สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2014
อัพเดท11/07/2015
ผู้เข้าชม1714784
แสดงหน้า2190574
บทความ
ประวัติ นายประพันธ์ เวารัมย์ (เจ้าของเว็บไซต์)
ประวัตินายประพันธ์ เวารัมย์ เจ้าของเว็บไซต์ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
รู้จัก ด.ช.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ปี 2512
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
ข้อมูลเตรียมสอบปลัดอำเภอ
้ข้อมูลเตรียมสอบปลัด 2
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ
คู่มือการดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
เจ้าของเว็บไซต์
โครงสร้างเตรียมสอบปลัดอำเภอ ข้อสอบที่เคยออกปี 2548 และปี 51-55 (สำหรับผู้ใฝ่ฝัน เป็นปลัดอำเภอ)
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
ตู้หนังสือ แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
คู่มือปฏิบัติงานกองอาสารักษาดินแดน
วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน
​หนังสือคู่มือการทะเบียนราษฎร
เตรียมสอบปลัดอำเภอ
หนังสือสั่งการต่างๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น
ท้องถิ่นกำลังจะแก้ไขหลักเกณฑ์การสอบใหม่
เรื่องทั่้วไป
เว็บไซต์กระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง
แบ่งปันความรู้สู่ความก้าวหน้า
ยังจำท่านได้ดี ท่านสิริรัฐ (สถาพร) ชุมอุปการ (นายอำเภอประโคนชัย ปี 2547)
สวัสดีวันพุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 2)
เอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ (ชุดที่ 1)
หนังสือปฏิบัติงานกรมการปกครอง
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการปกครอง ของปลัดอำเภอ
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 5
รวมกฎหมายปกครองที่เล่ม 4
รวมกฎหมายปกครองเล่ม 3
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 1
รวมกฎหมายปกครอง เล่ม 2
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




แนวข้อสอบท้องถิ่น (รวมพลสู้ศึกสอบครั้งใหม่)

แนวข้อสอบท้องถิ่น (รวมพลสู้ศึกสอบครั้งใหม่)
อ้างอิง อ่าน 2896 ครั้ง / ตอบ 42 ครั้ง

ประพันธ์ เวารัมย์


แนวข้อสอบท้องถิ่น (รวมพลสู้ศึกสอบครั้งใหม่)
1.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.เทศบาลตำบล ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสองคน
ข.เทศบาลเมือง ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสามคน
ค.เทศบาลนคร ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินห้าคน
ง. สภาตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคล
จ.สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละสองคน
**************************************************************

ตอบ ข้อ ค.เทศบาลนคร ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินห้าคน

พระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. ๒๔๙๖[แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๑๓) .. ๒๕๕๒]

มาตรา ๔๘        อัฏฐ นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมายได้ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
              (๑)   เทศบาลตำบล ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสองคน
              (๒)   เทศบาลเมือง ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสามคน
              (๓)   เทศบาลนคร ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้
ไม่เกินสี่คน
              นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลได้ โดยในกรณีเทศบาลตำบลให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสองคน ในกรณีเทศบาลเมืองให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสามคน และในกรณีเทศบาลนครให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินห้าคน

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.88.41.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
1
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
2. บุคคลใดรักษาการแทนตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 
ก.  รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
ข.  ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง.  ผู้ว่าราชการจังหวัด
จ. นายกรัฐมนตรี
************************
ตอบ ข้อ ก.  รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐[แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๒]
มาตรา ๖ ให้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
              กฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 13:02
2
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
 3.บุคคลใดต่อไปนี้มิได้เป็นสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่ง 
ก.กำนัน 
ข.ผู้ใหญ่บ้าน 
ค. แพทย์ประจำตำบล 
ง. สารวัตรกำนัน
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
*************************************
ตอบ ข้อ ง. สารวัตรกำนัน
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
.๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ .๒๕๕๒]
มาตรา ๗ สภาตำบลประกอบด้วยสมาชิกโดยตำแหน่งได้แก่ 
กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของทุกหมู่บ้าน ในตำบล และแพทย์ประจำตำบล และสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นสมาชิกสภาตำบลหมู่บ้านละหนึ่งคน
*****ไม่มีสารวัตรกำนัน จำดีๆ ข้อสอบออกบ่อยมากๆ****
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 13:13
3
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
3.ใครเป็นผู้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
ก. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข. คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่น
ค. คณะกรรมการการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
ง.  นายอำเภอ
จ. ผู้ว่าราชการจังหวัด
*******************************
ตอบ ง.  นายอำเภอ
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒]
มาตรา ๑๐ให้นายอำเภอ 
จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบของกระทรวงมหาดไทย


 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 13:25
4
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
4.ตามกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและหัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล และลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และแพทย์ประจำตำบล

**********************************************************

ตอบ ข้อ ข.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒]
มาตรา๔๔ องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
 
*****โจทย์ ลวง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล**
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 13:33
5
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
5.ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก.ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
ข.ไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
ค.ไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
ง.ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
จ.ไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
**********************************************************
ตอบ ข้อ ก.ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง

พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๔๕[แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔]
 
มาตรา ๓๓        บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
              (๑)   มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
              (๒)   มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
              (๓)   มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง และ
              (๔)   คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
              ในกรณีที่มีการย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่ง ไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน อันทำให้บุคคลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่าหนึ่งปี นับถึงวันเลือกตั้ง ให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
              มาตรา ๓๔   บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
              (๑)   วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
              (๒)   เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
              (๓)   ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
              (๔)   อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
              (๕)   มีลักษณะอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด


 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 13:44
6
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
6.พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีกี่มาตรา
ก. 40 มาตรา
ข. 41 มาตรา
ค. 43 มาตรา
ง. 45 มาตรา
จ. 48 มาตรา
***************************

ตอบ ข้อ ค. 43 มาตรา
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีทั้งหมด 43 มาตรา
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 15:01
7
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
7.พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีกี่หมวด
ก. 5 หมวด และบทเฉพาะกาล
ข. 6 หมวด และบทเฉพาะกาล
ค. 7 หมวด และบทเฉพาะกาล
ง. 8 หมวด และบทเฉพาะกาล
จ. 9 หมวด และบทเฉพาะกาล

***************************************************

ตอบ ข้อ ค. 7 หมวด และบทเฉพาะกาล
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 15:13
8
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
8.กฎหมายใดถ้าไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ให้บังคับใช้ต่อไป
ก. ระเบียบว่าด้วยการักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517
ข. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
ค. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ง. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**************************************************
 
ตอบ ข้อ ก. ระเบียบว่าด้วยการักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
มาตรา 43  ให้ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ..2517 ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการ ยังคงใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 17จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 15:21
9
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
9. ค่าธรรมเนียมในการทำขอทำสำเนาจากหน่วยงานของรัฐข้อใดไม่ถูกต้อง (ออกตามประกาศ)
ก.  เอ 4 หน้าละไม่เกิน 1 บาท 
ข.  บี 4 หน้าละไม่เกิน 2 บาท
ค.  กระดาษพิมพ์เขียวเอ 2 หน้าละไม่เกิน 8 บาท 
ง.  กระดาษพิมพ์เขียวเอ 1 หน้าละไม่เกิน 20 บาท
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
***************************************************
 
ตอบ ข้อ ง.  กระดาษพิมพ์เขียวเอ 1 หน้าละไม่เกิน 20 บาท 


 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 15:46
10
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
 10.ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดหรือเงือนไขที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนด (ตามมาตรา 20)พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ.2540 ต้องระวางโทษตามข้อใด
ก. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง

***************************************************
ตอบ ข้อ ข. จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
มาตรา  41 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนดตามมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 15:59
11
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
11.ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ (ตามมาตรา 32) ไม่มาให้ถ้อยคำ ส่งวัตถุเอกสาร หรือพยานหลักฐาน ต้องระวางโทษตามข้อใด
ก.  จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข.  จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค.  จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง.  จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 15,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
**************************************************
ตอบ ข้อ ก.  จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
มาตรา 40 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการที่สั่งตามมาตรา 32  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 16:07
12
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
12. ข้อใดไม่ใช่ความรู้ความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ก.  ความมั่นคงของประเทศ 
ข.  เศรษฐกิจและการคลังของประเทศ
ค.  การบริหารประเทศ 
ง.  การบังคับใช้กฎหมาย
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
**************************************************
ตอบ ข้อ ค.  การบริหารประเทศ  
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
มาตรา ๓๕ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างๆ  ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา ๑๗ และคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๕
     การแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งตามสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของข้อมูลข่าวสารของราชการ เช่น ความมั่นคงของประเทศ  เศรษฐกิจและการคลังของประเทศ  หรือการบังคับใช้กฎหมาย
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 16:17
13
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
13.ใครเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ก. พระมหากษัตริย์
ข. คณะรัฐมนตรี 
ค. รัฐสภา
ง. นายกรัฐมนตรี 
จ. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
****************************************************
ตอบ ข้อ ข. คณะรัฐมนตรี 
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
มาตรา ๓๕ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างๆ  ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา ๑๗ และคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๕
     การแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งตามสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของข้อมูลข่าวสารของราชการ เช่น ความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจและการคลังของประเทศ หรือการบังคับใช้กฎหมาย

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 16:27
14
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
14. ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก.  3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการสรรหา 
ข.  3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
ค.  4 ปี นับแต่วันที่ได้รับการสรรหา 
ง.  4 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
 
****************************************************
ตอบ ข้อ ข.  3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
มาตรา  29 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 27 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ผู้ที่พ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้


 
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 16:37
15
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
15.เมื่อมีการยุบสภาอบต. หรือถือว่าการยุบสภาอบต. จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาอบต.ขึ้นใหม่ภายในกี่วัน
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
จ. 90 วัน

**************************************

ตอบ ค. 45 วัน
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗[แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒]
มาตรา ๙๑  เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม นายอำเภอจะรายงานเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อ ยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้
เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและให้แสดงเหตุผลไว้ในคำสั่งด้วย 
เมื่อมีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือถือว่ามีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นใหม่ภายใน
สี่สิบห้าวัน

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [183.89.75.xxx] เมื่อ 24/03/2015 16:55
16
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
16.การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. การประชุมสภาอบต.ครั้งแรก
ข. การประชุมสภาอบต.วิสามัญ
ค. การประชุมสมัยสามัญ
ง. การประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
*****************************************

ตอบ ข้อ ง. การประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.243.xxx] เมื่อ 29/03/2015 07:58
17
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
17.รายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบล ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ค่าครุภัณฑ์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้
ข. ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ทรัพย์สินต่างๆ
ค. ค่าวัสดุ เช่น กระดาษ เครื่องเขียน แบบพิมพ์
ง. ค่าตอบ เช่น ค่าตอบสมาชิกสภาอบต.
จ. ค่าใช้จ่ายที่นายอำเภอกำหนดให้จ่าย
*****************************************

ตอบ ข้อ จ. ค่าใช้จ่ายที่นายอำเภอกำหนดให้จ่าย
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.243.xxx] เมื่อ 29/03/2015 08:06
18
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
18.หน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง
ข.    ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกอบต. ให้เป็นไปตามนโยบายและแผนพัฒนาอบต.
ค.    ให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและเพิ่มเติม
ง.    ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*****************************************

ตอบ ข้อ ก.  ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.249.xxx] เมื่อ 29/03/2015 08:35
19
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
19.อำนาจของนายอำเภอในการกำกับดูแลปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมัยสามัญ
ข.    ให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติต่างๆ
ค.    สั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.    แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
*****************************************

ตอบ ข้อ ค. สั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.249.xxx] เมื่อ 29/03/2015 08:51
20
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
20.ในระหว่างที่ไม่มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล บุคคลใดทำหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.    ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข.    นายอำเภอ
ค.    ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.    ปลัดอำเภอประจำตำบล
จ.    พนักงานส่วนตำบลที่มีอาวุโสสูงสุด
*****************************************

ตอบ ข้อ ค.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.249.xxx] เมื่อ 29/03/2015 08:55
21
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
นายประพันธ์ เวารัมย์ ได้มอบเงินให้อบต.แบ่งปัน  และอบต.แบ่งปันได้เงิน 3 ล้านบาท เพื่อสร้างสะพาน คสล. เมื่อสะพาน คสล.เสร็จเรียบร้อย ปรากกฎว่ามีเงินเหลือ 80,000 บาท นายประพันธ์ เวารัมย์ มิได้กำหนดไว้ว่าถ้าเงินเหลือจากการมอบให้อบต.แบ่งปัน  จะทำอย่างไร อบต.แบ่งปันจะดำเนินการอย่างไร
ก.    นำเงินที่เหลือคืนให้นายประพันธ์ เวารัมย์
ข.    นำเงินที่เหลือไปตั้งงบประมาณใหม่
ค.    นำเงินส่งมอบให้นายอำเภอ
ง.    นำเงินที่เหลือส่งเป็นรายได้อบต.
จ.    นำเงินที่เหลือส่งคลังจังหวัด
*****************************************

ตอบ ข้อ ง. นำเงินที่เหลือส่งเป็นรายได้อบต.

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.249.xxx] เมื่อ 29/03/2015 08:58
22
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
22. การตรางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.    ไม่พอแก่การใช้จ่าย
ข.    มีความจำเป็นต้องตั้งจ่ายขึ้นมาใหม่
ค.    จะกระทำได้ต่อเมื่องบประมาณรายจ่ายประจำปีได้รับอนุมัติแล้ว
ง.    ข้อ ก. และข้อ ข.
จ.    ถูกทุกข้อ
*****************************************

ตอบ ข้อ จ. ถูกทุกข้อ
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.249.xxx] เมื่อ 29/03/2015 09:04
23
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
23. การใช้จ่ายเงินสำรองจ่าย เป็นอำนาจของผู้ใด
ก.    นายอำเภอ
ข.    นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.    สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ง.    ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
จ.    ผู้ว่าราชการจังหวัด
*****************************************

ตอบ ข้อ ข.  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.240.xxx] เมื่อ 29/03/2015 11:01
24
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
24.ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.    การจัดงบประมาณต้องได้รับความเห็นจากสภาอบต.
ข.    เจ้าหน้าที่งบประมาณ หมายถึง ปลัดอบจ. ปลัดเทศบาล และปลัดอบต.
ค.    งบประมาณอบต. ประกอบด้วย รายจ่ายงบกลาง รายจ่ายจำแนกตามแผนงาน
ง.    ข้อ ก. และข้อ ค.
จ.    ถูกทุกข้อ
*****************************************

ตอบ ข้อ จ.    ถูกทุกข้อ

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.240.xxx] เมื่อ 29/03/2015 11:06
25
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
25. งบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณ จะต้องใช้งบประมาณรายจ่ายตามข้อใด
ก.    ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติ
ข.    ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามที่นายอำเภออนุมัติ
ค.    ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีตามข้อเสนอของส่วนต่างๆในอบต.
ง.    ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงไปแล้วไปพลางก่อน
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*****************************************

ตอบ ข้อ ง.ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงไปแล้วไปพลางก่อน
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.240.xxx] เมื่อ 29/03/2015 11:06
26
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
26.รายได้องค์การบริหารส่วนตำบล ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.    ค่าธรรมเนียมปรับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข.    ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนัน
ค.    ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
ง.    เงินที่เก็บตามกฎหมายว่าด้วยการอุทยานแห่งชาติ
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
*****************************************

ตอบ ข้อ ก. ค่าธรรมเนียมปรับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.240.xxx] เมื่อ 29/03/2015 11:38
27
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
27.งบประมาณ หมายถึงข้อใด
ก.    แผนงานในการตั้งงบประมาณ
ข.    แผนงานที่แสดงในรูปตัวเลขจำนวนเงิน
ค.    แผนงานหรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่าย
ง.    ข้อ ก. และข้อ ค.
จ.    ถูกทุกข้อ
*****************************************

ตอบ ข้อ จ. ถูกทุกข้อ
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.240.xxx] เมื่อ 29/03/2015 11:46
28
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
28.ในกรณีสมาชิกสภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้หนึ่งผู้ใดสิ้นสุดลงจะต้องอุทธรณ์หรือโต้แย้งมติสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ไปยังนายอำเภอได้ภายในกี่วัน
ก.    7 วัน
ข.    15 วัน
ค.    30 วัน
ง.    45 วัน
จ.    60 วัน
*****************************************

ตอบ ข้อ ข.    15 วัน
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.240.xxx] เมื่อ 29/03/2015 11:49
29
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
29.ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.    นายกอบต. ดำรงตำแหน่งนับแต่สภาอบต.ประชุมสภาอบต.ครั้งแรก มีวาระอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี นับแต่สภาอบต.ประชุมสภาอบต.ครั้งแรก
ข.    นายกอบต. ดำรงตำแหน่งนับแต่วันได้รับการรับรองจาก กกต.มีวาระอยู่ในตำแหน่ง 4 ปีนับแต่วันที่ได้รับรองจาก กกต.
ค.    นายกอบต. ดำรงตำแหน่งนับแต่วันแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี นับแต่วันแต่งตั้ง
ง.    นายกอบต.ดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง มีวาระอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*****************************************

ตอบ ข้อ ง.    นายกอบต.ดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง มีวาระอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.240.xxx] เมื่อ 29/03/2015 11:53
30
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
30.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มีที่มาอย่างไร
ก.    เป็นบุคคลที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรับรอง
ข.    มาจากการแต่งตั้งบุคคลภายนอกที่มิใช่สมาชิกอบต. และข้าราชการ
ค.    มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
ง.    สมาชิกอบต. เลือกสมาชิกอบต. คนหนึ่งขึ้นเป็นนายกอบต.
จ.    ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
*****************************************
ตอบ ข้อ ค. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.240.xxx] เมื่อ 29/03/2015 12:22
31
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
31.สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ขึ้นในส่วนราชการใด
ก. สำนักนายกรัฐมนตรี
ข. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
จ. สำนักงบประมาณ
*****************************************

ตอบ ข้อ 
ค. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549 

มาตรา 15
 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
              (1)    รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ
              (2)    รวบรวมข้อมูล ศึกษา และวิเคราะห์เกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการ
              (3)    ร่วมมือและประสานงานกับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
              (5)    ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
              (6)    ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.242.xxx] เมื่อ 4/04/2015 08:48
32
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
32. จำนวนผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5 คน
ข. ผู้บริหารเทศบาล จำนวน 3 คน
ค. ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 2 คน
ง. ผู้บริหารเมืองพัทยาหรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นรวมสามคน
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
   
*****************************************

ตอบ ข้อ ง. ผู้บริหารเมืองพัทยาหรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นรวมสามคน

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549 

              มาตรา ๖     ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ประกอบด้วย
              (๑)    นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
              (๒)    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น*
              (๓)    ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน
สิบสองคน ประกอบด้วยผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดสองคน ผู้บริหารเทศบาลสามผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลห้าคน และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารเมืองพัทยาหรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นรวมสองคน ทั้งนี้ โดยให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทเลือกกันเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
              (๔)    ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสิบสองคน ประกอบด้วยบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นในสาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และด้านกฎหมาย ทั้งนี้ การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
              ให้หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเลขานุการคณะกรรมการ
            
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.242.xxx] เมื่อ 4/04/2015 09:37
33
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
33.ผู้ดำรงตำแหน่งใด เป็นเลขานุการคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ 
ก.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ข.    รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ค.    เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ง.    หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ
จ.    ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
*****************************************

ตอบ ข้อ ง.หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549 
มาตรา ๖  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ประกอบด้วย
              (๑)    นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
              (๒)    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น*
              (๓)    ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนสิบสองคน ประกอบด้วยผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดสองคน ผู้บริหารเทศบาลสามคน ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลห้าคน และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารเมืองพัทยาหรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นรวมสองคน ทั้งนี้ โดยให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทเลือกกันเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
              (๔)    ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสิบสองคน ประกอบด้วยบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นในสาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และด้านกฎหมาย ทั้งนี้ การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
              ให้
หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเลขานุการคณะกร
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.242.xxx] เมื่อ 4/04/2015 09:54
34
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
34. ประธานคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ คือตำแหน่งใด
ก.    อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ข.    ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง.    นายกรัฐมนตรี
จ.    นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
*****************************************

ตอบ ข้อ จ. นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549 
มาตรา ๖  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ประกอบด้วย
              (๑)   
นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
              (๒)    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น*
              (๓)    ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนสิบสองคน ประกอบด้วยผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดสองคน ผู้บริหารเทศบาลสามคน ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลห้าคน และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารเมืองพัทยาหรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นรวมสองคน ทั้งนี้ โดยให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทเลือกกันเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
              (๔)    ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสิบสองคน ประกอบด้วยบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นในสาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และด้านกฎหมาย ทั้งนี้ การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
              ให้หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเลขานุการคณะกรรมการ

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.242.xxx] เมื่อ 4/04/2015 09:54
35
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์

องค์การบริหารส่วนจังหวัด ไม่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีใด
ก.    ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ข.    ภาษีมรดก
ค.    ภาษีบำรุงท้องที่
ง.    ค่าธรรมเนียมจากผู้พักโรงแรม
จ.    ภาษีป้าย
*****************************************

ตอบ ข้อ ข.  ภาษีมรดก

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. ๒๕๔๐[แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๒]

 

 

 

 

มาตรา ๖๐    ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์และผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่าสัตว์ในพื้นที่เขตจังหวัดที่อยู่นอกเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดสรรให้สภาตำบลตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
              มาตรา ๖๑   ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในจังหวัดใด ให้จัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น
              มาตรา ๖๒   ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร จัดเก็บได้ในจังหวัดใด ให้ส่งมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยละห้าของภาษีที่จัดเก็บได้
              มาตรา ๖๓   ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ และค่าภาคหลวงปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ที่ได้มีการจัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดใดให้จัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
              มาตรา ๖๔   องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากการค้าในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
              (๑)   น้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน หรือก๊าซปิโตรเลียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ โดยจัดเก็บเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินลิตรละสิบสตางค์สำหรับน้ำมันและกิโลกรัมละไม่เกินสิบสตางค์สำหรับก๊าซปิโตรเลียม
              (๒)   ยาสูบ โดยจัดเก็บเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินมวนละสิบสตางค์
              ราคาจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นตามวรรคหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด

มาตรา ๖๕       
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจออกข้อบัญญัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผู้พักในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.235.xxx] เมื่อ 4/04/2015 12:38
36
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
35.ประชากรเกินหนึ่งล้านคน ไม่เกินสองล้านคน มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน (ข้อสอบข้อนี้ออกมาแล้ว ถือว่ายากพอสมควร)
ก.    1 คน
ข.    2 คน
ค.    3 คน
ง.    4 คน
จ.    5 คน
*****************************************

ตอบ ข้อ ค. 3 คน


พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.๒๕๔๐[แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๒]
มาตรา ๙ สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
              ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการหรือที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสีย ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
              การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัด ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกินห้าแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ยี่สิบสี่คน จังหวัดใดมีราษฎรเกิน ห้าแสนคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สามสิบคน จังหวัดใดมีราษฎร
เกินหนึ่งล้านคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สามสิบหกคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินหนึ่งล้านห้าแสนคนแต่ไม่เกินสองล้านคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สี่สิบสองคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินสองล้านคนขึ้นไป ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สี่สิบแปดคน
              ในอำเภอหนึ่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้หนึ่งคนเมื่อรวมจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากแต่ละอำเภอแล้ว จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ตามวรรคสาม ให้ดำเนินการดังนี้ เอาจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะพึงมีได้ไปหารจำนวนราษฎรทั้งจังหวัด ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้ถือเป็นเกณฑ์สำหรับคำนวณสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยอำเภอใดมีจำนวนราษฎรมากที่สุดให้อำเภอนั้นมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน แล้วให้เอาผลลัพธ์ดังกล่าวหักออกจากจำนวนราษฎรของอำเภอนั้น เหลือเท่าใดให้ถือเป็นจำนวนราษฎรของอำเภอนั้น ในการพิจารณาเพิ่มสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ยังขาดจำนวนอยู่และให้กระทำดังนี้ต่อๆ ไปจนได้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดครบจำนวน

              มาตรา ๓๕/๓   นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมอบหมายได้ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
              (๑)   ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สี่สิบแปดคน ให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสี่คน
             
(๒)   ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสามสิบหกคนหรือสี่สิบสองคน ให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสามคน
              (๓)   ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยี่สิบสี่คนหรือสามสิบคน ให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสองคน
              นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจแต่งตั้งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้จำนวนรวมกันไม่เกินห้าคน
              รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๕/๑


 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.235.xxx] เมื่อ 4/04/2015 12:58
37
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
สมาชิกสภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
ก. ขึ้นอยู่กับขนาดเทศบาล 
ข. จำนวน 12 คน
ค. จำนวน 18 คน
ง. จำนวน 24 คน
จ. จำนวน 36 คน
*****************************************

ตอบ 
ข. จำนวน 12 คน
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
    มาตรา 15    สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวนดังต่อไปนี้

    (1)    สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
    (2)    สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน
    (3)    สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
    ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง 
    ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลเท่าที่มีอยู่
**********************************

 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.225.xxx] เมื่อ 5/04/2015 14:27
38
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวน ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
ก. สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
ข. สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบหกคน
ค. สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
ง. ข้อ ก.และข้อ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
*******************************************

ตอบ ข้อ ง. ข้อ ก. และ ค.
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
    มาตรา 15    สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหา
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.225.xxx] เมื่อ 5/04/2015 14:35
39
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
    ก. รองนายกเทศมนตรี นายกเทศมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง
    ข. รองนายกเทศมนตรี ไม่ต้องเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
    ค. รองนายกเทศมนตรีจะต้องให้สภาคัดเลือกจากสมาชิกสภาเทศบาล
    ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และข้อ ข.
     จ.  ถูกเฉพาะ ข้อ ก. และข้อ ค.
***************************************
ตอบ ข้อ ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และข้อ ข.
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
    มาตรา 48 อัฏฐ นายกเทศมนตรีอาจ
แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมายได้ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
    (1)    เทศบาลตำบล ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสองคน
    (2)    เทศบาลเมือง ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสามคน
    (3)    เทศบาลนคร ให้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสี่คน
    นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลได้ โดยในกรณีเทศบาลตำบลให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสองคน ในกรณีเทศบาลเมืองให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินสามคน และในกรณีเทศบาลนครให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกินห้าคน
**********************************
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.225.xxx] เมื่อ 5/04/2015 14:48
40
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
ในกรณีที่ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลว่างลง เพราะพ้นจากสมาชิกภาพหรือลาออกจะต้องเลือกสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่ง ที่ว่างภายในกี่วัน
    ก. 15 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
    ข. 30 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
    ค. 45 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
    ง. 45 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง            
    จ.  60 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
*******************************************************************

ตอบ “ข้อ ก. 15 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง”
อธิบายตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552
    มาตรา 20 ตรี ในกรณีที่ตำแหน่งประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลว่างลงเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 20 ทวิ ให้สภาเทศบาลเลือกสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
    มาตรา 20    สภาเทศบาลมีประธานสภาคนหนึ่ง และรองประธานสภาคนหนึ่ง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล
    ประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภาเทศบาล
    มาตรา 20 ทวิ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 20 วรรคสอง ประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
    (1)    ลาออก โดยยืนหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
    (2)    สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาล
    (3)    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 73
    (4)    สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่งหรือสภาเทศบาล ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติการหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
    ผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลตาม (3) หรือ (4) จะดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลอีกไม่ได้ตลอดอายุของสภาเทศบาลนั้น
    ให้ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลที่ได้รับเลือกใหม่อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
    มาตรา 73 ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาล ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของประชาชน ละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือมีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง หรือแก่เทศบาล หรือแก่ราชการ ให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมด้วยหลักฐาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่งก็ได้ คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด
**********************************

 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.225.xxx] เมื่อ 5/04/2015 14:58
41
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบทั่วไปเรียกว่า
ก.    คำสั่ง
ข.    ระเบียบ
ค.    แถลงการณ์
ง.    ข่าว
จ.    ประกาศ
*****************************************

ตอบ ข้อ ง. ข่าว
 หนังสือประชาสัมพันธ์
               หนังสือประชาสัมพันธ์ ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ หนังสือประชาสัมพันธ์มี 3ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์และข่าว
               ประกาศ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือแนะแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ
               แถลงการณ์ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์ หรือในกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน ใช้กระดาษตราครุฑ
             
 ข่าว คือบรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.242.xxx] เมื่อ 6/04/2015 07:04
42
อ้างอิง

ประพันธ์ เวารัมย์
บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบทั่วไปเรียกว่า
ก.    คำสั่ง
ข.    ระเบียบ
ค.    แถลงการณ์
ง.    ข่าว
จ.    ประกาศ
*****************************************

ตอบ ข้อ ง. ข่าว
 หนังสือประชาสัมพันธ์
               หนังสือประชาสัมพันธ์ ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ หนังสือประชาสัมพันธ์มี 3ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์และข่าว
               ประกาศ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือแนะแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ
               แถลงการณ์ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์ หรือในกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน ใช้กระดาษตราครุฑ
             
 ข่าว คือบรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ
 
 
ประพันธ์ เวารัมย์ [110.49.242.xxx] เมื่อ 6/04/2015 07:04
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :