรื้อทำลายอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียที่ล่าช้า เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณ
2.ปัญหาความหละหลวม (Loose Nuke Problem) เรื่องนิวเคลียร์ในรัสเซีย คือ
-การควบคุมบริเวณชายแดนหละหลวม ( Loose Border Control) ทำให้โอกาสที่นิวเคลียร์จะถูกลักลอบขนถ่ายออกนอกประเทศมีสูงมาก 
-ความหละหลวมเกี่ยวสถานที่เก็บนิวเคลียร์ (Loose Nuclear Facility Control) สถานที่เก็บนิวเคลียร์เหล่านี้มีสภาพที่ไม่ปลอดภัย อันอาจจะทำให้เกิดการรั่วไหลของอาวุธนิวเคลียร์ หรือเทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่
- Nuclear arsenal คลังแสงอาวุธนิวเคลียร์
- Nuclear Material Storage โกดังที่เก็บนิวเคลียร์
- Nuclear Power Station สถานีพลังงานนิวเคลียร์
- Nuclear Research Center ศูนย์วิจัยค้นคว้านิวเคลียร์ 
 3.ปัญหาสมองไหล (Brain Drain) เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ในรัสเซียประสบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ไม่มีรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีพ ไม่มีงานทำ ทำให้ตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 จนถึงปัจจุบันมีนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร เทคนิค นักโปรแกรมเมอร์ หนีออกนอกประเทศแล้วประมาณ 5 แสนคน ซึ่งคนกลุ่มนี้มีความเชียวชาญในการพัฒนาอาวุธ ซึ่งส่วนใหญ่ไปทำงานในอเมริกา ตะวันออกกลาง 
ปัญหานี้ทำให้โอกาสที่จะเกิดการพัฒนานิวเคลียร์ในประเทศที่คนเหล่านี้ออกไปทำงานจะมีสูงมาก
 4.ปัญหานโยบายการป้องกันจรวดแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ( National Missile Defense -NMD) ของสหรัฐฯ 
ปัญหานี้นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด เพราะ โครงการนี้ของสหรัฐเป็นโครงการการที่จะทำให้สหรัฐป้องกันการโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามได้ 100 % ซึ่งในที่สุดจะทำให้สหรัฐไม่ต้องกลัวประเทศไหนอีกต่อไป อันมีผลทำให้แนวคิดเรื่องการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์หมดความสำคัญลง ร่วมทั้งทฤษฎีที่ว่าด้วยดุลแห่งความหวาดกลัวซึ่งช่วยให้โลกไม่เกิดความรุนแรงจากนิวเคลียร์จะใช้ไม่ได้อีกต่อไป
การป้องปรามด้วยนิวเคลียร์ (Nuclear Deterrence) คือแนวคิดที่มองว่าประเทศที่มีนิวเคลียร์ในครอบครองต่างๆไม่กล้าที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการโจมตีอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เพราะถ้าโจมตีก่อนก็จะถูกโจมตีตอบแทน และความเสียหายจะเกิดขึ้นมหาศาล
ดุลแห่งความหวาดกลัว (Balance of Terror) จะคล้ายกับการป้องปรามเช่นกัน นั่นคือการมองว่าประเทศทั้งหลายตกอยู่ในภาวะความกลัวว่าจะถูกโจมตีหากลงมือโจมตีฝ่ายตรงข้ามด้วยนิวเคลียร์
สภาพการป้องกันด้วยนิวเคลียร์และดุลแห่งความหวาดกลัวทำให้โลกของเราไม่เกิดสงครามนิวเคลียร์มายากนานตั้งแต่มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ในสงครามโลกครั้งที่ 2
อย่างไรก็ตามหากสหรัฐสามารถพัฒนาระบบป้องกันได้ 100 % อาจจะทำให้สหรัฐกล้าที่จะลงมือโจมตีศัตรูก่อน โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะฝ่ายตรงข้ามจะโจมตีเป็นการตอบแทนหรือไม่  เพราะหากฝ่ายตรงข้ามโจมตีตอบแทนกลับมาสหรัฐก็สามารถป้องกันได้ 100 % 
โครงการนี้ของสหรัฐจึงทำให้หลายประเทศไม่พอใจโดยเฉพาะรัสเซียและจีน ที่มองว่าตนเองก็มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบป้องกันขึ้นมาบ้าง และเป็นโครงการที่อาจจะทำให้เกิดการแข่งขันกันสร้างอาวุธรอบใหม่
โดยสรุปปัญหาที่ทำให้การควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ไม่ได้ผลมาจาก 2 ฝ่ายเป็นหลักคือ
1.ฝ่ายรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการลักลอบขายอาวุธ ปัญหาการสมองไหล ปัญหาการไม่มีความเข้มงวดในการดูแลรักษานิวเคลียร์
2.ฝ่ายสหรัฐ น่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเวลานี้สหรัฐมีพฤติกรรมที่ไม่เกรงใจชาติใดๆ  สหรัฐทำความต้องการของตนเองเป็นหลัก การที่สหรัฐใช้กำลังทหารโจมตีอีรัก ปากีสถาน และอาจจะมีอิหร่าน เกาหลีเหนือเป็นรายต่อไปนั้นมีผลทำให้ประเทศอื่น รวมทั้งผู้ก่อการร้ายอาจจะใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีสหรัฐก็เป็นได้
กรณีของอิหร่านสำหรับประเด็นปัญหานิวเคลียร์ตะวันออกกลางในช่วงปี 2006 สืบเนื่องมาจนถึงปี 2007 เริ่มจากสหรัฐอเมริกาได้เปิดประเด็นกล่าวหาอิหร่านว่ากำลังลักลอบพัฒนาโครงการเสริมสรรถนะยูเรเนียม (Centrifuge-Aided Uranium-Enrichment Program) ขณะที่อิหร่านปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหรัฐอเมริกา และตอบโต้ว่าโครงการพัฒนายูเรเนียมของตน เป็นไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หรือเป็นการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติเท่านั้น
แต่สหรัฐอเมริกาไม่สนใจกลับเร่งผลักดันให้ทบวงปรมาณูสากล (International Atomic Energy Agency-IAEA) เข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด และยังเรียกร้องให้ IAEA ใช้มาตรการต่างๆ กดดันอิหร่านให้ยกเลิกโครงการดังกล่าวทั้งหมดแต่อิหร่านแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยกเลิก 
วันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ.2006 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกมติที่ 1737 ในการคว่ำบาตรอิหร่านเพื่อลงโทษฐานที่อิหร่านไม่ยอมยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์และขีดเส้นตายภายใน 60 วันเพื่อให้อิหร่านยุติการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง เพราะมิฉะนั้นแล้วคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะเพิ่มระดับความรุนแรงของการคว่ำบาตรต่ออิหร่านมากขึ้นไปอีก
กระทั่งเมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2007 สำหรับประเด็นปัญหานิวเคลียร์ตะวันออกกลางในช่วงปี 2006 สืบเนื่องมาจนถึงปี 2007 เริ่มจากสหรัฐอเมริกาได้เปิดประเด็นกล่าวหาอิหร่านว่ากำลังลักลอบพัฒนาโครงการเสริมสรรถนะยูเรเนียม (Centrifuge-Aided Uranium-Enrichment Program) ขณะที่อิหร่านปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหรัฐอเมริกา และตอบโต้ว่าโครงการพัฒนายูเรเนียมของตน เป็นไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หรือเป็นการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติเท่านั้น
แต่สหรัฐอเมริกาไม่สนใจกลับเร่งผลักดันให้ทบวงปรมาณูสากล (International Atomic Energy Agency-IAEA) เข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด และยังเรียกร้องให้ IAEA ใช้มาตรการต่างๆ กดดันอิหร่านให้ยกเลิกโครงการดังกล่าวทั้งหมดแต่อิหร่านแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยกเลิก พร้อมกับยินดีจะเปิดการเจรจากับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nation Security Council-UNSC) รวมทั้งจะให้ IAEA เข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด
กระทั่งในที่สุดอิหร่านก็ระงับโครงการพัฒนานิวเคลียร์เป็นการชั่วคราว 3 เดือน โดยมีมหาอำนาจยุโรป คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นผู้เจรจา
แต่หลังจากนั้นมาอิหร่านก็ได้เร่งสานต่อโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของตนโดยยังคงดื้อดึงดำเนินโครงการต่อไป โดยไม่สนใจคำทัดทานจากใคร และไม่หวั่นเกรงต่อแรงกดดันจากสหประชาชาติ มหาอำนาจยุโรป และสหรัฐอเมริกา แม้ว่ารัสเซีย และจีนพันธมิตรที่สำคัญของอิหร่านจะพยายามใช้วิธีทางการทูตหลายครั้งในการแก้ไขปัญหาก็ตาม เนื่องจากอิหร่านมีจุดยืนแน่วแน่ที่จะปกป้องสิทธิของรัฐอธิปไตยในการจะใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อสันติ มิใช่นำไปใช้เพื่อผลิตอาวุธนิวเคลียร์ตามข้อกล่าวหาของสหรัฐอเมริกา
นอกเหนือจากรัสเซียและจีนที่ดูจะยืนอยู่ข้างอิหร่านแล้ว ในที่ประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement-NAM) 118 ประเทศ ซึ่งมีขึ้นที่กรุงฮาวานา ประเทศคิวบา ยังได้ประกาศให้การสนับสนุนโครงการพัฒนานิวเคลียร์เพื่อสันติของอิหร่าน
แต่กระนั้นก็ตามเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ.2006 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกมติที่ 1737 ในการคว่ำบาตรอิหร่านเพื่อลงโทษฐานที่อิหร่านไม่ยอมยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์และขีดเส้นตายภายใน 60 วันเพื่อให้อิหร่านยุติการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง เพราะมิฉะนั้นแล้วคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะเพิ่มระดับความรุนแรงของการคว่ำบาตรต่ออิหร่านมากขึ้นไปอีก
กระทั่งเมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2007 สถานการณ์นิวเคลียร์อิหร่านก็ยังคงดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ประธานาธิบดีมะห์มูดอะห์ หมัดดีนีญัด ยังประกาศดำเนินการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ของตนไป
ปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ การเผยแพร่ของอาวุธ การเพิ่มจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ เกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ที่สำคัญหากสหรัฐพัฒนาระบบจรวดป้องกันแห่งชาติได้สำเร็จและติดตั้ง 100 % เมื่อไหร่โอกาสที่โลกจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ก็มีเช่นกัน และในเวลานั้นการควบคุมนิวเคลียร์ด้วยการไม่ให้เกิดสงครามนิวเคลียร์ที่เป็นการควบคุมแบบเดียวที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันก็จะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป 
2.อาจารย์เบ็ญจมาส
    เน้นที่ระบบระหว่างประเทศหลังยุคสงครามเย็น
    ทั้งนี้หลังสงครามเย็นโลกของเราจะให้ความสนใจไปที่ประเด็นของเศรษฐกิจ นั้นคือจะเน้นความร่วมมือและความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
ดังนั้นหากเราจะวิเคราะห์การลักษณะของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จะต้องดูถึง
    1.ในแง่ของตัวแสดงบทบาทระหว่างประเทศ (Actors) จะพบว่าในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันจะมีตัวแสดงที่หลากหลาย โดยตัวแสดงที่เป็นรัฐจะมีบทบาทน้อยลง แต่บทบาทในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจะเน้นไปที่บรรษัทข้ามชาติและองค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ในทางเศรษฐกิจ เช่น WTO IMF และกลุ่มธนาคารโลก
    ถ้าพิจารณาบทบาทขององค์การระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ 3 องค์การข้างต้นจะพบว่ามีการทำงานประสานกับบรรษัทข้ามชาติและรัฐมหาอำนาจ หรือกล่าวได้ว่าองค์การระหว่างประเทศเหล่านี้ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติโดยมีรัฐเป็นตัวกลาง
    เช่นในตอนที่ไทยเราเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ  IMF ก็เข้ามาทำหน้าที่แก้ไขปัญหาด้วยการให้เงินกู้และยื่นเงื่อนไขให้ไทยเราปฏิบัติหลายๆเงื่อนไข เงื่อนไขเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่จะเอื้อประโยชน์ต่อบรรษัทข้ามชาติของสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษารัฐบาลไทยในช่วงนั้น รวมทั้งบรรษัทที่มีโอกาสเข้าประมูลซื้อทรัพย์สินของปรส. ทั้งนี้เพราะ IMF มีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลสหรัฐเนื่องจากสหรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ IMF
    2.ในแง่ของโครงสร้าง ถ้าพิจารณาถึงระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันมองว่าเป็นระบบหลายขั้วอำนาจ (ต่างจากในระบบการเมืองระหว่างประเทศที่ยังคงเป็นระบบขั้วอำนาจขั้วเดียว)
    ระบบหลายขั้วอำนาจ (Multi-polar) ในที่นี้หมายถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีอำนาจสูงสุด แต่ในทางเศรษฐกิจถือว่ามีขั้วอำนาจอื่นๆที่เข้ามาคานอำนาจกับสหรัฐไม่ว่าจะเป็นขั้วของอียู หรือญี่ปุ่น รวมทั่งจีนที่คาดว่าเติบโตขึ้นมาท้าทายอำนาจของสหรัฐในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
    ลักษณะของหลายขั้วอำนาจดังกล่าวทำให้บทบาทในการกำหนดความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับสหรัฐแต่เพียงลำพัง แต่หลังจากที่อียูมีความเข้มแข็ง และมีการนำเงินยูโรมาใช้บทบาทของเงินดอลลาร์ก็ลดลง ขณะที่สหรัฐเองเวลานี้ก็มีปัญหาทางเศรษฐกิจมากมายไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจตกต่ำ การเป็นหนี้จำนวนมหาศาล การขาดดุลทางการค้า ล้วนเป็นปัญหาที่ทำให้ความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐลดลง
    3.ในแง่กระบวนการ พบว่าปัจจุบันในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศจะมีทั้งความร่วมมือและความขัดแย้ง ซึ่งผู้ตอบข้อนำเสนอกระบวนการสำคัญๆที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพียงบางประเด็นดังนี้
    -กระแสที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการภายในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ก็คือกระแสการรวมตัวกันในระดับทวิภาคี (Bilateral Agreement) โดยเฉพาะความตกลงในการจัดทำการค้าเสรีแบบ 2 ฝ่าย ซึ่งเวลานี้ได้เกิดขึ้นทั่วโลก 
    ความร่วมมือดังกล่าวเกิดจากการเจรจาการค้าแบบหลายฝ่ายใน WTO มีความล่าช้า
    -การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆต้องการสร้างอำนาจต่อรองให้มากขึ้น และหวังว่าการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจจะช่วยให้เกิดการขยายตัวทางการค้าของกลุ่ม
    -การกีดกันทางการค้า จะพบว่าในปัจจุบันประเทศต่างๆยังคงดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้า เช่นประเทศที่กำลังพัฒนาจะกีดกันการค้าสินค้าเกษตรจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการกีดกันทางการค้าจะอยู่ทั้งในรูปที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษี เช่นการให้การอุดหนุนเกษตรกรของตัวเอง การใช้มาตรการด้านสุขอนามัย มาตรการด้าน ISO และอื่น
    ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาก็ดำเนินนโยบายในแบบเดียวกันเช่นการอุดหนุนผู้ผลิตภายใน
    (ตรงนี้ยังมีกระบวนการรูปแบบอื่นๆอีกมากที่นักศึกษาเขียนได้ โดยไม่ควรจะลอกเหมือนกันนะคะ ไม่อย่างนั้นคะแนนไม่ดีแน่ )
    4.ในแง่สภาพแวดล้อมของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การที่ระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีลักษณะข้างต้น เกิดจากสภาพแวดล้อมทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไป โดยเฉพาะช่วงสิ้นสุดสงครามเย็น ที่ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์หมดลงไปทำให้ประเทศต่างๆหันมาสร้างความร่วมมือทางการค้า หันมาทำการค้าขายกันมากขึ้น 
จากลักษณะของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้นทำให้เกิดทั้งความร่วมมือและความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
    ความร่วมมือนั้นได้กล่าวไปแล้วว่าเกิดขึ้นทั้งในรูปของการเจรจาการค้าแบบบทวิภาคี เช่นเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ไทย-จี- สหรัฐกับสิงคโปร์และการเจรจาการค้าแบบพหุภาคี เช่นอาเซียน-จีน เกิดความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่นเอเปก อียู  นาฟต้า
รวมทั้งความร่วมมือในอนุภูมิภาค เช่นสามเหลี่ยม เศรษฐกิจ ห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในลักษณะของการลงทุนร่วมกัน
อย่างไรก็ตามความขัดแย้งทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นอย่างสำคัญเช่นกันโดยเฉพาะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการกีดกันทางการค้า เช่นกรณีที่อียูกีดกันการนำเข้ากล้วยจากสหรัฐ จนกลายเป็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับอียู และมีประเด็นอื่นๆ ตามมาอีกหลายเรื่อง
แม้กระทั่งประเทศไทยเองเราก็มีความขัดแย้งกับประเทศคู่ค้าตลอดเวลา เช่นการที่ไทยโดนกีดกันสินค้ากุ้งจากสหรัฐ สินค้าเหล็กจากโปแลนด์ หรือสินค้าอาหารจากอียู
ที่สำคัญการที่มหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐและอียูได้ใช้องค์การระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์และก่อให้เกิดการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างในเชิงวัฒนธรรมที่มี สาเหตุมาจากการค้าการลง
ทุนระหว่างประเทศ เช่นปัญหาที่เกิดจากการเก็งกำไรของระบบทุนนิยม การปั่นหุ้น การทุบค่าเงิน อันส่งผลให้เศรษฐกิจของบางประเทศล้มลงและบรรษัทข้ามชาติก็เข้าไปแสวงหาประโยชน์ 
นอกจากนี้ระบบทุนนิยมโลกทำให้เกิดทุนนิยมมาเฟีย เช่นเกิดอาชญากรรมข้ามชาติ การค้าผู้หญิงข้ามชาติ การฟอกเงินข้ามชาติ
สรุป
จากระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันจึงพบว่าโลกของเราให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ในทางเศรษฐกิจมากขึ้น และความสัมพันธ์นี้มีทั้งความร่วมมือและความขัดแย้ง ในแง่ของความร่วมมือก็จะทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้า และความอยู่ดีกินดีของมนุษยชาติ แต่ในแง่ของความขัดแย้งก็จะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรมในทางการค้า เกิดการเอารัดเอาเปรียบของประเทศที่พัฒนาแล้วที่ทำต่อประเทศกำลังพัฒนา 
การจะแก้ปัญหานี้ก็คือการปรับโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่โดยพยายามทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีบทบาทในการกำหนดกติกาการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การค้าเสรีมีความเป็นไปได้อย่างแท้จริง และเป็นการค้าเสรีที่มีความเป็นธรรมด้วย 
3.อาจารย์ทิพรัตน์
เน้นเรื่อง
1.โลกาภิวัตน์
2.แนวคิดเสรีนิยม 
3.แนวคิดบูรณาการระหว่างประเทศ
    (อ่านรายละเอียดของแนวคิดเสรีนิยม และแนวคิดบูรณาการจากช่วงสรุปทฤษฎี)
สิ่งที่นักศึกษาต้องสนใจก็คือความสัมพันธ์ระหว่างโลกาภิวัตน์กับแนวคิดเสรีนิยมใหม่และแนวคิดบูรณาการระหว่างประเทศ
***ซึ่งพอสรุปในเบื้องต้นว่า แนวคิดเสรีนิยมใหม่ก็ให้เกิดการบูรณาการระหว่างประเทศ และกระแสโลกาภิวัตน์ทำให้แนวคิดแบบนี้กระจายไปทั้งโลก
กล่าวคือ
เสรีนิยมใหม่เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจการเมืองที่เน้นว่ากลไกตลาดจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชน และมองว่าการแทรกแซงของรัฐต่อภาคเศรษฐกิจจะส่งผลร้ายต่อสังคม หรือก็คือการมองว่ารัฐนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ชั่วร้าย (State as a necessary evil) 
ดังนั้นข้อเสนอทางนโยบายของพวกเสรีนิยมใหม่ก็คือ รัฐจะต้องเข้ามาแทรกแซง ยุ่ง วุ่นวายน้อยที่สุด หรือมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ในระบบเศรษฐกิจ กลไกตลาดจะจัดการสิ่งที่เหลือเอง แล้วทุกอย่างจะดีเอง ดี
ขณะเดียวกันลัทธิเสรีนิยมสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับแนวนโยบายการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศต่างประเทศ นโยบายตามลัทธิเสรีนิยมที่ครอบงำโลกเราอยู่ในขณะนี้ ล้วนแล้วแต่เน้นหนักไปในด้านของการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้จากการลงทุนและการส่งออกเท่านั้น
ลัทธิเสรีนิยมใหม่ได้รับการเผยแพร่โดยองค์การะหว่างประเทศอย่าง ไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลก องค์การการค้าโลก บรรษัทข้ามชาติและสื่อมวลชนครอบโลก รวมทั้งชาติมหาอำนาจที่อยู่เบื้องหลังองค์การระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ 
แนวคิดเสรีนิยมใหม่ถูกแปลงไปใช้ในการปฏิบัติในนามของ “ฉันทานุมัติวอชิงตัน' (The Washington Consensus) และประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายได้รับคำแนะนำให้มีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Program) ให้เป็นตามหลักการของฉันทานุมัติวอชิงตัน ประกอบด้วย 
1.ลดค่าเงิน
2.ตัดลดงบประมาณ สวัสดิการสังคมและเงินบำเหน็จบำนาญเลี้ยงชีพ
3.ปลดข้าราชการเจ้าหน้าที่พนักงานของรัฐขนานใหญ่
4.คุมระดับอัตราเงินเดือนภาครัฐ
5.ยกเลิกเงินอุดหนุนของรัฐแก่สินค้าประเภทอาหารและปัจจัยจำเป็นพื้นฐานอื่นๆ
6.ขึ้นอัตราดอกเบี้ย
7.จำกัดสินเชื่อ
8.ส่งเสริมการส่งออก เปิดเสรีการค้า ลดเลิกพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและอุปสรรคการค้าอย่างอื่น
9.เปิดเสรีตลาดทุน เปิดเสรีการเงิน เปิดเสรีอุตสาหกรรมและบริการแก่การแข่งขันต่างชาติ เปิดให้ต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่างๆ ได้ไม่จำกัด
10.ขึ้นค่าสาธารณูปโภคของรัฐวิสาหกิจไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงาน,น้ำประปา,โทรศัพท์,ขนส่งคมนาคมให้ราคาเป็นไปตามตลาด และ
11.ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ 
ทั้งนี้เราสามารถสรุปหลักการสำคัญๆของเสรีนิยมใหม่ได้เป็น 4 ประการคือ 
1.Liberation เปิดเสรีทางเศรษฐกิจ
2.Stabilization รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 
3.Privatization ถ่ายโอนการผลิตสู่ภาคเอกชน
4.Deregulation ลดการแทรกแซง ลดบทบาทของรัฐ
ต่อมาในปี 1987 ได้เพิ่มหลักการอีก 2 หลักการคือ
    5. Democracy คือการเน้นประชาธิปไตย มนุษยชน การมีส่วนร่วมของประชาชน และ
6.Good Governance  การให้ภาครัฐและเอกชนมีระบบการบริหารจัดการที่ดี เช่นความโปร่งใส การบริหารจัดการโดยยึดหลักกฎหมาย เน้นประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบ ความเสมอภาค เป็นต้น
ดังนั้นการรวมตัวทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคจึงเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับเสรีนิยมใหม่ 
ส่วนแนวคิดโลกาภิวัตน์ก็คือสภาพที่ทั้งโลกรับเอาแนวคิดแบบเดียวกันเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร  ทำให้โลกทั้งโลกเชื่อมโยงกัน ยิ่งเกิดแนวคิดแบบเสรีนิยมทำให้โลกทั้งโลกมีการติดต่อกันมากขึ้น ทั้งด้านการค้า การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งแนวคิดแบบบูรณาการด้วย
4.อาจารย์วราภรณ์
** เน้นแนวคิดสัจจะนิยมและประดิษฐกรรมนิยม 
(ให้อ่านในช่วงสรุปทฤษฎี)
5.อาจารย์การุณลักษณ์
อาจารย์การุณลักษณ์จะพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งพบว่าโลกเราจะเกิดปัญหาใหม่ๆมากมาย เช่น
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศหลังยุคสงครามเย็น
1.การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
1.1การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีผลทำให้ระบบขั้วอำนาจของโลกเปลี่ยนจากระบบ 2 ขั้วอำนาจเปลี่ยนมาเป็นระบบอำนาจขั้วเดียว (Bi-Polar System) และพัฒนามาเป็นระบบหลายขั้วอำนาจ (Multi-Polar System) แต่เป็นระบบหลายขั้วอำนาจที่มีขั้วอำนาจอย่างอเมริกาที่โดดเด่นที่สุด
การที่อเมริกาโดดเด่นทำให้อเมริกาทำตัวเป็นตำรวจโลกและเข้าไปแทรกแซงในแทบทุกประเทศ เช่นแทรกแซงในดินแดนโคโซโว อัฟกานิสถาน และล่าสุดคืออีรัก และอาจจะต่อไปที่อิหร่าน เกาหลีเหนือ
เราจะพบว่าเมื่อมีการลมสลายของคอมมิวนิสต์ทำให้เกิดประเทศประชาธิปไตยขึ้นมากมาย แม้กระทั่งจีนก็ต้องมีการปรับตัว
1.3การลดบทบาทของอุดมการณ์ทางการเมือง แต่หันมาเน้นบทบาททางด้านเศรษฐกิจแทน 
1.4 ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโลกเปลี่ยนจากความขัดแย้งทางการเมืองมาเป็นความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
2.การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลก
2.1 การขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) และการลงทุนจากต่างประเทศ การขยายทางการค้าเกิดจากประเทศต่างต้องการความมั่งคั่ง การค้าทำให้ประเทศมหาอำนาจมีทุนจำนวนมาก 
การขยายตัวทางการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศทำให้ระบบทุนนิยมขยายตัวไปทั่วโลก
เราจะพบว่าบรรษัทข้ามชาติมีบทบาทมากขึ้นในการเข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆ
2.2 การจัดระเบียบการค้าโลก การเปลี่ยนขั้วอำนาจของโลกจากระบบ 2 ขั้วมาเป็นระบบขั้วเดียวทำให้การจัดระเบียบการเมืองของโลกขึ้นอยู่กับพลังทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดระเบียบเศรษฐกิจการค้าใหม่ (New Economic Order) ที่ทำการค้าและการลงทุน และการเงิน ขยายตัวมากขึ้น
2.4 การปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้มีความเสรี ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากระบบเศรษฐกิจไม่เสรีการเข้าไปแสวงหาประโยชน์ของบรรษัทชาติจะทำได้ยาก แต่การเปิดเสรีทำให้รัฐบาลของประเทศต่างๆมีอำนาจน้อยลง ไม่สามารถควบคุมบรรษัทข้ามชาติได้
2.6 การนำลัทธิปกป้องทางการค้ามาใช้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศตนเอง โดยใช้มาตรการที่ใช้ภาษีและไม่ใช้ภาษี (ยกตัวอย่างประกอบ)
2.7 เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ทั้งระดับภูมิภาคและระดับระหว่างภูมิภาคเพื่อสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ และเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับการแข่งขันทางเศรษฐกิจ (ยกตัวอย่างประกอบ เช่นอียู อาฟต้า นาฟต้า)
2.8 การเกิดความไร้ระเบียบในระบอบการเงินโลก ทำให้การเงินโลกมีความผันผวน  
3.การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี  การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นตัวแปรที่ทำให้โลกก้าวหน้าและเป็นตัวเร่งที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆตามมา 
เทคโนโลยีที่สำคัญคือเทคโนโลยีด้าน
-คอมพิวเตอร์
-ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม 
-ด้าน Information Technology
-เทคโนโลยีด้านชีวะภาพ เช่นความก้าวหน้าในทางการแพทย์ การตัดแต่งพันธุกรรมพืชและการโคลนนิ่งสัตว์
-การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีด้านวัสดุภัณฑ์ ที่มีคุณสมบัติดีขึ้น
คำถามต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีก็คือเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นของประเทศที่พัฒนาแล้วและนำมาขายต่อประเทศที่กำลังพัฒนาในราคาแพง ผลประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีจึงตกอยู่กับประเทศที่พัฒนาแล้ว
4.การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคม 
ทั้งนี้กระแสของการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 กระแสแรกส่งผลต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมของโลก กล่าวคือ
4.1 เกิดการขยายตัวของสังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งทำให้สังคมกลายเป็นสังคมแห่งความรู้สารสนเทศ
4.2 การขยายตัวของลัทธิบริโภคนิยม ลัทธิบริโภคนิยมรุ่งเรืองมากในยุคโลกาภิวัตน์ ที่การค้าการลงทุน การเงิน แพร่สะพัดทำให้ประเทศต่างๆดูเหมือนว่าจะเจริญเติบโตขึ้น แต่ทำให้ผู้คนในประเทศต่างๆหันมาบริโภคกันอย่างไม่ยั้งคิด ซื้อสิ่งต่างๆโดยขาดความจำเป็น เนื่องจากถกกระตุ้นด้วยการโฆษณาอันเป็นเครื่องมือทางการค้าของโลกทุนนิยม
4.3 การขยายตัวของสังคมเมือง 
4.4 การปรับสู่มาตรฐานสากล
นั่นคือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้โลกเราเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์  ซึ่งเป็นยุคที่เต็มไปด้วยปัญหา เป็นยุคที่ประเทศกำลังพัฒนาถูกครอบงำมากขึ้น เป็นการครอบงำที่แนบเนียนโดยผู้ถูกครอบงำแทบไม่รู้ตัว 
    โลกทั้งโลกจึงเกิดปัญหาใหม่ขึ้นมามากมายที่ประเทศเดียวอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างประเทศในการแก้ปัญหา
    สรุปแนวแต่ละอาจารย์
    1.อ.ศิโรฒม์
    ปัจจัยที่ทำให้การควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
2.อ.เบ็ญจมาส
ระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศหลังสงครามเย็น
3.อ.วราภรณ์ 
ดูแนวคิดสำนักสัจจนิยมและประดิษฐกรรมนิยม
4.อ.ทิพรัตน์
ความสัมพันธ์ระหว่างโลกาภิวัตน์ เสรีนิยมและบูรณาการระหว่างประเทศ
5.การุณลักษณ์
ปัญหาใหม่ๆในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์
ตัวอย่างข้อสอบเก่า
อาจารย์เบ็ญ
    ภายใต้โลกาภิวัตน์ และการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันมีลักษณะแบบใด โดยให้ระบุว่า ผู้แสดงบทบาทระหว่างประเทศใดบ้างที่มีส่วนในการกำหนดระเบียบโลกและระบอบโลก ที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และให้ใช้ส่วนประกอบของระบบระหว่างประเทศมาช่วยในการอธิบายและวิเคราะห์ให้เห็นว่า ระเบียบโลกและระบอบโลกที่สำคัญมีประการใดบ้าง  
3.อ.วราภรณ์
    สถานการณ์ด้านความยากจนหรือความไม่เท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจและการด้อยพัฒนายังคงเป็นภัยเผชิญหน้าระหว่างประชากรส่วนใหญ่ในระบบโลก ให้ท่านใช้ทฤษฎีแนววิพากษ์ในสำนักพึ่งพิง อธิบายสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าวโดยละเอียด คือต้องอธิบายสาระสำคัญของแนวคิด ทฤษฎี ชื่อนักคิด และยกตัวอย่างถานการณ์ให้เข้าใจชัดเจน

        
            สรุป PS 704 แนวคิดในการพัฒนาประเทศ
    
วิชา 704 เป็นวิชาที่มีเป้าหมายดังนี้
1.ให้นักศึกษาทราบถึงแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
2.ให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และวิจารณ์ถึงผลกระทบต่อแนวคิดดังกล่าวที่มีต่อประเทศไทย
3.นักศึกษาสามารถเสนอทางออกในการพัฒนาประเทศได้
ประเด็นสำคัญในการบรรยาย
ประวัติความเป็นมาของการพัฒนา
แนวคิดการพัฒนา (Development) เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจาก
-ประเทศในยุโรปซึ่งเป็นสมรภูมิหลักของสงครามได้รับความหายนะจากสงคราม
-การที่ยุโรปได้รับความเสียหายจากสงครามทำให้ต้องปลดปล่อยดินแดนอาณานิคมออกเป็นเอกราช ทำให้มีประเทศเกิดใหม่ขึ้นจำนวนมากทั้งในแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา
ทั้งประเทศยุโรปและประเทศเกิดใหม่เหล่านี้ต่างต้องการการพัฒนา โดยยุโรปเน้นการฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม ส่วนประเทศเกิดใหม่ต้องการหนีพัฒนาจากภาวะความด้อยพัฒนา
เหตุผลดังกล่าวทำให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนา โดยในยุโรปอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ไม่ได้รับความเสียหายจากสงคราม กลายเป็นแกนนำในการฟื้นฟูยุโรปตามโครงการมาร์แชล 
ขณะเดียวกันหลังสงครามโลกสหรัฐอเมริกาเกิดความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองกับสหภาพโซเวียต ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายแข่งขันกันในเชิงอำนาจ และใช้การพัฒนาเป็นเครื่องมือในการดึงเอาประเทศต่างๆมาเป็นพวก ทำให้แนวทางการพัฒนาของประเทศที่อยู่ในค่ายทุนนิยมเสรีก็จะเป็นตามแนวทางของอเมริกา ส่วนประเทศที่เป็นพวกของสหภาพโซเวียตก็มีแนวทางการพัฒนาประเทศไปตามแนวทางสังคมนิยม 
นอกจากนี้ในเวลานั้นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้เกิดขึ้นทำให้แนวคิดการพัฒนามองว่าต้องทำตามแนวทางแบบวิทยาศาสตร์ คือมีขั้นตอน กระบวนการที่ชัดเจน ซึ่งออกมาในรูปของการวางแผนพัฒนา ทำให้ประเทศต่างๆในโลกกำหนดแผนพัฒนาออกมา
ประเทศไทยของเราเข้าอยู่ข้างโลกเสรี ทำให้มีแนวทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางของตะวันตกหรือสหรัฐอเมริกา โดยแผนพัฒนาฉบับแรกของเราคือแผนในปี 2504 เป็นแผนที่เขียนขึ้นโดยธนาคารโลกซึ่งเป็นแหล่งเงินกู้หลักในการพัฒนาประเทศ 
**ประเทศไทยและอีกหลายประเทศจึงไม่ได้เป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศด้วยตนเอง แต่ใช้แนวคิดของตะวันตกในการพัฒนาประเทศ ลักษณะดังกล่าวทำให้ทิศทางของการพัฒนาเป็นไปตามความต้องการของ เจ้าของแนวคิดในการพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา  สหประชาชาติ  และธนาคารโลก***
วิธีการขายแนวคิดในการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา ธนาคารโลก และสหประชาชาติจะทำโดย
1.ส่งนักวิชาการด้านการพัฒนาเข้าไปยังประเทศกำลังพัฒนา เช่นประเทศไทยจะมีเช่น เฟรด ริกส์ เข้ามาศึกษาการพัฒนาในเมืองไทย
2.เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากประเทศกำลังพัฒนาเข้าไปศึกษาต่อด้านการพัฒนาที่สหรัฐอเมริกา  ดังจะพบว่านักวิชาการของไทยที่มีชื่อเสียงในสังคมเวลานี้ส่วนใหญ่จบการศึกษามาจากอเมริกาทั้งสิ้น 
3.ส่งแนวคิดด้านการพัฒนา ผ่านการช่วยเหลือระหว่างประเทศ (Foreign Aid) และการให้เงินกู้ กล่าวคือเมื่อธนาคารโลก หรือสหรัฐอเมริกาให้การช่วยเหลือประเทศใดๆ หรือให้เงินกู้กับประเทศใดก็ตาม ก็จะกำหนดเงื่อนไขให้นำเงินไปใช้ตามแนวทางที่ธนาคารโลกหรืออเมริกากำหนด
และแนวทางหลักที่ธนาคารโลก สหประชาชาติ และสหรัฐอเมริกากำหนดขึ้นมาเป็นแม่แบบในการพัฒนาของประเทศต่างๆ ในระยะแรกก็คือ การพัฒนาที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ การทำให้เหมือนชาติตะวันตก การพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งกลายเป็นกระแสหลัก (Main Stream) ของการพัฒนา  
อย่างไรก็ตามตั้งแต่ทศวรรษแรกของการพัฒนามาจนถึงปัจจุบันได้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาตามกระแสหลักแม้ว่าจะทำให้โลกของเราพัฒนามากขึ้นในเชิงวัตถุ ความก้าวหน้า แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาของประเทศโลกที่ 3 ที่แม้จะใช้แนวคิดการพัฒนามานานแต่ยังไม่สามารถพัฒนาให้เท่าทันตะวันตกได้ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งสุดท้ายทำให้โลกที่ 3 ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของประเทศที่พัฒนาแล้ว จนมีการเรียกสภาพความสัมพันธ์ระหว่างโลกที่ 3 กับโลกที่พัฒนาแล้วว่าเป็นจักรวรรดินิยมยุคใหม่ คือมองว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเข้ามาครอบงำประเทศด้อยพัฒนา แต่เปลี่ยนวิธีการจากเดิมที่เข้าครอบงำโดยการใช้กำลังอาวุธ กลายเป็นมาเป็นการครอบงำโดยการใช้ส่งออกแนวคิดต่างๆ ซึ่งรวมทั้งแนวคิดด้านการพัฒนาด้วย
******************
ความหมายของการพัฒนา
นิยามหรือความหมายของการพัฒนามีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก 
ในระยะแรกของการพัฒนามองว่าการพัฒนาคือการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ต่อมาพบว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมาย ทำให้มีการนิยามคำว่าการพัฒนาขึ้นมาใหม่ 
อ.พิมล พูพิพิธ มองว่าการพัฒนาจะต้องครอบคลุม 10 ประเด็นคือ
1.การสร้างความเติบโตในทางเศรษฐกิจ
    2.การกระจายรายได้
    3.การแก้ไขปัญหาทางสังคมที่เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ
    4.การสร้างความเสมอภาคในสังคม
    5.การมีระบบบริหารจัดการที่ดี หรือ Good Governance
    6.การบริโภคทรัพยากรอย่างประหยัด
    7.การรักษาสิ่งแวดล้อม
    8.การมีคุณภาพชีวิต
    9.การเป็นส่วนหนึ่งของโลก
    10.การมีอำนาจต่อรองในระหว่างประเทศ
อมาตยา เซน เจ้าของรางวัลโนเบล กล่าวว่า การพัฒนาเป็นเรื่องของเสรีภาพ (Development as Freedom) ได้แก่ 
1.  เสรีภาพทางเศรษฐกิจ คือคนต้องมีโอกาสและความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ 
2.  เสรีภาพทางการเมือง คนสามารถทำกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างอิสระตามกติกา 
3.  เสรีภาพในทางสังคม 
4.  การประกันเสรีภาพโดยทำให้เกิดความโปร่งใส ไม่คอร์รัปชั่น ตรวจสอบได้ ทำให้คนมีส่วนร่วม 
5.  การประกันเสรีภาพโดยทำให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตในด้านต่าง ๆ (Protective Security) 
การพัฒนาที่เน้นเสรีภาพ (Freedom Centered) จึงเป็นการพัฒนาที่เน้นคนเป็นผู้กระทำการ เรียกว่า Agent Orientation ทำให้คนเป็นผู้มีความกระตือรือร้น สามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ 
ต่อมาก็มีแนวคิดว่าการพัฒนาคือการทำให้คนมีความสุข จึงมีการกำหนดดัชนีชี้วัดความสุขที่เรียกว่า GDH-Gross Domestic Happiness เป็นแนวคิดที่เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น และนำไปใช้อย่างจริงจังในประเทศ
ภูถาน 
    
กระบวนทัศน์การพัฒนาจะมี 3 กระบวนทัศน์ คือ 
    1.การพัฒนากระแสหลัก
    เป็นการพัฒนาในแนวทางทุนนิยม เป็นแนวทางที่ดำรงอยู่และมีอิทธิพลทั่วโลก ซึ่งในกระแสหลักก็จะมีหลายสำนักคิด เช่นสำนักคลาสสิก นีโอคลาสสิก และ Neo-liberalism หรือสำนักเสรีนิยมใหม่
    กลุ่มนี้มีแนวคิดว่าการพัฒนาว่าถ้าเปิดประเทศเต็มที่ ประเทศที่อยู่ชายขอบที่ไม่ค่อยพัฒนาจะถูกยกระดับให้มีการพัฒนามากขึ้น ดังนั้นประเทศเหล่านี้จะต้องเข้ามาร่วมในโลกาภิวัตน์ อย่าอยู่โดดเดี่ยว เช่นขายสินค้า เปิดประเทศให้มีการลงทุน เปิดรับเทคโนโลยีจากต่างชาติ
โดยมองว่าถ้าเปิดประเทศมากขึ้นความแตกต่างทางรายได้ระหว่างประเทศรวยและประเทศจนจะแคบลง การไหลเวียนของเทคโนโลยีที่ทันสมัยของประเทศรวยจะช่วยให้ประเทศยากจนมีการพัฒนาเทคโนโลยีสูงขึ้น
    2.การพัฒนากระแสวิพากษ์ 
    เป็นกระแสที่ลุกขึ้นมาวิจารณ์กระแสหลักว่าไม่เป็นจริง ไม่ถูกต้อง ในกลุ่มนี้จะมีตั้งแต่พวกหัวก้าวหน้า (Radical) ไปจนถึงพวกที่เป็นกลางๆ 
    การที่เกิดกระแสวิพากษ์เพราะพบแล้วว่า 50 ปีที่ผ่านของการพัฒนาประเทศด้อยพัฒนายังไม่มีโอกาสก้าวไปถึงการพัฒนา ไม่มีประเทศจนประเทศใดที่บรรลุถึงเป้าหมายตามแนวกระแสหลักวางไว้ 
    นอกจากนี้การพัฒนาตามกระแสหลักยังก่อให้เกิดปัญหา และเกิดกับทั่วโลก เช่นในลาตินอเมริกา 
     3.การพัฒนากระแสทางเลือก
    เช่นการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาเชิงพุทธ เศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากกระแสวิพากษ์ไม่ได้เสนอทางออก ทำให้กระแสทางเลือกจึงเสนอทางออกที่แตกต่างไปจากกระแสหลักมากขึ้น
    ปัจจุบันประเทศไทยยังเรียกกระแสทางเลือกว่าเป็นกระแสรอง เพราะเรายังไม่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาได้ 
 แต่ในหลายประเทศได้นำการพัฒนากระแสทางเลือกมาใช้อย่างกว้างขวาง มีการพัฒนาพัฒนาองค์ความรู้ในแนวทางเลือกอย่างจริงจัง



กระบวนทัศน์การพัฒนากระแสหลัก
การที่ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนทัศน์การพัฒนากระแสหลัก เพราะเป็นกระบวนทัศน์ที่ครอบงำโลกมานาน และปัจจุบันยังมีบทบาทอยู่ และประเทศไทยของเราได้รับอิทธิพลมากจากระบวนทัศน์การพัฒนากระแสหลัก ทั้งในทางการเมือง และเศรษฐกิจ
-ในทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจารย์เสาวลักษณ์เรียกว่าแนวทางการพัฒนาแบบทุนนิยมสากล
-ในทางการเมืองการพัฒนากระแสหลักคือการพัฒนาไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย
การพัฒนาเศรษฐกิจตามกระบวนทัศน์การพัฒนากระแสหลัก (ตรงนี้เป็นส่วนที่ อ.เสาวลักษณ์สอน นักศึกษาท่อ 4 ที่ไม่ได้เรียนก็ควรจะอ่านเพราะเป็นเนื้อหาที่สำคัญ)
แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจตามกระแสหลักหรือกระแสทุนนิยมสากลแบ่งออกเป็น  3 ช่วง คือ
1.แนวทางการพัฒนาแห่งชาติ  มีอิทธิพลตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองมาจนถึงทศวรรษที่ 1970 เป็นการพัฒนาตกอยู่ใต้อิทธิพลของ Keynesian Consensus มีแนวคิดว่ารัฐมีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนา ส่งเสริมเศรษฐกิจแบบปิด กลยุทธ์ในการพัฒนาคือการส่งออกสินค้าขั้นปฐมและการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบทดแทนการนำเข้า มีความเข้มงวดในด้านการเงินและการคลัง
2.แนวทางการพัฒนาแบบเสรีนิยมใหม่แบบดั้งเดิม มีอิทธิพลตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Washington Consensus แนวทางนี้ให้ความสำคัญกับปัจเจกชนนิยม ส่งเสริมแนวทางเสรีนิยมทางเศรษฐกิจและส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเปิดสู่โลกภายนอก เน้นการลดบทบาทของภาครัฐ โดยให้รัฐทำหน้าที่เบื้องต้นเท่านั้น เช่น รักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระดับมหภาค จัดหาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่จำเป็น
3.แนวทางการพัฒนาแบบเสรีนิยมใหม่หรือ Post Washington Consensus –PWC มีอิทธิพลช่วงทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา เป็นแนวทางที่มองว่าการเปิดเสรีตาม Washington Consensus ทำให้มีปัญหา Post Washington Consensus (PWC) จึงเสนอให้มีการผสมผสานบทบาทภาครัฐกับการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม (ไม่มากเกินไปแบบแนวทางการพัฒนาแห่งชาติ และไม่น้อยเกินไปตามแนวทางเสรีนิยมใหม่แบบดั้งเดิม) 
ทฤษฎีการพัฒนา (อาจารย์ให้ความสำคัญกับทฤษฎีกลุ่มที่ 4 โดยเฉพาะฉันทานุมัติวอชิงตัน) **เนื้อหาตรงนี้อาจารย์จะสอนเหมือนเดิม และมีความสำคัญยังไงนักศึกษาต้องรู้นะคะ**
กลุ่มที่ 1 ทฤษฎีการเติบโตเป็นเส้นตรง ( Linear Stages of Growth Model) มีอิทธิพลมากในทศวรรษที่ 1950-60 มองว่ากระบวนการการพัฒนาเป็นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะประสบความสำเร็จได้ต้องทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทฤษฎีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย
1.1  ทฤษฎีของรอสทาวน์ กล่าวว่าสังคมจะพัฒนาได้ต้องมี 5 ขั้นตอน คือมองว่าสังคมทุกสังคมจะพัฒนาจากสังคมแบบดั้งเดิม (Traditional Society) เป็นสังคมที่คนยังมีความเป็นอยู่เรียบง่าย ไปสู่ขั้นที่ 2 คือ เป็นช่วงที่สังคมเตรียมเงื่อนไขต่างๆสำหรับความพร้อมในการพัฒนา (Pre Condition for Take Off) ในสังคมนี้จะเริ่มมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบสาธารณูปโภค ระบบการศึกษา การวางรากฐานทางการเมืองที่เอื้อต่อการพัฒนา จากนั้นจะเข้าสู่ช่วง 3 ที่สังคมเริ่มต้นพัฒนาที่เรียกว่าขั้นทะยานขึ้นหรือเริ่มการพัฒนา (Take Off ) ผ่านจากขั้นที่ 3 สังคมจะเข้าสู่ขั้นที่ คือการขับเคลื่อนสู่ความมีวุฒิภาวะ หมายถึงเป็นขั้นที่สังคมเริ่มพัฒนาอย่างเต็มที่  และสุดท้ายสังคมก็จะไปสู่ขั้นเหลือกินเหลือใช้หรือสังคมอุดมโภคา เศรษฐกิจเจริญเติบโต สังคมอุดมสมบูรณ์ ประชาชนได้รับการตอบสนองในความจำเป็นพื้นฐานทุกอย่างที่ต้องการ 
โดยรอสทาวน์กล่าวว่าสังคมยุโรปหรือตะวันตกก็จะผ่านขั้นตอนดังกล่าวก่อนจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในปัจจุบัน อิทธิพลของทฤษฎีทำให้มองว่าประเทศที่ยากจนจะพัฒนาได้ต้องดำเนินรอยตามประเทศที่พัฒนาแล้ว  
อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้จึงใช้ได้กับประเทศตะวันตกเมื่อนำมาใช้กับประเทศกำลังพัฒนาจึงมีปัญหา เนื่องจากโครงสร้างด้านสถาบันและทัศนคติของคนแตกต่างกัน อีกทั้งกลไกในการกระจายรายได้ของประเทศกำลังพัฒนาไม่มีประสิทธิภาพ เช่นประเทศไทยเราอาจจะพัฒนามาถึงขั้นที่ 3 คือเราสามารถพุ่งทะยานสู่การพัฒนาได้ แต่ในที่สุดเราก็ดิ่งจมลงหลังจากเกิดวิกฤติในปี 2540
1.2 ทฤษฎีวัฏจักรความยากจน ทฤษฎีนี้มองว่าการลงทุนเป็นหัวใจสำคัญของการเจริญเติบโต การลงทุนจะนำไปสู่การผลิต รายได้และการออมซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเป็นวัฏจักรเรียกว่ากระบวนการพัฒนา การจะแก้ปัญหาความยากจนต้องทำโดยให้มีการลงทุน
1.3 ตัวแบบการเจริญเติบโตของฮาร้อดด์ – โดมาร์ แนวคิดไม่แตกต่างจากทฤษฎีความยากจนมากนัก เพราะมองว่าการลงทุนเป็นหัวใจของการพัฒนา แต่การจะลงทุนได้ต้องมีเงินออม การที่ประเทศกำลังพัฒนาไม่มีเงินออม ทฤษฎีนี้จึงเสนอให้มีการกู้เงินมาลงทุน 
ขณะเดียวกันทฤษฎีนี้เสนอให้มีการลงทุนในทุนมนุษย์ เพราะมองว่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการพัฒนา ทฤษฎีนี้จึงเน้นให้ลงทุนในการศึกษา การดูแลสุขภาพอนามัยของคนในสังคม
นอกจากนี้ยังเสนอให้ประเทศกำลังพัฒนาแก้ไขปัญหาในเชิงสังคมวัฒนธรรมที่ขัดขวางการพัฒนาด้วย
2.  ทฤษฎีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (The Theories and Patterns of Structural Changes) เสนอให้ประเทศกำลังพัฒนาเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศจากการผลิตแบบเกษตรกรรมไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและนำแรงงานส่วนเกินในชนบทที่เป็นแรงงานแอบแฝงไปทำงานในภาคอุตสาหกรรม โดยมองว่าความเจริญในเมืองหรือในภาคอุตสาหกรรมจะค่อยกระจายไปยังชนบทโดยอัตโนมัติตามแนวคิดที่เรียกว่า Trickle Down Effect  
ทฤษฎีนี้ทำให้ประเทศโลกที่ 3 ทุกประเทศนำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาที่เรียกว่าการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า (Import Substitution Industries :ISI) มาใช้ เป็นการเริ่มต้นเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตจากภาคเกษตรมาเป็นอุตสาหกรรม และในหลายประเทศก็เปลี่ยนมาใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนามาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกในเวลาต่อมา (Export Promotion Oriented) 
อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย คือ
-ทำให้แรงงานจากชนบทไหลเข้าสู่เมือง ทำให้เกิดปัญหาความยากจนในเมือง และชนบทถูกทอดทิ้ง
-ยุทธศาสตร์ ISI แทนที่จะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาลดการขาดดุลแต่ทำให้ขาดดุลมากขึ้น เนื่องจากประเทศโลกที่ 3 ต้องนำเข้าทั้งทุนและเทคโนโลยีในการผลิต จากประเทศที่พัฒนาแล้ว
-ยุทธศาสตร์การผลิตเพื่อส่งเสริมการส่งออกทำให้เศรษฐกิจของประเทศโลกที่ 3 ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก ทำให้การพึ่งพาเพิ่มขึ้น นอกจากพึ่งพาทุน เทคโนโลยีแล้ว ยังต้องพึงพาตลาดต่างประเทศ เช่นเศรษฐกิจไทย ถ้าวันไหนเศรษฐกิจญี่ปุ่น สหรัฐ ยุโรปแย่ประเทศไทยต้องเจ๊งด้วยแน่นอน เพราะตลาดส่งออกหลักกว่า 70 % ของไทยคือ ญี่ปุ่น สหรัฐ และยุโรป 
ทฤษฎีในกลุ่มที่ 2 มีอิทธิพลมาก เพราะกลายเป็นยุทธศาสตร์ที่ให้ทุกประเทศเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตจากภาคเกษตรไปสู่ภาคอุตสาหกรรม 
ตัวอย่างของประเทศไทยแผนพัฒนาฉบับแรกๆ ก็เป็นไปตามทฤษฎีที่ 1 และ 2 โดยมีการตั้งเป้าชัดเจนว่าจะทำประเทศไทยให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม ผลที่เกิดจากการพัฒนาในแนวทางนี้ก็คือปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของประเทศจากภาคอุตสาหกรรมของเรามีสัดส่วนสูงกว่าภาคเกษตร สินค้าส่งออกที่ทำรายได้หลักของเราเป็นสินค้าในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ส่วนภาคเกษตรลดความสำคัญลง
กลุ่มที่ 3 ทฤษฎีการปฏิวัติการพึ่งพาระหว่างประเทศ (The International Dependence Revolution) 
ทฤษฎีนี้ถูกนำมาใช้ในทศวรรษ 1970 เนื่องจากการพัฒนาตาม 2 ทฤษฎีแรกที่เกิดในช่วงทศวรรษแรกของการพัฒนาคือทศวรรษที่ 1960 ได้ก่อให้เกิดปัญหา
ความเคลื่อนไหวในการเสนอทฤษฎีในกลุ่มนี้เริ่มต้นจากนักเศรษฐศาสตร์ในประเทศลาตินอเมริกา ที่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีการพัฒนาใน 2 ทฤษฎีแรกที่มองว่าปัญหาของประเทศโลกที่ 3 เกิดจากปัจจัยภายในของประเทศโลกที่ 3 (เช่นการไม่มีทุน ไม่มีเงินออม หรือมีค่านิยมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนา) 
แต่นักวิชาการกลุ่มนี้มองว่า ความด้อยพัฒนาของประเทศโลกที่ 3 เกิดจากประเทศที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจาก
-ประเทศที่พัฒนาแล้วไปปล้นเอาความมั่งคั่งจากประเทศโลกที่ 3 ในช่วงของการล่าอาณานิคม
-แนวทางการพัฒนาที่ประเทศที่พัฒนาแล้วกำหนด เป็นแนวทางที่ทำให้ประเทศโลกที่ 3 เสียเปรียบ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันและก่อให้เกิดภาวะพึ่งพิง ขณะที่ประเทศพัฒนาได้ยังสามารถดูดซับความมั่งคั่งจากประเทศโลกที่ 3 ได้ต่อไป ผ่านเงื่อนไขทางๆ เช่นการเข้าไปลงทุน การสร้างกติกาทางการค้าระหว่างประเทศ การสร้างกติกาทางการเมืองระหว่างประเทศ
-สุดท้ายความสัมพันธ์ดังกล่าวประเทศโลกที่ 3 ยิ่งยากจนลง ประเทศพัฒนาแล้วยิ่งรวยขึ้น
ทฤษฎีในกลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีพึ่งพา ทฤษฎีระบบโลก ทฤษฎีทวิลักษณะ
แนวคิดกลุ่มที่ 3 มีอิทธิพลของรัฐบาลทั่วโลก หลาย ๆ รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายไปในแนวทางสังคมนิยมอ่อน ๆ ประกอบกับในทศวรรษ 1970 เป็นทศวรรษที่สถานการณ์โลกผันผวน เช่น เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันสองครั้ง (ค.ศ. 1973 และ 1979) สหรัฐฯ แพ้สงครามเวียดนาม ค.ศ. 1975 
ในทศวรรษนี้รัฐบาลส่วนใหญ่ในโลกหันมาใช้นโยบายรัฐสวัสดิการ หมายถึงรัฐเข้าไปรับภาระในกิจการสาธารณูปโภคเพื่อแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน 
กลุ่มที่ 4 The Neoclassical Counter Revolution (ทฤษฎีต่อต้านการปฏิวัติ)
การที่ทฤษฎีกลุ่มชื่อว่าทฤษฎีต่อต้านแนวทางการปฏิวัติ เป็นการสื่อความหมายว่าเป็นการต่อต้านทฤษฎีกลุ่มที่ 3 แต่สาระสำคัญของกลุ่มนี้ก็คือการกลับมาอีกครั้งของทฤษฎีในกลุ่มที่ 1 บวกกับการกลับมาอีกครั้งของแนวคิดของสำนักเศรษฐศาสตร์คลาสสิก หลังจากที่ในช่วง 1970  หลายประเทศนำเอาทฤษฎีของเคนส์มาใช้ (เป็นทฤษฎีที่เสนอให้รัฐเข้ามาแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น ส่วน แนวคิดของสำนักคลาสสิกคือเสรีนิยม)
แนวคิดของกลุ่มนี้มองว่าการที่รัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจทำให้เกิดปัญหาความไร้ประสิทธิภาพ 
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าทฤษฎีกลุ่มนี้ได้หันหาแนวทางเสรีนิยมอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่สังคมนิยมประชาธิปไตยไม่เวิร์ก เป็นแนวคิดที่จะเน้นประสิทธิภาพ (Maximize Profit, Minimize Cost) 
ทศวรรษ 1980 แนวคิดทุนนิยมเสรีจึงกลับมามีอิทธิพลอีกครั้งหนึ่ง และทำให้บทบาทขององค์การระหว่างประเทศอย่าง IMF, World Bank เข้ามาสร้างนักเศรษฐศาสตร์จากสององค์กรนี้ก็เชื่อในนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมเช่นเดียวกัน 
จอห์น วิลเลี่ยมสัน เรียกการกลับมาของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ว่าฉันทานุมัติวอชิงตัน (Washington Consensus) เพราะทำเนียบรัฐบาลสหรัฐฯ กระทรวงการคลัง รัฐสภา สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์แห่งชาติ ที่ตั้งของ IMF, World Bank ล้วนตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
สาระสำคัญของฉันทานุมัติวอชิงตันคือ (ตรงนี้สำคัญมาก)** 
1.  ยกเลิกการควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ปัจจัยการผลิต และการปริวรรตเงินตรา รัฐต้องปล่อยให้ราคาลอยตัวเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
 2.  การกำหนดให้ประเทศต่างๆมีวินัยทางการคลัง 
3.  ให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายสาธารณะ (Public Expenditure) ในด้านการศึกษา สาธารณูปโภค สาธารณสุข รัฐต้องลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหารราชการแผ่นดินและการป้องกันประเทศโดยการปฏิรูประบบราชการ ทำกองทัพให้เล็กลง 
4.  ปฏิรูปภาษี เพื่อเพิ่มรายได้ให้รัฐ 
5.  เปิดเสรีทางการเงิน 
6.  มีอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นเอกภาพและแข่งขันได้ ให้ค่าเงินขึ้นลงตามความเป็นจริง 
7.  เปิดเสรีทางการค้า 
8.  ส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ ยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรค ให้แข่งขันกับบริษัทภายในประเทศภายใต้เงื่อนไขอันเท่าเทียมกัน 
9.  แปรรูปองค์กรภาครัฐ  
10.  ลดกฎระเบียบ ยกเลิกกฎระเบียบที่ซ้ำซ้อนอันจะเป็นอุปสรรคในการลงทุนของต่างชาติและการเข้าสู่เวทีธุรกิจของบริษัทเกิดใหม่ 
ต่อมานายลอเรนซ์ ซัมเมอร์ ได้สรุปหัวใจของฉันทานุมัติวอชิงตันว่าประกอบด้วย 4 ation ได้แก่
1.  Liberalization เปิดเสรีในทุกด้านทั้งการลงทุน การเงิน การค้า การบริการ 
2.  Stabilization การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านราคา การสร้างวินัยทางการเงินการคลัง ปฏิรูประบบภาษี 
3.  Privatization โอนการผลิตจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน ลดบทบาทการควบคุมและลดขนาดของภาครัฐลง เน้นประสิทธิภาพในการทำงาน 
4.  Deregulation ลดการแทรกแซงราคา ลดบทบาทของรัฐ ลดการกำกับควบคุมจากภาครัฐ ลดกฎระเบียบที่หยุมหยิม เน้นการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้     ต่อมาได้มีนโยบายใหม่เพิ่มมาอีกสองข้อคือ 
5.  Democratization ทำระบอบการเมืองการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย รัฐบาลต้องเคารพสิทธิมนุษยชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ   
6.  Good Governance ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ให้ประชาชนเป็นหุ้นส่วนในการบริหาร 
***แนวคิดนี้มีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยของเราต้องดำเนินนโยบายภายใต้กรอบคิดของทฤษฎีนี้ โดยเฉพาะในช่วงที่เราประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เช่น
-ต้องดำเนินนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
-ลดขนาดของภาครัฐด้วยการปฏิรูประบบราชการ
-เปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในกิจการหลายอย่างที่ไม่เคยเปิดมาก่อน
-เปิดเสรีทางการเงิน
กลุ่มที่ 5 ทฤษฎีการเติบโตแบบใหม่ (New Growth Theory) ในขณะที่ทฤษฎีการเจริญเติบโตแบบเก่า (Old Growth Theory) มองว่าการเติบโตต้องอาศัยเงินทุน ตลาด เทคโนโลยีจากภายนอก เป็นการเติบโตที่มิได้มีเป้าหมายในระยะยาว ไม่ยั่งยืน แต่ทฤษฎีการเจริญเติบโตแบบใหม่ให้ความสำคัญกับการเติบโตจากภายในอันจะเป็นการเติบโตในระยะยาว ทำได้โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สร้างสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างนวัตกรรม 
ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีว่าต้องไปด้วยกัน ประเทศต่างๆจะต้องสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เน้นการคิดค้นเทคโนโลยีของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของต่างชาติ
อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ก็คงสามารถทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะการจะพัฒนาเทคโนโลยีจะต้องอาศัยพื้นฐานการพัฒนาที่ยาวนาน ต้องอาศัยการสะสมทุนภายใน ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล
******************
การพัฒนาเศรษฐกิจตามกระแสทางเลือก
ปัจจุบันโลกของเราตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการพัฒนาเศรษฐกิจกระแสหลัก จนทำให้เกิดภาวการณ์พึ่งพา ทั้งพึ่งพาทุน พึ่งพาเทคโนโลยี พึ่งพาตลาดส่งออก จนทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกทั้งโลกกลายเป็นระบบเศรษฐกิจเดียวกัน เช่นเมื่อสหรัฐเกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจะส่งผลกระเทือนไปทั่วโลก 
ขณะเดียวกันการพัฒนาเศรษฐกิจตามกระแสหลักยังก่อให้เกิดปัญญาทางสังคมตามมามากมาย เนื่องจากการพัฒนาตามกระแสหลักอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม ที่เน้นการแข่งขันและสร้างค่านิยมบริโภคนิยม ทำให้คนต้องต้องทำงานหนักเพื่อแข่งขันกับคนอื่นๆ
ปัจจุบันทั่วโลกจึงหันมาสนใจการพัฒนาทางเลือกมากขึ้น ในสังคมไทยเองนักวิชาการก็ได้นำเสนอแนวคิดในการพัฒนาทางเลือกเอาไว้มากมาย เช่น
แนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
1. แนวทางวัฒนธรรมชุมชน
เป็นแนวทางที่มองว่าชุมชนมีความสำคัญ ไม่ใช่ในแง่ของความเป็นสถาบันแต่สำคัญในแง่ที่ว่าเป็นสัญลักษณ์ของคุณค่าการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และพฤติกรรมทางจริยธรรมที่สำคัญของมนุษย์ ชุมชนชนบทอาจมีทุนทางเศรษฐกิจน้อย ทุนมนุษย์ต่ำ แต่มีทุนทางสังคมในระดับสูง และสามารถนำเอาทุนทางสังคมมาใช้พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนได้
เช่นนายแพทย์ประเวศ วะสี เสนอว่าการพัฒนาชุมชนอาจจะทำโดยนำเอาหลักการศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการละความโลภ นำชุมชนไปสู่การพึ่งตนเอง ความพอเพียง เลิกเห็นแก่ตัว ไม่สะสม รู้จักพอ เมื่อรู้จักพอก็มีความสุข 
2. แนวทางสิทธิชุมชน
เป็นแนวที่แตกตัวไปจากแนววัฒนธรรมชุมชน โดยมองว่าแนวทางวัฒนธรรมชุมชนเป็นแนวคิดที่ตั้งรับเกินไป การพึ่งตนเองบางครั้งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับชาวบ้านหลายคนเพราะเข้าไม่ถึงทรัพยากรธรรมชาติ ไม่สามารถเรียกร้องทวงสิทธิตามกฎหมายทั้ง ๆ ที่มีสิทธิตามธรรมชาติ 
แนวทางนี้จึงเสนอให้ชุมชนใช้แนวคิดเรื่องสิทธิ เพื่อปกป้อง เรียกร้องให้ชุมชนได้เข้าถึงทรัพยากร เช่นที่ดิน ป่า และน้ำได้อีกครั้งหนึ่ง นั่นคือนำแนวคิดสิทธิมนุษยชนโดยธรรมชาติผสานกับวัฒนธรรมชุมชนเป็นยุทธศาสตร์แนวรุกอีกอันหนึ่ง 
3. แนวทางชุมชนาธิปไตย
เป็นแนวทางที่มองว่าชุมชนจะเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ก็ต่อเมื่อมีอธิปไตยในทางเศรษฐกิจ สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองไม่ต้องพึ่งพิงตลาดภายนอกมากนัก ไม่ต้องตกเป็นเบี้ยล่างของคนกลาง และมองไกลไปถึงขั้นที่สร้างวิสาหกิจชุมชน สร้างเครือข่ายธุรกิจในชุมชน
สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราจะไปถึงเป้าหมายของการพัฒนาคือการขจัดความยากจน ทำให้ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิม มีการเพิ่มรายได้ ทำให้ประชาชนมี
ชีวิตที่ดี มีความรู้ สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นและพอเพียงกับการยังชีพ มีศักดิ์ศรี ได้รับการยอมรับจากสังคม ต้องทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น 
แนวทางการพัฒนาของภูฐาน
ประเทศภูฐานเน้นการพัฒนาโดยมีตัวชี้วัดคือ ดัชนีชี้วัดความสุข (GDH-Gross Domestic Happiness) หรือความสุขมวลรวมแห่งชาติ 
องค์ประกอบ 4 ประการของ GDH คือ
- การพึ่งตัวเองทางเศรษฐกิจ
- การคงสภาพแวดล้อม
- การเน้นวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม    
-ธรรมาภิบาล (Good governance)
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (Efficiency Economy) มีหลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขคือ
-ห่วงแรกคือ ความพอเพียง พอดี พอประมาณ
-ห่วงสอง คือ มีเหตุผล ไม่ทำอะไรเกินตัว
-ห่วงที่สามคือมีภูมิคุ้มกัน หายใจด้วยจมูกของตนเอง ยืนด้วยลำแข้งตนเอง 
-เงื่อนไขแรก คือ ศึกษาหาความรู้
-เงื่อนไขสอง มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ขยันหมั่นเพียร มานะอดทน 
    แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องเริ่มต้นที่คนแต่ละคนก่อน หากคนแต่ละคนสามารถทำตามแนวทางนี้ได้คนแต่ละคนหรือปัจเจกชนก็จะพึ่งพาตนเองได้ เมื่อพึ่งพาตนเองได้ ก็จะมีการรวมกลุ่มกับคนอื่นทำให้เกิดเป็นกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง จากกลุ่มก็สามารถสร้างเครือข่ายขึ้นมาเป็นเครือข่ายที่ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า ที่สามารถพึงพาตนเองได้อย่างแท้จริงทั้งสังคม
    นอกจากนี้ยังมีแนวทางเลือกอีกมาก เช่นเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ 

