สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1643570
แสดงหน้า2112928
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




สรุป PS 702 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์

สรุป PS 702 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์
อ้างอิง อ่าน 437 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์

สรุป PS 702 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์

    ประเด็นที่สำคัญที่ต้องเตรียม
    1.การเขียนเค้าโครงการวิจัย 
    2.องค์ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานวิจัย
    3.อธิบายกระบวนการวิจัยในแต่ละหัวข้อ
    วิชาวิจัยเป็นวิชาที่สอนให้นักศึกษารู้จักเครื่องมือในการนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ เนื่องจากเชื่อว่าความรู้ที่ดีและน่าเชื่อถือจะต้องมีวิธีการในการได้มาซึ่งความรู้ (Methodology) ที่น่าเชื่อถือด้วย 
วิธีการแสวงหาความรู้ที่น่าเชื่อถือ คือวิธีการที่มีกระบวนการที่เป็นระบบ มี แบบแผนขั้นตอนที่ชัดเจน 
การวิจัยเป็นวิธีการในการแสวงการหาความรู้อย่างหนึ่งในบรรดาวิธีการหาความรู้หลายๆวิธี แต่เป็นวิธีการที่มีระเบียบ มีแบบแผน มีกระบวนการที่ชัดเจน ที่ทำให้คนธรรมดาๆ สามารถเข้าถึงความรู้ได้ 
สิ่งที่นักศึกษาต้องเข้าใจในวิชา 702 คือ
ประเด็นที่ 1  การเขียนเค้าโครงการวิจัยหรือแบบเสนอโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) 
โครงร่างการวิจัย หมายถึง ข้อเสนอของนักวิจัยที่จะบอกกับผู้อ่านว่า จะทำวิจัยเรื่องอะไร ทำไมต้องทำเรื่องนี้ ทำแล้วมีประโยชน์อะไร วิธีการทำเป็นอย่างไร 
โครงร่างการวิจัยประกอบด้วยหัวข้อสำคัญๆคือ 
1.ชื่อเรื่อง
2.ปัญหาและความสำคัญของปัญหา
3.วัตถุประสงค์ 
4.สมมุติฐาน (ถ้ามี)
5.ขอบเขตการวิจัย
6.กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา 
7.ระเบียบวิธีวิจัย  
ตรงนี้นักศึกษาจะต้องบอกให้ได้ว่าเรื่องที่จะศึกษานั้นควรจะวิจัยเชิงคุณภาพหรือวิจัยเชิงปริมาณ ถ้าเลือกคุณภาพก็ต้องใช้วิธีการวิจัยแบบคุณภาพ ถ้าเลือกปริมาณก็ต้องตอบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ 
7.1 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ จะต้องบอกถึง
-รูปแบบของการวิจัย เช่นการวิจัยสำรวจ 
-วิธีการเก็บข้อมูลหรือเครื่องมือในการวิจัย เช่นออกแบบถาม  แบบทดสอบ แบบวัดทัศนคติ
-ประชากรที่ศึกษา
ถ้าเป็นการศึกษาประชากรขนาดใหญ่และต้องสุ่มตัวอย่างจะต้องบอกถึงวิธีการสุ่มตัวอย่างด้วย
7.2 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ
-รูปแบบของการวิจัย เช่นการวิจัยเอกสาร การวิจัยชาติพันธุวรรณา การวิจัยสนาม
-วิธีการเก็บข้อมูลและเครื่องมือในการวิจัย เช่นการสังเกตการณ์ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึก 
-ประชากรที่ศึกษา
8.การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลก็จะแตกต่างกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ
-การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณ มักจะใช้สถิติมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
-การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ มักจะใช้วิธีพรรณนาความ ตีความหมาย เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
    ที่สำคัญที่สุด ทุกหัวข้อที่อยู่ในเค้าโครงการวิจัยจะต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดตั้งแต่ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ ขอบเขตการวิจัย ระเบียบวิธี และการวิเคราะห์ข้อมูล 
    
ประเด็นที 1 องค์ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย
องค์ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัยจะมีมาก และโจทย์จะหยิบเรื่องอะไรมาถามก็ได้ ในที่นี้ข้อนำเสนอเรื่องที่สำคัญ คือ
1.วิธีการแบบ Deductive และ Inductive 
    หลักนิรนัย (Deductive) หลักการนี้มีอยู่ว่าเราจะมีคำอธิบายอยู่แล้วในเรื่องที่เราจะศึกษา จากนักวิชาการในอดีตที่มีการศึกษา และคำตอบของนักวิชาการนั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป สภาพสังคมอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง  เราอาจจะมีความสงสัยว่าทฤษฎีที่มีอยู่แล้วนั้น หรือคำตอบที่มีอยู่แล้วนั้นยังเป็นจริงหรืออยู่ไม่ ยังยอมรับต่อไปได้หรือไม่ เราจึงต้องการทดสอบทฤษฎีดังกล่าวนั้นว่ายังถูกต้องหรือไม่ ก็จะอาศัยตรรกะแบบนิรนัยมาใช้ในการวิจัย
    การวิจัยที่ใช้ตรรกะแบบนิรนัยจึงเป็นการวิจัยเพื่อทดสอบทฤษฎี
หลักอุปนัย (Inductive) การวิจัยโดยใช้ตรรกะอุปนับนัยจะไม่นำเอาคำอธิบายหรือทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอยู่แล้วมาเป็นกรอบจำกัดในการศึกษา เรื่องที่จะศึกษา หรือปัญหาที่จะศึกษาอาจจะมีคนอื่นศึกษาเอาไว้แล้ว แต่ผู้ศึกษาจะไม่เอาทฤษฎีเอามาเป็นกรอบ 
    การวิจัยแบบอุปนัยจะมองว่าเมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง อาจจะมีอะไรใหม่ๆที่คนในรุ่นก่อนคิดไม่ถึงดังนั้นทฤษฎีที่คนรุ่นก่อนๆได้สร้างเอาไว้นั้นอาจจะไม่เพียงพอที่จะอธิบายปรากฎการณ์หรือสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้น
    นักวิชาการที่มีแนวคิดอย่างนี้จึงมองว่าจำเป็นจะต้องมีการสร้างทฤษฎีใหม่หรือสร้างคำอธิบายใหม่ที่สามารถอธิบายโลกปัจจุบันได้ นักวิชาการที่สนใจในแนวนี้ก็จะพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมด จากนั้นก็จะมีข้อสรุปจากการศึกษา 
    ทั้งนี้เมื่อมีข้อสรุปที่ได้จากศึกษาในแบบ Inductive อาจจะยังไม่ใช่ข้อสรุปที่ได้รับการยอมรับ แต่อาจจะเป็นข้อสรุปชั่วคราว ก็อาจจะต้องมีการวิจัยซ้ำๆในเรื่องเดียวกัน ที่อาจจะทำในสถานที่ต่างๆน ในแต่ละสถานการณ์กัน
    ถ้าคำตอบหรือข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยซ้ำกันหลายครั้งพบว่ามีความสอดคล้องต้องกันข้อสรุปชั่วคราวนั้นก็จะถูกนำไปประมวลเพื่อสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่
    ดังนั้น ตรรกะในการวิจัยแบบอุปนัย เป็นตรรกะที่ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทฤษฎีหรือสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่
    2.ความแตกต่างของการการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ จะมีความแตกต่างในประเด็นต่างๆคือ
2.1 ลักษณะของข้อมูล ข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณจะเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขที่สามารถวัดได้ เช่นถ้าวัดความรู้ก็จะต้องมีการกำหนดได้มีความรู้ระดับใด ขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพข้อมูลจะเป็นเรื่องของความรู้สึกนึกคิด ข้อมูลจะอยู่ในรูปของการบรรยาย การพรรณนาสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
2.2 วัตถุประสงค์ การวิจัยเชิงปริมาณจะมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ
-การทดสอบทฤษฎี การวิจัยเชิงปริมาณจะต้องมีทฤษฎีอยู่ก่อนแล้ว จากนั้นก็นำเอาทฤษฎีหรือกรอบแนวคิดนั้นมาทดสอบว่าเป็นจริงกับกรณีที่เราศึกษาหรือไม่
-การวิจัยเชิงปริมาณใช้เพื่อการสรุปข้อมูลที่มีจำนวนมาก เพื่อให้เห็นภาพทั่วไปของสิ่งที่เกิดขึ้นได้
-การวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการแสดงความถูกต้องของสิ่งที่เกิดขึ้น
ขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพจะมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
-ต้องการสร้างทฤษฎีใหม่ หรือการสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา 
-เป็นการวิจัยที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับลึก 
-การวิจัยเชิงคุณภาพมีความต้องการที่จะทำความเข้าใจกับความหมายในสิ่งที่จะศึกษา ซึ่งบางครั้งเป็นเรื่องที่ต้องตีความ เช่นเราเห็นคนใส่เสื้อแดงกับใส่เสื้อเหลืองในอดีตอาจจะเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเป็นในช่วงปี 2549 ถึงปัจจุบันเสื้อแดงอาจจะหมายถึงคนที่อยู่ตรงข้ามกับฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งสะท้อนถึงความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วย
ดังนั้นการวิจัยเชิงคุณภาพไม่ใช่เรื่องง่ายๆ การทำวิจัยคุณภาพจะต้องมีการกำหนดประเด็นให้ชัดเจนเสียก่อน จากนั้นจึงเอาข้อมูลมาอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ และต้องมีความเข้าใจในสิ่งที่อธิบายว่ามีความสำคัญอย่างไร
ในขณะการวิจัยเชิงปริมาณจะง่ายตรงที่เราสามารถตีความจากข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่เก็บได้จากกลุ่มตัวอย่าง
ขณะที่การตีความหมายของปรากฏการณ์ในการวิจัยเชิงคุณภาพจะยากตรงที่หากเราใช้กรอบคิดหรือทฤษฎีต่างกันการตีความหมายของปรากฎการณ์ก็จะต่างกันด้วย
2.3 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล จะแตกต่างกันตรงที่การวิจัยเชิงปริมาณจะใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ขณะการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้การสรุปในแบบอุปนัยในการวิเคราะห์
    สภาพของข้อมูลของวิจัยเชิงคุณภาพ
    1.ข้อมูลมีความยืดหยุ่น ขณะวิจัยเชิงปริมาณข้อมูลจะไม่ยืดหยุ่น เช่นถ้าเราตอบแบบสอบถามเราก็จะต้องตอบตามข้อเลือกที่นักวิจัยกำหนดออกมา ขณะในการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ตอบสามารถตอบได้อย่างหลากหลาย นั่นคือคำตอบของคำถามจะขึ้นอยู่กับผู้ตอบ
    เช่นถ้านักวิจัยถามว่าชอบนายกทักษิณหรือไม่ ถ้าเป็นเชิงปริมาณ เราอาจจะตอบได้แค่ ชอบ ไม่ชอบ ชอบมาก ชอบมากที่สุด แต่ถ้าเป็นวิจัยเชิงคุณภาพผู้ตอบจะตอบได้กว้างขวาง ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพจึงมีความยืดหยุ่น
    2.เป็นข้อมูลเชิงอุปนัย อุปนัยหมายถึง เวลาเก็บข้อมูลผู้วิจัยจะเข้าไปสังคมและเก็บตัวอย่างทีละคน ทำให้มองเห็นข้อมูลหรือความจริงที่เก็บมาอย่างลึกซึ้ง ส่วนจะเก็บข้อมูลจำนวนมากน้อยแค่ไหนจึงจะพอนั้นขึ้นอยู่กับว่าความจริงที่เราพบนั้นมีความมั่นใจแค่ไหน นั่นคือผู้วิจัยจะประเมินเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าจริงแล้วหรือไม่
     แต่การวิจัยเชิงคุณภาพจะเพียงพอหรือจะยืดหยุ่นหรือไม่ผู้วิจัยจะต้องลงไปฝังตัวอยู่ในสนามการวิจัย ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของสิ่งที่เราศึกษาอย่างลึกซึ้ง
    3.ข้อมูลต้องอิ่มตัวเพียงพอ นั่นคือการฝังตัวและเก็บข้อมูลจะต้องเก็บจนข้อมูลอิ่มตัว
    4.ข้อมูลที่รอบด้าน ถ้าเราไปฝังตัวในสนามจะได้รับข้อมูลที่รอบด้าน ขณะการวิจัยเชิงปริมาณจะได้ข้อมูลหรือความจริงของสังคมบางด้านเท่านั้น 
    ข้อมูลจากการวิจัยคุณภาพจึงต้องการการบรรยาย การอธิบาย
    6.หน่วยข้อมูล การวิจัยคุณภาพศึกษาที่ Subject  หรือศึกษาจิตใจของมนุษย์ ศึกษาความหมายและความรู้จากคน ดังนั้นจึงไม่มีหน่วยวัดแบบวิจัยเชิงปริมาณ 
    ตัวเลขไม่สำคัญสำหรับวิจัยคุณภาพ แต่วิจัยคุณภาพบางครั้งก็มีตัวเลขได้
    7.การวิจัยคุณภาพต้องเรียนรู้เรื่องของคนเป็นหลัก เพียงแต่จะศึกษามุมไหนเท่านั้น แต่ข้อมูลจากคนนั้นจะขึ้นอยู่กับอารมณ์ เช่นถ้าเราคุยกับคนที่เพิ่มตื่นนอน หรือถามในตอนกลางวัน ข้อมูลที่ได้มาจะต่างกัน 
    ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากมนุษย์จึงถูกกำหนดด้วยเวลาและสถานที่ (Time and Space) หรือขึ้นอยู่กับกาละและเทศะ ดังนั้นผู้วิจัยต้องรู้ว่าควรจะเก็บข้อมูลในเวลาและสถานที่ใด
นั่นคือความแตกต่างระหว่างวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ แต่การจะใช้วิธีการแบบไหนในการศึกษาขึ้นอยู่กับ สภาพปัญหา เพราะปัญหาบางอย่างเหมาะสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ สภาพปัญหาบางอย่างเหมาะกับการวิจัยเชิงคุณภาพก็ต้องใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเด็นที่ 3 การอธิบายกระบวนการวิจัย 
    รายละเอียดของบางหัวข้อในเค้าโครงการวิจัยที่ต้องทำความเข้าใจ
    1.ชื่อเรื่อง หมายถึงการเอาประเด็นปัญหามาตั้งชื่อ โดยชื่อเรื่องที่ดีจะต้องมีความกระชับ และสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นในการวิจัย ขอบเขตในการวิจัยทั้งด้านเวลาและสถานที่ 
    ชื่อเรื่องที่ดีจะเป็นประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ประโยคคำถามหรือประโยคปฏิเสธ
    2.ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
    ประชากร (Population) หมายถึงการเลือกกลุ่มประชากรที่เราจะศึกษา เช่นถ้าศึกษาเรื่อง ความคิดทางการเมืองของนักศึกษาปริญญาโทรามคำแหงส่วนภูมิภาค ประชากรในที่นี้คือนักศึกษาปริญญาโทในภูมิภาคทั้งหมด
    หากประชากรมีขนาดใหญ่เกินไปเราไม่สามารถศึกษาประชากรทั้งหมดได้ ก็จะมีการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) เพื่อเลือกตัวอย่าง (Sample) ของประชากรบางส่วนมาศึกษา
วิธีการสุ่มตัวอย่าง จะแบ่งออกเป็น
-Non Probability การสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น หมายถึงการสุ่มตัวอย่างที่เราไม่รู้ว่าโอกาสที่ประชากรจะถูกเลือกให้เป็นกลุ่มตัวอย่างนั้นมีเท่าไหร่
-แบบ Probability เป็นการสุ่มตัวอย่างที่สามารถคำนวณหาค่าโอกาสในการที่จะเลือกเป็นตัวอย่างได้
วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Non Probability Sampling
-การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เช่นเจอใครก็เลือกคนนั้น แต่ก็มีกรอบว่าคนที่สัมภาษณ์ต้องเป็นคนที่รู้เรื่องนั้นๆมากที่สุด เช่นถ้าหัวข้อบอกว่าบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม ก็จะต้องไปถามคนที่มีความรู้และเกี่ยวกับเรื่องของพระสงฆ์
-แบบตามวัตถุประสงค์ คือมีการเจาะจงไปเลยว่าจะเลือกใครเป็นกลุ่มตัวอย่างเช่นทำเรื่องอรรถประโยชน์ของรถ 2000 ซีซี ว่ายี่ห้อไหนดีที่สุด เราก็ต้องไปดูคนที่เกี่ยวของกับรถ เช่นช่างซ่อม คนขายรถ คนใช้รถ 
-แบบแบ่งโควต้า เราจะต้องกำหนดว่าเราจะเลือกประชากรประเภทต่างๆเท่าไหร่ 
-แบบการกำหนดผู้ตัดสิน 
-แบบรายชื่อ Snow Ball Sample เช่นเราไปถามคนคนหนึ่งแล้วให้คนคนนั้นแนะนำคนต่อไปเรื่อยๆ
วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) มีหลายวิธีเช่น
1.การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย Simple Random
-แบบการจับฉลากจะจับแบบเอาเข้าที่เดิมกับจับแบบเอาเข้าที่เดิม
-การใช้ตารางสุ่ม 
2.การสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified จะต้องลำดับตัวอย่างทั้งหมดมาลำดับว่าอะไรเป็นชั้นบน อะไรเป็นชั้นล่าง เช่นการทำเรื่องการไฟฟ้า ตอนแรกแบ่งเป็นเหนือ กลาง ใต้ อีสาน นี่คือชั้นที่ 1 จากนั้นก็เอาจังหวัดมาแบ่ง แยกเป็นจังหวัดใหญ่เล็ก จังหวัดใหญ่ จังหวัดขนาดกลาง
ในการสุ่มตัวอย่างนั้นอาจจะใช้หลายวิธีผสมกันก็ได้
3.รูปแบบการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่
    1.การวิจัยทดลอง
    2.การวิจัยที่ไม่ใช่การทดลอง ในทางสังคมศาสตร์จะใช้การวิจัยแบบไม่ใช่การทดลองเป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะแบ่งออกเป็นหลายประเภทคือ 
1.การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Design) จะมุ่งเน้นการศึกษาทัศนคติ พฤติกรรมต่างๆของสังคม แต่เราไม่สามารถที่จะศึกษาทั้งสังคมได้ จึงศึกษาผ่านทางกลุ่มตัวอย่างที่เราสุ่มมา โดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่าแบบสอบถาม การวิจัยสำรวจนั้นแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ
    1.1 Correlational Design คือการวิจัยสำรวจที่อาศัยพื้นที่เป็นหลัก อาจจะเรียกว่า Cross Sectional Design คือเวลาเราศึกษานั้นเราสามารถที่จะศึกษาพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหรือหลายพื้นที่ก็ได้ เช่นต้องการศึกษาว่าคนไทยคิดอย่างไรในประเด็นปัญหาการเมืองในปัจจุบัน การทำโพลนั้นจะเป็นการวิจัยในรูปแบบนี้
    1.2 Longtitudenal Design คือการวิจัยสำรวจที่อาศัยเวลาเป็นหลัก คือมีการเก็บข้อมูลในเวลาหนึ่ง เช่นศึกษาว่าในช่วง ร.ส.ช.ปี 34 ว่าคนไทยคิดอย่างไร 
    2. การวิจัยสนาม (Filed Research) การวิจัยสนามหมายถึงการไปเกาะติดสถานการณ์ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยใช้การสังเกตการณ์เป็นหลัก 
3.การวิจัยแบบ Unobtrusive Research ซึ่งคำว่า Unobtrusive แปลว่ามนุษย์ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวข้องกระบวนการสิ่งนั้น Unobtrusive ก็คือตัวหนังสือทั้งหมด จะแบ่งออกเป็น 
-การวิจัยเอกสาร หรือ Document research 
-การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ Content analysis เช่นการเปรียบเทียบสุนทรพจน์ของฮิตเลอร์ กับสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีรุสเวลส์ โดยการนับคำพูดฮิตเลอร์ว่าพูดคำว่าอำนาจกี่ครั้งพูดคำว่าเสรีกี่ครั้ง ก็จะแสดงทิศทางความคิดของเขาฮิตเลอร์ได้ การวิเคราะห์เอกสารจึงเป็นการวัดความถี่ของคำที่ปรากฏในเอกสาร
4.การวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) หรือการวิจัยโครงการ  การวิจัยแบบนี้จะต้องมีตัวนโยบายหรือโครงการ จะดูว่าตัวนโยบายหรือโครงการที่นำไปปฏิบัตินั้นได้ผลแค่ไหน
4.การรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ส่วนมากจะใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้
-แบบทดสอบ (Test Form) จะใช้ในการสอบ ซึ่งแบบทดสอบจะต่างจากแบบสอบถามตรงที่ แบบทดสอบใช้วัดความรู้ แบบสอบถามจะใช้วัดทัศนคติ 
-แบบสัมภาษณ์ (Interviewing Form) แบบสัมภาษณ์จะใช้การถามและผู้ถามเป็นคนจด ต่างจากแบบสอบถามที่ผู้จะต้องตอบเอง 
-แบบสังเกต (Observation Form) นักชีวะวิทยาจะใช้มากที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์
-แบบสอบถาม หรือ Questionnaire มีชื่อเต็มว่า -Self Administering Questionnaire คนที่ร่างแบบสอบถามจะต้องเก่งเพราะให้คนตอบตอบเอง ต้องอ่านแล้วรู้เรื่อง สิ่งที่สอบถามไม่ควรจะลึกซึ้งเกินไปและตรงไปตรงมา แต่แบบสอบถามจะตอบคำถามได้ไม่ลึกซึ้ง
**การวิจัยทางรัฐศาสตร์จะใช้รูปแบบการวิจัยสำรวจมาก ซึ่งต้องอาศัยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือวัด ถ้าโจทย์ให้อธิบายถึงวิธีการเก็บข้อมูลจะต้องบอกข้อดีข้อเสียในแต่ละวิธีด้วย ***

 

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :