สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714579
แสดงหน้า2188780
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




แนวข้อสอบท้องถิ่น

แนวข้อสอบท้องถิ่น
อ้างอิง อ่าน 297 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
แนวข้อสอบท้องถิ่น
โดยประพันธ์ เวารัมย์
**************************************
1. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 3
ก.    ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการหรือ ก.พ.ร. รายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการแก้ไขต่อไป
ข.    หรือไม่เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พุทธศักราช 2546
ค.    ไม่มีประสิทธิภาพในการบริการประชาชน ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ในภารกิจ
ง.    ในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการใดไม่เหมาะสม
**********************************
2. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 2
ก.    สมควรให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการหรือ ก.พ.ร. ซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ข.    รวมทั้งปรับปรุงระบบการทำงานของทุกภาคส่วนราชการให้เป็นรูปแบบและแนวทางเดียวกัน
ค.    ให้มีการจัดระบบราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
ง.    เพื่อเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการดูแลจัดการและพัฒนา
**********************************
3. การปฏิบัติในการยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    การยืมไม่สามารถติดตามทวงคืนได้ เพราะเป็นการยืมในระบบราชการ
ข.    การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้ยืมและอนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป
ค.    ผู้ยืมจะต้องแจ้งให้ทราบว่าเรื่องที่ยืมนั้น จะนำไปใช้ในราชการใด
ง.    ผู้ยืมจะต้องมอบหลักฐานการยืมให้เจ้าหน้าที่เก็บ แล้วลงชื่อรับเรื่องที่ยืมไว้ในบัตรยืมหนังสือ
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ดู ระเบียบฯงานสารบรรณ ข้อ 62
**********************************
4. ถ้าหนังสือที่สูญหายเป็นเอกสารสิทธิตามกฎหมาย หรือหนังสือสำคัญที่เป็นแสดงเอกสารสิทธิให้ดำเนินการตามข้อใด
ก.    ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง
ข.    ตั้งคณะกรมการสอบวินัย
ค.    ลงโทษผู้รับผิดชอบการเก็บหนังสือ
ง.    แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน
จ.    `ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
ดู ระเบียบฯงานสารบรรณ ข้อ 61
**********************************
5. หน้าที่ของคณะกรรมการทำลายหนังสือ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    ควบคุมการทำลายหนังสือซึ่งผู้มีอำนาจอนุมัติทำลายได้แล้ว
ข.    เสนอรายงานผลการพิจารณาพร้อมบันทึกความเห็นแย้งของคณะกรรมการ
ค.    กรณีคณะกรรมการมีความเห็นชอบว่าหนังสือฉบับใด ไม่ควรทำลายเป็นอันยุติตามมติที่ประชุม
ง.    พิจารณาหนังสือที่จะขอทำลายตามบัญชีหนังสือทำลาย
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ดู ระเบียบฯงานสารบรรณ ข้อ 68
**********************************
6. องค์ประกอบของคณะกรรมการทำลายหนังสือ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    ประธานกรรมการหนึ่งคน
ข.    แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
ค.    แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการทำลายเอกสารอย่างน้อย 1 คน
ง.    กรรมการอย่างน้อย 2 คน
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ดู ระเบียบฯงานสารบรรณ ข้อ 67
**********************************
7. ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บหนังสือสำรวจหนังสือที่ครบกำหนดอายุการจัดเก็บในปีนั้นทำลายหนังสือ ภายในกี่วันหลังสิ้นปีปฏิทิน
ก.    30 วัน
ข.    45 วัน
ค.    60 วัน
ง.    90 วัน
จ.    120 วัน
ดู ระเบียบฯงานสารบรรณ ข้อ 66
**********************************
8. รายละเอียดของบัญชีส่งมอบหนังสือครบ 25 ปี ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    วันที่ ให้ลงวัน เดือน ปี ที่จัดทำบัญชี
ข.    กระทรวง ทบวง กอง ให้ลงชื่อส่วนราชการ ที่จัดทำบัญชี
ค.    หัวหน้าหน่วยงานที่จัดทำบัญชี ให้ลงชื่อ ผู้มีอำนาจสูงสุดของหน่วยงาน
ง.    ชื่อบัญชีส่งมอบหนังสือครบ 25 ปี ให้ลงชื่อเลขของปี พุทธศักราชที่จัดทำบัญชี
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ดู ระเบียบฯงานสารบรรณ ข้อ 59
**********************************
9. หนังสืออื่น ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.    หนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้น เนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ
ข.    ข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชา เสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
ค.    หนังสือที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการผู้ใต้บังคับบัญชา
ง.    บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติใช้กระดาษตราครุฑ
จ.    ถูกทุกข้อ
ดู ระเบียบฯงานสารบรรณ ข้อ 27
**********************************
10. มาตรฐานตรา แบบพิมพ์ และซอง ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.    ขนาดตัวครุฑสูง 1 เซนติเมตร และขนาดตัวครุฑสูง 1.5 เซนติเมตร
ข.    ขนาดตัวครุฑสูง 2 เซนติเมตร และขนาดตัวครุฑสูง 1.5 เซนติเมตร
ค.    ขนาดตัวครุฑสูง 3 เซนติเมตร และขนาดตัวครุฑสูง 1.5 เซนติเมตร
ง.    ขนาดตัวครุฑสูง 3 เซนติเมตร และขนาดตัวครุฑสูง 2 เซนติเมตร
จ.    ขนาดตัวครุฑสูง 4 เซนติเมตร และขนาดตัวครุฑสูง 1.5 เซนติเมตร
ดู ระเบียบฯงานสารบรรณ ข้อ 71
**********************************
11. ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์ให้ใช้ตามแบบมีกี่ขนาด
ก.    1 ขนาด
ข.    2 ขนาด
ค.    3 ขนาด
ง.    4 ขนาด
จ.    5 ขนาด
ดู ระเบียบฯงานสารบรรณ ข้อ 71
**********************************
12. อายุการเก็บหนังสือโดยปกติให้เก็บไว้กี่ปี
ก.    ไม่น้อยกว่า 1 ปี
ข.    ไม่น้อยกว่า 5 ปี
ค.    ไม่น้อยกว่า 10 ปี
ง.    ไม่น้อยกว่า 20 ปี
จ.    ไม่น้อยกว่า 25 ปี
ดู ระเบียบฯงานสารบรรณ ข้อ 57
**********************************
13. หนังสือประชาสัมพันธ์ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    ข่าว
ข.    แถลงการณ์
ค.    ประกาศ
ง.    หนังสือตราครุฑ
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ดู ระเบียบฯงานสารบรรณ ข้อ 19 
**********************************
14. การประทับตรารับหนังสือให้กระทำตามข้อใด
ก.    ที่มุมล่างด้านซ้ายของหนังสือ
ข.    ที่มุมบนด้านซ้ายของหนังสือ
ค.    ที่มุมบนด้านขวาของหนังสือ
ง.    ที่มุมกลางของหนังสือ
จ.    ที่มุมล่างด้านขวาของหนังสือ
**********************************
15. หนังสือที่ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ เท่าที่จะทำได้เป็นหนังสือตามข้อใด
ก.    ด่วน
ข.    ด่วนมาก
ค.    ด่วนสุด
ง.    ด่วนที่สุด
จ.    ด่วนพิเศษ
**********************************
16. หนังสือที่ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันที ที่ได้รับหนังสือนั้น เป็นหนังสือตามข้อใด
ก.    ด่วน
ข.    ด่วนมาก
ค.    ด่วนสุด
ง.    ด่วนที่สุด
จ.    ด่วนพิเศษ
**********************************
17. ทุกปีปฏิทินให้ส่วนราชการจัดส่งหนังสือที่มีอายุครบตามที่กำหนดไว้นับจากวันที่ได้จัดทำขึ้น พร้อมทั้งบัญชีส่งมอบหนังสือให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรภายในวันที่เท่าใด
ก.    30 กันยายนของปีถัดไป
ข.    31 ตุลาคมของปีถัดไป
ค.    30 พฤศจิกายนของปีถัดไป
ง.    31 ธันวาคมของปีถัดไป
จ.    31 มกราคมของปีถัดไป
**********************************
18. หากท่านได้รับมอบหมายจากเทศบาลตำบลก้าวหน้า ให้จัดทำหนังสือภายนอกถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะต้องมีคำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างไร
ก.    เรียน – ขอแสดงความนับถือ
ข.    เรียน – ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
ค.    เรียน – ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
ง.    กราบเรียน – ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
จ.    กราบเรียน – ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
**********************************
19.  หากองค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งปัน มอบหมายให้ท่านทำหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน จะต้องมีคำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างไร
ก.    เรียน – ขอแสดงความนับถือ
ข.    เรียน – ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
ค.    เรียน – ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
ง.    กราบเรียน – ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
จ.    กราบเรียน – ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
**********************************
20. คำขึ้นต้นและคำลงท้ายเมื่อมีหนังสือถึงสมเด็จพระสังฆราช ใช้คำอย่างไร
ก.    นมัสการ – ขอนมัสการด้วยความเคารพ
ข.    นมัสการ – ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
ค.    นมัสการ – ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ง.    กราบทูล – ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
จ.    กราบทูล - ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
**********************************
21. กระทรวงมหาดไทย มีรัฐวิสาหกิจที่สังกัดภายใต้กำกับดูแลจำนวนกี่หน่วยงาน
ก.    3 หน่วยงาน
ข.    4 หน่วยงาน
ค.    5 หน่วยงาน
ง.    6 หน่วยงาน
จ.    7 หน่วยงาน
**********************************
22. อำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ระบุในกฎหมายข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    ความมั่นคงภายใน
ข.    การทะเบียนราษฎร
ค.    การพัฒนาชุมชน
ง.    การเลือกตั้ง
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
**********************************
23.ข้อใดเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
ก.    ตำบล
ข.    อำเภอ
ค.    เมืองพัทยา
ง.    จังหวัด
จ.    หมู่บ้าน
**********************************
24. การจัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาค แบ่งเป็นตามข้อใด
ก.    จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ
ข.    จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล
ค.    อำเภอ จังหวัด
ง.    จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
จ.    หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด
**********************************
25. ผู้ดำรงตำแหน่งประธาน ก.พ.ร. คือตำแหน่งใด
ก.    เลขาธิการ ก.พ.ร.
ข.    เลขาธิการ ก.พ.
ค.    ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ง.    นายกรัฐมนตรี
จ.    นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
**********************************
26. ก.พ.ร. มีชื่อเต็มว่าอย่างไร
ก.    คณะกรรมการพัฒนาราชการพลเรือน
ข.    คณะกรรมการพัฒนาข้าราชการ
ค.    คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ง.    คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
จ.    สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
**********************************
27. บุคคลใด เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ
ก.    ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.    นายอำเภอ
ค.    ท้องถิ่นอำเภอ
ง.    ปลัดอำเภอ
จ.    หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
**********************************
28. การตั้ง การยุบ เปลี่ยนแปลง เขตอำเภอให้ออกเป็นกฎหมายใด
ก.    มติคณะรัฐมนตรี
ข.    พระราชกฤษฎีกา
ค.    กฎกระทรวง
ง.    พระราชบัญญัติ
จ.    ประกาศกระทรวงมหาดไทย
**********************************
29. ผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการจังหวัดในจังหวัด ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    ท้องถิ่นจังหวัด
ข.    ปลัดจังหวัด
ค.    ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด
ง.    รองผู้ว่าราชการจังหวัด
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
30. อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    เสนองบประมาณต่อกระทรวง แล้วรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
ข.    ประสานงานกับทหาร – ตุลาการ – อัยการ – มหาวิทยาลัย – สตง. – ครู
ค.    กำกับดูแล ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ
ง.    บริหารราชการตามคำแนะนำและชี้แจงของผู้ตรวจการกระทรวง
จ.    กำกับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
**********************************
31. ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ข.    ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมเป็นคณะกรมการจังหวัดด้วย
ค.    ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
ง.    การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จ.    ให้รวมท้องที่หลายๆอำเภอขึ้นเป็นจังหวัด
**********************************
32. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.พ.ร. มีจำนวนตามข้อใด
ก.    ไม่เกิน 3 คน
ข.    ไม่เกิน 5 คน
ค.    ไม่เกิน 7 คน
ง.    ไม่เกิน 9 คน
จ.    ไม่เกิน 10 คน
**********************************
33. ผู้รักษาตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553 คือใคร
ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข.    รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ง.    รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
จ.    นายกรัฐมนตรี
**********************************
34. การรวม หรือการโอน ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณต้องตรวจสอบมิให้การกำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกี่ปี
ก.    1 ปี
ข.    2 ปี
ค.    3 ปี
ง.    4 ปี
จ.    5 ปี
**********************************
35. การจัดตั้ง การรวมหรือ การโอน ส่วนราชการ ที่มีผลในการกำหนดอัตราข้าราชการขึ้นใหม่ต้องตราเป็นกฎหมายใด
ก.    ประกาศกระทรวง
ข.    กฎกฎกระทรวง
ค.    พระราชกำหนด
ง.    พระราชกฤษฎีกา
จ.    พระราชบัญญัติ
**********************************
36. การรวม หรือการโอน กระทรวง  ทบวง กรม ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่ม ให้ตราเป็นกฎหมายใด
ก.    พระราชบัญญัติ
ข.    พระราชกฤษฎีกา
ค.    กฎกระทรวง
ง.    พระราชกำหนด
จ.    ประกาศกระทรวง
**********************************
37. สำนักนายรัฐมนตรีมีเป็นฐานะตามข้อใด
ก.    ส่วนราชการ
ข.    ทบวง 
ค.    กรม
ง.    กระทรวง
จ.    องค์กรอิสระ
**********************************
38.ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายในสำนักนายกรัฐมนตรี
ก.    ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข.    รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง.    รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
จ.    นายกรัฐมนตรี
**********************************
39. ผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวง นอกเหนือจากสำนักนายกรัฐมนตรี คือใคร
ก.    ปลัดกระทรวง
ข.    อธิบดี
ค.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ง.    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมาย
จ.    นายกรัฐมนตรี
**********************************
40.ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนะทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ข.    ปลัดกระทรวง
ค.    อธิบดี
ง.    ผู้อำนวยการกอง
จ.    เลขานุการรัฐมนตรี
**********************************
41. สำนักงานรัฐมนตรี ตำแหน่งใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ
ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ข.    ปลัดกระทรวง
ค.    อธิบดี
ง.    เลขาธิการรัฐมนตรี
จ.    เลขานุการรัฐมนตรี
**********************************
42. ตำแหน่งใด ไม่เป็นข้าราชการเมือง
ก.    เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ข.    เลขานุการรัฐมนตรี
ค.    รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ง.    เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
จ.    ปลัดกระทรวง
**********************************
43. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ก.    ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข.    รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ค.    เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ง.    เลขานุการรัฐมนตรี
จ.    เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
**********************************
44. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตำแหน่งใดเป็นผู้บังคับบัญชา
ก.    ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข.    เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ค.    เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ง.    เลขาธิการ ก.พ.
จ.    เลขานุการรัฐมนตรี
**********************************
45. ในระหว่างที่คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เพราะเหตุความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามที่กฎหมายกำหนด จะต้องดำเนินการตามข้อใด
ก.    ให้นายรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทน
ข.    ให้นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติราชการแทน
ค.    ให้รองนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน
ง.    ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน
จ.    ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทน
**********************************
46. ตำแหน่งใด เป็นผู้บังคับบัญชาในสำนักงานปลัดกระทรวง และรับผิดชอบในการปฎิบัติราชการราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง
ก.    อธิบดี
ข.    เลขาธิการรัฐมนตรี
ค.    ปลัดกระทรวง
ง.    เลขาธิการรัฐมนตรี
จ.    เลขานุการรัฐมนตรี
**********************************
47. ก.ธ.จ. ประกอบด้วยตำแหน่งใด เป็นประธานซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัด
ก.    นายกรัฐมนตรี
ข.    รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ค.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง.    ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
จ.    ปลัดกระทรวง
**********************************
48. ตำแหน่งใดต่อไปนี้ เป็นข้าราชการการเมือง
ก.    รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข.    รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร
ค.    เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ง.    อธิบดี
จ.    เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
**********************************
49. หากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะแบ่งส่วนราชการ ต้องตราเป็นกฎหมายใด
ก.    พระราชบัญญัติ
ข.    พระราชกำหนด
ค.    พระราชกฤษฎีกา
ง.    ประกาศกระทรวง
จ.    กฎกระทรวง
**********************************
50. ในการมอบอำนาจของส่วนราชการตามพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้มอบอำนาจพิจารณาถึงเรื่องต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
ข.    ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ 
ค.    การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ
ง.    การแบ่งเบาภาระงานของผู้มอบอำนาจ
จ.    ผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจตามวัตถุประสงค์ของการมอบอำนาจ
**********************************
51. การออกคำสั่งและการให้ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ้นจากตำแหน่งต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อน
ก.    คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ข.    ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค.    นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง.    คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
จ.    คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
**********************************
52. คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีทั้งหมดกี่คน (*โจทย์จริงๆ ต้องสังเกตดีๆมีคำว่า “กลาง”หรือไม่ ถ้ามีหรือไม่มี คำตอบจะต่างกันน่ะครับ)
ก.    11 คน
ข.    12 คน
ค.    14 คน
ง.    18 คน
จ.    27 คน
**********************************
53. ใครเลขานุการคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก.    ผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ข.    ข้าราชการของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด
ค.    ท้องถิ่นจังหวัด
ง.    ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
จ.    นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
**********************************
54. คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.    เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ข.    ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ค.    มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
ง.    มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 90 วัน
จ.    เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
**********************************
55. การออกคำสั่งแต่งตั้งและการให้ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง เป็นอำนาจของใคร
ก.    คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ข.    คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค.    นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง.    ผู้ว่าราชการจังหวัด
จ.    ท้องถิ่นจังหวัด
**********************************
56. เลขานุการคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือตำแหน่งใด
ก.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ข.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ค.    รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ง.    ข้าราชการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
จ.    ผู้อำนวยการสำนัก
**********************************
57. ตำแหน่งใดเป็นประธานกรรมการ ของคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด 
ก.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ข.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ค.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งได้รับมอบหมาย
จ.    นายกรัฐมนตรี
**********************************
58. คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีจำนวนทั้งหมดกี่คน
ก.    12 คน
ข.    18 คน
ค.    24 คน
ง.    27 คน
จ.    30 คน
**********************************
59. เลขานุการคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นข้าราชการประเภทใด
ก.    ข้าราชการท้องถิ่น
ข.    ข้าราชการพลเรือน
ค.    ข้าราชการเมือง
ง.    ถูกเฉพาะข้อ ก. และข้อ ข.
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**********************************
60. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านต่อไปนี้ ยกเว้น
ก.    ด้านการบริหารงานบุคคล
ข.    ด้านอื่น ที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค.    ด้านรัฐศาสตร์
ง.    ด้านการบริหารท้องถิ่น
จ.    ด้านการบริหารและจัดการ
**********************************
61. คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย
ข.    ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
ค.    ให้ข้อคิดเห็นหรือให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง.    กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ วิธีการบริหาร และการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด 
จ.    กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน
**********************************
62. ผู้ดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดคือใคร
ก.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ข.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.    ผู้ว่าราชการจังหวัด
ง.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จ.    เลขาธิการ ก.พ.
**********************************
63. การกำหนดมาตรฐานทั่วไปให้คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนดให้เหมาะสมกับลักษณะการบริหารและอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่จะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานกลางเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลที่ใครหรือหน่วยงานใดกำหนด
ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ง.    คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
จ.    คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
**********************************
64. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (จังหวัด) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก.    4 ปี
ข.    4 ปี วาระเดียว
ค.    4 ปี และอาจได้รับคัดเลือกอีกได้
ง.    6 ปี วาระเดียว
จ.    6 ปี และอาจได้รับคัดเลือกอีกได้
**********************************
65. ประธานกรรมการ ของคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (จังหวัด) (*โจทย์จริงๆอาจไม่มีจังหวัดกำกับ ต้องสังเกตมีคำว่า “กลาง”หรือไม่ เพราะคำตอบจะต่างกันทันที)
ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ง.    ผู้ว่าราชการจังหวัด
จ.    ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบหมาย
**********************************
66. คณะกรรมการพนักงานเทศบาล มีคณะกรรมการทั้งหมดกี่คน
ก.    12 คน
ข.    16 คน
ค.    18 คน
ง.    24 คน
จ.    30 คน
**********************************
67. การออกคำสั่งแต่งตั้งและการให้พนักงานเทศบาลตำบล พ้นจากตำแหน่งเป็นอำนาจของผู้ใด
ก.    นายกเทศมนตรี
ข.    นายกเทศมนตรีตำบล
ค.    ผู้ว่าราชการจังหวัด
ง.    ท้องถิ่นจังหวัด
จ.    คณะกรรมการพนักงานเทศบาล
**********************************
68. การออกคำสั่งแต่งตั้งและการให้พนักงานเทศบาลพ้นจากตำแหน่งต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อน
ก.    ท้องถิ่นจังหวัด
ข.    ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค.    นายกเทศมนตรี
ง.    คณะกรรมการพนักงานเทศบาล
จ.    คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
**********************************
69. กรรมการผู้ทรงคุณในคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดลาออก ต้องยื่นหนังสือต่อใคร
ก.    ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.    ประธานกรรมการของคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
ง.    ประธานกรรมการของคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
จ.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
**********************************
70. เลขานุการคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ก.    ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งพนักงานเทศบาลคนหนึ่งในจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
ข.    ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลคนหนึ่งในจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
ค.    ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลคนหนึ่งในจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
ง.    ให้ท้องถิ่นจังหวัดแต่งตั้งข้าราการของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนั้นคนหนึ่งในจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
จ.    ให้ท้องถิ่นจังหวัดแต่งตั้งข้าราการของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนั้นคนหนึ่งในจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
**********************************
71. ใครเป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการจัดให้มีการเลือกผู้แทนเทศบาลในคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ง.    ผู้ว่าราชการจังหวัด
จ.    ท้องถิ่นจังหวัด
**********************************
72. ผู้แทนเทศบาลของคณะกรรมการพนักงานเทศบาล จำนวนกี่คน
ก.    2 คน
ข.    3 คน
ค.    5 คน
ง.    6 คน
จ.    9 คน
**********************************
73. คณะกรรมการพนักงานเทศบาล กรรมการจากหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจำนวนกี่คนจากส่วนราชการในจังหวัดนั้น ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดว่าเป็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ก.    3 คน
ข.    4 คน
ค.    5 คน
ง.    6 คน
จ.    9 คน
**********************************
74. ตำแหน่งใดต่อไปนี้ ไม่ได้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งของคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
ก.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ข.    เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ค.    ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ง.    อธิบดีกรมบัญชีกลาง
จ.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
**********************************
75. คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล มีกรรมการโดยตำแหน่งกี่คน
ก.    3 คน
ข.    4 คน
ค.    5 คน
ง.    6 คน
จ.    7 คน
**********************************
76. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านใด ยกเว้น
ก.    ด้านระบบราชการ
ข.    ด้านการบริหารงานบุคคล
ค.    ด้านบริหารและจัดการ
ง.    ด้านกฎหมาย
จ.    ด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลของเทศบาล
**********************************
77. ตำแหน่งใด เป็นผู้ดำเนินการให้มีการคัดเลือกผู้แทนเทศบาล ของคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
ก.    ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ค.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ง.    ประธานกรรมการของคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
จ.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
**********************************
78. วิธีการคัดเลือกผู้แทนเทศบาลและผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ใครกำหนด
ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ง.    คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
จ.    คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
**********************************
79. สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิกสภาเมืองพัทยาจำนวนกี่คน
ก.    12 คน
ข.    18 คน
ค.    24 คน
ง.    30 วัน

ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 9
**********************************
80. การจัดตั้งเปลี่ยนแปลงเขตเมืองพัทยาทำเป็นกฎหมายใด
ก.    พระราชบัญญัติ
ข.    พระราชกำหนด
ค.    มติคณะรัฐมนตรี
ง.    พระราชกฤษฎีกา
จ.    ประกาศกระทรวงมหาดไทย

ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 7
**********************************
81. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ฉบับแรกมีผลบังคับเมื่อใด
ก.    ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข.    ตั้งแต่วันที่ลงนามโปรดเกล้าเป็นต้นไป
ค.    ตั้งแต่วันที่ลงนามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ง.    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2542
จ.    ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 มาตรา 2 และราชกิจจานุเบกษาประกอบ
**********************************
82. ผู้ใดไม่มีสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาเมืองพัทยา
ก.    มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
ข.    มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยาเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
ค.    มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
ง.    อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
จ.    ผู้ต้องหาคดีอาญา
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 10 และมาตรา 11
**********************************
83. ผู้ใดไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา
ก.    นายตะวัน มีอายุไม่ต่ำยี่สิบหาปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ข.    นายไข่ตุ้ม มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
ค.    นายโชคดี มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยาเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง
ง.    นายมีชัย มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยาในวันสมัครรับเลือกตั้งและได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินให้เมืองพัทยาในปีก่อนปีที่สมัครหนึ่งปี
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 12 ดูดีๆ มีข้อย่อยที่ต้องสังเกต
**********************************
85. ผู้ใดไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา
ก.    นายตะวัน มีอายุไม่ต่ำยี่สิบหาปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ข.    นายไข่ตุ้ม มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
ค.    นายโชคดี มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยาเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง
ง.    นายมีชัย มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเมืองพัทยาในวันสมัครรับเลือกตั้งและได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินให้เมืองพัทยาในปีก่อนปีที่สมัครหนึ่งปี
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 12 ดูดีๆ มีข้อย่อยที่ต้องสังเกต
**********************************
86. เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาเมืองพัทยาว่างลงให้มีการเลือกตั้งสมาชิกขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในกี่วัน
ก.    30 วัน
ข.    45 วัน
ค.    60 วัน
ง.    90 วัน
จ.    120 วัน
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 20
**********************************
87. สมาชิกสภาเมืองพัทยาว่างลงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกจากจำนวนยี่สิบสี่คนต้องทำอย่างไร
ก.    นายกเมืองพัทยางดการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีสมาชิกคบสภาเมืองพัทยา
ข.    ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีสั่งให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่แทนตำแหน่งที่ว่าง
ค.    ให้สมาชิกที่ลาออกรักษาการในตำแหน่งที่ลาออกจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่
ง.    ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีรายงานเสนอรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งยุบสภาเมืองพัทยา
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 21 วรรคท้าย
**********************************
88. รองประธานสภาเมืองพัทยา มีจำนวนกี่คน
ก.    1 คน
ข.    2 คน
ค.    3 คน
ง.    4 คน
จ.    ขึ้นอยู่กับสมาชิกสภาเมืองพัทยา
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 22
**********************************
89. กรณีประธานสภาเมืองพัทยาหรือรองประธานสภาเมืองพัทยาว่างลงให้สภาเมืองพัทยาเลือกสมาชิกขึ้นเพื่อดำรงตำแหน่งที่ว่างแทนภายในกี่วัน ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ก.    7 วัน
ข.    7 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ค.    15 วัน
ง.    15 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
จ.    15 วันนับแต่วันเริ่มประชุม
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 25
**********************************
90. ถ้าผู้ทำหน้าที่ประธานสภาเมืองพัทยาประชุมแล้วสั่งปิดประชุมก่อนหมดระเบียบวาระการประชุมต้องดำเนินการประชุมอย่างไร
ก.    สมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกเท่าที่มีอยู่เสนอให้เปิดประชุมได้
ข.    สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกเท่าที่มีอยู่เสนอให้เปิดประชุมได้
ค.    สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่เสนอให้เปิดประชุมได้
ง.    สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่เสนอให้เปิดประชุมได้
จ.    สมาชิกจำนวนไม่น้อยหนึ่งในห้าของสมาชิกเท่าที่มีอยู่เสนอให้เปิดประชุมได้
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 26 วรรคท้าย
**********************************
91. เลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา และผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่ง ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาเมืองพัทยา
ข.    ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
ค.    ประธานสภาเมืองพัทยามีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ง.    ประธานสภาเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่ง
จ.    ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาเมืองพัทยา
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 27
**********************************
92. ใครเป็นเลขานุการสภาเมืองพัทยา
ก.    สมาชิกสภาเมืองพัทยาตามมติสภาเมืองพัทยา
ข.    ปลัดเมืองพัทยา
ค.    ปลัดเมืองพัทยาตามมติสภาเมืองพัทยา
ง.    หัวหน้าสำนักปลัด
จ.    เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 28
**********************************
93. ภายในกี่วันนับแต่วันเลือกตั้งทั่วไปของสมาชิกสภาเมืองพัทยาที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเรียกประชุมสภา
ก.    7 วัน
ข.    15 วัน
ค.    30 วัน
ง.    45 วัน
จ.    60 วัน
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 29
**********************************
94. การกำหนดสมัยประชุมสภาเมืองพัทยากำหนดให้สมัยประชุมกี่สมัย
ก.    ไม้น้อยกว่าสี่สมัย
ข.    ไม่น้อยกว่าสองสมัย
ค.    ไม่น้อยกว่าสองสมัยไม่เกินสมัย
ง.    ไม่น้อยกว่าสองสมัยไม่เกินสี่สมัย
จ.    สองสมัยไม่เกินสี่สมัย
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 29
**********************************
95. สมัยประชุมสามัญของสภาเมืองพัทยากำหนดไว้กี่วัน
ก.    7 วัน
ข.    15 วัน
ค.    30 วัน
ง.    45 วัน
จ.    60 วัน
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 29
**********************************
96. สมัยประชุมวิสามัญของเมืองพัทยากำหนดไว้กี่วัน
ก.    7 วัน
ข.    15 วัน
ค.    30 วัน
ง.    45 วัน
จ.    60 วัน
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 29
**********************************

97. ข้อใดกล่าวถูกต้อง กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เรียกประชุมสภาเมืองพัทยา
ก.    ปลัดเมืองพัทยาทำหน้าที่ประธานชั่วคราว
ข.    สมาชิกเลือกกันเองเพื่อทำหน้าที่ประธาน
ค.    รองประธานสภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ประธาน
ง.    ประธานสภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ประธาน
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 31 วรรคท้าย
**********************************
98. สมาชิกสภาเมืองพัทยา ต้องมีสมาชิกมาประชุมเท่าใดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ก.    ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก
ข.    ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ค.    ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
ง.    ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิก
จ.    ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 32 
**********************************
99. สมาชิกสภาเมืองพัทยาจำนวนเท่าใด ร้องขอให้ประชุมลับสภาเมืองพัทยา
ก.    ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ข.    ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ค.    ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ง.    ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
จ.    ไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 35 (อย่าลืมไปคิดหารคำนวณด้วยโจทย์อาจกำหนดตัวเลขมาให้เป็นตัวเลือก เช่น มีสมาชิก 18 คน หนึ่งในสี่ ต้องใช้กี่คน)
**********************************
100. การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปของสภาเมืองพัทยาใช้จำนวนสมาชิกจำนวนเท่าใด
ก.    ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ข.    ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ค.    ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ง.    ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
จ.    ไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ดู พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มาตรา 37 (อย่าลืมไปคิดหารคำนวณด้วยโจทย์อาจกำหนดตัวเลขมาให้เป็นตัวเลือก เช่น มีสมาชิก 24 คน หนึ่งในสาม ต้องใช้กี่คน)
**********************************
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [101.51.48.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :