สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714775
แสดงหน้า2190440
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




สรุป Plan B ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สอบประมวล ม.รามคำแหง

สรุป Plan B ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สอบประมวล ม.รามคำแหง
อ้างอิง อ่าน 1769 ครั้ง / ตอบ 2 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
               สรุป Plan B ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

วิชาในกลุ่มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมี 3 วิชาคือ
-703 สถานการณ์การเมืองโลกในปัจจุบัน
-PS 709 นโยบายต่างประเทศไทย
-PS 714 การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อสอบวิชา Plan B ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบที่ออกแบบกว้างให้นักศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่มีบางปีที่ให้วิเคราะห์เหตุการณ์เฉพาะ
ประเด็นหลักที่ต้องเตรียมคือ
1.ความคิดรวบยอดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2.ทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายปรากฎการณ์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.ทฤษฎีการตัดสินใจกำหนดนโยบายต่างประเทศ
4.เหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับโลก และระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (714)
1.ประเด็นที่หนึ่ง  ความคิดรวบยอด
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความคิดรวบยอดที่บอกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมี เพียง 2 รูปแบบคือ
1.ความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Cooperation) ซึ่งแบ่งเป็น
-ความร่วมมือทางด้านการเมือง
-ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ 
    2.ความขัดแย้งระหว่างประเทศ  (International Conflict ) แบ่งเป็น
-ความขัดแย้งทางการเมือง 
-ความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ
2.ประเด็นที่สอง ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อเหตุการณ์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมี 2 ด้านทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะมี  2 กลุ่มเช่นกัน คือ
2.1 ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความร่วมมือ แบ่งเป็น
-ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ
-ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความร่วมมือทางการเมือง
2.2 ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความขัดแย้ง แบ่งเป็น
-ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ
-ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความขัดแย้งทางด้านการเมือง
ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ
1.ทฤษฎีพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างประเทศ (Interdependence Theory) นักวิชาการยังไม่ยอมรับว่าเป็นทฤษฎี เป็นแต่เพียงแนวคิด เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และนำมาใช้วิเคราะห์ในเรื่องเศรษฐกิจการค้าเป็นหลักที่มองว่าการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทำให้เกิดการค้าขยายตัวมากขึ้น
    วิชาการที่โดดเด่นคือโรเบิร์ต โอ. เคียวเฮน และโจเซฟ เอช. ไน ซึ่งป็นบิดาของทฤษฎีพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันยุคใหม่ แต่ก่อนหน้านั้นก็ยังมีนักวิชาการอื่นก่อนหน้าแล้วบ้าง
    เคียวเฮนและไน อธิบายว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในระหว่างประเทศ เช่นการพึ่งพาสินค้า พึ่งพาการลงทุน พึ่งพาเทคโนโลยี พึ่งพาทรัพยากรต่างๆ และความสัมพันธ์ในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ระหว่างประเทศขึ้น 
ประเภทของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แบ่งออกเป็น
1.การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแบบเท่าเทียมกัน (Symmetrical Interdependent) เช่นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างสหรัฐและอียู ที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีอำนาจพอๆกัน สามารถเจรจาต่อรองกันได้ เมื่อมีการใช้อำนาจจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอีกฝ่ายสามารถตอบโต้ได้ หรือกรณีจีนกับสหรัฐก็เป็นการพึ่งพาที่เท่าเทียมกัน 
เช่นกรณีอียูบอยคอตสินค้าจากสหรัฐ สหรัฐก็จะมีมาตรการโต้ตอบในทันที หรือจีนที่ถูกสหรัฐข่มขู่ว่าถ้าจีนไม่แก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนหรือไม่แก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิสินค้าจากสหรัฐ สหรัฐจะแซงชั่น แต่จีนก็กล้าที่จะประกาศตอบโต้ทันที่ว่าถ้าสหรัฐแซงชั่นจีนจีนก็จะแซงชั่นตอบ 
2.การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแบบไม่เท่าเทียมกัน(Asymmetry Interdependent)เช่นกรณีระหว่างไทยกับสหรัฐเป็นการพึ่งพาอาศัยแบบไม่เท่าเทียมกันก่อให้เกิดอำนาจที่แตกต่างกัน กล่าวคือไทยเราเป็นฝ่ายพึ่งพาสหรัฐมากกว่าสหรัฐอเมริกาพึ่งพาไทยถ้าไทยไม่ให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาเราก็อาจจะได้รับผลกระทบมากมายเมื่อไทยพึ่งพาสหรัฐมากกว่าทำให้สหรัฐอเมริกามีอำนาจเหนือกว่าประเทศไทยและสามารถชี้นำหรือบังคับให้เราทำตามความต้องการได้ 
    ทฤษฎีนี้สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจ และพยายามวิเคราะห์แบบ 2 ฝ่าย หรือจับคู่กันวิเคราะห์
2.ทฤษฎีบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (International Integration Theory)
    เป็นทฤษฎีที่สนับสนุนให้ประเทศต่างๆมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันเป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น ดังจะเห็นจากทั่วโลกได้เกิดการรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆมากมาย 
    ทฤษฎีบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีนักวิชาการนำเสนอหลายคนแต่ที่มีชื่อเสียงคือทฤษฎีการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของ Bela Balassa (เบลา บาลาสซา) เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายการบูรณาการของยุโรป ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก 
บาลาสซ่าเสนอว่าขั้นตอนของการบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 
1.ความร่วมมือจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area / Agreement: FTA) หมายถึง การร่วมมือกันของประเทศสมาชิกในภูมิภาคเพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้า ยกเลิกภาษีทางการค้าระหว่างกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้าโดยเสรีระหว่างประเทศสมาชิก โดยประเทศสมาชิกยังจัดเก็บภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มได้ตามนโยบายของตนเอง 
เวลานี้การรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียนยังอยู่ในขั้นตอนนี้คือการจัดเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) 
2.สหภาพศุลกากร (Custom Union) หมายถึง ประเทศสมาชิกนอกจากจะยกเลิกภาษีทางการค้าลดอุปสรรคระหว่างกันแล้วยังใช้ระบบภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน หรือมี Common Custom Policy 
3.  ตลาดร่วม (Common Market) หมายถึง การขยายความร่วมมือด้านการค้าถึงขนาดที่เปิดโอกาสให้ทุน แรงงาน การประกอบการเคลื่อนไหวอย่างเสรีภายในกลุ่ม เช่นแรงงานในเยอรมันไปทำงานในฝรั่งเศส ในอังกฤษ และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ ได้อย่างเสรี 
4.  สหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Union) เป็นการรวมตัวกันตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 + 2 + 3 รวมกับการกำหนดนโยบายสังคม เศรษฐกิจ การเงิน การคลังร่วมกัน 
5.  สหภาพการเมือง (Political Union) ถือเป็นจุดสุดท้ายของการบูรณาการทางเศรษฐกิจ หมายถึง การใช้นโยบายการเมืองและความมั่นคงอันเดียวกัน เช่นเดียวกับ United States of America ขั้นตอนนี้ยังคงเป็นไปได้ยากเพราะรัฐต่าง ๆ ยังอยากสงวนอำนาจอธิปไตยในการกำหนดนโยบายการเมืองและความมั่นคงของตนเองอยู่
(ทฤษฎีนี้เหมาะสำหรับไปใช้อธิบายความร่วมมือในทางเศรษฐกิจแบบกลุ่มประเทศ เช่นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของอาเซี่ยน อียู หรือกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆของโลก)
ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความร่วมมือทางการเมือง
1.ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ (Balance of Bower) เป็นทฤษฎีที่บอกว่าโลกจะไม่เกิดปัญหาความรุนแรง ไม่มีสงคราม หากมีความได้ดุลในอำนาจของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างต้องกลัวอำนาจของอีกฝ่าย
เช่นรัสเซียก็พยายามสร้างดุลกับสหรัฐอเมริกา หรือในยุคของสงครามเย็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็พยายามรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างดุลอำนาจกับฝ่ายโลกเสรี 
ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
1.ทฤษฎีพึ่งพิง (Dependency Theory) จะมองว่าในโลกนี้จะแบ่งรัฐออก รัฐแกนกลาง (Core) ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้วกับรัฐปริมณฑล (Periphery) ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่รัฐแกนกลางได้เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ด้านต่างๆ จากประเทศปริมณฑล ส่งผลให้ประเทศปริมณฑลต้องด้อยพัฒนา ไม่มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง
2.ทฤษฎีระบบโลก (World System Theory)  บิดาของทฤษฎีนี้คือเอ็มมานูเอล วอลเลอร์ไสตน์ 
ทฤษฎีระบบโลกก็จะเน้นการอธิบายความขัดแย้ง (ทำให้กลายเป็นจุดอ่อนเพราะไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ความร่วมมือที่เกิดขึ้นได้ เช่นทำมี WTO ทำไม่มีการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาค)
 สาระสำคัญของทฤษฎีระบบโลกมองว่าประเทศต่าง ๆ ในโลกแบ่งเป็นสามกลุ่มคือ
-ประเทศศูนย์กลาง (Core) ได้แก่ประเทศที่พัฒนาแล้ว สหรัฐฯ และยุโรปตะวันตก แคนาดา
-ประเทศกึ่งปริมณฑล (Semi-periphery)  ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICs) คือเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน บราซิล เม็กซิโก อาเจนตินาร์ 
-ประเทศปริมณฑล (Periphery) ได้แก่ ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายทั้งในเชียและอัฟริกา
ทฤษฎีระบบโลกกล่าวว่า ประเทศศูนย์กลางจะกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศรอบนอกและกึ่งรอบนอก รวมทั้งยังกีดกันทางการค้าจากประเทศรอบนอกและกึ่งรอบนอกโดยมาตรการต่างๆ 
ส่วนประเทศกึ่งรอบนอกจะทำหน้าที่สองอย่างคือถูกกอบโกยจากประเทศศูนย์กลาง และในเวลาเดียวกันก็เข้าไปกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศรอบนอกด้วย รวมทั้งกีดกันทางการค้าไม่ให้สินค้าจากประเทศรอบนอกเข้าไปในตลาด ทำให้ประเทศรอบนอกเป็นผู้ที่เดือดร้อนมากที่สุด ยิ่งทำให้ประเทศรอบนอกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาไม่มีโอกาสพัฒนาขึ้นมาได้เลย สุดท้ายก็จะนำมาซึ่งความขัดแย้ง
3.ทฤษฎีจักรวรรดินิยม (Imperialism) 
เจ.เอ. ฮอบสัน กล่าวว่าภาวะจักรวรรดิที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นเพราะระบบเศรษฐกิจในระบบอุตสาหกรรมทุนนิยมที่มีผลิตมากเกินไป (Overproduction) แต่มีการบริโภคน้อย (Under-consumption) เพราะคนทำให้นายทุนให้ขยายตัวออกไปต่างประเทศ ทั้งต้องการหาตลาด และหาวัตถุดิบมาป้อนอุตสาหกรรมในประเทศตะวันตก แต่การเข้าไปนั้นกลับไปเอารัดเอาเปรียบ ไปครอบงำทำให้และที่สำคัญมีการใช้กำลังในการคอรบงำ และเอาเกิดลัทธิจักรวรรดินิยมขึ้น ต่อมามีการแข่งขันกันล่าอาณานิคมระหว่างประเทศตะวันตกด้วยกัน มีการทำสงครามเพื่อเข้าครอบงำดินแดนแห่งใหม่ทั้งหลาย เพื่อไปสร้างจักรวรรดิหรืออาณาจักรของตนเอง ทำให้ลัทธิจักรวรรดิมีความเข้มข้นมากขึ้น
ลัทธิจักรวรรดินิยมที่ส่งเสริมให้นายทุนเข้าไปครอบงำดินแดนแห่งใหม่ และเอารัดเอาเป็นต้นแบบของบรรษัทข้ามชาติในยุคต่อมา เพราะในช่วงแรกมีการครอบงำในลักษณะการเป็นเมืองขึ้น ต่อมาเมื่อสถานการณ์ระหว่างประเทศเปลี่ยนไปอาณานิคมต่างเรียกร้องเอกราช จักรวรรดินิยมก็ปรับตัวไปครอบงำทางด้านการค้า และขยายมาสู่วัฒนธรรม ครอบงำทางความคิด ต่อประเทศด้อยพัฒนา
ขณะที่ เลนิน มองว่าจักรวรรดินิยมนั้นเป็นความผิดพลาด 100% ของทุนนิยม เพราะจักรวรรดินิยมคือขั้นตอนที่สูงสุดของระบบทุนนิยมเป็นการเอาเปรียบกันมากที่สุด 
และพฤติกรรมของจักรวรรดินิยมนั้นมีการเปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่างไปเรื่อยๆ จากที่เป็นจักรวรรดินิยมโดยรัฐ ก็อาจจะมีตัวแสดงอื่นๆเข้ามาเป็นตัวสร้างจักรวรรดินิยมให้เกิดขึ้น เช่นปัจจุบันอาจจะเป็นจักรวรรดิโดยบรรษัทข้ามชาติ
4.แนวคิดพาณิชยนิยม (Mercantilism) เป็นทฤษฎีที่บอกว่ารัฐแต่ละรัฐจะสร้างความมั่งคั่งของตนเองด้วยการพยายามส่งออกให้มากที่สุดแต่นำเข้าให้น้อยที่สุด เป็นแนวคิดการปกป้องทางการค้า (Protectionism) ในปัจจุบันแนวคิดนี้ถูกเรียกว่าการปกป้องแบบใหม่ (New Protectionism) เนื่องจากเครื่องมือที่ประเทศต่างนำมาใช้ในการปกป้องทางการค้าจะมีการพัฒนารูปแบบไปจากเดิมที่ใช้มาตรการทางภาษี (Tariff Barrier) ด้วยการตั้งภาษีนำเข้าแพงๆ มาเป็นมาตรการแบบใหม่ เช่น
-มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม         
-มาตรการด้านแรงงาน 
-มาตรการด้านสิทธิมนุษยชน 
-มาตรการด้านคุณภาพสินค้า
-มาตรการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
เราจะพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะอ้างเหตุผลเหล่านี้เพื่อกีดกันการนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา เช่นยกเลิกการนำเข้าอาหารทะเลจากไทยเพราะกระบวนการผลิตสินค้าไม่ได้มาตรฐานที่เขากำหนด (มาตรการที่อียูหรือสหรัฐกำหนดเป็นการกำหนดฝ่ายเดียว บางครั้งเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องจุกจิกที่จะทำได้ และหากต้องทำเอกชนไทยต้องลงทุนมากมาย เช่นต้องซื้อความรู้ จ้างฝรั่งให้มาอบรมถึงกระบวนการควบคุมคุณภาพ ล้วนแต่กลายเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้ทั้งสิ้น)
ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมือง
1.แนวคิดการครองความเป็นเจ้า (Hegemony) เช่นสหรัฐที่พยายามครองความเป็นเจ้าจึงต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทุกประเทศในโลก โดยใช้เครื่องมือทุกอย่างเพื่อให้ตนเองครองความเป็นเจ้าโลก 
2.แนวคิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย เป็นแนวคิดที่บอกว่าหากประเทศเล็กๆจะเอาชนะประเทศมหาอำนาจซึ่งมีความพร้อมในทุกด้านทั้งเศรษฐกิจ กำลังทหาร จะต้องใช้วิธีการก่อการร้าย เนื่องจากเป็นวิธีการที่ทำให้ประเทศมหาอำนาจเกิดความประหวั่นพรั่นพรึง

