สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714750
แสดงหน้า2190263
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)

แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)
อ้างอิง อ่าน 1966 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)
รวมรวมโดย ประพันธ์ เวารัมย์
*************************
วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล
    ใช้วัดความสามารถทางด้านความมีเหตุผล (Reasoning) ด้านตัวเลข (Numerical) และด้านภาษา (verbal)
1. ความสามารถทางด้านความมีเหตุผล
    เป็นการวัดความสามารถในการสรุปเหตุผล และหาความสัมพันธ์จากคำ ข้อความ สัญลักษณ์ และรูปภาพที่กำหนดให้ ข้อสอบจะประกอบด้วยรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1.1    อุปมาอุปไมย
อุปมาอุปไมย หมายถึง การเปรียบเทียบกัน ซึ่งเป็นการวัดความที่มีเหตุผลมีผลจากการหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่กำหนดให้
วิธีการพิจารณาข้อสอบแบบอุปมาอุปไมย
    อุปมาอุปไมยเป็นการเปรียบเทียบระหว่างของสองสิ่ง หากความสัมพันธ์แนวนอนไม่ได้ให้หาความสัมพันธ์แนวตั้ง ด้านหน้าไปหลังหรือด้านหลังมาหน้า ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบ โดยมีเหตุผลจากการหาความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ที่โจทย์ได้กำหนดให้ ดังนั้นเมื่อจะเริ่มทำข้อสอบจึงต้องเข้าใจคำ ความหมายของสิ่งโจทย์ให้ก่อนจึงจะตอบข้อสอบได้ แต่ทั้งนี้ข้อสอบแบบอุปมาอุปไมยไม่ได้ ให้หาคำที่มีความหมายเหมือนกันเท่านั้น อาจเป็นหมายตรงกันข้าม แต่สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจความสัมพันธ์กันของสิ่งที่โจทย์กำหนดมา ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องสอดคล้องกับคำคู่แรก (อุปไมย) ที่โจทย์กำหนด เพื่อตอบคำถามให้สมบูรณ์ อุปมาอุปไมยประกอบด้วยคำที่กำหนดให้เป็นไปได้ทั้งคำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ ฯลฯ โดยคำคู่แรกจะมีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่ง กับคำที่จะต้องนำมาตอบ (อุปมา) โดยแนวข้อสอบมีดังนี้
(1) นก : กรง >>>>> ? : ?
ก.    ไก่ : เล้า
ข.    วัว : คอก
ค.    นักโทษ : คุก
ง.    คนไข้ : โรงพยาบาล
จ.    ปลา : ตู้ปลา
****************************************************************
(2) สุนัข : กลัวน้ำ >>>>> ? : ?
ก.    ยุง : ไข้เลือดออก
ข.    คน : พิษสุราเรื้อรัง
ค.    อหิวาต์ : ท้องร่วง
ง.    ตะปู : บาดทะยัก
จ.    ปอด : วัณโรค
****************************************************************
(3) บุหรี่ : ขี้บุหรี่ >>>>> ? : ?
ก.    ไม้ : ถ่าน
ข.    ดินสอ : ยางลบ
ค.    ปากา : หนังสือ
ง.    มะม่วง : มะขาม
จ.    รองเท้า : ถุงเท้า
****************************************************************
(4) มัธยม : อุดมศึกษา >>>>> ? : ?
ก.    ฆราวาส : พระ
ข.    พยาบาล : แพทย์
ค.    น้ำเย็น : น้ำอุ่น
ง.    ธรรม : ความดี
จ.    ปีจอ : ปีกุน
****************************************************************
(5) เปื้อน : สบู่ >>>>> ผู้ต้องหา : ?
ก.    ขัง
ข.    หนี
ค.    ต่อสู้
ง.    สอบสวน
จ.    ลงโทษ
****************************************************************
(6) เริ่ม : จบ >>>>> สอบ : ?
ก.    คะแนน
ข.    ได้
ค.    คิด
ง.    ตัดสิน
จ.    เหนื่อย
****************************************************************
(7) วัว : เกวียน >>>>> ? : ?
ก.    รถยนต์ : ล้อ
ข.    เรือ : เครื่องยนต์
ค.    ไม้ซุง : ช้าง
ง.    หัวรถจักร : รถไฟ
จ.    รถม้า : ม้า
****************************************************************
(8) พ่อ : ลูก >>>>> ? : ?
ก.    ตา : เหลน
ข.    ตา : ยาย
ค.    ปู่ : ย่า
ง.    หลาน : น้า
จ.    หลาน : เหลน
****************************************************************
(9) ภิกษุ : บาทหลวง >>>>> ? : ?
ก.    ปู่ : ตา
ข.    ตา : หลาน
ค.    ลุง : อา
ง.    ย่า : ยาย
จ.    พี่ : น้อง
****************************************************************
(10) BIN : NIB >>>>> ? : ?
ก.    BOX : OXB
ข.    INK : KIN
ค.    SIT : TOS
ง.    SUB : BUS
จ.    ABC : BCA
****************************************************************
เฉลยข้อสอบ ข้อ 1 - 10
(1) ตอบ ข้อ จ. ปลา : ตู้ปลา 
     อธิบาย นกเลี้ยงไว้เพื่อขายหรือเพื่อความเพลิดเพลิน ต้องใช้กรงขังเอาไว้ เช่นเดียวกับปลาต้องใช้ตู้เลี้ยงปลา
(2) ตอบ ข้อ ก. ยุง : ไข้เลือดออก 
     อธิบาย สุนัขเป็นพาหะของโรคกลัวน้ำ เช่นเดียวกับ ยุงเป็นพาหะของไข้เลือดออก
(3) ตอบ ข้อ ก. บุหรี่ : ขี่บุหรี่ 
     อธิบาย บุหรี่ เมื่อจุดไฟสูบจะกลายเป็นขี้บุหรี่ เช่นเดียวกันกับไม้ เมื่อถูกเผากลายเป็นถ่าน
(4) ตอบ ข้อ จ. ปีจอ : ปีกุน
     อธิบาย ข้อ จ. เมื่อเรียนระดับมัธยม ระดับที่เรียนต่อไป คือ อุดมศึกษา เช่นเดียวกับ ปีจอซึ่งปีอยู่ถัดไปปีกุน
(5) ตอบ ข้อ จ. ลงโทษ 
     อธิบาย เมื่อเกิดรอยเปื้อนเราใช้สบู่ล้างออกได้เช่นเดียวกับนักโทษ
(6) ตอบ ข้อ ง. ตัดสิน 
     อธิบาย เมื่อมีการเริ่มต้นแล้ว ก็จะมีการสิ้นสุดลงคือจบ และเมื่อมีการสอบเสร็จแล้ว จะมีการตัดสินได้หรือตก ต่อไป
(7) ตอบ ข้อ ง. หัวรถจักร : รถไฟ 
     อธิบาย วัวใช้ลากเกวียน ส่วนหัวรถจักรใช้ลากรถไฟ
(8) ตอบ ข้อ ก. ตา : เหลน 
     อธิบาย พ่อ (เพศชาย) ลูก (ไม่สามารถระบุเพศ) ส่วนตา (เพศชาย) เหลน (ไม่สามารถระบุเพศ) 
    เครือญาติแบบเพศแบ่งเป็น 3 ลักษณะ
    1. เพศชาย เช่น บิดา (พ่อ) ลุง ปู่ เขย เป็นต้น
    2. เพศหญิง เช่น มารดา (แม่) ยาย ย่า สะใภ้ เป็นต้น
    3. ไม่สามารถระบุเพศซึ่งเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เช่น หลาน เหลน น้า อา เป็นต้น
    ส่วนนอกเหนือจาก 3 ลักษณะคือ เครือญาติแบบผู้สืบสายโลหิต คือ พี่ น้อง / พ่อ อา / แม่ น้า เป็นต้น
(9) ตอบ ข้อ ก. ปู่ : ตา 
     อธิบาย ภิกษุ (เพศชาย) บาทหลวง (เพศชาย) เช่นเดียวกับ ปู่ (เพศชาย) ตา (เพศชาย)
 (10) ตอบ ข้อ ง. SUB : BUS 
     อธิบาย การสลับตัวอักษร หน้า กลาง หลัง BIN : NIB ไม่ต้องคำนึงถึงความหมาย
****************************************************************
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.72.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :