สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1643535
แสดงหน้า2112889
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




สรุป Plan A การเมืองการปกครอง สอบประมวล ม.รามคำแหง

สรุป Plan A การเมืองการปกครอง สอบประมวล ม.รามคำแหง
อ้างอิง อ่าน 1458 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
                 
สรุป Plan A การเมืองการปกครอง
Plan A ประกอบด้วย 710 สังคมวิทยาการเมือง และ 712 การมีส่วนร่วมทางการเมืองของมหาชนไทย 
    ประเด็นสำคัญที่ต้องอ่านทำความเข้าใจ คือ
    1.สาระสำคัญของวิชา 710
    -ความคิดรวบยอดของสังคมวิทยาการเมือง
    -แนวความคิดเกี่ยวกับความทันสมัย (Modernization)
    -ตัวแบบความทันสมัยกับความไร้เสถียรภาพทางการเมืองของแซมมวล พี. ฮันติงตัน
    -ตัวแบบความไร้เสถียรภาพทางการเมืองของมาร์ติน ลิบเซ็ท
    2.สาระสำคัญของวิชา 712 
    -ความคิดรวบยอดของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
-รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
-จุดอ่อน (ข้อจำกัด) ของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
3.เหตุการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
    สาระสำคัญของวิชา 710
    ความคิดรวบยอด
    สังคมวิทยาการเมือง เป็นวิชาที่มองว่าปัจจัยทางสังคมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และปัจจัยทางการเมืองมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่สำคัญปัจจัยทางสังคมเป็นปัจจัยที่มองไม่เห็น แต่จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อเหตุการณ์ทางการเมืองที่เรามองเห็น เป็นเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำจะเป็นก้อนใหญ่มหึมามากกว่าส่วนที่อยู่พ้นน้ำ (ตามทฤษฎีถูเขาน้ำแข็ง หรือ Iceberg)
    ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการเมืองที่วิชา 710 เน้นมากที่สุดคือ เรื่องของความทันสมัย (Modernization) 
    ดังนั้นในวิชา 710 จะต้องให้ความสนใจกับแนวคิดเกี่ยวกับความทันสมัย 
    ความหมาย
    ความทันสมัยหมายถึงกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงจากภาวะดั้งเดิมไปสู่ภาวะที่ทันสมัย
    ทาร์คอต พาร์สัน บอกว่ากระบวนการทันสมัยเป็นเรื่องความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนสภาพการณ์ใน 4 ประการ ซึ่งเป็นสภาพการณ์หลักที่ปรากฎในสังคมดั้งเดิมที่จะต้องปรับให้เป็นสภาพการณ์ใหม่คือ
    1.ต้องปรับเปลี่ยนจาก Particularistic ให้เป็น Universalistic หมายถึงการที่กฎหมายระเบียบต่างๆที่เคยออกมาบังคับใช้เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล ต้องปรับเปลี่ยนให้บังคับใช้กับทุกคน หรือบุคคลจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันอัน 
2.เปลี่ยนจากสภาพ Diffuse ให้เป็น Specific หมายบทบาทที่คนคนเดียวต้องทำหน้าที่หลายอย่างที่เรียกว่า Diffuse Function ต้องถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นลักษณะที่แต่ละคนทำหน้าที่เฉพาะอย่างเพื่อเกิดความชำนาญเฉพาะด้านหรือ Specific 
3. ต้องเปลี่ยนจาก Ascriptive มาเป็น Achievement หมายถึงการสืบทอดตำแหน่งในสังคมดั้งเดิมจะเป็นไปตามสายเลือด แต่ในสังคมสมัยใหม่จะต้องใช้ หลักแห่งสัมฤทธิผลและหลักแห่งความยุติธรรมเป็นสำคัญ
    ปัจจัยที่ทำให้เกิดความทันสมัย จะมี 2 ปัจจัยคือ
    1.การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development )
    2.การพัฒนาสังคม ซึ่งในที่นี้ทำโดยการพัฒนาการศึกษา และกระบวนการกล่อมเกลาคนในสังคมให้เปลี่ยนจากเดิมไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นที่เรียกว่า Social Mobilization (ที่อาจารย์สิทธิพันธ์เรียกว่ากระบวนการของเก่าถอดทิ้ง)  
    ทั้ง Economic Development และ Social Mobilization จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
    นักศึกษาจะต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการ Social Mobilization มีผลต่อการเมืองอย่างไร 
ผลกระทบของ Social Mobilization ที่มีต่อการเมือง
คาร์ล ดอยช์ บอกว่าในสังคมที่มีระดับของ Social Mobilization สูงจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3 ประการ คือ
1.ทำให้คนที่มีระดับ Social Mobilization สูงทิ้งแบบแผนการดำเนินชีวิตแบบเก่า เพราะคนพวกนี้จะมีความรู้ความเข้าใจสูงขึ้น และจะเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้นอันมีผลมาจากการคาดหวัง ความทะเยอทะยานสูงขึ้น 
2.ทำให้สถาบันทางการเมืองมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คนเข้าไปเรียกร้องทางการเมืองมาขึ้น รัฐจะดำรงอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพก็ต่อเมื่อสร้างสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็งมารองรับ
3.Social Mobilization ส่งผลให้ที่มาของผู้นำทางการเมืองจะแปรเปลี่ยนไป คือในสังคมแบบดั้งเดิมผู้นำทางการเมืองจะมาจากฐานของความชอบธรรมทางประเพณี แต่ในสังคมที่ทันสมัยผู้นำจะมีกฎหมายมารองรับความชอบธรรม (Legal-Rational)  
ปัจจัยที่ใช้วัดระดับของ Social Mobilization
1.จำนวนคนที่มีความเป็นอยู่ที่ทันสมัย 
2.วัดจากคนที่สัมผัสสื่อสารมวลชนในรูปแบบต่างๆว่ามีมากน้อยแค่ไหน 
3.วัดจากจำนวนคนที่เปลี่ยนที่อยู่อาศัยไปสู่ที่ดีกว่าเก่า 
4.ดูจากการขยายตัวของสังคมเมือง เพราะการที่เมืองขยายตัวทำให้คนรับสิ่งใหม่ๆ
5.วัดจากจำนวนคนที่เปลี่ยนอาชีพจากกสิกรเป็นอาชีพอย่างอื่น
6.วัดจากจำนวนผู้รู้หนังสือ
7.วัดจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคน
    ผลกระทบของการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีต่อการเมือง
1.Identity Crisis ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านความผูกพันเช่น ในสังคมแบบเก่าคนจะมีความผูกพันกันสูง คนจะเชื่อผู้นำ แต่ในสังคมสมัยใหม่ต้องให้คนหันมายอมรับสถาบันและกฎหมายใหม่ๆ ปัญหาความผูกพันก็จะเกิดขึ้น 
    2.Legitimacy Crisis หมายถึงวิกฤตแห่งความชอบธรรม ผู้นำที่มาจากฐานความชอบธรรมแบบเก่าๆ ก็จะไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป
    3.Political Participation Crisis วิกฤตการณ์ในด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะสังคมที่ทันสมัยสูงขึ้น คนจะมีการเคลื่อนย้ายทางสังคมสูง คนมีความคิดอ่านมากขึ้น คนมีความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญทางการเมืองมากขึ้น 
    4.Penetration Crisis วิกฤตการณ์ในการเข้าถึงประชาชน ในยุคก่อนนั้นรัฐจะขยายการบังคับบัญชาได้ในแวดวงที่จำกัด แต่เมื่อสังคมมีทันสมัยมากขึ้น รัฐจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับประชาชนมากขึ้นไปก็จะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้
    5. Distribution Crisis วิกฤติการณ์ในเรื่องการแจกแจงบ่งสรรทรัพยากร เพราะในสังคมที่ทันสมัยคนจะความต้องการต่างๆมากขึ้น แต่รัฐบาลมีทรัพยากรที่จำกัด
    6. Integration Crisis วิกฤติการณ์ในเรื่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งก็เกิดมาจากการที่รัฐไม่สามารถสนองตอบความต้องการได้เท่าเทียมกัน
    ตัวแบบของฮันติงตัน
    แซมมวล พี. ฮันติงตัน กล่าวว่าการพัฒนาเศรษฐกิจว่ามีผลความไร้เสถียรภาพทางการเมือง โดยมองว่าในสังคมที่ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสูงจะมีระดับความทันสมัยสูง ซึ่งส่งผลให้ระดับของ Social Mobilization สูง จะทำให้คนในสังคมมีความกระตือรือร้นทางการเมืองสูง มีความสำนึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่รัฐบาลจะต้องหันมาเหลียวและ คนในสังคมจะมีความทะยานอยากที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง 
ถ้าสังคมนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการจากการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองได้ คนจะเกิดความคับข้องใจทางสังคม หรือมีระดับ Social Frustration สูง แต่หากสังคมนั้นเป็นสังคมที่มี Mobility Opportunity หรือเป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้คนมีการขยับขยายฐานนะทางสังคมได้สูง ก็จะไม่มีปัญหาผลกระทบทางการเมืองแต่อย่างใด
แต่ถ้าสังคมที่คนมีขับข้องใจ แต่ความขับข้องใจดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนอง หรือสังคมนั้นเป็นสังคมปิดไม่เปิดโอกาสให้มีการขยับขยายทางสังคมจะทำให้คนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) เป็นจำนวนมาก
สังคมใดที่คนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองจำนวนมากและในรูปแบบที่รุนแรงเช่นการประท้วง การเรียกร้องความต้องการแต่สถาบันทางการเมืองไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอก็จะเกิดสภาพความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (Political Change) ในที่สุด
ตัวอย่าง การนำเอาตัวแบบของฮันติงตันมาอธิบายการเมืองไทย
1.การเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 
2.เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 16 ตุลาคม 2519 
3.เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 
4.เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 
    ทั้ง 4 เหตุการณ์ล้วนเป็นผลที่มาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ทั้งสิน ดังจะได้อธิบายทีละเหตุการณ์ดังนี้ 
    การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี 2475     
ถ้าพิจารณาตามแนวคิดของฮันติงตัน เหตุการณ์ปี  2475 เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมกับการพัฒนาการเมือง
กล่าวคือในสมัยของรัชกาลที่ 5 ทรงมีนโยบายพัฒนาประเทศโดยการสร้างความทันสมัย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก เช่นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในการนี้ทำให้พระองค์มีความจำเป็นในการส่งคนไทยไปเรียนในต่างประเทศเพื่อรองรับงานด้านต่างๆที่เกิดจากการปฏิรูปประเทศ  
ผลที่เกิดขึ้นจากนโยบายนี้ทำให้คนไทยที่ไปเรียนต่างประเทศรับแนวคิดตะวันตกเข้ามา ต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลที่ 6 และสุดท้ายคนเหล่านี้ก็มีความต้องการที่จะเข้ามีส่วนร่วมในทางการเมือง แต่ระบบการเมืองยังไม่มีการพัฒนา ระบบกษัตริย์ไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางการเมืองของปัญญาชนที่ไปศึกษาต่อในต่างประเทศได้ ในที่สุดก็นำมาซึ่งการรวมตัวของนายทหารลุกขึ้นมายึดอำนาจจากกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย 
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 16 ตุลาคม 2519
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 16 ตุลาคม 2519 ก็เป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆมาตั้งแต่ปี 2505 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้านการศึกษาและการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่นมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ส่งผลให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองมากขึ้น นักศึกษาตามมหาวิทยาลัยมีความคิดความอ่านที่ได้รับรู้จากการศึกษา 
ขณะที่การเมืองยังเป็นเผด็จการ สถาบันการเมืองที่อยู่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและประชาชนได้ เกิดสิ่งที่เรียกว่าการแช่แข็งทางการเมือง ทั้งยังมีปิดกั้นการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน มีการห้ามชุมนุมกันทางการเมือง ห้ามผู้ใช้แรงงานรวมตัวกันเป็นสมาพันธ์ ลักษณะดังกล่าวทำให้นักศึกษาและประชาชนเกิดความขับข้องใจ
ทำให้เกิดการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองครั้งใหญ่ด้วยการออกมาชุมนุมประท้วงของนักศึกษาและประชาชน จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและมีการขับไล่รัฐบาลเก่าให้ออกจากตำแหน่งในที่สุด
ตรงนี้เป็นความไม่สมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาทางการเมือง สุดท้ายก็นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงและการล่มสลายทางการเมือง
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535
แนวคิดการพัฒนาที่ไม่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาการเมืองยังสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 เนื่องจากก่อนจะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของไทยมีการเติบโตสูงมาก จากนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลพลเอกชาติชาย การเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ชนชั้นกลางในสังคมไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมๆกับระบบการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยมากขึ้น โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนมีมากขึ้น แต่เมื่อเกิดเหตุการ์ณ รสช. ที่นายทหารที่นำโดยพลเอกสุนทร คงสมพงศ์ ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเอกชาติชาย และมีการสืบทอดอำนาจโดยการให้พลเอกสุจินดา คราประยูรเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ชนชั้นกลางซึ่งเป็นคนที่มีทั้งความรู้ มีฐานะทางเศรษฐกิจ และเป็นกลุ่มคนที่มีความตระหนักในความสำคัญของตนเองในทางการเมือง (Self Political) จึงเข้าร่วมชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาลที่มาจาก รสช. จนทำให้ม๊อบปี 2545 ถูกเรียกว่าม๊อบชนชั้นกลางหรือม๊อบมือถือ 
การที่ทหารพยายามทำให้การเมืองกลับไปสู่การเมืองแบบเก่า จึงเป็นภาวะที่ไม่สมดุลกับความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง อันเกิดจากคนมีการศึกษาและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ความขัดแย้งระหว่างทหารและประชาชนลุกลามจนกลายเป็นการนองเลือดในที่สุด
    เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
    การรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน ยิ่งสะท้อนให้เห็นการพัฒนาที่ไม่สมดุล ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม เทคโนโลยี และการเมือง
ทั้งนี้เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่นำมาสู่การปฏิรูปการเมืองในปี 2540 เป้าหมายของการปฏิรูปการเมืองก็เพื่อให้การเมืองเป็นการเมืองของพลเมืองแทนที่จะเป็นการเมืองของ ส.ส. ทุกวันนี้การเมืองไทยจึงเป็นขั้นตอนของความพยายามที่จะเปลี่ยนประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Democracy) มาเป็นการเมืองแบบมีส่วนร่วมหรือ Participatory Democracy
    รัฐธรรมนูญปี 2540 มีผลทำให้คนไทยตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น เกิดการรวมตัวในรูปประชาสังคมมากมาย และความพร้อมในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น
แต่ปรากฏว่าในทางการเมืองรัฐบาลที่นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ กลับใช้อำนาจในการบริหารประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ อันเนื่องจากการมีอำนาจทุนอยู่ในมือ และใช้อำนาจในการแทรกแซงองค์กรทางการเมืองอื่นๆ จนทำให้องค์กรหรือสถาบันการเมืองต่างๆไม่ได้ทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น เช่น
-สภาผู้แทนเป็นสถาบันที่ไม่ทำหน้าที่ของตนเอง เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ส่วนใหญ่สังกัดพรรครัฐบาล ส.ส.จึงทำหน้าที่สนับสนุนรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีจนลืมทำหน้าที่นิติบัญญัติ หรือหน้าที่ตัวแทนประชาชน
-วุฒิสภา วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นวุฒิสภาที่ไม่ทำหน้าที่ของตนเองในการตรวจสอบและกรั่นกรองการใช้อำนาจรัฐ ทั้งยังปฏิบัติตนไม่เป็นไปตามกฎหมาย เช่นกฎหมายสั่งห้ามไม่ให้สังกัดพรรค แต่ ส.ว.หลายคนขายตัวให้กับพรรคการเมือง
-องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่นกกต.เป็นองค์กรอิสระที่อื้อฉาวที่สุดถึงการไม่ทำหน้าที่จนทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาและ กกต.หลายคนต้องถูกฟ้องร้องและถูกจำคุก
-พรรคการเมือง ตามหลักการแล้วพรรคการเมืองจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำเสนอนโยบายตามความต้องการของประชาชน แต่พรรคไทยรักไทยในฐานะพรรครัฐบาลกลับนำเสนอนโยบายหลายอย่างที่เป็นการตอบสนองความต้องการของนายทุนพรรคตนเอง จนกลายเป็นที่มาของปัญหาคอรัปชั่นเชิงนโยบาย 
    ในขณะที่รัฐบาลทักษิณพยายามจะทำให้การเมืองไทยเป็นการเมืองแบบเผด็จการโดยทุนนิยม ซึ่งขัดแย้งกับการตระหนักถึงความสำคัญของการเมืองภาคพลเมืองของประชาชน ในทางสังคมกลับมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการพัฒนาของสื่อสารโทรคมนาคม โดยเฉพาะความทันสมัยของระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีผลทำให้ประชาชนรับรู้ข่าวสารทางการเมืองได้อย่างรวดเร็ว 
    ประเด็นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นการพัฒนาที่ไม่เท่ากันระหว่างการเมือง กับการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี สุดท้ายเมื่อประชาชนรับรู้พฤติกรรมในทางไม่ชอบของรัฐบาลจึงออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวผ่านการสื่อสาร สุดท้ายก็ทำให้เกิดวิกฤติการเมือง และนำมาสู่การล่มสลายของระบอบประชาธิปไตย และทำให้ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง
    จากตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงผลของการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลต่อการพัฒนาทางการเมือง และหากการพัฒนาทั้ง 2 ด้านไม่มีความสมดุลกันความล่มสลายทางการเมืองก็จะเกิดขึ้น
ตัวแบบของมาร์ติน ลิบเซ็ท
Seymour Martin Lipset มองว่าเสถียรภาพทางการเมืองของระบบการเมืองขึ้นอยู่กับตัวแปร 2 ตัวคือ (1) ประสิทธิผล (Efficiency) และ (2) ความชอบธรรมของระบบการเมือง  (Ligitimacy) ซึ่ง Lipset จะใช้ตัวแปรทั้งสองตัววัดแนวโน้มของเสถียรภาพทางการเมือง 
ถ้าสังคมใด Legitimacy เป็นบวก  คือสังคมที่รัฐบาลมีความชอบธรรมทางการเมืองสูง มาจากการเลือกตั้ง และประชาชนให้การยอมรับมาตั้งแต่แรก
ถ้า Legitimacy เป็น ลบ คือสังคมที่มีรัฐบาลที่ประชาชนไม่ให้การยอมรับมาตั้งแต่แรก อาจมาจากการการปฏิวัติหรือยึดอำนาจจากคนอื่นมา
ส่วน Effectiveness จะคำนึงถึงผลระยะยาว มีเป้าหมาย มีการวางแผน และมีขั้นตอนที่ชัดเจน รัฐบาลที่ดำเนินการไปทีละขั้นตอนที่วางแผนเอาไว้เพื่อทำให้เกิดความกินดีอยู่ดีของประชาชน ถือว่าเป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เช่นการสร้างเขื่อน
ส่วนประสิทธิภาพ จะมุ่งผลสัมฤทธิ์ในเป้าหมายระยะสั้น เช่นนโยบายช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วน เช่นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลประชิปัตย์กำลังดำเนินการในขณะนี้ 
จากแนวคิดของลิปเซ็ททำให้แบ่งรัฐบาลออกเป็น 4 กลุ่มคือ
A  คือรัฐบาลที่มีความชอบธรรมสูง มาจากการเลือกตั้ง มีการวางแผนงานและดำเนินการตามแผนเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน รัฐบาลกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีเสถียรภาพสูงสุด
B คือรัฐบาลที่ประชาชนไม่ได้ให้การต้อนรับมาตั้งแต่แรก แต่เมื่อได้เป็นรัฐบาลแล้วก็สามารถวางแผนงาน กำหนดนโยบาย และพยายามดำเนินการตามแผนต่างๆ เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ รัฐบาลกลุ่มนี้จะมีเสถียรภาพทางการเมืองสูง เช่น รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
C คือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ไม่มีโครงการหรือแผนงานใดเลย อยู่ไปวันๆ รัฐบาลกลุ่มนี้ค่อนข้างจะไร้เสถียรภาพ
D คือรัฐบาลที่เข้ามาสู่อำนาจจากการแย่งชิง เมื่ออยู่ในอำนาจก็ไม่ได้ทำอะไรใหม่ ไม่สามารถสร้างอะไรให้ประชาชนเลย เป็นรัฐบาลกลุ่มที่ไร้เสถียรภาพค่อนข้างสูง
เช่นในระยะแรกของรัฐบาลทักษิณถือว่าเป็นรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความชอบธรรมสูงด้วย เพราะมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนจำนวนมหาศาล รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ถูกใจประชาชน ทำให้ฐานะรัฐบาลค่อนข้างมั่นคงโดยเฉพาะในสมัยแรกของการเป็นรัฐบาล 
แต่ในสมัยที่ 2 แม้จะยังได้รับการเลือกตั้งแต่เริ่มขาดความชอบธรรมเนื่องจากมีการคอรัปชั่นเชิงนโยบาย แก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองและครอบครัว ตัวนายกรัฐมนตรีถูกมองว่าทำธุรกิจไปพร้อมกับการทำหน้าที่ผู้นำประเทศ สุดท้ายทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมาก ความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลจึงมีอยู่ตลอดเวลา ขณะที่มาของการเป็นรัฐบาลก็ถูกตั้งคำถามถึงความชอบธรรมจากบางฝ่าย (ฝ่ายที่ต่อต้านพันธมิตรประชาชนและประชาธิปัตย์) แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากบางฝ่าย เสถียรภาพของรัฐบาลประชาธิปัตย์จึงขึ้งอยู่กับผลงานของรัฐบาล 
รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
1.การปฏิวัติ (Revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานภายในสังคมที่ใช้ความรวดเร็วและรุนแรง มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยม เปลี่ยนความเชื่อที่สำคัญๆของสังคม เปลี่ยนสถาบันทางการเมือง เปลี่ยนโครงสร้างของผู้นำ เปลี่ยนกิจกรรมและนโยบายต่างๆของรัฐบาล 
สาเหตุของการปฏิวัติ การปฏิวัติเกิดจากการที่ระบบไม่สามารถทำหน้าที่ (Dysfunction) ต่อไปได้ เพราะ
1.มาจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ เจมส์ เดวี่ ที่บอกว่าการปฏิวัติจะเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจที่กำลังก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆเกิดตกต่ำอย่างฉับพลัน
2.สภาพการทางการเมือง เช่นมีความขัดแย้งกันในรัฐบาลจนทำให้รัฐบาลขาดความชอบธรรม
3.เกิดจากสภาพการณ์ทางจิตวิทยา เช่น เทด โรเบิร์ต เกอร์ บอกว่าการปฏิวัติเกิดจากการไม่พึงพอใจ (Discontent) ของประชาชนเกิดที่รู้สึกว่าพวกเขาถูกฉกฉวยผลประโยชน์ที่เขาควรจะได้รับในเชิงเปรียบเทียบ โดยเฉพาะถ้าความเดือดร้อนหรือความไม่พอใจนั้นถูกทำให้เป็นประเด็นทางการเมืองหรือ Politicize 
2.การปฏิรูป (Reform) การปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการปฏิวัติการปฏิรูปเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีขอบเขตที่จำกัด ในบางประเด็นที่เป็นปัญหาและพยายามแก้ไขประเด็นนั้น แต่การปฏิวัตินั้นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งสังคม
และถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงผู้นำ เปลี่ยนแปลงนโยบายและสถาบันทางการเมืองในระดับปานกลาง ขณะที่การปฏิวัตินั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับลึก แบบพลิกฝ่ามือ
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยหลายปรากฎการณ์ที่เกิดจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอันสืบเนื่องมาจากสังคมนั้นๆมีระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจและระดับของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่ขาดระดับของการพัฒนาการเมืองที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 16 ตุลาคม พฤษภาทมิฬ จนกระทั่งการปฏิรูปการเมือง 2540 และการปฏิรูปการเมือง 2550 ที่กำลังดำเนินอยู่
สาระสำคัญของ 712 
    แนวคิดรวบยอด
    การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) ถือเป็นประเด็นที่สำคัญมากๆในปัจจุบัน เพราะแนวโน้มของการเมืองไทยและการเมืองในระดับโลกคือการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน จากเดิมที่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยในแบบตัวแทน (Representative Democracy) 
    สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้การเมืองเปลี่ยนจากประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนมาสู่ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ก็เนื่องจากที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าระบบตัวแทน ไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุด ซ้ำยังเป็นระบบที่ก่อให้เกิดปัญหามากมาย และปัญหาที่ว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลก
    ในประเทศไทยเราจึงพยายามเปลี่ยนแปลงการเมืองของเราจากประชาธิปไตยแบบตัวแทนมาเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม หรือเรียกอีกอย่างว่าเปลี่ยนการเมืองของนักการเมืองมาเป็นการเมืองของพลเมือง 
    รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่พยายามสร้างกลไกตรงนี้ให้เกิดขึ้น แต่ในที่สุดเราก็ล้มเหลว เนื่องจากบางส่วนของรัฐธรรมนูญและการนำรัฐธรรมนูญมาปรับใช้กลับไปส่งเสริมอำนาจรัฐและอำนาจทุนจนกลายเป็นวิกฤติการณ์ทางการเมืองและถือเป็นวิกฤติการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วย สุดท้ายก็นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในวันที่ 19 กันยายน 2549 
หลังจากการรัฐประหารปี 2549 เรากำลังปฏิรูปการเมืองโดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมืออีกครั้ง ด้วยการออกรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่วิกฤติการเมืองไทยยังไม่ยุติ ปี 2551 การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและฝ่ายตรงข้ามยังเป็นปอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแข็งขัน แต่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของทั้ง 2 ฝ่ายยังมีปัญหามากมาย เช่นเกิดคำถามว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอยู่ในขอบเขตของกฎหมายมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะการยึดสนามบินสุวรรณภูมิ ไม่แตกต่างจากฝ่ายตรงข้ามที่มีการเคลื่อนไหวในแบบรุนแรง เช่นฆ่าฝ่ายพันธมิตรเสียชีวิต หรือปาไข่ใส่นักการเมืองเช่นนายชวน หลีกภัย ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังถูกตั้งคำถามว่าเคลื่อนไหวอย่างมีอิสระหรือได้รับการว่าจ้าง 
    จุดร่วมสำคัญของวิชา 710 และ 712 คือ จะทำอย่างไรให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีสำนึกในความเป็นพลเมือง คำตอบโดยคร่าวๆก็คือคำตอบของวิชา 710 คือ การพัฒนาเศรษฐกิจให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และการให้ความรู้ทางการเมืองกับประชาชน แต่ที่ผ่านมากระบวนการทั้ง 2 นี้ยังไม่บรรลุเป้าหมาย (เพราะคนที่ความรู้ทางการเมืองน้อยและคนจนยังเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ) 
    ดังนั้นหากคำถามขอข้อสอบออกมาให้แบบเปิดโอกาสให้เรานำความรู้ทั้ง 2 วิชาไปตอบได้ก็น่าจะดึงจุดร่วมตรงนี้ไปช่วยในการอธิบาย




    รายละเอียดของวิชา 712 
รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง มี 3 รูปแบบ
1.รูปแบบที่เป็นทางการ (formal / conventional participation) เช่น การเลือกตั้ง การเข้าชื่อกันถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย การชุมนุมประท้วง ซึ่งมีกฎหมายรองรับในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสันติปราศจากอาวุธ
2.รูปแบบที่ไม่เป็นทางการ (informal / unconventional participation) เช่น การวิ่งเต้นทางพรรคการเมืองเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง การพูดคุยทางการเมืองในสนามกอล์ฟ  เป็นต้น
3.การมีส่วนร่วมนอกระบบหรือนอกรูปแบบ (exceptional form of participation) จะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายกับรูปแบบที่ 2 แต่การมีส่วนร่วมนอกระบบจะเน้น 2 ประเด็นคือ
3.1 การใช้ความรุนแรงทางการเมือง 
3.2 การปฏิวัติ  
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง (Civil Political Participation)
เป็นประเด็นที่สำคัญมากในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบันได้มีจุดสนใจอยู่ในเรื่องการเมืองของพลเมือง ซึ่งถือว่าเป็นการเมืองแบบใหม่ หรือ New Politics
ทั้งนี้การเติบโตของภาคประชาชน หรือเรียกอีกอย่างว่าภาคประชาสังคม (Civil Society Sector) ที่ลุกขึ้นมาทานอำนาจรัฐมากขึ้น จากเดิมในอดีตที่ภาคสังคมเป็นภาคที่ยอมสยบอยู่ใต้อำนาจรัฐ ทำให้การศึกษาการเมืองต้องเปลี่ยนมิติหรือเปลี่ยนมุมมองในการศึกษา
กล่าวคือในอดีตการศึกษาการเมืองจะให้ความสำคัญไปที่เรื่องของรัฐ เช่น
-การศึกษาว่ารัฐที่ดีหรือผู้ปกครองที่ดีควรจะเป็นอย่างไร
 -ศึกษาสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการ เช่นพรรคการเมือง รัฐสภา ระบบราชการ 
-ศึกษากลไกทางการเมืองที่เป็นทางการ เช่นการเลือกตั้ง การอภิปรายไม่ไว้วางใจ 
ในอดีตภาครัฐ (State Sector) จึงมีขนาดใหญ่มีบทบาทในการควบคุมและจัดการกับภาคสังคมได้อย่างกว้างขวาง 
แต่เมื่อภาคสังคมมีการเติบโต ทำให้บทบาทหลายอย่างที่รัฐเคยทำถูกผ่องถ่ายมายังภาคประชาสังคม ทำให้การเมืองในยุคใหม่จึงหันมาเน้นการเมืองของประชาชนหรือการเมืองภาคพลเมือง 
การศึกษาการเมืองภาคพลเมืองจึงให้ความสนใจกับ
-บทบาททางการเมืองของภาคประชาชน ที่เป็นบทบาทอย่างไม่เป็นทางการ เช่น การประท้วงโครงการของรัฐ การดื้อแพ่งต่อการใช้อำนาจรัฐ ที่เรียกว่า Civil Disobedience (ตั้งแต่มีการประท้วงการเลือกตั้งด้วยการฉีกบัตรคำนี้ก็เป็นที่รู้จักในสังคมไทยว่าอารยะขัดขืน)
-การเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) ซึ่งมีความหลากหลายมากขึ้น เช่นกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มเรียกร้องและคุ้มครองสิทธิต่างๆของประชาชน เช่นกลุ่มอัญจารี เป็นกลุ่มหญิงรักหญิงที่ตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองสิทธิของกลุ่มหญิงรักหญิง และทำกิจกรรมของกลุ่ม รวมทั้งกลุ่ม สมาคม หรือชมรมที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลคนชายขอบของสังคม 
การที่ภาคสังคมเติบโตขึ้น มีบทบาทมากขึ้นเนื่องมาจาก ภาครัฐไม่ได้ทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของภาคสังคมอย่างเพียงพอ
โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Democracy) ที่ภาครัฐมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ปรากฏว่าตัวแทนประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำหน้าที่ตัวแทนที่ดี อีกทั้งในสมัยปัจจุบันประเด็นปัญหา ความต้องการของสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้นจนตัวแทนไม่สามารถทำหน้าที่ดูแลได้ทั้งหมด 
เฉพาะประเทศไทยพบว่าระบบตัวแทนของเรามีปัญหามากมาย ตั้งแต่การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองก็มีปัญหาการซื้อขายเสียง การใช้อิทธิพล ใช้เงินซื้อตำแหน่งทางการเมือง พอเข้าไปเป็นตัวแทนก็มีการโกงกินคอรัปชั่น 
ปัญหาดังกล่าวทำให้ภาคสังคมมองว่าการจะรอให้ภาครัฐเปลี่ยนแปลง หรือรอให้นักการเมืองที่เป็นตัวแทนของประชาชนเป็นนักการเมืองที่ดี หรือเป็นตัวแทนที่ดีไม่น่าจะเพียงพอต่อการทำให้คนในสังคมมีชีวิตที่ดีขึ้น ภาคสังคมจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร ในการจัดการ แม้กระทั่งในการปกครองตนเอง หรือเรียกรวมว่าต้องเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
ลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดประชาธิปไตยแบบใหม่ที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ซึ่งเป็นประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้คนทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง การเมืองแบบนี้จึงไม่ใช่การเมืองของนักการเมืองอย่างที่เคยเป็น แต่เป็นการเมือของประชาชนที่มีจิตสำนักทางการเมืองที่เรียกว่าพลเมือง ทำให้การเมืองยุคใหม่จึงเป็นการเมืองของพลเมือง
แนวคิดที่นำไปใช้ในการวิเคราะห์การเมืองภาคพลเมือง
1.แนวคิดประชาสังคม (Civil Society)
2.แนวคิดเรื่องขบวนการทางสังคม (Social movement)
แนวคิดประชาสังคม 
แนวคิดเรื่องประชาสังคมเป็นแนวคิดที่มาแรงมาในปัจจุบัน ประชาสังคม หมายถึง เครือข่ายของกลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ สถาบันและชุมชนที่มีกิจกรรม มีการเคลื่อนไหวระหว่างรัฐกับปัจเจกชน 
หลักการของประชาสังคม 
1.เป็นแนวคิดที่ไม่ชอบและไม่ยอมให้รัฐครอบงำและบงการ แม้ว่าจะยอมรับความช่วยเหลือจากรัฐและให้ความร่วมมือกับรัฐได้ แต่ต้องสามารถกำกับ ควบคุมและคัดค้านรัฐได้ตามสมควร และปฏิเสธแนวคิดรัฐนิยม
    2.เป็นแนวคิดที่ไม่ชอบลัทธิปัจเจกชนนิยมสุดขั้ว เพราะมองว่าปัจเจกชนนิยมช่วยส่งเสริมความเห็นแก่ตัวและแย่งชิงผลประโยชน์
    แนวคิดประชาสังคมนั้นจะเน้นบทบาทของประชาชนควบคู่ไปกับรัฐ คือไม่ได้ต่อต้านการมีรัฐ แต่มองว่ารัฐจะต้องมีบทบาทที่จำกัด และประชาชนซึ่งรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมต่างๆจะมีบทบาทมากขึ้นในด้านต่างๆ รวมทั้งมีบทบาทในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ
    แนวคิดนี้เกิดขึ้นเพราะ ต้องการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) เนื่องจากประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Democracy) นั้น ส.ส.ไม่เคยเป็นตัวแทนของประชาชน แต่ ส.ส.กลับเป็นตัวแทนของรัฐ เข้าไปใช้อำนาจรัฐ เช่น ส.ส.ไม่เคยตรวจสอบโครงการใหญ่ๆ แต่ ส.ส.กลับใช้ความเป็นตัวแทนในการกินงบประมาณจากโครงการใหญ่ๆ แม้แต่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต.ที่เป็นตัวแทนระดับล่างสุด ก็ทำหน้าที่เป็นตัวแทนรัฐมากกว่าจะเป็นตัวแทนของชุมชน
     แนวคิดขบวนการทางสังคม
    ขบวนการทางสังคม หมายถึงขบวนการในการเคลื่อนไหวของประชาชน เนื่องจากปัจจุบัน การเมืองนั้นได้เคลื่อนตัวจากภาครัฐลงมาอยู่ที่ภาคประชาชน ซึ่งมีการรวมตัวกันเป็นขวนการต่างๆ เช่นขบวนการนักศึกษา ขวนการผู้ใช้แรงงาน ขบวนการชาวนา เพื่อเคลื่อนไหวในทางการเมือง ตรงนี้ถือว่าเป็นการเกิดการเมืองในรูปแบบใหม่ (New Politics) ซึ่งในการเมืองในรูปแบบใหม่นั้นจะเกิดองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ (Non Governmental Organization-NGOs) ขึ้นมามากมาย และขบวนการทางสังคมเหล่านี้จะมีบทบาทมาก
    การมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง จึงมีความสำคัญมากในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน เพราะการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เป็นทางการนั้นจะทำได้ยากในทางปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมที่เป็นทางการหลายๆอย่างไม่มีความเป็นธรรม เช่นการเลือกตั้งก็มีการซื้อขายเสียง การจะให้ประชาชนเป็นสมาชิกพรรคการเมืองก็ทำได้ยากหากไม่มีเงิน การรวบรวมรายชื่อถอดถอนนักการเมืองก็ยุ่งยากและมีขั้นตอน
    ดังนั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองนอกระบบจึงเป็นทางออกเพียงทางเดียวที่จะให้ประชาชนมีโอกาสมีส่วนร่วม และร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐและระบบตัวแทน แต่การจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ต้องสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมือง (Civic Virtue) ให้เกิดขึ้นในจิตใจของคนไทยทุกคน
    ปัญหาของการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคพลเมืองในประเทศกำลังพัฒนา
    -การขาดองค์กรในการนำที่ชัดเจนและไร้เสถียรภาพ
-ประชาชนขาดประสบการณ์ในการเจรจาต่อรอง
-ถูกจำกัดด้วยกฎหมายหรือค่านิยมเก่าๆ 
-ขาดความต่อเนื่องในการทำกิจกรรม 
-ความขัดแย้งระหว่างผู้นำในองค์กร 
-ขาดการสร้างเครือข่าย
ขณะที่ เมลเคอร์ ออลสัน มองว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือการรวมกลุ่มทางการเมืองเป็นเรื่องยาก เนื่องจากในการเข้ามาร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องมีต้นทุน เช่นถ้าคนจะมาร่วมเดินประท้วงรัฐบาล อาจจะต้องเสียเวลา เสียเงินทอง หรือสูญเสียโอกาสอื่นๆ อาจจะถูกรัฐบาลเพ่งเล็ง หรือแม้กระทั่งถูกปราบปราม
ดังนั้นจึงไม่มีใครอยากจะลงทุน ยกเว้นประเมินแล้วว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เช่นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองก็มีต้นทุน เช่นต้องทิ้งงานออกมานอนบนถนน ต้องรับแรงกดดันจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เช่นต้องถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าทำลายเศรษฐกิจของประเทศ 
แนวทางที่นักศึกษาต้องเสนอแนะในวิชาการมีส่วนร่วมทางการเมืองก็คือทำอย่างไร จึงจะให้คนไทยมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยมีจิตสำนึกอย่างแท้จริง 

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :