สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714959
แสดงหน้า2191622
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




แนวข้อสอบเตรียมสอบกรมสรรพากร (ชุดแบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า 2014)

แนวข้อสอบเตรียมสอบกรมสรรพากร (ชุดแบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า 2014)
อ้างอิง อ่าน 265 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
แนวข้อสอบเตรียมสอบกรมสรรพากร
 (ชุดแบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า 2014)
โดยประพันธ์ เวารัมย์
หลักการอ่านหนังสือ อ่านพ.ร.บ./ระเบียบแล้วต้องฝึกทำแนวข้อสอบด้วย เพราะถ้าไม่ฝึกทำ ตอนสอบจริงอาจทำไม่ทันเวลา
(จะอ่านพ.ร.บ./ระเบียบก่อนหรือทำแนวข้อสอบก่อนก็แล้วแต่ความถนัด (ก่อน-หลัง) 
หากวันนี้เรา 6 ล้ม จงลุก 9 เดินต่อไป จุดหมายไม่ไกลเกินจริง

**************************************
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสรรพากร
     ความหมายของภาษีอากร
นักเศรษฐศาสตร์และนักภาษีอากรได้ให้คำจำกัดความของคำว่าภาษีอากรไว้ว่า
ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากราษฎรโดยไม่ได้มีสิ่งตอบแทนแก่ผู้เสียภาษีโดยตรง หรืออาจจะหมายถึงรายได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล ซึ่งอาจเป็นการเรียกเก็บจากบุคคล หรือธุรกิจ เพื่อเป็นการสนับสนุนรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น อันจะส่งผลกลับมาเป็นความสุขสบายแก่ประชาชนในชนชาติ
ภาษีอากรโดยทั่วไปนั้นมีลักษณะบังคับเก็บ ไม่มีผลตอบแทนโดยตรงต่อผู้เสียภาษี ไม่เกิดภาระชำระคืนของรัฐบาล และถือเป็นการเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล โดยไม่จำเป็นต้องเรียกเก็บเงิน เสมอไป
ภาษีอากรของประเทศไทย มีมากกมายหลายประเภท หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารภาษีอากรได้แก่ กระทรวงการคลัง
     วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษี
    เพื่อเป็นรายได้ของรัฐ
    เพื่อการควบคุม
    เพื่อการจัดสรรและกระจายรายได้
    เพื่อการชำระหนี้สินของรัฐ
    เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
    เพื่อเป็นเครื่องมือในทางการคลัง
    เพื่อสนองโยบายบางประการของประเทศ
     จำแนกประเภทของภาษี
การแบ่งประเภทของภาษีอากรที่นิยมกันโดยทั่วไป มักจะแบ่งตามหลักการผลักภาระภาษีได้ 2 ประเภท
1.    ภาษีทางตรง (Direct Tax)
หมายถึง ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้รับภาระเสียภาษีนั้นเองโดตรง ไม่สารถผลักภาระการเสียภาษีไปให้ผู้อื่นเสียแทนได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นต้น
2.    ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax)
หมายถึง ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ใดแล้วนั้นสามารถที่จะผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องรับภาระนั้นไว้เอง เช่น ภาษีจาการขายสินค้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพาสามิต ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น
     ลักษณะภาษีอากรที่ดี
ลักษณะภาษีอากรที่ดี ควรให้ประชาชนสมัครใจ และเต็มใจที่จะเสียภาษีอากรและให้กฎหมาดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีอากรที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.    มีความเป็นธรรม
2.    มีความแน่นอนและชัดเจน
3.    มีความสะดวก
4.    มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดการประหยัด
5.    มีความเป็นกลางเศรษฐกิจ
6.    มีความยึดหยุ่น
7.    ใช้เป็นนโยบายทางเศรษฐกิจได้
8.    มีการยอมรับได้ในทางสังคม
**********************************
1. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
ก.    วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษี คือ เพื่อการจัดสรรและกระจายรายได้ เป็นเครื่องมือทางในทางการคลัง สนองนโยบายบางประการของประเทศ
ข.    ภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ค.    ภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร สรรพาสามิต
ง.    ข้อ ข. และข้อ ค.
จ.    ถูกทุกข้อ
**********************************
2. กรมเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี 3 กรมหลัก ประกอบด้วย
ก.    กรมสรรพากร กรมที่ดิน กรมศุลกากร
ข.    กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมขนส่งทางบก
ค.    กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพาสามิต
ง.    กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมธนารักษ์
จ.    กรมการปกครอง กรมสรรพากร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
**********************************
3. วิสัยทัศน์ของกรมสรรพากร ตามข้อใด
ก.    ระบบงานมาตรฐานสากล รวดเร็ว และเก็บภาษีทั่วถึงเป็นธรรม
ข.    ระบบงานมาตรฐานสากล เก็บภาษีทั่วถึง และเป็นธรรม
ค.    ระบบงานมาตรฐาน เพื่อบริการประชาชน และเก็บภาษีทั่วถึง เป็นธรรม
ง.    ผู้นำด้านบริหาร จัดเก็บภาษี บริการที่ดี ด้วยนวัตกรรม และหลักธรรมภิบาล
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
4. ข้อใด มิใช่ วิสัยทัศน์ของกรมสรรพากร
ก.    ผู้นำด้านบริหาร 
ข.    จัดเก็บภาษี
ค.    บริการที่ดี ด้วยนวัตกรรม 
ง.    หลักธรรมภิบาล
จ.    หน่วยงานหลักด้านภาษี
**********************************
5. เว็บไซต์ของกรมสรรพากร คือ ข้อใด
ก.    www.revenue.go.th
ข.    www.dr.go.th
ค.    www.Tax.go.th
ง.    www.excise.go.th
จ.    www.rd.go.th
**********************************
6. ปัจจุบันกรมสรรพกร ให้บริการช่องทางการยื่นแบบแสดงรายการและรับชำระภาษี ดังนี้ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.    ยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ข.    ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือผ่านไปรษณีย์
ค.    ยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือผ่านธนาคาร
ง.    ข้อ ก. และข้อ ค. 
จ.    ถูกทุกข้อ
**********************************
7. ข้อใด ไม่ใช่ความหมายของภาษีอากร
ก.    ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้รับภาระเสียภาษีนั้นเองโดยตรง
ข.    สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร โดยมีสิ่งตอบแทนแลกเปลี่ยนให้แก่ผู้เสียภาษี
ค.    รัฐบาลนำภาษีอากรไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ง.    เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล
จ.    การกู้ยืมเงิน การขายสินค้า และการให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล มิใช่ภาษีอากร
**********************************
8. คำว่า “ผู้อยู่ในประเทศไทย” ตามประมวลรัษฎากรหมายถึง
ก.    ผู้อยู่ในประเทศไทยช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือระยะเวลา รวมเวลาทั้งหมดถึง 360 วันในปีภาษี
ข.    ผู้อยู่ในประเทศไทยช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมเวลาทั้งหมดถึง 240 วันในปีภาษี
ค.    ผู้อยู่ในประเทศไทยช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมเวลาทั้งหมดถึง 180 วันในปีภาษี
ง.    ผู้อยู่ในประเทศไทยช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 เดือนในปีภาษี
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
9. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเทอร์เน็ต ขั้นตอนใดถูกต้อง
ก.    http://www.rd.go.th/ความรู้เรื่องภาษี /ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร/เลือกประเภทผู้เสีย
ข.    http://www.rd.go.th/บริการอเล็กทรอนิกส์ /ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร/เลือกประเภทผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค.    http://www.rd.go.th/อ้างอิง /ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร/เลือกประเภทผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ง.    http://www.rd.go.th/บริการข้อมูล/ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร/เลือกประเภทผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
10. การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลทางอินเทอร์เน็ตที่ยื่นได้ทุกวัน สามารถยื่นได้ในเวลาใด
ก.    06.00 น. – 16.30 น.
ข.    08.00 น. – 24.00 น.
ค.    08.30 น. – 16.30 น.
ง.    06.00 น. – 22.00 น.
จ.    ตลอด 24 ชั่วโมง
**********************************
11. ถ้าต้องการค้นหาแนวคำวินิจฉัยเกี่ยวกับภาษีอากร ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร สามารถเข้าค้นหาได้ตามขั้นตอนใด
ก.    http://www.rd.go.th/บริการข้อมูล/ประมวลรัษฎากร/คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ข.    http://www.rd.go.th/บริการอิเล็กทรอนิกส์/ประมวลรัษฎากร/คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ค.    http://www.rd.go.th/ความรู้เรื่องภาษี/ประมวลรัษฎากร/คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ง.    http://www.rd.go.th/อ้างอิง/ประมวลรัษฎากร/คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
12. การยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทางอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นได้ในเวลาใด
ก.    จันทร์-ศุกร์ ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
ข.    ทุกวัน เฉพาะเวลาราชการ 08.30-16.30 น.
ค.    ทุกวัน เฉพาะเวลาราชการ 08.30-14.30 น.
ง.    จันทร์-ศุกร์ เฉพาะเวลาราชการ 08.30-14.30 น.
จ.    ทุกวัน ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
**********************************
13. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.    อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ (GPP)
ข.    ผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัด (GPD)
ค.    อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (BOI)
ง.    ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
14 ผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ? ในความหมายของกรมสรรพากรหมายถึง
ก.    2 หมื่นบาท
ข.    3 หมื่นบาท
ค.    5 หมื่นบาท
ง.    1 แสนบาท
จ.    1แสนห้าหมื่นบาท
**********************************
15. การทำงานของกรมสรรพากรเพื่อสร้างความเข้าใจทางบวก ต้องเริ่มจากเยาวชนระดับใด
ก.    ก่อนปฐม
ข.    มัธยมศึกษา
ค.    อุดมศึกษา
ง.    ปฐมศึกษา
จ.    อนุปริญญา
**********************************
16. กรณีเกิดภัยพิบัติเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ผู้เสียภาษีไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ภายในกำหนดกรมสรรพากร มีแนวทางดำเนินการอย่างไร เพื่อมิให้ผู้เสียภาษี ต้องถูกเรียกเก็บเงินเพิ่ม เบี้ยปรับ และค่าปรับทางอาญา
ก.    เก็บเงินเพิ่ม เบี้ยปรับ และค่าปรับทางอาญาเพียงกึ่งหนึ่ง ถ้ายื่นแบบล่าช้า
ข.    ออกประกาศกรมสรรพากรยกเว้นการยื่นแบบเฉพาะกรณีไป
ค.    ผ่อนผันให้เฉพาะกรณีมีการยื่นคำขอและมีเหตุผลสมควรเท่านั้น
ง.    ขยายกำหนดเวลาการนำส่งและการยื่นรายการภาษี โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับอาญา
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
17. Transfer Pricing คือ
ก.    การทำสัญญาซื้อขายหรือให้บริการของคู่สัญญา
ข.    การที่คู่สัญญาทำธุรกรรมระหว่างกัน โดยกำหนดราคาซื้อ –ขาย สินค้าหรือให้บริการที่แตกต่างไปจากราคาตลาด หรือ Arm’s Length Price
ค.    การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อ –ขายสินค้าหรือให้บริการ
ง.    การต่อรองราคาของการทำธุรกรรม
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
18. ปีภาษี หมายถึง
ก.    ปีงบประมาณ
ข.    ปีปฏิทิน
ค.    ปีที่มีภาษีต้องชำระ
ง.    ปีที่มีเฉพาะรายได้และรายจ่าย
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
19. กิจการที่เข้าข่ายเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ได้แก่
ก.    บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีมูลค่าขั้นสูงของสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดิน สำหรับการประกอบกิจกรรมด้านการผลิตหรือการให้บริการไม่เกิน 100 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
ข.    ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีมูลค่าขั้นสูงของสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดิน สำหรับการประกอบกิจกรรมด้านการผลิตหรือการให้บริการไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
ค.    บริษัทที่มีมูลค่าขั้นสูงของสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดิน สำหรับการประกอบกิจกรรมด้านการผลิตหรือให้บริการเกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
ง.    บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีมูลค่าขั้นสูงของสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดิน สำหรับการประกอบกิจกรรมด้านการผลิตหรือการให้บริการไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
20. “สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค” หมายความว่า
ก.    บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเพื่อประกอบกิจการให้บริการด้านการบริหารหรือด้านเทคนิค หรือการให้บริการสนับสนุนแก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขาของตน จะต้องตั้งอยู่ในในต่างประเทศ
ข.    บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศเพื่อประกอบกิจการให้บริการด้านการบริหารหรือด้านเทคนิค หรือการให้บริการสนับสนุนแก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขาของตน ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ
ค.    บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเพื่อประกอบกิจการให้บริการด้านการบริหารหรือด้านเทคนิค หรือการให้บริการสนับสนุนแก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขาของตน ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ
ง.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
21. หนังสือรับรองภาษาอังกฤษที่ออกให้โดยกรมสรรพากร
ก.    หนังสือรับรองการเสียภาษีปิโตรเลี่ยม (Petroliom Payment Certificate)
ข.    หนังสือรับรองการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (Vat Payment Certificate)
ค.    หนังสือรับรองการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat Payment Certificate)
ง.    หนังสือรับรองการเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Non- Resident Withholding Tax Certificate)
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
22. เช็คที่ชำระภาษีอากรให้กับกรมสรรพากรไม่ได้
ก.    เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย
ข.    เช็คที่ธนาคารเซ็นต์สั่งจ่าย
ค.    เช็คของผู้มีหน้าที่ชำระเงินภาษี และลงวันที่ล่วงหน้า
ง.    เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
**********************************
23. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินเท่าใด
ก.    5,000 บาท
ข.    10,000 บาท
ค.    15,000 บาท
ง.    20,000 บาท
จ.    25,000 บาท
**********************************
24. บุตรที่ยังศึกษาอยู่สามารถหักค่าลดหย่อยได้คนละเท่าใด
ก.    1,000 บาท
ข.    2,000 บาท
ค.    3,000 บาท
ง.    5,000 บาท
จ.    10,000 บาท
**********************************
25. ค่าลดหย่อน คือ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.    จำนวนเงินที่ไม่ต้องนำไปรวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ข.    จำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดให้หักออกจากเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว
ค.    จำนวนเงินที่กฎหมายยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษี
ง.    จำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดให้หักออกจากภาษีที่ต้องเสีย
จ.    ไม่มีข้อกล่าวใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
26. แพทย์ที่รับราชการอยู่ แล้วมาตรวจรักษาสุขภาพของพนักงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง โดยมีข้อตกลงปฏิบัติหน้าที่สัปดาห์ละ 3 วัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 12.00 น. ได้รับค่าจ้างจากบริษัทจำนวน 20,000 บาทต่อเดือน เงินค่าจ้างดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามข้อใด
ก.    เงินได้ประเภทที่ 1
ข.    เงินได้ประเภทที่ 2
ค.    เงินได้ประเภทที่ 3
ง.    เงินได้ประเภทที่ 6
จ.    เงินได้ประเภทที่ 8
**********************************

27. ผู้มีเงินได้เป็นกองมรดกหักลดหย่อนได้จำนวนเท่าใด
ก.    10,000 บาท
ข.    20,000 บาท
ค.    30,000 บาท
ง.    40,000 บาท
จ.    หักลดหย่อนไม่ได้
**********************************
28. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีหักลดหย่อนได้จำนวนเท่าใด
ก.    10,000 บาท
ข.    20,000 บาท
ค.    30,000 บาท
ง.    40,000 บาท
จ.    หักลดหย่อนไม่ได้
**********************************
29. เงินได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นมรดก หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละเท่าใด
ก.    ร้อยละ 10
ข.    ร้อยละ 20
ค.    ร้อยละ 30
ง.    ร้อยละ 40
จ.    ร้อยละ 50
**********************************
30. ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าค่าเช่าที่แสดงได้ไว้ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงจะทำอย่างไร
ก.    ประเมินใหม่ให้ต่ำลง
ข.    ส่งคำฟ้องต่อศาลภาษีอากร
ค.    อุทธรณ์การประเมิน
ง.    ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการประเมิน
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
ประโยคข้างล่างนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 31-33
    เงินได้ที่เกิดจากดอกเบี้ยเงินฝากกับธนาคารในประเทศไทยเป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า.........(31)..........เดือนนับแต่วันที่ฝาก โดยมียอดฝากแต่ละคราวเท่ากันไม่เกิน............(32)..........บาทต่อเดือน และรวมกันต้องไม่เกิน.......(33)..........จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นเงินได้พึงประเมิน
31. จำนวนเดือนตามข้อความข้างต้นเท่าใด
ก.    6 เดือน
ข.    12 เดือน
ค.    24 เดือน
ง.    36 เดือน
จ.    48 เดือน
**********************************
32. จำนวนเงินตามข้อความข้างต้นเท่าใด
ก.    10,000 บาท
ข.    15,000 บาท
ค.    20,000 บาท
ง.    25,000 บาท
จ.    30,000 บาท
**********************************
33. กรณีลูกจ้างอยู่บ้านที่นายจ้างไปเช่ามาอีกทีหนึ่งโดยนายจ้างไม่เสียค่าเช่าประโยชน์เพิ่มจากการนี้ที่ต้องคิดเป็นเงินได้พึ่งประเมินของลูกจ้างเท่าใด ของค่าใช้จ่ายนายจ้างที่จ่ายไป
ก.    หนึ่งในสาม
ข.    สามในสี่
ค.    สองในสี่
ง.    เต็มจำนวน
จ.    ยกเว้นไม่เป็นเงินได้พึงประเมิน
**********************************
34. นายจ้างได้เช่าบ้านให้เป็นที่อยู่อาศัยของพนักงานบริหาร โดยนายจ้างออกค่าเช่าและค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้และบางทีได้ใช้บ้านหลังนั้นเป็นสถานที่ประชุมบ้าง จัดเลี้ยงรับรองลูกค้าสำคัญบ้าง ค่าใช้จ่ายที่บริษัทจ่ายให้จะนำมาเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานคนนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินเท่าใด ของค่าใช้จ่ายที่บริษัทได้จ่ายไป
ก.    หนึ่งในสาม
ข.    สามในสี่
ค.    สองในสี่
ง.    หนึ่งในสี่
จ.    เต็มจำนวน
**********************************
35. เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรของข้าราชการ พนักงานต้องเสียภาษีจากส่วนนี้หรือไม่
ก.    ไม่เสีย
ข.    เสีย
ค.    เสีย (หากบุตรลดหย่อนได้)
ง.    เสีย (หากบุตรลดหย่อนไม่ได้)
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
36. เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี เมื่อลูกจ้างได้รับในการย้ายกลับถิ่นเดิมและในการรับงานของนายจางเดิมภายในกี่วัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง
ก.    15 วัน
ข.    30 วัน
ค.    60 วัน
ง.    365 วัน
จ.    2 ปี
**********************************
37. ค่าเบี้ยเลี้ยงที่ลูกจ้างได้จ่ายไปโดยสุจริต ตามความจำเป็นเฉพาะตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมด เพื่อการนั้นได้รับยกเว้นภาษีตามมาตราใดแห่งประมวลรัษฎากร
ก.    มาตรา 40 
ข.    มาตรา 41
ค.    มาตรา 42
ง.    มาตรา 43
จ.    มาตรา 45
**********************************
38. เงินช่วยการศึกษาบุตรของพนักงานการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย พนักงานต้องเสียภาษีจากส่วนนี้หรือไม่
ก.    เสีย
ข.    ไม่เสีย
ค.    เสีย (หากบุตรลดหย่อนไม่ได้)
ง.    ไม่เสีย (หากบุตรลดหย่อนได้)
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
39. ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ฝากธนาคารในประเทศไทย ไม่เกินจำนวนใด ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน
ก.    1,000 บาท
ข.    5,000 บาท
ค.    10,000 บาท
ง.    15,000 บาท
จ.    20,000 บาท
**********************************
40. นายแพะได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดต้องเสียภาษีจากเงินส่วนนี้หรือไม่
ก.    ไม่เสีย
ข.    เสีย
ค.    เสีย (หากเกินแปดหมื่นบาท)
ง.    ไม่เสียหากได้รับจากหน่วยงานของรัฐ
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
41. เงินได้พึงประเมินใด เสียภาษีปีละ 2 ครั้ง (ได้แก่ (5) (6) (7) (8) )
ก.    ค่าเช่ารถ
ข.    ค่านายหน้า
ค.    เงินเดือน
ง.    ค่ากูดวิวล์
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
42. แพทย์ที่เปิดสถานพยาบาลของตนมีเตียงรับป่วยไว้ค้างคืน โดยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้ จากการรักษาเป็นเงินได้พึงประเมินมาตราใด
ก.    เงินได้ประเภทที่ 1
ข.    เงินได้ประเภทที่ 2
ค.    เงินได้ประเภทที่ 5
ง.    เงินได้ประเภทที่ 6
จ.    เงินได้ประเภทที่ 8
**********************************
43. เงินได้จากการอื่นที่ไม่ได้ระบุเอาไว้ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่เท่าใด
ก.    เงินได้ประเภทที่ 1
ข.    เงินได้ประเภทที่ 2
ค.    เงินได้ประเภทที่ 5
ง.    เงินได้ประเภทที่ 6
จ.    เงินได้ประเภทที่ 8
**********************************
44. เงินได้จากการธุรกิจ พาณิชย์ การเกษตร เป็นเงินได้ประเภทที่เท่าใด
ก.    เงินได้ประเภทที่ 1
ข.    เงินได้ประเภทที่ 2
ค.    เงินได้ประเภทที่ 5
ง.    เงินได้ประเภทที่ 6
จ.    เงินได้ประเภทที่ 8
**********************************
45. เงินได้จาการรับเหมา ถือเป็นเงินได้ประเภทที่เท่าใด
ก.    เงินได้ประเภทที่ 1
ข.    เงินได้ประเภทที่ 2
ค.    เงินได้ประเภทที่ 6
ง.    เงินได้ประเภทที่ 7
จ.    เงินได้ประเภทที่ 8
**********************************
46. ข้อใด มิใช่ เงินได้พึ่งประเมินประเภทที่ 6
ก.    วิชากฎหมาย
ข.    การบัญชี
ค.    การประกอบโรคศิลป์
ง.    สถาปัตยกรรม
จ.    การประกอบอุตสาหกรรม
**********************************
47. เงินได้จากการรับจ้างว่าความ ของทนายความเป็นเงินได้ประเภทใด
ก.    ประเภทที่ 4
ข.    ประเภทที่ 5
ค.    ประเภทที่ 6
ง.    ประเภทที่ 7
จ.    ประเภทที่ 8
**********************************
48. เงินได้จากการรับจ้างว่าความ ของทนายความเป็นเงินได้ประเภทใด
ก.    ประเภทที่ 4
ข.    ประเภทที่ 5
ค.    ประเภทที่ 6
ง.    ประเภทที่ 7
จ.    ประเภทที่ 8
**********************************
49. เงินได้จากประณีตศิลปกรรม เป็นเงินได้พึงตามมาตราใด ในประมวลรัษฎากร
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 3
ค.    ประเภทที่ 6
ง.    ประเภทที่ 7
จ.    ประเภทที่ 8
**********************************
50. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ หมายถึงข้อใด
ก.    วิศวกรรม
ข.    กฎหมาย
ค.    บัญชี
ง.    ข้อ ข. และข้อ ค.
จ.    ถูกทุกข้อ
**********************************
51. เงินได้พึงประเมินที่ 6 คือเงินได้เนื่องมาจากข้อใด
ก.    ดอกเบี้ยพันธบัตร
ข.    วิชาชีพอิสระ
ค.    การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
ง.    ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิ์อย่างอื่น
จ.    ข้อ ข. และข้อ ง.
**********************************
52. เงินได้ประเภทที่ 5 คือเงินได้เนื่องมาจากข้อใด
ก.    การใช้เช่าทรัพย์สิน
ข.    การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
ค.    การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
ง.    ข้อ ก. และข้อ ข.
จ.    ถูกทุกข้อ
**********************************

53. เงินกินเปล่าจาการเซ้งล็อกขายของ ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเภทใด
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 5
ค.    ประเภทที่ 6
ง.    ประเภทที่ 7
จ.    ประเภทที่ 8
**********************************
54. เงินได้จากสิทธิเก็บกิน เป็นเงินได้พึงประเมินตามข้อใด 
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 4
ค.    ประเภทที่ 5
ง.    ประเภทที่ 6
จ.    ประเภทที่ 8
**********************************
55. เงินได้พึงประเมินประเภทใด ที่ไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 2
ค.    ประเภทที่ 4
ง.    ประเภทที่ 5
จ.    ประเภทที่ 6
**********************************
56. ดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากเงินกับธนาคารเป็นเงินได้ประเภทใด
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 2
ค.    ประเภทที่ 3
ง.    ประเภทที่ 4
จ.    ประเภทที่ 6
**********************************
57. ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เป็นเงินได้ประเภทใด
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 2
ค.    ประเภทที่ 4
ง.    ประเภทที่ 5
จ.    ประเภทที่ 6
**********************************
58. ส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาไถ่ถอนของ Zero Coupon Bond เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 2
ค.    ประเภทที่ 3
ง.    ประเภทที่ 4
จ.    ประเภทที่ 5
**********************************
59. ข้อใด ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 3
ก.    เบี้ยประชุม
ข.    ดอกเบี้ยพันธบัตร
ค.    เงินได้เนื่องจากวิชาชีพอิสระ
ง.    ค่าแห่งกู๊ดวิวล์
จ.    ข้อ ก. และข้อ ค.
**********************************
60. ข้อใด มิใช่ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3
ก.    ค่าแห่งลิขสิทธิ์
ข.    เงินที่ได้จากการโอนหุ้น
ค.    เงินที่ได้รับจากคำพิพากษาของศาล
ง.    ข้อ ก. และข้อ ค.
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
**********************************
61. เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่ โดยไม่เสียค่าเช่า
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 2
ค.    ประเภทที่ 3
ง.    ประเภทที่ 4
จ.    ประเภทที่ 5
**********************************
62. เงินค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เป็นเงินได้ประเภทที่เท่าใด
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 2
ค.    ประเภทที่ 3
ง.    ประเภทที่ 4
จ.    ประเภทที่ 5
**********************************
63. เงินอุดหนุนในงานที่ทำเป็นได้ประเภทใด
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 2
ค.    ประเภทที่ 3
ง.    ประเภทที่ 4
จ.    ประเภทที่ 5
**********************************


64. เงินช่วยเหลือบุตรให้เป็นสวัสดิการของพนักงานบริษัท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 2
ค.    ประเภทที่ 3
ง.    ประเภทที่ 4
จ.    ประเภทที่ 5
**********************************
65. ส่วนแบ่งกำไรจากยอดขายที่นายจ้าง จ่ายให้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 2
ค.    ประเภทที่ 3
ง.    ประเภทที่ 4
จ.    ประเภทที่ 5
**********************************
66. เงินช่วยเหลือบุตรที่เป็นสวัสดิการที่นายจ้างออกให้ เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด
ก.    ประเภทที่ 1
ข.    ประเภทที่ 2
ค.    ประเภทที่ 3
ง.    ประเภทที่ 4
จ.    ประเภทที่ 5
**********************************
67. เงินได้ประเภทที่ 1 หมายถึงข้อใด
ก.    ดอกเบี้ย
ข.    เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
ค.    เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
ง.    ค่าแห่งกู๊ดวิวล์
จ.    ข้อ ก. และข้อ ค.
**********************************
68. เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่ที่บ้านนายจ้าง ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
ก.    เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1
ข.    เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2
ค.    เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3
ง.    เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4
จ.    เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5
**********************************
69. ข้อใดถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 1
ก.    เงินค่านายหน้า
ข.    เงินเดือน
ค.    เงินค่านายหน้า
ง.    เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
จ.    ข้อ ก. และข้อ ค.
**********************************
70. เงินได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี ตามประมวลรัษฎากรมีกี่ประเภท
ก.    6 ประเภท
ข.    5 ประเภท
ค.    8 ประเภท
ง.    9 ประเภท
จ.    10 ประเภท
**********************************
71. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใช้อัตราใด
ก.    อัตราถอยหลัง
ข.    อัตราคงที่
ค.    อัตราก้าวหน้า
ง.    ข้อ ข. และข้อ ค.
จ.    ถูกทุกข้อ
**********************************
72. การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใช้หลักใด
ก.    หลักความสมัครใจ
ข.    หลักค่าตอบแทน
ค.    หลักความสะดวก
ง.    หลักความสามารถ
จ.    ข้อ ค. และข้อ ง.
**********************************
73. ปีภาษีสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้แก่ระยะใด
ก.    1 ม.ค. – 31 ธ.ค.
ข.    1 ต.ค. – 30 ก.ย.
ค.    1 ก.ค. – 30 มิ.ย. ปีถัดไป
ง.    1 เม.ย. – 31 มี.ค. ปีถัดไป
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
74. วันสุดท้ายของการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี
ก.    1 ม.ค.
ข.    31 ม.ค.
ค.    28 หรือ 29 ก.พ.
ง.    31 มี.ค.
จ.    30 เม.ย.
**********************************
75. ข้อใดถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ก.    จัดเก็บเป็นรายปี
ข.    ภาษีที่จัดเก็บจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ
ค.    ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป
ง.    ข้อ ก. และข้อ ค.
จ.    ถูกทุกข้อ
**********************************
76. ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ก.    บุคคลธรรมดา
ข.    กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
ค.    ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
ง.    ข้อ ก. และ ข้อ ข.
จ.    ถูกทุกข้อ
**********************************
77. ภาษีการค้าเริ่มใช้ในรัชกาลที่เท่าไหร่
ก. รัชกาลที่ 4
ข. รัชกาลที่ 5
ค. รัชกาลที่ 6
ง. รัชกาลที่ 7
จ. รัชกาลที่ 8
**********************************
78. ภาษีมูลค่าเพิ่มใช้จัดเก็บแทนภาษีใด
ก. ภาษีโรงเรือน
ข. ภาษีป้าย
ค. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ง. ภาษีการค้า
จ. ภาษีบำรุงท้องที่
**********************************
79. อุปสรรคของภาษีการค้าต่อผู้ประกอบการ
ก. ซ้ำซ้อน
ข. ภาระตกแก่ผู้บริโภค
ค. ต่างชาติไม่ยอมรับ
ง. คำนวณยาก
จ. ชำระยาก
**********************************
80. ภาษีมูลค่าเพิ่มเริ่มบังคับใช้เมื่อพ.ศ.ใด
ก. พ.ศ. 2504
ข. พ.ศ. 2505
ค. พ.ศ. 2530
ง. พ.ศ. 2531
จ. พ.ศ. 2535
**********************************
81. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อแรกจัดเก็บเริ่มประกาศใช้ ใช้อัตราเท่าใด
ก. ร้อยละ 2
ข. ร้อยละ 5
ค. ร้อยละ 7
ง. ร้อยละ 10
จ. ร้อยละ 12
**********************************
    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
     ความรู้ทั่วไป
    ภาษีเงินได้ธรรมดาตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงและเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐบาล อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ เนื่องจากรัฐบาลเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้าตามหลักความสามารถของบุคคลนั่นคือ ผู้มีรายได้มากก็ยิ่งเสียภาษีในอัตราก้าวหน้ามากและอัตราก้าวหน้าเป็นอัตราที่ทั่วโลกยอมรับ
     สำหรับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเสียภาษีตามปีภาษี
 (ปีปฏิทิน : 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.)
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คิดจากฐานเงินได้สุทธิ ซึ่งหมายถึง เงินได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษีตามภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยนำเงินได้แต่ละประเภทที่ต้องเสียภาษีหักออกด้วยค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้แต่ละประเภท และหักค่าลดหย่อนต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้คือ
เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
     ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.    บุคคลธรรมดา
หมายถึง บุคคลทั่วไปที่สภาพเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์มาตรา 15 บัญญัติ “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดเมื่อตาย” ดังนั้นไม่จำกัดว่าเป็นผู้ใหญ่ เด็ก ชาย หญิง คนไร้ความสามารถ พระภิกษุสามเณร คนพิการ หรือผู้อยู่ในต่างประเทศ ถ้ามีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินเป็นผู้เยาว์ ผู้ทีศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถหรือผู้อยู่ในต่างประเทศ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนชำระภาษีคือ
ก)    ผู้ที่ทำหน้าที่แทนผู้เยาว์ คือ “ผู้แทนโดยชอบธรรม”
ข)    ผู้ที่ทำหน้าที่แทนผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คือ “ผู้อนุบาล”
ค)    ผู้ที่ทำหน้าที่แทนผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ คือ “ผู้พิทักษ์”
ง)    ผู้ที่ทำหน้าที่แทนผู้แทนผู้อยู่ในต่างประเทศ คือ “ผู้จัดการ” กิจการก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน
**********************************
แนวข้อสอบชุดนี้อาจเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปัน (แจกฟรี)
แต่อย่าลืมไปดูระเบียบฉบับเต็มด้วยน่ะครับ เผื่อผมพิมพ์ผิดหรือเฉลยผิดไม่ว่าเป็นแนวข้อสอบอื่นๆก็ตาม
เฉลยแนวข้อสอบอยู่ด้านล่าง หากมีความผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
 หากจะกรุณาส่งข้อผิดพลาดมาทางเมล์ valrom2009@hotmail.com ให้ทราบด้วย
จะขอบพระคุณอย่างยิ่ง เพื่อได้จะปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
ขอให้โชคดีในการสอบทุกคน
จากเว็บไซต์  http://pun2013.bth.cc  
http://group.wunjun.com/valrom2012
  http://group.wunjun.com/pun
เฉลย เตรียมสอบกรมสรรพากร ด้านล่าง

เฉลย เตรียมสอบกรมสรรพากร โดยประพันธ์ เวารัมย์ ดังนี้ครับ
ข้อ 1    จ.        ข้อ 36    ง.        ข้อ 71    ค.
ข้อ 2    ค.        ข้อ 37    ค.        ข้อ 72    ง.
ข้อ 3    ง.        ข้อ 38    ข.        ข้อ 73    ก.
ข้อ 4    จ.        ข้อ 39    จ.        ข้อ 74    ง.
ข้อ 5    จ.        ข้อ 40    ก.        ข้อ 75    จ.
ข้อ 6    จ.        ข้อ 41    ก.        ข้อ 76    จ.
ข้อ 7    ข.        ข้อ 42    จ.        ข้อ 77    ข.
ข้อ 8    ค.        ข้อ 43    จ.        ข้อ 78    ง.
ข้อ 9    ข.        ข้อ 44    จ.        ข้อ 79    ก.
ข้อ 10    ง.        ข้อ 45    ง.        ข้อ 80    จ.
ข้อ 11    ง.        ข้อ 46    จ.        ข้อ 81    ง.
ข้อ 12    จ.        ข้อ 47    ค.        อ่าน    ทบทวน
ข้อ 13    ง.        ข้อ 48    ค.        สู้ๆ    สู้ๆ
ข้อ 14    ข.        ข้อ 49    ค.        เพื่อ    อนาคต
ข้อ 15    ง.        ข้อ 50    จ.        ไม่มีความ    สำเร็จใด
ข้อ 16    ง.        ข้อ 51    ข.        ปราศจาก    ความมุ่งมั่น
ข้อ 17    ข.        ข้อ 52    จ.        แบ่งปัน    ความรู้
ข้อ 18    ข.        ข้อ 53    ข.        สู่ความ    ก้าวหน้า
ข้อ 19    ง.        ข้อ 54    ข.        http://pun2013.bth.cc
ข้อ 20    ค.        ข้อ 55    ค.            
ข้อ 21    ง.        ข้อ 56    ง.            
ข้อ 22    ข.        ข้อ 57    ค.            
ข้อ 23    ข.        ข้อ 58    ง.            
ข้อ 24    ข.        ข้อ 59    ง.            
ข้อ 25    ข.        ข้อ 60    ค.            
ข้อ 26    ข.        ข้อ 61    ข.            
ข้อ 27    ค.        ข้อ 62    ข.            
ข้อ 28    ค.        ข้อ 63    ข.            
ข้อ 29    จ.        ข้อ 64    ก.            
ข้อ 30    ค.        ข้อ 65    ก.            
ข้อ 31    ค.        ข้อ 66    ก.            
ข้อ 32    ง.        ข้อ 67    ข.            
ข้อ 33    ง.        ข้อ 68    ก.            
ข้อ 34    จ.        ข้อ 69    ข.            
ข้อ 35    ก.        ข้อ 70    ค.            


  



 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :