สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714798
แสดงหน้า2190693
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552
อ้างอิง อ่าน 1428 ครั้ง / ตอบ 10 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
1.บุคคลใดมีอำนาจสั่งให้มีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้ ตามกฎหมาย 
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข. นายอำเภอ 
ค. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ง. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
จ. ผู้ว่าราชการจังหวัด
*************************

ตอบ จ. ผู้ว่าราชการจังหวัด
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล .. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) .. 2552
 
มาตรา 53   ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสองสมัยหรือหลายสมัยแล้วแต่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะกำหนด แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย วันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด
นายอำเภอต้องกำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งแรกภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และให้ที่ประชุมเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
กรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ตามกำหนดเวลาในวรรคสอง หรือมีการประชุมแต่ไม่อาจเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้ นายอำเภออาจเสนอ
ผู้ว่าราชการจังหวัดให้มีคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินสิบห้าวัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ
 
มาตรา 87/2 ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายตามมาตรา 87/1 วรรคห้า ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติจากนายก องค์การบริหารส่วนตำบล หากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด หรือมีมติไม่เห็นชอบให้ตราข้อบัญญัตินั้น ให้ร่างข้อบัญญัตินั้นตกไป และให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีที่แล้วไปพลางก่อน ในกรณีเช่นว่านี้ให้นายอำเภอเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดให้มีคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
1
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
2.ข้อใด เป็นรายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 
ก.ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์และค่าธรรมเนียมรวมถึงผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่าสัตว์
ข.ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ค. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ง. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
จ. ถูกทุกข้อ

****************************************

ตอบ ข้อ ก.ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์และค่าธรรมเนียมรวมถึงผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่าสัตว์
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล.. ๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ) .. ๒๕๕๒]

มาตรา ๘๒  
องค์การบริหารส่วนตำบลอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(๑)   รายได้จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
(๒)   รายได้จากสาธารณูปโภคขององค์การบริหารส่วนตำบล
(๓)   รายได้จากกิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล
(๔)   ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามที่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
(๕)   เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(๖)   รายได้อื่นตามที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจัดสรรให้
(๗)   เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
 (๘)  
รายได้อื่นตามที่จะมีกฎหมายกำหนดให้เป็นขององค์การบริหารส่วนตำบล

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๔๒  (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙


มาตรา ๒๓         เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลอาจมีรายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และเงินรายได้ดังต่อไปนี้
         
     (๑)    ภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน
              (๒)    ภาษีบำรุงท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่
              (๓)    ภาษีป้ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีป้าย
              (๔)    ภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรที่ได้รับการจัดสรรในอัตราซึ่งเมื่อรวมกับการจัดสรรตามมาตรา ๒๔ (๓) และมาตรา ๒๕ (๖) แล้วไม่เกินร้อยละสามสิบของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้หักส่วนที่ต้องจ่ายคืนแล้ว โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บ
              (๕)    ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราซึ่งเมื่อรวมกับอัตราตามมาตรา ๒๔ (๔) แล้วไม่เกินร้อยละสามสิบของอัตราภาษีที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บ
              (๖)    ภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ภาษีสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ซึ่งเก็บจากการค้าในเขตเทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกินร้อยละสามสิบของอัตราภาษีที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บ และให้ถือเป็นภาษีและค่าแสตมป์ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น โดยเป็นหน้าที่ของ กรมสรรพสามิตที่จะจัดเก็บ
              (๗)    ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ รวมทั้งเงินเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และค่าธรรมเนียมล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
              (๘)    ภาษีการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
              (๙)    ภาษีเพื่อการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
           
   (๑๐)  อากรการฆ่าสัตว์และผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์
              (๑๑)  อากรรังนกอีแอ่นตามกฎหมายว่าด้วยอากรรังนกอีแอ่น
              (๑๒)  ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่หลังจากหักส่งเป็นรายได้ของรัฐในอัตราร้อยละสี่สิบแล้วดังต่อไปนี้
                        (ก)    องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลที่มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ตามประทานบัตร ให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละยี่สิบของเงินค่าภาคหลวงแร่ที่จัดเก็บได้ภายในเขต
                        (ข)    องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลอื่นที่อยู่ภายในจังหวัดที่มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ตามประทานบัตร ให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละสิบของเงินค่าภาคหลวงแร่ที่จัดเก็บได้ภายในเขต
                        (ค)   องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในจังหวัดอื่นให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละสิบของเงินค่าภาคหลวงแร่ที่จัดเก็บได้ภายในเขต
              (๑๓)  ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมหลังจากหักส่งเป็นรายได้ของรัฐในอัตราร้อยละสี่สิบแล้ว ดังต่อไปนี้
                        (ก)    องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลที่มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ตามสัมปทาน ให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละยี่สิบของเงินค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บได้ภายในเขต
                        (ข)    องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลอื่นที่อยู่ภายในจังหวัดที่มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ตามสัมปทาน ให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละสิบของเงินค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บได้ภายในเขต
                        (ค)   องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในจังหวัดอื่น ให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละสิบของเงินค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บได้ภายในเขต
              (๑๔)  ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่มีทุนทรัพย์ภายในเขต ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
              (๑๕)  ค่าธรรมเนียมสนามบินตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามอัตราและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
              (๑๖)  ค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้ โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกินร้อยละสิบของค่าธรรมเนียมที่มีการจัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
                        (ก)    ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
                        (ข)    ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
              (๑๗)  ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับในกิจการที่กฎหมายมอบหมายหน้าที่ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการภายในเขตท้องถิ่นนั้นๆ และให้ตกเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว ในกรณีกฎหมายกำหนดให้เทศบาลเป็นผู้จัดเก็บค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ให้นำรายได้มาแบ่งให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลที่อยู่ภายในเขตจังหวัดตามที่คณะกรรมการกำหนด
              (๑๘)  ค่าใช้น้ำบาดาลตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่คณะกรรมการกำหนด
              (๑๙)  ค่าธรรมเนียมใดๆ ที่เรียกเก็บจากผู้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะที่จัดให้มีขึ้น
              (๒๐)  รายได้อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นของเทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล


  
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.54.xxx] เมื่อ 24/02/2015 01:11
2
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
3. สภาตำบลมีฐานะเป็นอะไร
ก. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข. สหการ
ค. ทบวงการเมือง
ง. นิติบุคคล
จ. ปกครองท้องที่
*******************************

ตอบ ข้อ ง. นิติบุคคล

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล.๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6.2552]
มาตรา 6  ในตำบลหนึ่งให้มีสภาตำบลสภาหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
              ให้สภาตำบลมีฐานะเป็น
นิติบุคคล

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 28/02/2015 16:41
3
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
4.สภาตำบลประกอบด้วยสมาชิกโดยตำแหน่งได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของทุกหมู่บ้าน ในตำบล และ.................... และสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นสมาชิกสภาตำบลหมู่บ้านละหนึ่งคน ในช่องว่างนั้นตำแหน่งอะไร
ก. สารวัตรกำนัน
ข. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ
ค. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
ง. แพทย์ประจำตำบล
จ. ข้าราชการในพื่้นที่
**************************************


ตอบ ข้อ ง. แพทย์ประจำตำบล

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล.๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6.2552]
 
        มาตรา 7   สภาตำบลประกอบด้วยสมาชิกโดยตำแหน่งได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของทุกหมู่บ้าน ในตำบล และแพทย์ประจำตำบล และสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นสมาชิกสภาตำบลหมู่บ้านละหนึ่งคน

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 28/02/2015 16:46
4
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
5.    ให้ตำแหน่งใด รักษาการตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537[แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552] และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้     กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่มีผลเป็นการทั่วไป เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. อธิบกรมการปกครองท้องถิ่น
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จ. นายกรัฐมนตรี
****************************************

ตอบ ข้อ ง. แพทย์ประจำตำบล
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.2537 [แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552
มาตรา 5  ให้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
           กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่มีผลเป็นการทั่วไป เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 28/02/2015 16:51
5
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
6.สภาตำบลประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นสมาชิกสภาตำบลหมู่บ้านละกี่คน
ก. 1 คน
ข. 2 คน
ค. 3 คน
ง.  4 คน
จ. 6 คน

****************************************

ตอบ ข้อ ก. 1 คน
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552]
 
        มาตรา 7   สภาตำบลประกอบด้วยสมาชิกโดยตำแหน่งได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของทุกหมู่บ้าน ในตำบล และแพทย์ประจำตำบล และสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นสมาชิกสภาตำบลหมู่บ้านละ
หนึ่งคน

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 28/02/2015 16:55
6
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
7.“หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่าพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ไม่รวมถึงหน่วยงานใด
ก.เทศบาล 
ข.สุขาภิบาล 
ค.ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น 
ง.องค์การบริหารส่วนตำบล
จ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด
****************************************

ตอบ ข้อ จ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552]
มาตรา 4  ในพระราชบัญญัตินี้
            “หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า เทศบาล สุขาภิบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
แต่ไม่รวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 28/02/2015 17:06
7
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
8.ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาตำบล     มีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านของตำบลที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเท่าใด
ก. หกเดือนถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
ข. 1 ปีจนถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
ค. 2 ปีจนถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
ง. 1 ปีจนถึงวันเลือกตั้ง
จ. 1 ปีจนถึงวันหมดเขตรับสมัคร
***************************************

ตอบข้อ ข.  1 ปีจนถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552]
มาตรา 9  ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
              (1)   มีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านของตำบลที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกัน
ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีจนถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
              (2)   ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตหรือพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น หรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุที่มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับสภาตำบลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
              (3)   มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามประการอื่นเช่นเดียวกับผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 28/02/2015 17:12
8
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
9.ให้ใคร จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
ก. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ข. ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ค. ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
ง. ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่น
จ. นายอำเภอ
****************************

ตอบข้อ จ. นายอำเภอ
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552]
มาตรา 10
 ให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 28/02/2015 17:37
9
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
10.สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละเท่าใด  ในกรณีที่สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งครบวาระแล้วแต่ยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นใหม่ ให้สมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป
ก. 4 ปี นับแต่วันรับสมัครเลือกตั้ง
ข. 4 ปี นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
ค. 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
ง. 5 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
จ. 5 ปี นับแต่วันสมัคร
********************************

ตอบข้อ ค. 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552]
มาตรา 11 สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
              ในกรณีที่สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งครบวาระแล้วแต่ยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นใหม่ ให้สมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป



 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 28/02/2015 17:44
10
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
11.เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจาก ครบวาระ ให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างภายในกี่วันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งที่เหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันให้สภาตำบลประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ. 180 วัน
****************************

ตอบ ข้อ ง. 60 วัน
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552]
มาตรา 14  เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจาก ครบวาระ ให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างภายใน
หกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งที่เหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันให้สภาตำบลประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
              สมาชิกสภาตำบลผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.51.xxx] เมื่อ 28/02/2015 18:32
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :