หมีขั้วโลก (Polar bear) เป็นสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ursus maritimus |
|
อ้างอิง
อ่าน 364 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
หมีขั้วโลก (Polar bear) เป็นสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ursus maritimus เป็นภาษาละตินมีความหมายว่า หมีทะเล ปัจจุบันมีหมีขั้วโลกอยู่ประมาณ 20,000-25,000 ตัว ราว 60% อยู่ในเขตประเทศแคนาดา ที่เหลือกระจายพันธุ์อยู่ในอลาสก้า รัสเซีย นอร์เวย์ และเกาะกรีนแลนด์ หมีขั้วโลกอาศัยแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกเพื่อจับแมวน้ำ ซึ่งโผล่ขึ้นมาหายใจทางรูน้ำแข็งหรือริมของน้ำแข็งเป็นอาหาร ช่วงเวลาที่น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น ทำให้โอกาสที่มันจะจับแมวน้ำน้อยลงไป และแผ่นน้ำแข็งที่ละลายมากขึ้น ทำให้หมีขั้วโลกจำนวนหนึ่งต้องจมน้ำตาย
โดยธรรมชาติหมีตัวเมียที่ตั้งครรภ์ จะสร้างถ้ำจากหิมะที่ทับถมบนแผ่นน้ำแข็ง เพื่อให้กำเนิดและเลี้ยงดูลูก นักวิทยาศาสตร์พบว่า ในระหว่างปี 1985 – 1994 แม่หมีขั้วโลกจำนวน 62% สร้างถ้ำเพื่อให้กำเนิดลูกบนแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก แต่ในระหว่างปี 1998 – 2004 มีจำนวนลดลง 37%
ปัจจุบันสหพันธ์อนุรักษ์โลก (World Conser-vation Union – IUCN) ได้ปรับสถานภาพหมีขั้วโลกจาก น่าเป็นห่วงที่สุด (Least Concern) มาเป็นเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable) และพยากรณ์ว่าจำนวนหมีขั้วโลกจะลดลง 30% ภายในปี 2050 หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ป่าไม่กี่ชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไม่ใช่เพราะการล่าของมนุษย์หรือการบุกรุกถิ่นอาศัย โดยมนุษย์การอาศัยอยู่บนแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรทำให้การล่าหมีขั้วโลกเป็นไปได้ยาก
ทว่าตอนนี้นักอนุรักษ์กำลังเป็นห่วง เพราะการที่พวกมันกำลังขึ้นบก เพราะภาวะโลกร้อน จะทำให้การล่าพวกมันง่ายขึ้น...
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.48.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|