แนวข้อสอบเก่าของท้องถิ่น |
|
อ้างอิง
อ่าน 711 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|
แนวข้อสอบเก่าของท้องถิ่น
ข้อสอบจำนวน ๑๐๐ ข้อ คะแนน ๑๐๐ คะแนน
ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (x) ในกระดาษคำตอบ ในข้อที่ถูกต้องที่สุด
๑.รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ประเทศไทยประกาศใช้คือ
ก. พุทธศักราช ๒๕๒๑ ข. พุทธศักราช ๒๕๓๕
ค. พุทธศักราช ๒๕๔๐ ง. พุทธศักราช ๒๕๕๐
๒.รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่หมวด กี่มาตรา
ก. ๑๒ หมวด ๓๑๖ มาตรา ข. ๑๒ หมวด ๓๓๖ มาตรา
ค. ๑๕ หมวด ๓๐๙ มาตรา ง. ๑๕ หมวด ๓๑๙ มาตรา
๓. การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๙๑ แก้ไขจำนวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนเท่าใด
ก. ๔๐๐ : ๘๐ คน ข. ๔๐๐ : ๑๐๐ คน
ค. ๓๐๐ : ๑๐๐ คน ง. ๓๗๕ : ๑๒๕ คน
๔. ผู้ใช้อำนาจอธิปไตย คือ ใคร
ก. พระมหากษัตริย์ ข. รัฐสภา
ค. รัฐบาล ง. ประชาชน
๕. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็น
เวลาไม่น้อยกว่ากี่วันนับถึงวันเลือกตั้ง
ก. ๙๐ วัน ข. ๑๒๐ วัน
ค. ๑๘๐ วัน ง. ๓๖๕ วัน
๖. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนดอำนาจหน้าที่ของ
จังหวัดเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฉบับเดิมอย่างไร
ก. มีอำนาจหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
ข. สามารถเสนอขอจัดตั้งงบประมาณต่อสำนักงบประมาณได้
ค. จัดทำรายชื่อบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ง. ถูกทุกข้อ
๗. ข้อใดเป็นการบริหารราชการแผ่นดินของไทย
ก. กระทรวง ทบวง กรม
ข. กระทรง ทบวง กรม จังหวัด อำเภอ
ค. ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น
ง. กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๘. ข้อใดเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ก. หมู่บ้าน
ข. อำเภอ
ค. จังหวัด
ง. องค์การบริหารส่วนตำบล
๙. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สังกัดส่วนราชการใด
ก. กระทรวงมหาดไทย
ข. สำนักนายกรัฐมนตรี
ค. กระทรวงพัฒนาสังคม
ง. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
๑๐. เทศบาลตำบลเป็นการบริหารราชการแบบใด
ก. ราชการส่วนกลาง
ข. ส่วนภูมิภาค
ค. ส่วนท้องถิ่น
ง. ส่วนอำเภอ
๑๑. การร่างหนังสือ คือ
ก. การคิดก่อนที่จะเขียนหนังสือ จนกระทั่งเขียนเสร็จ
ข. การเรียบเรียงข้อความและจัดพิมพ์ข้อความนั้น ๆ
ค. การคิด การเรียบเรียงข้อความประสงค์เพื่อแจ้งให้ผู้รับหรือผู้ที่ต้องทราบหนังสือนั้น
ง. การเรียบเรียงข้อความขั้นต้นตามเรื่องที่จะแจ้งความประสงค์ไปยังผู้รับหรือผู้ที่ต้องทราบ
หนังสือนั้นก่อนที่จะใช้ทำเป็นต้นฉบับ
๑๒. ตรารับหนังสือ ตามระเบียบงานสารบรรณมีการกรอกรายละเอียด ดังนี้
ก. ระเบียบฯ มิได้ระบุไว้
ข. เลขรับ วันที่ และเวลา
ค. ให้ระบุชื่อส่วนราชการ เลขรับ วันที่และเวลา
ง. ให้ส่วนราชการพิจารณาตามความเหมาะสม
๑๓. .ใครคือผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. สำนักนายกรัฐมนตรี
ง. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
๑๔. ข้อมูลข่าวสารใดที่ไม่ต้องเปิดเผย
ก. ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ข. ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
ค. การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
ง. ถูกทุกข้อ
๑๕. ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. สำนักนายกรัฐมนตรี
ง. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
๑๖. ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายความว่า
ก. ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐ
ข. ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ
ค. ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน
ง. ถูกทุกข้อ
๑๗. ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยและประชาชนเข้าตรวจดูได้
ก. นโยบาย