การพัฒนาแนวทางเลือกกับโลกาภิวัตน์
อย่างไรก็ตามโลกปัจจุบันเป็นโลกในยุคโลกาภิวัตน์ การจะพัฒนาตามแนวทางเลือกในขณะที่สังคมไทยได้เปิดประเทศรับเอาระบบทุนนิยมมาอย่างเต็มตัวนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปยากมาก (และจนบัดนี้เรายังไม่สามารถ)
แต่ ถ้าเราพึ่งพาตนเองได้ มีการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง เราก็จะเข้าสู่โลกาภิวัตน์ได้ โดยมีภูมิคุ้มกัน มีความพอประมาณในระดับก้าวหน้า เราจะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้ เพราะมีการพิจารณาทุกสิ่งอย่างรอบคอบ มีเหตุผล มีการช่วยเหลือกัน สุดท้ายแล้วแนวการพัฒนาทางเลือกก็สามารถที่จะใช้ได้อย่างสอดรับกับโลกาภิวัตน์
************************
การพัฒนาการเมือง
    ปัจจุบันโลกทั้งโลกมีการพัฒนาการเมืองไปตามกระแสหลักคือ การพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นไปตามระเบียบโลกใหม่ (New World Order) ที่สหรัฐเป็นผู้ประกาศเอาไว้ตั้งแต่หลังสงครามเย็น หากประเทศไหนไม่เป็นประชาธิปไตยก็จะถูกต่อต้าน (เช่นพม่า)
ประเทศไทยของเราก็มีความพยายามจะพัฒนาการเมืองให้เป็นการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน ประเทศไทยเก้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยก่อนประเทศอื่นๆ เนื่องจากในปีที่เรามีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือปี 2475 นั้นประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นประเทศอาณานิคม
แต่ 76 ปีของการพัฒนาประชาธิปไตยก็พบว่าประชาธิปไตยของเรายังไม่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้ เนื่องจากการพัฒนาการเมืองของเราตกอยู่ภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า วงจรอุบาทว์ทางการเมือง 
เพราะตลอด 76 ปี การเมืองไทยได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองในลักษณะของการก่อการกบฏและการรัฐประหารมากถึง 22 ครั้ง เนื่องจากทหารเข้ามาใช้กำลังในการยึดอำนาจการปกครองทั้งที่สำเร็จและล้มเหลวเฉลี่ย 1 ครั้งทุกๆ 3.4 ปี ทำให้โดยรวมแล้วคนไทย จึงอยู่ภายใต้ระบบการปกครองแบบเผด็จการทหารมากกว่าประชาธิปไตย นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีรัฐธรรมนูญมาแล้วถึง 16 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีอายุการใช้งานเฉลี่ยฉบับละ 4 ปี 7 เดือน 
ทั้งนี้การจะอธิบายการพัฒนาการเมืองของไทยนั้นจะต้องมีทฤษฎีในการอธิบาย 
ทฤษฎีการพัฒนาทางการเมือง
    1.ตัวแบบการพัฒนาในแบบวิวัฒนาการ (Evolution)หรือตัวแบบเส้นตรง หรือการพัฒนาแบบขั้นบันใด เป็นตัวแบบที่มองว่าการเมืองจะมีการพัฒนาเป็นลำดับขั้นจากขั้นต่ำไปสู่ขั้นสูง เช่นเริ่มจากการที่ประชาชนในประเทศได้สิทธิในความเป็นคน ตามมาด้วยสิทธิในความเป็นพลเมือง สิทธิในทางการเมือง และสิทธิอื่นๆในขั้นสูง
    ตัวแบบการพัฒนาเป็นเส้นตรงเป็นตัวแบบ ที่ใช้ได้กับประเทศที่พัฒนาแล้วที่การเมืองมีการพัฒนามาเป็นเวลานาน
    2.ตัวแบบวงจรอุบาทว์ เป็นตัวแบบการพัฒนาการเมืองที่ใช้อธิบายสังคมไทยได้ เนื่องจากพัฒนาการทางการเมืองของไทยเป็นการเปลี่ยนแปลงจากเป็นวงจร โดยมีทั้งวงจรแบบเก่าและวงจรแบบใหม่คือ
    -วงจรแบบเก่า จะเป็นวงจรที่เริ่มจากการเลือกตั้งมีรัฐบาลเข้ามาบริหาร แต่ต่อมาก็เกิดปัญหามีความวุ่นวายทำให้ทหารเข้ามาทำการปฏิวัติรัฐประหารด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง ต่อมาเมื่อทหารปกครองไปได้ระยะหนึ่งคนก็จะมองว่าเป็นเผด็จการก็จะมีการเรียกร้องสิทธิการเมืองตามมาด้วยการให้มีการเลือกตั้ง มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็สร้างปัญหาทำให้ทหารทำรัฐประหาร อีกครั้ง หมุนเวียนไปเรื่อย
    วงจรแบบนี้จะเกิดขึ้นกับการเมืองไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนถึงสมัยก่อนพลเอกเปรม แต่พอมาถึงสมัยพลเอกเปรมการเมืองไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงจากวงจรแบบเก่าสู่วงจรแบบใหม่
    -วงจรแบบใหม่ จะเริ่มจากการเลือกตั้ง มีการซื้อเสียง เมื่อเข้ามารับตำแหน่งจึงมีการถอนทุน จนทำให้เกิดความวุ่นวายตามมาด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และการยุบสภา จากนั้นก็เลือกตั้งใหม่ ซื้อเสียง เข้ามาบริหารประเทศแล้วถอนทุน เกิดความวุ่นวายนำไปสู่การอภิปราย ต่อด้วยการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่
    วงจรนี้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัฐบาลชวน บรรหาร ชวลิต หลังจากที่เรามีการปฏิรูปการเมืองในปี 2540 เราก็หวังว่าการเมืองไทยจะพัฒนาเป็นเส้นตรง แต่สุดท้าย 19 กันยายน 2549 ทหารก็เข้ามายึดอำนาจอีกครั้ง
3.การพัฒนาทางการเมืองตามแนวคิดของลูเชียน พาย
    ลูเชียน พายได้เสนอว่าระบบการเมืองที่จะพัฒนาแล้วนั้นจะมีลักษณะต่างๆ คือ     
1.การเมืองที่พัฒนาแล้วเป็นเงื่อนไขของการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเด็นนี้หมายถึงถ้าสังคมใดมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมนั้นจะมีโอกาสในการพัฒนาการเมืองค่อนข้างสูง
     2.การพัฒนาการเมืองจะเกิดในสังคมอุตสาหกรรม (The Politics Typical of Industrial Society) 
    เนื่องจากการผลิตในระบบอุตสาหกรรมเป็นระบบการผลิตที่มีแนวคิดแบบทุนนิยมอยู่เบื้องหลัง ทุนนิยมเน้นการแข่งขันอย่างเสรี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดแบบประชาธิปไตยที่เป็นระบอบการเมืองที่เปิดกว้าง
    3.การพัฒนาการเมืองคือความทันสมัยทางการเมือง (Political Modernization) หรือพูดได้ว่าการเมืองที่มีความทันสมัยคือการเมืองที่พัฒนาแล้ว  
    4.ต้องพัฒนาภายใต้กลไกความเป็นรัฐ – ชาติ (The Operation of a Nation – state) 
5.ต้องพัฒนากฎหมายและการบริหาร (Administrative and Legal Development) 
    6.ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (Mass Mobilization and Participation) ตรงนี้มีความหมายว่าการเมืองที่จะพัฒนาจะต้องมีการระดมองค์ความรู้ของคนทั้งประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐให้กว้างขวางที่สุด
ระบบการเมืองสมัยใหม่ถ้าจะให้มีประสิทธิภาพต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกรูปแบบ ยิ่งกระจายอำนาจประชาชนก็ยิ่งมีส่วนร่วมมากขึ้น 
7.ต้องสร้างประชาธิปไตย (Building of Democracy)
8.การเมืองมีเสถียรภาพเปลี่ยนแปลงโดยกฎระเบียบตามครรลองของประชาธิปไตย (Stability and Orderly Change) การเมืองที่จะได้ชื่อว่าเป็นการเมืองที่พัฒนาแล้วจะต้องเป็นการเมืองที่มีเสถียรภาพและมีการเปลี่ยนแปลงตามกติกา หรือตามกฎหมาย เช่น มีการเลือกตั้งทุก 4 ปี ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยการปฏิวัติ หรือด้วยการยึดอำนาจ
9.การเมืองที่พัฒนาจะต้องเป็นการเมืองที่มีความสามารถในการระดมพลังจากประชาชนในการสร้างอำนาจของชาติได้ (Mobilization and Powers)
10.การเมืองที่พัฒนาแล้วจะเป็นการเมืองที่สร้างมิติที่หลากหลายในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (One Aspect of Multidimensional Process of Social Change)
4.การพัฒนาการเมืองตามแนวคิดของแซมมวล พี. ฮันติงตัน (Samuel P. Huntington) ที่กล่าวว่าการเมืองที่พัฒนาคือการทำให้ระบบการเมืองทันสมัย (Political Modernization) ซึ่งการเมืองที่ทันสมัยจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
1. ความมีเหตุผลของอำนาจ (Rationalization of Authority) ไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ 
2. สถาบันทางการเมืองมีการทำหน้าที่ตามความชำนาญเฉพาะ (Differentiation and Specialization) 
 3. การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation)
***ถ้าอาจารย์ถามว่าการเมืองไทยมีการพัฒนาหรือไม่ นักศึกษาต้องเอาทฤษฎีเหล่านี้ไปวิเคราะห์ เช่นหากเอาตามแนวคิดของ ฮันติงตันเราก็ต้องยอกว่า การใช้อำนาจทางการเมืองของไทยมีเหตุผลหรือไม่ ถ้าไม่มีเหตุผลก็แสดงว่าไม่พัฒนา สถาบันทางการเมืองทำหน้าที่เฉพาะด้านหรือไม่ หากไม่ทำแสดงว่าไม่พัฒนา หรือประชาชนมีส่วนร่วมทาวการเมืองหรือไม่ หากไม่มีส่วนร่วมก็ไม่ถือว่าเป็นการพัฒนา **
การพัฒนาการเมืองของไทย
การเมืองไทยนั้นเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในระยะแรกกลุ่มที่มีบทบาทในการเมืองไทยคือข้าราชการโดยเฉพาะสถาบันทหาร เป็นสถาบันที่เข้ามามีบทบาทและครอบงำการเมืองไทยอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในยุค 3 จอมพล ในช่วงนี้การเมืองของเราจึงมีลักษณะเป็นเผด็จการ 
    ต่อมาเมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และ 6 ตุลาคม ส่งผลให้ประชาธิปไตยเริ่มเบ่งบานมากขึ้น แต่ยังเป็นลักษณะประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ เพราะทหารยังมีบทบาทอยู่ ขณะที่พรรคการเมืองมีบทบาทน้อยมาก 
    จนกระทั่งมาถึงสมัยของพลเอกชาตินับว่าเป็นช่วงที่ประชาธิปไตยไทยมีการพัฒนามากขึ้นเนื่องจากนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง 
    การเกิดเหตุการณ์ รชส. เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ทหารถูกตั้งคำถามว่าทหารไม่มีความชอบธรรมที่จะมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง และเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลให้ทหารถอยกลับเข้ากรมกอง และทำให้การเมืองไทยเป็นการเมืองของพรรคการเมืองมากขึ้น
    แต่การเมืองของพรรคการเมือง หรือการเมืองแบบมีตัวแทนก็สร้างปัญหา โดยเฉพาะการที่ตัวแทนของประชาชนเป็นคนที่ไม่มีคุณภาพ โกงกิน คอรัปชั่น ปัญหาดังกล่าวนำมาสู่การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองโดยการออกรัฐธรรมนูญในปี 2540 
    เป้าหมายของการปฏิรูปการเมืองก็เพื่อให้การเมืองเป็นการเมืองของพลเมืองแทนที่จะเป็นการเมืองของ ส.ส. ทุกวันนี้การเมืองไทยจึงเป็นขั้นตอนของความพยายามที่จะเปลี่ยนประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Democracy) มาเป็นการเมืองแบบมีส่วนร่วมหรือ Participatory Democracy
นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายให้การเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
หลังจากการปฏิรูปทางการเมืองผ่านไป 5 ปี เป้าหมายหนึ่งที่นับว่าประสบความสำเร็จก็คือการมีเสถียรภาพของการเมือง กล่าวคือเวลานี้ประเทศไทยมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพสูง เนื่องจากพรรคไทยรักไทยที่เป็นพรรครัฐบาลสามารถครองเสียงข้างมากใน จนกระทั่งถูกวิจารณ์ว่าการเมืองไทยกำลังก้าวไปสู่เป็นเผด็จการทางรัฐสภา (เหมือนกับสิงคโปร์และมาเลเซียท) 
    ปัญหาดังกล่าวทำให้ในช่วงที่ผ่านมาสังคมเกิดวิกฤตทางการเมืองที่เรียกว่าวิกฤติความขัดแย้งทางความคิดถือว่าเป็นครั้งแรกที่สังคมไทยเกิดความร้าวฉานขนาดนี้
    สุดท้ายเมื่อปัญหามีความรุนแรงและดูจะไม่มีทางออก ทหารจึงเข้ามายึดอำนาจ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ทำให้สังคมไทยถูกตั้งคำถามว่า วิถีทางประชาธิปไตยไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาของสังคมไทยได้ใช่หรือไม่ 
    เวลานี้พันธมิตรประชาขนเพื่อประชาธิปไตยกำลังเสนอแนวคิดการเมืองใหม่ ซึ่งนักศึกษาต้องคิดว่ามีความเหมาะสมและจะนำมาใช้ได้หรือไม่
    อย่างไรก็ตาม แนวคิดหนึ่งที่สำคัญมากและถือเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาการเมืองไทย คือการทำให้การเมืองเป็นของพลเมือง
การเมืองภาคพลเมือง หมายถึงการเมืองที่เน้นบทบาทตัวแสดงที่อยู่ในภาคประชาชนและจำกัดหรือลดอำนาจของภาครัฐให้ลดลง อาจจะเรียกว่าการเมืองที่ไม่เป็นทางการ (Informal Politics)      การแสดงทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการเช่นการประท้วง การจลาจล การดื้อแพ่งต่ออำนาจรัฐ การปิดถนน รูปแบบของการเมืองใหม่จึงมีหลากหลายรูปแบบ แต่เป็นการแสดงออกโดยประชาชนทุกระดับ 
    การเมืองของพลเมือง (Civil Politics) เป็นการเมืองของชาวบ้าน ไม่ใช่การเมืองของนักการเมืองหรือของพรรคการเมือง 
    อาจจะเรียกว่า New Politics ที่ประเด็นทางการเมืองมีการขยายอาณาบริเวณไปจนไร้ขอบเขต การเมืองใหม่ไม่ใช่การเมืองที่ต่อสู้กันเพื่อตำแหน่งก้าวอี้ในรัฐบาลหรือในรัฐสภา แต่เกี่ยวข้องกับทุกเรื่องที่เป็นประเด็นสาธารณะ เช่นความขัดแย้งในเรื่องสิทธิสตรี สิทธิมนุษย์ เรื่องของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เขื่อน ป่าไม้ การแย่งชิงทรัพยากร การเมืองเรื่องเพศ เรื่องของคนกลุ่มน้อยในสังคม 
    การเมืองแบบพลเมืองอาจจะเรียกว่าการเมืองแบบ Movement Politics ที่ตัวแสดงทางการเมืองไม่ใช่พรรคการเมือง นักการเมือง หรือองค์กรธุรกิจเอกชนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเมืองที่เน้นบทบาทของตัวแสดงใหม่ที่เรียกว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) ที่เป็นทั้งกลุ่มและปัจเจกชน
อย่างไรก็ตามแม้ว่าปัจจุบันการเมืองไทยกำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านจากการเมืองแบบตัวแทนไปสู่การเมืองแบบพลเมือง แต่ภาคพลเมืองก็ยังขาดความเข้มแข็งอย่างแท้จริง 
สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการเมืองภาคพลเมืองคือการที่พลเมืองมีจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมือง หรือที่เรียกพลเมืองธรรม (Civic Virtue) ซึ่งหมายถึงการที่ประชาชนทุกคนมีจิตสำนึกทางการเมือง ตระหนักถึงปัญหาของสังคม (ต้องคิดว่าปัญหาของสังคมคือปัญหาของตนเอง) และต้องลงมือแสดงออกซึ่งการแก้ไขปัญหานั้น 
******************












ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมืองและการบริหาร
(อาจารย์สมิหรา)
ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และการบริหารก่อให้เกิดความสัมพันธ์ของการพัฒนา ดังรูป










    

กล่าวคือการทุ่มเทหรือส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) มีสูง (ความสัมพันธ์เป็นบวก) การเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงมีผลต่ออัตราการเติบโตของประชากรเพิ่มมากขึ้นในระยะแรก แต่การพัฒนาเศรษฐกิจมาได้สักระยะหนึ่งการเพิ่มขึ้นของประชากรจะลดลง 
อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรขึ้นอยู่กับการวางแผนด้านกำลังคน  ถ้าวางแผนกำลังให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศกำลังคน การพัฒนาก็จะทำได้ดี เช่นประเทศไทยเราวางแผนพัฒนาให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมเกษตรแต่พบว่าเราไม่มีกำลังคนในกิจการด้านอุตสาหกรรมเกษตร จนต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว เช่นแรงงานในฟาร์มต่างๆ
    ถ้าอัตราการเติบโตของประชากรมากจะมีผลต่อการลดลงของการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะคนบริโภคได้มากกว่าผลผลิต
    การเพิ่มขึ้นของประชากรนำมาซึ่งความรุนแรงทางทางสังคม  (Mass Violence) เนื่องจากคนต้องแย่งกันกินแย่งกันใช้ แต่ถ้าอัตราเติบโตสูงความรุนแรงทางสังคมก็จะลดลง 
นอกจากนี้ถ้ามีการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจรายได้ของรัฐจะมาขึ้นจะมีผลทำให้มีการเพิ่มรายจ่ายของรัฐในทางพลเรือน (Government Expenditure) ซึ่งทำให้ระบบรัฐสวัสดิการ (Social Welfare) ดีขึ้น เช่นการลงทุนด้านสาธารณสุข ระบบสาธารณูปโภค การลงทุนด้านการศึกษา ก็จะผลทำให้ความรุนแรงทางสังคมลดลง
อย่างไรก็ตามหากสังคมใดเป็นสังคมที่เปิดโอกาสมีการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Mobilized) สูงความรุนแรงทางสังคมก็จะลดลงได้ 
ความเคลื่อนไหวทางสังคมคือการเปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคม ซึ่งคนในสังคมสามารถเปลี่ยนสถานะทางสังคมได้หลายๆทาง เช่นการศึกษาทำให้คนเปลี่ยนสถานะได้ เช่นคนยากจนที่ได้รับการศึกษาก็อาจจะเปลี่ยนตนเองเป็นคนมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดี
การเคลื่อนไหวทางสังคมมีผลทำให้โครงสร้างทางอำนาจในสังคมเปลี่ยนแปลงไปได้อีกด้วย 
ในทางกลับกันการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีสูงก็อาจจะช่วยทำให้เกิดความรุนแรงทางสังคมเพิ่มขึ้นก็ได้ เพราะบางครั้งคนที่มีการศึกษาดีขึ้น มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นก็จะเรียกร้องต้องการมากขึ้น (เข้ามีส่วนร่วมทางสังคมและการเมืองมากขึ้น และอาจจะนำไปสู่ความรุนแรงทางการเมือง) และจากการวิจัยพบว่าตัวที่กำหนดการมีส่วนร่วมทางสังคมคือระดับรายได้หรือความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ 
นโยบายพัฒนาทางสังคม แบ่งออกเป็น 
1.นโยบายกระจายผลประโยชน์ (Distributive) หมายถึงนโยบายการแบ่งสรรผลประโยชน์ที่มีอยู่ในสังคม
2.นโยบายกระจายผลประโยชน์ซ้ำ (Redistributive) หมายถึงนโยบายที่เน้นการกระจายผลประโยชน์ซ้ำให้กับคนที่ด้อยโอกาสกว่าในสังคม 
เช่นนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีโควตาพิเศษในการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ
3.นโยบายคุมประพฤติ (Regularity) เป็นนโยบายเน้นการออกกฎระเบียบ เพื่อควบคุมคนในสังคม
4.นโยบายในภาวะวิกฤติ
จาก 4 นโยบายดังกล่าวบทบาทของหน่วยงานในการผลักดันนโยบาย จะแตกต่างกัน คือ
1.นโยบายการจัดสรรหรือกระจายผลประโยชน์ บทบาทหลักจะอยู่ที่ข้าราชการ และกรรมาธิการ 
2.นโยบายการกระจายผลประโยชน์ซ้ำ บทบาทหลักจะอยู่ที่สภา รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์ เพราะเป็นการทบทวนนโยบายการกระจายประโยชน์ให้อีกครั้ง  
3.นโยบายควบคุมพฤติกรรม บทบาทในการผลักดันนโยบายจะพอกันๆระหว่างสถาบันต่างๆทั้งข้าราชการ ผู้นำฝ่ายบริหาร รวมทั้งฝ่ายการเมือง (รัฐสภา) 
4.นโยบายภายใต้ภาวะวิกฤติ บทบาทหลักจะอยู่ผู้นำฝ่ายบริหารและการเมือง
*************************************
แนวข้อสอบเก่า ปี 2007 
1.อาจารย์สมิหรา ออก 
ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจการเมืองและสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร 
2.เสาวลักษณ์
ความแตกต่างระหว่างแนวคิดแบบเคนส์กับฉันทานุมัติวอชิงตันแล้วให้เลือกอธิบายทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง
3.อาจารย์พิมล
การพัฒนาชุมชนของนักศึกษา (ดูจากการทำรายงาน)มีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาของต่างประเทศอย่างไร
4.อาจารย์สุรพล
ตั้งแต่ 2475 ประเทศไทยมีการพัฒนาการเมืองหรือไม่ อย่างไร 
***แนวปีนี้***
1.อาจารย์พัดเป็นการสอนครั้งแรก  อยากให้สนใจเรื่องการพัฒนาประเทศกับโลกาภิวัตน์ (เราจะพัฒนาประเทศอย่างไรให้เหมาะกับยุคโลกาภิวัตน์)
2.อาจารย์เสาวลักษณ์ยังให้ความสำคัญกับฉันทานุมัติวอชิงตัน (บอกสาระสำคัญได้ บอกการนำมาใช้ในประเทศไทยได้ และบอกผลกระทบของการนำมาใช้ในประเทศให้ได้)
3.อาจารย์พิมล ยังให้ความสนใจกับการพัฒนาชุมชน และเชื่อมโยงกับการพัฒนาระโลก (บริบทระหว่างประเทศ)
4.อาจารย์สุรพล การพัฒนาการเมือง
5.อาจารย์สมิหรา (ไม่แน่ใจค่ะ)


























                สรุป PS 705 

    วิชา PS 705  แนวคิดและทฤษฎีการบริหารรัฐกิจมีผู้บรรยาย 3 ท่านคือ
    1.ดร.รวิภา ธรรมโชติ บรรยายทฤษฎีองค์การ 3 ยุค
-ยุค Orthodoxy
-ยุค Social Science Heterodoxy 
-ยุค New PA-New Public Administration 
    2.ดร.ดำรงศักดิ์ จันโททัย บรรยายเรื่อง
    -การบริหารการพัฒนา
    -การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ
    3.ดร.วิโรจน์ ก่อสกุล
    -พาราไดม์ในการบริหารรัฐกิจ
    -นโยบายสาธารณะ
    ในสัปดาห์สุดท้าย อาจารย์แต่ละท่าน น่าจะบรรยายเรื่อง การบริหารรัฐกิจแนวใหม่ (NPM) ซึ่งเป็นแนวคิดการบริหารงานในปัจจุบัน รวมทั้งเทคนิคการบริหารงานภาครัฐยุคใหม่
    ดังนั้นก่อนจะสรุปเนื้อหาหลักของอาจารย์แต่ละท่าน ขอนำเสนอภาพรวมของวิชาการบริหารรัฐกิจก่อนดังนี้
    ภาพรวมวิชา PS 705 
    วิชาแนวคิดและทฤษฎีในการบริหารรัฐกิจ เป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการศึกษาวิชาใน Plan C อื่น คือ 707 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 708 องค์การและการจัดการ และ 711 นโยบายสาธารณะ
    ดังนั้นในวิชานี้จึงอาจารย์จึงนำเสนอถึงขอบข่ายและพัฒนาการของวิชาให้นักศึกษาเข้าใจ ก่อนจะลงไปในรายละเอียดของบางขอบข่าย แต่บางขอบข่ายก็พูดกว้างๆ เพราะบางเรื่องจะได้ลงลึกในวิชาเฉพาะต่อไป
    พัฒนาการของวิชา
    ในการศึกษาเรื่องพัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจ มักจะมีการศึกษาอยู่ 2 แนวคือ
1.    การศึกษาพัฒนาการของวิชาบริหารรัฐกิจในเชิงพาราไดม์ 
2.    การศึกษาโดยแบ่งแนวคิดออกเป็นยุค
พาราไดม์ (Paradigm) ในการบริหารรัฐกิจ
พัฒนาการของรปศ. ตามมุมมองของ Nicholas Henry แบ่งออกเป็น 5 ยุค ได้แก่
พาราไดม์ที่ 1 การแยกการเมืองและการบริหารออกจากกัน (The Politics/ Administration Dichotomy)
พาราไดม์นี้เกิดจากในยุคเริ่มต้นของวิชาการบริหารรัฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเวลานั้นมีปัญหาฝ่ายการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหาร ทำให้นักวิชาการมองว่าถ้าจะให้การบริหารเกิดประสิทธิภาพ ต้องแยกการเมืองออกจากการบริหารอย่างเด็ดขาด โดยให้ฝ่ายการเมืองทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและฝ่ายบริหารทำหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
นักคิดสำคัญๆ ในพาราไดม์นี้ เช่น
-วู๊ดโร วิลสัน
-แฟรงค์ เจ. กู๊ดนาว
-วิลเลี่ยม วิลเลอสบี้
นักคิดในพาราไดม์นี้มองว่าหากแยกการเมืองออกจากการบริหารแล้ว จะทำให้เกิด สิ่งต่างๆคือ
-Administrative Reform การปฏิรูประบบราชการ
-Good Governance การได้ผู้บริหารที่ดี
-Strong Executive การบริหารมีความเข้มแข็งและมั่นคง และ
-Rational and Efficient Bureaucracy ระบบราชการต้องดำเนินการไปอย่างมีเหตุมีผลและมีประสิทธิภาพ
พาราไดม์ที่ 2 หลักการบริหาร (The Principles of Administration)
หลังจากแยกการเมืองออกจากการบริหารแล้วนักคิดทางบริหารรัฐกิจจึงพยายามเสนอหลักการในการบริหาร โดยมองว่าในการบริหารรัฐกิจควรจะมีหลักการบริหารที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหาร ในพาราไดม์นี้จึงเกิดการนำเสนอหลักการบริหารมากมาย เช่น
-เฮนรี่ ฟาโยล นำเสนอหลักการบริหารที่เรียกว่า POCCC (ต่อมาขยายออกเป็น 14 ข้อ )
-กุลลิกและอูริค เสนอ POSDCORB 
-เฟรดเดอริก เทเลอร์ เสนอ การจัดการแบบวิทยาศาสตร์
-แมกซ์ เวเบอร์ เสนอ แนวคิดการบริหารงานในองค์กรขนาดใหญ่ (Bureaucracy)
พาราไดม์ที่ 3 รัฐประศาสนศาสตร์คือรัฐศาสตร์ (Public Administration as Political Science) 
เป็นพาราไดม์ที่ตอบโต้พาราไดม์ที่ 1 ว่าในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถแยกการเมืองออกจากการบริหารได้ เพราะฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหารต้องทำงานร่วมกัน ขณะเดียวกันปัจจัยทางการเมืองมักจะส่งผลต่อการบริหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นักคิดในพาราไดม์นี้เช่น
-พอล แอบเพิลบี้ 
-John M. Guas 
-เชสเตอร์ ไอ. บาร์นาร์ด
-ดไวท์ วอลโด 
พาราไดม์ที่ 4.รัฐประศาสนศาสตร์คือการจัดการ (Public Administration as Management)
เป็นช่วงที่วิชาการบริหารรัฐกิจได้รับอิทธิพลจากวิชาการบริหารธุรกิจ พร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้มองว่าการบริหารรัฐกิจก็คือศาสตร์แห่งการจัดการ ในพาราไดม์นี้จึงมีการนำเอาแนวคิดการจัดการของเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
ตัวอย่างเทคนิคในการบริหารที่นำมาใช้ในช่วงนี้ เช่น
- System Analysis (การวิเคราะห์ระบบ)
-Operation Research (การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
-Decision Making (การวิเคราะห์การตัดสินใจ)
นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการบริหารงานในยุคใหม่มากมาย 

พาราไดม์ที่ 5.รัฐประศาสนศาสตร์คือรัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration as Public Administration)
ในพาราไดม์นี้นักวิชาการบริหารรัฐกิจมองว่าที่ผ่านมาวิชาบริหารรัฐกิจขาดความเป็นตัวของตัวเอง ในพาราไดม์นื้จึงมุ่งหวังที่จะให้วิชาการบริหารรัฐกิจมีเอกลักษณ์ของตนเอง 
โดยมองว่าแนวคิดในการบริหารรัฐกิจที่สำคัญคือแนวคิดที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางสังคม โดยให้ความสำคัญกับการนำเอาแนวคิดไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของสังคมได้อย่างแท้จริง
ความสนใจของบริหารรัฐกิจในพาราไดม์นี้จึง ค่านิยม ความเสมอภาคในสังคม สนใจศึกษาปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจริง
2.พัฒนาการของวิชาที่แบ่งออกเป็นยุคๆ นักวิชาการจะแบ่งต่างกัน แต่อาจารย์วิโรจน์นำเสนอการแบ่งของอาจารย์พิทยา บวรวัฒนา ที่แบ่งออกเป็น
ยุคที่ 1 ทฤษฎียุคดั้งเดิม
ยุคที่ 2 ยุคท้าทายครั้งแรก
ยุคที่ 3 ยุคท้าทายครั้งที่ 2 
ยุคที่ 3 ยุคปัจจุบัน
ขอบข่ายของวิชาการบริหารรัฐกิจ
    จากพัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดสาขาวิชาที่อยู่ภายใต้วิชาการบริหารรัฐกิจมากมาย ซึ่งอาจารย์แต่คนละคนก็จะแบ่งต่างกัน 
    อาจารย์ระวิภา แบ่งออกเป็น 4 ขอบข่ายโดยใช้เกณฑ์ 
-เกณฑ์เน้นองค์การ 
-เน้นมนุษย์ 
-เน้น Subjective หรือแนวคิดที่เป็นนามธรรมที่นำไปปฏิบัติได้ยาก
-Objective แนวคิดที่เป็นรูปธรรมที่นำไปปฏิบัติได้
ในการบรรยายวิชานี้อาจารย์แต่ละท่านจะเน้นไปที่ขอบข่ายขององค์การ คือ
-อาจารย์ระวิภาสอนทฤษฎีองค์การ (Organization Theory)
-อาจารย์ดำรงศักดิ์สอนเรื่อง การบริหารการพัฒนา และการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ
ทฤษฎีองค์การ (อ.ระวิภา)
ทฤษฎีองค์การก็จะมีพัฒนาการที่คล้ายกับพัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจ ซึ่งอาจารย์ระวิภาได้แบ่งทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 ยุค ดังรูป 
        





         Organization Theory 




                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            




                
สรุปแนวคิดนักคิดที่สำคัญ
ยุค Orthodoxy
1.เฟรดเดอริก เทเลอร์ เป็นนักคิดในกลุ่มคลาสสิกในยุคแรก
-ให้ความสนใจกับผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง
-แสวงหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด (One Best Way) 
-เน้นจูงใจผู้ปฏิบัติงานโดยให้ค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น
แนวคิดของเทเลอร์เรียกว่าการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) เนื่องจากเทเลอร์ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการทำงานจริงๆของคนงาน แล้วทำการจดบันทึกอย่างละเอียด เช่นมีการศึกษาถึงท่าทาง และเวลาที่ใช้ในการทำงาน เพื่อจะหาข้อสรุปว่าคนงานควรจะมีวิธีการทำงานอย่างไรที่จะใช้เวลาน้อยที่สุด และได้ผลงานมากที่สุด
    ส่วนนักคิดคนอื่นๆในกลุ่มนี้ก็จะเอาแนวคิดของเทเลอร์ไปขยายผลเพิ่มเติม
    2.กุลลิก เป็นนักคิดในกลุ่มหลักการบริหาร (กลุ่มที่ 2 ของยุคดั้งเดิม)
-ให้ความสำคัญกับผู้บริหารงานในองค์การว่าจะต้องทำหน้าที่ในการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ
- เสนอแนวคิดที่เรียกว่า POSCoRB มองว่าหน้าที่ของผู้บริหารควรมี 7 ประการ คือวางแผน จัดองค์การ จัดคนเข้าทำงาน ประสานงาน การจัดทำรายงาน และการจัดทำงบประมาณ
3.แมกซ์ เวบอร์ นำเสนอแนวคิดการบริหารองค์การขนาดใหญ่ หรือแนวคิดระบบราชการ มองว่าการบริหารงานในองค์การขนาดใหญ่จะต้องมีลักษณะ
-ยึดกฎระเบียบที่ชัดเจน 
-การทำงานต้องเป็นไปตามลายลักษณ์อักษร
-ยึดสายการบังคับบัญชา เป็นลำดับขั้น
-ความสัมพันธ์ในการทำงานจะต้องไม่เป็นส่วนตัว
-การรับคนเข้าทำงานและการเลื่อนขั้นต้องอาศัยหลักคุณธรรม
-การทำงานจะเป็นการจ้างงานตลอดชีวิต หรือทำเป็นอาชีพ
**นักคิดคนอื่นๆ  **เช่น 
-เฮนรี่ ฟาโย เสนอหน้าที่ของผู้บริหาร 5 ประการ 
-มูนเน่ & ไรเล่ย มองว่าหน้าที่ของผู้บริหารคือการประสานงานอย่างเป็นทางการ
-บาร์นาร์ด มองว่าหน้าที่ของผู้บริหารคือการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ 
นักคิด ยุค Social Science Heterodoxy 
 กลุ่มมนุษยสัมพันธ์
1.ฮิวโก มันสเตอร์เบิร์ก
-ต้องให้คนทำงานตรงกับความรู้ความสามารถ
-สนใจความพร้อมทางอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงาน
2.แมรี่ ปากเกอร์ ฟอลเลต ให้ความสนใจกับการสั่งการและการรับคำสั่ง
มองว่าการที่ผู้บริหารจะสั่งการจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปฏิบัติ ผู้บริหารจึงต้องสนใจความคิดและการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติด้วย
3.วิลเลี่ยม เจ. ดิกสัน สนใจกลุ่มที่ไม่เป็นทางการในองค์การ 
4.บาร์นาร์ด สนการการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการอันเกิดจากความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการในองค์การ
    กลุ่มมนุษยนิยม สนใจความต้องการของมนุษย์ในองค์การ มองว่าถ้าคนได้รับการตอบสนองความต้องการก็จะทำงานให้กับองค์การ กลุ่มนี้จึงเสนอทฤษฎีแรงจูงใจ เช่น (ดูรายละเอียดแนวคิดในชีทใหญ่)
    1.มาสโลว์ เสนอทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้น
    2.อันเดอร์เฟอร์ เสนอความต้องการ 3 ประการ
    3.แมกเกรเกอร์ ทฤษฎี X และทฤษฎี Y 
    4.เฮิร์ตเบิร์ก ทฤษฎี 2 ปัจจัย
    5.วรูม เสนอทฤษฎีความคาดหวัง
    6.เจ สเตซี อดัมส์ เสนอ ทฤษฎีความเท่าเทียม
    ยุคสมัยใหม่
    เราจะพบว่าทฤษฎีใน 2 ยุคแรกจะมีจุดเน้นที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือในยุคแรกให้ความสำคัญไปที่องค์การ มองว่าการบริการจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะต้องมีการจัดองค์การที่ดี และมีการหลักการบริหารที่เหมาะสม
    แต่ในยุคที่สองมองว่าการบริหารจะบรรลุเป้าหมายต้องให้ความสำคัญกับคนในองค์การ เช่นต้องดูพฤติกรรมของคน ต้องดูความต้องการของคน ต้องสนใจกลุ่มในองค์การ
    แต่ในการบริหารงานยุคใหม่ ไม่มองว่าไม่มีแนวทางการบริหารใดที่ดีที่สุด แต่การบริหารงานที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละองค์การ
    ดังนั้นในระยะแรกของการบริหารงานในปัจจุบันจะเน้นแนวคิดเกี่ยวกับ ทฤษฎีระบบ ที่มองว่าการบริหารงานจะต้องให้ความสำคัญกับ สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งการเมืองในองค์การด้วย
    ปัจจุบันการบริหารงานภาครัฐอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดที่เรียกว่า การบริหารรัฐกิจแนวใหม่ ซึ่งอาจารย์จะสอนในสัปดาห์สุดท้าย (จะดูให้อีกครั้งนะคะ)
    สรุป
    เป้าหมายในการบริหารงานภาครัฐในยุคแรก ๆ จะเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นหลัก แต่ปัจจุบันเป้าหมายและคุณค่าของการบริหารงานภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก นอกเหนือจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้ว การบริหารงานภาครัฐยังต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการมีส่วนร่วม ความเป็นธรรมในสังคม การบริหารแบบประชาธิปไตย การให้อำนาจกับคนระดับล่างในการตัดสินใจ เป็นต้น
    ************
    การบริหารการพัฒนา (Development Administration : DA) 
    วิชาการบริหารการพัฒนาเกิดขึ้นเนื่องจากในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลสหรัฐจึงดำเนินนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยจัดทำโครงการขนาดใหญ่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของนักวิชาการที่มองว่าจะต้องแนวทางในการบริหารโครงการเหล่านี้เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวิชาการบริหารการพัฒนา
    ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาประเทศต่างๆทั่วโลก เนื่องจากมีประเทศเกิดใหม่ที่ได้รับเอกราชจากประเทศแม่ ขณะที่มหาอำนาจหลายประเทศก็ประสบความเสียหายจากสงคราม
    ขณะเดียวหลังสงครามโลกก็ได้เกิดสงครามเย็นตามมา ทำให้คู่แข่งด้านอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างใช้การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาประเทศเข้าไปในประเทศด้อยพัฒนาต่างๆ เพื่อดึงเอาประเทศเหล่านั้นมาเป็นพวก แนวคิดในการพัฒนาจึงแผ่ขยายตัวโลก และทุกประเทศต่างมีแผนในการพัฒนาประเทศ
    เพื่อให้การพัฒนาประเทศประสบความสำเร็จ จึงเกิดวิชาการบริหารการพัฒนาขึ้นอย่างเต็มตัวในมหาวิทยาลัย และกลายเป็นสาขาหนึ่งของวิชาการบริหารรัฐกิจ 
    วิชาการบริหารการพัฒนามีเป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นการสร้างสมรรถภาพในการบริหาร เพื่อให้นโยบายในการพัฒนาถูกนำไปปฏิบัติอย่างได้ผล
    การบริหารการพัฒนามีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ
    1.การบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D) 
    2.การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration  : D of A) 
    กล่าวคือเพื่อให้โครงการพัฒนาประสบความสำเร็จ จะต้องมีการปรับปรุงระบบบริหารหรือการพัฒนาระบบบริหารของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนา 
การพัฒนาระบบบริหาร จะทำใน 3 ส่วนคือ
    1.การพัฒนาโครงสร้างการบริหาร  เช่น
    -การยกเลิกระบบซี
    -การรีเอ็นจิเรียริ่ง
    -การสร้างประติมากรรมใหม่ในภาครัฐ
    2.การพัฒนากระบวนการในการบริหาร
    เช่นการออกแบบกระบวนการในการทำงานแบบใหม่ เช่นใช้เทคโนโลยีในการทำงาน
3.    การพัฒนาพฤติกรรมในการบริหาร (พัฒนาพฤติกรรมของคนในองค์การ)

เป้าหมายในการพัฒนาทั้ง 3 ส่วนเพื่อเพื่อให้หน่วยงานหรือองค์การที่ทำหน้าที่ในด้านการพัฒนา มีทั้งโครงสร้าง กระบวนการการบริหาร และมีพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการนำนโยบายการพัฒนาไปปฏิบัติ
การบริหารเพื่อการพัฒนา (A of D)  ประกอบด้วย
    -การบริหารโครงการพัฒนา หมายถึงการแปลงนโยบายการพัฒนาออกมาเป็นโครงการและกิจกรรมการพัฒนาให้ชัดเจน
    -การพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึงการเพิ่มรายได้ของประชาชนให้สูงขึ้น ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมากขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องวางแผน ดำเนินการตามแผน และประเมินผล 
    -การพัฒนาการเมือง เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของชาติ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจการของบ้านเมือง
    -การพัฒนาเมือง ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมต่างๆ จึงต้องทำให้เมืองมีความพร้อมในการรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
    -การพัฒนาชนบท เพื่อพัฒนาคนในชนบทให้หลุดพ้นจากความยากจน การไม่รู้หนังสือ และความเจ็บป่วย พัฒนาให้คนในชนบทพึ่งตนเองได้ 
    -การพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นเครื่องมือของภาครัฐในการสร้างบริการให้ประชาชน
    -การพัฒนาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เน้นการพัฒนาที่ดีจากมิตรประเทศ องค์การระหว่างประเทศ 
    ความช่วยเหลือจากต่างประเทศอาจจะอยู่ในรูปของเงินกู้ เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 
    องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาจะเป็นไปตามรูป
 



 
    ******************
    การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (CPA)
    แนวคิดเรื่อง CPA เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่ง เกิดจากนักวิชาการชาวตะวันตกเข้ามาศึกษาการบริหารงานภาครัฐของประเทศต่างๆ และนำไปเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตก เพื่อดูถึงความเหมือนและความแตกต่าง โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับการบริหารของประเทศต่างๆให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อมาเมื่อเกิดวิชาการ CPA ขึ้นอย่างจริงจังขอบข่ายของการศึกษาจึงได้ขยายกว้างเพิ่มขึ้นเช่น
    -การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารของหน่วยงานเดียวกันแต่อยู่ในเวลาต่างกัน
    -การศึกษาหน่วยงานเดียวกันแต่เปรียบเทียบต่างสังคมกัน
    ในปัจจุบันการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบได้มีมิติใหม่ มากมาย 
ซึ่งอาจารย์ดำรงศักดิ์มองว่า CPA ในปัจจุบันสนใจไปที่ธรรมมาภิบาล คือการเปรียบเทียบว่าประเทศไหนมีธรรมมาภิบาลมากกว่ากัน 
    ดังนั้นการเปรียบเทียบในปัจจุบันจะมีจำนวนมาก เช่น
-WCY (World Competitive Years) เป็น NGO ในสวิสเซอร์แลนด์ โดยการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ
-CPI (Corruption Perception Index) เป็น NGO ในเยอรมัน ออกหนังสือ Global Corruption Report (GCR)
-WDR (World Development Report) รายงานการพัฒนาของโลก จากธนาคารโลก
-HDR (Human Development Report) การจัดอันดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 
-HDI (Human Development Index) ดัชนีการพัฒนาคนของประเทศไทย
-World’s Best Cities สมาคมจัดอันดับเมืองที่ดีเด่นของโลก
เป็นต้น เพราะประเทศที่มีระบบบริหารที่ดีก็จะได้อยู่ในอันดับที่ของการจัดอันดับเหล่านี้
    **********************


    

























                สรุป 707 
วิชานี้มีผู้บรรยาย 4 ท่านคือ
    1.ดร.อรัสธรรม
2.อาจารย์เสาวลักษณ์
    2.ดร.สมิหรา
    3.ดร.วิโรจน์
    สรุปอาจารย์อรัสธรรม
    อาจารย์สอนแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3 แนวคิดหลักคือ
1.    แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงเศรษฐศาสตร์
2.    แนวคิดการพัฒนามนุษย์เชิงมนุษยนิยม
3.    แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเชิงรัฐประศาสนศาสตร์
ทั้ง 3 แนวคิด จะมีทฤษฎีหรือแนวคิดย่อยอยู่ภายในดังภาพ
                 
    


     







แนวข้อสอบ อาจารย์จะให้ออกเหตุการณ์ปัจจุบัน แล้วให้วิเคราะห์ด้วยแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 
สรุปแนวคิด
1.แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางเศรษฐศาสตร์
    ***ความคิดรวบยอดของแนวคิดนี้ คือการมองว่าการจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะต้องมีการลงทุนในตัวมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์ มีความรู้ มีงานทำ เพื่อให้มนุษย์สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ***
    กรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จะเป็นดังรูป




 

    กล่าวคือมองว่าการพัฒนามนุษย์จะต้องลงทุนในตัวมนุษย์ ทั้งในด้านการศึกษา การฝึกอบรม การรักษาสุขภาพอนามัย และการอพยพ เพื่อให้มนุษย์มีความรู้ มีทักษะในการทำงาน มีสุขภาพอนามัยที่ดี สามารถโยกย้ายไปอยู่ในแหล่งงานได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มนุษย์มีรายได้มากขึ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วจะนำมาซึ่งความเติบโตทางเศรษฐกิจ
    แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ จึงมองว่าการพัฒนาคนเป็นเครื่องมือไปสู่เป้าหมายคือการเติบโตทางเศรษฐกิจ
    
2.แนวคิดมนุษยนิยม
    เป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับแนวคิดเศรษฐศาสตร์ เพราะแนวคิดนี้ให้ความสำคัญกับคน และเอาคนเป็นเป้าหมายของการพัฒนา การพัฒนาคนในแนวนี้จึงเน้นไปที่การพัฒนาจิตใจ
แนวคิดทางศาสนาทุกศาสนาถือเป็นการพัฒนาคนในแนวมานุษยนิยม 
เช่น แนวคิดทางพุทธศาสนา
พุทธศาสนานับว่าเป็นแนวคิดทางด้านมานุษยนิยมที่สำคัญแนวคิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนามนุษย์ โดยหัวใจหลักที่นำมาใช้คือ
    -ศีล คือข้อควรละเว้น 
-ธรรม สิ่งที่ควรปฏิบัติ ประกอบด้วย ความเมตตา (ความปราถนาดีต่อผู้อื่น) กรุณา (การช่วยเหลือให้คนอื่นพ้นทุกข์) มุติตา (หมายถึงพลอยยินดีเมื่อคนอื่นได้ดี)  อุเบกขา (คือการวางใจให้เป็นกลาง)
    -กรรม จะประกอบด้วยกุศลกรรม หรือการกระทำที่ดี และอกุศลกรรมหรือการกระทำที่ไม่ดี
    การจะนำแนวคิดทางพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาจะต้องโยงเข้ากับปัญหา 
    กล่าวคือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมาจาก อกุศลจิต คือจิตไม่ดี ซึ่งประกอบด้วย ความโลภ ความโกรธ ความหลง 
สิ่งเหล่านี้ซึ่งทำให้เกิด อกุศลกรรม คือ การฆ่า การลักทรัพย์ การประพฤติผิดทางเพศ การประพฤติ
เมื่อเอาแนวคิดมาเชื่อมโยงกับปัญหาสังคมจะเป็นไปตามรูป

สาเหตุ                        ผล






    

ดังนั้นถ้าจะแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งด้านการเมือง และเศรษฐกิจเพื่อทำให้สังคมพัฒนา ซึ่งต้องพัฒนามนุษย์ก่อน โดยต้องพัฒนาจิตใจของมนุษย์ให้มี กุศลจิต เมื่อมนุษย์มีจิตใจดี มนุษย์ก็จะมีการกระทำที่ดี หรือกุศลกรรม ปัญหาของสังคมก็จะไม่เกิดขึ้น สุดท้ายสังคมก็จะพัฒนา
ตรงนี้เป็นแต่ตัวอย่างของแนวคิดทางพุทธ เวลานำแนวคิดนี้ไปใช้ในการตอบข้อสอบก็ให้อธิบายในลักษณะดังกล่าวให้เชื่อมโยงกับโจทย์ที่อาจารย์ถาม
ถ้านักศึกษามีหลักธรรมอื่นๆก็เอาไปใช้ตอบได้โดยไม่จำเป็นต้องตอบเรื่อง อกุศลจิตกับอกุศลกรรม ก็ได้
เช่นถ้าอาจารย์ ยกตัวอย่างปัญหาความยากจนและให้เราเลือกจะแนวคิดมานุษยนิยมมาวิเคราะห์ ก็อาจจะใช้หลักการ อหิงสา มาตอบก็ได้ 
หลักอหิงสาหมายถึงหลักการไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ถ้าจะเอามาอธิบายการแก้ไขความยากจนก็จะมองว่าหากเราเน้นการพัฒนาโดยไม่เบียดเบียนกัน คือคนรวยไม่หวังรวยเกินไป เพราะการสร้างความร่ำรวยนำมาซึ่งการเบียดเบียน เพราะคนรวยจะบริโภคมากขึ้นการบริโภคมากก็ทำลายสิ่งแวดล้อมมาก ทำลายทรัพยากรมาก เช่นใช้น้ำมาก ใช้ไฟมาก กินอาหารมาก ต้องการที่ดินมาก เมื่อคนรวยต้องการมาก็เป็นการเบียดเบียนธรรมชาติและเบียดเบียนคนจนโดยอัตโนมัติ เพราะจะเหลือทรัพยากรเอาไว้ให้คนจนเพียงน้อยนิด
    ถ้าเรามีหลักอสิงหาเราก็จะพัฒนาตนเองโดยไม่เบียดเบียนคนอื่น นั่นคือการเป็นอยู่ที่พอเพียง ความยากจนที่เกิดขึ้นทั่วโลกอาจจะลดน้อยลง
    เป็นต้น
**ถ้านักศึกษารู้หลักการของศาสนาอื่นๆก็เอามาตอบได้ทั้งสิ้น**
3.แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แนวรัฐประศาสนศาสตร์ จะเป็นแนวคิดการพัฒนาในเชิงกลยุทธ์
    เป็นแนวคิดที่พยายามนำความรู้เรื่องของการบริหารจัดการ มาใช้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จนกลายเป็นแนวคิดการพัฒนาคนเชิงกลยุทธ์  เป็นแนวคิดที่กำลังถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาดำรงตำแหน่ง และมีการปรับให้ทุกส่วนบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์
เช่นในองค์กรระบบราชการหลังจากปฏิรูประบบราชการก็จะเปลี่ยนจากระบบราชการแบบเดิมมาเป็นราชการเชิงกลยุทธ์ การพัฒนาคนในองค์การก็ต้องพัฒนาเชิงกลยุทธ์ด้วย 
การนำแนวคิดเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจาก
1.การวางวิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึงการมองถึงภาพพจน์ของทรัพยากรมนุษย์ที่เราต้องการ เช่นเราต้องการให้คนไทยในอนาคตเป็นเช่นไรก็ต้องกำหนดวิสัยทัศน์ให้สอดคล้องกับความต้องการ
2.การกำหนดภารกิจ (Mission) คือการดูว่าการจะบรรลุไปถึงวิสัยทัศน์ที่วางเอาไว้นั้นเราจะต้องทำอย่างไรบ้าง
3.เป้าประสงค์ (Major Goals) หมายถึงสิ่งที่เราอยากให้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด อาจจะเป็นระยะกลางหรือระยะยาวก็ได้ 
เป้าประสงค์จะต่างจากวิสัยทัศน์ ตรงที่วิสัยทัศน์จะกว้างกว่าแต่เป้าประสงค์จะเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ที่จะต้องทำให้สำเร็จในระยะเวลาที่กำหนด
4.การกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy) เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์
    ในการกำหนดยุทธศาสตร์จะต้องมีการวิเคราะห์ จุดแข็งและจุดอ่อนเสียก่อน อาจจะใช้การวิเคราะห์ SWOT
การวิเคราะห์ SWOT คือ
S: Strengths จุดแข็ง (ปัจจัยภายใน)
    W: Weakness จุดอ่อน (ปัจจัยภายใน)
    O: Opportunities โอกาสหรือช่องทาง (ปัจจัยภายนอกองค์การ)
T: Threats อุปสรรค หรือสิ่งที่คุกคาม (ปัจจัยภายนอก)
หรืออาจะใช้การวิเคราะห์ PEST Analysis คือ
P-Political
E-Economic
S=Social
T=Technological 
หรือปัจจุบันจะมีแนวคิดที่เรียกว่า PEEST โดยเพิ่ม E= Ecological
การทำแผนกลยุทธ์จะต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ก่อน
**** การนำแนวคิดไปประยุกต์ในการตอบข้อสอบ****
สมมุติอาจารย์ให้โจทย์เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเวลานี้ แล้วให้นักศึกษานำเอาแนวคิดในการพัฒนามนุษย์ไปวิเคราะห์
    1.การวิเคราะห์ด้วยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ (เป็นการยกตัวอย่างห้ามลอกอย่างเด็ดขาด และนักศึกษาคิดต่างได้)
        เราอาจจะบอกว่าปัญหาความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในครั้งนี้เกิดจาก ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองกับชนบท เนื่องจากคนชนบทได้รับการศึกษาน้อยมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรของประเทศได้น้อยกว่าคนในเมือง เมื่อนายกทักษิณเข้ามาจึงดำเนินนโยบายประชานิยมเพื่อเอาใจคนชนบทที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีและมีระดับการศึกษาต่ำ จนกลายเป็นฐานเสียงที่สำคัญกว่า 19 ล้านเสียง มีผลให้พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดในสภา และดำเนินแนวทางในการบริหารประเทศด้วยการ ออกนโยบายที่เป็นประโยชน์กับตนเองและพรรคพวก ทำลายกลไกการตรวจสอบจากองค์กรอิสระ จนทำให้บุคคลต่างๆในสังคมออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน กลุ่มคนจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำการชุมนุมประท้วงมาตั้งแต่ปี 2549 และตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 จนกระทั่งการประท้วงที่รุนแรงและเสียหายมากที่สุด คือการยึดสนามบินสุวรรณภูมิ
        แนวทางการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ทำโดยการลงทุนในตัวมนุษย์ โดยเฉพาะประชาชนในระดับรากหญ้าที่มีความรู้น้อย โดยจะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษา กับคนในชนบท เพื่อให้คนชนบทมีความรู้ เมื่อมีความรู้ก็จะมีความสามารถในการแสวงหารายได้ เมื่อมีความสามารถในการแสวงหารายได้ก็จะมีเศรษฐกิจที่ดี เมื่อมีฐานะทางเศรษฐกิจดี คนเหล่านี้ก็จะสนใจการเมือง ตระหนักเห็นและแยกแยะความถูกต้อง ชั่วดีของการเมืองได้ และทำให้มีความสามารถในการตัดสินใจทางการเมือง โดยปราศจากการถูกครอบงำ สามารถที่จะปฏิเสธนโยบายที่ไม่ถูกต้องของรัฐบาลได้ แต่ถ้าไม่มีความรู้ ก็อาจจะหลงนโยบายแจกเงินของรัฐบาล จนกระทั่งสนับสนุนทุกอย่างที่รัฐบาลทำไม่ว่าจะถูกหรือผิด
        (เวลาตอบนักศึกษาต้องให้ละเอียดกว่านี้)
2.การนำแนวคิดกลยุทธ์ไปใช้ตอบข้อสอบ
ก็ต้องดูว่าในประเด็นปัญหาหรือ Case ที่อาจารย์ยกมาให้นั้น เราจะเราจะมี วิสัยทัศน์อย่างไร มีพันธกิจอะไร มีเป้าหมายอย่างไร และวางกลยุทธ์ในการพัฒนาตาม Case นั้นได้อย่างไร
เช่นจากกรณีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพันธมิตรกับรัฐบาลที่ถึงขั้นยึดสนามบินสุวรรณภูมิ
เราอาจจะมองว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกิดจากความรับรู้ต่อปัญหาทางการเมืองในปัจจุบันมีความแตกต่างกัน ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่ยอม กล่าวคือ
1.ฝ่ายพันธมิตร (ทั้งแกนนำ ประชาชนเสื้อเหลือง และนักวิชาการ) เชื่อว่าความระบอบทักษิณและพรรคพวกคือปัญหาทางการเมืองของไทย จากปัญหาการคอรัปชั่น การขายชาติ รวมทั้งการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ 
2.ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล (รวมทั้งนปช.และนักวิชาการที่โจมตีสถาบันกษัตริย์ ) พวกนี้เชื่อว่าพันธมิตรเป็นพวกสร้างความรุนแรง ด้วยการประท้วงแล้วทำให้เกิดความเสียหายมากมาย รวมทั้งเป็นผู้ทำลายประชาธิปไตย เพราะกวักมือเรียกให้ทหารทำการรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน 49 ที่สำคัญฝ่ายนี้เชื่อว่า สถาบันอยู่เบื้องหลังในการสนับสนุนพันธมิตรและอยู่เบื้องหลังการยึดอำนาจ
โดยเฉพาะนักวิชาการที่เป็นกลุ่มซ้ายที่ Anti Royalist จึงมองว่าพันธมิตรไม่มีความชอบธรรม เพราะใช้อำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชน แต่ระบอบทักษิณมาจากประชาชน แม้ว่าจะเลวร้าย แต่ควรจะถูกจัดการด้วยกลไกทางประชาธิปไตย
ดังนั้น ความขัดแย้งทางการเมืองจึงไม่จบ
ผู้ตอบจึงคิดว่า การแก้ปัญหาที่สำคัญคือ การพัฒนาคนให้มีความคิดตรงกันหรือคล้ายกันให้มากที่สุดในเรื่องที่มาของปัญหาทางการเมืองไทย โดยใช้แนวคิดเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการพัฒนาคน
จากนั้นนักศึกษาก็กำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธวิธีที่ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกัน โดยเฉพาะในบรรดานักวิชาการที่คิดแตกต่างกัน 
เวลาเราตอบเราอาจจะวิเคราะห์ SWOT ของยุทธศาสตร์ที่เราจะใช้ด้วยก็ได้ 
**จุดอ่อนที่สำคัญอย่างหนึ่งของสังคมไทย ก็คือเราไม่สามารถพูดเรื่องสถาบันได้อย่างเปิดเผย ความจริงแล้วถ้าเรื่องนี้ถูกนำมาพูดอย่างเปิดเผยเรื่องราวอาจจะคลี่คลายก็ได้ ***
เช่น
-ฝ่ายที่ต่อต้านสถาบันก็ควรจะมีโอกาสในการพูดตรงๆว่าไม่เอาสถาบัน และสถาบันมีข้อเสียอย่างไร
-ฝ่ายที่สนับสนุนสถาบัน หรือตัวสถาบันเองก็ควรจะออกมาพูดอย่างเปิดเผยว่าสถาบันเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองอย่างไร 
**นักศึกษาอาจจะตอบไม่เหมือนกุ้ง คือตั้งประเด็นไม่เหมือนกัน แต่จะต้องวิเคราะห์ตามหลักกลยุทธ์เหมือนกัน”
3.การนำแนวคิดมนุษยนิยมมาใช้ในการตอบ
แนวคิดนี้น่าจะเป็นแนวคิดที่ง่ายที่สุดในการตอบปัญหาประเด็นการพัฒนาคนในทางการเมือง 
ตัวอย่างการนำเอาแนวพุทธศาสนาเกี่ยวกับ ศีลและธรรมมาใช้ในการพัฒนามนุษย์ในกรณีความขัดแย้งทางการเมืองของพันธมิตร 
-ศีล คือข้อควรละเว้น
-ธรรม สิ่งที่ควรปฏิบัติ ประกอบด้วย ความเมตตา (ความปราถนาดีต่อผู้อื่น) กรุณา (การช่วยเหลือให้คนอื่นพ้นทุกข์) มุติตา (หมายถึงพลอยยินดีเมื่อคนอื่นได้ดี)  อุเบกขา (คือการวางใจให้เป็นกลาง)
    -กรรม ประกอบด้วยกุศลกรรม หรือการกระทำที่ดี และอกุศลกรรมหรือการกระทำที่ไม่ดี
การจะนำแนวคิดทางพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาจะต้องโยงเข้ากับปัญหา 
ต้องมองว่าปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมาจาก อกุศลจิต คือจิตไม่ดี ซึ่งประกอบด้วย ความโลภ ความโกรธ ความหลง 
สิ่งเหล่านี้ซึ่งทำให้เกิด อกุศลกรรม คือ การฆ่า การลักทรัพย์ การประพฤติผิดทางเพศ การประพฤติ ซึ่งต้องแก้ด้วยกุศลจิต คือ คิดดี 
เช่นเดียวกันความขัดแย้งทางการเมือง เกิดจากคนจำนวนหนึ่ง มีอกุศลจิต คือคิดไม่ดี มีความโลภ โกรธ หลง ไม่มีความเมตตา
เช่นฝ่ายทักษิณและฝ่ายที่รักทักษิณ ก็อาจจะมีความโลภหลงในตำแหน่ง อำนาจ บารมี และผลประโยชน์ ก่อให้เกิดอกุศลกรรม คือการคอรัปชั่น
ขณะที่ฝ่ายต่อต้านทักษิณ มีอกุศลจิต คือมีความโกรธ ไม่มีความเมตตา กรุณา 
เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีอกุศลจิต จึงลงมือทำในสิ่งที่เป็นอกุศลกรรม เช่นใช้ความรุนรงในการต่อสู้ทางการเมือง
    ดังนั้นแนวทางแก้ไขจึงต้องใช้การทำให้คนทั้ง 2 ฝ่ายมีศีลและธรรม โดยเน้นให้มีกุศลจิต เพื่อให้ทำแต่กุศลกรรม ความขัดแย้งทางการเมืองจะหมดไป
    (เวลาตอบต้องยกตัวอย่างความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริง และต้องวิเคราะห์โจทย์ด้วย เพราะโจทย์อาจะพลิกแพลงคำตอบก็ต้องพลิกตามด้วย)
                **********************

อาจารย์เสาวลักษณ์
    ปีนี้เป็นปีแรกที่อาจารย์เปลี่ยนแนวการสอน โดยในปีนี้จุดเน้นของอาจารย์คือ การพัฒนาเพื่อให้คนเป็นประชาธิปไตย และมีคุณธรรมในทางการเมือง 
    การที่อาจารย์ตรงนี้เนื่องจากปัจจุบันปัญหาบ้านเราเกิดวิกฤติทางด้านการเมือง อันเกิดจากความไร้จริยธรรม และคุณธรรมทางการเมือง โดยเฉพาะของผู้นำทางการเมือง ที่มีผลทำให้คนในสังคมไม่สนใจต่อปัญหาคุณธรรม โดยเฉพาะประเด็นการคอรัปชั่น เนื่องจากสังคมไทยปัจจุบันไม่สนใจการคอรัปชั่น เช่นการมีคำพูดว่า “โกงแต่มีผลงาน” อาจารย์มองว่าสิ่งนี้เป็นอันตรายต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง
    ดังนั้นแนวข้อสอบ ของอาจารย์อาจจะให้นักศึกษาวิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากวิกฤติทางคุณธรรม จริยธรรม และความไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร และนักศึกษาจะเสนอให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างไร
    สิ่งที่ต้องรู้เพื่อเตรียมสอบ
    -ศึกษาปัญหาคอรัปชั่นในสังคมไทย (โดยเฉพาะยุคคุณทักษิณ ที่อาจารย์เน้นตรงนี้อ่านจากชีทใหญ่จะมีข้อมูลมหาศาล)
    -ศึกษาปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยของสังคม (เช่นการแทรกแซงองค์กรอิสระ การเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม )
    -การเสนอแนะทางออกในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างประชาธิปไตยและสร้างคุณธรรม
    ทั้งนี้การจะพัฒนาคนเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
    1.สร้างประชาธิปไตยในทางการพัฒนา โดยสิ่งที่ต้องทำก็คือ
    -ต้องมีรัฐบาลที่มีความชอบธรรมทางการเมือง
    -สร้างตัวแทนประชาชนต้องมีความเป็นตัวแทนที่แท้จริง
    2.พัฒนาสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของประชาชน
    3.พัฒนาให้คนมีความเสมอภาค (ในทุกด้านๆ)
    4.พัฒนาให้คนมีส่วนร่วม ในทุกด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม 
    -นอกจากนี้นักศึกษาอาจจะใช้แนวคิด Good Governance 
    -แนวคิดการร่วมกลุ่มทางสังคม 
    ****สัปดาห์สุดท้ายจะตรวจสอบอีกทีว่าข้อสอบที่ชัดๆของอาจารย์คืออะไร***
***********

อาจารย์วิโรจน์
การบรรยายจะเน้นนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับมหภาค  และให้ความสนใจกับนโยบายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยในปัจจุบัน
ทั้งนี้นโยบายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะสอดคล้องและไปด้วยกันกับแผนการพัฒนาประเทศ นโยบายการพัฒนามนุษย์จึงจะปรากฏอยู่ในแผนการพัฒนา
ซึ่งในหลายเรื่องก็เป็นแนวคิดที่มาจากภายนอก โดยเฉพาะสหประชาชาติและธนาคารโลก
    แต่แนวคิดที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคนก็คือ การพัฒนาโดยให้คนเป็นศูนย์กลาง หรือเป็นการพัฒนาโดยให้คนเป็นเป้าหมายของการพัฒนา
สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 8 เป็นต้นมาเราเน้นการนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบในการพัฒนาคน  คือเน้นให้คนมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญคือการอยู่ดีมีสุข และสร้างสังคมที่เป็นสุข
แต่อาจจะกล่าวได้ว่าเราล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะปัจจุบันสังคมไทยไม่ได้อยู่ดีมีสุข แต่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง เนื่องจากแผนพัฒนาของเราไม่ได้ถูกขับเคลื่อนไปในทางปฏิบัติจริงๆ 
นโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาลปัจจุบัน
1.นโยบายการศึกษา
-ลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ เช่น สื่อ เครื่องมือ เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร เตรียมแผนการสอนสัมพันธ์กับทรัพยากรและปัจจัยแวดล้อมต่างๆ
-จัดให้คนไทยทุกคนรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หากผู้ปกครองคนใดต้องการให้ลูกได้สิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มเติม
-ปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและคุณธรรม จัดสรรรายได้ให้เหมาะสม พัฒนาสื่อการสอนให้สอดคล้องกับกระแสโลก ปรับปรุงห้องสมุด ไม่ละเลยภาษาไทย ประวัติศาสตร์และความรู้เชิงสร้างสรรค์ต่างๆ 
-ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้อย่างจริงจัง
-พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้มีความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรม เน้นศึกษาภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
2.นโยบายแรงงาน
-ฝึกอบรมและพัฒนาคนงานที่ทำงานแล้วและคนที่ถูกเลิกจ้าง
-ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุและคนพิการ กฎหมายกำหนดว่า หน่วยงาน/องค์กรที่มีคนงาน 200 คนขึ้นไปต้องรับคนพิการ 1 คน หากไม่รับก็ต้องเสียภาษีเพิ่ม
3.นโยบายการพัฒนาคุณภาพของประชาชน
ประชากรที่มีคุณภาพคือประชากรที่มีความรู้ มีสุขภาพดี มีเสรีภาพและมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง
4.นโยบายศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
-ปลูกฝังให้ประชาชนเข้าใจนำหลักธรรมมาเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมมาพัฒนาคุณภาพชีวิต
เราจะพบว่าแต่ละนโยบายล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น นักศึกษาต้องวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของนโยบายทั้ง 4 นโยบายให้ได้ 
    
        ***************************************
    อาจารย์สมิหรา
    อาจารย์สมิหราบอกว่าจะออกเรื่อง
-การพัฒนาสตรี 
-การพัฒนาแรงงาน
**เวลาตอบข้อสอบอาจารย์ สมิหราไม่ต้องบรรยายมาก
 พยายามตอบสั้นให้ตรงประเด็นและ ถ้าวาดเป็นรูป หรือตารางได้จะดีมาก**
    
    สรุปการพัฒนาแรงงาน (กุ้งรวบรวมเอง)
    นโยบายด้านแรงงานมีส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตรงที่ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องพัฒนาตั้งแต่มนุษย์เกิดมาจนกระทั่งตาย ในช่วงชีวิตของคนหลังจากเกิดมาแล้วก็จะเติบโตทางวัยเด็ก สู่วัยรุ่น จากนั้นก็จะเข้าสู่วัยทำงาน ซึ่งเป็นวัยที่กลายเป็นกำลังหลักในทางเศรษฐกิจของสังคม ดังนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาประชากรในวัยแรงงานให้เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถในการทำงาน 
    ยิ่งพิจารณาจากแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ ESCAP จะพบว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะมี 3 ขั้นตอนคือ 
1.การลงทุนในตัวมนุษย์ 
2.การใช้ประโยชน์ในตัวมนุษย์ 
3.การให้ประโยชน์กลับคืนแก่มนุษย์
ทั้ง 3 ขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะให้ความสำคัญกับแรงงาน ทั้ง 3 ขั้นตอน คือ
-ในขั้นการลงทุน ในส่วนของแรงงานรัฐหรือภาคเอกชนจะต้องมีการลงทุนด้านการฝึกอบรม ซึ่งจะทำทั้งก่อนทำงานและระหว่างทำงาน 
    -ในขั้นการใช้ประโยชน์ ขั้นตอนนี้จะสำคัญมากเพราะจะเป็นขั้นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานโดยตรง เนื่องจากในขั้นตอนนี้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะพิจารณาว่า ในสังคมมีงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของคนหรือไม่ คนว่างงานหรือไม่ หรือภาวะการจ้างงานเด็กและสตรีเป็นอย่างไร
    -ขั้นการใช้ประโยชน์ก็ต้องพิจารณาว่าจะให้ประโยชน์กับคนทำงานอย่างไร ในองค์กรต่างๆจึงมักจะจัดระบบสวัสดิการให้คนทำงาน เพื่อคนจะได้ทุ่มเทในการทำงานให้องค์กรอย่างเต็มที่
    ดังนั้นนโยบายการพัฒนาแรงงานจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยารกมนุษย์ และเมื่อพิจารณานโยบายของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน ก็จะเป็นนโยบายที่มีส่วนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งสิ้น ดังนี้ 
    1.ขยายโอกาสและเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพและการมีงานทำเพื่อขจัดความยากจน
    ตรงนี้ทำได้โดยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดหางานในระบบ และการสร้างโอกาสในการทำงานและการประกอบอาชีพ
    2.การคุ้มครองทางสังคมให้มีหลักประกันที่เหมาะสม
    ตรงนี้จะทำโดยการสร้างและขยายระบบคุ้มครองทางสังคมเข้าสู่แรงงานนอกระบบ เช่นเกษตรกร แม่บ้าน คนทำงานนอกระบบ มากขึ้น จากเดิมระบบประกันสังคมจะอยู่เฉพาะแรงานในระบบ เช่นลูกจ้างในระบบอุตสาหกรรม 
นอกจากนี้ยังจะสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัย ระบบสิ่งแวดล้อมที่ดี รักษาผลประโยชน์ของแรงงาน 
ในส่วนนี้เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคุณภาพชีวิตของแรงงานทั้งคุณภาพชีวิต (Quality of life) คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
3.การพัฒนาศักยภาพแรงงาน ตรงนี้ทำโดยพัฒนาศักยภาพแรงงานให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน และเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของแรงงาน
4.การจัดระบบบริหารแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้เพื่อให้สามารถควบคุมการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงาน การป้องการแย่งคนไทยทำงาน รวมทั้งป้องกันปัญหาด้านความมั่นคง
5.พัฒนาระบบบริหารและจัดการแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การที่ทำงานด้านแรงงาน ทั้งนี้เพื่อให้นโยบายด้านโยบายด้านแรงงานถูกนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล 
สรุปการพัฒนาสตรี
การพัฒนาสตรีเป็นประเด็นที่สำคัญของทั้งระดับโลกและระดับประเทศ โดยเฉพาะสหประชาชาติจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาสตรี เนื่องจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตลอดมาก็คือ ผู้หญิงทั่วโลกยังไม่มีความเสมอภาคกับผู้ชาย 
อย่างไรก็ตามการให้ความสำคัญกับการพัฒนาสตรีในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ผู้หญิงได้รับการพัฒนาและมีโอกาสเท่าเทียมกับผู้ชายในด้านต่างๆมากขึ้น
ประเด็นหลักในการพัฒนาสตรี
1.ด้านการศึกษา 
ปัจจุบันแม้ผู้หญิงจะมีโอกาสทางการศึกษามากขึ้นแต่ยังเป็นอัตราส่วนที่ต่ำกว่าผู้ชาย  โดยเฉพาะการศึกษาในระดับพื้นฐาน 
2.ด้านการมีงานทำ 
ผู้หญิงมีโอกาสเข้าสู่อาชีพหลังจากจบการศึกษาน้อยกว่าผู้ชาย แต่ผู้หญิงต้องทำงานนอกระบบมากกว่าผู้ชาย และแท้ที่จริงแล้วผู้หญิงเป็นผู้ใช้กำลังตนเองในการสร้างแรงงานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของครัวเรือน
3.การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) ผู้หญิงไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าผู้ชาย แต่นักการเมืองชายในทุกระดับมีมากกว่านักการเมืองหญิง 
ประเด็นรอการแก้ไข 
1. ปัญหาผู้หญิงมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย 
การที่ผู้หญิงมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยเป็นผลมาจากผู้หญิงรู้สึกว่าตนเองมีประสิทธิภาพทางการเมือง (Political Efficacy) น้อย ประเมินความสามารถตนเองต่ำ 
แนวทางแก้ไขจะต้องทำให้ผู้หญิงเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และสังคมเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามีบทบาทในทางการเมืองมากขึ้น
2. ปัญหาผู้หญิงมีโอกาสในการเข้าสู่ตำแหน่งทางราชการน้อย
จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้หญิงที่มีความสามารถขึ้นสู่ตำแหน่งทางราชการที่สูงขึ้น
3.ปัญหาผู้หญิงฆ่าตัวตายมากขึ้น 
ส่วนใหญ่ผู้หญิงฆ่าตัวตายเนื่องจากความเครียด โดยเฉพาะการที่สังคมคาดหวังกับบทบาทของผู้หญิงมากเกินไป ทั้งดูแลบ้าน (เป็นแม่ เป็นเมีย ทำงานบ้าน) ขณะเดียวกันต้องทำงานนอกบ้าน ทำให้ผู้หญิงมีความเครียดเกี่ยวกับบทบาทของตนเอง (และเป็นเรื่องยากทีเดียวที่ผู้หญิงจะทำให้บทบาททั้ง 2 อย่างสมดุลกัน คือดูแลคนในครอบครัวอย่างดีพร้อมกับสร้างความก้าวหน้าในการทำงาน)
4. ปัญหาความมั่นคงในชีวิตของผู้หญิง 
หมายถึง ปัญหาความมั่นคงในอาชีพการงาน ความมั่นคงในครอบครัว ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
(ตัวอย่างที่น่าสนใจเช่นผู้หญิงไทยในภาคอีสานจะมีความมั่นคงในชีวิตแค่ไหน ต้องมีหน่วยงานลงไปดูแลอย่างจริงจัง)
5.ปัญหาผู้หญิงสูงอายุในอนาคตที่จะมีจำนวนมากขึ้น
ทั้งนี้สังคมในอนาคตจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ ผู้หญิงแก่จะมีจำนวนมากขึ้นเพราะผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย ปัญหาที่ตามมาคือคนเหล่านี้จะกลายเป็นภาระของสังคมหากไม่มีมาตรการมารองรับ
วิธีแก้ปัญหาคือต้องสร้างเครือข่ายของผู้หญิงสูงอายุด้วยกันเอง ต้องหาระบบสวัสดิการมารองรับ (เช่นการได้รับการดูแลสุขภาพตอนแก่)
อาจารย์เสนอว่าให้ทำโครงการให้ผู้หญิงสูงอายุได้ดูแลชุมชน ดูแลเด็ก ๆ ให้ผู้หญิงเหล่านี้รู้สึกว่าตนเองมีค่า ไม่เหี่ยวเฉาตายไปวัน ๆ สร้างกลุ่มถ่ายทอดความรู้ในการเลี้ยงลูกให้เด็กรุ่นใหม่ 
6. แก้ไขทัศนคติที่ขัดขวางการพัฒนาผู้หญิง 
 ทัศนคติที่ไม่ดีต่อการพัฒนาผู้หญิงเช่น
-คิดว่าผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ หรือมองว่าผู้หญิงเป็นเครื่องมือทางเพศของผู้ชาย
-การคาดหวังบทบาทผู้หญิงให้เป็นคนอ่อนหวาน อยู่ในครัวเรือน 
-การอบรมเยาวชนที่แบ่งแยกบทบาทหญิงชายอย่างชัดเจน เช่น เวลาเข้าค่ายผู้ชายหาฟืน ผู้หญิงทำกับข้าว
-บางอาชีพสงวนให้กับผู้ชาย ( เช่น เคยมีนักการเมืองเสนอให้ จปร. รับผู้หญิงเข้าเรียน แต่สภากลาโหมไม่ยอม ตรงนี้เป็นการกีดกันให้ผู้หญิง ในเรื่องการศึกษาและมีผลต่อเนื่องในการทำงาน)
เงื่อนไขในการพัฒนาผู้หญิง 
1. กฎหมาย นโยบาย และพันธกรณีกับต่างประเทศ เช่น การลงนามในสนธิสัญญาเกี่ยวกับผู้หญิง จากนโยบายนำไปสร้างแผนที่ต้องก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในความรู้ การมีส่วนร่วม และการได้รับความคุ้มครอง 
2. โครงสร้างประชากร ได้แก่
-สัดส่วนเพศชายหญิง 
-สัดส่วนเด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ 
ในอนาคตสัดส่วนเพศและอายุจะเปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงสูงอายุจะมีจำนวนมากกว่าชาย 
3. รูปแบบของครัวเรือน ปัจจุบันรูปแบบครอบครัวเป็น Single Parent มากขึ้น (พ่อหรือแม่ดูแลลูกเพียงฝ่ายเดียว) เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์โดยไม่ได้สมรสหรือการหย่าร้าง รูปแบบครอบครัวเช่นนี้จะส่งผลต่อนโยบายของรัฐ เช่น ให้เงินสนับสนุนแก่ Single Parent ไม่ปล่อยให้แม่เลี้ยงลูกอย่างยากลำบากเพียงลำพัง 
4. เทคโนโลยีมีผลต่อการพัฒนาผู้หญิงโดยตรง ในเชิงบวกคือทำให้ผู้หญิงเข้าถึงข่าวสารข้อมูลได้มากขึ้น ผลในเชิงลบของเทคโนโลยีต่อเพศหญิงคือผู้หญิงเป็นเหยื่อของเทคโนโลยีมากจากการเชื่อคนง่าย 
กลไกสำคัญในการพัฒนาผู้หญิงก็คือราชการ กระบวนการในการพัฒนาจากเงื่อนไขดังกล่าวคือ
1. ให้ผู้หญิงเข้าสู่แหล่งเงินทุนง่ายขึ้น 
2. เปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วม 
กระบวนการพัฒนาผู้หญิงใช้กลไกราชการมากกว่าครึ่ง หุ้นส่วนคือองค์กรเอกชนจำนวนมากมาย
        *****************
สรุปแนว
1.อ.อรัสธรรม อาจารย์ให้โจทย์เหตุการณ์ปัจจุบันแล้วให้เอาแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (แนวเศรษฐศาสตร์ แนวมานุษยนิยม และแนวรัฐปรศาสนศาสตร์)ไปวิเคราะห์
-คาดว่าจะเป็นเรื่องพันธมิตร
2.อาจารย์เสาวลักษณ์ 
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดความมีประชาธิปไตย มีคุณธรรม
3.อาจารย์สมิหรา (อันนี้อาจารย์บอก แต่ไม่ค่อยแน่ใจ)
-การพัฒนาสตรี
-การพัฒนาแรงงาน
4.อาจารย์วิโรจน์
-จุดอ่อนจุดแข็งของนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน




สรุป PS 709
            นโยบายต่างประเทศไทย
    
สำหรับเครือข่ายที่ 4 มีผู้บรรยายเพียงท่านเดียวคือ อ.ธนาสฤษฏิ์ ประเด็นสำคัญในการบรรยาย คือ
1.ตัวแบบที่ใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดนโยบายต่างประเทศตามกรอบ SBS ของบรัก ชไนเดอร์ และชาปิน
2.นโยบายต่างประเทศไทยในเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น
-นโยบายต่างประเทศยุคสงครามเย็น
-นโยบายต่างประเทศในช่วงสงครามเวียดนาม
-นโยบายต่างประเทศในช่วงเกิดสงครามกัมพูชา
3.บทบาทของประเทศไทยในอาเซียน
อาจารย์บอกว่าอาจจะออกข้อสอบ 3 หรือ 4 ข้อแต่ให้เลือกทำ 2 ข้อ

ประเด็นที่ต้องเตรียมอ่าน
1.ตัวแบบที่ใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดนโยบายต่างประเทศตามกรอบ SBS ของบรัก ชไนเดอร์ และชาปิน
ตัวแบบนี้มีความสำคัญมากและนักศึกษาต้องนำไปใช้ในการตอบข้อสอบ    ตัวแบบนี้มองว่าในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ จะมีจุดสนใจอยู่ที่ผู้มีอำนาจในการกระทำหน้าที่แทนรัฐ ซึ่งในที่นี้หมายถึงคณะรัฐมนตรีนั่นเอง โดยมองว่าการที่ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจกระทำการแทนรัฐจะตัดสินใจกำหนดนโยบายต่างประเทศอย่างไรขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆคือ
    1.สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
    1.1.สภาพแวดล้อมภายนอก (External Setting) คือ
    -สภาพแวดล้อมภายนอกระดับโลก มักจะเป็นเรื่องของความเคลื่อนไหวในระดับโลก เช่นบทบาทของมหาอำนาจ บทบาทขององค์การระหว่างประเทศในระดับโลก เช่น UN WTO IMF 
    ตัวอย่างของสภาพแวดล้อมระดับโลก เช่นการก่อการร้าย การเกิดภาวะโลกร้อน 
    -สภาพแวดล้อมภายนอกระดับภูมิภาค เป็นความเคลื่อนไหวในระดับภูมิภาค เช่นการเคลื่อนไหวของอาเซียน สงครามเวียดนาม สงครามกัมพูชา ปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ 
    -สภาพแวดล้อมภายนอกระดับประเทศ หมายถึงสถานการณ์ภายในของประเทศที่มีอิทธิพลกับเรา เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำในประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาภายในของเพื่อนบ้าน ซึ่งผู้มีอำนาจกระทำการแทนรัฐจะต้องติดตามและให้ความสนใจ
    1.2 สภาพแวดล้อมภายในประเทศ (Internal Setting) หมายถึงสถานการณ์และสภาพต่างๆที่อยู่ภายในของเรา เช่น 
    -ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในประเทศ
    -เสถียรภาพของรัฐบาล
    -สภาพการณ์และสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ
    -ความเข้มแข็งทางการทหาร
    -วัฒนธรรมของคนในสังคม
    -กลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มอิทธิพล ****
    -ฝ่ายนิติบัญญัติ
    ***สำหรับปัจจัยภายในที่มักจะถูกนำมาวิเคราะห์ได้อย่างกว้างขวางในการกำหนดนโยบายต่างประเทศก็คือ กลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มอิทธิพล
    ประเทศไทยของเรานั้น ในระยะแรก กลุ่มผลประโยชน์ที่มีอำนาจและมีบทบาทในการกำหนดนโยบายต่างประเทศมากที่สุดคือ ทหาร โดยเฉพาะในยุคที่ไทยเราปกครองภายใต้ผู้นำเผด็จการทหาร (จอมพล ป. จอมพลถนอม และจอมพลสฤษดิ์) 
    ต่อมาก็จะเป็นกลุ่มข้าราชการ การที่กลุ่มข้าราชการมีบทบาทมากทำให้ประเทศไทยถูกเรียกว่า รัฐราชการ (Bureaucratic State) 
    กลุ่มข้าราชการและกลุ่มทหารเริ่มมีบทบาทน้อยลงเมื่อการเมืองไทยเข้าสู่ยุคใหม่ และนักการเมืองเข้ามามีบทบาทในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ
    อย่างไรก็ตามกลุ่มที่มีอิทธิพลอย่างแท้จริงในการกำหนดนโยบายต่างประเทศมาทุกยุคทุกสมัยคือ กลุ่มนักธุรกิจ เพียงแต่ในยุคแรกนักธุรกิจเหล่านี้จะอยู่เบื้องหลังนายทหาร ต่อมาก็อยู่เบื้องหลังพรรคการเมือง แต่ปัจจุบันนักธุรกิจมาเล่นการเมืองโดยตรง โดยเฉพาะในยุคทักษิณนโยบายต่างประเทศอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มนักธุรกิจ ทำให้นโยบายต่างประเทศจะเน้นไปในเรื่องของการรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ จนครั้งเกิดปัญหาเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน เช่นการให้ EXIM Bank (ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า) ปล่อยกู้ให้กับพม่าวงเงิน 4 พันล้านบาทก็ทับซ้อนกับผลประโยชน์ของตระกูลชินวัตรที่ต้องการเข้าไปลงทุนด้านโทรคมนาคมในพม่า
    ขณะที่กลุ่มผลประโยชน์อื่นๆที่มีอยู่ในสังคมแม้จะมีความเข้มแข็งมากขึ้น แต่ก็ยังสู้กลุ่มนักธุรกิจที่เข้ามามีอำนาจทางการเมืองอย่างถูกต้องไม่ได้ เช่นกลุ่มข้าราชการเวลานี้มักจะเอาใจนักการเมือง หรือกลุ่มประชาชนก็ยังขาดความเข้มแข็งเพียงพอ 
    ตัวอย่าง 
-นโยบายต่างประเทศในเรื่องของการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) เกิดขึ้นเพราะกลุ่มบางกลุ่มในรัฐบาลได้รับประโยชน์จากการส่งออกสินค้า (แม้ว่าการเปิด FTA จะทำให้เกษตรกรตายแหงๆก็ตาม)
    เช่นการเปิด FTA กับอินเดีย กลุ่มโทรคมนาคมสื่อสารก็ได้ประโยชน์มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
    อย่างไรก็ตามในอนาคตมองว่าภาคประชาสังคมจะมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ เช่นกรณีของไทย จะมี NGOs ที่ออกรณรงค์ต่อต้านการจัดทำ FTA และนโยบายเปิดเสรีในด้านต่างๆ รวมทั้งนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพราะมองว่าทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ ทำให้ทรัพย์สินของประชาชนตกอยู่ในมือต่างชาติ
    ล่าสุดในการประชุมอาเซียนได้มีตัวแทนจากภาคประชาสังคมเข้าร่วมประชุมด้วยเป็นครั้งแรก
    2.พฤติกรรมของผู้มีอำนาจกระทำการแทนรัฐ หรือพฤติกรรมของคณะผู้ตัดสินใจ พฤติกรรมดังกล่าวได้แก่
    2.1 ความมีเหตุผลของผู้ตัดสินใจกำหนดนโยบาย หมายถึงการมองว่าในการกำหนดนโยบายต่างประเทศผู้มีอำนาจตัดสินใจกำหนดนโยบายจะต้องพิจารณาจากทางเลือกหลายๆทางว่าจะเลือกทางเลือกใดที่ดีที่สุด ที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
    (ซึ่งบางครั้งพบว่าพฤติกรรมในข้อนี้จะมีการเบี่ยงเบน เพราะหลายครั้งการตัดสินใจของผู้นำเป็นการตัดสินใจที่ปราศจากเหตุผล)
    2.2 โลกทัศน์หรือการรับรู้ หรือการมองโลกของผู้นำ (Perception) เนื่องจากประเด็นนี้มีผลสำคัญต่อการตัดสินใจกำหนดนโยบายของผู้นำ 
    การที่ผู้นำจะมี Perception อย่างไรขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดู การศึกษา เพื่อนฝูง ประสบการณ์ชิตและการทำงาน
    เช่นนายกรัฐมนตรีทักษิณเรียนจบจากต่างประเทศ มีความรู้ ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ ทำให้มีความมั่นใจในตนเอง เมื่อเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีจึงคิดว่าตัวเองเก่ง การตัดสินใจกำหนดนโยบายต่างประเทศในยุคปัจจุบันของไทยจึงมักจะอยู่ที่ตัวผู้นำเป็นหลัก โดยกระทรงการต่างประเทศมีบทบาทน้อยมาก
ต่างจากในสมัยรัฐบาลชวน  ที่ขาดความรู้ด้านการต่างประเทศ จึงโยนบทบาทในการกำหนดนโยบายต่างประเทศไปให้กับนายสุรินทร์ พิศสุวรรณรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
    ตัวอย่าง นโยบายต่างประเทศไทยต่อพม่า เป็นอีกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการมี Perception ที่แตกต่างกันของผู้นำ ในสมัยรัฐบาลชวนนั้นไทยกับพม่าจะมีความสัมพันธ์กับในแบบทางการ หรือ Formal Relation เพราะนายกชวนจบกฎหมาย จึงทำให้ยึดถือหลักการ การติดต่อสัมพันธ์กับพม่าจึงเป็นไปตามขั้นตอนพิธีทางการทูต แต่ในยุครัฐบาลทักษิณ นโยบายต่อพม่ามักจะเป็นแบบ Economic Diplomacy และ Personal Diplomacy เพราะผู้นำของเราเป็นนักธุรกิจมีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับพม่า จึงอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวในการดำเนินนโยบายต่างประเทศกับพม่า
    2.3 พฤติกรรม Groupthink หมายถึงในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ มาจากการตัดสินใจของคนกลุ่มน้อย แต่ผลของการตัดสินใจมีต่อคนทั้งประเทศ  เนื่องจาก
    คนที่อยู่ใน ครม.มองว่าตนเองอยู่เหนือคนทั้งประเทศ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีที่อยู่ใน ครม.จะรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน จึงมักจะตัดสินใจตามกัน และบางครั้งใน ที่ประชุม ครม.มักจะมีการตัดสินใจในลักษณะแห่ตามกัน โดยไม่ได้ผ่านการเสนอความคิดเห็นอย่างขวางขวางแต่อย่างใด
    เช่นในยุครัฐบาลทักษิณ รัฐมนตรีอื่นๆแทบจะไม่มีใครคัดค้านการตัดสินใจของนายกทักษิณ แต่อย่างใด 
    ตัวอย่าง การเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) ของไทยกับประเทศต่างๆ เป็นเรื่องที่มีการพิจารณากันภายใน คณะรัฐมนตรีเท่านั้น โดยประชาชน หรือสภาไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณา ทั้งๆที่เรื่องการทำ FTA เป็นเรื่องใหญ่มากมีผลต่อการปรับเปลี่ยนทั้งระบบเศรษฐกิจ การดำรงชีวิตของประชาชน 
    เช่นการทำ FTA กับออสเตรเลียทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของไทยได้รับผลกระทบจากการที่ผลิตภัณฑ์นมจากออสเตรเลียเข้ามาตีตลาด ทำไมรัฐบาลจึงไม่เปิดให้เกษตรกรเข้าทำประชาพิจารณ์ก่อนจะลงนามใน FTA เป็นต้น หรือทำไมรัฐบาลจึงไม่นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภาในฐานะที่เป็นตัวแทนประชาชนได้อภิปรายถกเถียงกันก่อน
    หรือกรณีที่ไทยส่งทหารเข้าไปในอีรัก ก็ไม่นำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภา หรือไม่ถามความคิดเห็นของคนไทยที่นับถืออิสลามว่าเขารู้สึกอย่างไรที่รัฐบาลของตนเองเข้าไปมีส่วนในสงครามทำลายผู้นับถือศาสนาเดียวกันกับตนเอง หรือการเปิดให้สิงคโปร์เข้ามาเช่าพื้นที่ในกิจการทางการทหาร
    ขณะที่ปัจจุบันนายอภิสิทธิ์ และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศมีภูมิหลังและ Perceptionที่คล้ายกันคือ มีแนวคิดเสรีประชาธิปไตย และเน้นการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยอาศัยเครื่องมือทางการทูตเป็นหลัก 
    
    ***ดังนั้นในการทำข้อสอบถ้าอาจารย์ออกมาให้วิเคราะห์นโยบายต่างประเทศอันใดอันหนึ่ง นักศึกษาต้องเอากรอบ SBS เข้าไปวิเคราะห์ให้ได้ ดูว่าสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่มีผลต่อนโยบายนั้นเป็นอย่างไร และ Perception  ของผู้นำของเราเป็นอย่างไร***
    
ประเด็นที่ 2 นโยบายต่างประเทศไทยในกรณีต่างๆ ในยุคสงครามเย็น
ในยุคสงครามเย็นไทยเรามีนโยบายเข้าไปผูกพันกับอเมริกาอย่างใกล้ชิดและใช้นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง นโยบายนี้เกิดขึ้นในยุคที่ไทยมีผู้นำเป็นทหาร (ยุค 3 จอมพล) ปัจจัยที่ทำให้เราต้องดำเนินนโยบายดังกล่าวประกอบด้วย
ปัจจัยภายใน 
1.โลกทัศน์ของผู้นำรัฐบาลเป็นทหาร ที่มองคอมมิวนิสต์เป็นความเลวร้ายและเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ 
2.การเมืองภายในเป็นเผด็จการทำให้การตัดสินใจนโยบายต่างประเทศตกอยู่ในมือของผู้นำที่เป็นทหารโดยประชาชนไม่มีโอกาสเข้ามีส่วนร่วม
ปัจจัยภายนอก
1.บทบาทของมหาอำนาจ สหรัฐมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์จึงพยายามดึงให้ประเทศต่างๆมาเป็นพวกและสนับสนุนนโยบายของตนเอง 
2.จีนกลายเป็นคอมมิวนิสต์ทำให้ไทยเป็นกังวลมากขึ้นเนื่องจากจีนให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ของประเทศต่างๆ ที่เป็นเพื่อนบ้านของไทย รวมทั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยด้วย
การเข้าไปผูกพันกับสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิดทำให้ ไทยต้องดำเนินนโยบายคล้อยตามสหรัฐ จนถูกกล่าวหาว่าเป็นสุนัขรับใช้สหรัฐ ขณะเดียวกันไทยก็ต้องสูญเสียความไว้วางใจกับเพื่อนบ้านโดยเฉพาะกับเวียดนามเนื่องจากไทยนอกจากจะให้สหรัฐใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพในการเข้าไปโจมตีเวียดนามซึ่งมีผลทำให้คนเวียดนามล้มตายจำนวนมาก เรายังส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วย ขณะเดียวกันเราก็ยังส่งทหารรับจ้างเข้าไปในลาวทำให้ลาวไม่ไว้วางใจไทยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้การให้ทหารสหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยทำให้เกิดปัญหาลูกครึ่งและเมียเช่าจำนวนมาก
หลังจากสงครามเวียดนามยุติลงไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ด้วยการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนและเวียดนาม เนื่องจากมีปัจจัยมาเกี่ยวข้องคือ
ปัจจัยภายใน
1.ผู้นำเปลี่ยนจากทหารเป็นพลเรือนคือ (เปลี่ยนจากยุคสามนายพลเป็นรัฐบาลยุคสัญญา เสนีย์ คึกฤทธิ์) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้หลายด้าน
2.ผู้นำพลเรือนมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลว่าผู้นำทหาร (เพราะทหารมองแค่ปัญหาความมั่นคงเท่านั้น) แต่รัฐบาลพลเรือนสนใจด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย 
3.คณะผู้กำหนดนโยบายมีความหลากหลาย ทั้งกองทัพและพลเรือน ทำให้เกิดการะดมความคิดเห็นทำให้เกิดนโยบายที่น่าสนใจ

ปัจจัยภายนอก
-การปรับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐ
-สหรัฐถอนตัวออกจากสงครามเวียดนามและให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลง
ในยุคนี้ไทยต้องปรับนโยบายครั้งใหญ่ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองโลกเปลี่ยนไป  การที่สหรัฐไม่สามารถเอาชนะสงครามเวียดนามได้และต้องถอนตัวออกไปทำให้ไทยไม่สามารถพึ่งพาสหรัฐได้อีกต่อไป จึงต้องหันไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน รวมทั้งต้องเชื่อมสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนาม ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นเพราะเรามีผู้นำที่มีความสามารถ โดยเฉพาะบทบาทของรัฐบาลเสนีย์ที่มีผลทำให้ไทยสามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านอย่างสันติ
ในปลายสงครามเย็นไทยเราได้พยายามผลักดันให้อาเซียนมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคโดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา 
การสู้รบในกัมพูชาทำให้ไทยต้องดึงหลายประเทศเข้ามาสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหา เพราะไทยเราได้รับผลกระทบจากสงครามในกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้อพยพ ปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดน
นโยบายนี้มีผลทำให้ประเทศไทยมีมิตรประเทศ และทำให้ไทยมีชื่อเสียงในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในเวทีการประชุมสหประชาชาติ เพราะเราได้เป็น 1 ใน 15 ประเทศมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 

ประเด็น 3 บทบาทของไทยในอาเชี่ยนและเพื่อนบ้าน
    ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีความสำคัญในภูมิภาคนี้ เพราะประเทศไทยมีฐานะเด่นเหนือประเทศอื่น เนื่องจาก
-การเป็นเอกราชเพียงประเทศเดียวในภูมิภาค
-การมีที่ตั้งที่เป็นจุดเชื่อมของประเทศทั้งหมดในภูมิภาค
-การมีบทบาทเด่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 การมีบทบาทในสงครามเย็น และบทบาทในสงครามในอินโดจีน
-การมีกลไกที่เป็นเลิศในการแก้ปัญหาทางการเมืองในช่วงเกิดวิกฤติ นั่นคือการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ 
-ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยสูง เรามีสังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อย 
-มีปัญหาภัยธรรมชาติน้อยเมื่อเปรียบกับเพื่อนบ้าน
สำหรับบทบาทไทยในอาเซียนนั้นถือว่าไทยเป็นประเทศที่มีบทบาทนำมาโดยตลอดเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งอาเซียน และใช้อาเซียนให้เป็นประโยชน์ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดสงครามกัมพูชาไทยสามารถดึงให้ประเทศสมาชิกหันมาสนับสนุนแนวทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชาตามวิถีทางที่ไทยต้องการ 
มาในระยะหลังไทยเองก็ยังคงมีบทบาทหลักในการผลักดันความร่วมมือในอาเซียนไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือการจัดตั้งประชาคมอาเซียน 
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันไทยไม่ได้ใช้ความเป็นผู้นำของภูมิภาคในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิภาคอินโดจีนมากนักเนื่องจาก ไทยถูกมองด้วยความระแวงสงสัยจากประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีนรวมทั้งพม่า
    ความหวาดระแวงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
    1.ความหวาดระแวงและความไม่ไว้วางใจทางเศรษฐกิจ เราจะเห็นว่าไทยไม่ได้เป็นผู้นำในการลงทุนในอินโดจีน แต่กลายเป็นสิงคโปร์และมาเลเซีย เพราะพ่อค้าไทยและนักธุรกิจไทยถูกมองว่าเป็นนักฉวยโอกาสหวังประโยชน์เฉพาะตัวและก่อให้เกิดความเสียหาย
    2.เป็นความไม่ไว้วางในทางการเมืองและความมั่นคง ไทยถูกมองว่าไทยมีส่วนในการก่อความวุ่นวายทั้งใน พม่า ในลาวและเวียดนาม และกัมพูชา  ที่สำคัญเราถูกมองว่าเป็นเครื่องมือของสหรัฐ
    เช่นลาวไม่ไว้ใจไทยในเรื่อง ม้งที่ถ้ำกระบอก หรือพม่ามองว่าไทยรับนโยบายจากสหรัฐในการแทรกแซงกิจการภายในของพม่า ดังนโยบายแทรกแซงอย่างสร้างสรรค์ที่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยประกาศก็ได้รับการต่อต้านทั้งจากพม่าและสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ไทยถูกมองว่าเป็นแหล่งลี้ภัยของชนกลุ่มน้อยที่รัฐพม่าใช้กำลังปราบปราม หรือไทยเป็นแหล่งที่ชาวญวนและเขมรอพยพที่ฝ่ายรัฐบาลมองว่าเป็นฝ่ายที่ตรงกันข้ามกับรัฐบาลมาพนักอาศัย
    คำถามที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทยที่มีนโยบายในการเป็นบทบาทนำทางด้านต่างในอนาคตจะทำได้อย่างไร
จริงๆแล้วประโยชน์จากประเทศเพื่อนบ้าน แต่เรากลับไม่ได้ประโยชน์อันนี้เท่าที่ควร เพราะประเทศเหล่านี้ไม่ไว้ใจไทย
    อาทิ
    ลาวไม่ไว้ใจไทย ตั้งแต่เรื่องที่ไทยสนับสนุนลาวฝ่ายขวาในอดีต รวมทั้งเรื่องชายแดนหมู่บ้ายต่างๆ
    -พม่าไม่ไว้ใจไทย ตั้งแต่ปัญหาชนกลุ่มน้อย ยาเสพติด การแทรกแซงพม่าเรื่องประชาธิปไตย
    -กัมพูชา ไม่พอใจไทยเพราะมองว่าไทยสนับสนุนเขมรแดง มองว่าไทยต้องการครอบงำ รวมทั้งความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์
    -เวียดนาม ไม่พอใจไทยตั้งแต่ไทยสนับสนุนสหรัฐเข้าไปทำสงครามเวียดนาม แถมยังส่งทหารไปเข่นฆ่าคนเวียดนาม ปัจจุบันกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเวียดนามก็ยังใช้ไทยเป็นฐานในการปฏิบัติการ
    ขณะเดียวกันนักลงทุนไทยทีไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ยังเอาเปรียบ ทำไทยมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในสายตาเพื่อนบ้าน 
                    *******************
                    
แนวข้อสอบ

ข้อสอบเก่าอ.ธนาสฤษฎิ์ 
1.จงพิจารณานโยบายต่างประเทศของรัฐบาลทักษิณ
2.จงพิจารณาบทบาทของ มรว.เสนีย์ ปราโมช ต่อผลประโยชน์แห่งชาติในการต่างประเทศของไทย
3.จงเปรียบเทียบนโยบายไทยกับพม่าระหว่างยุคนายกชวนและนายกมทักษิณ 
4.จงพิจารณาปัญหาสงครามเวียดนาม (เวลาตอบต้องพูดถึงนโยบายต่างประเทศไทย)
    ถ้าอาจารย์ถามเช่นนี้สิ่งที่นักศึกษาต้องเตรียมเพื่อนำไปตอบคือ
-ให้ตอบถึงที่มาของปัญหาเสียก่อน 
-พูดถึงสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ในเวลานี้
-พูดถึงแนวโน้มของปัญหาในอนาคตว่าน่าจะเป็นอย่างไร
    ***ที่สำคัญเวลาวิเคราะห์จะต้องเอากรอบ SBS ไปวิเคราะห์เสมอ เช่นข้อ 3 เราก็ต้องบอกว่ามีปัจจัยภายในและภายนอกอะไรบ้างที่มีผลต่อนโยบายของนายกชวนต่อพม่า มีนโยบายอะไรบ้างที่มีผลต่อนโยบายของนายกทักษิณต่อพม่า**