3.ประเด็นที่สาม ตัวแบบในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ (เนื้อหา 709)
ในการวิเคราะห์การกำหนดนโยบายต่างประเทศ จะใช้ตัวแบบในการตัดสินใจนโยบายต่างๆประเทศ (Decision Making Model) ซึ่งเป็นตัวแบบที่เน้นวิเคราะห์ว่ามีปัจจัยว่าอะไรที่มีผลต่อนโยบายต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวแบ่งออกเป็น
 1.ปัจจัยภายใน (Internal Factor) เช่น
-สภาพการเมืองภายใน 
    -สภาวะผู้นำและทัศนคติ
    -ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ
    -อุดมการณ์ทางการเมือง
    -ขนาด ที่ตั้ง และสภาพภูมิศาสตร์
    -กำลังอาวุธและทหาร
-ทรัพยากรธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์ ธัญญาหาร
-.พลังของประชากรในประเทศ 
-กลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง เช่นกลุ่มทหาร ข้าราชการ กลุ่มพ่อค้านักธุรกิจ 
-มติมหาชนและสื่อมวลชน
2.ปัจจัยภายนอก (External Factor) เช่น
-อิทธิพลของมหาอำนาจ และท่าที่ของมหาอำนาจในกรณีต่างๆ
-เหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศต่างๆ
-สถานการณ์การเมืองในระดับโลก
หากข้อสอบเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าประเทศไทยควรจะมีบทบาทหรือนโยบายในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเรื่องต่างๆอย่างไร นักศึกษาก็ควรจะอธิบายโดยดึงปัจจัยเหล่านี้มาวิเคราะห์
4.ประเด็นที่สี่ เหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 
4.1 เหตุการณ์ระดับโลก 
-เหตุการณ์ที่เป็นความร่วมมือ ในปี 2008-2009 สิ่งที่ทำให้โลกทั้งโลกร่วมมือกันได้น่าจะเป็นประเด็นวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งเวลานี้ผู้นำของประเทศต่างๆพยายามประชุมหารือกันเพื่อร่วมมือกันในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้  
-เหตุการณ์ที่เป็นความขัดแย้ง เช่นสงครามอีรัก ความขัดแย้งด้านพลังงาน การก่อการร้ายข้ามชาติ การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
4.2 เหตุการณ์ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (เนื้อหาจาก 714)
-เหตุการณ์ที่เป็นความร่วมมือ เช่นความร่วมมือในอาเซียน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน) เช่นความร่วมมือในการจัดตั้งกองทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศในอาเซียน ความร่วมมือในการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ 
-เหตุการณ์ที่เป็นความขัดแย้ง ในอาเซียน เช่นความขัดแย้งตามแนวชายแดนของแต่ละประเทศ (เช่นกรณีเขาพระวิหาร) ความขัดแย้งเรื่องชนกลุ่มน้อย (ล่าสุดเป็นเรื่องของชนกลุ่มน้อยโรฮิงยา ที่เป็นคนมุสลิมในพม่าที่อพยพเข้าประเทศไทยและถูกทางการไทยผลักดันให้ออกนอกประเทศจนกลายเป็นประเด็นระหว่างประเทศ)
ประเด็นอื่นๆที่ต้องสนใจ
1.การเปลี่ยนแปลงของโลกหลังยุคสงครามเย็น 
    2.พัฒนาการของความร่วมมือในอาเซียน 
    3.นโยบายต่างประเทศของไทยต่อเพื่อนบ้าน และต่อประเทศมหาอำนาจที่สำคัญ

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
1
อ้างอิง

nhl 15 coins cheap fast
Many thanks extremely handy. Will certainly share website with my pals.|
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
nhl 15 coins cheap fast nhansq@gmail.com [93.118.75.xxx] เมื่อ 4/07/2015 01:52
2
อ้างอิง

rxmovcuyy
Great internet site! It looks extremely good! Maintain the excellent work!| rxmovcuyy http://sydka.com/articles/4118/nhl-coins-comeback-attract-the-san-jose-sharks
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
rxmovcuyy cusqqs@gmail.com [93.118.75.xxx] เมื่อ 15/07/2015 13:29
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :