วันท้องถิ่นไทย 18 มีนาคม ของทุกปี |
|
อ้างอิง
อ่าน 774 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
ประพันธ์ เวารัมย์
|

ประวัติวันท้องถิ่นไทย
ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบประกาศให้วันที่ 18 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันท้องถิ่นไทย” ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอมา เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกคร องส่วนท้องถิ่น และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพร ะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีต่อการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
ทั้งนี้ การกำหนดวันท้องถิ่นไทยให้ตรงกับวันที่ 18 มีนาคมของทุกปี มีแนวคิดมาจากการที่ จังหวัดสมุทรสาคร จัดงานประเพณี 18 มีนาคม สุขาภิบาลท่าฉลอม โดยมีจุดกำเนิดมาจากการที่สุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแร กของประเทศไทย และมีการจัดงานเป็นประจำทุกปี
“สืบเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสในวันประชุมเสนาบดีภายหลังเสด็จฯ ประพาสเมืองนครเขื่อนขันธ์ ว่าโสโครกเหมือนกับตลาดท่าจีน (ท่าฉลอม) นี่คือจุดพัฒนาจนก่อกำเนิดสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย”
ท่าฉลอม เดิมเป็นตำบลหนึ่งอยู่ในการปกครองของอำเภอเมืองสมุทรสาคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนตรงข้ามกับตำบลมหาชัย ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดสมุทรสาคร ในอดีตการคมนาคมระหว่างตำบลท่าฉลอมกับตำบลมหาชัยมีอยู่ทางเดียว คือต้องนั่งเรือข้ามแม่น้ำท่าจีนซึ่งมีท่าเรืออยู่หน้าเมือง จึงเป็นที่มาของเพลง “ท่าฉลอม กับมหาชัย” ที่ครูเพลงชาลี อินทรวิจิตร แต่งให้ ชนินทร์ นันทนาคร ร้องจนโด่งดังเป็นเพลงอมตะที่ชาวสมุทรสาครและคนทั่วไปรู้จักเพล งนี้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันถนนและสะพานตัดข้ามแม่น้ำท่าจีนเชื่อมต่อถนนพระราม 2 ถึงท่าฉลอม จึงทำให้การคมนาคมมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
สุขาภิบาลท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีพระบรมราชโองการประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลตลาดท่าฉลอม พร้อมกับพระราชทานชื่อถนนว่า“ถนนถวาย” ซึ่งประชาชนชาวตำบลท่าฉลอมได้ร่วมกันสละที่ดินและเงินสร้างไว้ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2448 จนถึงวันนี้ก็นับเป็นเวลาได้ 110 ปี แล้ว (ปี 2558)
ย้อนอดีต ไปในปี พ.ศ.2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริที่จะกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. (รัตนโกสินทร์ศกที่) 116 ขึ้น ภายหลังที่ทรงส่งคนไปศึกษาดูงานการปกครองในแถบประเทศยุโรป และได้เริ่มทำการทดลองศึกษาขึ้นในกรุงเทพมหานคร สุขาภิบาลนี้ในชั้นต้นให้มีหน้าที่ทำลายขยะมูลฝอย การจัดเก็บที่ถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะของประชาชนคนทั่วไป จัดการห้ามต่อไปภายหน้าอย่าได้ปลูกสร้างหรือซ่อมโรงเรือนที่จะเ ป็นเหตุให้เกิดโรค ขนย้ายสิ่งโสโครกและสิ่งรำคาญของมหาชนไปให้พ้นเสีย การบริหารงานของสุขาภิบาลกรุงเทพฯ นี้ ดำเนินการโดยข้าราชการทั้งหมด โดยมีเสนาบดีกระทรวงนครบาลเป็นผู้กำหนด เมื่อพิจารณารูปแบบการปกครองแล้วจึงไม่อาจกล่าวได้ว่า สุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 เป็นการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากประชาชนมิได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด เป็นการดำเนินการโดยข้าราชการและใช้จ่ายงบประมาณจากส่วนกลาง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสเมืองนครเขื่อนขันธ์ (เมืองพระประแดง สมุทรปราการ) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ร.ศ.124 ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพตลาดเมืองนครเขื่อนขันธ์สกปรกมาก และทรงมีพระราชดำรัสในที่ประชุมเสนาบดีว่า “โสโครกเหมือนกับตลาดท่าจีน” (ตลาดท่าฉลอม) จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ร้อนพระทัยมากทรงคิดหาวิธีร่วมกับ พระยาพิไชยสุนทร ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร ทางพระยาพิไชยสุนทรจึงได้เชิญกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพ่อค้าชาวจีนในตลาดท่าฉลอมมาประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาหาทาง ปรับปรุงแก้ไข ซึ่งได้ข้อสรุปว่าประชาชนและพ่อค้าชาวจีน ยินดีที่จะออกเงินซื้ออิฐปูถนน แต่ขอให้ทางผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ทำถนน โดยใช้แรงงานนักโทษทำการปรับพื้นดินและเก็บกวาดขยะมูลฝอยขนไปเท ทิ้งเป็นครั้งคราว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จออกตรวจดูการดำเนินงานก่อสร้างถนนในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ.124 ถนนสายนี้ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้เรี่ยไรกันเป็น จำนวนเงิน 5,472 บาท เป็นถนนปูอิฐกว้าง 2 วา ยาว 11 เส้น 14 วา และทรงมีพระดำริว่า ถนนสายนี้เป็นของราษฎรได้ลงทุนเสียสละเงินเป็นจำนวนมาก หากไม่มีแผนรองรับการซ่อมแซมไว้ให้ดีแล้วอาจชำรุดเสียหาย ทรงเห็นเป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้ภาษีโรงร้านให้เป็นภาษีสำหรับสุข าภิบาล จึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานเงินภาษีโรงร้านตลาดท่าฉลอมมาใช้ทำน ุบำรุงท้องถิ่นในกิจการ 3 ประเภท คือ ซ่อมแซมถนน จุดโคมไฟให้มีแสงสว่างในเวลาค่ำคืน และจัดจ้างคนงานสำหรับกวาดขยะมูลฝอย
ข้อเสนอในการใช้ภาษีโรงร้านนี้ ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หั ว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2448 จึงนับได้ว่าเป็นวันกำเนิดสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีคณะกรรมบริหารชุดแรกประกอบด้วย 1.หลวงพัฒนาการภักดี กำนันตำบลท่าฉลอม 2.ขุนพิจารณ์นรกิจ 3.ขุนพินิจนรภาร 4.จีนพัก 5.จีนศุข 6.จีนเน่า 7.จีนอู๊ด และ 8.จีนโป๊ะ ผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองสมุทรสาครโดยทางรถไฟเพื่อทรงเปิ ด “ถนนถวาย” ที่ประชาชนชาวตำบลท่าฉลอมมีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันเสียสละเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ต่อมาจึงได้ถือเอาวันที่ 18 มีนา
|
|
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.72.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
|