ข. แผนงาน/โครงการ
ค. งบประมาณรายจ่ายประจำปี
ง. ถูกทุกข้อ
๑๘. สัญญาสัมปทาน เป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใด
ก. ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย
ข. ประชาชนไม่สามารถเข้าตรวจดูได้
ค. ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้
ง. เป็นเอกสารปกปิด
๑๙. ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. สำนักนายกรัฐมนตรี
ง. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
๒๐. สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลงเมื่อใด
ก. ตาย
ข. ยุบสภาเทศบาล
ค. ขาดประชุมสภาเทศบาลสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ง. ถูกทุกข้อ
๒๑. สมาชิกสภาเทศบาลลาออกจากตำแหน่งจะต้องยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ใด
ก. ประธานสภาเทศบาล
ข. นายอำเภอ
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ง. นายกเทศมนตรี
๒๒. กรณีประธานสภาเทศบาลว่างลงจะต้องให้สภาเลือกสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายใน
กี่วัน
ก. ๑๕ วัน
ข. ๔๕ วัน
ค. ๖๐ วัน
ง. ๙๐ วัน
๒๓. กรณีที่ยังไม่มีประธานสภาเทศบาลหรือประธานสภาเทศบาลไม่เรียกประชุมผู้ใดจะเรียกประชุม
ก. นายกเทศมนตรี
ข. นายอำเภอ
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ง. ถูกทุกข้อ
๒๔. คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีต้องมีอายุเท่าใด
ก. อายุ ๒๕ ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ข. อายุ ๓๐ ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ค. อายุ ๓๕ ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ง. อายุ ๔๐ ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
๒๕. กรณีใดทำให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
ก. ตาย
ข. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ง. ถูกทุกข้อ
๒๖. นายกเทศมนตรีจะต้องแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลภายในระยะเวลากี่วัน
ก. ๓๐ วันนับแต่วันเลือกตั้ง
ข. ๓๐ วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
ค. ๖๐ วันนับแต่วันเลือกตั้ง
ง. ๖๐ วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
๒๗. นายกเทศมนตรีดำรงตำแหน่งวาระกี่ปี
ก. วาระ ๓ ปี
ข. วาระ ๔ ปี
ค. วาระ ๕ ปี
ง. วาระ ๖ ปี
๒๘. เมื่อครบวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาของเทศบาลต้องดำเนินการเลือกตั้งภายในกี่วัน
ก. ภายใน ๔๕ วัน
ข. ภายใน ๕๐ วัน
ค. ภายใน ๖๐ วัน
ง. ภายใน ๖๕ วัน
๒๙. การเสนอร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี จะต้องเสนอต่อสภาเทศบาลภายใน
ก. ๑๕ มิถุนายนของทุกปี
ข. ๑๕ กรกฎาคมของทุกปี
ค. ๑๕ สิงหาคมของทุกปี
ง. ๑๕ กันยายนของทุกปี
๓๐. องค์การเทศบาลประกอบด้วย
ก. สภาเทศบาลและสมาชิกสภาเทศบาล
ข. สภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี
ค. สภาเทศบาลและคณะผู้บริหารเทศบาล
ง. สภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
๓๑. ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. สำนักนายกรัฐมนตรี
ง. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
๓๒. พนักงานส่วนท้องถิ่นหมายถึง
ก. ท้องถิ่นอำเภอ
ข. นายอำเภอ
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ง. พนักงานเทศบาล
๓๓. อำนาจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานเทศบาล เป็นของใคร
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข. นายอำเภอ
ค. นายกเทศมนตรี
ง. ปลัดเทศบาล
๓๔. การสั่งให้พนักงานเทศบาลพ้นจากตำแหน่งต้องได้รับความเห็นชอบจากใคร
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ
ข. นายกเทศมนตรี
ค. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ง. คณะกรรมการพนักงานเทศบาล
๓๕. คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล มีชื่อย่อว่าอย่างไร
ก. ก.ท.จ.
ข. ก.ท.
ค. ก.ก.ท.
ง. ก.พ.ท.
๓๖. ใครเป็นประธานคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
ก. นายกเทศมนตรี
ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. ปลัดเทศบาล
ง. ผู้ทรงคุณวุฒิ
๓๗. คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลมีหน้าที่ในการกำหนด
ก. ประกาศจังหวัด
ข. กฎจังหวัด
ค. มาตรฐานกลาง
ง. มาตรฐานทั่วไป
๓๘. คณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีรูปแบบเป็น
ก. ทวิภาคี
ข. ไตรภาคี
ค. เบญจภาคี
ง. แบบผสมผสาน
๓๙. จำนวนสมาชิกคณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีทั้งสิ้นเท่าใด
ก. ๑๒ คน
ข. ๑๕ คน
ค. ๑๘ คน
ง. ๒๗ คน
๔๐. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาลจะกำหนดสูงกว่าร้อยละเท่าใดของเงิน
งบประมาณรายจ่ายประจำปีของเทศบาลไม่ได้
ก. ๓๐
ข. ๓๕
ค. ๔๐
ง. ๔๕
๔๑. บุคคลตามข้อใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ง. ถูกทุกข้อ
๔๒. การปรับปรุงสัดส่วนภาษีและอากร ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน
และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องคำนึงถึงข้อใด
ก. ภาระหน้าที่ของรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข. ภาระหน้าที่ระหว่างรัฐกับประชาชน
ค. ภาระหน้าที่ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง ง. ถูกเฉพาะข้อ ก และข้อ ค
๔๓. มาตราใดเกี่ยวข้องกับการจัดสรรสัดส่วนภาษีและอากรของเทศบาล
ก. มาตรา ๒๓ ข. มาตรา ๒๔
ค. มาตรา ๒๕ ง. มาตรา ๓๐
๔๔. ภารกิจที่เป็นการซ้ำซ้อนระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภารกิจที่รัฐจัดให้บริการในเขต
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐต้องดำเนินการถ่ายโอนภารกิจดังกล่าวให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามข้อใด
ก. ภายใน ๓ ปี ข. ภายใน ๔ ปี
ค. ภายใน ๕ ปี ง. ภายใน ๖ ปี
๔๕. ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะอย่างเดียวกัน
ใครเป็นผู้กำหนดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในส่วนใด
ก. คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๔๖. ข้อใดที่มิใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก. จัดทำแผนการกระจายอำนาจฯ
ข. ปรับปรุงสัดส่วนภาษีและอากรและรายได้ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ค. กำหนดแผนการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ง. ผิดทุกข้อ
๔๗. ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน พ.ศ. ๒๕๔๗ รัฐต้องกำหนดการจัดสรรภาษีและอากร เงินอุดหนุนและรายได้
อื่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ อปท.
โดยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ ๒๐ ข. ร้อยละ ๒๕
ค. ร้อยละ ๓๐ ง. ร้อยละ ๓๕
๔๘. ส่วนราชการตามข้อใดไม่ใช่ส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดี
ก. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข. กระทรวง
ค. ทบวง ง. กรม
๔๙. หน่วยงานตามข้อใดมีหน้าที่จัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการนำไปใช้ปฏิบัติงาน
ก. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข. สำนักงบประมาณ
ค. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ง. ถูกทุกข้อ
๕๐. การกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้ส่วนราชการปฏิบัติต้องดำเนินการตามข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ข. ก.พ.ร. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติ
ค. ทำเป็นประกาศกระทรวง ง. ทำเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
๕๑. ข้อใดถูกต้องที่สุดสำหรับความหมายของการทำความตกลงในการปฏิบัติงาน ตามที่กำหนดในพระราช
กฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก. เป็นการทำความตกลงระหว่างผู้กำหนดนโยบายกับผู้รับผิดชอบในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ข. เป็นการทำความตกลงระหว่างหัวหน้าส่วนราชการกับผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการนั้น ๆ
ค. เป็นการทำความตกลงระหว่างผู้บริหารระดับกระทรวงกับผู้บริหารในระดับกรม
ง. เป็นการทำความตกลงเพื่อผลสำเร็จของกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่จะร่วมกันดำเนินงาน
๕๒. ข้อใดไม่ได้เป็นเงื่อนไขให้ส่วนราชการต้องกำหนด ในการดำเนินการเพื่อให้การปฏิบัติราชการภายใน
ส่วนราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ก. เป้าหมาย แผนการทำงาน ข. งบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ
ค. ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ ง. ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน
๕๓. กรณีที่ส่วนราชการใดได้รับการสอบถามจากประชาชนเกี่ยวกับงานที่อยู่ในหน้าที่ เป็นหน้าที่ที่ส่วน
ราชการนั้นต้องตอบหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในกี่วัน
ก. ๗ วัน ข. ๑๕ วัน
ค. ๒๐ วัน ง. ๓๐ วัน
๕๔. ข้อใดเป็นสถานโทษทางวินัย
ก. ทัณฑ์บน ข. ภาคทัณฑ์
ค. ว่ากล่าวตักเตือน ง. ถูกทุกข้อ
๕๕. ต่อไปนี้ข้อใดสามารถกำหนดอัตราโทษที่แตกต่างกันได้
ก. ตัดเงินเดือน ข. ภาคทัณฑ์
ค. ปลดออก ง. ไล่ออก
๕๖. พนักงานส่วนท้องถิ่นที่ถูกลงโทษทางวินัย มีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในกี่วัน
ก. ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันทราบคำสั่ง ข. ภายใน ๓๐ วันนับถัดจากวันทราบคำสั่ง
ค. ภายใน ๖๐ วันนับแต่วันทราบคำสั่ง ง. ภายใน ๖๐ วันนับถัดจากวันทราบคำสั่ง
๕๗. ระยะเวลาการสอบสวนกำหนดไว้อย่างไร
ก. ปกติ ๖๐ วัน ขยายได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๓๐ วัน
ข. ปกติ ๙๐ วัน ขยายได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๓๐ วัน
ค. ปกติ ๑๒๐ วัน ขยายได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๓๐ วัน
ง. ปกติ ๑๕๐ วัน ขยายได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๓๐ วัน
๕๘. ข้อใดไม่เป็นวินัยของพนักงานเทศบาล
ก. ต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ
ข. ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ
ค. ต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย
ง. ต้องรักษาความลับของผู้บังคับบัญชา
๕๙. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ก. ต้องแต่งตั้งจากพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการฝ่ายพลเรือน
ข. กรรมการต้องมีอย่างน้อย ๓ คน และ/หรือมีผู้ช่วยเลขานุการ ๑ คน
ค. ประธานกรรมการต้องมีระดับไม่ต่ำกว่าผู้ถูกสอบสวน
ง. ถูกทุกข้อ
๖๐. นายช่างโยธาลงชื่อมาปฏิบัติราชการตามปกติ ระหว่างเวลา ๑๔.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ได้กลับบ้านโดย
พลการถือว่ากระทำความผิดวินัยฐานใด
ก. ละทิ้งหน้าที่ราชการ ข. ทอดทิ้งหน้าที่ราชการ
ค. หนีราชการ ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
๖๑. องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึงข้อใด
ก. องค์กรที่มุ่งเน้นและจูงใจให้สมาชิกทุกคนมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
ข. องค์กรที่มีบุคลากรบางคน ต้องการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ค. องค์กรที่พัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานใหม่
ง. องค์กรที่พนักงานส่วนใหญ่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม
๖๒. ปัจจัยในการบริหารตามหลัก 4 M's คือข้อใด
ก. คน ความรู้ วัตถุสิ่งของ การจัดการ ข. คน เงิน ที่ดิน การประกอบการ
ค. คน เงิน วัตถุสิ่งของ การจัดการ ง. แรงงาน เงิน วัตถุสิ่งของ สภาพแวดล้อม
๖๓. ในหลักการของผู้นำ (Leadership) หมายถึงข้อใด
ก. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ข. เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ
ค. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ง. มีความสามารถในการจูงใจ
๖๔. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศ
ก. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ข. เปลี่ยนรูปแบบการบริการให้เป็นแบบกระจาย
ค. เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานของหน่วยงาน ง. เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจ
๖๕. “พัสดุที่ผลิตในประเทศไทย” หมายความถึงข้อใด
ก. ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแล้วโดยสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในประเทศไทย
ข. สินค้าระหว่างผลิตที่ผลิตในประเทศไทย
ค. ผลิตภัณฑ์ทุกประเภทที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย
ง. ถูกทุกข้อ
๖๖. เทศบาลต้องการซื้อพัสดุที่ส่วนราชการเป็นผู้ผลิต จะจัดซื้อด้วยวิธีใด
ก. วิธีตกลงราคา ข. วิธีสอบราคา
ค. วิธีกรณีพิเศษ ง. วิธีพิเศษ
๖๗. การจ้างลักษณะใดควรแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ทางด้านช่าง
ก. งานก่อสร้าง ข. งานซ่อมเครื่องจักร
ค. งานบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ง. ถูกทุกข้อ
๖๘. การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ซื้อหรือจ้างในวงเงินเท่าใด
ก. ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ข. เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ค. เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ง. ไม่จำกัดวงเงิน
๖๙. ผู้ที่เห็นชอบพิจารณาบอกเลิกสัญญาในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จ
ภายในเวลาที่กำหนด
ก. ผู้สั่งซื้อ ข. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
ค. ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ง. นายอำเภอ
๗๐. การตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อม โดยตรวจสอบกับรูปแบบ
รายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาทุกสัปดาห์ เป็นหน้าที่ใคร
ก. คณะกรรมการตรวจสอบงานพัสดุ ข. คณะกรรมการตรวจการจ้างงานก่อสร้าง
ค. ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ง. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
๗๑. ข้อใดกล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับการยืมพัสดุ
ก. ผู้ยืมพัสดุใช้คงรูป หากทำชำรุดเสียหายต้องซื้อคืน
ข. การยืมพัสดุสิ้นเปลือง โดยปกติจะต้องจัดหาพัสดุประเภทนั้นคืน
ค. การยืมพัสดุให้ผู้ยืมทำเป็นลายลักษณ์อักษรและให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุอนุมัติ
ง. ถูกทุกข้อ
๗๒. ข้อใดไม่ได้เป็นรายจ่ายทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก. รายจ่ายงบกลาง ข. รายจ่ายตามแผนงาน
ค. รายจ่ายเฉพาะการ ง. ทุกข้อเป็นรายจ่ายทั่วไป
๗๓. การใช้เงินสำรองจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลตามข้อใด
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. คณะผู้บริหารท้องถิ่น ง. สภาท้องถิ่น
๗๔. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคำว่า “งบประมาณ” ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๑
ก. แผนงาน ที่แสดงในรูปตัวเลขจำนวนเงิน
ข. งานสำหรับประมาณการด้านรายรับ ที่แสดงในรูปตัวเลขจำนวนเงิน
ค. งานสำหรับประมาณการด้านรายจ่าย ที่แสดงในรูปตัวเลขจำนวนเงิน
ง. ภารกิจแต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมาย
๗๕. การโอนเงินงบประมาณรายจ่ายหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจง เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจและ
ได้ประกาศโดยเปิดเผยแล้ว ต้องแจ้งการประกาศให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายในกำหนดเวลาตาม
ข้อใด
ก. ภายใน ๗ วัน ข. ภายใน ๑๕ วัน
ค. ภายใน ๒๐ วัน ง. ภายใน ๓๐ วัน
๗๖. กรณีนายกเทศมนตรีเป็นผู้พิจารณาร่างงบประมาณ หากนายกเทศมนตรีเห็นว่าจะไม่สามารถนำร่าง
งบประมาณเสนอต่อสภาเทศบาลได้ทันภายในกำหนด ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นต่อบุคคลตามข้อใด
ก. ประธานสภาเทศบาล ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. คณะผู้บริหารท้องถิ่น ง. นายอำเภอ
๗๗. รูปแบบเอกสาร ตลอดจนระบบ และวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานตาม
ข้อใดเป็นผู้กำหนด
ก. กระทรวงมหาดไทย ข. กรมการปกครอง
ค. สำนักงบประมาณ ง. จังหวัด
๗๘. การจัดทำงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องได้รับความเห็นชอบจาก
บุคคลตามข้อใด
ก. คณะผู้บริหารท้องถิ่น ข. สภาท้องถิ่น
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๗๙. ผู้มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการควบคุมงบประมาณรายจ่าย เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย
คือบุคคลตามข้อใด
ก. คณะผู้บริหารท้องถิ่น ข. เจ้าหน้าที่งบประมาณ
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ถูกเฉพาะข้อ ก และข้อ ข
๘๐. การก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายเกินกว่า ๑ ปีงบประมาณ กระทำได้โดยความเห็นชอบจากบุคคล
ตามข้อใด
ก. สภาท้องถิ่น ข. คณะผู้บริหารท้องถิ่น
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๘๑. ข้อใดมิใช่รูปวิธีการตัดสินวินิจฉัยนโยบายสาธารณะที่ถูกต้อง
ก. การตัดสินวินิจฉัยแบบใช้หลักสมเหตุสมผล ข. การตัดสินวินิจฉัยแบบใช้หลักส่วนเพิ่มขึ้น
ค. การตัดสินวินิจฉัยแบบใช้หลักผสมกลั่นกรอง ง. การตัดสินวินิจฉัยแบบใช้หลักตามสถานการณ์
๘๒. ข้อใดเป็นคุณลักษณะของนักบริหารการพัฒนา
ก. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและความชำนาญ ข. เป็นผู้มีความคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์
ค. เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดีเลิศ ง. ถูกทุกข้อ
๘๓. ข้อใดมิใช่ลักษณะเด่นของระบบคุณธรรม (Merit System)
ก. หลักความเสมอภาค (Equality of Opportunity) ข. หลักความสามารถ (Competence)
ค. หลักการประสานประโยชน์ (Interest Balancing) ง. หลักความมั่งคง (Security on tenure)
๘๔. ข้อใดไม่จัดเป็นองค์ประกอบของการพัฒนาองค์การ (OD)
ก. งบประมาณ ข. หัวหน้างาน
ค. ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ง. นักปฏิบัติการ OD
๘๕. ข้อใดไม่ใช่วิธีก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารตามทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม
(Participative Management)
ก. การชี้แนะและเสนองาน ข. การให้กลุ่มเสนอแนะความคิดเห็น
ค. การให้กลุ่มควบคุมกันเอง ง. การออกคำสั่งให้ทุกคนเข้าร่วมบริหารงาน
๘๖. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการณ์หรือบริหารงานภายใต้ภาวะข้อจำกัด
ก. โอกาส ข. สถานการณ์
ค. ผู้บริหาร ง. เวลา
๘๗. วงจรเดมมิ่ง หรือวงจร PDCA อักษร P ในที่นี้หมายถึง
ก. Plan ข. Policy
ค. Private ง. Playing Roll
๘๘. แผนพัฒนาหมายความรวมถึง
ก. แผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาประจำปี และแผนพัฒนาสามปี
ข. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และแผนพัฒนาสามปี
ค. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และแผนพัฒนาประจำปี
ง. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนาประจำปี และแผนพัฒนาสามปี
๘๙. องค์กรจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบไปด้วยข้อใด
ก. คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
ข. คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผน
ค. องค์กรเอกชน และประชาคมหมู่บ้าน
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
๙๐. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ.๒๕๔๘ ไม่ใช้บังคับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบใด
ก. เมืองพัทยา ข. องค์การบริหารส่วนตำบล
ค. เทศบาล ง.กรุงเทพมหานคร
๙๑. คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นมีประธานกรรมการคือ
ก.นายก อบต. ข.นายก อบจ.
ค.ประธานสภา อบต. ง.ประธานสภา อบจ.
๙๒. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลมีประธานคือ
ก.ประธานสภา ข.ปลัดเทศบาล
ค.นายกเทศมนตรี ง.ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก
๙๓. คณะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ มีประธานกรรมการคือ
ก.นายอำเภอ ข.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค.ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับเลือก ง.หัวหน้าส่วนราชการที่ได้รับแต่งตั้ง
๙๔. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความถึงหน่วยงานใด
ก.องค์การบริหารส่วนจังหวัด ข.เทศบาล
ค.องค์การบริหารส่วนตำบล ง.ถูกทุกข้อ
๙๕. ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๕ คือใคร
ก.นายกรัฐมนตรี ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ง.ประธานกรรมการเลือกตั้ง
๙๖. ใครเป็นผู้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
ก.นายอำเภอ ข.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค.ปลัดอำเภอ ง.ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๙๗. วันท้องถิ่นไทยตรงวันใด
ก. วันที่ ๑๘ มีนาคมของทุกปี ข.วันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปี
ค. วันที่ ๑ ธันวาคมของทุกปี ง. วันที่ ๑ เมษายนของทุกปี
๙๘. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นคือใคร
ก. นายชวน ศิรินันทพร ข. นายแก่นเพชร ช่วงรังษี
ค. นายฉัตรชัย พรมเลิศ ง. นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน
๙๙.“วงจรอุบาททางการเมือง” โดยทั่วไปหมายถึง
ก. การยึดอำนาจฉบับการเลือกตั้ง ข.การยุบสภาสลับการเลือกตั้ง
ค. การรัฐประหารซ้อนรัฐประหาร ง. การรัฐประหาร – ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อปูทางไปสู่
อำนาจแล้วก็มีการยึดอำนาจโดยกลุ่มกำลังกลุ่มใหม่
๑๐๐. เสาหลักประชาคมอาเซียนประกอบด้วยข้อใด
ก. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ข. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ค. ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ง. ถูกทุกข้อ
************************************************************************************************
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.48.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|