ตัวอย่าง การตอบข้อสอบที่ออกมาเป็น Case Study 
จงวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศไทยต่อ กรณีนักศึกษาพม่ายึดสถานทูตพม่า วันที่ 1-2 ตุลาคม2542 (ยกเหตุการณ์เก่าหน่อยนะคะเป็นตัวอย่างเท่านั้น)
    ภูมิหลังของปัญหา
    ปัญหาที่เกิดขึ้นในพม่าปีในวันที่ 8  เดือน สิงหาคม 1988  (พม่าจะเรียกว่าเหตุการณ์ 8888 ) ได้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญในพม่า คือการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในพม่า และในครั้งนั้นพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ที่นำโดยอองซานซูจี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งแต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะฝ่ายทหารเข้ายึดอำนาจ และจับผู้นำพรรค NLD ขังคุกและปฏิเสธผลการเลือกตั้ง รวบทั้งควบคุมตัวนางอองซานซูจีนเอาไว้ (กักบริเวณ) 
ทำให้เกิดการเดินประท้วงรัฐบาลของบรรดานักศึกษา ทำให้ถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามอย่างรุนแรง และขบวนการนักศึกษาถูกทำลายล้างจำนนวนมาก โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยร่างกุ้ง ทำให้มีนักศึกษาจำนวนมากหนีภัยมาอยู่ตามแนวชายแดน และประเทศก็ให้ความช่วยด้วยจัดศูนย์อพยพให้เป็นที่อยู่อาศัย
    ขณะที่นักศึกษาอีกส่วนหนึ่งก็เข้าไปอยู่กับกองกำลังชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน และจับอาวุธเพื่อล้มล้างรัฐบาลพม่า ขณะที่ซูจีก็ยังอยู่ในพม่าและปักหลักสู้กับรัฐบาลพม่าต่อไป
    รัฐบาลพม่าจึงมองว่านักศึกษาเหล่านี้เป็นศัตรูกับพม่า และมองว่านักศึกษาได้รับการสนับสนุนจากภายนอกในการเคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาลพม่า ซึ่งเป็นทั้งประเทศตะวันตก และพม่ามองว่าไทยก็สนับสนุนเช่นกัน  และเวลานี้นักศึกษาพม่าก็ยังอยู่ในเมืองไทยและได้รับการดูแลจากองค์การต่างของสหประชาชาติ
    และนักศึกษาพม่าเหล่านี้ก็มาทำกิจกรรมร่วมกันใความเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพม่า เช่นในรามคำแหง นักศึกษาจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพ ตรงนี้ทำให้พม่ามีความระแวงไทยมาก
    สภาพปัญหา
    ในวันที่ 1 ตุลาคม 2542 นักศึกษาพม่าได้เหมารถ 2 แถวพร้อมอาวุธสงครามเข้าไปบุกยึดสถานทูตพม่า ซึ่งเป็นที่สงสัยว่าทำไมนักศึกษาพม่ามีอาวุธครบมือผ่านด่านต่างๆของตำรวจเข้ามาได้อยางไร และทำไมเรื่องเหล่านี้หน่วยข่าวกรองจึงไม่ทราบ  
และในตอนนั้นมีการจับตัวประกันได้ 89 คน ทำให้พม่ามีความรู้สึกสูญเสียเกียรติภูมิของประเทศ โดยนักศึกษาพม่าเรียกร้องให้พม่าเปิดการเจรจา จัดการประชุมสภา ปล่อยตัวนักโทษการเมือง
    ในเวลานั้นรัฐบาลไทยให้คำมั่นกับรัฐบาลพม่าว่าจะแก้ปัญหาโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวประกันเป็นหลัก
    ในวันที่ 2 นักศึกษาพม่าขอเฮลิคอบเตอร์ 1 ลำเพื่อเดินทางไปบริเวณชายแดน
ซึ่งรัฐบาลไทยได้ทำตามข้อเรียกร้อง พร้อมกับเอาตัวรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ เป็นตัวประกันว่านักศึกษาจะปลอดภัย
    และรัฐบาลไทยได้แถลง และบอกว่าเป็นเรื่องของผู้เรียกร้องประชาธิปไตยไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายแต่อย่างใด การแถลงเช่นนี้ทำให้รัฐบาลพม่าไม่พอใจ ทำให้พม่ามองว่าไทยคล้อยตามความเห็นของตะวันตก ที่โจมตีพม่าในเรื่องสิทธิมนุษยชน  และพม่าโกรธเราะมองว่าขนาดที่มีการกระทำการถึงการยึดสถานทูตยังเรียกว่าผู้เรียกร้องประชาธิปไตย
    ทำให้สถานทูตพม่าในกรุงวอชิงตัน ออกแถลงการณ์ตอบโต้ประเทศไทยที่ไม่จับกุมผู้ก่อการร้าย ตามาด้วยการมีคำสั่งปิดด่านตามแนวชายแดนและยกเลิกสัมปทานและป่าไม้
    ส่วนรัฐบาลไทยก็ได้มีคำสั่งให้พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร ไปเจรจาไกล่เกลี่ยปัญหา การมอบหมายให้พลเอกเชษฐาเป็นคนไกลเกลี่ยนก็คือการพิจารณาเลือกตัวบุคคลที่มีความผูกพันใกล้ชิดกับพม่า ซึ่งพลเอกเชษฐามีความสัมพันธ์ที่ดีกับพม่าในช่วงที่เป็น ผบ.ทบ.
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนตัดสินใจนโยบาย
    ปัจจัยภายใน
    -สภาพการเมืองภายในประเทศ ไทยและพม่ามีความแตกต่างกันในด้านการปกครอง ขณะที่ไทยเป็นประชาธิปไตยแต่พม่าเป็นเผด็จการทหาร มีการรวมศูนย์อำนาจการปกครองที่รัฐบาลทหาร 
    การที่รัฐบาลพม่ามีการปกครองแบบเผด็จการทำให้พม่ามีการตัดสินใจดำเนินนโยบายตอบโต้ไทยในลักษณะที่แข็งกร้าว
    ขณะที่ไทยนั้นต้องมีการพิจารณาดำเนินนโยบายอย่างรอบคอบ และดำเนินนโยบายส่งบุคคลไปเจรจา และเมื่อสถานการณ์ไม่ดีขึ้น รัฐบาลไทยก็ใช้นโยบายตอบโต้ด้วยการเข้มงวดต่อการเข้ามาของแรงงานพม่า
    -สภาวะผู้นำและทัศนคติ สำหรับผู้นำพม่าผู้นำมีความเข้มแข็งเพราะเป็นเผด็จการตัดสินใจนโยบายอย่างรวดเร็วและเฉียบขาด 
    -บทบาทของมติมหาชนและสื่อมวลชน ของพม่านั้นสื่อมวลชนและประชาชนไม่มีบทบาทใดๆ เพราะรัฐบาลควบคุมพฤติกรรมของประชาชน
    แต่สำหรับประเทศไทยสื่อมวลชนและมติมาชนมีเสรีภาพ และส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับการดำเนินนโยบายของรัฐบาลไทย และการที่สื่อมีเสรีภาพก็มีการนำเสนอข่าวในลักษณะที่คล้อยตามนโยบายของรัฐบาล เพราะโดยส่วนใหญ่สื่อมวลชนไทยก็ไม่ชอบพม่ามากนัก
    ปัจจัยภายนอก
    1.อิทธิพลของมหาอำนาจ มหาอำนาจนั้นมีนโยบายแซงชั่นทางเศรษฐกิจกับพม่ามาโดยตลอด แต่พม่าอยู่ได้จากการค้าขายกับจีน อินเดียและ การค้าขายแดนไทย และอิทธิพลของมหาอำนาจจะเห็นได้จากการแสดงออกของนโยบายของไทยที่ถูกกล่าวหาว่าอิงกับตะวันตก และในวิกฤตการณ์ครั้งนี้ประเทศตะวันตกก็ให้การสนับสนุนการดำเนินนโยบายของไทยเป็นอย่างดี
    2.สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ เหตุการณ์ระหว่างประเทศในช่วงนี้เป็นช่วงของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งสถานการณ์มักจะสอดคล้องกับการประกาศระเบียบโลกใหม่ ของสหรัฐ ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายของพม่า ทั้งปัญหาสิทธิมนุษยชน ทั้งเรื่องของประชาธิปไตย 
    ตรงนี้ก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจนโยบายที่พม่าและไทยที่นำมาใช้ตอบโต้กัน
    สำหรับเครื่องมือที่นำมาใช้คือเครื่องมือทางการเมืองและการทูต รวมทั้งการนำเอาเครื่องมือทางเศรษฐกิจมาใช้คือพม่าสั่งปิดด่านการค้าตามแนวชายแดน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันไทยก็ใช้นโยบายผลักดันแรงงานพม่าออกนอกประเทศก็ทำให้พม่าเดือดร้อนจนกระทั่งนำไปสู่การประนีประนอม
    แนวโน้มความสัมพันธ์ไทยพม่าหลังจากการบุกยึดสถานทูต
    การยึดสถานทูตพม่าของนักศึกษา ซึ่งเป็นผู้อพยพที่ศูนย์มณีลอย เป็นกรณีที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากรัฐบาลไทยได้แสดงท่าทีในลักษณะสนับสนุนนักศึกที่ก่อเหตุ ทำให้พม่าไม่พอใจ เพราะในทางปฏิบัติเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่ต้องให้การคุ้มครองสถานที่ตั้งของสถานทูตของประเทศต่างๆ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือพม่าปิดด่านชายแดนเพื่อตอบโต้ไทยและมีผลทำให้พม่าไม่เคยไว้ใจไทย
สรุป
การบุกยึดสถานทูตของนักศึกษาพม่าทำให้ความสัมพันธ์ของไทยกับพม่าเลวร้ายลงไปอีก หลังจากที่ไทยเราได้เปลี่ยนโยบายจากนโยบายความเกี่ยวพันธ์อย่างสร้างสรรค์ (Constructive Engagement) มาเป็นการแทรกแซงอย่างยืดหยุ่น (Flexible Intervention) แม้ว่าต่อมาจะเปลี่ยนเป็นการปฏิสัมพันธ์อย่างยืดหยุ่น    (Flexible Engagement) ก็ตาม


    









                














Ps 711 สรุปอาจารย์
 อาจารย์อรัสธรรมเน้นเรื่อง ทฤษฎีและเทคนิคที่นำไปใช้ในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ 
โดยทฤษฎีและเทคนิคดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย 3 ขั้นตอนคือ
1.ขั้นการกำหนดนโยบาย (Policy Formulation)
2.ขั้นการวางแผนหรือขั้นการแปลงนโยบายไปเป็นแผนงานและโครงการ (Planning)
3.ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) 
ดังรูป














ดังนั้นนักศึกษาต้องทำความเข้าใจว่าในแต่ละขั้นตอนของนโยบายมีทฤษฎีและเทคนิคที่จะนำไปใช้ในการวิเคราะห์อย่างไรบ้าง 
**ส่วนใหญ่ข้อสอบมักจะให้นำเลือกทฤษฎีและเทคนิคที่นักศึกษาสนใจไปวิเคราะห์นโยบายที่อาจารย์กำหนดมาให้ โดยอาจจะให้วิเคราะห์ทั้ง 3 ขั้นตอนหรือขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง***
สรุปเนื้อหาที่ต้องเตรียมอ่าน
ทฤษฎี และเทคนิคในขั้นการกำหนดนโยบาย (Policy Formulation)

ทฤษฎีในขั้นการกำหนดนโยบาย
1.ทฤษฎีผู้นำ (Elite Model) มองว่านโยบายมาจากกำหนดของชนชั้นนำในสังคม นโยบายจึงสะท้อนความต้องการและรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นนำในสังคมมากกว่าจะสนองตอบต่อคนส่วนใหญ่ 
2.ทฤษฎีกลุ่ม (Group Model) บอกว่านโยบายถูกกำหนดโดยกลุ่มผลประโยชน์ โดยในสังคมจะมีกลุ่มหลายกลุ่มที่มีความหลากหลาย และกลุ่มจะเข้าไปมีอิทธิพลในการต่อสู้และแข่งขันกันเพื่อผลักดันให้รัฐบาลกำหนดนโยบายตามที่กลุ่มตนเองต้องการ 
3.ทฤษฎีสถาบัน (Institutional Model) มองว่านโยบายมาจากสถาบันต่างที่มีอำนาจอันชอบธรรม เนื่องจากในสังคมจะมีโครงสร้างต่างๆที่ต้องมีการทำหน้าที่ และสถาบันหลายสถาบัน เช่นรัฐบาล นิติบัญญัติ ก็จะเป็นโครงสร้างที่มีหน้าที่อันชอบธรรมในการกำหนดนโยบาย
4.ทฤษฎีระบบ (System Model) มองวาการกำหนดนโยบายมากจากเรียกร้องและการสนับสนุน ที่ป้อน หรือ Input เข้าสู่ระบบการเมือง จากนั้นระบบการเมืองจะผ่านกระบวนการพิจารณา ให้ออกมาเป็นนโยบาย นโยบายที่ออกมาถ้าเป็นนโยบายที่ดีคือสามารถตอบสนอง Input ได้ จะช่วยในการรักษาสมดุลของระบบ
5.ทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Model) มองว่านโยบายเกิดจากกระบวนการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ 
ทฤษฎีการตัดสินใจแบบแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1.การตัดสินใจที่สมเหตุสมผล คือรวบรวมข้อมูลทั้งหมดอย่างรอบด้าน พิจารณาทางเลือกทุกทางเลือกที่มี ดูถึงผลดีผลเสียของแต่ละทางเลือกโดยเปรียบเทียบ จึงตัดสินใจออกมาเป็น นโยบาย การตัดใจแบบนี้ถือเป็นแบบที่ดีที่สุด แต่ในทางปฏิบัติมักจะทำไม่ได้ เพราะจะต้องใช้เวลาในการหาข้อมูล รวมทั้งมีต้นทุนสูง    
2.การตัดสินใจแบบส่วนเพิ่ม คือ พิจารณาเฉพาะข้อมูลใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้วตัดสินใจ แบบนี้เร็วแต่มีโอกาสพลาด
3.การตัดสินใจแบบผสม หมายถึงพิจารณาเฉพาะข้อมูลใหม่ แต่เป็นการพิจารณาอย่างรอบคอบ หาข้อมูลอย่างละเอียด 
เทคนิคในขั้นการกำหนดนโยบาย
จะมีหลายเทคนิคมาก นักศึกษาควรจะเลือกจำบางเทคนิคที่คิดว่าสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ได้ดี เช่น
1.เทคนิคการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นปัญหา เป็นเทคนิคที่นำมาใช้เพื่อดูว่าปัญหาที่แท้จริงของนโยบายคืออะไร เพราะถ้าเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริงก็จะทำให้กำหนดนโยบายออกมาได้ดี
ในการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นปัญหาปัญหาเราต้องบอกให้ได้ว่าปัญหานั้น
-เป็นปัญหาสังคม (Societal Problems) ไม่ใช่ปัญหาส่วนตัว
-เป็นปัญหาที่ซีเรียส เครียด (Serious Problems) และแผ่วงกว้าง (Widespread Problems) 
-เป็นปัญหาที่เกี่ยวพันหรือทำให้เกิดปัญหาอื่น 
2.เทคนิคการประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา เช่น
1.1 การคำนวณเชิงตีกรอบ (Back -of -the –Envelope Calculations) เป็นเทคนิคในการคำนวณออกมาเพื่อระบุว่าปัญหานั้นมีขอบเขตแค่ไหน และมีความรุนแรงแค่ไหน 
1.2 การวิเคราะห์การตัดสินใจที่รวดเร็ว (Quick Decision Analysis ) วิธีการนี้จะเน้นว่าจะทำอย่างไรเมื่อดูข้อมูลแล้วจะตัดสินใจได้รวดเร็วที่สุด 
1.3 การนิยามเชิงปฏิบัติการ คือนิยามปัญหาให้มีความชัดเจนว่าคืออะไร
1.4 การระดมสมอง เพื่อดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร เป็นการถกเถียงกันเพื่อให้เกิดข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ 
ทฤษฎีและเทคนิคในขั้นการแปลงนโยบายไปเป็นแผนงานและโครงการ (Planning)
ทฤษฎีการวางแผน แบ่งออกเป็น
1.การวางแผนที่เน้นเนื้อหา ดูเนื้อหาสาระของปัญหาที่กำหนดมาเป็นนโยบายและแผน
2.การวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ 
3.การวางแผนที่เน้นการควบคุม ตรงนี้จะดู ว่าใครมีอำนาจในการควบคุมแผนแบ่งเป็น
/แนวเศรษฐศาสตร์การเมือง มองว่ารัฐบาลวางแผนเพื่อสนับสนุนนายทุน แนวคิดนี้จึงให้ความสำคัญกับคนจน
/แนวมนุษยนิยม บอกว่าการวางแผนควรให้ความสำคัญกับปัจเจกชน
/แนวปฏิบัตินิยม  เป็นแนวทางวางแผนเพื่อเน้นการนำไปปฏิบัติได้

เทคนิคในขั้นวางแผน
จะใช้เทคนิคในการวิเคราะห์แผนงานและโครงการ เพื่อดูความเป็นไปได้ของแผน (Feasibility Study) ในด้านต่างๆคือ
1.การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิควิชาการ 
2.การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจและการคลัง  เช่นใช้วิธีวิเคราะห์เงินสดหมุนเวียน (Cash Flow Analysis) การวิเคราะห์ค่าเงินปัจจุบัน (Net Present Value) หรือใช้อัตราส่วนระหว่างผลตอบแทนและต้นทุน  (Benefit –Cost Ratio) เป็นต้น
3.การวัดความอยู่รอดในทางการเมือง (Political Viability) เป็นการศึกษาว่าโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนหรือไม่ โดยดูในเรื่อง    
-การวิเคราะห์ความสามารถที่จะยอมรับโครงการนั้นๆได้ (Acceptability) 
-การวิเคราะห์ความเหมาะสม (Appropriateness) ของโครงการ
-การสนองตอบจากประชาชน (Responsiveness) ต่อนโยบายหรือโครงการ
-การวิเคราะห์ความถูกต้องตามกฎหมายและความเป็นธรรม (Laws and Equity) ของนโยบายนั้นๆ
4.การวัดความสามารถในการปฏิบัติทางด้านการบริหาร (Administrative Operability) นั่นคือดูว่าในทางปฏิบัติ โครงการนั้นสามารถนำมาปฏิบัติได้มากน้อยแค่ไหน
ทฤษฎีและเทคนิคในขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)
ทฤษฎีในขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1.ทฤษฎีที่มีรากฐานทฤษฎีการตัดสินใจ พอมาเป็นทฤษฎีในการนำนโยบายไปปฏิบัติที่เรียกว่า The Rational Model หรือตัวแบบสมเหตุสมผล
2.ทฤษฎีที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีการบริหารและทฤษฎีองค์การ จะพัฒนามาเป็นทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติ 4 ตัวแบบด้วยกันคือ
-The Management Model ตัวแบบการจัดการ
-The Bureaucratic Model ตัวแบบ ระบบราชการ 
-The Organizational Development Model ตัวแบบในการพัฒนาองค์การ 
- The Contingency Model ตัวแบบในเชิงเงื่อนไขสิ่งแวดล้อม 
3.ทฤษฎีที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีทางด้านการเมือง (Political Theory) จะมีพัฒนามาเป็นทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติที่เรียกว่าตัวแบบทางการเมืองหรือ The Political Model
การวิเคราะห์นโยบายโดยใช้ตัวแบบเหล่านี้ จะตอบคำถามหลักเพียงคำถามเดียวคือ ปัจจัยอะไรที่นำมาซึ่งความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ  
นั่นคือเป็นการมุ่งอธิบายว่านโยบายหรือแผนงานโครงการต่างๆ จะมีปัจจัยหรือตัวแปร (อิสระ) ที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1.ตัวแบบ Rational Model 
จากตัวแบบนี้ปัจจัยที่เป็น สาเหตุ (Cause) หรือ ตัวแปรอิสระ เรียกว่าปัจจัยด้านหลักเหตุผลประกอบด้วย
-ประสิทธิภาพในการวางแผน
-ประสิทธิภาพในการควบคุม 
-ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของนโยบาย 
-ความชัดเจนในการกำหนดภารกิจและการมอบหมายงาน
    -ความชัดเจนของมาตรฐานในการปฏิบัติงาน 
-ประสิทธิภาพของระบบวัดผล 
-มาตรการให้คุณให้โทษจะต้องมีความชัด
จากตัวแปรเหล่านี้นักศึกษาสามารถนำมาวิเคราะห์ โครงการต่างๆว่ามีปัจจัยเหล่านี้อย่างไร และส่งผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการอย่างไร 
2.ตัวแบบทฤษฎีการบริหารและทฤษฎีองค์การ
ตามตัวแบบนี้ (Cause) สาเหตุหรือตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย
1.ตัวแปรที่มาจาก Management Model จะดูที่ สมรรถนะขององค์การ ซึ่งประกอบด้วย
-ความเหมาะสมทางด้านโครงสร้างขององค์การ 
-ความเพียงพอด้านปริมาณและด้านคุณภาพและคุณธรรมของบุคลากรในองค์การ 
-ความเพียงพอในด้านงบประมาณ 
-ความเหมาะสมด้านสถานที่ 
-ความพร้อมในด้านวัสดุเครื่องมือเครื่องใช้
2.ตัวแปรที่ได้มาจากตัวแบบระบบราชการ ( The Bureaucratic Model) ประกอบด้วย
-ระดับความเข้าใจสภาพความเป็นจริงในการให้บริการของผู้กำหนดนโยบาย 
-ระดับการยอมปรับนโยบายให้เป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานหรือเจ้าหน้าที่ 
3.ตัวแปรจากตัวแบบการพัฒนาองค์การ (The Organization Development Model-OD) ตัวแปรที่นำมาวิเคราะห์คือ
-การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ 
-ความผูกพันของเจ้าหน้าที่ต่อองค์การ 
-การได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน ถ้าผู้ปฏิบัติงานได้รับการยอมรับจากเพื่อร่วมงานนโยบายที่นำไปปฏิบัติก็จะสำเร็จได้มาก
-ภาวะผู้นำของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ 
-การมีการทำงานเป็นทีม 
-การมีสิ่งจูงใจในการปฏิบัติงาน 
ทั้งนี้ถ้าองค์การมีการพัฒนาปัจจัยเหล่านี้โอกาสของการนำนโยบายมาปฏิบัติให้เกิดผลจะมีมาก
4.ตัวแปรของตัวแบบเงื่อนไขสิ่งแวดล้อม(The Contingency Model)  เป็นดูว่าในการนำนโยบายหนึ่งๆไปปฏิบัติมีสิ่งแวดล้อมอะไรบ้าง และส่งผลต่อความสำเร็จของนโยบายอย่างไร
3.ตัวแบบทางการเมือง (Political Model) 
ปัจจัยทางด้านการการเมืองที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จและล้มเหลวของนโยบายประกอบด้วย
-ความสามารถในการเจรจาต่อรองของผู้นำองค์การ
-ปริมาณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
-การสนับสนุนจากกลุ่มต่างๆว่ามีมากน้อยแค่ไหน
-บุคลิกภาพของผู้ต่อรอง
-ความรู้ความสามารถของผู้ต่อรอง 
-สถานะทางอำนาจของหน่วยงาน
เทคนิคในการนำนโยบายไปปฏิบัติ  
 (1) การวิเคราะห์ข่ายงาน (Network Analysis) ดูว่ากิจกรรมใดควรทำก่อนทำหลังเรียงลำดับสร้างเป็นข่ายงานขึ้นมา
(2) Critical Path Method (CPM) การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤติ ดูว่ากิจกรรมใดที่ต้องรีบทำเพราะเวลาวิกฤติแล้ว
(3) Program Evaluation and Review Technique (PERT) เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการคำนวณเวลาในการนำเอาแผนงานและโครงการไปปฏิบัต
(4) Gantt Chart สร้างตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลากับกิจกรรม 
*** สิ่งที่ต้องเตรียมตัวสำหรับอาจารย์อรัสธรรม ****
1.เตรียมข้อมูลนโยบายปัจจุบันไว้บ้าง เชื่อว่าอาจารย์จะถามถึงเรื่องใหม่ที่เป็นประเด็นในสังคมไทย
2.อ่านโจทย์แล้วดูให้ออกว่าคำถามที่อาจารย์ถามนั้นเป็นคำถามที่ต้องการให้เราวิเคราะห์ขั้นตอนใดของนโยบาย (ขั้นกำหนด ขั้นการวางแผน หรือขั้นนำนโยบายไปปฏิบัติ)
3.เลือกเอาทฤษฎีและเทคนิคมาใช้ในการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับโจทย์ 

ตัวอย่างข้อสอบ
จากข้อสรุปที่ว่า การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (Public Policy Analysis) เป็นศาสตร์ที่แตกต่างจากการศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies)  โดยทั่วไปคือการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะจะต้องเน้นทฤษฎีและเทคนิคต่างๆในการวิเคราะห์แต่ละขั้นตอนของกระบวนการนโยบาย (Policy Process) ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด 
ให้ยกตัวอย่างนโยบายสาธารณะ 1 นโยบายและอธิบายว่าจะใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการวิเคราะห์นโยบายดังกล่าวได้อย่างไร 
จากคำถามแสดงว่ามี 2 คำถามหลักคือ
-ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าการศึกษานโยบายแบบที่เน้นการวิเคราะห์ต่างจากการศึกษานโยบายแบบทั่วไป (ต้องตอบว่าเห็นด้วยและให้เหตุผล)
-ยกนโยบาย มา 1 นโยบาย และเลือกเอาทฤษฎีและเทคนิคมาวิเคราะห์นโยบาย


**********************************************************************************


สรุป PS 711 การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ

วิชาการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ มีวัตถุประสงค์ คือ ให้นักศึกษาวิเคราะห์นโยบายโดยใช้ตัวแบบหรือทฤษฎี
อาจารย์รวิภา เน้น 2 ประเด็นคือ
1.กรอบในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ โดยอาจารย์เสนอกรอบหรือตัวแบบ 3 ตัวแบบคือ
1.1 ตัวแบบของ โธมัส อาร์. ดาย เสนอกรอบการวิเคราะห์องค์ประกอบนโยบาย
1.2 ตัวแบบของ ดรอร์,เพรสแมน,วิลดาฟสกี้และแอนเดอร์สัน เสนอกรอบการวิเคราะห์โดยพิจารณาที่ขั้นตอน และกระบวนการของนโยบายสาธารณะ 
3. วิลเลียม เอ็น. ดันน์ เสนอกรอบการวิเคราะห์ที่พิจารณากระบวนการและเทคนิควิธีในการวิเคราะห์
2.การวิเคราะห์นโยบายในขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ
อาจารย์อรัสธรรม เน้นเรื่องทฤษฎีและเทคนิคในการวิเคราะห์นโยบาย 3 ขั้น คือ
1.ขั้นการการกำหนดนโยบาย
2.ขั้นการแปลงนโยบายไปเป็นแผนงานและโครงการ
3.ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ ดังรูป













****************************************************************
สรุปอาจารย์รวิภา (ps 711)
1.กรอบการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
1.1 ตัวแบบของ โธมัส อาร์. ดาย 
            
            Policy Stakeholders

Policy Environment                Public Policy 

ตัวแบบนี้เสนอว่าในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะต้องศึกษาผ่านองค์ประกอบสามตัวคือ
1.ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสียกับนโยบาย หรือ Policy Stakeholders
2.Policy Environment สภาพแวดล้อมนโยบาย
3.Public Policy ตัวนโยบายสาธารณะ
การวิเคราะห์นโยบายโดยอาศัยตัวแบบนี้จะต้องพิจารณาว่าองค์ประกอบทั้ง 3 ตัวนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อกันอย่างไร โดยในการวิเคราะห์จะต้องระบุรายละเอียดขององค์ประกอบทั้ง 3 ให้ได้ 
ตัวอย่าง นโยบายเช็คช่วยชาติจะเกิดมาจากสภาพแวดล้อมที่สำคัญคือการเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจึงมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยแจกเช็คจำนวน 200 บาทให้ประชาชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนนำเงินไปใช้จ่ายเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ดังจะพบว่าในการแจกเช็คช่วยชาตินั้นจะมีการดำเนินการตามห้างสรรพสินค้า ซึ่งทางห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่างๆให้ความร่วมมือกับนโยบายนี้ด้วยการเพิ่มมูลค่าเช็คให้มากขึ้นเมื่อประชาชนนำเช็คไปจับจ่ายสินค้า แต่การแจกเช็คเฉพาะคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมก็ไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก และยังสร้างความไม่พอใจกับกลุ่มที่อยู่นอกระบบประกันสังคม ทำให้รัฐบาลต้องเพิ่มกลุ่มเป้าหมายของนโยบายมากขึ้น คือ อสม.และพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายนี้จะมีตั้งแต่ รัฐบาล ประชาชน ผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆ 
สภาพแวดล้อมนโยบายคือ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ส่วนสภาพแวดล้อมทางการเมืองก็มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีการกำหนดนโยบายนี้เนื่องจากรัฐบาลต้องการคะแนนนิยมจากประชาชน 
ผลจากนโยบายก็มีส่วนในการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยได้บ้าง แม้ว่าในภาพรวมไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นก็ตาม เพราะปัญหาเศรษฐกิจต้องใช้นโยบายอื่นๆด้วย แต่ก็ส่งผลให้รัฐบาลได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง
2. กรอบการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะของดรอร์ เพรสแมน วิลดาสกี้ และแอนเดอร์สัน (Dror, Pressman, Wildarsky, Anderson)
เป็นการวิเคราะห์ผ่านกระบวนการนโยบาย หรือวิเคราะห์ไปตามขั้นตอนนโยบาย) เป็นตัวแบบที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีระบบ














1.การวิเคราะห์ในขั้นการก่อรูปนโยบาย (Policy Formation)
ในขึ้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ที่มาของนโยบายว่ามาจากความต้องการของใคร มีประเด็นปัญหาอะไร ที่ทำให้เกิดความสนใจที่จะผลักดันให้เป็น Input เพื่อเข้าสู่กระบวนตัดสินใจ
2.การวิเคราะห์ขึ้นการตัดสินใจกำหนดนโยบาย (Policy Decision)
จากความต้องการและการผลักดันที่เป็น Input เข้าสู่ระบบการเมืองก็จะมีการตัดสินใจกำหนดออกมาเป็นนโยบาย (Output) ในขั้นนี้ต้องวิเคราะห์ว่าทำไม่ต้องตัดสินใจเลือกนโยบายนโยบายนั้นๆ  นโยบายมีจุดดีอย่างไร ใครจะได้ประโยชน์ และจะแก้ปัญหาหรือความต้องการที่เป็น Input หรือไม่
3.การวิเคราะห์ในการขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เมื่อมีนโยบายแล้วในขั้นต่อไปคือการนำนโยบายไปปฏิบัติ ในขั้นนี้จะต้องวิเคราะห์ว่านโยบายที่นำไปปฏิบัติจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เช่นหน่วยงานมีความพร้อมที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติให้สำเร็จหรือไม่ (ดูปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ) 
4.การวิเคราะห์ขั้นการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation หลังจากนำนโยบาย (Output) ไปปฏิบัติแล้วต้องประเมินผลว่านโยบายประสบความสำเร็จหรือมีผลลัพธ์ (Outcome) อย่างไ
5. การวิเคราะห์ขั้นการทบทวนนโยบายเพื่อยุตินโยบายหรือดำเนินนโยบายต่อไป 
เมื่อเกิดนโยบายเกิด Outcome แล้วต้องตรวจสอบ Outcome กับเป้าหมายที่ต้องการว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายเกิด Feedback ย้อนกลับไปสู่ Input กล่าวคือรัฐบาลต้องทบทวนนโยบายอีกครั้งหนึ่ง ผลการทบทวนจะมี 2 ทางเลือกคือยุตินโยบายนั้นหรือดำเนินนโยบายนั้นต่อไปโดยมีการปรับปรุงแก้ไขหากผลลัพธ์นโยบายไม่ตรงกับเป้าหมายที่คาดหวัง
ตัวอย่าง 
3.กรอบการวิเคราะห์นโยบายของวิลเลี่ยม เอ็น. ดันน์ (อาจารย์จะออกข้อสอบส่วนนี้)
เป็นกรอบในการกำหนดนโยบายเป็นขั้นตอนเช่นกัน (แต่มีรายละเอียดมากกว่าตัวแบบที่ 2) แต่เป็นการวิเคราะห์ขั้นตอนนโยบายโดยมีเทคนิคหรือวิธีการวิเคราะห์ร่วมด้วย 
กระบวนการนโยบาย ออกเป็น 5 ขั้นคือ
1.Policy Problem การระบุปัญหานโยบาย
2.Policy Alternatives การระบุทางเลือกนโยบาย 
3.Policy Actions การนำทางเลือกไปปฏิบัติ 
4.Policy Outcomes การระบุผลลัพธ์นโยบาย 
เทคนิควิธีการในการวิเคราะห์ประกอบด้วย
1.การกำหนดโครงสร้างปัญหา Problem Structure 
2.การทำนายหรือการพยากรณ์ (Forecasting)
3.การแนะนำ (Recommendation) 
4.เทคนิคการกำกับติดตาม (Monitoring) 
5.เทคนิคการประเมินผล (Evaluation)

กระบวนการนโยบายและเทคนิคในการวิเคราะห์จะมีความสัมพันธ์ดังรูป













กล่าวคือเมื่อมีปัญหา จะต้องใช้ เทคนิค Structuring Problem ในการระบุปัญหานโยบาย หรือ Policy Problem เพื่อให้ปัญหาเกิดความชัดเจน เมื่อรู้ปัญหานโยบายที่ชัดเจน ปัญหาดังกล่าวจะมีวิธีการหรือแนวทางในการแก้ปัญหาหลายทางต้องใช้วิธีการทำนายหรือการพยากรณ์ Forecasting เพื่อระบุทางเลือกนโยบาย Policy Alternative 
เมื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกใดไปปฏิบัติ (Actions) แล้วจะต้องใช้เทคนิคในการแนะนำ (Recommendation) ว่าการนำทางเลือกนั้นไปปฏิบัติต้องทำอย่างไรบ้าง จากนั้นก็ใช้การกำกับติดตาม (Monitoring) เพื่อให้การนำนโยบายไปปฏิบัติเกิดผลลัพธ์ (Outcome) จากนั้นก็ต้องประเมินผล (Evaluation) ว่าผลลัพธ์นั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้หรือไม่ เพื่อให้รู้ว่านโยบายมีระดับความสำเร็จหรือ Policy Performance มากน้อยแค่ไหน 
**ตัวเอนคือเทคนิควิธี
**ตัวตรงคือกระบวนการนโยบาย


ตัวอย่าง การวิเคราะห์นโยบายปฏิรูปการศึกษา (เป็นตัวอย่างสมมุติ)
1.การระบุปัญหานโยบาย (Policy Problem) 
ในการระบุปัญหานโยบายจะต้องใช้การ กำหนดโครงสร้างปัญหาเพื่อให้เกิดความชัดเจนของปัญหาดังนี้
ปัญหาคุณภาพของนักเรียนที่ตกต่ำลงโดยเด็กที่จบ ป. 6 แล้วยังอ่านหนังสือไม่ออกเขียนหนังสือไม่ได้มีจำนวนมากขึ้น ขณะที่นักเรียนมัธยมมีระดับความสามารถในการสอบวิชาต่างๆลดลง คุณภาพการศึกษาของเด็กไทยอยู่ในระดับที่ต่ำมาก อันจะส่งผลต่อคุณภาพประชากรและเป็นปัญหาต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต 
-ปัญหาดังกล่าวคือว่าเป็นปัญหาสาธารณะคือมีผลกระทบต่อส่วนรวม แม้ว่ากลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบปัญหาโดยตรงคือเด็กและเยาวชนก็ตาม
-เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรับแก้ไข
-เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา คือเมื่อเด็กอ่านหนังสือไม่ออกโอกาสที่จะพัฒนาตนเองจะทำได้ยากขึ้นและนั่นหมายถึงการพัฒนาประเทศจะทำได้ยากขึ้นด้วย
2.การะบุทางเลือกของนโยบาย (Policy Alternatives) 
จากปัญหาข้างต้นจะใช้ การพยากรณ์ ในการระบุทางเลือก 
จากปัญหานโยบายข้างต้นการจะหาแนวทางแก้ปัญหานั้นควรเป็นแนวทางที่สามารถทำให้นักเรียนที่จบ ป. 6 อ่านออกเขียนได้จริง ซึ่งทางเลือกที่น่าจะทำได้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว มี 3 ทางเลือกด้วยกันคือ
1.ปรับเปลี่ยนหลักสูตร
2.ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน
3.ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ
 3.การนำทางเลือกไปปฏิบัติ (Actions) เป็นข้อมูลที่จะบอกว่าจากทางเลือกหลายๆทางที่มีการเสนอขึ้นมานั้นเราตัดสินใจนำทางเลือกใดไปปฏิบัติ ในที่นี้คือการเลือกทางเลือกในการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ จากนั้นก็นำเอานโยบายนี้ไปปฏิบัติ
การเลือกการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบไปปฏิบัติเพราะพบว่าปัญหาเด็กอ่านหนังสือไม่ออกนั้นไม่ได้เกิดจากวิธีการเรียนการสอนและหลักสูตรแต่เพียงอย่างเดียวแต่พบว่าครูผู้สอนเองก็ขาดการทุ่มเทในการสอน ขาดความเอาใจใส่เด็ก ครูส่วนใหญ่ยังใช้เวลาส่วนหนึ่งของการเรียนไปทำกิจกรรมอื่นที่นอกเหนือจากการสอนเช่นการต้อนรับนักการเมืองหรือข้าราชการระดับผู้หญิงที่เดินทางลงมาในพื้นที่ รวมทั้งครูส่วนหนึ่งจะเน้นการออกไปสอนพิเศษเด็กนอกห้องเรียนมากกว่าที่จะสนใจการเรียนการสอนภายในเวลาเรียน
ดังนั้นการปรับการเรียนการสอนหรือการปรับหลักสูตรอย่างเดียวไม่น่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ทั้งระบบ เนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาจะเป็นการแก้ไขทั้ง ระดับนโยบายด้านการศึกษา ระดับครู ผู้บริหารสถานศึกษา และตัวนักเรียนด้วย
ในการนำนโยบายไปปฏิบัติจะต้องใช้การแนะนำ (Recommendation) คือ
1.เริ่มต้นจากปฏิรูปโครงสร้างเงินเดินครู โดยปรับเงินเดือนครูให้สูงขึ้น โดยครูบรรจุใหม่จะเริ่มต้นเงินเดือนที่ 20000 บาท เพื่อจูงใจให้คนที่มีความรู้ความสามารถและรักการเป็นครูตัดสินใจเรียนเพื่อจบออกมาเป็นครู
2.จัดระบบสวัสดิการและการพัฒนาครู รวมทั้งควบคุมคุณภาพอย่างใกล้ชิดด้วยการประเมินผล
3.จัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและรองรับเทคโนโลยีใหม่
4.ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กๆ
จากนั้นต้องคอยติดตาม (Monitoring) ว่าการนำนโยบายไปปฏิบัติมีปัญหาอะไรหรือไม่อย่างไร เช่นการประเมินผลคุณภาพครูจะต้องทีการออกแบบการวัดประเมินผลที่เป็นธรรมและน่าเชื่อถือ ถ้าในระหว่างการปฏิบัติมีปัญหาก็ต้องรีบปรับเปลี่ยน เช่นในบางโรงเรียนที่มีคนที่มีความรู้อยู่ในชุมชนเดียวกับโรงเรียนก็อาจจะดึงมาเป็นผู้สอนพิเศษ
4.ผลลัพธ์นโยบาย (Policy Outcomes) 
เมื่อประเมินผล (Evaluation) จากการดำเนินนโยบายปฏิรูปการศึกษาผลลัพธ์ที่ออกมาคือ
-คนเก่งสอบเข้าเรียนครูมากขึ้น
-สามารถปรับเงินเดือนของครูให้เป็นจริงตามเป้าหมาย
-นักเรียน ป. 6 อ่านออกเขียนได้มากขึ้น 
-คุณภาพของการสอบนักเรียนมัธยมสูงขึ้น
-คุณภาพของการศึกษาของเด็กไทยสูงขึ้น
5.ระดับความสำเร็จของนโยบาย (Policy Performance) เป็นข้อมูลที่จะบอกว่านโยบายที่ดำเนินการไปนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ในระดับใด 
เช่น (สมมุติ) จากนโยบายข้างต้น เราพบว่า 
-จากนโยบายปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบทำให้ เด็ก ป. 6 อ่านออกเขียนได้ถึง 90 % สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 70 %  
-คุณภาพการศึกษาของเด็กไทยก็ดีขึ้น โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญคือ เด็กไทยถูกจัดอันดับเป็นเด็กที่เรียนเก่งสูงขึ้นจากอันดับ 30 มาเป็นอันดับ 20 ในเอเชีย
-อัตราส่วนเด็กมัธยมที่ได้คะแนนสูงเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลือกเรียนคณะครุศาสตร์หรือศึกศาสตร์สูงขึ้น
จากตัวชี้ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านโยบายปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จในระดับสูง
(เวลาตอบจริงๆต้องให้สอดคล้องกันทั้งกระบวนการโยบาย)
2.การวิเคราะห์นโยบายในขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ ตามตัวแบบของวิลเลี่ยม เอ็นดันท์
ก่อนอื่นนักศึกษาต้องเข้าใจก่อนว่า การวิเคราะห์การนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นการตอบคำถามว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ
ตัวแบบของการวิเคราะห์การนำนโยบายไปปฏิบัติของดันน์จึงเป็นการเพิ่มรายละเอียดของการวิเคราะห์ ตามตัวแบบวงกลม ในส่วนที่เป็นการวิเคราะห์การติดตามการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Monitoring) ซึ่งตามตัวแบบของดันน์ปัจจัยที่ต้องวิเคราะห์ก็คือ
1.การวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าของนโยบาย (Input)
1.1 บุคลากรและคุณภาพของบุคคลการ 
นักศึกษาต้องวิเคราะห์ว่านโยบายที่นำไปปฏิบัตินั้นมีบุคลากรเพียงพอหรือไม่และมีคุณภาพหรือไม่
เช่นในนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่ยกตัวอย่างข้างต้น นักศึกษาอาจจะวิเคราะห์ว่าหน่วยงานที่นำนโยบายปฏิรูปการศึกษาไปปฏิบัติคือกระทรวงศึกษาธิการ มีจำนวนและคุณภาพของบุคลากรที่เพียงพอ
1.2 งบประมาณ 
ตรงนี้ต้องวิเคราะห์ว่างบประมาณที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติเพียงพอหรือไม่
เช่นอาจจะวิเคราะห์ว่างบประมาณที่จะใช้ในการดำเนินนโยบายการปฏิรูปการศึกษามีจำนวนเพียงพอ เนื่องจากงบประมาณบางส่วนได้รับการจัดสรรมาจากกองทุนการพัฒนาข้าราชการครู (สมมุติ)
1.3 วัสดุอุปกรณ์ ให้วิเคราะห์ว่าต้องใช้วัสดุอะไรบ้างและมีความพร้อมหรือไม่ 
เช่นนโยบายปฏิรูปการศึกษาจะต้องลงทุนในระบบ IT ซึ่งรัฐบาลมีระบบที่จะรองรับอยู่แล้ว (สมมุติ)
1.4 ข้อมูล
ต้องวิเคราะห์ว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายหรือการนำนโยบายไปปฏิบัติเพียงพอหรือไม่
เช่นนโยบายการปฏิรูปการศึกษามีข้อมูลอย่างเพียงพอเนื่องจากมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาจำนวนมาก
2.การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของวิธีการในการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยต้องวิเคราะห์ถึง
2.1 การสนับสนุนและการต่อต้านนโยบายว่ามีการสนับสนุนหรือการต่อต้านมากกว่ากัน
เช่น ตัวอย่าง นโยบายการปฏิรูปการศึกษาได้รับการสนับสนุนทั้งจากครู นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชน รวมทั้งข้าราชการ เนื่องจากต้องการให้ประเทศไทยมีครูและนักเรียนที่มีคุณภาพ และต้องการให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างก้าวหน้า
2.2 ความชัดเจนในวิธีการปฏิบัติ  ต้องดูว่าวิธีการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความชัดเจนหรือไม่
เช่น ตัวอย่างนโยบายปฏิรูปการศึกษา มีความชัดเจนในการปฏิบัติคือ
-เพิ่มเงินเดือนครูเข้าใจเป็นเดือนละ 20000 บาท
-มีการวัดผลการปฏิบัติงานทุกๆ 6 เดือน
2.3 การประสานงาน ต้องวิเคราะห์ว่าการนำนโยบายไปปฏิบัติมีการประสานงานที่ดีหรือไม่ 
เช่นนโยบายการปฏิรูปการศึกษามีความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายเป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นนโยบายที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวง สถาบันการศึกษา ผู้บริหาร รวมทั้งครูและนักเรียน
จากนั้นนักศึกษาต้องวิเคราะห์ว่าหากทุกปัจจัยมีความครบถ้วนพอเพียงก็จะเกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมาย
****************
    ***อาจารย์ระวิภาเน้นการวิเคราะห์นโยบายด้วยตัวแบบของ วิลเลี่ยม เอ็น ดันน์












สรุปวิชา PS 712
การมีส่วนร่วมทางการเมือง

แนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) เป็นแนวคิดที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเวลานี้ทั่วโลกต่างต้องการผลักดันให้ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นในทุกประเทศ ซึ่งประชาธิปไตยจะเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ประชาชนในแต่ละประเทศต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง
เพราะแม้ว่าในปัจจุบันประเทศเกือบ 200 ประเทศจะได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตย แต่ส่วนใหญ่ประเทศเหล่านี้ยังคงเป็นประชาธิปไตยเพียงรูปแบบ แต่ยังขาดเนื้อหาสาระของความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา 
การที่ระบอบประชาธิปไตยในหลายประเทศยังมีปัญหา ยิ่งทำให้แนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะขณะที่ทั่วโลกเชื่อว่า การสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับเข้มข้นเท่านั้นจึงจะช่วยแก้ปัญหาประชาธิปไตยได้ 
ทำให้ทุกวันนี้ทั่วโลกต่างต้องการจะผลักดันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (ที่ทุกประเทศใช้อยู่) ไปสู่ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งถือเป็นพัฒนาการอีกขั้นของประชาธิปไตย 
ทั้งนี้ระบอบประชาธิปไตยจะมีพัฒนาการมาแล้ว 3 ขั้นคือ
1.ประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy เกิดขึ้นในสมัยกรีก)
2.ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Democracy)
3.ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy)
    กล่าวคือในระยะแรกเริ่มมีประชาธิปไตยเกิดขึ้นในโลกจะเป็นประชาธิปไตยแบบทางตรง คือประชาชนเข้าไปใช้สิทธิทางการเมืองโดยตรง แต่เมื่อสังคมมีการขยายตัวและมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทำให้การเข้าไปใช้อำนาจในทางการเมืองของประชาชนโดยตรงทำได้ยาก จำเป็นต้องทีประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนเกิดขึ้นเนื่องจาก แต่ทุกวันนี้ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนสร้างปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประชาชนมองว่าควรจะเข้าไปใช้อำนาจทางการเมืองโดยตรงบ้างในบางเรื่องบางกรณีที่นักการเมืองไม่ให้ความสนใจ
    ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมจึงเป็นเสมือนการนำเอาประชาธิปไตยทางตรงมาใช้ร่วมกับประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน
    กล่าวคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมยังคงไว้ซึ่งระบบตัวแทน (ยังคงมีการเลือกตั้ง มีนักการเมือง ) แต่ประชาชนจะมีการใช้สิทธิทางการเมืองโดยตรงมากขึ้น เพราะในความเป็นจริงมีหลายเรื่องที่ประชาชนต้องการแต่ไม่ตรงกับความต้องการของนักการเมือง และบางเรื่องนักการเมืองไม่สนใจ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองทำให้เกิดการเมืองภาคประชาชนควบคู่ไปกับการเมืองของนักการเมือง 
จุดเด่นของอาจารย์แต่ละท่าน
1.อาจารย์สุชาติ แนวคิดการเมืองภาคพลเมืองหรือการเมืองภาคประชาสังคม
2.อาจารย์เชิญ การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวคิดจิตวิทยาและสังคมวิทยา
3.อาจารย์สุรพันธ์ การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ 2550 
4.อาจารย์วุฒิศักดิ์
5.อาจารย์ชัยชนะ สถาบันทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
เราอาจจะกล่าวได้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมเป็นแนวคิดในเชิงอุดมคติ เนื่องจาก (ตรงนี้อาจารย์วุฒิสอน)
1.การมีส่วนร่วมเป็นแนวคิดที่เชื่อว่าคนทุกคนมีเหตุผลจึงต้องให้คนแต่ละคนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง 
2.เชื่อว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองจะเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งแตกต่างทางด้านความคิด คือมองว่าถ้าเปิดให้มีการมีส่วนร่วมมากจะก่อให้เกิดการประนีประนอม (Compromise) และฉันทามติ (Consensus) มากกว่าจะเกิดความแตกแยก
3.แนวคิดการมีส่วนร่วมเชื่อว่าระดับของการมีส่วนร่วมจะสัมพันธ์กับระดับของคุณภาพทางการเมือง คือมองว่าการมีส่วนร่วมมากหมายถึงการมีระดับจิตสำนึกทางการเมืองที่สูง และ ระดับการมีส่วนร่วมจะขึ้นอยู่กับระดับสถานภาพของบุคคล โดยคนที่มีสถานภาพสูงมักจะมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะมาก
4.การมีส่วนร่วมต้องตั้งอยู่บนสมมุติฐานของความสมัครใจ (Voluntarism)
เมื่อเป็นแนวคิดในเชิงอุดมคติทำให้เรื่องของการมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงเป็นเรื่องที่อาจจะเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ 
อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นเรื่องที่สำคัญและเป้าหมายของการเมืองยุคใหม่ก็ต้องการให้การเมืองพัฒนาไปสู่การเมืองแบบมีส่วนร่วมทั้งสิ้น
ประเภทของการมีส่วนร่วมทางการเมือง มี 3 รูปแบบ คือ
1.การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เป็นทางการ (Formal Participation) เป็นการมีส่วนร่วมที่มีกฎหมายกำหนดไว้ เช่นการเลือกตั้ง การทำประชาพิจารณ์ การยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง
2.การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการ (Informal Participation) เช่น การประท้วงด้วยความสงบ การชุมนุม ล้อบบี้เป็นการส่วนตัว การใช้อิทธิพลนอกรัฐธรรมนูญ การปล่อยข่าวลือ 
3. การมีส่วนร่วมนอกรูปแบบ (Exceptional Form of Participation) เช่น การใช้ความรุนแรง ขบวนการใต้ดิน การยึดสนามบิน การยึดทำเนียบ
ลักษณะของการมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการ 
-มีกฎหมายรองรับ
-มีกระบวนการต่าง ๆ ที่ชัดเจน เช่นการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการเลือกตั้งจะต้องมีกระบวนการต่างๆที่ขัดเจน เช่นการจัดทำคูหาเลือกตั้ง การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ ไปจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง
-มีกติกายุติปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เป็นที่ยอมรับ 
มีข้อกำหนดการอุทธรณ์หากข้อยุติไม่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ยุติธรรม 
เช่นการเลือกตั้งถือเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นทางการ ก็จะมีกฎหมายรองรับ เช่นกฎหมายเลือกตั้งของไทยคือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ซึ่งในกฎหมายนี้จะระบุกระบวนการเลือกตั้ง และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้ง  
ลักษณะของการมีส่วนร่วมที่ไม่เป็นทางการ 
1.อาจมีกฎหมายรองรับหรือไม่ก็ได้ 
2.ช่องทางการมีส่วนร่วมอาจเป็นช่องทางที่เปิดเผยหรือไม่เปิดเผยก็ได้  
3. ใช้วิธีการที่หลากหลายในการผลักดันสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น 
4. กระบวนการเจรจาต่อรองขาดความชัดเจน 
5. ขาดกติกาสำหรับการยุติปัญหาหรืออุทธรณ์ 
การมีส่วนร่วมนอกรูปแบบ เช่น
1.การใช้ความรุนแรงทางการเมือง (Political Violence) เช่นการก่อการร้าย (Terrorism)
การมีส่วนร่วมโดยใช้ความรุนแรงทางการเมือง คนที่กระทำจะไม่คำนึงถึงจริยธรรม และอาจจะใช้วิธีการที่หลากหลายในการก่อความรุนแรง เช่นการจับตัวประกัน การขู่วางระเบิด โดยผู้ลงมือสร้างความรุนแรงมีเป้าหมายทางการเมือง 
ปัจจุบันสังคมไทยมีส่วนร่วมทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น เช่น 
-การสร้างความรุนแรงในจังหวัดภาคใต้
-การปิดล้อมทำเนียบและการยึดสนามบินของพันธมิตร
-การชุมนุมของคนเสื้อแดงในช่วงเดือนเมษายน 2552 หรือการปาไข่ใส่นักการเมือง  
-การชุมนุมด้วยการปิดถนนและเส้นทางการจราจร
เป็นต้น
2.การปฏิวัติ (Revolution) เป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในเชิงโครงสร้าง หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกแผ่นดิน เช่นเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งระบบสังคม
3.การดำเนินกิจการใต้ดินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปล่อยข่าวลือ ออกใบปลิวโจมตี ปัจจุบันกลุ่มเสื้อเหลืองและเสื้อแดงต่างใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการปล่อยข่าวลือเพื่อใส่ร้ายซึ่งกันและกัน  
การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นทางการตามรัฐธรรมนูญ 2550 (อาจารย์สุรพันธ์ออกข้อสอบ)
รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่เน้นสร้างการเมืองแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นแนวทางของการพัฒนาการเมืองที่สืบต่อมาจากรัฐธรรมนูญ 25540 
โดยในหมวด 5 ซึ่งเป็นหมวดที่ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ได้บอกชัดเจนว่ารัฐบาลจะต้องมีนโยบายสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้กับประชาชน เช่น มาตรา 87 บัญญัติบอกว่ารัฐต้องดำเนินนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนดังต่อไปนี้
1.ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
2.ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง (เช่นการเลือกตั้ง การลงประชามติ) การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมรวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
3.ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพที่หลากหลายหรือรูปแบบอื่นๆ 
4.ส่งเสริมให้ประชานมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองของพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งทั้งสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มประชาชนที่มีการรวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
5.ส่งเสริมและให้การศึกษากับประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม  
การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นทางการ
1.การมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยการเลือกตั้ง (Voting)
2.การมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยการออกเสียงประชามติ (Referendum)
3.การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเข้าชื่อกันใน 2 กรณีคือ
-ถอดถอน (Recall) ผู้บริหารและนักการเมืองระดับสูง (มาตรา 270-275) ต้องเข้าชื่อกัน 2 หมื่นคน
-เสนอร่างกฎหมาย (Initiative) เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภา (มาตรา 170) ต้องเข้าชื่อ 1 หมื่นคน
4.การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น
-ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในท้องถิ่นนั้นๆรวมตัวกันเข้าชื่อเพื่อถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นได้ (มาตรา 285)
-ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในท้องถิ่นสามารถรวมตัวเข้าชื่อกันร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นในการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สภาท้องถิ่นพิจารณา (มาตรา 286)
-องค์การปกครองท้องถิ่นจะต้องมีวิธีการให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในกิจการของท้องถิ่น และหากกิจกรรมใดมีผลกระทบต่อประชาชนจะต้องเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 
วิเคราะห์การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ 2550
 1.การมีส่วนร่วมด้วยการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2550 
สำหรับการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยการเลือกตั้งรัฐธรรมนูญ 2550 ได้มีบทบัญญัติที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ 2540 สามารถสรุปสาระสำคัญของการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2550 ได้ดังนี้
สภาผู้แทนราษฎร
1.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน 480 คน มาจากการเลือกตั้งแบบเขตเลือกตั้ง 400 คนและมาจากระบบสัดส่วน 80 คน (รัฐธรรมนูญ 40 ส.ส. มี 500 คน บัญชีรายชื่อ 100 ระบบเขต 400 )
2.สำหรับ ส.ส. ระบบเขต เขตเลือกตั้ง 1 เขต มีส.ส.ได้ไม่เกิน 3 คน  (รัฐธรรมนูญ 2540 ใช้ระบบเขตละ 1 คน)
3.ส.ส.ระบบสัดส่วนจะเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยกำหนดเขตเลือกตั้งเป็นกลุ่มจังหวัด รวม 8 กลุ่มจังหวัด (หรือ 8 เขตเลือกตั้ง) โดยมี ส.ส.ระบบสัดส่วนเขตเลือกตั้งละ 10 (รวมแล้วจะได้ 80 คน)
4.การนับคะแนนเสียงให้นับที่หน่วยเลือกตั้ง (รัฐธรรมนูญ 40 นับที่อำเภอ)
วุฒิสภา
1.วุฒสมาชิกมีจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน ส่วนที่เหลือมาจากมาจากการสรรหา (รัฐธรรมนูญ 40 วุฒิมี 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด)
2.วุฒิสมาชิกที่มาจากการสรรหาจะถูกเลือกโดยคณะกรรมการสรรหา จากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในองค์การต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาควิชาชีพ
สรุป ระบบเลือกตั้งของไทยยังคงเป็นแบบผสม ระหว่างระบบแบ่งเขตเลือกตั้งแลระบบสัดส่วน (ปาร์ตี้ลิสต์หรือบัญชีรายชื่อ) เหมือนกับรัฐธรรมนูญ 2540 แต่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องจำนวนเท่านั้น 
ข้อวิจารณ์ต่อการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ 2550 มองว่าระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2550 มีข้อบกพร่อง ดังนี้
1.การให้วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งด้วยส่วนหนึ่ง (เกือบครึ่ง) เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมเพราะจะทำให้วุฒิสมาชิกเป็นเครื่องมือของผู้ที่แต่งตั้ง 
**แต่ฝ่ายสนับสนุนมองว่าการที่วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดทำให้วุฒิสมาชิกเป็นเครื่องมือของพรรคการเมือง เช่นปัญหาที่เกิดในสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้วุฒิสมาชิกไม่สังกัดพรรคการเมืองแต่เป็นที่รู้กันว่า ส.ว.หลายคนอยู่ภายใต้การกำกับของพรรคการเมือง ผลการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกโดยเฉพาะในครั้งที่ 2 ทำให้เกิดคำพูดที่ว่าสภาผัว-เมีย
2.ระบบเขตเลือกตั้งที่กำหนดให้มี ส.ส.ไม่เกิน 3 คนทำให้ประชาชนในจังหวัดเล็กและจังหวัดมีสิทธิเลือกตั้งได้ต่างๆกัน เพราะคนในจังหวัดใหญ่เลือกได้มากกว่า 1 คน (ไม่เป็นไปตามหลักการที่บอกว่าคนทุกคนควรมี 1 เสียงเท่ากัน)
3.การกำหนดเขตการเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อเป็นกลุ่มจังหวัด กลุ่มละ 8 จังหวัดทำให้สะท้อนว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มจังหวัด ทั้งๆที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อควรจะเป็นตัวแทนของคนทั้งประเทศ (การเป็นตัวแทนคนทั้งประเทศจะสามารถกำหนดนโยบายระดับประเทศได้)
4.การเลือกตั้ง ส.ว.ที่ได้จังหวัดละ 1 คนเท่ากันถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมเพราะจังหวัดที่ประชากรมีมากควรจะมีตัวแทนมากกว่าจังหวัดที่มีประชากรน้อย  (รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้แต่ละจังหวัดมี ส.ว.ได้ไม่เท่ากัน)
2.การมีส่วนร่วมโดยการเข้าชื่อกันเพื่อถอดถอน (Recall)
รัฐธรรมนูญทั้ง 2550 และ 2540 ต่างบัญญัติให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อกันเพื่อถอดถอนบุคคลสำคัญต่างๆให้ออกจากตำแหน่งได้ แต่รัฐธรรมนูญ 2550 ลดจำนวนรายชื่อเหลือ 2 หมื่นชื่อ (ขณะที่รัฐธรรมนูญ 2540 ต้องเข้ากัน 5 หมื่นชื่อ)
การที่รัฐธรรมนูญ 2550 ลดจำนวนผู้เข้าชื่อลงมาเหลือ 2 หมื่น เนื่องจากต้องการให้การถอดถอนนักการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญจะทำได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้มีการวิเคราะห์ว่าแม้จะลดจำนวนลงมาก็เป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ เพราะยังมีกระบวนการที่ต่อเนื่องอีกมากที่จะทำให้การถอดถอนประสบความสำเร็จ เพราะหลังจากเข้าชื่อแล้วต้องเสนอไปยังวุฒิสภา จากนั้นวุฒิสภาพต้องส่งเรื่องไปให้ ปปช.ไต่สวน จากนั้นปปช.จะต้องเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งว่าข้อกล่าวหามีมูล จากนั้นจึงเรื่องกับไปยังวุฒิสภาและอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องร้องต่อศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากนั้นหากผิดจริง วุฒิสมาชิกจะต้องมีการประชุมกันเพื่อออกเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 เพื่อถอดถอน
กระบวนการที่ซับซ้อนนี่เองทำให้ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการถอดถอนบุคคลใดเลย แม้ว่าจะมีการเข้าชื่อหลายครั้งแล้วก็ตาม เช่นเคยมีการเข้าชื่อเพื่อถอดถอนนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการทุจริยา


 3.การมีส่วนร่วมในการลงประชามติ (Referendum)
แม้ว่าการลงประชามติจะมีบทบัญญัติมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 แต่ ประเทศไทยเพิ่งมีการลงประชามติครั้งแรกในการรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเป็นการลงมติที่เต็มไปด้วยปัญหา เพราะเวลานั้นบ้านเมืองของเรามีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง ทำให้เวลานั้นมีคนรณรงค์ไม่ให้รับร่างต่อสู้กับฝ่ายที่รณรงค์ให้รับร่าง ทำให้ประเด็นของการลงประชามติกลายเป็นเรื่องของการเล่นการเมืองไป
ที่สำคัญมีการวิจารณ์ว่าการที่ให้ประชาชนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นคำตอบว่ารัฐธรรมนี้ดีจริงๆ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญที่มีถึง 300 กว่ามาตรา และประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจต่อประเด็นต่างๆที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้การเปิดโอกาสให้ประชาชนลงประชามตินั้นควรเป็นเรื่องที่ประชาชนรู้จักและเข้าใจดีที่สุด เช่นในต่างประเทศจะเปิดโอกาสให้ประชาชนลงมติในเรื่องสำคัญ เช่นจะให้รัฐบาลประกาศสงครามหรือไม่ หรือจะรับร่างกฎหมายทำแท้งหรือไม่ เป็นต้น
นอกจาก 3 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วยังมีประเด็นอื่นๆอีกมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยมีโอกาสเป็นไปได้ เพราะแม้ว่ากฎหมายจะเปิดโอกาสให้ประชาชนมากน้อยแค่ไหน แต่การที่ประชาชนจะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองหรือไม่ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของประชาชนด้วย
***************************
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง (Civil Political Participation) *** อาจารย์สุชาติออกข้อสอบ***
จากแนวคิดและความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมือง ตลอดจนความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทน ทำให้ปัจจุบันมีความพยายามที่จะผลักดันให้ระบบการเมืองเป็นการเมืองแบบมีส่วนร่วม แต่เป็นการมีส่วนร่วมทั้งในเชิงลึกหรือเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบมีคุณภาพ  โดยประชาชนในสังคมมีสิทธิมีเสียงและมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง
ความคาดหวังดังกล่าวทำให้การเมืองในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนเข้าไปสู่การเมืองแบบใหม่ ที่เรียกว่าการเมืองภาคพลเมือง (Civil Politics ) 
ทั้งนี้การเติบโตของภาคประชาชน หรือเรียกอีกอย่างว่าภาคประชาสังคม (Civil Society Sector) ที่ลุกขึ้นมาทานอำนาจรัฐมากขึ้น จากเดิมในอดีตที่ภาคสังคมเป็นภาคที่ยอมสยบอยู่ใต้อำนาจรัฐ ทำให้การศึกษาการเมืองต้องเปลี่ยนมิติหรือเปลี่ยนมุมมองในการศึกษา
กล่าวคือในอดีตการศึกษาการเมืองจะให้ความสำคัญไปที่เรื่องของรัฐ เช่น
-การศึกษาว่ารัฐที่ดีหรือผู้ปกครองที่ดีควรจะเป็นอย่างไร
 -ศึกษาสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการ เช่นพรรคการเมือง รัฐสภา ระบบราชการ 
-ศึกษากลไกทางการเมืองที่เป็นทางการ เช่นการเลือกตั้ง การอภิปรายไม่ไว้วางใจ 
ในอดีตภาครัฐ (State Sector) จึงมีขนาดใหญ่มีบทบาทในการควบคุมและจัดการกับภาคสังคมได้อย่างกว้างขวาง แต่เมื่อภาคสังคมมีการเติบโต ทำให้บทบาทหลายอย่างที่รัฐเคยทำถูกผ่องถ่ายมายังภาคประชาสังคม ทำให้การเมืองในยุคใหม่จึงหันมาเน้นการเมืองของประชาชนหรือการเมืองภาคพลเมือง 
แนวคิดการเมืองภาคพลเมืองเป็นแนวคิดที่อยู่ตรงกลางจะระหว่างแนวคิดที่รัฐเป็นใหญ่กับแนวคิดแบบปัจเจกนิยมสุดขั้ว นั่นคือ การเมืองภาคประชาชนจะปฏิเสธอำนาจรัฐที่มากเกินไป ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธปัจเจกบุคคที่เห็นแก่ตัวมากเกินไป 
ลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง
การเมืองภาคพลเมืองจะมีลักษณะต่างๆ คือ
1.การเพิ่มบทบาททางการเมืองของภาคประชาชนและเอกชน 
2.การลดบทบาทภาครัฐและราชการลง โดยภารกิจหลายอย่างของภาครัฐต้องถูกผ่องถ่ายให้ภาคเอกชน องค์กรประชาสังคม หรือองค์การมหาชนทำมากขึ้น
3.ต้องเพิ่มบทบาทและจำนวนของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) การเมืองภาคประชาชนจะเกิดขึ้นได้ประชาชนต้องรวมตัวกันเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่พร้อมจะออกมาขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะต่างๆ เช่นคนที่เป็นเกย์อาจจะต้องรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิของเกย์ หรือกลุ่มที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ต้องรวมตัวกันเพื่อเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
5.ประชาชนต้องมีคุณธรรมของพลเมือง (Civic Virtue) การที่การเมืองภาคพลเมืองจะเกิดขึ้นได้คนในสังคมต้องมีคุณธรรมพลเมือง หมายถึงการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากว่าส่วนตน และพร้อมที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง ซึ่งเรียกว่าการมีจิตสำนึกสาธารณะ (Public Spirit)
6.การให้ความสำคัญกับสิทธิพลเมือง (Civil Rights) การเมืองภาคพลเมืองเป็นการเมืองที่ให้ความสนใจกับสิทธิของพลเมือง นั่นคือมองว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าร่วมทางการเมือง ทั้งร่วมคิด ร่วมทำและร่วมตัดสินใจในทางการเมือง เนื่องจากตัดสินใจดังกล่าวมีผลกระทบต่อประชาชนทุกคน
7.การเมืองภาคพลเมืองเน้นการกระจายอำนาจ ดังจะพบว่าในปัจจุบันมีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นมากขึ้น เนื่องจากมองว่าท้องถิ่นควรจะมีโอกาสในการเข้าร่วมกำหนดความเป็นไปของท้องถิ่น ในระดับองค์การเราก็จะพบว่ามีการกระจายอำนาจให้กับคนทำงานในระดับล่างมากขึ้น
8.การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น การเมืองภาคพลเมืองจะเป็นการเมืองที่ทำให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง ถ้าท้องถิ่นเข้มแข็งท้องถิ่นก็จะดูแลตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งพารัฐ 
9.การให้ความสำคัญเน้นการตรวจสอบและการมีส่วนร่วม การเมืองภาคพลเมืองนั้นประชาชนจะต้องตรวจสอบการทำงานของภาครัฐอย่างเข้มข้น เพราะการเมืองภาคพลเมืองจะมีฐานแนวคิดว่าคนที่เข้าไปใช้อำนาจรัฐจะมัวเมาในอำนาจ จำเป็นต้องตรวจสอบการใช้อำนาจ
ปัญหาของการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคพลเมืองในประเทศไทย
แม้ว่าแนวคิดการเมืองภาคพลเมืองจะเป็นแนวคิดที่สำคัญแต่ในบ้านเราการเมืองภาคพลเมืองยังไม่ได้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เนื่องจาก
1.ไม่มีองค์กรในการนำหรือส่งเสริมให้เกิดการเมืองภาคพลเมืองที่ชัดเจน
3.ประชาชนขาดประสบการณ์ในการเจรจาต่อรอง ในขณะที่การเมืองภาคพลเมืองต้องการการเจรจาต่อรองที่เข้มข้น
3.ถูกจำกัดด้วยกฎหมายหรือค่านิยมเก่าๆ โดยเฉพาะค่านิยมของคนไทยที่มักจะรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล
4.กลุ่มองค์กรประชาชนที่รวมตัวกันแล้วขาดความต่อเนื่องในการทำกิจกรรม
5.ประชาชนยังไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสาธารณะ จิตสำนึกเป็นเรื่องของความคิด ทัศนคติ การทำให้คนมีจิตสำนึกทางการเมืองเป็นเรื่องที่ยากมาก เราจึงพบว่าจะมีคนเพียงกลุ่มเดียวที่สนใจกิจกรรมทางการเมือง
6.คนไทยยังขาดวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม มีแต่ความเฉยชาทางการเมือง (Political Apathy) มองว่าการเมืองเป็นเรื่องคนชั้นสูงไม่ใช่เรื่องของเรา 
8.กิจกรรมทางการเมืองเป็นกิจกรรมที่มีต้นทุน (Cost) สูง ไม่ว่าจะเป็นการไปเลือกตั้ง การเข้าร่วมชุมนุม การทำกิจกรรมทางการเมือง ฯลฯ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีต้นทุนเรื่องเวลา ต้นทุนด้านโอกาส (Opportunity Cost) 
เช่นการชุมนุมของพันธมิตรคนที่เข้ามาร่วมชุมนุมต้องเสียสละต้องมานอนกลางถนน ไม่ได้ทำงาน ทำให้เกิดการบริจาคอย่างมหาศาล เพราะการชุมนุมต้องใช้เงิน
หรือเราจะพบว่าพอมีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเวลานี้จะมีคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ติดตามปัญหา เพราะคนส่วนใหญ่มองทำมาหากินดีกว่า
4.คนไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อย โดยเฉพาะความรู้ในทางการเมือง เช่นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในเวลานี้ควรจะมีการนำมาสอนทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย แต่ปรากฏว่าแม้แต่นักเรียนรัฐศาสตร์รามคำแหงเองก็ยังมีการพูดถึงปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในห้องเรียนน้อยมาก (อาจจะเป็นเพราะผู้สอนกลัวอำนาจรัฐ)
การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวคิดจิตวิทยาการเมืองและสังคมวิทยาการเมือง (เนื้อหาของอ.เชิญ) ปีนี้อาจารย์สอนน้อยมากๆๆๆ
    ทฤษฎีที่ใช้อธิบายการมีส่วนร่วมทางการเมือง มี 2 ทฤษฎีคือ    
ทฤษฎีจิตวิทยาการเมือง เป็นแนวคิดที่บอกว่าพฤติกรรมทางการเมืองเป็นผลมาจากปัจจัยทางจิตวิทยา เช่นเดียวกันเมื่อคนเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมทางการเมืองก็เกิดจากภาวะจิตใจ ลักษณะนิสัย ทัศนคติ ความเชื่อ ที่เกิดจากกล่อมเกลาหล่อหลอมจาก ครอบครัว โรงเรียน สถาบันอื่น ๆ ในสังคม โดยเฉพาะสื่อมวลชน 
ทำให้จิตวิทยาการเมืองเชื่อว่า
    1.การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นเรื่องของความสมัครใจ ปราศจากการชี้นำ บังคับ หรือจ้างวาน 
    2.มีระดับความเข้มข้นต่างกัน โดยเรียงลำดับจากน้อยไปมากดังนี้
    (1) การติดตาม/เปิดรับข่าวสาร เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ และอินเตอร์เน็ต
    (2) การพูดคุยเรื่องการเมือง 
    (3) เขียนจดหมายวิจารณ์การเมือง
    (4) ช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งหาเสียง 
    (5) ช่วยพรรคการเมือง
    (6) สมัครเป็นสมาชิกพรรค
    (7) สมัครรับเลือกตั้ง
    3.จิตวิทยาการเมืองมองว่าความสนใจทางการเมืองเป็นเรื่องของบุคลิกภาพ ซึ่งคนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน โดยทั่วไปบุคลิกภาพทางการเมืองจะมี  2 แบบคือ
-ชอบประชาธิปไตย
-ชอบอำนาจนิยม 
จากความสำคัญของบุคลิกภาพจึงมักจะมีการวัดบุคลิกภาคทางการเมืองของคนสำคัญๆว่ามีมีบุคลิกภาพประชาธิปไตย ( Democratic Personality) มากน้อยแค่ และบุคลิกภาพที่ไม่เป็นประชาธิปไตยจะทำให้คนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองต่ำ หรืออาจจะมีส่วนร่วมในแบบไม่เป็นประชาธิปไตย
สังคมวิทยาการเมือง เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองเกิดจากปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ วัฒนธรรม
    1.ปัจจัยทางสังคม ได้แก่
    (1) รายได้/อาชีพ เช่นคนจนมากหรือรวยมากมักไม่สนใจการเมือง
    (2) การศึกษา คนมีการศึกษาสูงจะไปใช้สิทธิ์น้อย ส่วนคนจบน้อยจะไปเลือกตั้งมาก แต่คนที่มีการศึกษาสูงจะมีส่วนร่วมในทางการเมืองในรูปแบบอื่นสูงกว่าคนจน เช่นการติดตามการทำงานของรัฐบาล
    (3) ภูมิลำเนา อยู่ในเขตเทศบาลหรือนอกเขต เราจะพบว่าคนที่อยู่ในชนบทมักจะถูกชี้นำในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองได้ง่ายกว่าคนในเมือง 
    2.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่
    (1) ความมั่นคงในอาชีพ 
    (2) ความพอเพียงของรายได้
    คนที่มีความมั่นคงและมีรายได้ดีจะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสมัครใจ และเป็นการมีส่วนร่วมในระดับที่ลึกซึ้งกว่าคนที่มีรายได้น้อย
    3.ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ได้แก่
    (1) ความเชื่อ เช่น เชื่อเรื่องความกตัญญูต่อผู้มีบุญคุณ เมื่อนักการเมืองเอาเงินมาแจกจึงต้องตอบแทน ซึ่งเป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบอุปถัมภ์
    (2) ปัจเจกบุคคล คนในเมืองจะไม่สนใจใคร ลักษณะการเมืองก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง 
    สังคมวิทยายังเชื่อว่าระดับของการมีส่วนร่วมทางการเมืองยังขึ้นอยู่กับระดับของการพัฒนาของสังคมด้วย เพราะพบว่าประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูง ประชาชนจะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองสูงกว่าประเทศที่มีระดับการพัฒนาต่ำกว่า 
เมื่อเราเข้าใจว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองจะมาจาก 2 แนวทาง การจะสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองก็จะต้องดูที่แนวทางดังกล่าว นั่นคือต้องพยายามปลูกฝังจิตสำนึกให้กับคนตั้งแต่เด็กๆ ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วย
แนวข้อสอบ
อ.สุชาติ การเมืองของภาคพลเมือง คำถามน่าจะคล้ายการสอบในห้องคือ
-ลักษณะการเมืองภาคพลเมือง และการเมืองภาคพลเมืองจะช่วยแก้ปัญหาการเมืองไทยได้อย่างไร
อ.เชิญ อธิบายการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวทางจิตวิทยาการเมืองและสังคมวิทยาการเมือง
อ.สุรพันธ์ การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ 2550 คำถามน่าจะมี  2 แนวคือ
-วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย จุดดีและจุดด้อยของการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญ และให้เสนอแนวทางว่าจะทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญเป็นจริงได้อย่างไร
-วิเคราะห์ว่าการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญ 2550 ช่วยในการพัฒนาประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร
อาจารย์ชัยชนะ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองตอบระบอบประชาธิปไตย/การมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสถานบันทางการเมือง เช่นผ่านพรรคการเมือง 
ถ้าอาจารย์ถามการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามสถาบันทางการเมืองเราก็ต้องดูบทบาทของสถาบันการเมืองนั้นว่าควรมีบทบาทอย่างไร เช่นพรรคการเมืองเป็นสถาบันหลักที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอยู่แล้ว เช่นต้องสรรหาคนเข้ามาลงสมัคร ต้องให้ความรู้ทางการเมืองให้กับประชาชน ระดมประชาชนมาสนับสนุนพรรค หรือฟังพรรคหาดเสียง เป็นต้น
อาจารย์วุฒิ
ไม่มีความชัดเจนในการสอน เพราะอาจารย์สอนแนวคิด รูปแบบการมีส่วนร่วม ดังนั้นจึงคิดว่าอาจารย์น่าจะเอาเหตุการณ์ปัจจุบันมาออกแล้วให้นักศึกษาตอบด้วยแนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น
-การมีส่วนร่วมในกรณีเขาพระวิหาร 
-การเคลื่อนไหวของเสื้อแดง-เหลือง
-

ตัวอย่างข้อสอบเก่า
ปี 2006 
รศ.สุรพันธ์  ทับสุวรรณ์ 
ประชาธิปไตยแบบโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน  (Participatory  Democracy)  มีลักษณะที่สำคัญ ๆ  อย่างไร  ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นถึงการแก้ไขปัญหา  อุปสรรคของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวของไทยมาให้เข้าใจ
ดร.สุชาติ  ศรียารัณย “การเมืองของพลเมือง”  คืออะไร  ต่างจาก  “การเมืองของนักการเมืองและพรรคการเมือง”  ทั้งโดยรูปแบบและเนื้อหาอย่างไรบ้าง  จงอธิบายพร้อมยกสถานการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันมาประกอบให้เข้าใจอย่างชัดเจน
ข้อสอบเก่าๆ
1.จงยกปัจจัยที่เป็นอุปสรรค์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทยมาสัก 3 ประการ อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
2.จากการที่นักศึกษาได้แนวคิด ทฤษฎีการมีส่วนร่วมทางการเมืองมาแล้ว ให้วิเคราะห์ประเด็นปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมาให้เข้าใจ
3.การมีส่วนร่วมทางการเมืองคืออะไร การมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญ 2540 มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างมา 5 ประการ พร้อมวิจารณ์ (ข้อนี้ตอบคล้ายกับที่ช่วยตอบให้ในข้อที่ 1 )
4.การเมืองภาคพลเมือง อาจจะเป็นทางการเลือกใหม่ของการเมืองไทย หลังการปฏิรูปการเมืองเป็นต้นมา ให้อธิบายสาระสำคัญของการเมืองภาคพลเมืองมาให้เข้าใจ
5.สื่อมวลชนมีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างไร จงอธิบายว่าสื่อมวลชนประเภทใด ที่มีอิทธิพลต่อเจตคติของประชาชนมากที่สุด


                สรุป PS 714 
        ความสัมพันธ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วิชา PS 714 มีผู้บรรยาย 3 ท่าน คือ
1.ดร.ธนาสฤษฏิ์
2.รศ.วรภรณ์
3.อาจารย์สาธิน
อาจารย์ออกข้อสอบคนละ 1 ข้อ ทำเพียง 2 ข้อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิชา PS 714 
1.รู้จักและเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นทั้งด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจการเมืองและปัญหาสำคัญๆที่ดำรงอยู่ในแต่ละประเทศได้
2.เข้าใจและวิเคราะห์ความร่วมมือและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2.1 ความร่วมมือที่สำคัญคืออาเซียน 
2.2 ความขัดแย้งจะมีทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบัน  เช่น
-ความขัดแย้งในสงครามเวียดนาม
-ความขัดแย้งในสงครามกัมพูชา
-ความขัดแย้งในระดับทวิภาคี เช่นปัญหาชายแดนไทย-ลาว ปัญหาชายแดนไทย –กัมพูชา 
3.วิเคราะห์บทบาทของประเทศไทยต่อในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้
*** โอกาสของประเด็นที่จะออกเป็นข้อสอบ***
1.เรื่องอาเซียน ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ
-ความก้าวหน้าของอาเซียน
-ปัญหาและอุปสรรคในความร่วมมือของอาเซียน
2.ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรปที่เป็นความสัมพันธ์ข้ามขั้ว
3.ปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น
-สงครามเวียดนาม
-สงครามกัมพูชา
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
ประวัติความเป็นมา
อาเซี่ยนเริ่มต้นตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 จากความคิดริเริ่มของรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยคือดร.ถนัด คอมันต์ สมาชิกเริ่มแรกคือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ปัจจุบันอาเชี่ยนมีสมาชิก 10 ประเทศ คือบรูไน เป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2527  เวียดนาม 28 ก.ค. 2538 พม่า และ ลาว  23 เป็นสมาชิก กรกฎาคม 2540  และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกประเทศสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 42 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังไม่เป็นสมาชิกคือ ติมอร์ตะวันออก
การรวมตัวของอาเซียน เป็นการรวมตัวที่เริ่มต้นจากความร่วมมือทางด้านการเมือง ก่อนจะหันมาสร้างความร่วมมือในทางเศรษฐกิจภายหลัง ถือเป็นการย้อนศรทฤษฎีบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค (Regional Integration Theory) ที่บอกว่าความร่วมมือในระดับภูมิภาคจะเริ่มต้นจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจก่อนแล้วค่อนขยายไปสู่ความร่วมมือทางการเมือง
ดังนั้นระยะแรกของความร่วมมือในอาเซียนจึงเป็นเรื่องทางการเมือง โดยเฉพาะความร่วมมือกันต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น และความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดคือในความร่วมมือทางการเมืองคือ บทบาทของอาเซียนในการเป็นตัวประสานในการแก้ปัญหาสงครามกัมพูชาในช่วงสงครามกัมพูชา 
ต่อมาปี 1995 อาเซียนก็หันมาสร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจโดยริเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFFTA) 
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับยุโรปแล้วความร่วมมือของอาเซียนยังห่างไกลจากยุโรปอยู่มากเนื่องจากยังมีปัญหาหลายประการ 
ความก้าวหน้าในความร่วมมือของอาเซียน
เป้าหมายหลักในการรวมมือของอาเซียนในอนาคตคือความพยายามผลักดันให้เกิด ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) 
ความต้องการพัฒนาอาเซี่ยนไปสูความเป็นประชาคมอาเซียนเริ่มต้นขึ้นที่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในปี 2003 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ตามประกาศ Bali Concord เวลานั้นกำหนดว่าประชาคมอาเซียนจะต้องสำเร็จภายในปี 2020 แต่หลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำที่กรุงเวียงจันทร์จึงย่นเวลาให้สู่เป้าเร็วขึ้นเป็นปี 2015 ตามกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ภายใต้การประกาศปฏิญญาเวียงจันทน์ (Vientiane Declaration 2004)
ประชาคมอาเซียนประกอบไปด้วย 
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
2.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community : ASC) 
3.ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community -ASCC) 
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 เป็นไปกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเหมือนธรรมนูญของอาเซียน ที่จะกำหนดบทบาทหน้าที่ให้อาเซียนมีฐานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศและความเป็นนิติบุคคลของอาเซียน 
 วัตถุประสงค์หลักของ AEC คือการทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตร่วมเป็นตลาดเดียวกัน (Single Market) การเป็นตลาดเดียวทำให้สมาชิกอาเซียนสามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ แรงงาน และการเคลื่อนย้ายทุนภายในอาเซียนได้เสรียิ่งขึ้น
หากอาเซียนยกระดับไปเป็น AEC จะทำให้เกิดสิ่งต่อไปนี้
1.มีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน หมายถึง
-มีการเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
-มีการเคลื่อนย้ายบริการเสรี
-มีการเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี
-มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรียิ่งขึ้น
-มีการเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะเสรี (ยกเลิกการกีดกันการจ้างงาน)
2.มีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น เนื่องจาก
-มีกรอบนโยบายการแข่งขันที่ต่อต้านพฤติกรรมที่กีดกันการแข่งขัน
-มีการส่งเสริมให้คนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อันก่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญา
-การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ขนส่ง ข่าวสาร พลังงาน การเงิน
-พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3.โอกาสในการสร้างความเท่าเทียมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกอาเซียน โดยลดช่องว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยการจัดทำโครงการเพื่อลดช่องว่างระหว่างอาเซียนเดิมกับประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม)
4.ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก (ประชาคมโลก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น EU) โดย
-ประสานการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจกับประเทศนอกอาเซียน
-เข้าร่วมเครือข่ายการผลิตและจัดจำหน่าย
อย่างไรก็ตามอาเซียนจะไม่หยุดอยู่แค่ประชาคมอาเซียน แต่มีความพยายามที่จะขยายความร่วมมือไปให้กว้างออกไปสู่สิ่งที่เรียกว่า East Asia Community (ประชาคมเอเชียตะวันออก: EAC) EAC เป็นการสร้างความร่วมมือของอาเซียนกับภายนอกอาเซียนประกอบด้วย
-สมาชิกอาเซียน (ASEAN: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) 10 ประเทศ 
-ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ (สาธารณรัฐเกาหลี) เป็นเอเชียตะวันออกแท้ ๆ (ตรงนี้รวมกับอาเซียนในนามอาเซียน + 3 อยู่แล้ว)
-อินเดีย (เอเชียใต้) 
-ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ 
นอกจากนี้ประเทศในอาเซียนเองยังได้แยกออกไปสร้างความสัมพันธ์กับภายนอกกลุ่ม เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ร่วมมือกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ขณะที่ประเทศไทยพม่า เวียดนาม กัมพูชา และลาวก็หันไปสร้างความร่วมมือกับจีนตามโครงการพัฒนาร่วมในลุ่มน้ำโขง หรือไทยก็หันไปร่วมมือกับพม่า บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกาตามโครงการ (BIM-TECT) ความร่วมมือตามโครงการลุ่มแม่น้ำอิระวดี เจ้าพระยาและแม่น้ำโขง (ACMEC)  
    







สรุปโครงสร้างของการขยายตัวของอาเซียนจะเป็นดังรูป






                        ความร่วมมือภายนอก


    



                     +    
                   







    

โอกาสและจุดแข็งในความร่วมมือของอาเซียน
    1.การเป็นตลาดขนาดใหญ่มีประชากร 550 ล้านคน
    2.การมีทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่า
    3.การมีที่ตั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่จะเชื่อมโยงไปสู่จุดอื่นๆของโลก 
    
ปัญหาในการรวมกลุ่มและความก้าวหน้าของอาเซียน 
1.ความแตกต่างทางด้านการเมืองการปกครองของภูมิภาคคือ 10 ประเทศมีการปกครอง 4 แบบ คือ
-ประชาธิปไตย ประกอบด้วย ไทย มาเลเชีย อินโดนีเซีย กัมพูชา สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์
-เผด็จการทหาร คือพม่า
-ระบอบกษัตริย์ คือบรูไน
-คอมมิวนิสต์ คือลาวและเวียดนาม
ในประเด็นนี้ประเทศที่ส่งผลให้เกิดปัญหากับอาเซียนมากที่สุดคือพม่า เนื่องจากการปกครองในระบอบเผด็จการทหารของพม่า ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้ประเทศตะวันตกซึ่งให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยและการเคารพสิทธิมนุษย์ไม่เห็นด้วยมากนักที่อาเซียนรับพม่ามาเป็นสมาชิก โดยเฉพาะอย่างสหภาพพยุโรปที่ต่อต้านการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของพม่า รวมทั้งมีผลทำให้ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและยุโรปต้องชะงักไปพอสมควร 
2.ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ และการนับถือศาสนา เนื่องจากประเทศในอาเซียนจะมีทั้งประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม 
3.การที่ประเทศในอาเซียนผลิตสินค้าเหมือนกันทำให้เกิดการแข่งขันกันมากกว่าจะนำไปสู่ความร่วมมือกัน 
4.ความแตกต่างในระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ กล่าวคือมีบางประเทศที่มีระดับสูงและมีบางประเทศที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจต่ำมาก เช่นลาว พม่า และกัมพูชาและเวียดนาม (CLMV)
ปัญหานี้เป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งเพราะทำให้เกิดการจับกลุ่มเป็นกลุ่มย่อยในอาเซียน นั้นคือประเทศ CLMV พยายามร่วมมือกันโดยมีเวียดนามเป็นหัวหอก 
5.ความขัดแย้งในประวัติศาสตร์ ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่เคยมีความขัดแย้งมาในประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น เช่นประเทศไทยขัดแย้งกับพม่ามาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ หรือกับเวียดนามไทยเองก็มีการแข่งขันเพื่อชิงความเป็นใหญ่เหนือดินแดนขอมมาโดยตลอด 
    6.การที่อาเซียนใช้ระบบฉันทามติในการขับเคลื่อนความร่วมมือทำให้ยากที่จะบรรลุเป้าหมายของความร่วมมือ 
7.วิถีอาเซียน (Asian Way )ก็เป็นอุปสรรคที่สำคัญของความก้าวหน้าในร่วมมือในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น
-ดำเนินงานในลักษณะที่ไม่เป็นทางการสูง (Informality)
-ใช้การทูตในลักษณะที่ไม่เป็นข่าว 
-ยึดการพูดจาหารือ (Dialogue) และหลักฉันทามติ (Consensus) เป็นหลักสำคัญ
-เน้นการหลบเลี่ยงปัญหามากกว่าการแก้ปัญหา 
บทบาทของไทยในอาเซียน
ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีบทบาทในการผลักดันให้มีการก่อตั้งอาเซียน และถือว่าเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากอาเซียนมากกว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็นที่ไทยเราใช้อาเซียนให้เป็นประโยชน์ต่อไทยในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันไทยก็มีบทบาทในการผลักดันให้อาเซียนหันมาสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในปี 1995 ที่นายกรัฐมนตรีไทยนายอานันท์ ปันยารชุนเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดันให้อาเซียนมีเป้าหมายที่จะมุ่งไปสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน
ในปัจจุบันไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน และเลขาธิการอาเซียนก็เป็นคนไทยคือนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ แต่ประเทศไทยไม่สามารถฉวยโอกาสนี้ในการสร้างความเป็นผู้นำอาเซียนได้ดีเท่าทีควรเนื่องจากปัญหาการเมืองภายในมีผลกระทบต่อบทบาทของไทยในอาเซียน 





ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป 
อาเซียน-ยุโรป มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน โดยมีสิงคโปร์เป็นตัวกลางในการก่อให้เกิดความสัมพันธ์ เนื่องจากสิงคโปร์เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และมองว่าตนเองจะเสียผลประโยชน์จากการที่อังกฤษเจ้าอาณานิคมของตนเองจะเข้าเป็นสมาชิกอียู จึงเสนอให้อาเซียนสร้างความสัมพันธ์กับอียู
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-ยุโรปเป็นความสัมพันธ์แบบข้ามขั้ว ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะกับอาเซียนที่มีนโยบายในการสร้างความสัมพันธ์แบบข้ามขั้วกับหลายกลุ่มหลายภูมิภาค เนื่องจากภายในอาเซียนนั้นสามารถสร้างความร่วมมือได้ทั้งแล้วเกือบทั้งหมด (ยกเว้นติมอร์ตะวันออกที่คาดว่าน่าจะเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนในอนาคตอันใกล้)  
ปี 2007 เป็นปีครอบรอบความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป 30 ปี ทำให้มีความตกลงจัดประชุมสุดยอดเพื่อฉลองการครบรอบความสัมพันธ์ 30 ปี (ASEAN-EU Commemorative Summit) ภายในปีนี้ โดยยุโรปสนใจจะ การเข้าเป็นภาคี TAC หรือสนธิสัญญาไมตรีและความมั่นคงแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation) และยังคงเดินหน้าโครงการ FTA อาเซียน-ยุโรป 
นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับอียูก็พัฒนามาอยู่ในกรอบที่เรียกว่า ASEM-Asia-Europe Meeting ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน 10 ประเทศบวก จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ร่วมกับประเทศอียูทั้งหมด 
ความสนใจของอียูที่มีต่ออาเซียนเกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของอาเซียนในทศวรรษที่ 1990 และตรงนี้เป็นสาเหตุที่อียูมีความพยายามจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์จากความสัมพันธ์แบบผู้ให้และผู้รับมาเป็นความสัมพันธ์แบบเท่าๆกัน
อย่างไรก็ตามประเด็นที่เป็นการบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับอียูก็คือ การที่อาเซียนรับพม่าเข้ามาเป็นสมาชิก ทำให้อียูประท้วงโดยการไม่เข้าร่วมเจรจาในที่ประชุมของอาเซียนในระยะหนึ่ง (การประชุม ARF) และในการประชุม ASEM เองอียูก็ไม่ให้พม่าเข้าร่วมประชุมเนื่องจากอียูมองว่าพม่ามีปัญหาประชาธิปไตยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เหตุการณ์ในพม่าล่าสุดทำให้อียูออกโรงประณามการกระทำของพม่าและเรียกร้องให้อาเซียนกดดันพม่าให้มีการแก้ไขปัญหา
สำหรับความร่วมมือระหว่างอียูกับอาเซียนในปัจจุบันนอกจากมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้าต่อกัน อียูยังมีเป้าหมายในการคานอำนาจกับสหรัฐอเมริกาอีกด้วย 
ส่วนประเด็นความร่วมมือในปัจจุบันก็หันมาให้ความสนใจกับประเด็นความมั่นคงใหม่มากขึ้น ในประชุมสุดยอดอาเซ็มครั้งที่ 6 ในปี 2006  ผู้นำของอาเซ็มได้ตกลงที่จะขยายสมาชิกภาพอาเซ็มเพิ่มขึ้นคือ อินเดีย ปากีสถาน มองโกเลีย โรมาเนีย และบัลกาเรีย แต่ในการจัดประชุมครั้งที่ 7 ในปี 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีอินเดียและปากีสถานเข้าร่วมประชุม โดยประเด็นที่ถกเถียงในที่ประชุมเรื่องปัญหาเศรษฐกิจโลก 
กลยุทธ์ใหม่ของอียูทีมีต่ออาเซียน New Partnership with South East Asia 
1.สนับสนุนการมีเสถียรภาพส่วนภูมิภาคและการต่อต้านการก่อการร้าย
2.สนับสนุนส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และ Good Governance 
3.ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ แก้ไขปัญหาผู้อพยพ การฟอกเงิน (Money Laundering) โจรสลัด (Piracy) ยาเสพติด 
4.ส่งเสริมความคิดริเริ่มที่เกี่ยวกับการค้าข้ามภูมิภาคระหว่างยุโรปกับอาเซียน (Trans - Regional EU – ASEAN Trade Initiative: TREATI) 
5.ส่งเสริมการพัฒนาประเทศที่มีความมั่งคั่งน้อย (Less Prosperous Countries) หรือจริงๆแล้วคือประเทศยากจนหรือกำลังพัฒนานั่นเอง
6.ส่งเสริมการเจรจาและความร่วมมือในนโยบายเฉพาะด้าน เช่น การค้า มหาดไทย เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การศึกษา วัฒนธรรม พลังงาน ขนส่ง เป็นต้น 
ความร่วมมือในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ยุโรป
ยุโรปกับอาเซียนได้ตกลงจะมีความร่วมมือในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีต่อกันมาตั้วแต่ ปี 2007 ในการจัดประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ยุโรป ที่ประเทศบรูไน โดยมีกรอบในการเจรจาที่ครอบคลุมถึงการเปิดเสรีการค้า การค้าบริการและการลงทุนรวมทั้งความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ โดยมีการจัดตั้งกรรมการร่วมจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ยุโรป (Join Committee on Asian-Europe FTA) กำหนดให้มีการเจราปีละ 4 ครั้ง ครั้งล่าสุดมีการเจรจากันเป็นครั้งที่ 7 ในเดือนมีนาคม 2009 ที่มาเลเซีย แต่การประชุมไม่มีความคืบหน้ามากนัก เนื่องจากประเทศอาเซียนหลายประเทศไม่มีความพร้อม อียูจึงจะขอเน้นเจรจาเป็นรายประเทศที่มีความพร้อมก่อน  ส่วนการประชุมของทั้งหมดจะหยุดพักเอาไว้ชั่วคราว

ประเด็นปัญหาทางการเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบจากลัทธิอาณานิคมของชาติตะวันตกและทำให้ทุกประเทศต้องตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่ง (ยกเว้นประเทศไทย) ชาติตะวันตกที่เข้ามาได้สร้างปัญหาตามมากมาย เช่น
1.ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตย เนื่องจากชาติตะวันตกที่เข้ามาปกครองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยทำให้เมื่อถอนตัวออกไปหรือให้เอกราชจึงยัดเยียดการปกครองแบบประชาธิปไตยให้กับดินแดนอาณานิคม ขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็รีบหยิบฉวยเอาการปกครองแบบประชาธิปไตยมาใช้โดยหวังว่าจะทำให้ประเทศตนเองมีความเท่าเทียมกับเจ้าอาณานิคม แต่เมื่อนำมาใช้กลับมีปัญหามากมาย เนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่สอดคล้องกับแนวคิดแบบประชาธิปไตย 
ทำให้ในปัจจุบันทุกประเทศมีปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่ง 4 ประเทศนี้จะมีทหารเข้ามามีบทบาททาวการเมืองโดยตลอด แม้กระทั่งมาเลเซียและสิงคโปร์ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด แต่แท้จริงแล้วสิงคโปร์ก็เป็นเผด็จการแบบรัฐสภา ส่วนมาเลเซียก็ไม่ได้สร้างความเท่าเทียมกันในทางการเมืองให้กับคนในประเทศ
2.ปัญหาคอรับชั่น ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่พบกับปัญหาการคอรับชั่นและความไม่มีประสิทธิภาพในระบบราชการ เนื่องจากระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกในภูมิภาคทำให้คนในสังคมเห็นแก่พวกพ้อง
3.ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาค ความขัดแย้งครั้งสำคัญของภูมิภาคนี้มีอยู่หลายครั้งต่ครั้งที่สำคัญคือ สงครามเวียดนามและสงครามกัมพูชา

สงครามเวียดนาม
เวียดนามเคยป็นเมืองขึ้นของจีนสมัยโบราณกว่าร้อยปี ต่อมาในศตวรรษที่ 18-19 ฝรั่งเศสขยายอำนาจมายึดครองเวียดนาม กัมพูชาและลาว อันเป็นดินแดนที่อยู่คาบสมุทรอินโดจีน ในเวียดนามได้เกิดขบวนการชาตินิยมเรียกร้องเอกราชแต่ถูกฝรั่งเศสปราบปรามอย่างรุนแรง ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก แต่มีผู้นำคนสำคัญที่สามารถนำความสำเร็จมาให้ขบวนการชาตินิยมเวียดนามหรือเวียดมินห์ คือ โฮจิมินห์
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังชาตินิยมเวียดมินห์ให้การสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรโดยหวังจะได้เอกราชเป็นการตอบแทน แต่ฝรั่งเศสไม่ยินยอมและกลับมาครอบครองอินโดจีนอีกครั้งหลังสงครามโลก ทำให้เกิดการสู้รบกันตั้งแต่ ค.ศ. 1946 และสิ้นสุดลงในค.ศ 1954 เมื่อฝรั่งเศสแพ้ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู มีการทำสัญญาสงบศึกที่ปารีส ฝรั่งเศสถอนตัวจากอินโดจีน มีผลให้ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชาได้รับเอกราช และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อรวมเวียดนาม แต่ขณะที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง ให้แบ่งเวียดนามเป็นสองส่วนที่เส้นขนานที่ 17 เวียดนามเหนือนำโดยโฮจิมินห์ ศูนย์กลางอยู่ที่ฮานอยและเวียดนามใต้ นำโดยกษัตริย์เบาได๋ ศูนย์กลางอยู่ที่ไซ่ง่อน
สหรัฐอเมริกากับสงครามเวียดนาม
    การแทรกแซงของสหรัฐในภูมิภาคนี้เริ่มจากผู้นำสหรัฐเกรงว่าหากปล่อยให้เวียดนามมีการเลือกตั้งชาวเวียดนามจะเลือกโฮจิมินห์  ทำให้สหรัฐเกรงว่าคอมมิวนิสต์จะเข้ามามีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐจึงเข้ามาสนับสนุนเวียดนามใต้ เมื่อมีารยกเลิกการเลือกตั้งทำให้เวียดนามเหนือประกาศสงครามกับเวียดนามใต้อีกครั้ง 
เพื่อใช้กำลังรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน สหรัฐมีความเชื่อฤษฎีโดมิโน คือ เมื่อชาติหนึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ชาติที่อยู่ใกล้เคียงจะถูกคุกคามและตกอยู่ในอิทธิพลคอมมิวนิสต์ด้วย    
สหรัฐอเมริกาเริ่มส่งที่ปรึกษาทางทหารและส่งอาวุธยุทธปกรณ์ เพื่อพัฒนากองทัพให้กับเวียดนามใต้ ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีไอเซ็นเฮาว์และประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ต่อมาเมื่อเคเนดีเสียชีวิตจากการลอบสังหารที่ดัลลัส เท็กซัสและประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ต่อมาเมื่อเคเนดีเสียชีวิตจากการลอบสังหารที่ดัลลัส เท็กซัส รองประธานาธิบดีจอห์นสันได้รับตำแหน่งผู้นำสหรัฐแทน ได้ส่งกำลังพลนับแสนคนพร้อมอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง  เข้ามาสกัดกั้นการคุกคามของคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม ทำให้สงครามเวียดนามขยายตัวและรุนแรงมากขึ้น นับแต่ ค.ศ. 1965 เป็นต้นมา
    ฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือมีกองทัพเวียดมินห์  สำหรับการรบเต็มรูปแบบและมีขบวนการเวียดกง เป็นประชาชนทั่วไปที่นิยมคอมมิวนิสต์หรือถูกบังคับให้เป็นคอมมิวนิสต์ ปฏิบัติการแทรกซึมและบ่อนทำลายอยู่ทั่วไปในเวียดนามใต้ ทำให้ยากต่อการปราบปราม และทำให้สื่อต่าง ๆเสนอภาพเสมือนทหารสหรัฐรังแกประชาชนเวียดนามที่อ่อนแอกว่า 
    ในช่วงแรกของสงคราม เวียดนามเหนือได้ใช้ยุทธวิธียกกำลังทำสงครามเต็มรูปแบบกับกองทัพสหรัฐ บุกเข้ามาใต้เส้นขนานที่ 17 และสังหารประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แม้จะไม่ได้ชัยชนะแต่ทำให้ชาวเวียดนามใต้เกิดความเกรงกลัวอำนาจของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนืออย่างมาก จึงมักยอมเข้ากับ เวียดนามในฐานะกองกำลังเวียดกง ปฏิบัติการแทรกซึม บ่อนทำลายในเวียดนามใต้ 
    สหรัฐและพันธมิตรในองค์การ SEATO (รวมทั้งไทย) ได้ระดมความร่วมมือทางทหารเข้าไปรบในเวียดนามแต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะส่วนใหญ่เวียดนามเหนือและเวียดกงรบแบบกองโจร ลอบวางระเบิดและซุ่มโจมตี ทำให้ทหารเวียดนามใต้และทหารนาวิกโยธินสหรัฐเสียชีวิตจำนวนมาก จึงใช้การปราบปรามอย่างรุนแรง เช่น  ยิงทิ้งผู้ที่คาดว่าเป็นเวียดกง การเผาทำลายหมู่บ้าน ตลอกจนการทิ้งระเบิดปูพรมตามจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น เมืองท่าและชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา เพื่อตัดเส้นทางการลำเลียงทหารและอาวุธจากเวียดนามเหนือสู่เวียดนามใต้ผ่านทางกัมพูชา ทำให้เกิดความเสียหายต่อพลเรือนจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ทั่วโลกประนามการกระทำของสหรัฐ คนหนุ่มสาวในสหรัฐจึงเดินขบวนเรียกร้องสันติภาพทั่วประเทศ เรียกร้องให้ถอนทหารจากสงครามเวียดนาม   
เมื่อมีการเลือกตั้งในสหรัฐประธานาธิบดีจอห์นสันจึงไม่ลงสมัครอีก ทำให้นิกสันซึ่งเสนอนโยบายถอนทหารสหรัฐออกจากเวียดนามและลดบทบาททางทหารทั่วโลกได้รับชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนต่อมา นิกสันจึงเจรจากับจีน สนับสนุนโยบายจีนเดียวแลกกับการให้จีนยอมรับการถอนทหารจากเวียดนามตั้งแต่ ค.ศ. 1973  หลังจากนั้นสหรัฐได้ตกลงถอนทหารจนสิ้นสุดในเดือนเมษายน 1975 กองทัพเวียดนามเหนือเข้ายึดครองไซง่อนได้สำเร็จและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น โฮจิมินห์ซิตี 
สงครามเวียดนามจึงจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกา และความเจ็บปวดของไทยที่มองว่าสหรัฐจะไม่ทิ้งประเทศไทย เมื่อสหรัฐออกไปไทยจึงต้องปรับนโยบายขนานใหญ่โดยหันมาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งจีนและเวียดนาม
สงครามกัมพูชา (1979-1991)
สงครามกัมพูชาเกิดขึ้นหลังจากกัมพูชาได้เอกราชในปี 1975 และได้นำเอาการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาใช้ภายใต้การปกครองของกลุ่มบุคคลที่เรียกว่าเขมรแดง ต่อมาเวียดนามได้สงทหารจำนวนมากเข้ายึดครองกัมพูชาทำให้เกิดสงคราม
สาเหตุของสงครามกัมพูชา
สาเหตุของสงครามกัมพูชายังมีมีหลากหลายสาเหตุที่ผสมผสานกันเข้าจนทำให้เกิดสงครามกัมพูชา 
1.ปัญหาความเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติระหว่างกัมพูชาและเวียดนามซึ่งมีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน 
2.ความขัดแย้งในแนวชายแดนระหว่างกัมพูชาและเวียดนาม ในบริเวณที่เรียกว่าดินแดนจงอยปากนกแก้ว (Parrot‘s Beak) ซึ่งกัมพูชาอ้างเสมอว่าเวียดนามได้บุกรุกเข้ามาตลอดเวลา ความขัดแย้งนี้ทำให้เขมรแดงยิงปืนใหญ่เข้าไปในเขตเศรษฐกิจใหม่ของเวียดนาม จนกลายเป็นความขัดแย้งและตอบโต้กันด้วยความรุนแรง ทำให้เวียดนามต้องส่งทหารเข้ามาในกัมพูชา
    3.นโยบายรัฐบาลเขมรแดงที่ทำรุนแรงกับคนกัมพูชา (จนเกิดกรณีทุ่งสังหาร) ในปี 1977 ทำให้ผู้นำที่อยู่ในเขมรแดงด้วยกันไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะเฮงสัมริน และฮุนเซน ทั้ง 2 คนจึงหนีออกนอกประเทศและไปเชิญให้เวียดนามเข้ามาบุกยึดกัมพูชา และทั้ง 2 คนก็กลายเป็นรัฐบาลหุ่นของเวียดนามในกัมพูชา
    4.การสนับสนุนเวียดนามของสหภาพโซเวียต
    สงครามกัมพูชาเป็นความขัดแย้ง 3 ระดับ
    1.เป็นสงครามกลางเมืองที่คนในชาติเดียวกันจับอาวุธเข้าทำสงครามกัน แบ่งออกเป็น
    -ฝ่ายรัฐบาลฮุนเซนและเฮงสัมรินที่เวียดนามแต่งตั้งขึ้น
    -ฝ่ายต่อต้านฮุนเซ็น คือเขมร 3 ฝ่าย ที่ประกอบด้วยเขมรแดง ฝ่ายเจ้านโรดมสีหนุ (ฟุนซินเปก) และฝ่ายซอนซาน 
2.เป็นความขัดแย้งระหว่าง 2 กลุ่มรัฐที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน คือระหว่างกลุ่มรัฐในอินโดจีนและกลุ่มรัฐในอาเซียนในอาเซียนนั้นมีไทยเป็นผู้ประสานงานให้อาเซียนมีบทบาทในการแก้ปัญหากัมพูชา เนื่องจากไทยได้รับผลกระทบจากสงครามครั้งนี้มากที่สุด และอาเซียนเป็นผู้สนับสนุนเขมร 3 ฝ่ายและต่อต้านเวียดนามและฝ่ายเฮงสัมรินและฮุนเซน
    3.ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจของโลก 2 ประเทศคือจีนและสหภาพโซเวียต ทำให้สงครามกัมพูชาเป็นสงครามตัวแทนของจีนและโซเวียตด้วย โดยโซเวียตหนุนหลังเวียดนามและรัฐบาลฮุนเซน ส่วนจีนสนับสนุนเขมร 3 ฝ่าย    
    ทั้งนี้สหประชาชาติให้การยอมรับว่ารัฐบาลเขมรแดงและเขมร 3 ฝ่ายเป็นรัฐบาลที่ถูกต้อง ส่วนรัฐบาลฮุนเซนที่ได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามนั้นไม่ได้รับการยอมรับจากเวทีนานาชาติ ยกเว้นสหภาพโซเวียต ทำให้การเมืองระดับโลกเข้ามีส่วนในการแก้ไขปัญหากัมพูชา
    ต่อมาเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจดีขึ้นปี 1987 โซเวียตยุติการช่วยเหลือเวียดนาม ทำให้เวียดนามอยู่ในกัมพูชาต่อไปไม่ได้และต้องถอนกำลังทหารออกมาในปี 1989  และในวันที่ 23 ตุลาคม 1991 มีการลงนามในสัญญาสันติภาพปารีสยุติความขัดแย้งในกัมพูชาและกำหนดให้คนกัมพูชากำหนดชะตาวิถีชีวิตตนเองแบบประชาธิปไตย

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :